หยุดปลายปีนี้ มาฟังดนตรีของ เบทโฮเฟิน ดีกว่า

หยุดปลายปีนี้ มาฟังดนตรีของ เบทโฮเฟิน ดีกว่า
สิ่งแรกที่เราควรรู้เกี่ยวกับดนตรีของ ลุดวิจ ฟาน เบทโฮเฟิน
คือเวลาเปิดฟัง ต้องเปิดดังๆ เพราะ เบทโฮเฟิน เป็นศิลปินร้อนแรงที่ต้องการเห็นสังคมใหม่
เขาเกลียดชังพวกเจ้าขุนนางศักดินา และมองพวกนี้ว่าเป็นกาฝากของสังคมที่ต้องถูกกวาดล้างไปจากสังคม


ซิมโฟนี แรกของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันคนนี้
ที่เราแนะนำให้ท่านฟังคือ ซิมโฟนีที่ สาม ซึ่งแต่งขึ้นในปี 1804 ขณะที่กองทัพของ นโปเลียน
กำลังกวาดล้างเจ้าขุนนางเก่าจากประเทศต่างๆ ในยุโรปและเผยแพร่แนวคิดสาธารณะรัฐจากการปฏิวัติฝรั่งเศส
เชิญฟังได้ที่นี่
เวลาฟังชิ้นนี้ควรนึกภาพการกวาดล้างพวกอำมาตย์หัวเก่าออกไปจากสังคม
ตอนกลางๆ ของซิมโฟนีมีดนตรีที่ชวนให้เรานึกถึงงานศพของสังคมเก่าด้วย ตอนที่งานชิ้นนี้ออกมาใหม่ๆ
พวกอนุรักษ์นิยมหัวเก่าไม่ชอบ เพราะไม่เข้าใจดนตรีสมัยใหม่ของเบทโฮเฟิน
และกลัวว่ามัน “รุนแรง” เกินไป เขาอาจกลัวตำแหน่งของตนเองในสังคมไปด้วย
ตอนจบของซิมโฟนี เราจะได้ยินชัยชนะของ นโปเลียน

อย่างไรก็ตาม เบทโฮเฟิน ไม่ใช่นักวิเคราะห์ทางการเมือง
และเขาไปฝากความหวังกับ นโปเลียน แล้วต้องผิดหวังโกรธแค้นเมื่อ นโปเลียน ตั้งตัวเองขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ์

ซิมโฟนีชิ้นที่สองที่เราแนะนำคือ ซิมโฟนีที่เก้า
ชิ้นสุดท้ายของ เบทโฮเฟิน ที่แต่งขึ้นตอนเขาหูหนวก ดังนั้นเขาต้องจินตนาการโน๊ตเพลงสำหรับดนตรีชิ้นนี้
ซิมโฟนีเก้าเป็นชิ้นสุดยอดของเขาที่แต่งขึ้นมาเชิดชูความเป็นมนุษย์
แทนที่จะเชิดชูพระเจ้า ศาสนา และขุนนาง อย่างที่ศิลปินก่อนหน้านี้มักทำ
เชิญฟังได้ที่นี่
เวลาฟังชิ้นนี้อยากให้นึกถึงความขัดแย้งและการต่อสู้
เพื่อได้มาซึ่งมนุษย์ที่พัฒนาเต็มที่ ถ้าเป็นมาร์คซิสต์เราอาจมองว่ามนุษย์สมัยใหม่เกิดท่ามกลางความขัดแย้งในเชิงวิภาษวิธี
ดนตรีมันทั้งร้อนแรงและงดงามด้วย ความงดงามปรากฏในส่วนที่ดนตรีช้าลงตอนกลาง
เสมือนกับว่า เบทโฮเฟิน มองว่าธรรมชาติ
และมนุษย์ที่เกิดจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยที่สุด
ในตอนท้ายมีเสียงร้องจากมนุษย์เกิดขึ้นเพื่อเชิดชูความเป็นคนและความสุขความสมานฉันท์
นี่คือสิ่งที่ควรเป็นแรงบันดาลใจในการต่อสู้กับพวกที่มองประชาชนส่วนใหญ่ว่าโง่หรือเป็นแค่ฝุ่นใต้ตีน


งานของนักประพันธ์เพลงชาวตะวันตกในยุคนั้นก้าวหน้าไปไกลกว่าส่วนอื่นของโลก
เพราะระบบทุนนิยมเริ่มพัฒนาขึ้น มีการแต่งเพลงโดยเขียนโน๊ตเพลงลงบนกระดาษ
แทนที่นักดนตรีจะต้องท่องจำ การเขียนโน๊ตแบบนี้ทำให้สามารถจัดวงดนตรีใหญ่ๆ ที่แต่ละคนเล่นโน๊ตสลับซับซ้อนที่แตกต่างกัน
เพื่อประสานเสียงเข้ากันได้
และการจ้างนักดนตรีจำนวนมากแบบนี้ก็ต้องอาศัยส่วนเกินจากการผลิตอันมีพลังในระบบทุนนิยมด้วย

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s