จีนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ

จีนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ

พอล์ ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์สาย “เคนส์” ในสหรัฐ
เขียนถึงวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศจีน ที่ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนช้าลง
ในอดีตจีนอาศัยนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นค่าแรงต่ำ
และสามารถกดค่าแรงได้เพราะมีคนจนในชนบทมากมายที่เป็น “กองทัพแรงงานสำรอง”
มูลค่าที่ถูกผลิตขึ้นในจีนจากการทำงานของกรรมาชีพ
ส่วนใหญ่ถูกนำไปลงทุนต่อโดยรัฐวิสาหกิจ
และมีส่วนหนึ่งที่เข้ากระเป๋าพวกนายทุนลูกหลานแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์
คนธรรมดาไม่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ปูมหลายปี มันสร้างความไม่สมดุลย์ระหว่าง “การบริโภคของประชาชน”
กับ “การลงทุน” ซึ่งจีนมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่นำไปลงทุนต่อสูงมาก เกือบ 50
เปอร์เซนต์ มันเป็น “การลงทุน เพื่อสร้างกำไร เพื่อลงทุนต่อ”
ซึ่งเราชาวเลี้ยวซ้ายคงเข้าใจดีว่าเป็นหัวใจของระบบทุนนิยมที่ คาร์ล มาร์คซ์
เคยพูดถึง และแสดงให้เห็นว่าจีนเป็นทุนนิยมไปนานแล้ว… ครุกแมน อธิบายต่อว่า
ตอนนี้จีนเริ่มขาดแรงงาน กรรมาชีพเลยมีอำนาจต่อรองสูง มีการเพิ่มค่าจ้างและการบริโภค
แต่ปรากฏการณ์นี้ทำให้อัตรากำไรลดลง
รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยการกดค่าเงินและการชักชวนให้มีการกู้เงินด้วยดอกเบี้ยต่ำ
แต่นโยบายแบบนั้นเพียงแต่ยืดเวลาของการเกิดวิกฤต
เพราะเมื่อฟองสบู่แตกก็จะมีปัญหาใหญ่ จีนมีเศรษฐกิจที่ใหญ่พอสมควร
แต่เล็กกว่าสหรัฐ และอียู ในยามปกติส่วนอื่นของโลกคงเอาตัวรอดท่ามกลางวิกฤตจีนได้
แต่ในปัจจุบันทุกส่วนของโลกมีวิกฤตร้ายแรง และเรามองว่าประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปจีน
ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่นลาตินอเมริกา อัฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศที่ส่งชิ้นส่วนย่อยไปประกอบที่จีนอย่างไทย
คงมีปัญหา

ครุกแมนพูดครึ่งเดียว เพราะนักเศรษฐศาสตร์แนวเคนส์อย่างเขาหลงเชื่อว่าถ้าการบริโภคสมดุลย์กับการลงทุนเศรษฐกิจจะไปได้สวย และเขาเชื่อว่าการบริโภคกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาวิกฤตได้ แต่วิกฤตจีนไม่ต่างจากวิกฤตทุนนิยมทั่วโลก คือต้นเหตุพื้นฐานมาจากการลดลงของอัตรากำไร ที่เกิดจากการลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะจ้างงาน การเพิ่มอัตราการบริโภคไม่สามารถฟื้นอัตรากำไรได้ และอาจตัดกำไรนายทุนถ้ามาจากการเพิ่มค่าจ้าง ทุนนิยมมันซ่อมไม่ได้ ต้องยกเลิก

การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์


การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์
กองบรรณาธิการ
นสพ. เลี้ยวซ้าย
ขบวนการแรงงานอียิปต์เริ่มลุกขึ้นต่อสู้เมื่อมีคลื่นการนัดหยุดงานใหญ่เกิดขึ้นในปี  2006 แนวหน้าในยุคนั้นคือคนงานสิ่งทอ แต่ในไม่ช้ามีคนงานท่าเรือและขนส่ง และพนักงานปกคอขาว
เช่นเจ้าหน้าที่สรรพากร ร่วมนัดหยุดงานด้วย คลื่นการนัดหยุดงานนี้มาจากความไม่พอใจในนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่เผด็จการมูบารักใช้มานาน
และ
ห้าปีหลังจากนั้นมันเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระแสปฏิวัติที่สามารถล้มมูบารักในปี  2011 เพราะสาเหตุสำคัญที่กองทัพอียิปต์ปลดมูบารักออกจากตำแหน่ง
ก็เพราะมีการนัดหยุดงานทั่วไปเกิดขึ้น และกองทัพมองว่าถ้าไม่รีบออกมา ชนชั้นกรรมาชีพจะลุกขึ้นยึดประเทศและทำลายอำนาจชนชั้นปกครองเก่ารวมถึงผลประโยชน์การเมืองและธุรกิจของกองทัพด้วย
     ในปี 2012 หลังจากที่มูบารักถูกล้ม
และประธานาธิบดีมูรซี่ชนะการเลือกตั้ง กระแสนัดหยุดงานพุ่งขึ้นอีก
เพราะรัฐบาลพรรคมุสลิมยังคงใช้นโยบายกลไกตลาดเสรีและจับมือกับองค์กรไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีผลในการขยายความเหลื่อมล้ำและไม่แก้ปัญหาว่างงานเลย
นอกจากนี้รัฐบาลพรรคมุสลิมเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของคนงานในอดีตรัฐวิสาหกิจที่ถูกขายให้นายทุนเพื่อนฝูงของมูบารัก
บ่อยครั้งศาลตัดสินให้คืนกิจการเหล่านั้นให้ภาครัฐ แต่มูรซี่ไม่ทำอะไร “ศูนย์สิทธิเศรษฐศาสตร์และสังคมอียิปต์”
คาดว่าในช่วงรัฐบาลใหม่ปี 2012 มีการนัดหยุดงานประมาณสามพันครั้ง
และในสามเดือนแรกของปี 2013 มีการนัดหยุดงาน 2,400 ครั้ง
ซึ่งทำให้เราเห็นชัดว่ากระแสนัดหยุดงานมีความสำคัญในการล้มมูรซี่ด้วย
และไปควบคู่กับการออกมาชุมนุมของมวลชน 17 ล้านคน
     การต่อสู้ของกรรมาชีพคนทำงาน
ประกอบไปด้วยการนัดหยุดงานและการยึดสถานที่ทำงานด้วย และครอบคลุมถึง คนงานขนส่งรวมถึงรถไฟ
สนามบิน คลองซูเอส และท่าเรือ นอกจากนี้มีการนัดหยุดงานในภาคอุตสาหกรรม ปูนซีเมน
และภาคบริการ แม้แต่กองกำลังตำรวจปราบจลาลจล
ที่ประกอบไปด้วยคนจนที่ถูกเกณฑ์มาจากชนบท ก็เริ่มออกมาประท้วงรัฐบาล
     ท่ามกลางกระแสการต่อสู้แบบนี้
มีการก่อตั้งสภาแรงงานใหม่ที่อิสระจากรัฐ
เพราะในสมัยเผด็จการมูบารักรัฐควบคุมสภาแรงงานอย่างเบ็ดเสร็จ
ในขณะเดียวกันมีการสร้างเครือข่ายแรงงานในรูปแบบกลุ่มย่านอุตสาหกรรม
เพื่อประสานงานการต่อสู้ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระดับรากหญ้า กลุ่มย่านแบบนี้ถูกสร้างขึ้นในซูเอส
และซาดัดซิตตี้
     ถึงแม้ว่าการก่อตั้งสภาแรงงานอิสระเป็นก้าวสำคัญ
แต่สองรูปแบบการจัดตั้ง คือสภาแรงงานอิสระ กับเครือข่ายกลุ่มย่าน
เริ่มขัดแย้งและสวนทางกัน เพราะสภาแรงงานมักหันมาเน้นผลประโยชน์ของสภาและประเด็นเศรษฐกิจ
ผู้นำก็เริ่มมีลักษณะ “ข้าราชการ” ด้วย
แต่เครือข่ายกลุ่มย่านนำโดยคนงานรากหญ้าและผสมประเด็นการเมืองกับเรื่องปากท้อง เข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ผู้นำแรงงานในสภาอิสระเริ่มหลงรักองค์กรแรงงานสากล เช่น
ITUC, AFL-CIO
และองค์กรแรงงานยุโรป นักเคลื่อนไหวแรงงานผู้หนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า “เราไม่ต้องการให้องค์กรแรงงานสากลเข้ามาเชิญผู้นำแรงงานของเราไปสัมมนาต่างประเทศ
เพราะเราต้องการสร้างขบวนการแรงงานรากหญ้าที่เข้มแข็ง ไม่ใช่สร้างผู้นำข้าราชการ”

(ข้อมูลจาก Egypt: The
Workers Advance. โดย Philip Marfleet ใน International
Socialism Journal, Summer 2013)

ลดเงินจำนำข้าว ความอัปลักษณ์ของพวกคลั่งกลไกตลาด

การนำภาษีของสังคมมาอุดหนุนโครงการบางอย่าง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่องที่ชอบธรรม ยิ่งในสังคมไทยที่มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างคนรวยกับคนจน ยิ่งสมควรทำมากขึ้นอีก

โดย วัฒนะ วรรณ

โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวนาอย่างไม่ต้องสงสัย ถึงแม้ว่าจะมีคอรัปชั่นในบางขั้นตอนเช่นการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ หรือการขายข้าวราคาถูกมากๆ ให้กับนายทุนเอาไปขายต่อในราคาเดิม ดูได้จากการแสดงความไม่พอใจขององค์กรชาวนาที่มาชุมนุม ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลขยายเวลาการรับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาทออกไปอีก ซึ่งชาวนาเป็นกลุ่มที่ยากจนกลุ่มแรกๆ ในสังคมไทยที่ถูกละเลยมาต่อเนื่อง

ส่วนคนที่คัดค้านในโครงการนี้ ส่วนมากจะเป็นพวกเสรีนิยมกลไกตลาด เช่น TDRI ที่มักจะหยิบประเด็นการขาดทุนของโครงการมาแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าถึงที่สุดแล้วรัฐบาลอาจจะเป็นหนี้มากขึ้น หรือรัฐบาลอาจจะถังแตกได้ จากการเอาเงินมาอุดหนุนชาวนา

