ด. “เด็ก”

ในสังคมเกษตรที่ไม่มีสวัสดิการจากการทำงาน เด็กจะมีภาระสำคัญในการดูแลคนชรา แต่เมื่อทุนนิยมขยายตัวมากขึ้น ผู้ใหญ่จะเริ่มมีสวัสดิการที่จะดูแลตัวเองเมื่อเกษียณ บทบาทของเด็กก็เปลี่ยนไปพร้อมกับขนาดของครอบครัวที่เล็กลงด้วย

โดย ลั่นทมขาว

ทัศนะที่คนในสังคมมีต่อเด็ก เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ก่อนระบบอุตสาหกรรมและทุนนิยม เด็กจะไม่ถูกฝึกฝนในโรงเรียนและจะเรียนรู้ท่ามกลางการช่วยเหลือคนในครอบครัวทำงาน โดยมีพ่อแม่ลุงป้าน้าอาหรือพี่คอยให้คำแนะนำ ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกษตร  ในยุคนั้นการ “เล่น” ไม่ถูกมองว่าสำคัญ ทั้งๆ ที่เด็กคงเล่นในขณะที่ทำงานหรือเรียนรู้
   
ในยุคต้นๆ ของการพัฒนาอุตสาหกรรม ชีวิตของเด็กแย่ลงมาก เพราะจะต้องไปทำงานในโรงงานในสภาพที่ป่าเถื่อน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันตกในศตวรรษที่๑๙ และยังเกิดขึ้นทุกวันนี้ในประเทศยากจน ในไทยก็มีปรากฏการณ์นี้เหลืออยู่บ้าง โดยเฉพาะในหมู่ลูกๆ ของคนรับใช้ตามบ้าน ถ้าเด็กเหล่านั้นเป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้าน
   
สาเหตุที่มีการใช้แรงงานเด็กในยุคต้นๆ ของการพัฒนาอุตสาหกรรมก็เพราะแรงงานเด็กราคาถูก และครอบครัวคนจนมีรายได้ไม่พอ ทุกคนในครอบครัวจึงต้องทำงาน ในกรณีสหรัฐอเมริกา การพัฒนาทุนนิยมตอนต้นอาศัยแรงงานทาสอีกด้วย ซึ่งรวมถึงทาสที่เป็นเด็ก ทุกวันนี้ยังมีแรงงานทาสหลงเหลืออยู่บ้างในเอเชียและอัฟริกา แต่จะเป็นทาสที่ถูกขายเพื่อจ่ายหนี้เป็นส่วนใหญ่
   
ในสังคมเกษตรที่ไม่มีสวัสดิการจากการทำงาน เด็กจะมีภาระสำคัญในการดูแลคนชรา แต่เมื่อทุนนิยมขยายตัวมากขึ้น ผู้ใหญ่จะเริ่มมีสวัสดิการที่จะดูแลตัวเองเมื่อเกษียณ บทบาทของเด็กก็เปลี่ยนไปพร้อมกับขนาดของครอบครัวที่เล็กลงด้วย
   
เมื่อทุนนิยมและระบบอุตสาหกรรมพัมนามากขึ้น แรงงานที่ต้องการจะเป็นแรงงานฝีมือมากขึ้น และนอกจากนี้แรงงานต้องมีสุขภาพดีแข็งแรง เหมาะสมกับการทำงาน ดังนั้นเริ่มมีการนำระบบการศึกษาภาคบังคับมากใช้ เริ่มมีการให้ความสำคัญกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นแรงงานรุ่นต่อไปในอนาคต จึงมีการออกกฏหมายห้ามใช้แรงงานเด็ก และกฏหมายที่บังคับให้เด็กไปโรงเรียน แต่ถ้าเด็กจะได้รับการศึกษา ไม่ต้องทำงาน และมีสุขภาพดี พ่อแม่เขาต้องได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเพื่อเลี้ยงเด็ก และรัฐต้องลงทุนในระบบการศึกษาและระบบสาธารณสุข และสำหรับทุนนิยมมันเป็นการ “ลงทุน” ที่คุ้มค่า เพราะการผลิตจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างมูลค่าต่อหัวคนทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ
   
เวลาเราพิจารณาระบบการศึกษาสำหรับเด็ก เราจะเห็นว่าทุนนิยมขัดแย้งในตัวเอง
   
คือในแง่หนึ่งผู้ที่คุมระบบทุนนิยมต้องการแรงงานที่มีการศึกษาและฝีมือ ซึ่งแปลว่าระบบการศึกษาต้องเน้นการพัฒนาฝีมือ และที่สำคัญต้องเน้นการฝึกฝนให้เด็กคิดเองและแก้ปัญหาหลากหลายได้ ไม่ใช่นำเด็กมาท่องจำทุกอย่างตามวินัยของไม้เรียวครู ซึ่งแปลว่าสัดส่วนเด็กต่อครูในห้องเรียนต้องน้อยลง ต้องสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง คือเน้นว่าเด็กแต่ละคนมีลักษณะพิเศษของตนเองที่พัฒนาได้ ต้องไม่พัฒนาตามพิมพ์เขียวเดียวกันที่ใช้กับทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการ “เล่น” เพื่อเรียนรู้ และเด็กที่ผ่านระบบการศึกษาแบบนี้จะเหมาะสมมากกับเศรษฐกิจและการทำงานสมัยใหม่
   
แต่ในอีกแง่หนึ่งผู้ที่คุมระบบทุนนิยมต้องการประหยัดงบประมาณรัฐ โดยเฉพาะเวลามีวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการลดลงของกำไรกลุ่มทุน การสอนเด็กแบบที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางมักใช้งบประมาณสูง ยิ่งกว่านั้นการสอนเด็กให้คิดเองเป็นและแก้ปัญหาเอง ทำให้ประชาชนที่เติบโตจากเด็กรุ่นนั้นถูกควบคุมลำบาก ไม่เชื่อฟังคำสั่งง่ายๆ ถ้าไม่มีเหตุผล ซึ่งระบบการศึกษาในสังคมทุนนิยมมักจะมีเป้าหมายไว้เพื่อกล่อมเกลาให้คนจงรักภักดีต่อผู้มีอำนาจเสมอ นอกจากนี้ถ้าระบบการศึกษามีประสิทธิภาพสูง คนที่จบออกมาจะไม่พอใจในการทำงานซ้ำซาก และจะไม่พอใจเมื่องานฝีมือที่ไม่น่าเบื่อมีน้อยเกินไปจนต้องตกงาน
   
ดังนั้นในระบบทุนนิยมจะมีการจงใจคัดเลือกคน ให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ และให้คนส่วนน้อยเป็นฝ่ายสำเร็จ วิธีที่มักใช้กันคือการสอบ และการสอบไม่ใช่การเลือกคนฉลาดหรือเก่ง เพราะมันมีเงื่อนไขหลายอย่างที่นำไปสู่การสอบผ่านและคะแนนดี ซึ่งถ้าดูในภาพรวมจะเห็นว่าเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะมักผ่านข้อสอบในอัตราสูงกว่าเด็กจากครอบครัวยากจน ในโลกจริงคนที่สอบผ่านและเข้าไปเรียนเป็นหมอได้ ไม่ได้ “ฉลาด” กว่าคนอื่นส่วนใหญ่ เพียงแต่เขามีโอกาสมากกว่าคนอื่น ดังนั้นในสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม เราจะยกเลิกการสอบส่วนใหญ่ เราจะใช้ระบบการศึกษาที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง เราจะไม่จำกัดการศึกษาไว้แค่ในวัยเด็ก และเราจะยกเลิกความเหลื่อมล้ำทางอำนาจระหว่างเด็กและครู เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างเสรีจนพัฒนาตนเองได้เต็มที่ในทุกด้าน
   
ในทุนนิยมสมัยนี้ เรายังมองว่าเด็กเป็น “ทรัพย์สิน” ของผู้ใหญ่ คือเราอ้างสิทธิ์ที่จะควบคุมชีวิตเด็ก เราไม่ให้เด็กมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเต็มที่ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือเลือกวิถีชีวิตอย่างเสรี ดังนั้นภายใต้สังคมนิยม เราจะต้องร่วมกันค้นหาวิธีปลดปล่อยเด็กให้มีเสรีภาพมากขึ้น และสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่เคารพเด็กเหมือนเป็นมนุษย์เต็มตัว

ยางพารา ราคาตกต่ำ ความไม่ยุติธรรมของกลไกตลาด

การบริหารของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย กระทำได้เพียงการพยุงราคาไม่ตกต่ำ จนกระทบกับความเดือดร้อนของเกษตรกร เท่านั้น วิธีการหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็เอาเงินมารับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จะเก็บไว้ หรือขายขาดทุน ก็สุดแท้แต่

โดย วัฒนะ วรรณ

ยางพารา ถือว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นเดียวกับ น้ำมัน น้ำตาล ข้าว ที่ผลิตจากที่แหล่งไหน ประเทศใด ก็คล้ายกัน ใช้ทดแทนกันได้  ดังนั้น ราคาของยางพารา จึงถูกกำหนด โดยตลาดโลก ซึ่งขึ้นตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

เหตุผลที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ ก็เป็นผลของการเจริญเติบโต ของเศรษฐกิจจีน เพราะเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ขนาดใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะยางพาราเท่านั้นที่ราคาสูงขึ้น ถ่ายหิน น้ำมัน ฯลฯ ก็สูงขึ้นมากเช่นกัน

ส่วนที่ราคาตกเรื่อยมา เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ รุกรามไปยุโรป กระทบชิ่งไปญี่ปุ่น เรื่อยมาจนถึงจีน ที่ใครๆ เคยบอกว่าจะเป็นหลุมเพาะจากวิกฤตสหรัฐ แต่จีนกับสหรัฐมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจมาก จึงไม่รอด เศรษฐกิจหดตัวมาต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันใกล้

ราคายางจะถูกหรือว่าแพง ในภาพใหญ่ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยมาก กับฝีมือการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นทักษิณ หรืออภิสิทธิ์ มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงไหนเท่านั้น ถ้าเข้ามาในช่วงเศรษฐกิจโลกเติบโต ก็จะได้รับอานิสงส์ ทำให้ราคายางสูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็อาจจะต้องเผชิญกับการเรียกร้องของเกษตรกร เนื่องด้วยราคาตกต่ำลง

การบริหารของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย กระทำได้เพียงการพยุงราคาไม่ตกต่ำ จนกระทบกับความเดือดร้อนของเกษตรกร เท่านั้น วิธีการหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็เอาเงินมารับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จะเก็บไว้ หรือขายขาดทุน ก็สุดแท้แต่

คำถามสำคัญคือจะพยุงให้สูง ถึงขนาดไหนถึงเป็นธรรม พี่น้องเกษตรกรจึงจะอยู่ได้ และต้องใช้เงินเท่าไร ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ ต้องคิดประกอบกันในแง่การบริหาร

แต่เกษตรกรปลูกยางนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับยากจนมีไม่กี่สิบไร จนถึงระดับร่ำรวยมีเป็นพันเป็นหมื่นไร่ ขอบเขตการพยุงราคาควรกินพื้นที่กว้างขนาดไหน นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องถกเถียงกัน นอกจากนี้ก็ยังมีเกษตรกรผู้รับจ้างกรีดยาง ซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากจำนวนที่กรีดได้ ซึ่งก็ต้องคำนึงอีกด้วย

การจะให้ราคายางกลับตัวไปในช่วงที่สูงมากๆ ในอดีต คงเป็นเรื่องยาก เพราะเศรษฐกิจโลกเจอวิกฤตเรื้อรัง คงไม่หายได้ง่ายๆ ในเร็ววัน และยังมีการแพร่เชื่อไปที่อื่นๆ ด้วย ล่าสุดที่ก็อินเดีย คิวต่อไปก็อาจจะกลุ่ม TIP(ไทย อินโด ฟิลิปปินส์) ในกรณีไทย ที่ผ่านมาส่วนหนึ่งที่ดูจะได้รับผลกระทบไม่มากนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ก็น่าจะเป็นมาจากการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าจ้าง 300 บาท รับจำนำข้าว 15000 บาท รวมถึงการพยายามผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ช่วยสร้างงานภายในประเทศ แต่การเพิ่มกำลังซื้อภายในเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้ หากประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น ยังไม่สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ เนื่องด้วยไทยต้องพึ่งพิงการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านี้เป็นสำคัญ

