ทำไมรัฐบาลไม่ควรยุบสภา

ทำไมรัฐบาลไม่ควรยุบสภา
กองบรรณาธิการ เลี้ยวซ้าย

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ควรยุบสภาหรือลาออก ตามคำเรียกร้องของคนชั้นกลางเสื้อเหลืองที่มาประท้วงภายใต้การนำของ
สุเทพ เทือกสุบรรณ เราฟันธงแบบนี้ทั้งๆ ที่เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง
และการปกป้องกฏหมายเผด็จการ 112 ของรัฐบาล

     ในประการแรก
การยุบสภาจะไม่ทำให้ผู้ประท้วงพอใจแต่อย่างใด
เพราะเขาไม่สนใจประชาธิปไตยและรู้ดีว่าถ้ายุบสภา ประชาธิปัตย์ สุเทพ
และพรรคพวกของเขา ไม่มีวันชนะการเลือกตั้ง เราควรคำนึงถึงการยุบสภาของอดีตนายกทักษิณในปี
๒๕๔๙ เพราะพอจัดการเลือกหลังจากนั้นตั้งพรรคฝ่ายค้านไม่ยอมลงสมัคร เพราะรู้ว่าจะแพ้ด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถครองใจคนส่วนใหญ่ได้
การไม่ลงสมัครของพรรคฝ่ายค้านเพิ่มวิกฤต จนตั้งรัฐบาลไม่ได้ แล้วนำไปสู่รัฐประหาร
ข้อแก้ตัวของฝ่ายเหลืองตอนนั้นและในขณะนี้คือ เขามองว่าประชาชนส่วนใหญ่ “ขาดวุฒิภาวะพอที่จะมีสิทธิ์เลือกตั้ง”
ซึ่งเป็นข้ออ้างของฝ่ายเผด็จการมาแต่ไหนแต่ไร พวกนี้จะไม่พอใจจนกว่าคนล้าหลังของเขาขึ้นมาตั้งรัฐบาลด้วยวิธีใดก็ได้
     ในประการที่สอง
อภิสิทธิ์กับสุเทพเป่าประกาศว่ารัฐบาล “ขาดความชอบธรรม” เราอาจถกเถียงในเรื่องนี้ได้
แต่เราเถียงไม่ได้ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งขาดลอยในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ต้องให้ทหารตั้งเป็นรัฐบาลแทน
     แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ
คนที่กล่าวหาว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม เป็นพวกมือเปื้อนเลือด
เพราะเขาดำรงตำแหน่งสูงในรัฐบาลตอนที่มีการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ไม่ถืออาวุธ
เรานึกไม่ออกว่าศีลธรรมฉบับไหนในโลกมองว่ามาตกรมีความชอบธรรม
ดังนั้นเราไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับคำพูดของสุเทพหรืออภิสิทธิ์ เขาพร้อมจะฆ่าคนเพื่อรักษาอำนาจเผด็จการ
    
นักวิชาการหลายคนเสนอว่ารัฐบาลควรจัดทำประชามติโดยเร็ว
เพื่อถามประชาชนว่าต้องการยกเลิกหรือแก้รัฐธรรมนูญทหารปี ๕๐ ทั้งฉบับหรือไม่ เราเห็นด้วย
ควรรีบทำ แต่ขณะที่ทำประชามติไม่ต้องยุบสภาแต่อย่างใด ถ้ารัฐบาลชนะประชามติ
ก็พิสูจน์ว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรัฐบาล ถ้าแพ้ประชามติ
รัฐบาลก็ควรลาออกและยุบสภา นี่คือกระบวนการประชาธิปไตยรัฐสภาในระดับสากล
    
คำถามคือรัฐบาลกล้าทำประชามติแบบนี้หรือไม่
เพราะที่แล้วมาก็จับมือประนีประนอมกับทหารมาตลอด
     ส่วนเรื่องตลกร้ายของ “ม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”
และสุเทพ ที่พูดถึง “สภาประชาชน” หรือ “รัฐบาลประชาชน” เราไม่ต้องให้ความสำคัญเลย
เพราะเป็นคำโกหกตอแหลของกลุ่มคนที่ดูถูกประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เคารพมติประชาชน
และมัวแต่เรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหาร
พวกนี้ไม่มีแม้แต่เศษขี้เล็บของความชอบธรรมเลย
     ทางออกเดียวของฝ่ายประชาธิปไตย
คือสู้ต่อ ขยายประเด็นประชาธิปไตยก้าวหน้าให้มากๆ เพื่อช่วงชิงความชอบธรรมทางการเมือง
ยุทธศาสตร์ก่นด่าฝ่ายตรงข้าม เช่นที่ นปช ใช้อยู่จะได้ผลไม่มาก
หากแต่ต้องพยายามเสนอรูปธรรมสังคมประชาธิปไตยก้าวหน้าออกมาเยอะๆ เช่น รัฐสวัสดิการ
จะขยายการปกครองสู่ท้องถิ่น เลือกตั้งผู้ว่า เลือกตั้งศาล
เพิ่มอำนาจให้คนทำงานในสหภาพแรงงาน หรือเรื่องอื่นๆ ที่จะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร
เป็นต้น

     การต่อสู้กับม็อบชนชั้นนำที่ไม่นิยมประชาธิปไตย
ต้องสู้ด้วยการช่วงชิงทางการเมืองโดยยืนอยู่บนผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง
ผ่านการจัดตั้งทางการเมือง ผ่านกลุ่มผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง ในภาคแรงงาน ชาวนา
เป็นต้น ต้องมีการจัดตั้ง สภาแรงงานประชาธิปไตย สภาชาวนาประชาธิปไตย ในหลายระดับ
จัดทำข้อเสนอเพื่อผลประโยชน์ของคนข้างล่าง อย่างเป็นรูปธรรม

มองการเมือง (ถอยหลัง) ของชนชั้นนำผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม ตอนที่ 2

มองการเมือง (ถอยหลัง) ของชนชั้นนำผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม ตอนที่ 2

พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
25 พ.ย. 56
   
และแล้ว “ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ….” ฉบับวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ถูกเล่นแร่แปรธาตุในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว  ตามที่ได้มีการวิเคราะห์กันในหมู่นักเคลื่อนไหวว่า ร่างฯ ฉบับนี้มีเจตนาซ่อนเร้น คลุมเครือเรื่องการนิรโทษกรรมฆาตกรที่สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553  เพราะในที่สุดได้มีการยัดไส้ให้ร่างฯ ล้างผิดให้แก่ทหารที่ฆ่าประชาชน แกนนำทั้งเหลืองแดง ตลอดจนถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร  ยกเว้นแต่นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ม. 112   ทว่ายังถูกเรียกว่าเป็นร่างฯ ฉบับเหมาเข่ง

กล่าวคือ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556 คณะกรรมาธิการฯ มีมติให้ความเห็นชอบต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ดังกล่าวด้วยคะแนน 20 ต่อ 7 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง   และเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 56  สภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรมฯ ในวาระ 3 ด้วยมติ 310 ต่อ 0 งดออกเสียง 4 เสียง และส่งให้วุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองต่อไป  (เว็บไซด์มติชน. ฉลุย! สภาฯ ผ่านวาระ 3 นิรโทษกรรม “สุดซอย-เหมาเข่ง” ด้วยคะแนน 310 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง. 1 พ.ย. 56. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383242242&grpid=00&catid=&subcatid= )

จากนั้นวันที่ 11 พ.ย. วุฒิสภานำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไปพิจารณา และที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ 141 เสียง ไม่รับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ซึ่งส.ว.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับเหมาเข่ง  และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออกว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ความขัดแย้งทางการเมืองยุติลง    อีกด้านหนึ่ง พรรคเพื่อไทยได้แถลงยืนยันก่อนแล้วว่า หากวุฒิสภามีมติยับยั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคจะไม่หยิบยกร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ และจะให้ส.ส.ถอนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง รวม 6 ฉบับ ที่ค้างอยู่ในสภาให้หมด (เว็บไซด์ประชาไท.  เพื่อไทยถอยสุดซอย – ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับ. 6 พ.ย. 56. http://prachatai.com/journal/2013/11/49626 )  ซึ่งเท่ากับว่า จะยังไม่มีการปล่อยนักโทษการเมือง หลังจากที่รอคอยความยุติธรรมมานานกว่าสามปีแล้ว   พรรคได้ให้เหตุผลว่า ต้องการสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ และเชิญชวนภาคการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น หาทางสร้างความสามัคคีปรองดองในเวทีสภาปฏิรูปการเมืองที่นายกรัฐมนตรีกำลังดำเนินการอยู่

ผู้เขียนไม่เชื่อว่าจะปรองดองแล้วยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้จริง  เพราะ  1) ความยุติธรรมยังไม่บังเกิดแก่ผู้ถูกกระทำหลังการรัฐประหาร ถูกเลือกปฏิบัติจากระบบศาลสองมาตรฐาน ทหารที่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองไม่ถูกนำมาลงโทษ  2) พื้นที่อุดมการณ์ประชาธิปไตยยังไม่ถูกรื้อฟื้น ก.ม.หมิ่นฯ 112 ยังคงถูกบังคับใช้ภายใต้รัฐบาลที่เชิดชูกันนักหนาว่ามาจากการเลือกตั้ง   นักโทษการเมืองก็ถูกใช้ต่อรองทางการเมือง ปรองดองกับเผด็จการ   3) ฝ่ายเผด็จการสนับสนุนรัฐประหารต้องการผูกขาดอำนาจและความศรัทธาไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อรักษาผลประโยชน์ คงสภาพสังคมเดิมไว้ (status quo)    ทำให้นับวันพรรคเพื่อไทย และแกนนำหัวขบวนเสื้อแดง กองเชียร์ของพรรค จะทำผิดพลาดมากขึ้นทุกที จนถูกคนเสื้อแดงที่เป็นอิสระทางความคิดบางกลุ่มประณามว่า หักหลังประชาชนที่ร่วมต่อสู้กับพรรค ต้านอำมาตย์ที่โค่นล้มระบบเลือกตั้ง

นอกเหนือจากความผิดพลาดที่พรรคเพื่อไทยเสนอพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับเหมาเข่งเข้าสู่สภา และการไม่มีนโยบายรื้อฟื้นประชาธิปไตยที่ถูกทหารแทรกแซงกลับคืนสู่สังคม  ยังประสบปัญหาจากการใช้แนวนโยบายประชานิยม ที่กำลังเดินไปสู่ทางตัน คือรายได้ งบประมาณของรัฐจำกัดมากขึ้น  ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติมาก อีกทั้งความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจยังดำรงอยู่

ผู้เขียนต้องการนำเสนอข้อผิดพลาดของรัฐบาลและหัวขบวนเสื้อแดง ปัญหาสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน และทางออกสำหรับขบวนการเสื้อแดง ให้หลุดพ้นจากการเมืองที่ช่วงชิงอำนาจ ทำรัฐประหาร กดขี่ประชาชนโดยพวกชนชั้นนำ

ข้อผิดพลาดของพรรคเพื่อไทย

1.    การยกโทษให้แก่ฆาตกร ฆ่าประชาชนผู้ชุมนุมเสื้อแดงปี 2553 ในขณะที่คนพวกนี้ไม่รู้สึกรู้สาอะไร
2.    การคงกฎหมายเผด็จการ ก.ม.อาญามาตรา 112 และทอดทิ้งนักโทษคดีนี้ไม่ให้รับความยุติธรรม แม้แต่สิทธิในการประกันตัว
3.    การคำนึงถึงผลประโยชน์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มากกว่าหลักสิทธิเสรีภาพของนักโทษการเมืองและความยุติธรรม โดยใช้อุบายเอาเสรีภาพของนักโทษแลกกับการกลับมาของทักษิณ ปรองดองทำแนวร่วมกับฆาตกร และคณะผู้ก่อการรัฐประหาร เพื่อให้รัฐบาลอยู่ในอำนาจต่อไป

ข้อผิดพลาดของแกนนำเสื้อแดง คือการไม่ทำอะไรเพื่อรื้อฟื้นประชาธิปไตยอย่างจริงจัง กล่อมเกลาให้มวลชนเป็นกองเชียร์ให้พรรคเพื่อไทยมากกว่าสร้างความเป็นอิสระทางความคิดและมีวาระการเมืองเป็นของตัวเอง  ซ้ำล่าสุดโจมตีกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม 53 ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัยตั้งแต่แรก ด้วยท่าทีที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของร่างฯนี้ เช่น หาว่าจะทำให้นักโทษการเมืองถูกขังต่อไปบ้าง (เว็บไซด์ ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน. เปิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้สูญเสียสลายชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53.  http://news.parliament.go.th/program/scoop/1464.html )  ไม่ได้นิรโทษผู้ที่ต้องคดีอยู่ในเรือนจำโดยเฉพาะคดีเผาทำลายทรัพย์สิน และคดีอาญาร้ายแรงต่างๆ มากกว่ามีท่าทีหนุนหลักการเอาผิดคนสั่งฆ่าและฆ่าประชาชน และหลักสิทธิในการประกันตัวนักโทษการเมือง

และแล้ว วาทกรรมคนดีมีศีลธรรม รักชาติรักแผ่นดิน รักพระมหากษัตริย์ของพรรคประชาธิปัตย์และพวกเสื้อเหลืองก็หวนคืนสู่การเมืองบนท้องถนน (ราชดำเนิน) ในฐานะที่ถูกรัฐบาลกระทำ จากร่างพ.ร.บ.เหมาเข่ง ล้างผิดให้ทักษิณ คนโกงชาติ และมีผู้ชุมนุมมาร่วมแสดงพลังนับแสน เมื่อวันที่ 24 พ.ย. จากการถูกยกระดับมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 31 ต.ค.  โดยชูธงล้มรัฐบาล ขจัดตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง เพราะเป็นต้นตอของความชั่วร้ายทั้งหมด  โดยอ้างตรรกะเผด็จการรัฐสภาเหมือนเช่นก่อนการรัฐประหารปี 49 คือ ระบอบทักษิณทำให้ระบบรัฐสภาเป็นเพียงตรายางของนายทุน ให้เข้ามามีอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งที่ทุจริต ซื้อเสียง สภากลายเป็นสิ่งไม่ดี ทำให้เกิดเผด็จการรัฐสภา เกิดสภาทาส เป็นศูนย์รวมอำนาจของระบอบทักษิณ คุกคามศาล ใช้คนยากจนเป็นเครื่องมือ กดขี่ขูดรีด   จึงนำไปสู่การเรียกร้องปฏิรูปประเทศไทย เชิดชูการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยสมบูรณ์แบบ (จากนั้นก็กลายเป็นการเชิดชูระบอบการปกครองด้วยกษัตริย์)  และได้ลงชื่อถอดถอนส.ส. 310 คน ประกาศขอให้มีการนัดหยุดงาน ต่อต้านสินค้าของเครือข่ายชินวัตร  (เว็บไซด์ Oknationblog.  เทพเทือกยกระดับม็อบเรือนล้าน : คำปราศรัยสุเทพ เทือกสุบรรณ คำต่อคำประกาศยกระดับ. 15 พฤศจิกายน 2556. http://www.oknation.net/blog/political79-2/2013/11/15/entry-2 )

