พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรครูปแบบเก่าที่ใช้ระบบอุปถัมภ์
ใจ อึ๊งภากรณ์
เป็นเรื่องตลกร้ายที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยว่าบิดเบือนประชาธิปไตยและซื้อเสียงเพื่อครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา
เพราะถ้าดูตัวเลขการลงคะแนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ในรอบ 20
ปีที่ผ่านมาพรรคนี้ไม่เคยได้มากกว่า 1/3 ของคะแนนทั้งหมดทั่วประเทศ
และสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าการตั้งพรรคไทยรักไทย
เพราะถ้าดูตัวเลขการลงคะแนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ในรอบ 20
ปีที่ผ่านมาพรรคนี้ไม่เคยได้มากกว่า 1/3 ของคะแนนทั้งหมดทั่วประเทศ
และสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าการตั้งพรรคไทยรักไทย
แน่นอนไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่าในระบบการเลือกตั้งของไทยไม่มีการแจกเงินโดยทุกพรรค
แต่ผลการวิจัยภาคสนามของอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ และของอาจารย์ แอนดรู วอล์คา
จากออสเตรเลีย
ทำให้เราเข้าใจว่าในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังการสร้างพรรคไทยรักไทย ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคผ่านการพิจารณานโยบาย
มากกว่าที่จะเลือกตามความเชื่อว่าต้อง “ระลึกถึงบุญคุณ” ของผู้แจกเงิน
แต่ผลการวิจัยภาคสนามของอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ และของอาจารย์ แอนดรู วอล์คา
จากออสเตรเลีย
ทำให้เราเข้าใจว่าในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังการสร้างพรรคไทยรักไทย ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคผ่านการพิจารณานโยบาย
มากกว่าที่จะเลือกตามความเชื่อว่าต้อง “ระลึกถึงบุญคุณ” ของผู้แจกเงิน
ในระบบการเมืองแบบเก่า
ก่อนไทยรักไทย มักจะมี “ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ซึ่งครองเสียงในจังหวัดหนึ่ง
และชนะการเลือกตั้งเสมอ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นเหล่านี้ อาศัยระบบ
“อุปถัมภ์ทางการเมือง” เพื่อให้ประโยชน์กับประชาชนผู้ที่สนับสนุนเขา ซึ่งการเลือกนักการเมืองในรูปแบบนี้อาจกล่าวหลวมๆ
ได้ว่าเป็นการเลือกผ่านการพิจารณานโยบายและผลประโยชน์เฉพาะหน้าก็ได้
แต่มันผสมกับการ “ระลึกถึงบุญคุณ” ของผู้มีอิทธิพลด้วย
ก่อนไทยรักไทย มักจะมี “ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ซึ่งครองเสียงในจังหวัดหนึ่ง
และชนะการเลือกตั้งเสมอ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นเหล่านี้ อาศัยระบบ
“อุปถัมภ์ทางการเมือง” เพื่อให้ประโยชน์กับประชาชนผู้ที่สนับสนุนเขา ซึ่งการเลือกนักการเมืองในรูปแบบนี้อาจกล่าวหลวมๆ
ได้ว่าเป็นการเลือกผ่านการพิจารณานโยบายและผลประโยชน์เฉพาะหน้าก็ได้
แต่มันผสมกับการ “ระลึกถึงบุญคุณ” ของผู้มีอิทธิพลด้วย
ตัวอย่างของ
“ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ได้แก่ บรรหาร ศิลปอาชา, เสนาะ เทียนทอง, เฉลิม อยู่บำรุง และสุเทพ
เทือกสุบรรณ เป็นต้น แต่มีอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยถึง
“ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ได้แก่ บรรหาร ศิลปอาชา, เสนาะ เทียนทอง, เฉลิม อยู่บำรุง และสุเทพ
เทือกสุบรรณ เป็นต้น แต่มีอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยถึง
ลักษณะสำคัญของการเมืองแบบ
“ระบบอุปถัมภ์” ที่ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นใช้เสมอ