ถ้าจะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะกรรมาชีพ รับเงินเดือน กับเกษตรกรยากจน เราต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการกระจายรายได้ ให้ดีกว่านี้ เพราะถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อไร ผู้ได้รับผลกระทบหนักสุดก็จะเป็นกรรมาชีพ ส่วนคนร่ำรวยอาจจะจนลงไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเดือดร้อนไม่มีข้าวกิน ไม่มีบ้านอยู่ ยังสามารถใช้ชีวิตสุขสบายได้ตามปกติ

ต้องมีการเก็บภาษีรายได้ในอัตราที่สูงมากๆ สำหรับคนร่ำรวยมากๆ เพื่อนำเงินมาจัดสรรสร้างระบบสวัสดิการ เพื่อดูแลทุกคนในรัฐ เป็นเกาะป้องกัน ความลำบากเดือดร้อนที่อาจจะมาเยือนเมื่อไรก็ได้ จำเป็นที่ผู้รักความเป็นธรรมจะต้องร่วมมือกัน ตั้งคำถามของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน เพื่อผลักดันสังคมไปข้างหน้า หาแนวทางออกร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สงครามกลางเมืองที่ปัตานี และทางออกสู่สันติภาพ

โดย  ใจ อึ๊งภากรณ์
บทความนี้เป็นความพยายามที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ในสงครามกลางเมืองที่
“ปัตานี-ภาคใต้”
แต่จะเน้นการวิเคราะห์จากมุมมองผู้ถูกกดขี่ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความยุติธรรม
และสิทธิที่จะกำหนดการปกครองของตนเอง
บทความนี้ต่างจากบทความของนักวิชาการกระแสหลัก
ที่ต้องการเขียนในกรอบที่ยอมรับลักษณะของพรมแดนรัฐไทยปัจจุบัน
และยอมรับอำนาจของรัฐไทยและทหารเหนือประชาชน ผู้เขียนไม่ได้หวังเขียนเพื่อเปลี่ยนใจพวกนายพลหรือนักการเมือง
แต่เขียนเพราะหวังว่าประชาชนธรรมดา ที่รักความเป็นธรรมและต้องการปฏิรูปให้สังคมก้าวหน้า
จะได้อ่านและนำไปคิด ถกเถียง และปฏิบัติต่อ
     สงครามในปัตานีเป็นสงครามร้ายแรง ตัวเลขของ กอ.รมน.
ระบุว่าระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ มีคนเสียชีวิตในสงครามกลางเมืองนี้
5,105 คน และบาดเจ็บ 9,372 น่าสังเกตว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเป็นคนมาเลย์มุสลิม
ซึ่งทำให้เราเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่รัฐไทย ไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ
เป็นผู้ฆ่าประชาชนส่วนใหญ่
     ในบทความนี้ผู้เขียนจะใช้คำว่า “ปัตานี”
หรือ “ปัตานี-ภาคใต้”
เพื่อระบุถึงสามจังหวัดที่รัฐไทยยึดครองอยู่และเคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ปัตานีโบราณ
นั้นคือจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
รัฐไทยเป็นอุปสรรคหลักในการสร้างสันติภาพและการกำหนดอนาตเองของคนในพื้นที่
สงครามกลางเมืองปัจจุบันในปัตานีมีรากกำเนิดมาจากการสร้าง
“รัฐชาติไทย” ในรูปแบบ “รัฐทุนนิยม” เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่๕
ก่อนที่จะมีการรวมศูนย์การปกครองในครั้งนั้น ชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย
มีการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจพอสมควร และหลายส่วน เช่นปัตานี เป็นรัฐอิสระ
     การสร้างรัฐสมัยใหม่ในรูปแบบรวมศูนย์
เกิดขึ้นในอาณานิคมตะวันตกด้วย เกิดในยุคที่ทุนนิยมเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับการล่าอาณานิคม
จึงมีการสร้างรัฐรวมศูนย์ในมาลายู พม่า อินโดจีน และอินโดนีเซีย โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส
และฮอลแลนด์ การยึดพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศไทยโดยรัฐบาลกรุงเทพฯ
จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเดียวกัน
คือการล่าอาณานิคมและการสร้างรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ การบังคับใช้ภาษากลาง
และการส่งเสริมแนวชาตินิยมของส่วนกลาง โดยทำลายวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนพื้นเมือง
เป็นองค์กระกอบสำคัญของกระบวนการสร้างชาตินี้[1]
    
ถึงแม้ว่ารากกำเนิดของปัญหาในปัตานี-ภาคใต้อยู่ที่กระบวนการสร้างรัฐรวมศูนย์ในอดีต
ซึ่งอาศัยข้อตกลงแบ่งดินแดนปัตานีระหว่างกรุงเทพฯ กับลอนดอนในปี ค.ศ. 1909
แต่การที่ความขัดแย้งและความรุนแรงยังดำรงอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะมีการผลิตซ้ำการปราบปราม การกดขี่ และความอยุติธรรม
ที่รัฐไทยกระทำต่อชาวมาเลย์มุสลิมมาตลอด ซึ่งจะลงรายละเอียดเพิ่มในหน้าต่อๆ ไป
สิ่งที่สำคัญคือในยุคสมัยนี้ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐไทย
และอยากปลีกตัวออกไป เพราะรัฐไทยยึดครองปัตานีเหมือนอาณานิคม
    
หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมส่วนอื่นของประเทศไทย
เช่นภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีขบวนการอิสรภาพที่ต่อสู้เพื่อเอกราช
เรื่องนี้ซับซ้อนและไม่ใช่ว่าคนในพื้นที่เหล่านั้นพึงพอใจกับรัฐไทยไปหมด
แต่คำตอบหนึ่งคือในกรณีภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
มีการดึงชนชั้นนำในพื้นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง “ไทย”
มีการเคารพวัฒนธรรมบ้าง และไม่มีปัญหาการกดขี่ทางศาสนาเพราะเป็นชาวพุทธ
แต่ในกรณีปัตานีชนชั้นปกครองเก่าถูกเขี่ยออกไปและวัฒนธรรม ศาสนา
และภาษาถูกกดขี่อย่างหนัก
เหมือนกับว่าชนชั้นปกครองไทยต้องการลบทิ้งความเป็นตัวเองของคนในพื้นที่ให้หมดไป
นอกจากนี้ในแง่ของเศรษฐกิจมีการทำให้ประชาชนเป็นคนชายขอบที่เข้าถึงการพัฒนาในส่วนอื่นๆ
ไม่ได้อีกด้วย
    
เราไม่ควรแปลกใจที่ชนชั้นปกครองไทยมีผลประโยชน์โดยตรงที่มาจากการคุมพื้นที่ทั้งหมดที่ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของประเทศ
และพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะปราบผู้ที่อยากแยกออกไปปกครองตนเอง รัฐต่างๆ
ทั่วโลกไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ดำรงอยู่ใน “ระบบรัฐต่างๆ ของโลก”
[2]
และแต่ละรัฐมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เท่าเทียม รัฐที่มีอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจจะกดขี่รัฐที่อ่อนแอกว่า
นี่คือสภาพที่เราเรียกว่า “จักรวรรดินิยม”
     จากงานเขียนของ เลนิน ชื่อ
“รัฐกับการปฏิวัติ” เราเข้าใจได้ว่ารัฐมีไว้เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองในการกดขี่ควบคุมประชาชนภายในประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นล่าง
เช่นเกษตรกรกับกรรมาชีพ รวมถึงชนชั้นกลางด้วย
     ดังนั้นจะเห็นว่าอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐมีทั้งมิติระหว่างประเทศกับภายในประเทศ
รัฐไหนที่ดูอ่อนแอเพราะต้องยอมจำนนต่อผู้ที่อยากแบ่งแยกดินแดนเพื่อปกครองตนเอง
จะเสียเปรียบในการแข่งขันกับรัฐอื่นในโลกหรือในภูมิภาคอาเซี่ยน และเสียเปรียบในการที่จะควบคุมประชาชนทั้งหมดของประเทศอีกด้วย
    
ด้วยเหตุนี้อุปสรรคหลักในการที่ชาวปัตานีจะได้เสรีภาพ
คือรัฐไทยและผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในรัฐไทย ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ เราจะเข้าใจได้ว่าการวิงวอนขอความเมตตาจากชนชั้นปกครองไทย
เพื่อสร้างอิสรภาพในปัตตานี ไม่ว่าจะด้วยการแบ่งแยกดินแดน
หรือการปกครองตนเองภายในพรมแดนรัฐชาติไทย ย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ
ถ้าเสรีภาพจะบังเกิด จะต้องมีการต่อสู้ แต่การต่อสู้มีหลายแบบ
ไม่ใช่แค่การจับอาวุธ และผู้ที่จะสู้อาจต้องอาศัยแนวร่วมของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนชั้นล่างในพื้นที่อื่นด้วย
     เมื่อการต่อสู้เพื่อเสรีภาพย่อมนำไปสู่การเจรจา
ผู้ที่สำคัญที่สุดในการเจรจาคือผู้ที่ถืออำนาจทางการเมือง
และมีความชอบธรรมในการถืออำนาจทางการเมืองนั้นด้วย พูดง่ายๆ
ปัญหาสงครามในปัตานีต้องเป็นกระบวนการทางการเมือง ไม่ใช่การใช้ทหารโดยรัฐไทย
ทหารจึงไม่ควรมีส่วนในการเจรจาสันติภาพแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่นี่ https://docs.google.com/file/d/0B8pAI4xnkVDkMGFNZ3VJcmlSVDg/edit?pli=1


[1] ใจ อึ๊งภากรณ์  (๒๕๕๒) “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อถกเถียงทางการเมือง”
WD Press กรุงเทพฯ หน้า 27 อ่านได้ที่ 
http://www.scribd.com/doc/42046714/
และ
ใจ อึ๊งภากรณ์ (๒๕๔๓)
การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมาร์คซ์ ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน
กรุงเทพฯ
[2] Alex
Callinicos (2009) Imperialism and the Global Political Economy. Polity
Press, Cambridge, U.K.

การเกลียด “คนต่าง” ไม่ใช่ธรรมชาติมนุษย์

ในสมัยโรมัน จักรพรรดิจะเป็นคนผิวขาวหรือผิวดำก็ได้ ไม่มีใครคิดมาก คนไทยเองในอดีตก็ไม่เคยสนใจสีผิวหรือแสวงหาครีมที่ทำให้ผิวขาวขึ้นก่อนที่จะมีค่านิยมเหยียดสีผิวเกิดขึ้นในระบบทุนนิยม 

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ความคิดกระแสหลักมักเสนอว่าความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่มีวัฒนธรรม ศาสนา หรือภาษาที่แตกต่างกัน เป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” โดยมีการอธิบายว่ามนุษย์ย่อมระแวงหรือเกลียดชังผู้ที่แตกต่าง พวกกระแสหลักเหล่านี้มองว่าความคิดเหยียดสีผิวหรือเชื้อชาติเป็นเรื่อง “ปกติ” โดยเฉพาะในหมู่คนชั้นล่างหรือคนจนที่ “ขาดการศึกษา” และถ้าจะแก้ปัญหานี้ต้องใช้การศึกษา เพื่อสอนให้คนใจกว้างเปิดรับความแตกต่าง
   
แต่ประวัติศาสตร์โลกไม่เคยรองรับหรือสนับสนุนข้อเสนอนี้แต่อย่างใด ประวัติศาสตร์ทั่วโลกเป็นประวัติศาสตร์ของคนที่อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุขท่ามกลางความหลากหลาย นั้นคือ “ธรรมชาติของมนุษย์” แต่บ่อยครั้ง ในยุคที่มีสังคมชนชั้น ประชาชนจะถูกสอนหรือปลุกระดมให้เกลียดชังดูถูก “คนต่าง” เพื่อผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ เพราะผู้มีอำนาจในสังคมชนชั้นที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ย่อมต้องการให้เราหลงเชื่อว่า “เราเป็นพวกเดียวกัน” เช่น “เราเป็นคนไทยด้วยกัน” ไม่ว่าเราจะเป็นคนจน คนรวย ลูกจ้าง นายจ้าง กรรมาชีพ นายทุน หรือนายพล