ส่วนปฏิกิริยาตอบโต้ของรัฐบาลและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คือการเรียกหาพลังคนเสื้อแดง คานอำนาจกับพวกประชาธิปัตย์ ด้วยวาทกรรมต่อต้านการทำรัฐประหารทุกรูปแบบ รักษารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มาจากการเลือกตั้ง  การแก้ไขก.ม.ร.ธ.น.เป็นอำนาจของรัฐสภา เพราะรัฐสภามาจากอำนาจของประชาชน จะต้องไม่มีอำนาจนอกระบบ มือที่มองไม่เห็นเข้ามาแทรกแซงอีกครั้ง  และปฏิเสธคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การแก้ไขที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา ที่ให้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นโมฆะ เพราะขัดกับร.ธ.น.มาตรา 68 เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง  (ตามคำร้องของ 4 คณะบุคคล โปรดดู น.ส.พ.ไทยรัฐ.  เปิดคำวินิจฉัยประวัติศาสตร์(ฉบับเต็ม) แก้รธน.ที่มาส.ว. ขัด ม.68.  25 พ.ย. 56.  http://www.thairath.co.th/content/pol/384202 )

การเมืองถอยหลังของชนชั้นนำไทย

การเมืองของผู้นำ ชนชั้นนำสองฝ่ายข้างต้นวนเวียนอยู่กับข้อถกเถียงเก่าๆ ช่วงชิงอำนาจรัฐมากกว่าการผลักสังคมไปข้างหน้า พรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดงไม่จริงใจ คิดภายใต้กรอบเสรีนิยมที่ยื่นเสรีภาพเฉพาะระดับผู้นำ นายทุน   ส่วนพวกประชาธิปัตย์ เสื้อเหลืองที่หนุนรัฐประหารยังมีพลังแต่การเมืองล้าหลังดักดานยิ่งกว่า เนื่องจากยังใช้วาทกรรมรักชาติรักแผ่นดิน ที่ไปด้วยกันได้ดีกับอุดมการณ์ของกลุ่มนักสหภาพแรงงาน นักพัฒนาเอกชนเอ็นจีโอจำนวนมาก  แม้จะมีการเรียกร้องปฏิรูปประเทศไทย แต่ผู้เขียนมองว่าในมุมของพวกประชาธิปัตย์ เป็นแค่ข้ออ้าง เพื่อให้การชุมนุมมีแนวร่วมมากขึ้น  ส่วนมวลชนอาจต้องการปฏิรูปสังคม แต่ให้อยู่ร่วมกันได้กับวัฒนธรรมของฝ่ายขวา  ยินยอมให้แกนนำจากพรรคปชป.นำการชุมนุม  ยอมรับที่จะรักษาก.ม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพไว้เป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม (เว็บไซด์ประชาไท. กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ประกาศสถานการณ์ปฏิวัติประชาชน. 11 พ.ย. 56, http://prachatai.com/journal/2013/11/49788 )  นั่นคือเป็นพวกปฏิรูปที่พร้อมใช้แนวฟาสซิสต์ทำลายประชาธิปไตย

สำหรับขบวนการภาคประชาชนที่สนับสนุนการต่อสู้ตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกมาต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่งที่ล้างผิดให้ทักษิณ มากกว่ากล่าวถึงการเอาคนสั่งฆ่าประชาชนปี 53 มาลงโทษ  แม้จะมีสอดแทรกประเด็นปัญหาสิทธิเสรีภาพของแรงงาน แต่พูดภายใต้กรอบอุดมการณ์ฝ่ายขวา ดังเห็นจากแถลงการณ์ของสรส.  (สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) แถลงการณ์ฉบับที่ 4 เรื่อง ร่วมสำแดงพลังเปลี่ยนแปลงประเทศไทย. ที่มา เว็บไซด์ สรส. http://www.thaiserc.com/ ) ที่ต้องการปฏิรูปประเทศที่ให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีส่วนร่วมตามสัดส่วน  พร้อมกับยอมรับเรื่องระบบสรรหาส.ว.ตามคำตัดสินของศาลร.ธ.น. (เครื่องมือรับใช้ผู้ก่อการรัฐประหาร 49)  การเคลื่อนไหวของแรงงานกลุ่มนี้ วนเวียนอยู่กับฐานคิดจุดยืนเดิม มุ่งเอาชนะทุนทักษิณอย่างเดียวโดยไม่สนใจกติกาประชาธิปไตย

กรอบคิดของฝ่ายขวากำลังโกหกคำโตว่าจะสามารถปฏิรูปประเทศไทยได้ เพราะ

1.    ไม่มีข้อเสนอรูปธรรมว่าจะปฏิรูปอะไร อย่างไร ให้ประชาชนมีอำนาจต่อรองทางการเมืองมากขึ้น
2.    ถ้ามี ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายของประเทศ ควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐ ตัวแทนของตนได้อย่างไร หากไม่มีอำนาจอยู่ในมือ เช่น อำนาจศาล ตุลาการที่ยังไม่สามารถเลือกตั้ง ตรวจสอบ ถอดถอนได้ แล้วจะเรียกได้อย่างไรว่า อำนาจตุลาการคืออำนาจอธิปไตยอำนาจหนึ่งของประชาชน ตามที่พร่ำสอนกันในสถาบันการศึกษา  องค์กรอิสระ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาที่ผ่านมาก็เลือกปฏิบัติกับคนเสื้อแดง ผู้ต่อต้านรัฐประหาร องค์กรสิทธิมนุษยชนสองมาตรฐาน จึงไม่มีความเชื่อมั่นที่คนยากจน ผู้ใช้แรงงานจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้เสมอหน้ากับผู้มีอำนาจรัฐและทุนทุกกลุ่มทุกฝ่าย
3.    คำว่าชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เอาเข้าใจจริงมีผลประโยชน์เดียวกันกับประชาชนหรือไม่  ความมั่งคั่งของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาจากอะไร ศาสนาสอนให้เรามีสิทธิเสรีภาพได้จริงหรือ ชาติที่ว่าหากเป็นของประชาชน แล้วทำไมยังยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ทหาร ศาสนา ไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้
4.    การส่งเสริมสิทธิในการชุมนุม รวมตัว เพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรองของแรงงานไม่สามารถเข้าถึงได้จริงภายใต้รัฐเผด็จการอำนาจนิยม หรือภายใต้การบริหารของพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด ที่คอยเป่าหูสาธารณชนอยู่ตลอดเกี่ยวกับเผด็จการรัฐสภา  วาทกรรมที่ทำลายระบบการเลือกตั้ง ในขณะที่ตัวเองขึ้นสู่อำนาจได้ด้วยการเข้าข้างเผด็จการทหารและมือเปื้อนเลือด  ทั้งไม่มีข้อเสนอปรับปรุงระบบเลือกตั้งให้โปร่งใส ขจัดคอรัปชั่นออกไป และส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองสู่ประชาชนในท้องถิ่น  ฉะนั้นการพูดถึงปัญหาคอรัปชั่นที่ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจึงเป็นเรื่องโกหก
5.    ประวัติศาสตร์การเมืองในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และในอดีตของไทย แรงงาน คนยากจนต่อต้านเผด็จการทหาร ที่คอรัปชั่นอำนาจและผลประโยชน์ของประชาชน  เพราะวัฒนธรรมทหารนิยมที่โน้มเอียงใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตใดๆ ได้
6.    การทำลายเสรีภาพในการถกเถียงความคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้า ไม่อนุญาตให้ประชาชนมีอำนาจที่สมบูรณ์ ด้วยกฎหมายเผด็จการปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน  ฉะนั้นหากจะสู้เรื่องประเด็นแรงงาน ต้องยอมรับกรอบชาตินิยม ปิดปากตัวเองไม่วิจารณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และทหารใช่หรือไม่  ต้องตกเป็นทาส เป็นกบเลือกนายเช่นนั้นหรือ แล้วเมื่อไรมวลชนจะมีความคิดก้าวหน้า แข่งขันการเมืองของพวกชนชั้นปกครอง และเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างที่ต้องการ

ดังนั้น การเมืองของฝ่ายขวา ที่จ้องขจัดระบอบทักษิณก็ได้เข้าทำลายระบบประชาธิปไตยไปพร้อมๆ กัน  ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศจึงไม่ได้ประโยชน์จากการเมืองของพวกล้าหลังนี้

ทางออก : ไปให้ไกลกว่ากรอบคิดเสรีนิยมและประชานิยม

เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้คาดหวังอะไรจากพรรคเพื่อไทย แต่คาดหวังให้ขบวนการเสื้อแดงเอาชนะฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ และเอาชนะใจมวลชนมากขึ้น  ฉะนั้น จึงควรแก้ไขข้อผิดพลาดดังที่กล่าวมา ไม่ให้ถูกฝ่ายตรงข้ามฉุดกระชากการเมืองไทยให้ถอยหลัง นำพาประชาชนลงเหว   ต้องมุ่งทำงานปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองวัฒนธรรม ไปให้ไกลกว่ากรอบคิดเสรีนิยมและประชานิยม สู่ทิศทางการสร้างรัฐสวัสดิการ

ทั้งนี้ นโยบายประชานิยมของรัฐบาลเริ่มส่อแววถึงทางตัน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ไม่สามารถกระจายปัจจัย ทรัพยากร ความมั่งคั่งอย่างยุติธรรม ไม่ช่วยลดปัญหาการคอรัปชั่น  และแนวเสรีนิยม (มือใครยาวสาวได้สาวเอา) ที่ปัญญาชนและนักการเมืองกระแสหลักเชียร์อยู่ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยให้ประชาชนมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ

แน่นอน รัฐต้องมีหน้าที่ดูแลประชาชน คนยากจน ผู้ใช้แรงงาน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่จากการอ่านบทวิเคราะห์เรื่องนโยบายประชานิยม และติดตามบางโครงการ เช่น โครงการรับจำนำข้าว เงินเดือนป.ตรี 15,000 ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 มองว่า ประเด็นปัญหาหลักคือ ประชาชนยังยากจนอยู่ รายได้และสวัสดิการต่ำ คุณภาพชีวิตไม่ดีขึ้น ทำงานหนักแต่ไม่มีหลักประกัน ตกงานง่าย เพราะรัฐไม่มีรายได้พอที่จะดูแลประชาชน ทั้งๆ ที่เงินมีเยอะ และประเทศไทยไม่ใช่ประเทศยากจน

ปัญหาโครงการรับจำนำข้าวล่าสุด ที่ชาวนายังไม่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งผู้เขียนมองว่า ไม่ใช่ปัญหาการขาดทุนสองแสนล้านบาท อย่างที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ยกมาเป็นข้อวิจารณ์หลัก เพราะสนใจแต่เรื่องปัญหาวินัยการคลัง การแทรกแซงกลไกตลาดราคาข้าว เกิดปัญหาระบายข้าวในราคาที่ต่ำและทำให้รัฐขาดทุน  (นิพนธ์  พัวพงศกร. 27 มิ.ย. 56 ปัญหาจากการล่มสลายของโครงการรับจำนำข้าว. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. http://tdri.or.th/tdri-insight/rice-pledging-scheme-problem-nipon/ )   ผู้เขียนกลับมองว่า จะทำอย่างไรให้การช่วยเหลืออุดหนุนของรัฐมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือชาวนายากจนมากกว่านี้ เพื่อความมั่นคงของชาวนารายย่อย  ซึ่งองค์กรเลี้ยวซ้ายได้มีข้อเสนอแก้ปัญหาผู้ผลิตให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และแก้ปัญหาผู้บริโภคให้สามารถซื้อข้าวในราคาถูก  ด้วยการให้รัฐรับซื้อข้าวราคาแพงจากชาวนา และขายข้าวราคาถูกให้แก่ผู้บริโภค ในส่วนต่างนั้นรัฐก็นำเงินภาษีที่เก็บในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยมากๆ  โดยเฉพาะพวกโรงสี พ่อค้าส่งออกข้าว ในอัตราสูงพิเศษมาอุดหนุน หรือไปลดงบประมาณอื่นๆ ที่สิ้นเปลือง เช่นงบประมาณทหาร และงบพิธีกรรมต่างๆ (อ่านเพิ่มเติมใน วัฒนะ วรรณ. 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. ลดเงินจำนำข้าว ความอัปลักษณ์ของพวกคลั่งกลไกตลาด. เว็บไซด์องค์กรเลี้ยวซ้าย http://turnleftthai.blogspot.com/2013/07/blog-post_11.html )

การเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า บทพิสูจน์ความรักต่อประชาชน

ขบวนการคนเสื้อแดงจะต้องพิสูจน์ว่าผู้นำของตัวเองรักประชาชนจริงหรือไม่  แรงงานก็ต้องพิสูจน์เช่นกันว่า ผู้นำแรงงานมีวิสัยทัศน์และความจริงใจในการสร้างผลประโยชน์ทางชนชั้นและประชาธิปไตยของแรงงานหรือไม่  เพราะการเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้าจะต้องไม่มีข้อยกเว้นให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกันกับระบบในอังกฤษ  และเพิ่มอัตราการเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและรายได้นิติบุคคลจากคนรวยมากๆ  เพราะคนรวยจำนวน 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศมีรายได้เท่ากับ 50%-60% ของจีดีพี มีบัญชีเงินฝากธนาคาร ถือครองที่ดินจำนวนมาก ซื้อขายที่ดินเก็งกำไร เล่นหุ้น  ระดับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นบริษัทมีรายได้มากกว่าพนักงาน 60-100 เท่า  แต่การจัดเก็บรายได้โดยภาพรวมของไทยอยู่ในระดับต่ำ อยู่ที่ร้อยละ19 ต่อ GDP ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มอาเซี่ยน  และค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว   ฉะนั้นหากเพิ่มฐานการเก็บภาษีทรัพย์สินจากคนรวยจำนวนสามแสนกว่าคน จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่ำร้อยละ 22 ของจีดีพี