คือการดึงงบประมาณมาให้ประโยชน์กับพรรคพวกของตนเอง เพื่อสร้างฐานสนับสนุน
แต่ประเด็นสำคัญสองประเด็นเป็นเรื่องที่เราควรพิจารณาคือ ในประการแรก
ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นไม่สามารถสร้างฐานเสียงทั่วประเทศได้
เพราะการอุปถัมภ์พรรคพวกทั่วประเทศเป็นไปไม่ได้
หลายคนเข้าใจผิดว่าการที่พรรคการเมืองเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ
เป็น “การอุปถัมภ์” แต่มันไม่ใช่ มันเป็นการเสนอนโยบายระดับชาติในระบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ต่างหาก
ซึ่งพบในตะวันตก นโยบายระดับชาติเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วประเทศได้
ไม่ว่าจะเลือกพรรครัฐบาลหรือไม่ มันต่างจากการอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ
เช่นการให้ตำแหน่งงาน หรือการให้สัมปทานกับเพื่อนๆ หรือลูกน้อง เป็นต้น
“ระบบอุปถัมภ์” ที่ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นใช้เสมอ
คือการดึงงบประมาณมาให้ประโยชน์กับพรรคพวกของตนเอง เพื่อสร้างฐานสนับสนุน
แต่ประเด็นสำคัญสองประเด็นเป็นเรื่องที่เราควรพิจารณาคือ ในประการแรก
ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นไม่สามารถสร้างฐานเสียงทั่วประเทศได้
เพราะการอุปถัมภ์พรรคพวกทั่วประเทศเป็นไปไม่ได้
หลายคนเข้าใจผิดว่าการที่พรรคการเมืองเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ
เป็น “การอุปถัมภ์” แต่มันไม่ใช่ มันเป็นการเสนอนโยบายระดับชาติในระบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ต่างหาก
ซึ่งพบในตะวันตก นโยบายระดับชาติเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วประเทศได้
ไม่ว่าจะเลือกพรรครัฐบาลหรือไม่ มันต่างจากการอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ
เช่นการให้ตำแหน่งงาน หรือการให้สัมปทานกับเพื่อนๆ หรือลูกน้อง เป็นต้น
ในประการที่สอง
ระบบการเมืองแบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่ไม่มีการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
และมักขาดลัทธิทางการเมืองประกอบด้วย
ระบบการเมืองแบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่ไม่มีการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
และมักขาดลัทธิทางการเมืองประกอบด้วย
ในกรณีพรรคไทยรักไทยหรือพรรคเพื่อไทย
อิทธิพลของการเมืองอุปถัมภ์ถูกลดความสำคัญลงเป็นอย่างมาก
เพราะมีการเสนอนโยบายระดับชาติที่เป็นรูปธรรม เช่น การประกันสุขภาพถ้วนหน้า
และการสร้างงานในชนบท และนโยบายดังกล่าวมีฐานทฤษฏีรองรับอีกด้วย
คือความคิดเรื่องเศรษฐกิจคู่ขนาน หรือการใช้กลไกตลาดเสรีในระดับสากล
บวกกับการใช้งบประมาณรัฐในระดับรากหญ้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
อิทธิพลของการเมืองอุปถัมภ์ถูกลดความสำคัญลงเป็นอย่างมาก
เพราะมีการเสนอนโยบายระดับชาติที่เป็นรูปธรรม เช่น การประกันสุขภาพถ้วนหน้า
และการสร้างงานในชนบท และนโยบายดังกล่าวมีฐานทฤษฏีรองรับอีกด้วย
คือความคิดเรื่องเศรษฐกิจคู่ขนาน หรือการใช้กลไกตลาดเสรีในระดับสากล
บวกกับการใช้งบประมาณรัฐในระดับรากหญ้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
แต่ในกรณีพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้
คะแนนเสียงของพรรคมาจากระบบอุปถัมภ์ของผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ
อิทธิพลของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยที่ตระกูลเทือกสุบรรณพยายามคุมอำนาจในท้องถิ่นมานาน และคนในครอบครัวเป็น สส.