ในการต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว เรามองว่าต้องใช้ทัศนะทางชนชั้น เพื่อทำลายความคิดคับแคบของลัทธิชาตินิยม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกรรมาชีพ หรือคนทำงาน ข้ามพรมแดน และความแตกต่างทางเชื้อชาติและสีผิว
   
แนวคิดเหยียดเชื้อชาติและสีผิว เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์คนทำงาน ขัดแย้งกับผลประโยชน์คนส่วนใหญ่ เพราะเป็นแนวคิดตามสูตร “แบ่งแยกเพื่อปกครอง” ซึ่งเห็นได้ชัดจากการจัดตั้งในสหภาพแรงงาน ถ้าคนงานเชื้อชาติต่างกันไม่ยอมร่วมมือกันในสหภาพแรงงาน ผู้ที่ได้ประโยชน์มีฝ่ายเดียวเท่านั้นคือนายทุน และในภูมิภาคที่มีกระแสเหยียดสีผิวและเชื้อชาติสูง ค่าแรงและสภาพการจ้างงานของคนทำงานทุกคน มักแย่กว่าในที่ที่มีความสามัคคี ตัวอย่างที่ดีคือในรัฐทางใต้ของสหรัฐ ในไอร์แลนด์เหนือ หรือแม้แต่ในไทย
   
การที่มนุษย์คิดว่าตนเป็นพลเมืองชาติอะไร เป็นคนเชื้อชาติใด หรือมีสีผิวแบบไหน เป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมาในสังคมชนชั้น โดยเฉพาะระบบทุนนิยม เพราะก่อนยุคทุนนิยมไม่มีรัฐชาติ จึงไม่มีลัทธิชาตินิยม ในอดีตคนอยุธยาหรือลพบุรีจะไม่มองว่าตนเองเป็น “คนไทย” ในอยุธยาเองก็มีการใช้หลายๆ ภาษาพร้อมกัน เจ้าหน้าที่รัฐอยุธยามีทั้งคนไทย คนอิหร่าน คนมาเลย์ คนจีน และคนญี่ปุ่น ทหารที่ปกป้องอยุธยาก็เป็นคนไทยปนกับคนอื่นๆ เช่นคนปอร์ตุเกสเป็นต้น
   
ในสมัยโรมัน จักรพรรดิจะเป็นคนผิวขาวหรือผิวดำก็ได้ ไม่มีใครคิดมาก คนไทยเองในอดีตก็ไม่เคยสนใจสีผิวหรือแสวงหาครีมที่ทำให้ผิวขาวขึ้นก่อนที่จะมีค่านิยมเหยียดสีผิวเกิดขึ้นในระบบทุนนิยม
   
ค่านิยมเหยียดสีผิวเกิดจากการใช้แรงงานทาสผิวดำจากทวีปอัฟริกาในช่วงต้นๆ ของระบบทุนนิยมตะวันตก ความร่ำรวยจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจากระบบทาส ซึ่งเป็นระบบที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับความคิดเรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นสมัยนั้น นักปรัชญายุค “แสงสว่าง” อาจนั่งดื่มกาแฟและพูดคุยเรื่องเสรีภาพในยุโรป แต่กาแฟ และน้ำตาลที่เขาดื่ม หรือบุหรี่ที่เขาสูบ ล้วนแต่มาจากแรงงานบังคับของทาสผิวดำทั้งสิ้น
   
ในศตวรรษที่ 18 คาดว่ามีการขนทาสจากอัฟริกาไปที่เกาะต่างๆ ในคาริเบี้ยน 1.6 ล้านคน แต่ในยุคปลายศตวรรษมีทาสผิวดำอาศัยอยู่แค่ 6 แสนคน จำนวนที่ลดลงมาจากการล้มตายในสภาพป่าเถื่อนที่สุดในไร่อ้อย และการที่คนค้าทาสมองว่าถ้าทาสหนึ่งในสิบล้มตายขณะที่ขนส่งมาทางเรือ “ก็ไม่ขาดทุน” ในอเมริกาแผ่นดินใหญ่สภาพความเป็นอยู่ของทาสดีกว่าบ้าง แต่ก็ล้มตายจำนวนมากเช่นกัน
   
ก่อนศตวรรษที่ 18 ทาสส่วนใหญ่ในโลกไม่ใช่คนผิวดำ และคำว่า slave (ทาส) ในภาษาอังกฤษมาจากคำว่าเชื้อชาติ “สลาฟ” ในยุโรปกลาง ในขั้นตอนแรกของการบุกเบิกทวีปอเมริกามีการใช้แรงงานเกษตรพันธสัญญาจากยุโรป ที่ต้องทำงานฟรีหลายปี เพื่อคืนเงินค่าเดินทาง แต่ระบบนี้สร้างแรงงานน้อยเกินไป จึงมีการหันมาใช้แรงงานทาสผิวดำที่ถูกจับในทวีปอัฟริกาโดยหัวหน้าเผ่าพื้นเมือง เพื่อขายต่อไปยังพ่อค้าทาสจากยุโรป
   
ในอดีตมนุษย์ไม่เคยให้ความสำคัญกับสีผิว ในอียิปต์หรือโรมคนสีผิวแตกต่างกันมีทั่วไปในทุกระดับของสังคม และในทวีปอเมริกาช่วงแรกๆ มีการสามัคคีกันระหว่างทาสผิวดำและแรงงานพันธสัญญาผิวขาว เพื่อกบฏหรือต่อรองกับเจ้านาย ดังนั้นเริ่มมีการออกกฏไม่ให้คนผิวขาวคบค้าสมาคมกับคนผิวดำ แต่สำคัญกว่านั้นคือข้อแก้ตัวที่นักคิดและนักธุรกิจใช้ เพื่อสร้างความชอบธรรมกับระบบทาส
   

ข้อแก้ตัวอันแรกคือการมองว่าทาสเป็นแค่ทรัพย์สมบัติปัจเจก ดังนั้นคนที่สนับสนุนสิทธิในทรัพย์สมบัติ อย่าง จอห์น ลอค ซึ่งถือหุ้นในบริษัที่ได้ประโยชน์จากการค้าทาส จะมองว่าระบบทาส  “ไม่ผิดศีลธรรม”

   
ข้อแก้ตัวที่สอง คือการเสนอว่าคนผิวดำ “ไม่ใช่มนุษย์” ดังนั้นอุดมการณ์ความเท่าเทียมของมนุษย์ หรือความคิดศาสนาคริสต์ “ไม่ขัดแย้ง” กับระบบทาส นี่คือรากฐานกำเนิดของความคิดที่เหยียดสีผิวหรือเกลียดชังคนผิวคล้ำ และความคิดแบบนี้มีความสำคัญในการสร้างความแตกแยกระหว่างคนธรรมดาผิวขาวกับคนผิวดำ ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อไม่ให้คนชั้นล่างสามัคคีและร่วมต่อสู้กับคนชั้นบน เพราะมีหลายกรณีที่คนผิวขาวธรรมดาพยายามช่วยทาสที่หนีเจ้านาย
   
ถ้าเราเข้าใจที่มาของลัทธิเกลียดชัง “ผิวคล้ำ” เราจะเข้าใจว่าคนไทยที่ไม่ชอบผิวคล้ำๆ ของตนเอง หรือเหยียดคนอัฟริกาเพราะเหตุว่าผิวดำ เป็นคนที่ตกเป็นทาสทางความคิดของกระแสล้าหลังจากตะวันตก
   
ในยุคสมัยนี้ การปลุกระดมให้คนรักชาติและเกลียดชังคนต่างชาติหรือคนต่างสีผิว เป็นวิธีที่จะกล่อมเกลาให้ประชาชนจงรักภักดีต่อชนชั้นปกครอง และการสอนให้คนไทยเกลียดคนพม่า สอนให้คนพม่าที่เป็นพุทธเกลียดคนมุสลิม หรือการสอนให้คนผิวขาวเกลียดคนผิวดำ เป็นวิธีแบ่งแยกชนชั้นกรรมาชีพไม่ให้สามัคคีกันเพื่อต่อสู้กับนายทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างกระแสเกลียดชังศาสนาอิสลามในตะวันตกก็เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองเช่นกัน เพื่อแสวงหาความชอบธรรมกับสงครามช่วงชิงน้ำมัน การสร้างกระแสเกลียดชังคนเขมรก็มีประโยชน์กับพวกเสื้อเหลืองไทย เพราะเบี่ยงเบนการทำลายประชาธิปไตยของอำมาตย์ หรืออาจกลายเป็นนิยายที่เสนอว่าทหารไทย “ไม่มีวัน” ฆ่าประชาชนไทยที่เป็นเสื้อแดง ดังนั้นคงต้องมีการจ้างทหารเขมรมาแทนเป็นต้น
   
ชาตินิยมไทยเป็นลัทธิการเมืองของพวกเจ้ากรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เพราะกษัตริย์ช่วงนั้นแปรตัวเป็นผู้นำรัฐชาติทุนนิยมไทยเพื่อแข่งกับจักรวรรดินิยมตะวันตก ในความจริง “คนไทย” ส่วนใหญ่ถูกล่ามาขึ้นกับอาณานิคมโดยผู้ปกครองกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นชาวอิสาน ชาวใต้หรือชาวล้านนา ดังนั้นลัทธิชาตินิยมไทย เป็นความคิดปฏิกิริยาล้วนๆ   มันไม่มีองค์ประกอบของการต่อสู้เพื่อ “อิสรภาพ” ของประชาชนเหมือนในกรณีอินโดนีเซียหรือเวียดนามเลย ข้อยกเว้นในเรื่องนี้ คือชาตินิยมของคณะราษฏร์ หลัง ๒๔๗๕ ในช่วงสั้นๆ ก่อนการขึ้นมาของจอมพล ป. ซึ่งพยายามเน้นผลประโยชน์ของคนชั้นล่างด้วย เพราะก่อน ๒๔๗๕ ในยุคกษัตริย์ รัฐบาลยินยอมยกสิทธิพิเศษในไทยให้กับมหาอำนาจตะวันตก
   
ที่ร้ายกว่านั้น ฝ่ายซ้ายไทย โดยเฉพาะพรรคคอมมิวนิสต์ ขบวนการเอ็นจีโอและแม้แต่ขบวนการเสื้อแดง มักประนีประนอมหรือพยายามใช้ชาตินิยมด้วย ทั้งนี้เพราะหลงเชื่อว่าคนไทยทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การใช้แนวชาตินิยมไทย มาจากการวิเคราะห์สังคมไทยในทางที่ผิดพลาด ตามแนวลัทธิเหมาซึ่งเสนอว่าประเทศไทยเป็น “กึ่งเมืองขึ้นของสหรัฐ” และ “กึ่งศักดินา” ทั้งๆ ที่ชนชั้นปกครองไทยคุมอำนาจในบ้านเมืองและศักดินาไทยถูกปฏิวัติยกเลิกไปเมื่อรัชกาลที่ ๕ สร้างรัฐใหม่ในระบบทุนนิยม
   
แน่นอนในระบบรัฐของโลกสมัยใหม่ มีรัฐใหญ่ มหาอำนาจ ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและทหารมากกว่ารัฐเล็กๆ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่ารัฐเล็กๆ ตกเป็นกึ่งเมืองขึ้น มันเป็นลักษณะของจักรวรรดินิยมสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองต่างหาก ถ้าในไทยสมัย ๖ ตุลา มีการเน้นว่าสหรัฐเป็นศัตรูหลัก แทนที่จะมองว่านายทุนไทยเป็นศัตรูหลัก มันเปิดทางให้พรรคคอมมิวนิสต์ทำแนวร่วมกับนายทุน ตามสูตรลัทธิ “สตาลิน-เหมา” ที่ลดความสำคัญของการต่อสู้ทางชนชั้นลง ความคิดแบบนี้วิวัฒนาการมาสู่ขบวนการเสื้อแดง นปช. ที่ทำแนวร่วมกับทักษิณและนายทุนในพรรคเพื่อไทย โดยพยายามอ้างว่าเผด็จการทหารเป็นเผด็จการ “กึ่งศักดินา” อย่าลืมว่า อ. ธิดา และหมอเหวง มาจากพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต
   