ทว่า รัฐบาลกลับดันนโยบายลดอัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพื่อนำเงินไปใช้บริโภคมากขึ้น หลังจากที่ลดภาษีรายได้นิติบุคคลให้บริษัทเพื่อจูงใจนักลงทุน  โดยหวังว่าเมื่อคนมีรายได้มากขึ้น ก็ใช้จ่ายมากขึ้น และหวังว่าการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะช่วยดึงดูดผู้มีรายได้ให้เข้าสู่ระบบฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากขึ้น (ปัจจุบันมีผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบประมาณ 2 ล้านคนเท่านั้น) ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศได้มากขึ้น (เว็บไซด์ อาร์วายทีไนน์. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556, http://www.ryt9.com/s/mof/1781630 )   แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ใช้แรงงานให้เพียงพอต่อการค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก และเพิ่มหลักประกันความมั่นคงตั้งแต่เกิดจนตาย  เช่น จัดสวัสดิการเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี เงินบำนาญให้แก่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า  ซึ่งเท่ากับว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะตกเป็นภาระของปัจเจก /ครอบครัวแบบตัวใครตัวมัน   เมื่อรัฐบาลไม่ได้รักไม่ได้จริงใจต่อประชาชน ฉะนั้นจึงเป็นภารกิจของคนเสื้อแดง ผู้รักประชาธิปไตยที่จะทวงคืนความยุติธรรม สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นจริง

                                  —————————————————-

ทำไม “เลี้ยวซ้าย” ต่อต้านม๊อบสลิ่ม-ประชาธิปัตย์



“เลี้ยวซ้าย”  ต่อต้านม๊อบสลิ่ม-ประชาธิปัตย์
เพราะพวกนี้ชอบให้ทหารทำรัฐประหาร อ้างบ้าๆ ว่าอยากเห็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเห็นด้วยกับการเข่นฆ่าเสื้อแดงเมื่อสามปีก่อน
เราต่อต้านม๊อบบ้าคลั่งนี้ด้วยเหตุผลเศรษฐศาสตร์อีกด้วย เพราะเขาเป็นพวกที่ก้มหัวบูชากลไกตลาดเสรี
“มือใครยาวสาวได้สาวเอา” เขาต่อต้านการใช้งบประมาณรัฐเพื่อช่วยคนจน
ต่อต้านการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างคมนาคม
แต่เขาไม่ต่อต้านการเพิ่มงบประมาณทหารและงบประมาณพิธีกรรมต่างๆ นั้นคือความหมายของ
“วินัยทางการคลัง” ในภาษาตอแหลของพวกนี้
     ถ้าพูดถึง “ภาษาตอแหล”
ของสลิ่ม “เผด็จการ” เรียกว่าประชาธิปไตย “อภิสิทธิ์ชนไม่กี่คนที่ถืออำนาจในมือ”
เรียกว่าประชาชน และ “การโกงกินคอรรับชั่น” ไม่รวมถึงการโกงกินของทหาร ชนชั้นสูง
และประชาธิปัตย์ที่ทำมานาน
    
อย่างไรก็ตามเราจะไม่วิ่งเข้าไปกอดยิ่งลักษณ์หรือเพื่อไทยหรือแกนนำ นปช.
โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเราต้องการเห็นฆาตกรรัฐถูกลงโทษ ทั้งทหารและประชาธิปัตย์
เราต้องการเห็นการยกเลิก 112 และปล่อยนักโทษการเมือง
และเราต้องการเห็นนโยบายการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวยเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ
    
สำหรับการพยายามเดาว่าตอนนี้จะเกิดอะไรขึ้น ลองนึกกลับไปสมัยที่ฝ่ายขวายึดสนามบินและทำเนียบรัฐบาลในสมัยรัฐบาลสมชายและสมัคร
มันไม่ได้นำไปสู่รัฐประหาร แต่ศาลมันมาล้มรัฐบาลแทน ทหารเลยตั้งรัฐบาลหุ่นของอภิสิทธิ์
คราวนี้ศาลมีโอกาสหรือไม่ มองไม่ออกตอนนี้
คราวนี้จะตั้งรัฐบาลพรรคอื่นที่ไม่ใช่เพื่อไทยแล้วปกครองได้อย่างไร
ในเมื่อประชาชนเสื้อแดงมีการจัดตั้ง
?
ในที่สุดรัฐบาลอภิสิทธิ์-ทหารก็ต้องออกไปเพราะแพ้การเลือกตั้ง ทั้งๆ
ที่ทหารกราดยิงประชาชน ดังนั้นเวลาวิเคราะห์สถานการณ์ต้องคิดถึงประวัติศาสตร์
และต้องคำนึงถึงการที่เพื่อไทยจับมือกับทหารช่วงชนะเลือกตั้งอีกด้วย ต้องใช้ปัญญา
อย่าพึ่งตกใจจนหมดปัญญา

    
ใครอยากร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้ภายใต้อุดมการณ์ของเรา
เชิญสมัครเป็นสมาชิกเลี้ยวซ้าย

ใจ อึ๊งภากรณ์ ส่งสารถึงฝ่ายซ้ายไทย เสนอแนวทางสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ศตวรรษที่ 21

ปัญหาของฝ่ายซ้ายสังคมนิยม จะทำยังให้มวลชนรวมเดินไปในเส้นทางการปฏิวัติ เราจะทำให้เขาเปลี่ยนเป็นนักปฏิวัติได้อย่างไร ในขณะเดียวกันต้องทำงานร่วมกับคนที่ยังไม่พร้อมปฏิวัติ เราจะรักษาจุดยืนทางการเมืองเราอย่างไร ไม่คล้อยตามจุดยืนของคนส่วนใหญ่ที่กำลังต่อสู้ บางแนวที่พยายามรักษาความบริสุทธิ์ปฏิเสธการทำงานแนวร่วมกับมวลชนที่กำลังต่อสู้ ปฏิเสธการทำงานกับเสื้อแดง เพราะเสื้อแดงไม่ใช่แนวปฏิวัติ

ตัวอย่างของพรรคปฏิวัติ องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ เป็นหัวหอกในการผลักดันการต่อสู้กับรอบแรกกับมูบารัค พอบูบารัคถูกปลดโดยทหาร องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ ก็มีจุดยืนชักชวนให้คนปฏิเสธทหาร เมื่อถุงยุคมูรซี่ องค์กรปฏิวัติสังคมก็เป็นฝ่ายค้านวิจารณ์มูรซี่ เพราะประนีประนอมกับแนวเสรีนิยม ประนีประนอมกับทหาร กับอิลาเอล

เมื่อทหารล้มมูรซี่ ในขณะที่มวลชนใหม่ปลื้มทหาร องค์กรสังคนนิยมปฏิวัติก็ปฏิเสธทหาร วิจารณ์ทหาร ทหารไม่ใช่คำตอบ

พรรคปฏิวัติเหมือนสะพานเชื่อมสามสิ่งเข้าด้วยกัน ระหว่างแนวทางปฏิวัติ มวลชนปฏิรูป และการต่อสู้ของกรรมาชีพสหภาพแรงงาน การเน้นกรรมาชีพเพราะพลังของการปฏิวัติคือผู้ผลิต

ด้านหนึ่งต้องศึกษาบทเรียนจากการปฏิวัติรัสเซีย แต่อีกด้านก็ต้องศึกษากระแสการปฏิวัติปัจจุบันประกอบกันไปด้วย

ด้านหนึ่งบางคนมองว่าการปฏิวัติเป็นเรื่องล้าสมัย ซึ่งเป็นความคิดที่มีมาตลอดตั้งกำเนิดปฏิวัติศาสตร์ของทุนนิยม

ตัวอย่างในเยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย SPD ก็เสนอว่าไม่ต้องปฏิวัติแล้ว พวกนี้เป็นอดีตมาร์คซิส เช่น เคาสกี้ เป็นคนที่มีอิทธิพลในพรรคนี้ สิ่งที่พรรคนี้ทำให้เยอรมัน พาเข้าสู้วิกฤตเศรษฐกิจ พยายามปกป้องระบบทุนนิยม จบลงด้วยการขึ้นมาของฟาสซิสต์ เป็นบทเรียนว่าคนที่บอกว่าไม่ต้องปฏิวัติก็ไม่สามารถทำให้สังคมดีขึ้นได้

อีกตัวอย่างในชิลี ช่วงเดียวกับ 14 ตุลา ในไทย ค.ศ 1973 จะมีคนเสนอว่าไม่ต้องปฏิวัติแล้วแค่เลือกตั้งพรรคสังคมนิยม ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี อะเยนเด้ จนในที่สุดก็ถูกทหารทำรัฐประหารและฆ่าตาย

หลังป่าแตกจะมีคนบอกว่าแนวทางของ พคท ล้มเหลวไม่มีอนาคต กำแพงเบอร์ลินล้ม ระบบทุนนิยมโดยรัฐ เผด็จการสตาลินล้ม คนก็บอกว่าแนวทางปฏิวัติล้าสมัย

ในอียิปต์ ถ้าไม่มีการล้มระบบมูบาลัค ไม่มีการเสนอให้มีการล้มระบบทั้งหมด ชนชั้นปกครองเก่าก็จะกลับมาแน่นอน ถ้าไม่มีองค์กรปฏิวัติที่ไปไกลกว่านี้ อำนาจเก่าก็จะกลับมาได้ง่าย ตอนนี้ยังไม่ถึงขนาดนั้นในอียิปต์

ในไทยกลุ่มอำนาจเก่าสถาปนาเรียบร้อย ผ่านการจับมือกันของนายกยิ่งลักษ์ เพื่อไทย และกับทหาร

การต่อสู้ของเสื้อแดงมีพลังมาก มีกระแสที่จะไปไกลกว่านั้น สังคมไม่ธรรม เราเป็นไพร่ ต้องล้มอำนาจ ต้องการปฏิรูปศาล แต่ นปช ไม่อยากให้ไปไกลกว่านั้น ขณะที่เลี้ยวซ้ายเล็กเกินไป อำนาจเก่าเริ่มสถาปนาตนเองได้มั่นคง

ในยุโรป พรรคที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยม เช่น ในฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน พรรคเหล่านี้แยกไม่ออกจากพรรคฝ่ายขวา พูดเหยียดเชื้อชาติ ตัดการจ้างงาน คนงานต้องเสียสละ ตัดเงินเดือน ถ้าไม่สร้างพรรคฝ่ายค้านที่ไปไกลกว่านั้น ก็ไม่มีอนาคตที่จะทำให้สังคมดีขึ้นได้เลย

บางคนก็อธิบายเพิ่มว่ายังมีการต่อสู้แบบอื่น ถ้าไม่พอใจพวกพรรคซ้ายปฏิรูป ก็ต้องเข้าไปข้างใน ทำให้มันเป็นเป็นซ้ายขึ้น แต่เมื่อเข้าไปแล้วกลับถูกพรรคปฏิรูปเปลี่ยน

อีกกระแสหนึ่ง มีการพูดกันในกรีซ ออสเตรเลีย เยอรมัน ฝรั่งเศส พูดว่าต้องตั้งเป้าให้มีรัฐบาลซ้าย หมายความว่า เส้นแบ่งระหว่างพรรคปฏิวัติล้มทุน กับพรรคปฏิรูปทำให้ทุนน่ารักขึ้น เส้นแบ่งมันเริ่มคลุมเครือ เขาไม่อยากจะคุยว่าเส้นแบ่งมันอยู่ตรง ขอเพียงให้รัฐบาลซ้ายที่เป็นแนวร่วมระหว่าแนวปฏิรูปกับแนวปฏิวัติอย่างเดียวก็พอ ตัวอย่างที่ชัดคือพรรค ซารีซ่า ในกรีซ

ในแง่หนึ่งนักปฏิวัติร่วมมือกับนักปฏิรูป ทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันนโยบายที่ดี ดีกว่าพวกฝ่ายขวา กว่าพวกพรรคสังคมนิยมที่เปลี่ยนไปเป็นฝ่ายขวา แต่มันเป็นเรื่องที่อันตรายมากถ้าเราไม่ชัดเจน ระหว่างแนวปฏิวัติกับปฏิรูป ตัวอย่างพรรคซารีซ่า กรีซ เป็นพรรคที่มีหลายกลุ่ม มีภาพว่าเป็นพรรคซ้าย มีพวกมาร์คซิสอยู่ในนั้น แต่กลุ่มที่มีอำนาจเป็นซีกขวา ตอนแรกบอกว่าไม่อยากให้ตัดงบประมาณ คัดการตกงาน การจ่ายหนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ตอนนี้พรรคซารีซ่า เป็นพรรคฝ่ายค้านแล้ว เป็นพรรคอยู่ในกระแสหลัก ผู้นำพรรคก็วิ่งเต้นไปคุยกับกลุ่มทุน นายธนาคาร เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองไม่น่ากลัว รับผิดชอบต่อระบบทุน จะไม่ออกจากสกุลเงินยูโร แต่ถ้าจะแก้ปัญหาใน กรีซ สเปน อิตาลี โดยที่คนงานไม่ต้องเสียสละ ก็ต้องออกจากสกุลเงินยูโร ไม่มีทางเลือกอื่น แต่ซารีซ่าจะอยู่ต่อ ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกตั้งขึ้นโดยธนาคารกลางยุโรป ฝ่ายอำนาจในยุโรป

ซารีซ่า เริ่มสองจิตสองใจ เรื่องการสนับสนุนการนัดหยุดงาน ก็เท่ากับไปเน้นเรื่องการชนะการเลือกตั้ง ในที่สุดที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาลฝ่ายซ้ายในกรีซ และก็จะทำหน้าที่เป็นตำรวจให้กับระบบทุนนิยม