การขาดทุนของรัฐไม่ใช่เรื่องใหม่ของพวกเสรีนิยม พวกนี้มักมองว่ารัฐไม่ควรเอาเงินภาษีไปอุดหนุนโครงการต่างๆ ที่ก่อประโยชน์ให้กับคนในสังคมโดยเฉพาะคนจน(แต่ถ้าเอาไปอุดหนุนคนรวยสามารถทำได้) ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาดเป็นคนจัดการ แนวคิดแบบนี้ไม่ต่างจากการเสนอให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปรรูปรถเมล์ แปรรูปรถไฟ แปรรูปมหาวิทยาลัย เพราะเป้าหมายเดียวกัน คือการลดเงินอุดหนุน(ให้เปล่า) กับกิจการเหล่านี้จากภาครัฐเพื่อบริการประชาชนในราคาถูก

การนำภาษีของสังคมมาอุดหนุนโครงการบางอย่าง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่องที่ชอบธรรม ยิ่งในสังคมไทยที่มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างคนรวยกับคนจน ยิ่งสมควรทำมากขึ้นอีก การนำเงินภาษีเหล่านี้มาสนับสนุนคนจนเพื่อลดช่องว่าง มันไม่ใช่การให้ทาน จากผู้มีมากให้กับผู้มีน้อย แต่เป็นการทวงคืนความมั่งคั่งกลับสู่สังคม เนื่องด้วยความร่ำรวยที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่มีใครทำมากกว่าใครอย่างเห็นได้ชัด ความร่ำรวยมาจากการทำงานของทุกคนโดยเฉลี่ย แต่ความมั่งคั่งกลับกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่ม ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่มาก

แต่ความล้มเหลวของโครงการนี้ มาจากแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาดของรัฐบาลเพื่อไทยแต่แรก ที่ไม่พยายามจะเพิ่มภาษีคนรวย เพื่อเอามาอุดหนุนโครงการรับจำนำข้าว ด้วยคาดหวังว่าถ้ารัฐบาลเป็นผู้รับซื้อข้าวรายใหญ่ และกักตุนไว้(นำอุปทานออกจากตลาด) จะทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวสูงขึ้นสุดท้ายการขาดทุนจะไม่มากนัก และโครงการน่าจะดำเนินการไปได้ด้วยดี แต่ราคาข้าวไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น และการเร่งระบายข้าวที่อยู่ในโกงดัง จะยิ่งซ้ำเติมให้ราคาข้าวมีราคาตกต่ำลงไปอีก ซึ่งราคาที่ตกต่ำลงมา น่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะคนจนที่บริโภคข้าวเป็นหลัก แต่รัฐบาลกลับเลือกไม่ปล่อยข้าวราคาถูกมากๆ ออกมาขายให้กับประชาชน และนี่แสดงถึงความอับจนของแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาด ที่นักมาร์คซิสต์วิจารณ์มาตลอด

เราจะแก้ปัญหาผู้ผลิตให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร เราจะแก้ปัญหาผู้บริโภคให้สามารถซื้อข้าวในราคาถูกได้อย่างไร วิธีการจัดการบริหารนั้นง่ายมากโดยรัฐรับซื้อข้าวราคาแพงจากชาวนา และขายข้าวราคาถูกให้ผู้บริโภค ในส่วนต่างนั้นรัฐก็นำเงินภาษีที่เก็บในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยมากๆ ในอัตราสูงพิเศษมาอุดหนุน หรือไปลดงบประมาณอื่นๆ ที่สิ้นเปลือง เช่นงบประมาณทหาร และงบพิธีกรรมต่างๆ

นอกจากนี้รัฐต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตให้กับชาวนา โดยการสนับสนุนองค์กรชาวนาให้ทำการผลิตขนาดใหญ่ อาจจะเป็นในรูปแบบสหกรณ์การผลิตข้าว เพื่อลดต้นทุนเชิงขนาด โดยรัฐบาลสนับสนุนในด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร ปุ๋ย เมล็ดพันธ์ พลังงาน ราคาถูก และอาจจะต้องสนับสนุนให้เกิดโรงสีโดยชาวนา การสนับสนุนอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว เป็นต้น

และสุดท้ายการแก้ปัญหาการคอรัปชั่น โดยมากมักจะเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างโรงสี นายทุนค้าข้าว กับเจ้าหน้าที่รัฐ วิธีแก้ปัญหาที่ลดการคอรัปชั่นลง ต้องเปิดโอกาสให้การดำเนินโครงการ มีผู้แทนชาวนาในฐานะผู้ผลิตและผู้แทนผู้บริโภค เขาไปมีส่วนเต็มที่ในการบริหารโครงการภายใต้การร่วมมือกับผู้แทนของอำนาจรัฐส่วนกลาง ซึ่งจะทำให้การคอรัปชั่นเกิดได้ยากขึ้นมาก เพราะมันเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

