เบื้องหลังการเลิกทาสเลิกไพร่ของรัชกาลที่๕
มาตรการเพื่อกดค่าแรงรับจ้าง

โดย  ใจ
อึ๊งภากรณ์


การพัฒนาของระบบทุนนิยมทั่วโลก
บวกกับการขยายตัวของระบบการค้าเสรี สร้างทั้งปัญหาและโอกาสให้กับกษัตริย์ไทย
ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ประโยชน์จากการพยายามผูกขาดการควบคุมระบบแรงงานบังคับและการค้าขาย
ปัญหาคือรายได้ที่เคยได้จากการควบคุมการค้าอย่างผูกขาดลดลงหรือหายไป
  แต่ในขณะเดียวกันการเปิดเศรษฐกิจเชื่อมกับตลาดโลกที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
มีผลในการสร้างโอกาสมหาศาลสำหรับนายทุนที่สามารถลงทุนในการผลิตสินค้า
แต่โอกาสนั้นจะใช้ไม่ได้ ถ้าไม่รีบพัฒนาแรงงาน
     การผลิตข้าวในไทยเป็นตัวอย่างที่ดี  ระหว่างปี ค.ศ. 1870-1880 การผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 93% ในสภาพเช่นนี้ระบบศักดินาที่เคยอาศัยการเกณฑ์แรงงาน
เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ถ้าจะมีการลงทุนในการผลิตข้าวเพื่อขายในตลาดโลก
จะต้องใช้กำลังแรงงานในการขุดคลองชลประทานและการปลูกข้าวมากขึ้น
และแรงงานนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
แรงงานเกณฑ์ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ
มักจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนระบบแรงงานไปเป็นแรงงานรับจ้าง เพื่อขยายกำลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
และต้องนำแรงงานรับจ้างเข้ามาจากประเทศจีนอีกด้วย
ซึ่งมีผลทำให้อัตราการค่าจ้างลดลงเมื่อกำลังงานเพิ่มขึ้น ในไทยค่าแรงลดลง
64%
ระหว่างปี ค.ศ.
1847 กับ 1907
     ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างชนชั้นชาวนาแบบใหม่ขึ้นด้วย
ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยอิสระที่มีเวลาและแรงบันดาลใจในการผลิตข้าวมากกว่าไพร่
ในอดีต ใครที่คุ้นเคยกับเขตรังสิตจะทราบดีว่าที่นี่มีคลองชลประทานที่ตัดเป็นระบบอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างชัดเจน
คลองชลประทานที่ขุดขึ้นที่รังสิต ขุดโดยแรงงานรับจ้าง และการลงทุนในการสร้างที่นาเหล่านี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทหุ้นส่วนของระบบทุนนิยมเพื่อการผลิตส่งออก
ผู้ที่ลงทุนคือญาติใกล้ชิดของกษัตริย์กรุงเทพฯ และนายทุนต่างชาติ 
หลังจากที่มีการขุดคลองก็มีการแจกจ่ายกรรมสิทธ์ที่ดินบริเวณริมฝั่งคลอง
และชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่นี้เป็นชาวนาอิสระที่มาเช่าที่นา
    
นอกจากนี้ในการแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ รัฐที่ยกเลิกแรงงานบังคับไปแล้ว
เช่นอังกฤษ
อาจใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับการปลดปล่อยทาสเพื่อโจมตีรัฐคู่แข่งที่ยังมีระบบนี้อยู่
อันนี้เป็นประเด็นหนึ่งในการยกเลิกระบบแรงงานบังคับในไทย

    
ในประเด็นการเมือง การที่รัชกาลที่ ๕ ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานบังคับ ซึ่งต้องอาศัยเจ้าขุนมูลนาย
ถือว่าเป็นการตัดอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของเจ้าขุนมูลนายเหล่านั้นไป
เพื่อสร้างระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรวมศูนย์รัฐแบบทุนนิยมเป็นครั้งแรกในไทย
สงครามคู่ขนาน:  ประชาชนหรือนายทุน?
เสื้อแดงหรือทักษิณ?
เบื้องหลังการหักหลังวีรชนและนักโทษการเมืองโดยการนิรโทษกรรมของเพื่อไทย