ในเยอรมัน พรรคซ้าย ไดลิงเกอร์ เป็นพรรคที่ประกอบไปด้วยหลายส่วนเหมือนกัน ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา สหายเราสามคนจากกลุ่ม มาร์คซ 21 ก็เข้ามาเป็น สส. มันมีทั้งซีกที่เป็นอดีตจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย แล้วไม่พอใจก็ออกมา อดีตพรรคคอมมิวนิสต์จากเยอรมันตะวันออกรวมอยู่ในนั้น ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคฝ่ายขวา ของอังเกล่า แมร์เคิล ไม่ได้คะแนนเสียงเพียงพอในการตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ต้องมีการจับมือกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่คงจะเกิดขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ หรือแกนนำของพรรคไดลิงเกอร์ ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น แต่อยากให้เป็นแนวร่วมระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยกับ พรรคกรีน และพรรคไดลิงเกอร์ ขึ้นมาเป็นรัฐบาล

ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นเมื่อไร ก็จะเป็นอันตรายสำหรับฝ่ายซ้ายทันที เพราะเขาจะเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารระบบทุนนิยมท่ามกลางวิกฤต จะโจมตีภาคการจ้างงาน ฐานะทางเศรษฐกิจของคนงาน เพราะยอมรับระบบทุนนิยม และสหายของเราสามคนที่เป็น สส. ก็ไม่มีอิทธิพลพอที่จะทำไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิด ทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องลาออกจากพรรค แต่แนวโน้ม พรรคฝ่ายขวาของ อังเกล่า แมร์เคิล จะทำแนวร่วมกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยต่างหาก

ถ้าเรามาพูดถึงข้อถกเถียงที่เราเห็นอยู่ทั่วโลกตอนนี้ในระดับสากลในเรื่องของพรรคปฏิวัติ มันมีสองข้อที่คุยกัน ข้อแรก เสนอว่าการปฏิวัติหมดยุค มาร์คซิสต์เป็นไดโนเสาร์ สู้ในรูปแบบอื่นได้ ซึ่งอธิบายไประดับหนึ่งแล้ว

อีกข้อที่เป็นข้อกล่าวหา ว่าทำไมไม่ควรมีพรรคปฏิวัติ มีคนพูดว่าถ้ามีพรรคปฏิวัติจะนำไปสู่เผด็จการภายในพรรค นี่ก็เป็นข้อถกเถียงระดับหนึ่งในอังกฤษด้วย พรรค SWP ก็มีซีกหนึ่งไม่พอใจแกนนำภายในพรรค จะอธิบายการเมืองที่อยู่เบื้องหลังคืออะไร อีกเรื่องหนึ่งพูดกันควบคู่กันในพวกที่ไม่อยากสร้างพรรค พูดกันว่ากรรมาชีพไม่ใช่พลังหลักในสังคมแล้ว ระบบทุนนิยมเปลี่ยนไป คนงานคอปกขาวกลายเป็นพวกคนชั้นกลาง เราจะได้ยินในแวดวงพวกออคคิวพาย ที่เต็มไปด้วยพวกอนาธิปไตย ที่ต้องการรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่อยากสร้างพรรคใหญ่ ต้องการอยู่เป็นย่อมๆ เป็นเครือข่าย

แนวอนาธิปไตยแบบนี้ ห่วงแหนความเป็นอิสระของตนเองในกลุ่มเล็ก มันเป็นปัญหาใหญ่มากในขบวนการของไทย ในหมู่คนเสื้อแดงก้าวหน้า เสื้อแดงก้าวหน้ามีหลายกลุ่ม แต่ไม่ยอมคิดกันจะตั้งพรรคการเมืองอย่างไร พรรคการเมืองแบบที่ไม่เล่นการเมืองเลือกตั้ง แต่จะตั้งองค์กรที่มันแน่นแฟ้นทำงานร่วมกัน เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนงานกับมวลชน เป็นคลังความจำของทฤษฎีการปฏิวัติอย่างไร คนก้าวหน้าในขบวนการเสื้อแดง เกือบจะไม่มีใครที่คิดแบบนั้น นอกจากในองค์กรเลี้ยวซ้าย

นักวิชาคนหนึ่ง สมัยนี้ฮิตกันมาก สวอน ซิกเซ็ก มาจากอดีตยูโกสลาเวีย เขามองว่าคนงานรัฐวิสาหกกิจไม่ใช่กรรมาชีพเป็นคนชั้นกลาง พวกนี้กับพวกอนาธิปไตยจะพูดถึงมวลชนแบบหลวมๆ ไม่มีคำกำจัดความ แทนที่จะพูดถึงเรื่องกรรมาชีพ เขาจะลืมหรือไม่สนใจพลังกรรมาชีพในฐานะของผู้ผลิต เขาจะมองว่าออคคิวพายก็จะเป็นรูปแบบหนึ่ง ก็พูดกันเยอะ แต่จริงๆแล้ว ออคคิวพายมันขึ้นสูงเมื่อปีที่แล้ว แต่ตอนนี้มันหายไปแล้ว ถ้าไม่มีองค์กรที่จัดตั้ง ไม่มีวินัยของกิจกรรมต่างๆ ในทีสุดมันขึ้นเร็วแล้วก็ลงเร็ว มันเกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะเคลื่อนไหวต่อไป อันนี้เป็นปัญหาของแนวอนาธิปไตย ในอนาคตมันก็อาจจะขึ้นอีกแล้วก็ลงอีก ในระหว่างการขึ้นลง มันไม่มีการรักษาองค์กรมันไม่มีการพยายามเพิ่มมวลชนในการเปลี่ยนสังคม

ตอนนี้ก็จะมีหลายๆ กลุ่ม มองว่าพรรคปฏิวัติไม่จำเป็น พรรคปฏิวัติไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ อาจจะเป็นฝ่ายที่เป็นอนาธิปไตย อาจจะเป็นฝ่ายที่เน้นแต่การเลือกตั้ง เช่นพรรคซารีซ่า พรรคสังคมนิยม หรือพรรคฝ่ายซ้ายไดลิงเกอร์ ในเยอรมันก็เน้นที่การเลือกตั้งมากเกินไป ทั้งๆที่สหายเราพยายามจะผลักไปในเรื่องของกิจกรรม เรื่องการนัดหยุดงาน เรื่องอื่น หรือกลุ่มฝ่ายในฝรั่งเศสที่เคยท้าท้ายรัฐบาลเมื่อไม่นาน ก็เช่นกัน เน้นเรื่องการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มองการจัดตั้งกรรมาชีพ คนหนุ่มสาวระยะยาวเป็นเรื่องสำคัญ

อีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างพรรคปฏิวัติ หรือไม่มีความมั่นใจในการสร้างพรรคปฏิวัติ จะมีอาการออกมาแบบเพี้ยนๆ มองว่ากรรมาชีพไม่มีพลัง เราต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ เราต้องพยายามหาคนที่มีอำนาจมากกว่าเรา เราจะเห็นตัวอย่างพวกเอ็นจีโอที่ไปจับมือกับทหาร ในอียิปต์ก็จะเป็นพวกที่ไปโบกมือเชียร์ทหาร โดยไม่มีวิพากษ์วิจารณ์การกลับมาของทหารเลย

ปัญหาสำคัญของพวกอนาธิปไตย นอกจากจะไม่มีการจัดตั้งแล้ว มันขึ้นแล้วมันก็ลง ปัญหาอีกข้อ เวลามีการต่อสู้เช่นของคนเสื้อแดงหรือในอียิปต์ ถ้าคุณไม่สนใจมีองค์กร ไม่สนใจขยายจำนวนสมาชิก ไม่สนใจเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมวลชนกับกรรมาชีพคุณช่วงชิงการนำไม่ได้ คุณก็ออกมาทำกิจกรรมของคุณ คุณถือป้ายของคุณเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วคุณก็พึ่งพอใจรวมกับมวลชน แสดงจุดยืนเฉพาะของตนเองที่บริสุทธิ์ แต่ไม่สามารถช่วงชิงการนำได้ถ้าไม่มีการสร้างพรรคขึ้นมา เราเห็นชัดว่าคนเสื้อแดงที่ก้าวหน้าล้มเหลาวในการช่วงชิงการนำจาก นปช.

ตัวอย่างช่วงที่มีการชุมนุมของเสื้อแดงบางทีจะมีกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า แยกกลุ่มไปชุมนุมที่อื่นหรือจัดเวทีย่อย พึงพอใจที่จะเป็นเวทีย่อย ไม่ได้มองว่าต้องเข้าแทรกแซงการต่อสู้ของกลุ่มใหญ่เพื่อช่วงชิงการนำ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาไม่ใช่เข้าไปแล้วจะช่วงชิงการนำได้ แต่ถ้าไม่ทำแบบนั้นคุณก็จะเป็นเวทีเล็กตลอดไป หรือจะมีกิจกรรมของคุณหน้าศาลทำนองนั้น ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่ดีที่ไปเยี่ยมนักโทษ แต่ที่เป็นสิ่งสำคัญคุณจะขยายความคิดเรื่องการปล่อยนักโทษ การค้าน 112 ในมวลชนเสื้อแดงธรรมดาจำนวนมากได้อย่างไร ก็ทำไม่ได้

ถ้าพูดถึงเรื่องความเป็นเผด็จการที่คนกังวล ถ้ามีพรรคการเมืองที่เป็นพรรคปฏิวัติในรูปแบบพรรคเลนิน มีประชาธิปไตยรวมศูนย์ หลายคนกังวลว่ามันเป็นพรรคเผด็จการ แน่นอนพรรคแบบสตาลิน เหมาเจอตุ๋ง ในอดีต เวลาเขาพูดถึงประชาธิปไตยรวมศูนย์ จริงๆ แล้วเขาไม่ได้หมายถึงประชาธิปไตยรวมศูนย์ในความเข้าใจของทรอทกี้ เลนิน แต่จะเป็นการอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตยแต่เน้นการรวมศูนย์ คือคณะกรรมการกลางตัดสินใจและสั่งลงมา หลายคนมองว่านี่ก็เป็นปัญหาในพรรคที่อังกฤษ แต่ผมมองว่าไม่ใช่ปัญหา คือว่าเขาไม่พอใจกับแนวทางของพรรค อย่างเช่นมีส่วนหนึ่งที่ออกแนวเฟมมินิส เชื่อทฤษฎีชายเป็นใหญ่ แทนที่จะมองว่าการกดขี่สตรีเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยม หรือจะมีคนที่มองว่าไม่ต้องไปสนใจสร้างทฤษฎีขององค์กรที่ชัดเจน แค่เคลื่อนไหวๆ ตลอดเวลาก็จะพอ แต่ปัญหาก็คือพอการเคลื่อนไหวมันลดลงจะทำอย่างไร หรือว่าเวลาคนอื่นเขาพามวลชนไปในทิศทางประนีประนอม จะไปช่วงชิงการนำจากพวกนี้ได้อย่างไร

คนที่กลัวว่าพรรคปฏิวัติจะเป็นเผด็จการ มีข้อเสนออันหนึ่งเขามองว่า เราควรจะมีพรรคปฏิวัติที่ไม่มีประชาธิปไตยรวมศูนย์แล้วเราควรจะมีหลายก๊กหลายกลุ่มภายในพรรค เราจะเห็นในกรณีพรรค NPA ในฝรั่งเศส พรรคใหม่ต้านทุนนิยม ในทีสุดมันพัง ก๊กต่างๆ ใช้เวลาถกเถียงกันตลอดเวลาแทนที่จะออกไปทำกิจกรรมหรือต่อสู้กับฝ่ายทุนนิยมฝ่ายนายทุน ที่กำลังตัดสวัสดิการของเรา มันไม่มีเอกภาพภาพในพรรค มันไม่มีความสามัคคี มันตัดสินอะไรไมได้เลย อันนี้เป็นปัญหาในซารีซ่าของกรีซ ก็มีหลายก๊กเช่นเดียวกันที่เคยเล่า แต่มันไม่ได้ทำให้มีประชาธิปไตยดีขึ้นเลยภายในพรรค ตอนนี้แกนนำของซารีซ่า ชื่อ สตีฟ รัช เขากลายเป็นคนที่มีอิทธิพล คล้ายกับมีบารมีพิเศษ เขาเป็นแกนนำของกลุ่มฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายในซารีซ่าก็ต้องเงียบไป มันไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีประชาธิปไตยมากขึ้น

ในเมื่อเราจำเป็นต้องมีพรรคปฏิวัติในศตวรรษที่ 21 จะมีหน้าตาอย่างไร ในรูปธรรม

หนึ่ง ต้องมีทฤษฎีการปฏิวัติ เลนิน เคยบอกว่า ถ้าไม่มีทฤษฎีการปฏิวัติก็ไม่มีพรรคปฏิวัติ พรรคเป็นการรวมตัวของคนที่มีจุดยืนทางการเมืองมีความเข้าใจเกี่ยวกับโลกคล้ายๆกัน ภารกิจในการต่อสู้กับทุนนิยมมีเป้าหมายตรงกันตรงนี้ ทำไมต้องมีทฤษฎีของฝ่ายปฏิวัติเอง เพราะว่าฝ่ายทุนฝ่ายชนชั้นปกครองเขามีทฤษฎีของเขาหมดเลย เขาพยายามยัดเหยียดให้เราเชื่อหมด ผ่านสื่อ ผ่านโรงเรียน ฯลฯ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนสังคมเราต้องต่อต้านทฤษฎีเหล่านี้ ฉะนั้นฝ่ายที่ล้มระบบต้องมีทฤษฎีของตนเอง แล้วต้องเป็นทฤษฎีที่ไม่ใช่แบบเปิดตำราออกมาแล้วท่องสูตรพูดถึงเลนินตลอดเวลา คือควรพูดถึงเลนินถ้ามันเหมาะสม

ทฤษฎีปฏิวัติของฝ่ายมาร์คซิสตในศตวรรษที่ 21 จะต้องทำความเข้าเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะต้องทำความเข้าใจวิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศของตนเอง เกิดอะไรขึ้น ใครมีอำนาจจริง อำนาจแท้อยู่ที่ใครในสังคม ผมเสนออำนาจแท้อยู่ที่ทหาร ทหารจับมือกับเพื่อไทย อย่าไปเชื่อเลยว่าจะมีการทำรัฐประหาร มันเป็นนิยายเพื่อทำให้คนเสื้อแดงเชื่องต่อพรรคเพื่อไทย เราต้องสามารถวิเคราะห์ว่าการเหยียดเชื้อชาติเป็นยังไง เราควรจะมีจุดยืนอย่างไรต่อการต่อต้านเขื่อน ต่อคนกรีดยาง เราต้องสามารถใช้ทฤษฎีมาร์คซิสต์เพื่ออธิบายโลกจริง ในภาษาที่คนธรรมดาเข้าใจได้ มันต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ประจำวันของมวลชน