แต่รัฐบาลเพื่อไทยจะไม่ทำเช่นว่านี้ เหตุผลคือรัฐบาลเพื่อไทยเป็นรัฐบาลพรรคนายทุน การกระทำแบบนี้ก็เท่ากับทำให้นายทุนเสียประโยชน์ในหลายด้าน เช่นนายทุนโรงสี นายทุนค้าข้าว ที่จะค่อยๆ ถูกตัดออกจากระบบอุตสาหกรรมข้าว และถูกแทนที่ด้วยสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวกับผู้บริโภคโดยตรง หรือนายทุนในภาพรวมก็จะได้รับผลกระทบด้วย เพราะความมั่งคั่งของเขาจะลดลงโดยต้องเสียภาษีสูงๆ เพื่อนำมาอุดหนุนช่วยเหลือชาวนา และผู้บริโภค รวมถึงโครงการอื่นๆ ชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ ทหาร ราชการชั้นสูง ก็จะเสียประโยชน์ด้วย ด้านหนึ่งคนกลุ่มนี้จะถูกกำจัดงบประมาณลง

เมื่อพรรคเพื่อไทยหรือพรรคนายทุนพรรคไหนไม่สามารถสร้างความเท่าเทียม ความอยู่ดีกินดี ให้กับชาวนา กรรมาชีพ ในสังคมได้อย่างถาวร สุดท้ายคนจนทั้งหลายก็ต้องมาคิดหาหนทางสร้างพรรคของคนจนขึ้นมาเอง มิเช่นนั้น การถูกปลดแอกจากพลเมืองชั้นล่างจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ถ้าหวังพึ่งพรรคนายทุนที่มีผลประโยชน์ขัดกันกับคนจน แน่นอนมันไม่ง่าย แต่มันก็ไม่อยากเกินไปที่จะทำ และมันน่าจะเป็นทางเลือกเดียวในระยะยาวที่จะสร้างความเสมอภาคได้อย่างแท้จริง

กองทัพอียิปต์ลังเลไม่กล้านำ เพราะกลัวพลังมวลชน โดยใจ อึ๊งภากรณ์

กองทัพอียิปต์ลังเลไม่กล้านำ เพราะกลัวพลังมวลชน
ใจ อึ๊งภากรณ์

นักข่าวและนักวิชาการกระแสหลักบางคนบ่นว่ากองทัพอียิปต์และชนชั้นนำ
“ไม่กล้านำทางการเมือง และปล่อยให้สถานการณ์ปั่นป่วน”
แต่การลังเลใจของกองทัพเพียงแต่สะท้อนว่ากลัวพลังมวลชน
แน่นอนเราไม่ควรมองว่าทุกอย่างจะคงเดิมตลอด และถ้าพลังมวลชนอ่อนลง
ฝ่ายเผด็จการเก่า ซึ่งรวมถึงกองทัพ หรือฝ่ายพรรคมุสลิมที่ร่วมกดขี่ประชาชน
อาจเข้มแข็งมากขึ้นและสร้างเผด็จการเบ็ดเสร็จในอนาคตได้ แต่สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นนั้นเลย
    
ในวันที่ 30 มิถุนายนมวลชนอียิปต์ 17
ล้านคนออกมาประท้วงไล่ประธานาธิบดีมูรซี่ ประชากรทั้งหมดของอียิปต์มี ประมาณ 83
ล้านคน ดังนั้นถ้าเทียบสัดส่วนกับไทย ลองนึกภาพคนไทย 14
ล้านคนออกมาประท้วงไล่รัฐบาล ภาพนี้เราไม่เคยเห็น ทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองออกมาอย่างมากครั้งละสองแสน
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาก็เช่นกัน ถ้าเทียบกับประชากรไทยปัจจุบันคงไม่เกินสองแสน
แต่ผมกำลังพูดถึง 17 ล้านคนที่ออกมาในอียิปต์
    
แต่ลองอ่านบทวิเคราะห์สถานการณ์ในอียิปต์จากสื่อต่างๆ
จะเห็นว่าเกือบทุกบทความไม่เอ่ยถึงมวลชนเลย มีแต่การพูดถึงกองทัพ
นักการเมืองพรรคมุสลิม นักการเมืองเสรีนิยม และรัฐบาลต่างประเทศเท่านั้น
และมีแต่การพูดถึง “รัฐประหาร” โดยมองว่ากองทัพอียิปต์มีอำนาจล้นฟ้า
    
มันไม่ต่างเลยกับคนที่พูดว่ากษัตริย์แฟโรคนนั้นคนนี้
สร้างบิรามิด
หรือคนที่บอกว่ากษัตริย์คนนั้นคนนี้สร้างอยุธยา
ลองนึกภาพกษัตริย์แฟโรขนหินก้อนใหญ่ทีละก้อนคนเดียวไปกองไว้จนเป็นบิรามิด น่าตลก
17 ล้านปีก็คงสร้างไม่เสร็จ
    
ทำไมพวกนี้ตาบอด หรือแกล้งตาบอดถึงบทบาทมวลชน
?
    