ดังนั้นในไทย เมื่อทั้งชนชั้นปกครองและฝ่ายภาคประชาชนที่คัดค้านชนชั้นปกครองต่างใช้ลัทธิชาตินิยม เกือบจะไม่มีการท้าทายลัทธิชาตินิยมเลย ซึ่งช่วยการผูกขาดของลัทธิชาตินิยมชนชั้นปกครองเท่านั้นเอง ไม่เหมือนในประเทศเกาหลีใต้ ประเทศในยุโรปหรือ ญี่ปุ่น ซึ่งมีการมองว่าธงชาติ เพลงชาติ หรือลัทธิชาตินิยม เป็นความคิดของฝ่ายขวาและผู้ที่กดขี่ประชาชน ซึ่งฝ่ายซ้ายจะต้องปฏิเสธต่อต้าน
   
ชาตินิยมทำให้ “ความเป็นไทย” คับแคบและปฏิกิริยา ทำให้มีการมองว่าคนมุสลิม ไม่ใช่ไทย ดังนั้นคนที่ไม่ใช่ไทยไม่ใช่คน ซึ่งปูทางไปสู่อาชญากรรมของรัฐในภาคใต้ เช่นที่ตากใบ หรือนำไปสู่กรณี ๖ ตุลา ที่มีการอ้างว่าคอมมิวนิสต์ไม่ใช่คนไทย และนอกจากนี้มันนำไปสู่การกดขี่ดูถูกคน พม่า  ลาว  เขมร  เวียดนาม หรือคนชาติพันธ์บนดอย
   
บางครั้งหน้ากากชาตินิยมที่สร้างภาพลวงตาว่า “เราเป็นคนไทยด้วยกัน” เริ่มหลุด ตัวอย่างที่ดีคือตอนที่พวกสลิ่มด่าเสื้อแดงว่าเป็น “คนอีสานโง่ที่ชอบกินปลาร้า” ซึ่งทำให้เราเห็นว่าการต่อสู้ที่ท้าทายอำนาจเบื้องบน มักท้าทายลัทธิชาตินิยมได้บ้าง แต่ถ้าองค์กรนำไม่ใช้ประเด็นนี้เพื่อลดอิทธิพลของความคิดล้าหลัง มันก็จะไม่เกิดประโยชน์ในระยะยาว

การต่อสู้เพื่อสังคมใหม่หรือเพื่อสังคมนิยม ต้องอาศัยการรณรงค์ต่อต้านความคิดชาตินิยมหรือความคิดเหยียดสีผิวหรือเชื้อชาติเสมอ เราจะไม่มองว่าคนผิวดำน่าเกลียดกว่าคนผิวขาวแต่อย่างใด และเราจะไม่นิยมใช้คำที่ดูถูกเชื้อชาติของคนอื่น เช่น “เจ๊ก” “แขก” “แม้ว” “ญวน” “ไอ้มืด” หรือแม้แต่ “ฝรั่ง” คำว่า “ฝรั่ง” มาจากคำว่า “แฟรงค์” ที่ชาวมุสลิมเคยใช้เรียกคนคริสต์จากยุโรปที่เป็นศัตรูของเขาในสงครามครูเซท และมันไม่ต่างจากการเรียกคนไทย คนญี่ปุ่น หรือคนจีนว่า “ไอ้ตาตี๋” โดยพวกเหยียดเชื้อชาติในตะวันตก

วัฒนธรรมไทยๆแบบอำมาตย์ คือ วัฒนธรรม “อีแร้ง”

นายพลระดับสูงของไทยเมื่อเข้าสู่การถกเถียงทางการเมืองประเด็นต่างๆ เวลาจนตรอกใช้เหตุผลสู้ปกป้องการกระทำอันไร้ความชอบธรรมไม่ได้ เช่น กรณีการปราบปรามคนเสื้อแดง ก็เริ่มพองตัวเองขมขู่คนอื่นแบบอันธพาลทันทีไล่คนที่เห็นต่างออกนอกประเทศ น่าสมเพช น่าขยะแขยงเป็นที่สุด

โดย สมุดบันทึกสีแดง

วัฒนธรรมไทยนั้นถ้าใครใจกว้างพอก็มองเห็นว่ามันมีหลายส่วนหลายแง่มุม ทั้งในอดีตและปัจจุบันคนไทยเป็นจำนวนมากอยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ เช่น คณะราษฎร์ 2475 , อดีตนักศึกษาตุลา คนเหล่านี้จะมีมุมมองและทัศนะคติต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมชาติ แตกต่างออกไปจากบรรดาคนไทยที่คลั่งไทยจัดทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน พวกคลั่งไทยนี่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสุดฤทธิ์สุดเดช โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เคารพเพื่อนมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงที่เน้นให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

การที่วัฒนธรรมไทยๆ แบบอำมาตย์กลายมาเป็นกระแสหลักนั้นมันมีปัญหาหลายอย่าง เพราะมันเต็มไปด้วยความก้าวร้าว เสพติดความรุนแรง การกล่าวหาคนอื่นอย่างไรสติ ว่าไม่รักชาติ ฯลฯ ไม่ว่าจะจากคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงๆ เช่น นายพล, อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในสถาบันระดับสูง พิธีกร ผู้อ่านข่าว การผลิตซ้ำการถูกข่มขืนของนางเอกในนิยายน้ำเน่าก่อนพบรักแท้ หรือ ประชาชนคนธรรมดาที่คลั่งความเป็นไทยแบบอำมาตย์ พฤติกรรมร่วมสมัยที่พวกเราคุ้นเคยกันคือ “การล่าแม่มด” ในโลกไซเบอร์  วัฒนธรรมไทยแบบนี้ ที่ชิงชังบุคคลที่มีความเห็นต่าง แต่ห้มหัวให้กับผู้มีอำนาจ ถูกส่งเสริมโดยอำมาตย์มาอย่างยาวนาน

นายพลระดับสูงของไทยเมื่อเข้าสู่การถกเถียงทางการเมืองประเด็นต่างๆ เวลาจนตรอกใช้เหตุผลสู้ปกป้องการกระทำอันไร้ความชอบธรรมไม่ได้ เช่น กรณีการปราบปรามคนเสื้อแดง ก็เริ่มพองตัวเองขมขู่คนอื่นแบบอันธพาลทันทีไล่คนที่เห็นต่างออกนอกประเทศ น่าสมเพช น่าขยะแขยงเป็นที่สุด พวกนี้กินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนปีหนึ่งเป็นแสนล้าน แต่เรื่องมันไม่จบเพียงแค่นั้น บรรดาคลั่งไทยตัวเล็กๆ ต่างออกมาเห่าหอนขานรับกันเป็นทอดๆ วัฒนธรรมแบบอันธพาลถูกผลิตซ้ำมาเรื่อยๆตั้งแต่ยอดของสังคมจนสู่ตัวเล็กๆคลั่งชาติของคนไทยบางส่วน เช่น เมื่อพูดถึงประเทศเพื่อนบ้าน เรื่องพรมแดนกับกัมพูชา ชาวโรฮิงญา ชาวมุสลิม หรือ ถ้อยคำที่เหยียดหยามเชื้อชาติ และ ภูมิภาค เนื้อหาของตัววัฒนธรรมและลักษณะทางการเมืองของมัน นั้นถือได้ว่าปฏิกิริยาที่สุด

การเมืองแบบปฏิกิริยาคือ การเมืองของพวกอนุรักษ์นิยมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน หรือ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความเป็น “ปฏิกิริยา” คือ อาการตอบสนองต่อขบวนการปฏิรูปที่ก้าวหน้า และการปฏิวัติ พวกปฏิกิริยามองว่าข้อเสนอที่ก้าวหน้าเป็นภัยต่อตนเอง และต้องการที่จะทำลายพลังความสร้างสรรค์ ความสมานฉันท์ หรือกดทับความงดงามดังกล่าวไว้ เพื่อพิทักษ์การเมืองแบบเดิมอนุรักษ์นิยม ตัวอย่างของการเมืองแบบนี้เห็นได้โดยทั่วไปทั้งในปัจจุบันหรือในประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะในพื้นที่ทางการเมืองและแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน

ลาว คำหอม นักเขียนชื่อดังของไทยได้เคยเขียนเรื่องสั้นสะท้อนด้านมืดเกี่ยวกับพฤติกรรมบางส่วนของคนไทยและได้ตั้งคำถามเข้าถึงเนื้อในอย่างถึงแก่น  ต่อคำโฆษณาชวนเชื่อของรัฐไทยที่ว่าคนไทยนั้นอ่อนโยน โอบอ้อมอารี เป็นชาวพุทธ ในซี่รี่ของการชวนเชื่อนี้บางส่วนไปไกลถึงขนาดที่ว่า รอยยิ้มแบบสยามนั้นงดงามดว่าชาติใดในโลก!

ในเรื่องสั้นที่ชื่อว่า “อุบัติโหด” ซึ่งเขียนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2512 เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาซึ่งมีพระนั่งรวมมาในรถด้วยคนกลุ่มแรกที่มาเห็นเหตุการณ์นั้นไม่ได้ทำการช่วยเหลือแต่อย่างใด แต่มารื้อดูทรัพย์สินว่ามีอะไรให้ปล้นได้บ้าง มิหนำซ้ำยังฆ่าคนบาดเจ็บที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อชิงทรัพย์ คนกลุ่มที่สองมาก็เช่นเดียวกัน คราวนี้ปล้นพระที่นอนเป็นศพ ผ้าเหลืองและความเป็นพระไม่ได้กระตุกให้คนเหล่านั้นนึกถึงศีลธรรมแต่อย่างใด เมื่อตำรวจมาถึงก็ลังเลว่าจะยิงปืนซ้ำไปที่ศพดีหรือไม่ เพราะมีผลต่อรางวัลนำจับ โดยไม่มีการสืบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุ แต่ว่าหยิบฉวยเรื่องราวต่างๆ มาปั้นขึ้นเพื่อเข้าข้างการกระทำของตัวเอง ลาว คำหอม ได้ฉายภาพทิ้งท้ายบรรยากาศไว้อย่างสะเทือนใจว่า “เวลาผ่านไปคนเริ่มเข้ามามุงดูอุบัติเหตุมากขึ้น เพลงลูกทุ่งครวญเสียงละห้อยแข่งกับรายการปาฐกถาธรรมะจากวิทยุถ่านที่ชาวบ้านถือว่ามาด้วย”

ในปี พ.ศ.2534 ได้มีเหตุการณ์เครืองบินของสายการบินออสเตรเลียประสบอุบัติเหตุตกลงที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านแถวนั้นได้แห่ไปถึงที่เกิดเหตุอย่างเร็ว แต่ไม่ได้ช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุ แต่ไปปล้นศพ!ขโมยเอาทรัพย์สินสิ่งมีค่าของผู้เสียชีวิตข่าวนี้ตีพิมพ์ไปทั่วโลก คนที่มีจิตสำนึกรักความเป็นธรรมในระดับธรรมดา เห็นข่าวนี้แล้วก็เกิดความอับอายในพฤติกรรมอันอัปยศของเพื่อนร่วมชาติ ทำไมคนบางส่วนในสังคมไทยถึงเป็นแบบนั้น ทำไมมีพฤติกรรมแบบ “อีแร้งรุมทึ้งศพ” ได้ขนาดนั้น ในระดับย่อยๆ เหตการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ เช่น กรณี รถทัวร์คว่ำ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 คนไทยส่วนหนึ่งผู้คุ้มคลั่งอำมาตย์ได้รุมล้อมฆ่านักศึกษาอย่างเลือดเย็น นักศึกษาถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามถูกฟาดจนตาย คนไทยส่วนหนึ่งจำนวนมากยืนล้อมดูหัวเราะด้วยความชอบใจ ปรบมือโห่ร้องด้วยความยินดี ป่าเถื่อนที่สุด ความดิบเถื่อนดังกล่าวยังฝังอยู่ในสายเลือดพวกคลั่งไทยจัด เช่น ในเหตุการณ์ราชประสงค์เลือด คนชั้นกลางผู้หิวเลือดได้ส่งเสียงเชียร์ให้ทหารฆ่าคนเสื้อแดง ออกอาการดีใจเมื่อเห็นคนเสื้อแดงตาย ผ่านการอัพเดทสถานะใน Facebook วัฒนธรรมไทยๆ แบบอำมาตย์มันเต็มไปด้วยความพิษในทุกระดับจริงๆ

กรณีที่ “สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักเรียนในระดับมัธยม ที่มีความกล้าหาญออกมาตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ความล้าหลังของระบบการศึกษาไทย การเน้นควบคุมนักเรียนในลักษณะที่ควบคุมกองทหาร กฎระเบียบเรื่องทรงผม การแต่งกาย ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนเชื่อฟังมากกว่าส่งเสริมให้มีการคิดเองเป็น