ถ้าเราจะทำสิ่งเหล่านี้ในพรรคปฏิวัติสมาชิกทุกคนที่เป็นนักกิจกรรมของพรรคต้องเป็นปัญญาชน ไม่ไช่ปล่อยให้คนหนึ่งสองสามคนเท่านั้น เป็นคนอ่านหนังสือพูดเขียนบทความ ทุกคนต้องพัฒนาตนเอง เรื่องที่เราต้องวิเคราะห์มันใหญ่โตเกินกว่าที่คนคนเดียวทำได้ และคนคนเดียวก็มีสิทธิ์ผิดพลาดได้ ถ้าเรามีปัญหาเรื่องเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เพราะหลายคนอาจจะไม่เขียน หรือมีปัญหาที่คนไม่อ่านหนังสือ มันสะท้อนว่าสมาชิกของเราอาจจะไม่เข้าใจว่าตัวเองต้องเป็นปัญญาชนเต็มรูปแบบของพรรค

นอกจากทฤษฎีแล้ว สอง เราต้องโฆษณาจุดยืน เราจะทำได้ต้องผ่านหนังสือพิมพ์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ทั้งสองสิ่งสำคัญพอๆ กัน เพราะว่าเราต้องรู้จักใช้สื่อมวลชนที่ทันสมัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวปบล็อก เป็นเฟซบุ๊ค หรือเป็นอย่างอื่น แต่การอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค หรือว่าบล็อกต่างๆ เท่านั้นไม่พอ เพราะเราไม่ทราบว่าใครเข้ามาอ่าน เราไม่เจอเขาต่อหน้าต่อตา นี่คือความสำคัญที่เราต้องมีหนังสือพิมพ์ ที่เรายื่นให้คนเป็นตัวตนต่อหน้าเรา ให้เขาควักเงิน ให้เขาแสดงความรับผิดชอบว่าเขาจะสนับสนุนแนวทางด้วยการจ่ายเงิน เป็นโอกาสที่เราจะคุยกันและทำความรู้จัก

สาม นอกจากจะมีทฤษฏี มีสื่อ ของตัวเองที่โฆษณาจุดยืน เราต้องมีกิจกรรม ต้องร่วมสู้กับแนวร่วม การร่วมสู้กับแนวร่วมเวลาเราเข้าไปในแนวร่วมต่างๆ ในขบวนการต่อสู้ต่างๆ เราต้องแยกแยะได้ว่า พรรคการเมืองคือองค์กรเลี้ยวซ้ายกับแนวร่วมมันต่างกันอย่างไร เราต้องไมลืมสิ่งเหล่านี้ ไม่สลายตัวเข้าไปในแนวร่วม ในยุคนี้เราเห็นตัวอย่างทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงที่เตอร์กี หรือที่บราซิล ที่มีการรณรงค์อะไรหลายอย่าง บางทีฝ่ายขวาอาจจะเข้าร่วมด้วย และเราต้องตัดสินใจว่าเราจะเข้าไปมีจุดยืนอย่างไร เช่นเราบอกว่าเราไม่สนใจคนที่ประท้วงเรื่องราคายาง เพราะประชาธิปัตย์ไปจับมือกับพวกนั้น เราก็จะผิดพลาด

ในขณะเดียวกัน เราต้องไม่ทำตัวเป็นมิตรกับประชาธิปัตย์ หรือว่าเราไปร่วมประท้วงเขื่อนเราก็จะร่วมด้วย ไม่ว่าเอ็นจีโอเหลืองเข้ามาตรงนั้นหรือไม่ ในขณะเดียวกันเราก็จะไม่เข้าไปประนีประนอมกับเอ็นจีโอเหลือง เราต้องเข้าไปสู่มวลชน มันเป็นการทำงานที่ต้องใช้ศิลปะ ต้องใช้การวิเคราะห์ ต้องใช้การถกเถียงภายในกลุ่มด้วย เพราะคนคนเดียวตัดสินใจเองยาก ต้องมีทฤษฎีช่วยให้เราวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ เราต้องเข้าใจเวลาเราเข้าไปทำงานกับแนวร่วม เราต้องเข้าไปช่วงชิงการนำทางการเมืองด้วย

สี่ พลัง เราต้องใช้พลังของผู้ผลิต เราต้องเข้าไปทำงาน เราต้องดึงสมาชิกออกมาจากขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะขบวนแรงงานที่จัดตั้งอยู่แล้วในรูปสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานกับพรรคปฏิวัติไม่เหมือนกัน บางคนปฏิเสธพรรคปฏิวัติ อย่างเช่นพวกอนาธิปไตย อาจจะมีพวกอนาธิปไตยปฏิวัติที่เน้นการเคลื่อนไหวในสหภาพแรงงานอย่างเดียว อาจจะพูดถึงเลนิน แต่ไม่สร้างพรรค เราจะต้องเข้าไปเพื่อที่จะสร้างพรรคชองชนชั้นกรรมาชีพที่มีจุดยืนที่ก้าวหน้าที่สุด สหภาพแรงงานจะมีพวกที่จุดยืนล้าหลัง จุดเป็นกลาง จุดยืนก้าวหน้า เราจะต้องดึงคนที่มีจุดยืนที่ก้าวหน้าที่สุดเข้ามาพรรคเรา

ห้า เราต้องยืนอยู่เคียงข้างผู้ถูกกดขี่ ไม่ว่าจะเป็นชาวปัตตานี โรฮิงยา หรือคนที่ออกมาประท้วงต้านเรื่องเขื่อนหรือว่าเรืองยาง

ประเด็นสุดท้าย เวลาเราพูดถึงพรรค เราต้องอธิบายตลอดเวลาว่าพรรคมันมีหลายรูปแบบ ไม่ใช่ว่าต้องมาจดทะเบียนลงสมัครรับเลือกตั้ง บางทีเราอาจจะชี้ไปถึงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคนั้นก็ไม่ได้เน้นเลือกตั้ง แต่เราต่างจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทั้งทางทฤษฎีและการจับอาวุธ

ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ

ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ
มาติน เอมพ์ซอน
เรียบเรียงโดย นุ่มนวล  ยัพราช



โศกนาฎกรรมจากไต้ฝุ่นไฮ่เยี่ยนในฟิลิบปินส์
สะเทือนใจคนเป็นล้านทั่วโลก ประชาชนหลายพันเสียชีวิต อีกมากมายสูญเสียที่อยู่อาศัย
ที่ทำงาน ฟาร์ม และธุรกิจ
     ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรามักจะดำรงอยู่ใต้อำนาจของสภาพภูมิอากาศ  แต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการขยายตัวของพลังการผลิตภายใต้ทุนนิยมได้แปลเปลี่ยนสภาพเช่นนี้ไป
อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมนั้นสร้างความยากจนและความหิวโหยสำหรับคนเป็นล้านล้าน
และมันทำลายสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่วิกฤติธรรมชาติ
     พายุไฮเยี่ยนโหมพัดเข้ามาในฟิลิปปินส์
ในขณะที่สหประชาชาติกำลังจัดการประชุมระดับโลกเรื่องปัญหาโลกร้อนที่เมือง วอร์ซอร์
ประเทศโปรแลนท์  นาเดเรฟ ซาโน
สมาชิกคณะกรรมการโลกร้อนของฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ 
ได้ปราศรัยด้วยอารมณ์จากใจจริงเพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ
ลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม
หลังจากนั้นเขาประกาศว่าจะงดอาหารจนกว่าการประชุมจะจบลง
     แต่
ซาโน และคนอื่นๆในประเทศฟิลิปปินส์จะผิดหวังในผลการประชุมครั้งนี้  ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 แต่การประชุมระดับโลกครั้งนี้
คงไม่ต่างจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา 18 ครั้ง เพราะมันจะไม่มีการตกลงอะไรเป็นรูปธรรม
การลงมือในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง
ถูกทำให้มีอุปสรรคโดยนักการเมืองที่เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่เหนือการแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อม
      นี่คือสภาพปกติของทุนนิยมชนชั้นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น 
พวกนายทุนเชื่อว่าการแข่งขันอย่างหน้าเลือดในตลาดเสรีเป็นระบบที่ดีที่สุด  แต่ เฟรเดอริค เองเกิลส์ ได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี
1876 ว่า “ในเรื่องธรรมชาติ และ ในเรื่องสังคม ระบบการผลิตในปัจจุบันเน้นหนักแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น
และแล้วพวกนั้นก็แปลกใจเมื่อผลของการกระทำต่างๆ
ในระบบนี้ตรงกันข้ามกับความหวังของคนส่วนใหญ่”
      ผลของระบบทุนนิยมทำให้คนเป็นล้านเผชิญหน้ากับวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ คนจนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะพยายามกอบกู้วิกฤติชีวิตจากโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
การขยายตัวของเมือง ความยากจน และการขาดแคลนที่ดิน  มันหมายความว่าคนจำนวนมากถูกบังคับให้ต้องอาศัยในพื้นที่เสี่ยง
แม้แต่ในกรณีที่คนอาจจะย้ายถิ่นได้เขาก็ไม่ไปเพราะในถิ่นใหม่ไม่มีงานทำ
     ชนชั้นปกครองในประเทศอย่างฟิลิปปิสต์โกงกินพอๆกับชนชั้นปกครองในตะวันตก
แต่เราไม่ควรจะลืมอำนาจระดับโลกของจักรวรรดินิยม 
จักรวรรดินิยมเป็นผลพวงของการแข่งขันของรัฐต่างๆในระบบทุนนิยม
ซึ่งอาศัยการใช้อำนาจทุกชนิดเพื่อจะควบคุมผลประโยชน์ การแข่งขันทางทหารระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นตัวอย่างที่ดี
ฟิลิปปินส์ ถูกแย่งชิงระหว่างสเปน อังกฤษ และ สหรัฐ
ประเทศนี้ถูกทำให้เป็นตลาดเพื่อรองรับการส่งออกจากประเทศมหาอำนาจและแหล่งทรัยพากรและสินค้าเกษตรราคาถูก 
ทุกวันนี้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศนำเข้าที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่ง
สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรจากสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่ฟิลิปปินส์ผลิตอาหารฟื้นฐานอย่างข้าวไม่เพียงพอแต่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกชนิดอื่นๆ
เช่น มะพร้าว เป็นต้น
     ในโลกแห่งทุนนิยมการแบ่งลำดับชนชั้นต่างๆ
ซึ่งเป็นหัวใจของระบบหมายความว่าคนจนที่สุดในประเทศยากจนจะเดือดร้อนมากที่สุดจากภัยธรรมชาติอันเป็นมีเหตุมาจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม 
     ชาวฟิลิปปินส์มีประสบการณ์อันยาวนานจากภูมิอากาศที่รุนแรง
ปีที่แล้วมีคนตาย 2,000 คนจากพายุโบฟา ไฮเยี่ยน เป็นพายุที่สาม
ที่เข้ามาในประเทศในปีนี้และในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีพายุย่อยๆถึง 7 ครั้ง หมู่เกาะฟิลิปปินส์
เป็นพื้นดินแรกที่ต้องปะทะกับพายุซึ่งเกิดขึ้นกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
     เราไม่สามารถเจาะจงลงไปได้ว่าพายุอันหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อน 
แต่เราสามารถฟันธงได้ว่าแนวโน้มของการเกิดพายุร้ายแรงที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุมาจากปัญหานี้แน่นอน
ตัวเลขล่าสุดชี้ให้เห็นว่ามหาสมุทรแปซิฟิกได้เพิ่มอุณภูมิรวดเร็วที่สุดในรอบ
10,000 ปีที่ผ่านมา พายุไฮเยี่ยน จะได้รับพลังงานจากทะเลซึ่งเกิดจากเมื่อมีเมื่อปริมาณน้ำอุ่น
เมื่อน้ำในทะเลอุ่นมากขึ้นพลังงานนี้ก็จะทวีอานุภาพเพิ่มขึ้นเป็นคู่ขนาน พายุจะเกิดขึ้นมากกว่าเดิม
คณะกรรมการระหว่างประเทศที่ศึกษาปัญหาโลกร้อนรายงานเมื่อปีนี้ว่าพายุในมหาสมุทรแอตแลนติกทางเหนือมีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน 
     ข้อมูลจากที่อื่นอาจจะนำมาสรุปแบบง่ายๆไม่ได้แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาโลกร้อนมีผลต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ปัญหาไม่ได้จำกัดเฉพาะที่พายุอย่างไฮเยี่ยนเท่านั้น ข้อมูลจากมหาสมุทรที่ขั้วโลกเหนือเสนอว่าก๊าซมีเทรนผุดขึ้นมาจากท้องทะเลในปริมาณสูง
กระบวนการนี้เร็วขึ้นเมือทะเลขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น  ก๊าซมีเทรนและก๊าซคาบอนไดส์ออกไซส์
เป็นก๊าซสำคัญที่เร่งให้อุณหภูมิโลกสูง 
นักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอว่าทะเลรอบขั้วโลกเหนือจะปลอดน้ำแข็งในเดือนกันยายนปีหน้า
น้ำแข็งของขั้วโลกมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ออกไปจากโลกดังนั้นถ้าน้ำแข็งลดลงโลกจะร้อนขึ้น
     ภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงในทุกที่
ในรัฐอาลาสก้าของสหรัฐซึ่งเป็นบ้านเกิดของนักการเมืองฝ่ายขาว ซาร่า เพลิน
ที่ประกาศตัวว่าไม่เชื่อปัญหาโลกร้อน
อุณภูมิในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยสูงกว่าปกติ 8 องศา
     องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานว่าระดับน้ำทะเลปีนี้สูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์
ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาและเมื่อมีการละลายของน้ำแข็ง
ระดับน้ำทะเลก็เพิ่มขึ้น 
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นผลของพายุก็ทวีร้ายแรงตามลำดับและน้ำจะท่วมพื้นดินในระดับต่ำ
     วารสารเดอะอีโคโนมิสต์
รายงานว่าพายุไฮเยี่ยนคงจะสร้างความเสียหายถึง 9,000 ล้านปอนท์ หรือ 463,800 ล้านบาท
ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพราะฟิลิปปินส์เป็นประเทศยากจน 
ถ้าพายุทำลายประเทศที่พัฒนามากกว่าฟิลิปปินส์ค่าเสียหายจะมีมูลค่าสูงกว่า ในปี
2011 สหรัฐอเมริกามีเหตุการณ์วิกฤติจากภูมิอากาศร้ายแรง 25 ครั้ง
แต่ละเหตุการณ์สร้างความเสียหายในแต่ละเหตุการณ์ประมาณ 30 พันล้านบาท
     อย่างไรก็ตามความเสียหายจากพายุต่างๆ
นับเป็นเม็ดเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ พายุไฮเยี่ยนมีผลกระทบกับประชาชนถึง 11
ล้านคน คาดว่า 600,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย ในปี 2010
น้ำท่วมในปากีสถานทำลายพื้นที่เกษตรถึง 5700
,000,000 ตารางเมตร
ฝนแล้งในอาฟริกาตะวันออกในปี 2011 มีผลกระทบต่อประชาชน 13 ล้านคน
ฝนแล้งในรัสเซียในปี 2012 ทำให้ผลผลิตเกษตรลดลง 25
%  
     แต่รัฐบาลของประเทศต่างๆ
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน 2
ปีก่อนในการประชุมโลกร้อนของสหประชาชาติที่อาฟริกาใต้ มีการสัญญาว่าภายในปี 2015
จะมีข้อตกลงระหว่างทุกประเทศ ว่าจะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2
องศาจากยุคก่อนอุตสาหกรรม
     ข้อตกลงง่ายๆ
อันนี้ ซึ่งไม่พอที่จะทำให้อุณภูมิโลกลดลง 
ควรจะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป
แต่การผลิตก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปีที่แล้วปริมาณก๊าซโลกร้อนในบรรยากาศโลกสูงเป็นประวัติศาสตร์
ด้วยเหตุนี้แค่หนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมที่วอร์ซอร์
สหประชาชาติเตือนว่าการทำตามคำมั่นสัญญา “2 องศา” จะทำได้ยากมาก
     ผู้แทนจากรัฐบาลต่างๆที่มาประชุมที่โปรแลนท์เข้าใจดีว่า
ถ้าจะแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องจัดการกับผลประโยชน์ของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่และจะต้องมีการทุ่มเทงบประมาณรัฐบาลจำนวนมาก  ผลการวิจัยจำนวนมากมายชี้ให้เห็นว่าเราสามารถหันไปใช้พลังงานทางเลือกพลังงานสะอาดที่ไม่ผลิตก๊าซคาบอนไดซ์ออกไซด์
แต่การใช้พลังงานทางเลือกจะต้องอาศัยการลงทุนมหาศาล 
ดังนั้นรัฐบาลต่างๆและบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ไม่ยอมทำ  รัฐบาลอังกฤษเป็นตัวอย่างที่ดี มีการตัดงบประมาณที่หนุนพลังงานทางเลือกเพื่อสนับสนุนการลงทุนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
     บริษัทข้ามซาติที่ใหญ่ที่สุด
200 บริษัททั่วโลก ได้ลงทุนไป 22,000 ล้านบ้านบาทในปี 2012  เพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินจำนวนนี้ถูกนำมาลงทุนเพื่อผลิตพลังงานทางเลือก  เราจะเริ่มแก้ปัญหาโลกร้อนได้ แต่ตรรกะของทุนนิยมทำให้สิ่งตรงข้ามเกิดขึ้น
     แง่หนึ่งของระบบจักรวรรดินิยมคือการค้าขายที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศมหาอำนาจและประเทศอื่นๆ
ความยากจนในประเทศด้อยพัฒนามีผลส่วนหนึ่งมาจาก 
การกระทำของรัฐบาลในประเทศตะวันตก รัฐบาลมหาอำนาจต่างๆ ในโลก
ยังตั้งหน้าตั้งตาที่จะสร้างอุปสรรคในการแก้ปัญหาโลกร้อนในการประชุมโลกร้อนที่วอร์ซอร์
     การพัฒนาระบบอุตสาหกรรรมในประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องเดินตามเส้นทางเก่าของประเทศตะวันตกในยุโรปหรืออเมริกา
แต่การแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้นในระบบทุนนิยมผลักดันประเทศเหล่านี้ให้ทำลายสิ่งแวดล้อมเหมือนกับที่เกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
พายุไฮเยี่ยน
เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่เน้นว่าการท้าท้ายและเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อสร้างสังคมนิยมเป็นภาระกิจเร่งด่วน
เพราะสังคมนิยมเป็นระบบที่มีการพัฒนาภายใต้เหตุผลและการวางแผนด้วยระบบประชาธิปไตย
เพื่อประโยชน์ของมนุษย์และโลกของเรา