ชนชั้นปกครองที่คุมสื่อกระแสหลักและพยายามผูกขาดความคิดประชาชน
ต้องการสอนเราให้คิดแต่ว่า
ผู้ใหญ่เท่านั้นที่เปลี่ยนสังคมหรือสร้างประวัติศาสตร์
พวกนี้ไม่ต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริงๆ
เขาเลยเสนอว่าที่อียิปต์มันเป็นรัฐประหารเท่านั้น
หรือเวลาพูดถึงเสื้อแดงก็บอกว่าเป็นแค่เครื่องมือทักษิณ หรือเวลาเกิดการลุกฮือในปี
๓๕ ที่ไทย ก็จะลืมบทบาทมวลชนและฉายภาพนายทหารสองคนเข้าเฝ้าประมุข
พวกที่คิดแบบนี้มักเน้นบทบาทรัฐบาลมหาอำนาจในการสร้างประชาธิปไตย
และมักพูดด้วยอคติว่าพวกที่นำการชุมนุมของมวลชน
พาคนไปตาย
    
แนวทางที่ตาบอดทางการเมืองมักปิดหูปิดตาถึงบทบาทมวลชนเสมอ
สำหรับนักวิชาการกระแสหลักและสื่อชนของชั้นปกครอง มันเป็นการจงใจตาบอด
แต่ในที่ลับๆ พวกนี้จะกลัวว่ามวลชนมีบทบาทแล้วจะล้มระบบ พวกนี้เรียกการล้มระบบ
ที่เต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและการขูดรีด ว่าเป็น
ความไม่สงบ
เขาต้องการความสงบในการปกครองของเขาต่อไป
และเขาหวังว่าคนที่อยู่ฝ่ายมวลชนในอดีตจะออกมาห้ามปรามและสลายการเคลื่อนไหว
ตัวอย่างที่ดีคือพรรคมุสลิมในอียิปต์ หรือ พรรคเพื่อไทยและ นปช. ในไทย
ในทั้งสองกรณีกองทัพและชนชั้นปกครองฝ่ายความหวังไว้กับพวกนี้
    
ฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะนักมาร์คซิสต์ จะเน้นบทบาทมวลชนเสมอ
และมองเห็นมวลชนเพราะใช้การวิเคราะห์ภาพรวมแบบ
วิภาษวิธี
ซึ่งเข้าใจชนชั้นด้วย คือมันมีผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ มันมีผู้ผลิต
และผู้ที่ขูดรีดผลผลิต และความขัดแย้งในสังคมไม่ใช่แค่เรื่อง
สองราชาแย่งสมบัติกัน
    
หลายคนในไทย
อาจกังวลว่าพวกหน้ากากขาวจะฉลองการที่ทหารล้มประธานาธิบดีมูรซี่ในอียิปต์
และอาจอ้างว่ามันเหมือนรัฐประหาร ๑๙ กันยา แต่มันต่างกันโดยสิ้นเชิง
    
สิ่งที่ทำให้มันต่างกันโดยสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับ
ความดีของกองทัพอียิปต์แต่อย่างใด
กองทัพอียิปต์โกงกินและมือเปื้อนเลือดประชาชนพอๆ กับกองทัพไทย
เพราะกองทัพอียิปต์เคยปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการ
และอดีตประธานาธิบดีมูบารักก็มาจากกองทัพ
มวลชนบางส่วนอาจดีใจที่กองทัพออกมาแทรกแซงและปลดประธานาธิบดีมูบารัก
และประธานาธิบดีมูรซี่ แต่กองทัพอียิปต์ไม่เคย
อยู่เคียงข้างประชาชน
แต่อย่างใด
    
พลังแท้ที่ล้มทั้งประธานาธิบดีมูบารัก และประธานาธิบดีมูรซี่ คือพลังมวลชน
ล่าสุดมีการประท้วงเป็นล้านๆ ตามท้องถนน และพลังสำคัญคือการนัดหยุดงานด้วย
ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ไม่ใช่ชนชั้นกลาง ทหารเพียงแต่ออกมาปลดประธานาธิบดี
เพื่อปกป้องสถานภาพของตนเอง เพราะกลัวกระบวนการปฏิวัติ
และข้อเรียกร้องหลักของมวลชนไม่เคยเป็นเรื่องการกวักมือเรียกให้ทหารทำการปฏิวัติ
หรือให้มีกระบวนการแต่งตั้งผู้นำใหม่ที่ไม่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย
ข้อเรียกร้องของมวลชนส่วนใหญ่ที่คัดค้านมูรซี่คือความต้องการที่จะผลักดันการปฏิวัติไปข้างหน้า
เพื่อให้เป็น
การปฏิวัติที่กินได้คือมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์สำหรับคนทำงานส่วนใหญ่
ทั้งในด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตย และในเรื่องปากท้อง
มีเรื่องนโยบายระหว่างประเทศอีกด้วย เขาไม่อยากเห็นนโยบายเดิมๆ
ที่ผูกมิตรกับอิสราเอล
    
ในกรณี ไทย ๑๙ กันยา มวลชนเสื้อเหลืองออกมาแต่ไม่ยิ่งใหญ่แบบอียิปต์
และเป็นการเรียกร้องให้
เจ้านายที่อยู่เบื้องบนปลดนายกที่มาจากการเลือกตั้ง
มีการตั้งความหวังกับกองทัพ และมีความต้องการที่จะหมุนนาฬิกากลับสู่สถานการณ์เดิมๆ
ยิ่งกว่านั้นมีความไม่พอใจที่รัฐบาลทักษิณทำตามคำมั่นสัญญาต่อคนจน
โดยดูถูกว่านั้นคือนโยบายแย่ๆ ที่เรียกว่า
ประชานิยมแต่ในอียิปต์มวลชนออกมาล้มมูรซี่เพราะไม่ทำตามสัญญาและไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนเลย

    
พูดง่ายๆ ในอียิปต์
กองทัพเป็นผู้ประสานงานให้กับการปลดผู้นำตามความต้องการและการกดดันของมวลชน
และมวลชนกับทหารรู้ดีว่าถ้ากองทัพไม่ประพฤติตัวดีๆ ตามกระบวนการประชาธิปไตย
มวลชนสามารถล้มทหารได้

ประณามความรุนแรงในอียิปต์ และข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่

องค์กรสังคมนิยมปฏิวัติอียิปต์ประณามความรุนแรงของกองทัพ และประณามจุดยืนของพรรคมุสลิม และโมฮัมมัด บาดี
สมาชิกอวุโสของพรรค
ที่จงใจสร้างสถานการณ์ความรุนแรงบนท้องถนนหลังจากที่ประธานาธิบดีมูรซี่ถูกล้ม
การกระทำของพรรค ด้วยการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา มุ่งที่จะสร้างสงครามกลางเมือง
และหาทางให้มูรซี่กลับมามีอำนาจ
     มวลชนเป็นล้านเป็นผู้ปลดมูรซี่
และไม่ต้องรอให้กองทัพมาปกป้องผู้คนที่กำลังยึดจตุรัสทาห์เรีย
     การปฏิวัติอียิปต์ต้องเดินหน้า
แต่มวลชนกำลังทบทวนสถานการณ์และการจัดตั้ง ทั้งในกลุ่มผู้ประท้วงบนท้องถนน
กลุ่มชุมชนและในสถานที่ทำงานต่างๆ ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลา
    
ไม่ว่าใครจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
คนคนนั้นควรมาจากแนวร่วมปฏิวัติที่ล้มมูบารักแต่แรก
นอกจากนี้เรามีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่คือ
1.รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องของคนจนที่มีบทบาทสำคัญในขบวนการปฏิวัติ
2.ต้องมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนของกลุ่มต่างๆ เช่นกรรมาชีพคนทำงาน เกษตรกร คนจน สตรี
และผู้แทนของชาวคริสต์คอพทิค
เพื่อร่างรัฐธรรมนูญที่เน้นสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม
3.ต้องมีการออกกฏหมายเพื่อลงโทษผู้นำพรรคมุสลิม
นายพลระดับสูง และซากเก่าของชนชั้นนำจากยุคมูบารัก
ซึ่งล้วนแต่มือเปื้อนเลือดประชาชน

วิเคราะห์สถานการณ์ปฏิวัติในอียปิต์ โดย สาเมย์ นากวิป องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์

วิเคราะห์สถานการณ์ปฏิวัติในอียปิต์
โดย สาเมย์
นากวิป องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์

สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่
30 มิถุนายน คือ คลื่นใหม่ของการปฏิวัติอียิปต์ หลังคลื่นที่ล้มมูบารัคในปี 2011
จำนวนคนที่ออกมาประท้วงในวันนั้นเกิน 17 ล้านคน
ใหญ่กว่าการประท้วงทุกครั้งในประวัติศาสตร์โลก นื่คือประเด็นหลัก และ
ประเด็นนี้สำคัญยิ่งกว่า การเข้าร่วมในการประท้วงครั้งนี้จากกลุ่มคนบางส่วนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลมูบารัค
และมันสำคัญกว่าภาพหลอกลวงว่ากองทัพและตำรวจเข้าข้างประชาชน
     การประท้วงของมวลชนเป็นล้านเป็นปรากฎการณ์พิเศษไม่ใช่ปรากฎการณ์ประจำวัน
และมีผลในการเพิ่มจิตสำนึกและความมั่นใจของมวลชน คือ มั่นใจว่าเขามีพลังที่จะเปลี่ยนทิศทางของประวัติศาสตร์ได้
ประเด็นนี้ก็สำคัญกว่า คำขวัญ หรือ สโลแกน หรือ
ข้อเสนอเรื่องทางเลือกที่มีการชูขึ้นมา
     แน่นอนพวกชนชั้นนายทุนเสรีนิยมต้องการฉวยโอกาสใช้กระแสมวลชนเพื่อล้มชนชั้นนำอิสลาม
เพื่อให้เขาเข้ามามีอำนาจแทน ผ่านการสนับสนุนของกองทัพ และ
เราปฏิเสธไม่ได้ที่ซากรัฐบาลเผด็จการมูบารัคก็ต้องการที่จะเข้ามามีบทบาททางการเมืองด้วย
แต่การปฏิวัติของมวลชนจำนวนมากมีตรรกะพิเศษ คือ จะไม่ยอมจำนนอย่างง่ายๆ
ต่อแผนของนายทุนเสรีนิยมหรือซากเดนของชนชั้นปกครองเก่า ทั้งๆ ที่มวลชนอาจจะได้รับอิทธิพลจากคำขวัญหรือคำมั่นสัญญาของพวกนี้
เหมือนกับที่มวลชนเคยได้รับอิทธิพลจาก สโลแกนและคำมั่นสัญญาจากชนชั้นนำอิสลาม
     แน่นอน
มันมีอิทธิพลของสื่อกระแสหลักภายใต้การควบคุมของชนชั้นนำที่คัดค้านพรรคมุสลิม
มันมีการโฆษณาว่าตำรวจและทหารอยู่เคียงข้างประชาชน มีการโฆษณาว่ากองกำลังของรัฐเป็นกลาง
และ ต้องการแค่ปกป้องชาติ ยิ่งกว่านั้นมีการอ้างว่ากองทัพมีอุดมการณ์ปฏิวัติ
แต่อิทธิพลของการเป่าประกาศแบบนี้เป็นเรื่องชั่วคราวและผิวเผิน
มันลบความทรงจำและประสบการณ์โดยตรงของมวลชนไม่ได้ ประสบการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่ากองทัพและตำรวจเป็นพวกปฏิกิริยาต่อต้านการปฏิวัติ
และ เป็นศัตรูของประชาชน
     สาเหตุที่มันมีอิทธิพลชั่วคราวแบบนี้ในมวลชน
มาจากการหักหลังของฝ่ายค้านเสรีนิยม ที่นำโดย “แนวร่วมกู้ชาติ” 
พวกนี้ทอดทิ้งเป้าหมายของการปฏิวัติและหักหลังวีรชนที่เสียชีพ  เพื่อให้ตนเองขึ้นมามีอำนาจ ความอ่อนแอของฝ่ายปฏิวัติอยู่ที่ว่า
ไม่มีแนวร่วมปฏิวัติที่เข้มแข็งพอที่จะเปิดโปง “แนวร่วมกู้ชาติ” และช่วงชิงการนำเพื่อให้มวลชนเข้ามาสนับสนุนแนวทางปฏิวัติที่เป็นรูปธรรม
แนวทางนี้จะไปไกลกว่าพวกเสรีนิยมหรือพวกชนชั้นนำอิสลาม
เพื่อให้การปฏิวัติพัฒนาถึงขั้นสูง ซึ่งจะกระทำได้ด้วยการโค่นล้มสถาบันต่างๆ ของเผด็จการเก่า
รวมถึงทหาร ซึ่งเป็นหัวใจของการทำลายการปฏิวัติ
    
มวลชนไม่ได้กบฎและทำการปฏิวัติขึ้นใหม่เพราะต้องการเผด็จการทหาร หรือ
มองว่านายทุนเสรีนิยมดีกว่าพรรคมุสลิม เขาออกมาประท้วงและกบฎเพราะอดีตประธานาธิบดีมูรซี่
ทรยศต่อการปฏิวัติ
รัฐบาลของมูรซี่ไม่ได้นำข้อเรียกร้องของการปฏิวัติแม้แต่ข้อเดียวมาปฏิบัติเป็นรูปธรรม
เช่น ข้อเรียกร้องเพื่อความยุติธรรมทางสังคม เพื่อเสรีภาพ
เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ เพื่อแก้แค้นแทนวีระชนที่เสียชีวิต
    
ในความเป็นจริงการปกครองของพรรคมุสลิม
เน้นนโยบายของรัฐบาลเดิมสมัยเผด็จการมูบารัค 
คือ นโยบายที่นำไปสู่ความยากจนของประชาชนผ่านกลไกตลาดเสรี
การโกงกินของข้าราชการและการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริการและอิสราเอล
    
แทนที่จะกวาดล้างพวกมือเปื้อนเลือดและพวกคอรัปชั่น ออกจากโครงสร้างรัฐ พรรคมุสลิมพยามทำข้อตกลงกับกองทัพและฝ่ายราชการลับ
เพื่อที่จะเข้ามาร่วมบริหารประเทศกับพวกนี้ ดังนั้นรัฐบาลพรรคมุสลิม
กลายเป็นเพียงเครื่องพ่วงของเผด็จการมูบารัค 
ซึ่งประชาชนเคยออกมาล้มเมื่อสองปีก่อน
    
นี่คือเนื้อเรื่องหลักของการระเบิดขึ้นในคลื่นการปฏิวัติที่สองในวันที่ 30
มิถุนายน พรรคมุสลิมไม่ได้เข้าใจประเด็นนี้ ซึ่งทำให้ฐานสนับสนุนลดลงอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่เดือน
และนี่คือสิ่งที่กองทัพและนักการเมืองนายทุนเสรีนิยมไม่เข้าใจเช่นกัน เพราะเขาจะไม่สามารถใช้อำนาจปืนในการดำเนินนโยบายเก่าของมูรซี่
หรือ ของคณะกรรมการทหาร และ มูบารัคก่อนหน้านั้น
    
รัฐบาลและสื่อกระแสหลักตะวันตกที่อยู่ใต้อิทธิพลของนายทุน พยายามจะวาดภาพว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์คือแค่รัฐประหารที่ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นมันเกินเลยขอบเขตของประชาธิปไตยทางการในระบบทุนนิยม
มันเป็นการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชนจำนวนมาก
ซึ่งสร้างความชอบธรรมในเชิงประชาธิปไตยปฏิวัติ
    