หลายคนด้วย ในขณะเดียวกัน สุเทพ เทือกสุบรรณ
ไม่สามารถและไม่เคยเสนอนโยบายที่ครองใจประชาชนนอกพื้นที่ได้เลย เขาเป็นตัวอย่างของนักการเมืองแบบเก่า
หรือนักการเมือง “ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ที่ชัดเจนมาก และพรรคประชาธิปัตย์ระดับชาติ
ก็ได้แต่วิจารณ์นโยบายต่างๆ ของไทยรักไทย หรือเพื่อไทย เพื่อแช่แข็งประเทศเท่านั้น
คะแนนเสียงของพรรคมาจากระบบอุปถัมภ์ของผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ
อิทธิพลของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยที่ตระกูลเทือกสุบรรณพยายามคุมอำนาจในท้องถิ่นมานาน และคนในครอบครัวเป็น สส.
หลายคนด้วย ในขณะเดียวกัน สุเทพ เทือกสุบรรณ
ไม่สามารถและไม่เคยเสนอนโยบายที่ครองใจประชาชนนอกพื้นที่ได้เลย เขาเป็นตัวอย่างของนักการเมืองแบบเก่า
หรือนักการเมือง “ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น” ที่ชัดเจนมาก และพรรคประชาธิปัตย์ระดับชาติ
ก็ได้แต่วิจารณ์นโยบายต่างๆ ของไทยรักไทย หรือเพื่อไทย เพื่อแช่แข็งประเทศเท่านั้น
ความเหนือชั้นของไทยรักไทย
หรือเพื่อไทย ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เขาทำมันดีเลิศ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ไทยรักไทย สอบตกในภาคใต้และสงครามยาเสพติด และในเรื่อง 112 และการนิรโทษกรรมฆาตกร
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็สอบตกเช่นกัน
หรือเพื่อไทย ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เขาทำมันดีเลิศ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ไทยรักไทย สอบตกในภาคใต้และสงครามยาเสพติด และในเรื่อง 112 และการนิรโทษกรรมฆาตกร
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็สอบตกเช่นกัน
พรรคประชาธิปัตย์เป็นเสมือนนกสองหัว
เพราะในภาคใต้อาศัยระบบการเมืองอุปถัมภ์ล้วนๆ แต่ในกรุงเทพฯ
ได้คะแนนเสียงจากคนชั้นกลางอนุรักษ์นิยม
โดยที่คนชั้นกลางเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในระบบอุปถัมภ์ของพรรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
คนอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งๆ ที่จบนอกมาและพูดภาษาอังกฤษเก่ง
แต่เขาก็เป็นนักการเมืองหัวเก่าที่พึ่งพิงทหารเผด็จการและชนชั้นปกครองเก่าเท่านั้น
และที่สำคัญคือเขาคัดค้านนโยบายที่พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่
เพื่อปกป้องผลประโยชน์คนรวย
เพราะในภาคใต้อาศัยระบบการเมืองอุปถัมภ์ล้วนๆ แต่ในกรุงเทพฯ
ได้คะแนนเสียงจากคนชั้นกลางอนุรักษ์นิยม
โดยที่คนชั้นกลางเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในระบบอุปถัมภ์ของพรรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
คนอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งๆ ที่จบนอกมาและพูดภาษาอังกฤษเก่ง
แต่เขาก็เป็นนักการเมืองหัวเก่าที่พึ่งพิงทหารเผด็จการและชนชั้นปกครองเก่าเท่านั้น
และที่สำคัญคือเขาคัดค้านนโยบายที่พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่
เพื่อปกป้องผลประโยชน์คนรวย
การที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองแบบเก่า
ที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ในภาคใต้ และฐานเสียงของชนชั้นกลางบางส่วนในกรุงเทพฯ
เป็นสาเหตุที่พรรคนี้ไม่สามารถครองใจคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้
นี่คือสาเหตุที่เขาเกลียดชังระบบ “หนึ่งคน หนึ่งเสียง”
ที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ในภาคใต้ และฐานเสียงของชนชั้นกลางบางส่วนในกรุงเทพฯ
เป็นสาเหตุที่พรรคนี้ไม่สามารถครองใจคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้
นี่คือสาเหตุที่เขาเกลียดชังระบบ “หนึ่งคน หนึ่งเสียง”