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐบาลเพื่อไทยหักหลังวีรชนเสื้อแดง
นิรโทษกรรมทหารและนักการเมืองมือเปื้อนเลือด หวังทักษิณได้กลับไทย
ทิ้งนักโทษทางความคิด 112 ให้ตายในคุก
นี่คือผลพวงของการจับมือกันระหว่างชนชั้นปกครองซีกทักษิณและทหาร เป็นสิ่งที่ผมและเลี้ยวซ้ายคาดว่าจะเกิดนานแล้ว
เราเถียงกับพวกเสื้อแดงที่เชียร์ยิ่งลักษณ์จนหน้าดำหน้าแดง …
ข้อสรุปที่เราต้องยืนยันอีกครั้งคือ
คนเสื้อแดงก้าวหน้าต้องจัดตั้งกลุ่มหรือพรรคการเมืองอิสระจาก นปช. และเพื่อไทย
และต้องไม่พึงพอใจกับการจัดตั้งกระจัดกระจายที่ต่างคนต่างเคลื่อนไหว ถ้าทักษิณจับมือกับทหารซีกรัฐประหารได้
คนก้าวหน้าน่าจะจับมือกันได้


    
ใน “สงคราม” ของเสื้อแดงกับอำมาตย์หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา
มีสองสงครามคู่ขนานคือ…….
    
หนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่พร้อมจะเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ร่วมกันสร้างขบวนการเสื้อแดงและออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่มีการแทรกแซงโดยอำมาตย์
ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ
และท่ามกลางการต่อสู้มีการตื่นตัวมากขึ้นจนคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เริ่มมองสังคมไทยจากมุมมองชนชั้น
อย่างน้อยก็มองว่ามีสองฝ่ายหลักคือ “เรา” ที่เป็น “ไพร่” กับ “เขา” ที่เป็น
“อำมาตย์” และเสื้อแดงเหล่านี้ต้องการให้มีการเปลี่ยนสังคมไทย
ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง
112 ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง
ต้องการให้ปฏิรูปขบวนการยุติธรรมด้วย และเขาเสียสละเลือดเนื้อเพื่อสิ่งเหล่านี้
    
สอง ฝ่ายทักษิณกับพรรคพวกไม่ได้สู้เพื่อให้มีการเปลี่ยนสังคมไทยให้เท่าเทียมแต่อย่างใด
เขาไม่ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ไม่ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง
และไม่ต้องการให้ปฏิรูปขบวนการยุติธรรม
เป้าหมายของเขาคือการกลับมาปรองดองกับคู่ขัดแย้ง
และเพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพ “ปกติ” ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด
อย่างที่เป็นก่อน ๑๙ กันยา
    
ทักษิณพูดเองเมื่อต้นปี ๒๕๕๕ ว่าเขามองว่าวิกฤตไทยมาจากการทะเลาะกันระหว่างนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพวก
กับทักษิณและพรรคพวกของเขา และแน่นอนคำพูดนี้เป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์อย่างถึงที่สุด
เพราะตัดบทบาทของทหารที่ทำรัฐประหารและฆ่าประชาชนออกไปหมด และลบทิ้ง “สงคราม”
ของประชาชนเสื้อแดง เพื่อให้มีแค่การต่อสู้เพื่อตัวทักษิณเอง
สรุปแล้วในความฝันของทักษิณ คนเสื้อแดงคือแค่ไพร่รับใช้ทักษิณและพรรคเพื่อไทยเท่านั้น
    
เป้าหมายของทักษิณและพรรคพวก โดยเฉพาะนักการเมืองเพื่อไทยในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
คือแค่การปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและอภิสิทธิ์ชนซีกทักษิณ
นั้นคือสาเหตุที่รัฐบาลปัจจุบันเต็มไปด้วยรัฐมนตรีที่ไม่เคยสู้เพื่อประชาธิปไตย
และหลายคนก็มีประวัติการเป็นโจรอีกด้วย
และเป้าหมายของทักษิณกับยิ่งลักษณ์หมายความว่าจะไม่กล่าวถึงอาชญากรรมของทหาร
เพราะจับมือจูบปากทหารแล้ว จะไม่ลบล้างผลพวงของรัฐประหารตามข้อเสนอคณะนิติราษฏร์
และจะไม่ป้องกันไม่ให้ทหารแทรกแซงการเมืองอีก
    
ข้อเสนอให้ฟอกตัวพวกมือเปื้อนเลือดของทักษิณกับเพื่อไทย เป็นการ “ถุยน้ำลายใส่”
วีรชนเสื้อแดงที่เสียสละในการต่อสู้ และทำการปรองดองบนซากศพเขา ไม่มีการนำทหารกับนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาล
และมีการปล่อยให้นักโทษการเมือง 112 ติดคุกต่อไป คนเหล่านี้ติดคุกเพราะกล้าคิดต่าง
เช่นสมยศกับดา
    