สถานการณ์แบบนี้เปิดฉากไปสู่รูปแบบใหม่ๆ ของพลังประชาชน
มันพัฒนาไปไกลกว่าระบบการเลือกตั้ง ที่ให้เราเลือกระหว่างซีกต่างๆ ของชนชั้นนายทุน
และสร้างภาพลวงตาว่าเป็นประชาธิปไตยโดยไม่แตะอำนาจของรัฐนายทุนที่ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่
    
สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์คือประชาธิปไตยสูงสุด
มันเป็นการปฏิวัติของประชาชนเป็นล้าน
ส่วนการที่กองทัพปลดมูรซี่ออกจากตำแหน่งเป็นเรื่องที่ใครๆ คาดเดาไว้อยู่แล้ว เพราะเมื่อกองทัพเห็นว่ามวลชนออกมาแบบนี้
กองทัพต้องจำยอม แต่ไม่ได้เป็นการจำยอมเพราะรักชาติหรือรักประชาชน
มันการจำยอมเพราะกลัวการปฏิวัติต่างหาก 
ถ้านายพลอัลซิซี่ ไม่ออกมาแทรกแซงตอนนั้นการปฏิวัติจะเดินหน้าล้มมูรซี่
พรรคมุสลิม กองทัพ และ โครงสร้างของรัฐทุนนิยมทั้งหมด สิ่งเหล่านี้มวลชนยังทำได้
    
พวกทหารเป็นศัตรูของการปฏิวัติอียิปต์ เขาปลดทั้งมูบารัคและมูรซี่
เพื่อปกป้องตัวเองเท่านั้น 
ในยุคก่อนชัยชนะของมูรซี่ในการเลือกตั้ง
มวลชนที่เคยหลงเชื่อว่ากองทัพยืนเคียงข้างการปฏิวัติได้ตาสว่างและหันมาต่อต้านคณะกรรมการทหาร
ตอนนี้มวลชนจำนวนมากอาจจะหลงเชื่อนิยายเกี่ยวกับความกล้าหาญของนายพลอัลซิซี่
อย่างไรก็ตามมวลชนสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดต่อไปได้อย่างรวดเร็ว และ
หมดความปลื้มในกองทัพภายในไม่กี่เดือน
    
การที่มวลชนล้มประธานาธิบดีสองครั้งในรอบ 30 เดือนที่ผ่านมา ถูกสะท้อนในคลื่นการนัดหยุดงานในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพ 
การต่อสู้ทางการเมืองและการต่อสู้ในเรื่องปากท้องจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
    
หลังคลื่นการปฏิวัติแรก กองทัพประเมินว่าพรรคมุสลิม
คงจะมีความสามารถพอที่จะลดและในที่สุดยุติพลังของการปฏิวัติ แต่สถานการณ์พิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง
ตอนนี้กองทัพจึงหันมาตั้งความหวังกับพวกนักการเมืองเสรีนิยมของฝ่ายนายทุน
แต่นักการเมืองเหล่านี้ไม่มีทางที่จะตอบสนองความต้องการของคนจำนวนมากในวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอียิปต์ 
ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดโปงพวกนี้และฝ่ายทหารที่หนุนหลัง
    
อันตรายและความเสี่ยงที่เผชิญหน้าเราอยู่ในขณะนี้ คือ
การปราบปรามจากฝ่ายรัฐที่เริ่มพุ่งเป้าไปที่พรรคมุสลิม
แต่อาจจะถูกใช้เพื่อปราบปรามการนัดหยุดงานของกรรมกรและการประท้วง
ด้วยเหตุนี้เราจะต้องคัดค้านการปราบปรามพรรคมุสลิม และ การปิดสื่อของเขา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาในวันนี้จะเกิดขึ้นกับขบวนการแรงงานและฝ่ายซ้ายในวันข้างหน้า
    
ปัญหาใหญ่ของเราในฝ่ายปฏิวัติที่ต้องการโค่นล้มซากเดนของเผด็จการที่ยังมีอิทธิพลอยู่
คือ เราอ่อนแอเกินไป ฝ่ายปฏิวัติทุกส่วนจะต้องสามัคคีรวมพลัง  เพื่อช่วงชิงการนำในกระแสมวลชนโดยเสนอแนวทางปฏิวัติที่เป็นรูปธรรม
เราจะต้องเป็นทางเลือกที่ไม่ใช่พวกเสรีนิยมที่เกาะติดอำนาจทหาร
เราจะต้องสามารถเชื่อมโยงข้อเรียกร้องปากท้องของขบวนการแรงงานและคนจน กับ
ข้อเรียกร้องทางการเมือง

    
ด้วยเหตุนี้ เราเริ่มเตรียมการเพื่อการปฏิวัติคลื่นที่สามตั้งแต่วันนี้ และ
เราเตรียมการที่จะนำการปฏิวัติคลื่นนี้ไปสู่ชัยชนะ
มวลชนได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าเขากระตือรือร้นที่จะปฏิวัติอย่างต่อเนื่อง
เราจะต้องลุกขึ้นมารับภาระกิจทางประวัติศาสตร์ที่จะทำงานร่วมกัน
เพื่อให้การปฏิวัติประสบความสำเร็จ