ที่มา  (After typhoon Haiyan – capitalism and the
climate
จาก http://socialistworker.co.uk/art/36865/After+typhoon+Haiyan+-+capitalism+and+the+climate) 23/11/2013

ฮอนดูรัสอาจจะได้ประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายสตรีคนแรก

ฮอนดูรัสอาจจะได้ประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายสตรีคนแรก



วันอาทิตย์นี้จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในประเทศฮอนดูรัส
ลาตินอเมริกา

4 ปีหลังรัฐประหารที่ล้มประธานาธิบดี เซลายา
ที่มาจากการเลือกตั้ง และนำไปสู่การสร้างขบวนการประชาธิปไตย “เสื้อแดง” คัสโตร
เดอะ เซลายา ภรรยาของอดีตประธานาธิบดี อาจจะชนะการเลือกตั้ง
    
พรรคเสรีภาพและการรื้อฟื้น (Libre) ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยนักกิจกรรมหนุ่มสาวที่ใช้เสื้อสีแดงขาว
ประกอบไปด้วย นักสหภาพแรงงาน นักสิทธิมนุษยชน นักสิทธิคนรักเพศเดียวกัน
นักสิทธิสตรี เกษตรกรรายย่อย ครูบาอาจารย์ และ ชาวพื้นเมือง
กำลังรณรงค์ในชุมชนต่างๆ เพื่อสนับสนุน คัศโตร เซลายา
พรรคนี้ต่างจากพรรคกระแสหลักสองพรรคที่มีนายทุนหนุนหลัง เพราะอาจจะมีเงินน้อยแต่มีนักเคลื่อนไหวที่ลงไปรณรงค์ในระดับรากหญ้าตลอดช่วง
3 ปีที่ผ่านมา
     
พรรคเสรีภาพและการรื้อฟื้น
สัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อลดอำนาจของชนชั้นนำที่มีอิทธิพลเหนือสภาและศาล
พวกนั้นเคยสนับสนุนรัฐประหารอีกด้วย

ภายในพรรคมีนักสังคมนิยมก้าวหน้าจำนวนหนึ่งแต่
นางคัสโตร เซลายา คงจะเดินสายกลางเพื่อเอาใจทั้งคนจน นายทุน และ จักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกา

ปัญหาใหญ่ของฮอนดูรัส คือ พฤติกรรมของทหาร ระดับอาชญากรรม
และมาเฟียค้ายาเสพติด องค์กรนิรโทษกรรมสากลและองค์กรสิทธิมนุษยชนภายในประเทศรายงานว่า
ภายหลังรัฐประหารในปี ๔๙ ทหารใช้ความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่มีการลงโทษแต่อย่างใด
นอกจากนี้ในช่วงนั้นมีการออกกฎหมายที่ปูทางไปสู่การเข้ามายึดทรัพยากรธรรมชาติโดยบริษัทข้ามชาติใหญ่
ฮอนดูรัสเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกา และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มขึ้นหลังรัฐประหาร


ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งในสภาของพรรคเสรีภาพและการรื้อฟื้น
18 คนถูกฆ่าตายในรอบปีที่ผ่านมา
ต่างจากพรรคฝ่ายขวาซึ่งได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากสื่อกระแสหลัก

แดงก้าวหน้าต้องรู้จักการจัดตั้งทางการเมือง

แดงก้าวหน้าต้องรู้จักการจัดตั้งทางการเมือง

การประท้วงต้านนิรโทษกรรมฆาตกรที่ราชประสงค์
ที่จัดโดย สมบัติ บุญงามอนงค์
เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของการเคลื่อนไหวภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับพวกสลิ่มประชาธิปัตย์ที่เชียร์รัฐประหารและการเข่นฆ่าประชาชน
และแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเคลื่อนไหวของ
นปช.และพรรคเพื่อไทยที่พร้อมจะหักหลังวีรชนและหันหลังให้นักโทษ112เพื่อให้ทักษิณได้กลับบ้าน
    
สมบัติ บุญงามอนงค์ พูดว่า
เรามาวันนี้เพื่อจะมายืนในจุดที่เราเคยยืน
เรามาแสดงจุดยืนว่าเรานั้นไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ….. เราไม่ลืมฆาตรกร
และที่นี่คือทุ่งสังหาร” ….”นายกยิ่งลักษณ์-คุณต้องขอโทษประชาชน
และที่สำคัญต้องขอโทษคนเสื้อแดงเพราะคนเสื้อแดงเลือกคุณมาเป็นนายกรัฐมนตรี…ขอเรียกร้องให้ช่วยนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองด้วย
โดยเฉพาะผู้ที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112
และขอสิทธิการประกันตัวให้กับนักโทษการเมือง”
    
เสื้อแดงที่อยากยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษย์ชน
เพื่อไม่ให้ลูกหลานเราโดนฆ่าเหมือนผักเหมือนปลา เหมือนที่เคยเกิดตั้งแต่ ๑๔
ตุลาถึงราชประสงค์ ควรดูตัวอย่างนี้แทนที่จะขึ้นรูปและเลียนายกยิ่งลักษณ์

    
ที่ราชประสงค์ สมบัติ เสนอว่าควรมีพรรคทางเลือกที่ไม่ใช่เพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์
จริงควรมี แต่แค่มีพรรคที่เน้นรัฐสภาแต่ไม่เคลื่อนไหวมวลชนไม่พอ ในขณะเดียวกันฝ่ายก้าวหน้า
ก็กระจัดกระจาย ไร้การจัดตั้งองค์กรที่เข้มแข็ง ต่างคนต่างเคลื่อนไหว ดังนั้นตราบใดที่ไม่เปลี่ยนก็ยากที่จะเป็นตัวเลือก
ข้อสรุปคือควรหันมาทำงานจัดตั้งองค์กรทางการเมืองร่วมกัน และต้องพยายามขยับตัว
จัดกิจกรรม ยึดมั่นในกรอบประชาธิปไตย และความเป็นธรรมของสังคม
เอาคนผิดฆาตกรมาลงโทษ ปลดปล่อยนักโทษการเมือง นักโทษ 112 โดยไว
ร่วมมือประสานงานเตรียมพร้อมซ้อมรบ เพื่อพร้อมจะรุกสู้กับฝ่ายเผด็จการ
ไม่ว่าจะออกสีเหลืองหรือแดง

การรัฐประหาร เหตการณ์ 6 ตุลา และกฎหมายอาญามาตรา 112

เรียบเรียงโดย ยังดี โดมพระจันทร์

รัฐประหารแบบไทย: การรัฐประหารภายใต้แนวคิดอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตย

ถ้าเราเข้าใจรัฐประหาร 2490 เราจะเข้าใจ การรัฐประหารครั้งล่าสุด ในวันที่ 19 กันยา 2549 ได้ และเข้าใจความคิดของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินผู้ที่โค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีลงจากอำนาจ เมื่อ 7 ปีก่อน วันนี้ “บิ๊กบัง”.สนธิ อดีต ประธาน คมช.ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวอยส์ทีวีว่าการรัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกแน่นอนโดยข้ออ้างคลาสสิคต่างๆ  ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  สรุปไว้ว่า รัฐประหารแบบไทยคืออะไร

พ.ศ. 2490 เมื่อฝ่ายทหารและฝ่ายนิยมเจ้าโค่นรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ก็คือโค่นอำนาจของปรีดี พนมยงค์ นี่เป็นต้นแบบรัฐประหารแบบไทย คือความรู้สึกว่าสถาบันกษัตริย์ถูกคุกคาม หรือการที่รัฐบาลพลเรือนบริหารประเทศแล้วทุจริตคอร์รัปชั่น และเกิดความวุ่นวายไม่สงบ เพิ่มสีสันด้วยระเบิดที่นั่นที่นี่ ไฟไหม้โดยไม่รูสาเหตุ กองทัพก็จะต้องเข้ามายึดอำนาจ แล้วตั้งรัฐบาลพลเรือนขัดตาทัพ จากนั้นคณะทหารก็เข้าควบคุมอำนาจเอง อยู่ในอำนาจไปสักพัก ทหารอีกกลุ่มหนึ่งก็มาโค่นทหารกลุ่มแรก ทำกันเป็นวัฎจักรเหมือนประเทศไทยเป็นของทหารเท่านัน จึงไม่แปลกที่สวัสดิการทหาร ตำแหน่งนายพล และงบลับทางทหารในประเทศนี้มีล้นเหลือ เริ่มตั้งแต่ 2490 เป็นต้นมา รัฐประหารแบบไทยยังเป็นการรัฐประหารภายใต้แนวคิดอนุรักษ์นิยม ผลของการรัฐประหารทุกครั้งทั้งทำลายและขัดขวางการพัฒนาแนวคิดประชาธิปไตย เป็นความอัปลักษณ์ของการเมืองที่ถอยหลังลงคลอง

ความล้มเหลวของรัฐบาลที่อ้างกันสม่ำเสมอมีสองเรื่องหลักๆ คือ หนึ่ง ความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจ คือไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามได้ แก้ไม่ได้หรือแก้ไม่ทันเวลา เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเงินเฟ้อ ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค แต่โดนโจมตีว่า “กินจอบ กินเสียม”   กรณีมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเคยมีธนาคารของตัวเอง ซึ่งปรีดี พนมยงค์ท่านผู้อภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเงินแก่มหาวิทยาลัย ชื่อ ธนาคารเอเชีย คณะทหารก็กล่าวหาว่าธนาคารเป็นสถานที่ทุจริตคอร์รัปชั่น