การรณรงค์ดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างน่ายินดี ผ่านการรณรงค์ใน Facebook และออกสื่อโทรทัศน์ ซึ่งด้วยความสำเร็จของตัวมันเองแล้วได้ดึงดูดคนสองประเภทเข้ามา คือ คนที่ชื่นชมและเห็นด้วย และพวกซากเดนผู้คุ้มคลั่งวัฒนธรรมไทยๆ แบบอำมาตย์

กลุ่มปฏิกิริยาเข้าสู่การถกเถียงด้วยมารยาทแบบเดิมๆ คือ มารยาทแบบอันธพาลบวกอีแร้ง พวกนี้มีปัญหาในการถกเถียงผ่านการใช้เหตุมาก เช่น ให้เหตุผลข้างๆ คูๆ เกี่ยวกับภาพที่หลุดออกมาในบางโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนก้มลงกราบครู (ดังรูปภาพ) ว่ามันมีความชอบธรรม เคารพผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด ฯลฯ การถกเถียงตอบโต้กับผู้ใหญ่ต่างหากเป็นเรื่องที่รับไม่ได้

ข้อเสนอของ สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ซึ่งนำโดยนักเรียนระดับมัธยมนั้นเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง และเพื่อปกป้องหน่ออ่อนอันงดงามอันนี้ ผู้ใหญ่ผู้รักความเป็นธรรมทั้งหลายจะต้องไม่ปล่อยให้พวกคลั่งวัฒนธรรมไทยๆ สายอำมาตย์ มาใช้พฤติกรรมอีแร้งกับเยาวชนของพวกเรา ๆ สนับสนุนพวกเขาในทิศทางที่พวกคุณทำได้ พรรคเพื่อไทยทรยศเราคลั้งแล้วครั้งเล่า พวกวัฒนธรรมไทยๆ แบบอำมาตย์ข่มเหงพวกเราครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เยาวชนของพวกเราได้สร้างความหวังขึ้นมา พวกเขากำลังพยายามวาดให้มันมีพื้นที่ให้ได้ในสังคมไทย เมื่อเมล็ดพืชสีแดงได้งอกขึ้นมาเราต้องป้องป้องให้พวกเขาเติบโตแผร่สยายรากและเงาออกไป โดยพวกเราจะใช้วัฒนธรรมของความสมานฉันท์แบบคนที่มีอารยะแบบที่คนที่มียึดกับหลักการว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องเท่าเทียมกัน

ข้อเสนอในการรณรงค์เพื่อให้ยกเลิกความคลั่งไทย และเรียนรู้ประวัติศาสตร์สากล ของ “สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย” มีความจำเป็นจริง เพราะในงานรับปริญญาของจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ได้วาดภาพของฮิตเลอร์ในบอร์ดขนาดใหญ่เพื่อร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตจบใหม่และนักศึกษาได้ทำท่าซาลูสแบบนาซี นิสิตจบใหม่จากมหาวิทยาชั้นนำของประเทศไม่มีความรู้เรื่องความเลวร้ายของฮิตเลอร์ มันเป็นเรื่องที่เกินความสามารถของผู้เขียนที่จะเข้าใจว่าทำไมนิสิตจุฬาส่วนหนึ่งถึงเต็มไปด้วยความอวิชา และไร้ซึ่งจริยธรรมสามัญพื้นฐานที่จะเข้าใจความเลวร้ายของฮิตเลอร์ที่กระทำกับชาวยิว ความจริงพื้นฐานอีกอันหนึ่งคือ นาซีเกลียดและอยากกำจัดคนที่ไม่ผิวขาว เช่น คนไทย เป็นต้น

ความจริงอันน่าขยะแขยงอันนี้จะคงอยู่กับสังคมและมันไม่หายไปไหน การคงอยู่ของมันนั้นไม่ได้นอนอยู่นิ่งๆ และไม่ส่งผลต่อพวกเรา เพราะมันเป็นการเน้นย้ำว่าพฤติกรรมแบบอีแร้งของพวกคลั่งไทยมีอยู่เรื่อยๆ คนที่อยากเห็นสังคมไปข้างหน้า และอยากมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่จะกลายเป็นแพะบูชายันญ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ทางเลือกมีสองทาง หนึ่งอยู่กับมันให้ได้ สอง ทำลายพฤติกรรมแบบนี้ไปเสีย อย่าให้มันได้มีพื้นที่ยืนในสังคม

ญ. “หญิง”

ภายใต้ระบบการปกครองทางชนชั้น ทรัพย์สินทั้งหมดของชุมชนที่เคยเป็นของส่วนรวม ถูกแบ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ตกในมือของผู้ปกครอง ผู้หญิงถูกบังคับให้อยู่ในระบบครอบครัวที่ชัดเจน เพื่อให้ชายผู้เป็นเจ้าสามารถให้มรดกกับลูกตนเองเท่านั้น

โดย ลั่นทมขาว

เราไม่สามารถสร้างสังคมใหม่แห่งสังคมนิยมได้ ถ้ากรรมาชีพชายและหญิงไม่สามัคคีกัน และถ้าจะเกิดความสามัคคีดังกล่าว ทั้งชายและหญิง แต่โดยเฉพาะผู้ชาย ต้องสลัดความคิดกดขี่หรือดูถูกผู้หญิงออกจากหัว ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องความดีความชั่วของปัจเจก แต่เป็นเรื่องโครงสร้างสังคม และการต่อสู้ทางชนชั้น

มันไม่ใช่เรื่อง “ธรรมชาติ” ที่มนุษย์จะมากดขี่กัน แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์บางคนสร้างขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขสังคมชนชั้นในอดีต เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครอง

นักมาร์คซิสต์คนสำคัญ ชื่อ เฟรดเดอริค เองเกิลส์ เป็นคนที่ริเริ่มการศึกษาปัญหาการกดขี่ทางเพศอย่างเป็นระบบ ในหนังสือ “กำเนิดครอบครัว ทรัพย์สินเอกชน และรัฐ”  เองเกิลส์ อธิบายว่าแรกเริ่มมนุษย์บุพกาลไม่มีชนชั้น ไม่มีรัฐ และไม่มีครอบครัว คือหญิงชายมีความสัมพันธ์อย่างเสรีตามรสนิยมของแต่ละคน ไม่มีคู่ถาวร ตอนนั้นมนุษย์ไม่มีครอบครัวแต่มีเผ่า และลูกที่เกิดมาจะทราบว่าใครเป็นแม่ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นพ่อ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่สำคัญเพราะเด็กๆ ทุกคนถือว่าเป็นลูกของชุมชน และทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของส่วนรวม แบ่งกันอย่างเสมอภาคเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ในยุคบุพกาลจะมีการเก็บของป่าและล่าสัตว์ สังคมไม่มีส่วนเกินหรือคลังอาหาร วันไหนได้อะไรก็มาแบ่งกันกิน แต่เมื่อมนุษย์รู้จักการเกษตรและเริ่มมีส่วนเกิน จะมีผู้ชายคนหนึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่หรือตั้งตัวเป็น “พระ” และจ้างอันธพาลติดอาวุธมาเป็นลูกน้องของตน ประชาชนที่เหลือจะตกเป็นทาสและถูกบังคับให้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งส่วยให้ผู้ปกครอง แต่ในขณะเดียวกัน การจัดระเบียบสังคมใหม่แบบนี้ ให้ประโยชน์กับคนธรรมดาบ้าง เพราะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากในสมัยบุพกาลเดิม
   
ภายใต้ระบบการปกครองทางชนชั้น ทรัพย์สินทั้งหมดของชุมชนที่เคยเป็นของส่วนรวม ถูกแบ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ตกในมือของผู้ปกครอง ผู้หญิงถูกบังคับให้อยู่ในระบบครอบครัวที่ชัดเจน เพื่อให้ชายผู้เป็นเจ้าสามารถให้มรดกกับลูกตนเองเท่านั้น จะเห็นว่าเริ่มมีการสร้างระเบียบครอบครัวที่ระบุว่าหญิงต้องเลี้ยงลูกเป็นหลักในขณะที่ชายมีบทบาทสาธารณะ และชนชั้นปกครองมักกล่อมเกลาให้ทั้งชายและหญิงยอมรับว่าผู้ชายสำคัญกว่าผู้หญิง และผู้หญิงต้องไม่นอกใจผู้ชาย

นี่คือที่มาของการกดขี่สตรีในสังคมชนชั้น ซึ่งเกิดพร้อมกับระบบการปกครอง กองกำลังอันธพาล และกฎระเบียบหรือกฎหมายที่ใช้รองรับ “รัฐ” ซึ่งแปลว่าถ้าเราจะจัดการกับความไม่เท่าเทียมทางเพศ เราต้องจัดการกับสังคมชนชั้น และรัฐนายทุนปัจจุบัน
   
แต่เนื่องจากระบบทุนนิยมต้องการให้ผู้หญิงออกไปทำงานในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นทุกวัน และไม่พร้อมจะจ่ายเงินเดือนกับผู้ชายในระดับที่จะเลี้ยงลูกเมียได้ ผู้หญิงจึงได้รับการศึกษามากขึ้น และมีความมั่นใจซึ่งมาจากการที่ออกไปทำงาน มีรายได้ของตนเอง และไม่ต้องพึ่งผู้ชาย ซึ่งมีผลในการพัฒนาความคิดของสตรีเพื่อต่อสู้กับการกดขี่ ดังนั้นระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้สตรีออกมาสู้เพื่อปลดแอกตนเองด้วย แต่พร้อมกันนั้นมักมีการเน้นหรือเสริมคุณค่าของ “ครอบครัวจารีต” เพื่อให้ชายกับหญิงสามัคคีกันยาก และเพื่อบังคับให้งานบ้าน และงานเลี้ยงลูกหรือคนชรา ตกอยู่กับผู้หญิง แทนที่จะเป็นภาระของส่วนรวม สรุปแล้วมันเป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐนายทุน และลดภาษีที่เก็บจากกลุ่มทุน เพื่อเพิ่มกำไร
   
จะเห็นว่าทุนนิยมเป็นระบบที่ขัดแย้งในตัว เกี่ยวกับสภาพสตรี ทั้งกดขี่และสร้างเงื่อนไขในการต่อสู้พร้อมกัน
   
เราชาวมาร์คซิสต์จะต้องอาศัยการเพิ่มขึ้นของความมั่นใจในหมู่สตรี เพื่อช่วยกันผลักดันการต่อสู้ทางชนชั้น องค์กรจัดตั้งหรือพรรคสังคมนิยมของเรา จะต้องขยันต่อสู้ทางความคิดกับลัทธิศีลธรรมจารีตแบบคับแคบเสมอ เราต้องรณรงค์ให้กรรมาชีพเข้าใจลักษณะการกดขี่ทางเพศ และให้หญิงกับชายสามัคคีกัน พร้อมกันนั้นเราจะต้องต่อสู้เพื่อชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ เช่นสิทธิในการทำแท้งเสรี สิทธิที่จะได้เงินเดือนเท่าเทียมกันระหว่างเพศ หรือสิทธิลาคลอด ฯลฯ ซึ่งแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการ แต่ในระยะยาวเราต้องการสลายสถาบันครอบครัวที่กดขี่ผู้หญิง เราต้องการสลายระบบชนชั้น และเราต้องการล้มรัฐนายทุน มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเพศใด จะได้มีเสรีภาพที่จะเลือกวิถีชีวิตตามรสนิยม มีเสรีภาพที่จะรักเพื่อนมนุษย์คนใดก็ได้ตามรสนิยม และมีเสรีภาพที่จะรักและดูแลเด็กๆ ของสังคมทุกคนอย่างอบอุ่น

ว่าด้วยทุนเล่ม 3 ภาคที่ 1 การแปรรูปมูลค่าส่วนเกินเป็นกำไร และอัตรามูลค่าส่วนเกินเป็นอัตรากำไร(บทที่ 4-6)

โดย กองบรรณาธิการ

บทที่ 4: ผลของความเร็วในการหมุนเวียนต่ออัตรากำไร
[บทนี้เขียนโดยเองเกิลส์]

เราเห็นได้จาก ว่าด้วยทุน เล่ม๒ ว่าการลดเวลาหมุนเวียนของทุนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าส่วนเกิน อัตรามูลค่าส่วนเกิน และอัตรากำไร วิธีการที่ใช้ในการลดเวลาดังกล่าว ก็เช่นการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (โดยไม่เพิ่มการลงทุนในเครื่องจักรมากเกินไป) หรือการพัฒนาระบบขนส่งให้ดีขึ้น
   
