ยางพารา ราคาตกต่ำ ความไม่ยุติธรรมของกลไกตลาด

การบริหารของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย กระทำได้เพียงการพยุงราคาไม่ตกต่ำ จนกระทบกับความเดือดร้อนของเกษตรกร เท่านั้น วิธีการหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็เอาเงินมารับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จะเก็บไว้ หรือขายขาดทุน ก็สุดแท้แต่

โดย วัฒนะ วรรณ

ยางพารา ถือว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นเดียวกับ น้ำมัน น้ำตาล ข้าว ที่ผลิตจากที่แหล่งไหน ประเทศใด ก็คล้ายกัน ใช้ทดแทนกันได้  ดังนั้น ราคาของยางพารา จึงถูกกำหนด โดยตลาดโลก ซึ่งขึ้นตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

เหตุผลที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ ก็เป็นผลของการเจริญเติบโต ของเศรษฐกิจจีน เพราะเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ขนาดใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะยางพาราเท่านั้นที่ราคาสูงขึ้น ถ่ายหิน น้ำมัน ฯลฯ ก็สูงขึ้นมากเช่นกัน

ส่วนที่ราคาตกเรื่อยมา เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ รุกรามไปยุโรป กระทบชิ่งไปญี่ปุ่น เรื่อยมาจนถึงจีน ที่ใครๆ เคยบอกว่าจะเป็นหลุมเพาะจากวิกฤตสหรัฐ แต่จีนกับสหรัฐมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจมาก จึงไม่รอด เศรษฐกิจหดตัวมาต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันใกล้

ราคายางจะถูกหรือว่าแพง ในภาพใหญ่ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยมาก กับฝีมือการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นทักษิณ หรืออภิสิทธิ์ มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงไหนเท่านั้น ถ้าเข้ามาในช่วงเศรษฐกิจโลกเติบโต ก็จะได้รับอานิสงส์ ทำให้ราคายางสูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็อาจจะต้องเผชิญกับการเรียกร้องของเกษตรกร เนื่องด้วยราคาตกต่ำลง

การบริหารของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย กระทำได้เพียงการพยุงราคาไม่ตกต่ำ จนกระทบกับความเดือดร้อนของเกษตรกร เท่านั้น วิธีการหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็เอาเงินมารับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จะเก็บไว้ หรือขายขาดทุน ก็สุดแท้แต่

คำถามสำคัญคือจะพยุงให้สูง ถึงขนาดไหนถึงเป็นธรรม พี่น้องเกษตรกรจึงจะอยู่ได้ และต้องใช้เงินเท่าไร ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ ต้องคิดประกอบกันในแง่การบริหาร

แต่เกษตรกรปลูกยางนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับยากจนมีไม่กี่สิบไร จนถึงระดับร่ำรวยมีเป็นพันเป็นหมื่นไร่ ขอบเขตการพยุงราคาควรกินพื้นที่กว้างขนาดไหน นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องถกเถียงกัน นอกจากนี้ก็ยังมีเกษตรกรผู้รับจ้างกรีดยาง ซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากจำนวนที่กรีดได้ ซึ่งก็ต้องคำนึงอีกด้วย

การจะให้ราคายางกลับตัวไปในช่วงที่สูงมากๆ ในอดีต คงเป็นเรื่องยาก เพราะเศรษฐกิจโลกเจอวิกฤตเรื้อรัง คงไม่หายได้ง่ายๆ ในเร็ววัน และยังมีการแพร่เชื่อไปที่อื่นๆ ด้วย ล่าสุดที่ก็อินเดีย คิวต่อไปก็อาจจะกลุ่ม TIP(ไทย อินโด ฟิลิปปินส์) ในกรณีไทย ที่ผ่านมาส่วนหนึ่งที่ดูจะได้รับผลกระทบไม่มากนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ก็น่าจะเป็นมาจากการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าจ้าง 300 บาท รับจำนำข้าว 15000 บาท รวมถึงการพยายามผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ช่วยสร้างงานภายในประเทศ แต่การเพิ่มกำลังซื้อภายในเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้ หากประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น ยังไม่สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ เนื่องด้วยไทยต้องพึ่งพิงการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านี้เป็นสำคัญ

ถ้าจะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะกรรมาชีพ รับเงินเดือน กับเกษตรกรยากจน เราต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการกระจายรายได้ ให้ดีกว่านี้ เพราะถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อไร ผู้ได้รับผลกระทบหนักสุดก็จะเป็นกรรมาชีพ ส่วนคนร่ำรวยอาจจะจนลงไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเดือดร้อนไม่มีข้าวกิน ไม่มีบ้านอยู่ ยังสามารถใช้ชีวิตสุขสบายได้ตามปกติ

ต้องมีการเก็บภาษีรายได้ในอัตราที่สูงมากๆ สำหรับคนร่ำรวยมากๆ เพื่อนำเงินมาจัดสรรสร้างระบบสวัสดิการ เพื่อดูแลทุกคนในรัฐ เป็นเกาะป้องกัน ความลำบากเดือดร้อนที่อาจจะมาเยือนเมื่อไรก็ได้ จำเป็นที่ผู้รักความเป็นธรรมจะต้องร่วมมือกัน ตั้งคำถามของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน เพื่อผลักดันสังคมไปข้างหน้า หาแนวทางออกร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s