การฟื้นตัวของกลุ่มนิยมเจ้าซึ่งเชื่อมโยงและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน 

กลุ่มนิยมเจ้าเป็นกลุ่มทางการเมืองที่คิดว่าประเทศไทยยังอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีอำนาจบริหารสูงสุด พวกนี้มองว่า การปฏิวัติ พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรเป็นกบฎ ในทางตรงข้ามกบฎบวรเดช ใน พ.ศ.2476 ที่พยายามทำลายรัฐธรรมนูญถวายอำนาจคืนให้กับพระมหากษัตริย์กลับไม่ใช่กบฎ   หลัง พ.ศ.2487 เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. หมดอำนาจลง รัฐบาลปรีดีได้ประนีประนอม โดยปล่อยนักโทษการเมือง คือพวกกบฎบวรเดช ทำให้พลังฝ่ายนิยมเจ้าเริ่มฟื้นตัว ปี 2489 กลุ่มนิยมเจ้าร่วมกับขุนนางเก่า และกลุ่มทุนบางกลุ่ม ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค และมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาฯ ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นคนที่ประกาศตัวว่า เขาเป็นรอยัลลิสต์ เป็นคณะเจ้าตัวจริงไม่ใช่คณะราษฎร

ในช่วงนี้เองเกิดกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ฝ่ายอนุรักษนิยมสร้างเรื่องใส่ร้ายป้ายสี จ้างคนไปตะโกนในโรงหนังเฉลิมกรุงว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”
การรัฐประหาร 2490 ได้ชื่อว่าเป็นรัฐประหารที่ง่ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ส่งผลร้ายมากที่สุด คือยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2489 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด มาใช้รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ให้มีสองสภา คือมีสภาผู้แทนฯ กับวุฒิสภาจำนวนสมาชิกเท่าๆกัน ให้กษัตริย์เลือกตั้งวุฒิสภา  มีการฟื้น “อภิรัฐมนตรีสภา” ซึ่งยุบไปตั้งแต่รัชกาลที่ 7 อันเป็นที่มาของ “องคมนตรี” จนปัจจุบัน

หลังรัฐประหารแล้ว คณะรัฐประหารให้พรรคประชาธิปัตย์บริหาร นับเป็นครั้งแรกที่พรรคนี้ด้ประโยชน์จากการรัฐประหารไปเต็มๆ ซึ่งมีอีกหลายครั้งรวมถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นความร่วมมือระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับคณะรัฐประหาร โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์อนุมัติงบประมาณ 8 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการทำรัฐประหารครั้งนั้นด้วย จากนั้นก็มีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมการให้กับการรัฐประหารเรียกว่าทำกันจนเป็นสูตรสำเร็จ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากมานำการรัฐประหารแล้ว ก็อธิบายไว้ว่า “รัฐประหารครั้งนี้ คณะทหารอยากเปลี่ยนรัฐบาล จะเพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์ให้มากขึ้น ท่านจะได้โอกาสช่วยดูแลบ้านเมือง” จึงถือเป็นต้นแบบของการรัฐประหารที่ผ่านมา รวมทั้ง 19 กันยา 2549 ก็สอดคล้องกันด้วยสูตรเดียวกัน  รัฐประหารจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาของอำมาตยาธิปไตย
อำมาตยาธิปไตยนั้นวางอยู่รากฐานแนวคิดแบบกษัตริย์นิยม หรือพวกนิยมเจ้า เรียกอีกอย่างว่า อุลตราโรยัลลิสต์ ซึ่งปรีดี พนมยงค์แปลคำนี้ว่า “เป็นผู้ที่ยิ่งกว่าราชา” แนวคิดแบบนี้เชื่อว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน แต่เป็นของกษัตริย์ ประชาชนเป็นไพร่มีหน้าที่ต้องจงรักภักดี ถือว่าแผ่นดินเป็นของกษัตริย์ ประชาชนเป็นผู้อาศัยในแผ่นดิน ชีวิตของไพร่ต้องดำเนินไปตามพระมหากรุณาธิคุณ แล้วแต่พระมหากษัตริย์จะโปรด ห้ามร้องเรียน ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ เพราะพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญญาธิการ พระมหากษัตริย์ถูกต้องเสมอ

ผลพวงรัฐประหาร มาตรา 17 กับการปราบปรามคอมมิวนิสต์ 

สรุปว่าการรัฐประหาร 2490 ที่มาจากความร่วมมือของฝ่ายทหารซึ่งกุมกำลังและฝ่ายนิยมเจ้า คือจุดเริ่มต้นที่เป็นจริง และถ้าเราเข้าใจรัฐประหาร 2490 เราจะเข้าใจรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ตลอดจนการก่อเหตุสยองขวัญและการทำรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 การรัฐประหารครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งคือการรัฐประหารเงียบ หรือ การยึดอำนาจตัวเองที่ส่งผลให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเต็มที่ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วย มาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมสถานการณ์ของประเทศ    มาตรา 17 นี้ใช้ประหารผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ศิลา วงศ์สิน ศุภชัย ศรีสติ ครอง จันดาวงศ์ และ ทองพันธ์ สุทธิมาศ ฯลฯ  ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลถูกประหารโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ ทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิด “วันเสียงปืนแตก” เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508

การต่อสู้ทางอุดมการณ์คือพื้นฐานของการรัฐประหารเมื่อ  6 ตุลา 2519

6 ตุลา 2519 สร้างบาดแผลไว้ในประวัติศาสตร์ และสร้างความเปลี่ยนให้กับชีวิตผู้คนอีกหลายพันชีวิต โดยเฉพาะผู้ถูกกระทำ อย่างนักเรียน นักศึกษา ผู้รักประชาธิปไตย และผู้ใช้แรงงาน ถ้านับไปถึงครอบครัวก็เป็นหลักหมื่น ผลจากการทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และการรัฐประหาร จากวันนั้นเปลี่ยนสังคมไทยไปทั้งสังคม กลายเป็นบรรยากาศอึมครึมที่ หนังสือพิมพ์ถูกปิด มีประกาศหนังสือต้องห้ามเป็นร้อยๆเล่ม การวางแผนอันแยบยลของชนชั้นปกครองที่ต้องสูญเสียอำนาจไปในการปฏิวัติ 14 ตุลา2516 เพื่อฟื้นคืนสถานะของตนเอง มีทั้งการใช้กำลังตั้งหน่วยอันธพาลกระทิงแดงจากพวกนักเรียนอาชีวะ นวพลจากพวกชนชั้นกลาง กลุ่มทุนบางส่วนและข้าราชการ ตลอดจนลูกเสือชาวบ้าน ที่สร้างเครือข่ายเอาผู้นำในท้องถิ่น พ่อค้าแม่ค้า ชนชั้นกลางในหัวเมืองมารวมตัวกัน และการโฆษณของเครือข่ายวิทยุยานเกราะกว่า 300 แห่ง ภายใต้อุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความเกลียดชังคอมมิวนิสต์ที่สั่งสมมา ผนวกกับการป้อนข้อมูลมาตลอดสองทศวรรษในสงครามเย็นระหว่างสองค่ายมหาอำนาจอเมริกาและรัสเซีย ร่วมมือกับอำมาตยาไทย

การเข่นฆ่านักศึกษาประชาชนอย่างโหดเหี้ยม เพราะกลัวการขยายตัวของแนวคิดสังคมนิยม ชนชั้นปกครองขณะนั้นไม่ได้ใช้เพียงอาวุธสงครามโดยตำรวจตระเวณชายแดน และกำหลังหนุนของตำรวจนครบาล แต่ยังใช้ตำรวจนอกเครื่องแบบ และกองกำลังอันธพาล ทุบตี แขวนคอ และเผาคนทั้งเป็น เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้หลาบจำ ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับเหตุการณ์ในเหตุการณ์ล่าสังหารผู้ที่เกี่ยวข้องและถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ระหว่าง พ.ศ. 2508 – 2509 หลังเหตุการณ์ “30 กันยายน 1965” มีผู้คะเนว่าประชาชนถูกฆ่าถึง 5 แสนคน  จำนวนมากกว่านั้นถูกขังอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการตั้งข้อหา โดยภายหลังมีข่าวเพนตากอนรั่วออกมาว่าสถานทูตอเมริกาให้การสนับสนุนเงินงบประมาณเพื่อการนี้

การรัฐประหารในปี 2549 เป็นเรื่องของการชิงเคลื่อนกำลังทหารเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ก่อนที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นจริงๆ ในคืนวันที่ 19 กันยายน ได้มีการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อปูทางให้การรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง รัฐประหาร 2549 จึงมีมิติทางอุดมการณ์ คล้ายคลึงกับรัฐประหารที่ในวันที่ 6 ตุลา 2519 โดยอ้างว่าทำเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์  และใช้ข้ออ้างนี้ไปล้มล้างรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภาเหมือนกัน ประเด็นสำคัญคนกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารครั้งนี้ มีส่วนออกแบบกติกาของบ้านเมืองให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองได้ประโยชน์ที่สุดในนามของความจงรักภักดี
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ตั้งชื่อให้ฟังสับสน หรือ “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นศัตรูของสถาบันหลักของชาติ แบบเดียวกับที่คอมมิวนิสต์เป็นศัตรูหลักต่อสถาบันกษัตริย์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือเรื่อง “พระราชอำนาจ” โดยประมวล รุจนเสรี จุดชนวนการเรียกร้องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการอภิปรายเรื่องพระราชอำนาจที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อีกแล้ว)

แม้ทักษิณจะทำมาก่อนด้วยการบังคับให้มีการสวมเสื้อเหลืองทุกวันจันทร์และจัดงานฉลองวันเกิดให้กษัตริย์อย่างมโหฬาร แต่ไม่มีใครเชื่อว่าทักษิณรักสถาบัน พันธมิตรฯกลับเป็นฝ่ายครอบครองสัญลักษณ์นี้ ใช้สีเหลืองเพื่อแสดงความจงรักภักดีซึ่งทหารที่ออกมายึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายนก็ใช้ริบบิ้นเหลืองเป็นสัญลักษณ์ด้วย  ขบวนการฟาสซิสต์ทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรฯ จะพยายามใช้ศัพท์ของฝ่ายซ้ายปนกับความคิดฝ่ายขวา เพื่อดึงคนชั้นกลางที่รู้สึกไม่พอใจกับอำนาจรัฐหรือนายทุนใหญ่เข้ามาเป็นพวก และการที่อดีตฝ่ายซ้ายสานเหมาอิสต์ในกลุ่มพันธมิตรฯ ชื่นชมเผด็จการ เป็นการรักษาจุดยืนเดิมที่เคยรักเผด็จการในจีนอีกด้วย  จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันเราเห็นอดีตซ้าย คนตุลา อดีตผู้นำนักศึกษา ผู้นำกรรมกร เอ็นจีโอ ทหารปลดแอกรับจ้างทำงานด้วยกันกับบรรดาผู้พิพากษา และแวดวงอำมาตย์อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน และแบ่งรับผลประโยชน์ต่างๆ ในรูปงบประมาณผ่านโครงการรัฐ และมีสถานะตำแหน่งในองค์กรอิสระและสื่อสาธารณะ

การรัฐประหาร 19 กันยา 2549 มีการอ้างพระมหากษัตริย์มากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน 

ในคืนวันที่ 19 กันยายน ทหารใช้เพลงพระราชนิพนธ์ ใช้ภาพพระราชกรณียกิจ หรือวันที่ 20 ก็มีการแสดงภาพการเข้าเฝ้าฯ แทนที่จะเป็นการใช้เพลงปลุกใจหรือออกอากาศคำปราศรัยของหัวหน้าคณะรัฐประหารวนเวียนซ้ำซากไปเรื่อยๆ อย่างที่มักจะทำกันในการรัฐประหารทุกครั้ง   หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการเพิ่มโทษในมกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2519 คณะรัฐประหาร เพิ่มโทษ ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ1 โดยปรับโทษจากเดิม “จำคุกไม่เกินเจ็ดปี” เพิ่มขึ้นเป็น “จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”  อัตราโทษนี้ดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่มีการแก้ไขแม้ในรัฐบาลทักษิณ  มาตรา 112 จึงเป็นผลพวงของรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ภายใต้บริบท “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” สร้างข่าวขบวนการนักศึกษาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
ความเข้ากันได้อย่างลงตัวนี้กำหนดให้นักโทษในคดี 112 มากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนในรัฐบาลประชาธิปัตย์ และ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เฉยเมยต่อการแก้ไขกฎหมายมาตรานี้  ตั้งหน้าตั้งตาอ้างความปรองดองต่อไปเพื่อปกป้องตนเอง ยิ่งนานวันมวลชนยิ่งตาสว่างว่า ใครกันที่จงรักภักดีต่อประชาชน?  การรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 จึงเชื่อมโยงกับการต้านรัฐประหารและแยกไม่ออกจากการต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างเข้มข้น ประวัติศาสตร์สอนเราอย่างนี้เอง

40ปี 14ตุลา อุดมการณ์สังคมนิยมหายไปไหน???