เนื่องจาก “อัตรากำไร” คำนวณจากมูลค่าส่วนเกินที่ผลิตเมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมด(คงที่และแปรผัน) และเนื่องจากทุนแปรผัน(พลังการทำงานของคนงาน) อาจหมุนเวียนหลายครั้งในรอบหนึ่งปี ในขณะที่ทุนอยู่กับที่(เครื่องจักร โรงงาน) ใช้ได้นานและค่อยๆละลายมูลค่าไปกับสินค้า จึงหมุนเวียนช้ากว่าทุนแปรผัน และเนื่องจากทุนที่ใช้จ้างงานกลับมาอยู่ในมือนายทุนหลายครั้งเพื่อจ้างงานรอบต่อไป …. สัดส่วนค่าจ้างต่อทุนอยู่กับที่อาจดูเล็กกว่าที่เป็นจริง เพราะใช้หมุนเวียนหลายรอบ สูตรอัตรากำไร    P’ = S’ V/c+V  (ดูบทที่แล้ว) จะเป็นจริงต่อเมื่อ V ทุนแปรผัน, S’ อัตรามูลค่าส่วนเกิน  P’  อัตรากำไร และ c ทุนคงที่ คำนวณในเวลาการผลิตหนึ่งรอบเต็มๆ  หรือถ้าคำนวณในเวลาหนึ่งปี ต้องคูณ V หรือ S’ กับจำนวนรอบที่มันหมุนเวียนในเวลาหนึ่งปี

บทที่ 5: การประหยัดต้นทุนคงที่ในการผลิต (การใช้เครื่องจักร ฯลฯ ให้คุ้มค่าที่สุด)

นายทุนให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องจักรให้คุ้มค่าที่สุด (จะพิจารณากรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตรามูลค่าส่วนเกิน)

การขยายชั่วโมงการทำงานในหนึ่งวัน โดยไม่เพิ่มค่าแรงหรือทุนแปรผัน(V) ทำให้มีการเพิ่มมูลค่าส่วนเกิน(S) จากการทำงานฟรีที่เพิ่มขึ้น และทำให้มีการลดสัดส่วนการลงทุนในมูลค่าของทุนคงที่(c) หรือเครื่องจักร/อาคาร เมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมด เพราะเครื่องจักรหรืออาคารจะถูกใช้อย่างต่อเนื่อง และจะถูกใช้เพื่อผลิตปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นต่อวัน ดังนั้นมีการละลายมูลค่าเครื่องจักรหรืออาคารนี้ลงไปในผลผลิตแต่ละชิ้นน้อยลง พูดง่ายๆ จะมีการนำพลังการทำงานของกรรมาชีพปริมาณเดิม มาใช้กับทุนคงที่ในการผลิตที่นานขึ้นและผลิตสินค้ามากขึ้น คือใช้เครื่องจักรฯลฯ ให้คุ้มมากขึ้น ประหยัดต้นทุนคงที่ในการผลิต ผลคืออัตรากำไร(P’)จะเพิ่ม ซึ่งเห็นได้จากสูตรที่เคยพิจารณา
P’ = S/c+V

•นอกจากนี้การหมุนเวียนของทุนคงที่ กลับมาสู่นายทุน จนได้ต้นทุนกลับมาเร็วขึ้น

•การขยายชั่วโมงการทำงานต่อวันมีผลในการเพิ่มอัตรากำไร ไม่ว่าจะจ่ายค่า โอที (OT) หรือไม่ และไม่ว่า OT นั้นจะสูงกว่าค่าแรงปกติหรือไม่ เพราะค่า OT ยังต่ำกว่ามูลค่าที่แรงงานผลิตและนายทุนยังเพิ่มปริมาณมูลค่าส่วนเกินได้จากการทำงานนานขึ้น

•การที่นายทุนต้องเพิ่มทุนคงที่ในการซื้อเครื่องจักรสมัยใหม่ที่แพงขึ้นเพื่อมาใช้ท่ามกลางการแข่งขัน เป็นแรงกดดันให้นายทุนขยายเวลาทำงานที่ใช้กับเครื่องจักรนั้นๆ ก่อนที่มันจะหมดยุค และเพื่อใช้ให้คุ้มที่สุด

•โดยทั่วไป การเพิ่มปริมาณมูลค่าส่วนเกินในการผลิต ต้องมีการเพิ่มทุนคงที่ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ หรือเครื่องจักร ซึ่งสิ่งนี้ทำให้นายทุน “คลั่งในการพยายามใช้ทุนคนที่ให้คุ้มที่สุด”

•วิธีอื่นในการใช้เครื่องจักรหรือทุนคงที่ให้คุ้มค่ามากขึ้น ถ้าไม่เพิ่มชั่วโมงการทำงาน ก็เช่นการนำแรงงานมาใช้กับเครื่องจักรที่มีอยู่มากขึ้นในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าส่วนเกินจากการขูดรีดมวลแรงงานที่มีจำนวนสูงขึ้น แต่ต้องซื้อวัตถุดิบมากขึ้นตามลำดับ

•ถ้านายทุนเพิ่มปริมาณลูกจ้างกรรมาชีพ เพื่อรวมศูนย์การผลิตในโรงงานที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน จะมีการประหยัดการใช้เครื่องจักรหรือทุนคงที่ ถ้าเทียบกับโรงงานที่มีคนงานน้อย และเมื่อสถานการณ์แบบนี้แพร่ขยายไปทั่วสังคม จนเป็นระบบที่พบทั่วไป เราพูดได้ว่ามีการทำให้แรงงานมีลักษณะเป็น “แรงงานสังคม” ไม่ใช่แค่ลูกจ้างไม่กี่คนของนายทุนเล็กๆในรูปแบบปัจเจก

•เมื่อกระบวนการผลิตมีขนาดใหญ่และแรงงานมีลักษณะเป็นแรงงานสังคม และนายทุนต้องเพิ่มการลงทุนในทุนคงที่เพื่อแข่งกับคู่แข่ง วิธีการประหยัดต้นทุนคงที่ในการผลิตมีหลายวิธี เช่น

1.การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องจักร ลดการสึกหรอ เพิ่มอายุการทำงาน และเพิ่มพลังการทำงานของเครื่องจักร เพื่อรวมศูนย์เครื่องจักรใหญ่แทนที่จะมีจักรเล็กๆ

2.เพิ่มคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ

3.ใช้ “ของเสีย” จากการผลิตให้เป็นประโยชน์ ซึ่งทำได้เมื่อ (ก)มีของเสียมากขึ้นจากการผลิตที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น (ข)มีการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อใช้ของเสีย และ (ค) มีการพัฒนากระบวนการทางเคมีเพื่อแปรเปลี่ยนของเสีย การใช้ของเสียธรรมชาติจากสัตว์หรือคน ใช้กันอย่างกว้างขวางในภาคเกษตรในกรณีปุ๋ย แต่ในเมืองใหญ่มีแต่การเทขี้และของเสียจากประชาชนลงในแม่น้ำจนน้ำเสียไปหมด[1]

4.พัฒนาฝีมือแรงงาน และควบคุมแรงงานให้มีวินัยมากขึ้น

5.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลจี ซึ่งอาศัย (ก)การทำงานรวมหมู่ที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อคิดค้นวิธีการใหม่ๆ และ (ข) การสะสมองค์ความรู้จากผู้ทำงานคิดค้นในอดีต มาเสริมการคิดค้นในปัจจุบัน

•เมื่อมีการผลิตขนาดใหญ่ในรูปแบบแรงงานสังคม การเพิ่มอัตรากำไรและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสาขาหนึ่งของกระบวนการผลิต มีผลต่อสาขาอื่นๆ เช่นการผลิตถ่านหินและเครื่องจักรด้วยประสิทธิภาพหรือการเพิ่มคุณภาพของสิ่งเหล่านี้ มีผลต่อภาคการผลิตสิ่งทอ เป็นต้น

•นายทุนปัจเจกย่อมมอง “การใช้เครื่องจักรให้คุ้มค่า” ว่าเป็นการ “ลดต้นทุนค่าจ้าง” เพราะใช้คนงานเพื่อเพิ่มมูลค่าส่วนเกิน

•ความขัดแย้งในตัวและความโหดร้ายของทุนนิยมแปลว่า ในขณะที่นายทุนแข่งกันประหยัดต้นทุนคงที่ในการผลิต มีการใช้ชีวิต เลือดเนื้อ ร่างกาย ประสาท และสมองของคนงานอย่างสิ้นเปลืองที่สุด โดยไม่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์

“ไม่ว่านายทุนจะงกและวิ่งเต้นอย่างบ้าคลั่งเพื่อประหยัดต้นทุนคงที่เท่าไร แต่สำหรับชีวิตมนุษย์ที่เป็นลูกจ้าง นายทุนใช้อย่างสิ้นเปลืองเหมือนไร้ค่า ไม่ต่างจากระบบแจกจ่ายสินค้าผ่านการค้าขายในตลาด ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรและไร้ประสิทธิภาพทั้งหมดนี้ ผู้สูญเสียคือสังคม และผู้มีส่วนได้คือนายทุนปัจเจก”

•วิธีที่นายทุนใช้ชีวิตกรรมาชีพเสมือนไร้ค่า เช่น ….(มาร์คซ์ นำตัวอย่างมาให้ดูจากโลกจริงในอังกฤษ)

-การสร้างสภาพการทำงานในเหมืองแร่ที่อันตราย เพราะนายทุน “ประหยัด” ในเครื่องไม้เครื่องมือที่รักษาความปลอดภัย[2]

-โรงงานที่เต็มไปด้วยฝุ่นและมลพิษเพราะไม่มีระบบถ่ายเทอากาศบริสุทธิ์ เช่นในอุตสาหกรรมการปั่นด้าย

-การนำเครื่องจักรจำนวนมากมาอัดไว้ในโรงงานจนไม่มีพื้นที่ปลอดภัย

บทที่ 6: ผลของการเปลี่ยนแปลงของราคา

ราคาวัตถุดิบ

•วัตถุดิบในที่นี้รวมถึงเชื้อเพลิงด้วย

•วัตถุดิบเป็นส่วนสำคัญที่สุดของมูลค่าคงที่ในสินค้าแต่ละชิ้น

•ถ้าราคาวัตถุดิบเปลี่ยนแปลง อัตรากำไรจะเปลี่ยนแปลงตามไปในทิศทางตรงข้าม

•การค้าขายในตลาดโลกมีผลสำคัญต่อราคาวัตถุดิบ และภาษีนำเข้าก็มีผลด้วย ดังนั้นนายทุนที่นำเข้าวัตถุดิบย่อมชื่นชม “การค้าเสรี”

•เศรษฐศาสตร์กระแสหลักไม่ยอมรับความจริงที่ว่า “อัตรากำไร” แตกต่างจาก “อัตรามูลค่าส่วนเกิน”

•การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบมีผลทันทีต่อมูลค่าสินค้าที่ผลิต ซึ่งต่างจากกรณีการขึ้นลงของราคาเครื่องจักร

•แต่การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ มีผลต่อราคาซื้อขายสินค้าน้อยกว่าที่มีผลต่ออัตรากำไร ทั้งนี้เพราะราคาสินค้าถูกกำหนดจากหลายสิ่งรวมถึงสภาพตลาด

•เมื่อประสิทธิภาพการใช้แรงงานในการผลิตเพิ่มขึ้น จำนวนสินค้าที่ผลิตในเวลาหนึ่ง ด้วยแรงงานจำนวนหนึ่ง จะเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มูลค่าวัตถุดิบมีอิทธิพลต่อมูลค่าสินค้ามากขึ้น ทำให้สัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบเพิ่ม เมื่อเทียบกับเครื่องจักรและแรงงาน

•การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ อาจทำให้เงินทุนเดิมที่หมุนเวียนกลับมา ไม่พอสำหรับการซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตรอบใหม่ สิ่งที่อาจตามมาคือการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต

•การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ ทำให้เศษที่ตกหล่นจากการผลิตอย่างสิ้นเปลือง มีความสำคัญมากขึ้นและถูกนำมาใช้