ถ้ามีการนำทหารและนักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาลในคดี
“อาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน” ในอนาคตอาจต้องนำทักษิณมาขึ้นศาลได้ในคดีอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชนที่ตากใบ
และในเรื่องการฆ่าวิสามัญยาเสพติด ดังนั้นคำวัญสำคัญของชนชั้นปกครองไทยคือ “เรารู้จักปกป้องผลประโยชน์ของพวกเราเสมอ”
และกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 คือกฏหมายที่ปกป้องผลประโยชน์ของทหาร นายทุน
และข้าราชการชั้นสูง
    
ผู้เขียนเคยอธิบายมานานแล้วว่ามีการจับมือกันระหว่างทหารกับเพื่อไทย และแม้แต่
อภิสิทธิ์ หรือสุเทพ จะไม่ถูกนำมาลงโทษ แต่บ่อยครั้งเสื้อแดงที่เป็นกองเชียร์ของรัฐบาลจะหาข้ออ้างต่างๆ
นาๆ มาเถียง และกล่าวหาว่าผมรีบสรุปเกินไป ตอนนี้เราเห็นชัดว่าอะไรเกิดขึ้นแล้ว
    
สำหรับแกนนำ นปช. พวกนี้มองว่าภาระหลักของ นปช.
คือการเป็นกองเชียร์ให้พรรคเพื่อไทยและทักษิณ
และการสนับสนุนเป้าหมายของทักษิณและยิ่งลักษณ์ในการนำสังคมไทย “กลับคืนสู่สภาพปกติท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด”
ดังนั้นทั้งๆ ที่มีการใช้วาจาสร้างภาพว่าจะไม่ “ทอดทิ้งกัน” แกนนำ นปช. ก็ค่อยๆ
สลายขบวนการเสื้อแดง และหันหลังให้กับนักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ
112 ไม่มีการรณรงค์อย่างเต็มที่ให้ลบผลพวงของรัฐประหาร ให้มีการยกเลิก 112
และให้มีการนำทหารและนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาลแต่อย่างใด
และเวลาก็ผ่านไปนานแล้วหลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง
    
การที่แกนนำ นปช.
สามารถทำลายความฝันของเสื้อแดงในการปฏิรูปสังคมไทยและสามารถหักหลังวีรชนได้
ไม่น่าจะทำให้เราแปลกใจมากเกินไปถ้าเราเข้าใจว่าเสื้อแดงก้าวหน้าบกพร่องในการสร้างองค์กรทางการเมืองที่อิสระจาก
นปช.
    
แต่อย่าเข้าใจผิดว่าการออกมาต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงเป็นเรื่องสูญปล่าว
อย่าเข้าใจผิดว่าการออกมาต่อสู้ของประชาชนไม่เคยได้อะไร
อย่าเข้าใจผิดว่าเราต้องถูกแกนนำหลอกเสมอ
    
ถ้าเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้ เราจะไม่มีกระแสสำคัญๆ
ในสังคมไทยที่อยากปฏิรูปการเมืองจริงๆ เช่นการรณรงค์ของนิติราษฎร์หรือผู้ที่ต้องการจัดการกับกฏหมาย
112 และถ้าพวกเราไม่ได้ออกมาสู้อำมาตย์ก็จะมั่นใจยิ่งกว่านี้ว่าทำอะไรกับเราก็ได้
    
การต่อสู้ของมวลชน… ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้…
การเสียเลือดเนื้อของประชาชน… การเลือกตั้ง…
การปรองดองของชนชั้นปกครองบนซากศพวีรชน… ฆาตกรลอยนวล…
อำนาจอำมาตย์ถูกปกป้อง… พรรคการเมืองทำลายความฝันของประชาชน:  นั้นคืออ่างน้ำเน่าของการเมืองไทยในรอบห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา
ถ้าเราอยากให้เรื่องแบบนี้จบสักที
คนก้าวหน้าต้องรู้จักรวมตัวกันทางการเมืองในลักษณะที่อิสระจากพวก “ผู้ใหญ่”
เราต้องมาร่วมกันสร้าง “พรรคสังคมนิยม”
    