40ปี 14ตุลา อุดมการณ์สังคมนิยมหายไปไหน???
โดยยังดี โดมพระจันทร์

ปลายตุลาคมซึ่งเป็นเดือนแห่งการฉลองวาระ
40
ปี 14 ตุลา กลับเป็นเวลาที่พรรคเพื่อไทยจะผลัก
พรบ.นิรโทษกรรมไปสุดซอย เพื่อไม่เอาผิดกับฆาตกร และผู้สั่งการทุกคน
การดำเนินการเช่นนี้ก็เช่นเดียวกับการเชิญสมัคร สุนทรเวชมาเป็นนายกรัฐมนตรี
ผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรคนี้ไม่ต้องคำนึงว่า ญาติวีรชน คนเดือนตุลาและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฆ่านักศึกษาอย่างป่าเถื่อนครั้งนั้นจะคิดอย่างไร
เช่นเดียวกับที่ไม่สนใจว่าญาติวีรชนพฤษภา
53 และมวลชนคนเสื้อแดงที่เข้าร่วมต่อสู้จะคิดอะไร
เขาคิดแบบชนชั้นนำว่าพวกนี้เป็นแค่คนกลุ่มน้อย เป็นคนกลุ่มน้อยจริงหรือเปล่า? เป็นฝ่ายที่แก้แค้นไม่เลิก?
หรือกลุ่มที่มีอุดมการณ์ที่แตกต่างออกไป เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งพาพรรคนายทุนตลอดไป
จริงหรือไม่? ….
·      

            คนเดือนตุลาซึ่งพ่ายแพ้พร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์
กลับมีบทบาทอันสำคัญในทางการเมืองและสังคม

ในช่วงที่มีการจัดงาน 40
ปี 14 ตุลาที่ผ่านมา มีงานวิจัย
และบทวิเคราะห์วิจารณ์ของนักวิชาการออกมาจำนวนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับคนเดือนตุลา
และ อุดมการณ์สังคมนิยม ประจักษ์ ก้องกีรติปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเรื่องขบวนการนักศึกษาในช่วง
14 ตุลาคม 2516 ที่ทำไว้ก่อนหน้าว่า มรดกของ 14 ตุลาที่ทิ้งไว้ให้สังคมไทยประการสำคัญที่สุดคือ
“มรดกในแง่อุดมการณ์” โดยเฉพาะอุดมการณ์ที่เรียกว่า
ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย
โดยขบวนการ14 ตุลา นักศึกษาประชาชนนั้นไม่ได้มีเอกภาพทางความคิด  แต่มีอุดมการณ์ความคิดหลายชุด ตั้งแต่ซ้ายใหม่
สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ เสรีนิยมประชาธิปไตย และอุดมการณ์กษัตริย์นิยม แต่มีจุดร่วมกันในเรื่องการโค่นล้มเผด็จการทหาร  ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
คนเดือนตุลาแตกออกเป็นสองฝ่าย หลายคน เช่น ธีรยุทธ บุญมี  สุรชัย จันทิมาธร พลเดช ปิ่นประทีป ประสาร
มฤคพิทักษ์ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ประยูร อัครบวร อยู่ฝ่ายเสื้อเหลือง อีกฝ่ายหนึ่ง
เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง สุธรรม แสงประทุม เหวง โตจิระการ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
อดิศร เพียงเกษ และ วิสา คัญทัพ ยืนอยู่กับฝ่ายทักษิณ และสนับสนุนคนเสื้อแดง

กนกรัตน์ เลิศชูสกุลศึกษาวิจัยเรื่องคนเดือนตุลาและอุดมการณ์ของพวกเขาในเรื่อง
การเติบโตของคนเดือนตุลา:
อำนาจและความขัดแย้งของอดีตนักกิจกรรมปีกซ้ายในการเมืองไทยสมัยใหม่
” (The
Rise of the Octobrists: Power and Conflict among Former Left Wing Student
Activists in Contemporary Thai Politics) เสนอต่อวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
 กนกรัตน์อธิบายว่ากลุ่มคนเดือนตุลาเริ่มมีบทบาททางสังคมและการเมืองอย่างชัดเจนตั้งแต่หลัง
พ.ศ.2530 โดยมีบทบาททั้งในภาคการเมืองรัฐสภา ภาคธุรกิจ และภาคสังคม
และมีกลุ่มคนเดือนตุลาบางส่วนกลับเข้ามามีบทบาทในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เช่น
กรณีพฤษภาประชาธรรม2535
ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของกลุ่มชนชั้นกลางในเมือง และนำมาสู่การผลักดันการปฏิรูปการเมืองในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเริ่มก่อร่างสร้างพรรค
พอดี กลุ่มคนเดือนตุลาเข้าร่วมผลักดันพร้อมกับการฟอกตัวให้เป็นคนดีของสังคม
เป็นเหยื่อความรุนแรงในเหตุการณ์
6 ตุลาที่น่าเห็นใจในการจัดงานรำลึก
20 ปี 6 ตุลา ดังนั้นเพียง 4 ปีจากวันนั้นพรรคไทยรักไทยก็ครองเสียงในสภาจนสามารถตั้งรัฐบาลได้
ที่กล่าวมานี้  การจัดงานรำลึก
20 ปี 6
ตุลาได้กลายเป็นหมุดหมายของความพยายามที่คนเดือนตุลาส่วนใหญ่ฉีกตัวจากอุดมการณ์สังคมนิยมและประกาศว่าสิ้นศรัธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
การเข้าป่าจับอาวุธ เป็นความจำเป็นทางการเมือง เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สร้างภาพให้วีรชนวันนั้นต่อสู้เพิ่อประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการเท่านั้น

กนกรัตน์สรุปว่าที่คนเดือนตุลาพ่ายแพ้พร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์
แต่ยังกลับมาสร้างที่ยืนในสังคมและมีบทบาทสำคัญทางการเมืองและสังคมได้
เพราะคนเดือนตุลามีความสามารถพิเศษ ที่คนกลุ่มอื่นไม่มี
และเป็นที่ต้องการของกลุ่มพลังทั้งหลาย นั่นคือ คนเดือนตุลาเป็นนักกิจกรรมที่เคี่ยวกรำท่ามกลางการต่อสู้มาก่อน
และเข้าใจการเมืองของชนชั้นนำดี ร่วมงานกับคนยากจนที่เป็นรากหญ้าได้ คนเดือนตุลาจึงเข้าไปมีบทบาทในพรรคการเมืองทุกพรรค
ในวงการสื่อมวลชน หรือแม้แต่การเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน คนเดือนตุลากลายเป็นนักวิชาการชั้นแนวหน้า
หน้าที่และบทบาทของคนเดือนตุลาจึงกลายเป็นข้อต่อสำคัญอันหนึ่งระหว่างภาครัฐ
ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนชั้นล่าง กลายเป็นเครือข่ายทางสังคม ที่แม้อุดมการณ์จะไม่ชัดเจนแต่ก็รวมตัวอย่างหลวมๆ

·      ทำไมปีกซ้ายของคนเดือนตุลาจึงหยุดฝัน
หรือกลัวว่าจะเป็นแค่ฝันกลางวัน

ล่าสุดเสกสรรค์
ประเสริฐกุลอดีตผู้นำนักศึกษายุค
14 ตุลา
พูดในงานรำลึก
40 ปี 14 ตุลา ณ หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์
อ้างความห่วงใยเรื่องคนจน เรื่องช่องว่างทางชนชั้น การเกิดของชนชั้นใหม่อย่างที่นักวิชาการหลายคนเคยพูดมาแล้ว  และมาประกาศยอมรับสนับสนุนคนเสื้อแดง
และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจนได้เสียงปรบมือเกรียวกราวเพราะคนฟังไม่คาดว่าจะออกจากปากของเขาที่เงียบงันมานาน
แต่สรุปท้ายปาฐกถาว่าเขายังคงย้ำว่า “ยังไงเราก็ต้องอยู่กับระบบเสรีนิยมและรักษาระบบนี้ไว้….”  ยิ่งกว่านั้นเรื่องแตะต้องโครงสร้างหรือสถาบันไม่ควรทำ
นั่นหมายความว่าความใฝ่ฝันถึงสังคมใหม่ไม่ต้องไปคิดถึง


ขณะที่นักวิชาการฝ่ายซ้ายอย่างใจ
อึ๊งภากรณ์กล่าวไว้ว่า “ สังคมนิยมเป็นประชาธิปไตยที่กว้างกว่าระบบปัจจุบัน
เพราะเรื่องของการผลิตทรัพยากรและทรัพย์สินต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นมาโดยคนส่วนใหญ่
นอกจากนี้การใช้มูลค่าส่วนเกินในการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต
ก็มาจากปรึกษาหารือกันในลักษณะประชาธิปไตย ฉะนั้นด้วยแนวคิดแบบสังคมนิยม
เราสามารถจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและอำนาจได้
รวมไปถึงปัญหาเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย เช่น การกดขี่ผู้หญิง
พวกรักร่วมเพศ หรือชนกลุ่มน้อย เป็นต้น”
เช่นนี้แล้วทำไมอดีตนักกิจกรรม
14
ตุลาเหล่านี้จึงไม่ตั้งเป้าสังคมไทยให้ก้าวไกลไปถึงสังคมนิยม
ทำไมหยุดฝัน หรือกลัวว่าจะเป็นแค่ฝันกลางวัน

คนเดือนตุลาส่วนข้างมากหรือเกือบร้อยละเก้าสิบคิดว่าสังคมนิยมล้มเหลวไปหมดแล้ว
ตายไปพร้อมกับการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินเมื่อปี
2532  ก่อนอื่นต้องมาวิเคราะห์ประเทศที่ล้มไปใช่สังคมนิยมหรือไม่?  รัฐสังคมนิยมจำนวนมากไม่ใช่สังคมนิยมจริง มันคือทุนนิยมโดยรัฐหรือเป็นเผด็จการ
ฉะนั้นเมื่อระบอบสังคมนิยมจอมปลอมล้มเหลวไปก็เป็นเรื่องน่ายินดี ทุนนิยมโดยรัฐกับสังคมนิยมแตกต่างกันอย่างไร? ทุนนิยมโดยรัฐเป็นระบบที่เกิดขึ้นจากปัญหาในช่วงการปฏิวัติรัสเซียประมาณปี
1925-1927
ผู้ชนะคือฝ่ายของสตาลินซึ่งต้องการสร้างประเทศรัสเซียให้กลับขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอีกครั้ง
ทั้งนี้โดยการกดขี่ประชาชนของตน ระบบดังกล่าวถูกถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆกัน
ผ่านความคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมโดยรัฐไม่ได้แตกต่างจากระบบทุนนิยมตลาดเสรีสักเท่าไร
ในลักษณะที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนในการกำหนดอะไรมากมาย
ทั้งยังถูกขูดรีดในบางครั้ง ทุนนิยมโดยรัฐจึงแย่กว่าทุนนิยมตลาดเสรีด้วยซ้ำ
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจในการกำหนดอนาคต
และสังคมก็ไม่ใช่สังคมที่สร้างขึ้นมาเพื่อคนส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำลายความเหลื่อมล้ำ
ไม่ได้สร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับประชาชน ฉะนั้นทุนนิยมโดยรัฐจึงแตกต่างจากสังคมนิยมมาก

·      มีความพยายามที่จะสร้างสังคมนิยมเพื่อโลกใบใหม่ตลอดเวลา

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ความพยายามสร้างสังคมนิยมปรากฏให้เห็นตั้งแต่ก่อนปี 1917 ในรัสเซีย
จากนั้นเป็นต้นมาการต่อสู้ก็เกิดขึ้นทั่วโลก มีทั้งช่วงที่ลุกสู้และช่วงที่ซบเซา
ช่วงที่ลุกสู้ของบ้านเราก็เช่นในช่วง 14 ตุลา 2516 จากนั้นก็ซบเซาไปหลังจากถูกปราบปรามอย่างหนักในเหตุการณ์
6
ตุลา 2519  รัฐไทยฉวยโอกาสที่กระบวนการนักศึกษาอ่อนแอ และนักสังคมนิยมถูกปราบปราม
มากล่อมเกลาให้เยาวชนรุ่นต่อมาลุ่มหลงกับประวัติศาสตร์ที่บิดเบือนหรือ ปกปิด เกิดผลผลิตคนรุ่นใหม่ที่รักเจ้า
เชิดชูอำนาจนิยม แม้กระทั่งเชียร์การทำรัฐประหาร แต่ตอนนี้ทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงลุกขึ้นสู้อีกครั้ง
ในตูนีเซีย ตุรกี อียิปต์…การฟื้นตัวของกระบวนการแรงงานในหลายๆ ประเทศ
รวมทั้งการฟื้นฟูแนวคิดสังคมนิยมในหลายๆ ประเทศ  

พลังสำคัญคือกระแสของคนหนุ่มสาว
หรือกระแสที่ต้องการจะสร้างโลกใบใหม่ที่ปราศจากสิ่งที่ชั่วร้าย จากโลกในอดีตและปัจจุบัน
ขณะที่คนเดือนตุลาหลายคนอย่าง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ชอบบ่นว่าหนุ่มสาวไทยไม่สนใจสังคม
เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยตั้งแต่ยุคหลัง 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา เหตุการณ์ 14
ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ที่สลับซับซ้อน
กระแสสังคมนิยมซึ่งต้องจบลงด้วยการนองเลือดในสมัย 6 ตุลา2519 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย
กระแสการต่อสู้ยุคนั้นจึงจบลง แต่กระแสดังกล่าวไม่ได้หายไป ยังขึ้นๆ ลงๆ อยู่
และกระแสการต่อสู้ดังกล่าวไม่ได้เกิดแค่ในประเทศไทยเท่านั้น
มันมีตัวอย่างเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก อย่างตอนที่มีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ในเม็กซิโก อาร์เจนตินา หรือประเทศอื่นๆ ก็มีเหตุการณ์คล้ายๆกัน
แต่เมื่อกำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทำลายไป คล้ายกับว่ายุคแห่งการต่อสู้ได้ปิดฉากลงแล้ว
แต่จริงๆไม่ใช่เลย การต่อสู้มีขึ้นมีลง ในประเทศไทยเองก็มีการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือกรรมกร รู้สึกไม่พอใจในระดับหนึ่ง แต่ความไม่พอใจดังกล่าวไม่ได้ออกมาในรูปแบบของการนัดหยุดงานหรือประท้วงอย่างที่เราเห็นสมัยหลัง
14 ตุลา กระแสการต่อสู้จึงอาจไม่ชัดเจน


การประท้วงการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 และคนเสื้อแดงในเวลาต่อมา เป็นการประท้วงที่มีความหลากหลาย มาจากหลายฝ่าย หลายวัย และหลายประเภท  องค์กรสังคมนิยมหรือกลุ่มพรรคต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก
กำลังถูกท้าทาย บางกลุ่มเปิดกว้าง ฟัง และร่วมมือกับคนอื่นได้
การใช้แนวสังคมนิยมมาร์คซิสต์ต้องไม่ปิดกั้น
กล่าวคือมีวิธีการที่จะจัดการกับปัญหาในโลกนี้หลายแบบ และโลกก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 
40 ปี ของเหตุการณ์
14
ตุลา ผ่านมาแล้ว
ต้องรีบปสรุปบทเรียนและก้าวเดินต่อไปโอกาสการทำงานกับมวลชนคนเสื้อแดงกำลังท้าทายฝ่ายซ้ายไทย