การเพิ่มหรือลดมูลค่าของทุน และการ “ปล่อย” หรือ “ผูกมัด” ทุน

•ถ้าราคาวัตถุดิบเพิ่ม ในขณะที่นายทุนมีสินค้าที่ยังไม่ขายมากพอสมควร และมีวัตถุดิบเก่าในคลัง มูลค่าของทุนสินค้าและวัตถุดิบจะเพิ่มขึ้นทันที ซึ่งมีผลในการเพิ่มมูลค่าของทุนในระบบของนายทุน ปรากฏการณ์นี้สามารถคานการลดลงของอัตรากำไรได้ ในกรณีตรงข้ามที่มีการลดลงของราคาวัตถุดิบ อาจมีการคานการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรเช่นกัน

•การลดลงของมูลค่าทุนคงที่(เครื่องจักร)ในมือนายทุน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ในกรณีที่ยังมีการพัฒนาเทคโนโลจีในเครื่องจักรแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เครื่องจักรเดิมล้าสมัยก่อนอายุ ดังนั้นนายทุนจะพยายามใช้เครื่องจักรให้คุ้มที่สุดด้วยการยืดชั่วโมงการทำงาน ก่อนที่เครื่องจักรจะหมดมูลค่าใช้สอย

•อีกกรณีที่ทำให้มีการลดลงของมูลค่าทุนคงที่(เครื่องจักร)ในมือนายทุน  คือการที่มีการปรับปรุงวิธีผลิตเครื่องจักรชนิดเดียวกันให้ราคาถูกลง

•สำหรับนายทุนที่กำลังผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้ามีการลดลงของค่าจ้าง ด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ทุนแปรผันที่จำเป็นในการผลิตจะลดลง ดังนั้นมีการ “ปล่อย” ทุนนี้ไปส่วนหนึ่ง นำไปใช้ในที่อื่นได้ แต่ถ้าค่าจ้างเพิ่ม ทุนแปรผันที่จำเป็นจะเพิ่มขึ้น มีการ “ผูกมัด” ทุนเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

•การ “ปล่อย” ทุนแปรผันบางส่วนอาจเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดจำนวนคนงาน

•เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนาและขยายมากขึ้น มีการใช้เครื่องจักรมากขึ้น และสะสมมากขึ้น แนวโน้มที่จะผลิตล้นเกินมีมากขึ้น และเสถียรภาพของระบบจะลดลง

•มีการเพิ่มความต้องการในวัตถุดิบอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นมาก มีการซื้อวัตถุดิบจากที่ห่างไกล มีการเพิ่มการผลิตวัตถุดิบ และนำสิ่งอื่นมาใช้แทน ในที่สุดราคาวัตถุดิบก็ดิ่งลงอย่างกะทันหัน เกิดวิกฤตจากการผลิตวัตถุดิบล้นเกิน นี่คือธรรมชาติของระบบทุนนิยม [ซึ่ง มาร์คซ์ นำตัวอย่างผลกระทบของตลาดต่อการผลิตฝ้ายในอเมริกาและอินเดียมาบรรยาย][3]

“ระบบทุนนิยมขัดแย้งกับการเกษตรที่ใช้เหตุผลโดยสิ้นเชิง….วิธีแก้ไขปัญหาคือการควบคุมและวางแผนการผลิต”

เชิงอรรถ
[1]ลอนดอนสมัยมาร์คซ์ (กอง บก.)
[2]ในยุคมาร์คซ์เหมืองแร่อังกฤษอันตรายมากและมีอุบัติเหตุตลอดเวลา ไม่ต่างจากสภาพเหมืองแร่ในจีนปัจจุบัน(กอง บก.)
[3]เกิดขึ้นกับเกษตรกรเวียดนามที่ถูกชักชวนโดยไอเอ็มเอฟให้ผลิตกาแฟเพื่อป้อนตลาดโลกในยุคปัจจุบัน(กอง บก.)

คอมมูนปารีส 1871

 ผู้แทนถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ และจะต้องรับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนปกติของคนงาน ในขณะเดียวกันสภาคอมมูนเป็นสภา “ทำงาน” คือทั้งออกกฏหมายและรับผิดชอบในการบริหารกฏหมายนั้นโดยตรง

โดย C.H.

การปกครองของรัฐบาลจักรพรรดิ์ หลุยส์ โบนาพาร์ท เต็มไปด้วยความอื้อฉาวและการคอร์รับชั่น และไม่ใส่ใจเรื่องความยากจนของพลเมือง กระแสสาธารณรัฐที่ต่อต้านรัฐบาลจึงเริ่มมาแรง     เมื่อกองทัพฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามกับกองทัพ พรัสเซีย และพรัสเซียยกทัพมาล้อมเมืองปารีส จักรพรรดิ์ หลุยส์ โบนาพาร์ท ต้องลาออกจากตำแหน่ง แต่รัฐบาลใหม่ของนายทุนไม่มีปัญญาจะสู้และแอบไปเจรจากับผู้นำ พรัสเซีย

ชนชั้นกรรมาชีพในปารีสไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และทะยอยตบเท้าเข้าไปเป็นทหารอาสาใน “กองกำลังแห่งชาติ” พร้อมกันนั้นกรรมกรมีการตั้ง “สมาคมแดง” และหนังสือพิมพ์เพื่อผลักดันการปฏิวัติสังคมนิยมในช่วงแรกประชาชนกรรมาชีพผู้ถืออาวุธ ใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางของกองทัพแห่งชาติ แต่ผู้นำเหล่านี้ไม่ต้องการให้การปกครองมีรูปแบบที่จะนำไปสู่เผด็จการทหารได้ จึงมีการจัดการเลือกตั้งผู้บริหารคอมมูนหรือเทศบาล โดยที่ประชาชนชายทุกคนมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง

สภาคอมมูนปารีสมีลักษณะที่แตกต่างจากรัฐสภาทุนนิยมโดยสิ้นเชิงคือ ผู้แทนถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ และจะต้องรับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนปกติของคนงาน ในขณะเดียวกันสภาคอมมูนเป็นสภา “ทำงาน” คือทั้งออกกฏหมายและรับผิดชอบในการบริหารกฏหมายนั้นโดยตรง คาร์ล มาร์คซ์ ในหนังสือ “สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส” อธิบายว่ามวลชนกรรมาชีพติดอาวุธในเมืองปารีส ล้มรัฐเก่า และสร้างรัฐใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นหลายเท่ารัฐใหม่ของกรรมาชีพห้ามการทำงานกะตอนกลางคืน ตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญ จัดการศึกษาฟรีให้เด็กทุกคน ยกเลิกหนี้จากอดีต และให้ความมั่นคงในที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน แต่คอมมูนปารีสไม่มีเวลาที่จะนำมาตรการเหล่านี้มาปฏิบัติอย่างถาวรเพราะถูกปราบปรามโดยรัฐบาลเก่าที่ร่วมมือกับกองทัพ พรัสเซีย
   
จุดอ่อนของคอมมูนคือ มีแนวคิดสำคัญสองแนวที่แข่งกัน คือแนวของ ออกัสต์ ปลังคี่ ที่เน้นการลุกฮือของกลุ่มเล็กๆ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นแนว พรูดอง ที่เน้นมวลชนในการสร้าง สหกรณ์ เพื่อทำงานร่วมกัน แต่ไม่สนใจ “การเมือง” หรือการยึดอำนาจรัฐ ทั้งสองแนวคิดมีปัญหา เพราะจริงๆ แล้ว อย่างที่ มาร์คซ์ เข้าใจ การปฏิวัติสังคมนิยมต้องอาศัยพลังมวลชนจำนวนมาก และต้องยึดอำนาจเพื่อสร้างรัฐใหม่ของกรรมาชีพ

40ปี รัฐประหารนองเลือดที่ชิลี

40ปี รัฐประหารนองเลือดที่ชิลี
ใจ อึ๊งภากรณ์



๑๑
กันยาในความทรงจำของคนสมัยนี้อาจหมายถึงการถล่มตึกเวอร์ลเทรดที่นครนิวยอร์ค
แต่ในความทรงจำของนักสังคมนิยมทั่วโลก
มันเป็นวันที่ทหารชาติชั่วก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลสังคมนิยมประชาธิปไตย ของ ประธานาธิบดี
ซาลวาดอร์ อเยนเด้ ที่ประเทศชิลี
     ผมกล้าฟันธงว่าทหาร ที่นำโดยนายพล พิโนเช
เป็นทหารชาติชั่ว เพราะมันทิ้งระเบิดทำเนียบประธานาธิบดี มีการฆ่าอเยนเด้
แล้วกวาดต้อนนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย นักศึกษา
และนักสหภาพแรงงานทั่วประเทศมาขังไว้ในสนามกิฬา หลังจากนั้นมีการฆ่าทิ้งจนเลือดนองแผ่นดิน
ที่ไม่ฆ่าทันทีก็ทรมาณ ทั้งหญิงและชาย มีการใช้กระแสไฟฟ้า บุหรี่ ไม้กระบอง
และการข่มขืนเป็นระบบ ความป่าเถื่อนทั้งหลายนับไม่ถ้วน
     นักร้องสังคมนิยมชื่อ วิคเตอร์ ฮารา ถูกจับ
ทหารทุบนิ้วมือพังหมดเพื่อไม่ให้เล่นกิตาร์ต่อไปได้ แล้วในที่สุดก็ฆ่าทิ้ง ท่านสามารถฟังเพลงและการประกาศนโยบายของเขาได้ที่นี่
 (
http://www.youtube.com/watch?v=en8yqVxuT-U ) วิคเตอร์ฮารา
มักแต่งเพลงเกี่ยวกับเกษตรกร กรรมาชีพ และคนจน เขาเลยต้องถูกฆ่าทิ้ง
     ในหนังสือ Of Love and Shadows ที่เขียนโดย อิสาเบล อเยนเด้ นักเขียนชื่อดังและหลานสาวของอดีตประธานาธิบดี
อเยนเด้ มีการกล่าวถึงความรักระหว่างหนุ่มสาวท่ามกลางวิกฤตการเมือง อิสาเบล
อเยนเด้ ต้องหนีออกนอกประเทศหลังรัฐประหาร
     ที่ยุโรปหลังการทำรัฐประหาร
เรามักจะพบอดีตนักโทษการเมืองที่รอดตัวหนีออกมาได้ หลายคนมีรอยแผลจากการถูกทรมาณ
มันทำให้ลืมเหตุการณ์ที่ชิลียาก
     คนที่โดนฆ่า โดนทรมาณ ไม่ใช่แค่ชาวชิลี
ในหนังเรื่อง
Missing นักแสดง แจ๊ก เลมอน เล่นบทพ่อของนักศึกษาอเมริกันที่หายไปหลังการทำรัฐประหาร
ตอนแรกเขารำคาญการเมืองของลูกชาย แต่หลังจากที่ต้องไปใช้เวลาค้นหาศพ
ในขณะที่สถานทูตสหรัฐไม่ช่วยเลย เขาเปลี่ยนจุดยืน แพทย์สตรีจากอังกฤษที่สนับสนุนรัฐบาลอเยนเด้ก็โดนข่มขืน
แต่รัฐบาลสหรัฐกับอังกฤษเป็นผู้หนุนหลังพวกนายพลเผด็จการ ซีไอเอ ช่วยวางแผนร่วมกับทหารชีลี
และรัฐบาลอังกฤษขายอาวุธให้ ยี่สิบปีหลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีแทชเชอร์
ของอังกฤษช่วยปกป้องนายพล พิโนเช อาชญากรมือเปื้อนเลือด เวลามีผู้พิพากษาจากสเปนออกหมายจับข้ามพรมแดนในฐานที่
พิโนเช ละเมิดสิทธิมนุษยชน
 “อังกฤษแห่งอเมริกาใต้
ประเทศชิลีเป็นประเทศที่มีฉายาว่าเป็น
อังกฤษแห่งอเมริกาใต้
ทั้งนี้เพราะเคยมีระบบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมที่มั่นคงมาร้อยกว่าปี แต่เป็นประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำโดยพรรคการเมืองของนายทุนและเจ้าของที่ดินรายใหญ่
ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูงมาก ต่อมาในปีค.ศ.
1970 ประธานาธิบดี
ซาลวาดอร์ อเยนเด้ แห่งพรรคสังคมนิยมประชาธิไตย ชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งสร้างความไม่พอใจและความหวาดกลัวในกลุ่มอำนาจเก่า
    