พรรคสังคมนิยมมีหน้าที่สร้างผู้ปฏิบัติการจากคนที่เข้าใจประเด็นการเมืองทางชนชั้น
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการขยายความคิดนี้ไปสู่คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดกลางๆ
ระหว่างความก้าวหน้ากับความล้าหลัง หรือระหว่างความเป็นซ้ายกับความเป็นขวา
พรรคไม่ได้ตั้งเป้าหมายหลักในการทำงานกับคนที่ล้าหลังที่สุด ถูกกดขี่มากที่สุด
หรือเข้าใจการเมืองน้อยที่สุดเพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่พร้อมจะเปลี่ยนความคิดง่ายๆ
นั้นคือสาเหตุที่พรรคฝ่ายซ้ายควรทำงานกับคนเสื้อแดงก้าวหน้า คนหนุ่มสาว
และนักสหภาพแรงงาน
    
แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน
ซึ่งจะนำไปสู่เสรีภาพแท้ได้
การเปลี่ยนสังคมดังกล่าวต้องเป็นการกระทำของมวลชนส่วนใหญ่เอง จากล่างสู่บน
ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มเล็กๆ หรือ “กองหน้า” หรือการกระทำของพรรค “เพื่อปลดแอกคนส่วนใหญ่”
    
เราไม่ควรไปเสียเวลากับคนชั้นกลางเท่าไร เพราะในวิกฤตปัจจุบัน และในยุค ๖
ตุลา คนชั้นกลางส่วนใหญ่ในไทยเลือกข้างของความป่าเถื่อน และทั่วโลกมักเป็นพลังสำคัญของกระแสฟสซิสต์
    
พรรคสังคมนิยมต้องยึดถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว
และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็นชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย หรือคนจนในเมือง
พรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา
และวิถีชีวิต

    
พูดง่ายๆ พรรคหรือกลุ่มสังคมนิยมควรรับภาระในการต่อสู้ต่อไปของคนชั้นล่างท่ามกลางการหักหลังทรยศของพรรคเพื่อไทยและ
นปช.

ใครทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากที่สุด

สิ่งที่ทำลายทรัพยากรและใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย คือกลไกตลาด ระบบกลไกตลาดยินดีที่จะนำสัตว์เลี้ยงไปทิ้งทะเล หรือปล่อยให้เน่าเสีย เพียงเพื่อต้องการรักษาระดับราคาไม่ให้ตกต่ำ หรือระบบกลไกตลาดยินดีที่จะปล่อยให้เกิดบ้านร้าง ถ้าไม่มีคนชื้อ ทั้งๆ ยังมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก

โดย วัฒนะ วรรณ

จากปรากฏการณ์กระแสรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเร็วๆนี้ ได้ปรากฏแนวคิดบางด้าน ที่เสนอว่า คนชั้นกลางในเมืองคือผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก และอีกแนวตรงข้ามก็กล่าวหาคนชั้นกลางในเมือง โลกสวย ต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนชนบท ที่ต้องเผชิญกับน้ำท่วม น้ำแล้งมาตลอดหลายปี

คนชั้นกลางในเมือง จึงถูกกล่าวหาจากทั้งสองฝั่งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่คัดค้านการสร้างเขื่อนและฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างเขื่อน คนชั้นกลางในเมือง ที่ถูกกล่าวหานั้น เป็นการพูดถึงแบบกว้างๆ เบลอๆ ไม่มีนิยามตายตัว แต่พอจะคาดเดาได้บ้างว่าน่าจะหมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีรายได้ระดับหนึ่งอาจจะสองหมื่นบาทขึ้นไป ที่สามารถใช้ชีวิตในห้างสรรพสินค้า ในร้านอาหาร ในสถานบันเทิง สถานบริการต่างๆ เป็นปกติ แต่การนิยามและการกล่าวหาเช่นนี้ไม่ช่วยทำให้เรามองภาพได้ว่า แท้จริงแล้วใครคือผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากที่สุด

ถ้าจะเข้าใจว่าใครทำลานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ต้องใช้แนวคิดการแบ่งชนชั้นตามแนวคิดนักมาร์คซิสต์ โดยใช้ความสัมพันธ์การผลิตในการแบ่ง นักมาร์คซิสมองว่าในระบบทุนนิยม มีเพียงชนชั้นสองกลุ่มหลักๆ เท่านั้น คือกรรมาชีพ และนายทุน กรรมาชีพคือผู้ที่ไร้ปัจจัยการผลิต ไม่ได้ครอบครอบทรัพยากร เป็นแรงงานรับจ้าง ทำงานในโรงงาน ในสำนักงาน เป็นคนส่วนใหญ่ ส่วนชนชั้นนายทุน เป็นคนส่วนน้อย แต่ครอบครองปัจจัยการผลิต ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ที่ใช้ในการผลิต ส่วนชนชั้นกลาง จัดว่าเป็นกลุ่มชนชั้น ที่ภายในชนชั้น มีหลายระดับ โดยส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำการผลิตเอง แต่ยังไม่สามรถพัฒนาตนเองเป็นนายทุน ที่มีลูกจ้างขนาดใหญ่ได้

ผลผลิตในระบบทุนนิยมที่ถูกผลิตโดยกรรมาชีพ จะถูกยึดไปโดยนายทุน เพื่อสะสมและนำไปขยายการผลิตต่อไปเรื่อยๆ ภายใต้ระบบการสะสมทุนแบบนี้ ผลผลิตที่ถูกผลิตขึ้นจะไม่ถูกนำไปตอบสนองในการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ทราบดีว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อเขา เพราะเราไม่สามารถแยกมนุษย์ออกจากสิ่งแวดล้อม ออกจากธรรมชาติได้ มนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติมีปัญหา มนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เช่นอากาศเป็นพิษ แม่น้ำเน่าเสีย น้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นต้น แต่ในระบบทุนนิยมมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยการผลิตได้ จึงไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปกป้องทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องตนเองได้

ระบบการผลิตทุนนิยมที่เน้นการแข่งขันภายใต้กลไกตลาด จะสนใจแต่เพียง “มูลค่าแลกเปลี่ยน” และจะไม่สนใจ “มูลค่าใช้สอย” 

ทั้งๆ ที่มูลค่าใช้สอยมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เช่น น้ำ อากาศ มีมูลค่าใช้สอยมาก แต่ไม่มีมูลค่าแลกเปลี่ยน การลงทุนในการดูแลปกป้องรักษา น้ำ อากาศ จึงเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพื่อนำไปสะสมทุน เพื่อแข่งขันกันในระบบทุนนิยม

เราจะพบว่าระบบทุนนิยม ที่ทรัพย์สินเป็นของกรรมสิทธิ์เอกชน จะไม่ยอมนำความร่ำรวยที่ตนเองสะสมผ่านการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากกรรมาชีพ มาพัฒนา แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงรัฐบาลในระบบทุนนิยมด้วย เพราะถ้ารัฐลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม ก็ต้องไปเก็บภาษีเพิ่มจากนายทุน ซึ่งรัฐสภาแบบทุนนิยมจะเต็มไปด้วยตัวแทนของนายทุน

นอกจากนี้ระบบแข่งขันของระบบทุนนิยม จะเป็นตัวกดดันบริษัทเอกชน ไม่ให้มีการลงทุนสร้างโรงงานที่รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะจะต้องลงทุนเพิ่ม นายทุนรายเดียวจะไม่มีทางทำเพราะจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่สามารถแข่งขันกับนายทุนอื่นได้ และถ้ามองในระดับจักรวรรดิ นี่คือเหตุผลข้อหนึ่งที่ สหรัฐฯ จีน ไม่ยอมลงนามลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่คาดกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโลกร้อน เพราะจะทำให้ต้นทุนเพิ่ม ไม่สามารถแข่งขันกับจักรวรรดิอื่นได้

ในส่วนการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย คนจน กรรมาชีพ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมือง ไม่ได้เป็นผู้ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยแต่อย่างใด กลับกันจะเป็นกลุ่มที่มักจะไม่มีโอกาสใช้ทรัพยากรที่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนด้วยซ้ำ สิ่งที่ทำลายทรัพยากรและใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย คือกลไกตลาด ระบบกลไกตลาดยินดีที่จะนำสัตว์เลี้ยงไปทิ้งทะเล หรือปล่อยให้เน่าเสีย เพียงเพื่อต้องการรักษาระดับราคาไม่ให้ตกต่ำ หรือระบบกลไกตลาดยินดีที่จะปล่อยให้เกิดบ้านร้าง ถ้าไม่มีคนชื้อ ทั้งๆ ยังมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ต่างหากเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย การกล่าวหา กรรมาชีพ หรือคนธรรมดาในเมือง จึงเป็นความพยายามบิดเบือนประเด็น หลีกเลี่ยงการปะทะกับระบบทุนนิยม สุดท้ายก็ไม่ได้ทำให้เกิดการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