พรรคสังคมนิยมชิลีเป็นพรรคของกรรมาชีพที่พยายามเปลี่ยนสังคมโดยสันติวิธี
พรรคนี้พยายามอาศัยกลไกรัฐสภาในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม เพื่อหวังครองอำนาจรัฐ
และเมื่อพรรคสังคมนิยมชนะการเลือกตั้ง
ใครๆก็เชื่อว่าคงจะสร้างสังคมนิยมได้โดยสันติวิธี หลายคนเรียก อเยนเด้ ว่าเป็น
“มาร์คซิสต์” และมักจะพูดด้วยความปลื้มว่าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ “พิสูจน์”
ว่านักสังคมนิยมไม่ต้องปฏิวัติล้มระบบอีกแล้ว
พรรคสังคมนิยมชนะการเลือกตั้งในกระแสการต่อสู้
เราต้องเข้าใจว่าชัยชนะของพรรคสังคมนิยมชิลีเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสการต่อสู้ของคนชั้นล่างที่ดุเดือด
ก่อนวันเลือกตั้งมีการนัดหยุดงาน
5295 ครั้ง และเกษตรกรกับคนยากจนได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วย
     หลังจากที่ได้รับชัยชนะ ประธานาธิบดี อเยนเด้
ประกาศว่า
เราจะทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อสร้างระบบสังคมนิยมนอกจากนี้เขาสัญญาว่าจะปฏิรูปที่ดินและเอาบริษัทเอกชนชั้นนำ
150
บริษัทมาเป็นของรัฐ แต่เขาเตือนต่อไปว่าทุกส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน
และชนชั้นกรรมาชีพจะต้องเสียสละเพื่อสร้างแนวร่วมกับนายทุน โดยการสลายการเคลื่อนไหว
และลดข้อเรียกร้อง เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้นนายทุนจะไม่ร่วมมือ พูดง่ายๆ
เขาพูดเอาใจคนชั้นล่าง แต่พยายามยุติการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภา
ซึ่งถือว่าเป็นการสลายพลังหลักที่จะปกป้องรัฐบาลและผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
     ในปีแรกของรัฐบาลใหม่
รายได้จริงของกรรมาชีพเพิ่มขึ้น จำนวนคนตกงานลดลง โรงงาน
90 แห่ง
และที่ดิน
30%
ของประเทศถูกนำมาเป็นของรัฐ และเศรษฐกิจขยายตัวอย่างน่าชื่นชม
     สิ่งที่รัฐบาลใหม่สามารถทำเพื่อกรรมาชีพชิลี
ไม่ได้อาศัยการล้มระบบทุนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามก็ต้องนับว่ายังเป็นประโยชน์กับคนธรรมดามากพอสมควร แต่มาตรการ
ค่อยเป็นค่อยไปของรัฐบาล อเยนเด้
ไม่เป็นที่พอใจกับนายทุนเลย ฉะนั้นนายทุนชิลีพยายามทำลายเศรษฐกิจด้วยการถอนทุนหรือหยุดการลงทุน
และนายทุนสหรัฐพยายามห้ามไม่ให้ชิลีกู้เงินจากต่างประเทศด้วย
ในขณะเดียวกันสหรัฐยังส่งเงินช่วยนายทหารในกองทัพชิลี
อเยนเด้
ประนีประนอมกับทุน
เนื่องจาก อเยนเด้
ไม่ต้องการปฏิวัติยกเลิกระบบทุนนิยม
ในที่สุดเขาต้องเลือกยอมประนีประนอมกับเงื่อนไขของนายทุน ในขั้นตอนแรกก็มีการชะลอมาตรการที่เป็นประโยชน์กับกรรมาชีพ
ต่อจากนั้นก็มีการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายทหารและตำรวจในการ
รักษาความสงบ
    
แต่การประนีประนอมของรัฐบาลต่อฝ่ายทุนมิได้ทำให้นายทุนร่วมมือมากขึ้นแต่อย่างใด
ยิ่งยอมแค่ไหนฝ่ายอำนาจเก่ายิ่งเรียกร้องมากขึ้น และยิ่งก้าวร้าวมากขึ้น นายทุนเข้าใจดีว่ากรรมาชีพกับนายทุนร่วมมือกันไม่ได้  ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลยอมประนีประนอม
นายทุนกลับมองว่าเป็นการแสดงความอ่อนแอ จึงทำให้ฝ่ายทุนรุกสู้ต่อไปด้วยการ
หยุดงานเช่นไม่ยอมปล่อยรถขนส่งออกไป
ซึ่งมีผลทำให้ประเทศขาดอาหารและสิ่งจำเป็น
เป้าหมายคือการสร้างสถานการณ์เพื่อให้ชนชั้นกลางออกมาประท้วงรัฐบาล
และเพื่อให้ความชอบธรรมกับการก่อรัฐประหาร
คนงานพื้นฐานสร้างสภาคนงาน
คอร์โดเนส์ แต่ อเยนเด้ สั่งสลายพลังคนงาน
กรรมาชีพพื้นฐานในชิลีไม่ได้ยกธงขาวยอมแพ้ง่ายๆ
คนงานพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รวมตัวกันสร้างสภาคนงานย่านอุตสาหกรรม
คอร์โดเนส์เพื่อประสานงานยึดรถบรรทุกจากนายทุนแล้วนำมาขนส่งสินค้าเอง
ในที่สุดคนงานได้รับชัยชนะ
         แต่แทนที่ประธานาธิบดี อเยนเด้
จะสนับสนุนการกระทำของกรรมาชีพพื้นฐาน เขากลับมองว่าเป็นการสร้างความไม่สงบกับทุนนิยมซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม
อเยนเด้ จึงสั่งให้ทหารและตำรวจสลายสภาคนงาน
และการกระทำครั้งนั้นได้รับความเห็นชอบจากพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลินของประเทศชิลีที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วย
     เราต้องเข้าใจว่าพรรคคอมิวนิสต์สายสตาลินทั่วโลก
กลายเป็นพรรคที่ต้องการประนีประนอมข้ามชนชั้นกับนายทุน และเลิกเป็นพรรคปฏิวัติ
ซึ่งเห็นได้ชัดในกรณีอิตาลี่ และอินโดนีเซียในยุคนั้น
ประเทศเข้าสู่วิกฤต
หลังจากนั้นชิลีก็เข้าสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นเป็นลำดับ
ทุกครั้งที่ฝ่ายทุนพยายามยึดอำนาจโดยอาศัยกองทัพ คนงานพื้นฐานและนายทหารชั้นล่างบางคนจะออกมาปกป้องรัฐบาลและเรียกร้องให้รัฐบาลแจกอาวุธให้คนงาน
แต่รัฐบาลไม่ยอมฟังเพราะมัวแต่ประนีประนอมกับนายทุนและนายทหารชั้นผู้ใหญ่
มีการเชิญนายพล พิโนเช เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีอีกด้วย
!!
     ในที่สุด ในวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๑๖
กองทัพชิลี นำโดยนายพล พิโนเช ก็ทำรัฐประหารยึดอำนาจ
ไทย : ๑๔
ตุลาคม ๒๕๑๖
ใครๆ
ที่อ่านบทความนี้น่าจะคิดออกว่าสถานการณ์ในชิลีมีส่วนคล้ายบางอย่างกับสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน
และมันคงมีบทเรียนสากลหลายบทที่เรานำมาเสริมความรู้ของเราในการเคลื่อนไหวได้
     ประมาณสองอาทิตย์หลังจากที่รัฐบาล อเยนเด้
ถูกทำลายในชิลี นักศึกษาและกรรมกรไทยได้ลุกขึ้นทำลายระบบเผด็จการทหารของ ถนอม ประภาส
ณรงค์ และหลังจากนั้นเราก็มีระบบประชาธิปไตยทุนนิยม แต่ในขณะเดียวกัน นายทุนและอำนาจเก่าในไทยก็ไม่พอใจในสิทธิเสรีภาพและข้อเรียกร้องต่างๆ
นาๆ ของนักศึกษา กรรมาชีพ และชาวนาในช่วงนั้น โดยเฉพาะในเรื่องการยกธงสังคมนิยมขึ้นมาเป็นธงนำของฝ่ายเรา
นายทุนและทหารจึงวางแผนทำลายประชาธิปไตยด้วยความเหี้ยมโหดในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
เหมือนกับที่นายทุนชิลีเคยทำเมื่อสามปีก่อน
อินโดนีเซีย: 8 ปีก่อน
ในอินโดนีเซียสมัยประธานาธิบดีแนวชาตินิยม
ซุการ์โน พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากรัสเซียหรือจีน ทำแนวร่วมข้ามชนชั้นกับ
ซุการ์โน โดยการกล่อมให้กรรมาชีพและเกษตรกรเลิกชุมนุมนัดหยุดงาน
และให้ลดข้อเรียกร้อง ในช่วงนั้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียเข้าสู่วิกฤตร้ายแรง
เพราะถูกปิดกั้นจากสหรัฐ ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวาย นายพล ซุฮาร์โต้ ก็ทำรัฐประหารนองเลือด
มีการจับคอมมิวนิสต์ไปฆ่าทิ้งหนึ่งล้านคน
     ที่น่าสนใจคือ แปดปีหลังจากเหตุการณ์นั้นในอินโดนีเซีย
ตามเมืองต่างๆ ในชิลี มีคนมาเขียนสโลแกนตามกำแพง เตือนความจำฝ่ายซ้ายว่า
“อย่าลืมจากาตาร์ อินโดนีเซีย” ซึ่งหมายความว่าถ้าฝ่ายซ้ายยิ่งประนีประนอม
ฝ่ายตรงข้ามจะได้ใจและในที่สุดทำรัฐประหารฆ่าพวกเราทิ้ง
บทเรียนจากรัฐประหาร
บทเรียนจากรัฐประหารชิลีคือ
ชนชั้นนายทุนจะไม่มีวันยอมยกผลประโยชน์ให้ชนชั้นกรรมาชีพและเคารพประชาธิปไตย
แต่จะใช้ความรุนแรงปกป้องผลประโยชน์ชนชั้นตนเองตลอด ฉะนั้นสังคมนิยมเกิดขึ้นโดยสันติวิธีผ่านรัฐสภาไม่ได้
ต้องมีการปฏิวัติของมวลชนนำโดยกรรมาชีพ
ในชิลีเราเห็นหน่ออ่อนของการปฏิวัติดังกล่าวเมื่อมีการสร้างสภาประสานงานของกรรมาชีพ
แต่มันถูกทำลายโดยพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นแนวสังคมนิยมสันติวิธี
     บทเรียนอีกอันหนึ่งจากชิลีคือ
ทหารเผด็จการฝ่ายขวาอย่าง พิโนเช และทหารของไทยเอง
มักนิยมชื่นชมในนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด ที่ให้ประโยชน์กับกลุ่มทุนเป็นหลัก
ในกรณีชิลี
มีการเชิญนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมขวาจัดสุดขั้วมาออกแบบนโยบายของรัฐบาลทหาร ในกรณีไทย
ทหารนำแนวเสรีนิยมกลไกตลาดมาลงในรัฐธรรมนูญปี ๕๐
ชิลีทุกวันนี้
ในรอบสองปีที่ผ่านมานักศึกษาชิลีออกมาประท้วงรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
ข้อเรียกร้องหลักคือนักศึกษาต้องการให้รัฐเข้ามามีบทบาทหลักในระบบการศึกษา
ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายเอกชนที่แสวงหากำไรมาครอบงำระบบ ซึ่งบทบาทของเอกชนในการศึกษาของชิลีนี้เป็นผลพวงแย่ๆ
จากรัฐประหารของ พิโนเช
     พิโนเช เป็นประธานาธิบดีเผด็จการนานถึง 16 ปี หลังจากนั้นมีประธานาธิบดีพรรคฝ่ายขวาสองคน
กว่าจะมีประธานาธิบดีพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งต้องรออีกสิบปี
แต่นโยบายของพรรคสังคมนิยมก็เปลี่ยนไปยอมรับกลไกตลาดเสรีของกลุ่มทุน
การประท้วงของนักศึกษาจึงเป็นการแสดงความไม่พอใจกับรัฐบาลทุกพรรคและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ภายใต้นโยบายเสรีนิยมตั้งแต่ยุคเผด็จการ พิโนเช

ดูภาพถ่ายจากยุคนั้นได้ที่นี่
http://www.flickr.com/photos/marcelo_montecino/sets/99847/