นักมาร์คซิสต์เสนอว่า ถ้าจะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ได้ผลต้องยกเลิกระบบทุนนิยมที่นำทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยี ที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ทำการผลิตเพื่อการแข่งขัน เปลี่ยนมาเป็นของส่วนรวม นำมาตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยการวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ เมื่อคนส่วนใหญ่ได้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ก็จะสามารถออกแบบ สร้างสรรค์ ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะมนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

การปล้นและยึดครองอเมริกาโดยสเปน

อาณาจักรแอสเทค(Aztec) ค.ศ. 1325–ค.ศ. 1521

โดย C. H.

ชาวยุโรปที่เห็นเมืองของอารยะธรรม แอสเทค (ในเมคซิโกปัจจุบัน) และของอารยะธรรม อิงคา (ในเปรูปัจจุบัน) ราวๆ ค.ศ. 1520-1530 จะต้องทึ่งในความเจริญร่ำรวยของสังคมแน่นอน เมือง เชนอชทิทแลน ของ แอสเทค เจริญพอๆ กับเมืองต่างๆ ในยุโรป และเมือง คุสโค ของพวกอิงคา ถึงแม้ว่าจะเล็กกว่า แต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรใหญ่ที่มีถนนสมัยใหม่เชื่อมโยงระยะทาง 3000 ไมล์ ยาวกว่าถนนในยุโรปหรือในจีนในยุคเดียวกัน อารยะธธรมของชาวอเมริกากลางและใต้ อาศัยการพัฒนาระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตเกษตร
   
แต่ภายในไม่กี่เดือน สองอารยะธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ถูกรุกรานและทำลาย โดยกองทัพขนาดเล็กของโจรสามัญจากสเปน ผู้นำกองทัพโจรนี้คือ เฮร์แนน คอร์เทส ซึ่งรุกรานพวก แอสเทค และทางใต้ ฟรานซิสโก พิสาโร ก็ยึดอาณาจักร อิงคา พิสาโร เป็นคนไร้การศึกษาเขียนอ่านไม่ได้อีกด้วยกองทัพโจรของสเปน เริ่มเดินทางไปสู่ทวีปอเมริกาในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของ คริสโตเฟอร์ คอลลัมบัส ซึ่งเป็นกับตันเดินเรือที่ ไปขอทุนจากสองกษัตริย์สเปน เพื่อบุกเบิกเส้นทางค้าขายกับจีน โดยหวังเดินเรือไปทางตะวันตก แทนที่จะไปทางตะวันออกผ่านอัฟริกาและอินเดีย แต่แทนที่จะถึงจีน คอลลัมบัส ไปขึ้นบกที่เกาะในทะเลคาริเบี้ยน

ในเวลาเพียงยี่สิบปี พวกกองทัพโจรจากสเปน สามารถบุกเข้าไปยึดและทำลายอาณาจักรแอสเทค และ อิงคา ได้ และสามารถขโมยเงิน และทองคำ เพื่อส่งกลับไปสเปนในจำนวนมากวิธีเอาชนะของพวกโจรสเปนคือด้วยการโกหก หลอกผู้นำพื้นเมือง และการฉวยโอกาสอาศัยความขัดแย้งระหว่างผู้นำเหล่านั้นด้วย มีการแพร่เชื้อโรคใหม่ๆ จากยุโรปโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งทำให้คนพื้นเมืองล้มตายจำนวนมาก นอกจากนี้อาวุธของทหารสเปนเป็นอาวุธเหล็ก มีเกราะเหล็ก และมีปืนพื้นฐาน ในขณะที่แอสเทค กับ อิงคา มีแต่ปลายดาบและหอกที่ทำจากหิน นอกจากนี้สภาพสังคม แอสเทค และ อิงคา กำลังถึงจุดวิกฤตเพราะวิถีชีวิตของชนชั้นปกครอง ที่อาศัยการขูดรีดคนข้างล่างอย่างป่าเถื่อน เริ่มเปลืองทรัพยากรจนระบบการผลิตที่หยุดพัฒนา เริ่มรองรับไม่ได้    

ผลของการยึดอเมริกาโดยสเปน คือคนพื้นเมืองล้มตายไปเกือบ 75% และที่รอดชีวิตมาได้ก็ถูกใช้เป็นแรงงานทาส เพื่อขุดเงินและโลหะมีค่าส่งกลับไปที่ยุโรป