วิกฤตยูเครนคงไม่จบง่ายๆ

วิกฤตยูเครนคงไม่จบง่ายๆ
หลังจากที่ประธานาธิบดี แยนูโควิช
ถูกรัฐสภาปลดออกจากตำแหน่ง และหลบหนีออกจากเมืองหลวง นักการเมืองฝ่ายค้านก็พยายามสร้างรัฐบาลใหม่
แต่ฝ่ายค้านมีความคิดหลากหลายและแตกแยก ที่พอตกลงกันได้คือไม่เอารัฐบาลเก่าและ ประธานาธิบดี
แยนูโควิช
    
แยนูโควิช ต้องลาออกหลังจากที่พวกนักการเมืองมาเฟียที่เคยสนับสนุนเขา
มองว่าเขาเป็นภาระ เลยต้องทิ้งให้เป็นแพะรับบาปไป ความพยายาม และความล้มเหลว ของ แยนูโควิช
ที่จะปราบมวลชนในจัตุรัสกลางเมืองด้วยความรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญ
    
ความแตกแยกในยูเครน มาจากการที่ฝ่ายค้านอยากเข้าใกล้ประชาคมยุโรปหรือ “อียู”
โดยฝ่ายรัฐบาลอยากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียแทน
มหาอำนาจตะวันตกก็คอยสนับสนุนฝ่ายค้าน และประธานาธิบดี ปูติน ของรัสเซียก็เคยสนับสนุน
แยนูโควิช การเมืองภายในยูแครนมีอิทธิพลของพวกนายทุนมาเฟียอีกด้วย
    
ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียด
และเป็นพื้นที่ที่ถูกกดขี่อย่างหนักสมัยสตาลิน ยูเครนมีสินค้าเกษตรมากมาย
ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัสเซียสมัยสตาลิน
    
จริงๆ แล้วยูเครนมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ทางด้านตะวันตกเคยเป็นประเทศเดียวกับโปแลนด์และออสเตรีย
ทางด้านตะวันออกมีคนเชื้อสายรัสเซียจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้นเมืองหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นฐานทัพเรือสำคัญของรัสเซียจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นยูเครนอาจแตกแยกเป็นสองประเทศในอนาคต
    
รัสเซียคงอยากปกป้องอิทธิพลในยูเครน โดยเฉพาะในส่วนตะวันออก
และอาวุธที่สำคัญในการกดดันนักการเมืองยูเครน นอกจากกองทัพแล้ว
คือการที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ป้อนยูโรปรวมถึงยูเครน
ถ้ามีการขึ้นราคาก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจยูเครนที่อ่อนแอและติดหนี้มหาศาลอยู่แล้ว

    
การที่นักการเมืองในรัฐบาลใหม่หันไปขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากอียูและไอเอ็มเอฟ
อาจสร้างวิกฤตรอบใหม่ เพราะไอเอ็มเอฟแจ้งว่าถ้าจะปล่อยกู้ให้ยูเครน
ต้องมีการตัดเงินที่รัฐใช้ในการช่วยประชาชน
ซึ่งคาดว่าจะทำให้เชื้อเพลิงแพงขึ้นเท่าตัว
และสร้างความโกรธแค้นไม่พอใจในหมู่ประชาชนซึ่งยังชุมนุมกันที่จัตุรัสเพื่อตรวจสอบรัฐบาลใหม่
ในขณะเดียวกันกองกำลังฟาสซิสต์ก็ระดมคนบนท้องถนน
เราคงต้องจับตาดูบทบาทของขบวนการแรงงานในอนาคตด้วย

นักศึกษา

“นักศึกษา”
โดยลั่นทมขาว
หลายคนสงสัยว่านักศึกษาเป็นคนชนชั้นอะไร
หรือเป็นชนชั้นพิเศษในตัวเองหรือไม่ ถ้าเรามองว่านิยามของ “ชนชั้น”
อาศัยการพิจารณา “ความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อระบบการผลิต” เราจะเห็นว่านักศึกษาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับระบบการทำงานในทุนนิยม
นอกจากกรณีนักศึกษารามคำแหงที่ทำงานไปพร้อมกับการเรียนหนังสือ
เราต้องนิยามนักศึกษาโดยทั่วไปว่าอยู่ในขั้นตอนการ “เตรียม” เป็นผู้ใหญ่ หรือ
“เตรียม” เข้าสู่สังคม ดังนั้นนักศึกษาส่วนใหญ่ถือว่าเป็น “เตรียมกรรมาชีพ”
เพราะพอเรียนจบไปแล้วก็จะออกไปทำงานเป็นลูกจ้าง อาจเป็นคนงานโรงงาน
อาจเป็นพนักงานขายของในห่าง อาจเป็นคนขับรถไฟ รถเมล์ หรือรถบรรทุก
อาจเป็นข้าราชการในสำนักงาน อาจเป็นพนักงานในออฟฟิส อาจเป็นลูกจ้างธนาคาร
อาจเป็นทนาย หรืออาจเป็นครูบาอาจารย์ พยาบาล หรือแพทย์….
ซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกรรมาชีพในสังคมสมัยใหม่ทั้งสิ้น
     นอกจากนี้นักศึกษาบางคนอาจเป็น
“เตรียมนายทุน” หรือ “เตรียมเกษตรกร” แล้วแต่ว่าเรียนเสร็จแล้วไปประกอบอาชีพอะไร

     ในขณะเดียวกัน ก่อนที่จะออกไปทำงาน
นักศึกษาเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวด้วย
ซึ่งมีการแบ่งชนชั้นตามอาชีพของผู้ใหญ่ในครอบครัว
     บ่อยครั้งในช่วงนี้ มักจะมีผู้ใหญ่
โดยเฉพาะคนเดือนตุลา ที่ตอนนี้อายุราวๆ 60 ปี และเคยเป็นนักศึกษาในเหตุการณ์ ๑๔
ตุลา ๒๕๑๖ หรือ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ และอาจเคยเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์
ชอบออกมาพูดว่า “นักศึกษาหายไปไหน
ไม่เห็นสนใจปัญหาการเมืองและสังคมเหมือนรุ่นเราเลย”
    
นักศึกษารุ่นนี้ไม่ต้องละอายใจแม้แต่นิดเดียวกับคำพูดของคนอายุสูงที่หมดสภาพแบบนี้
เพราะจิตสำนึกและการต่อสู้ของคน มันขึ้นลงตามกระแส และตามสถานการณ์ทางการเมืองเสมอ
นอกจากนี้ถ้าท่านผู้อ่านเป็นนักศึกษา และกำลังอ่านบทความใน นสพ. สังคมนิยมอย่าง
“เลี้ยวซ้าย” เราคงต้องสรุปว่าท่านสนใจการเมืองและสังคมพอสมควร
ยิ่งกว่านั้นอดีตนักศึกษายุคตุลาหลายคน เช่นธีรยุทธ์ บุญมี และคนอื่น
ตอนนี้กลายเป็นพวกปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย
     ในยุค ๑๔ ตุลา สังคมทั่วโลกมีลักษณะ
“แช่แข็ง” ทางการเมืองและโครงสร้างอำนาจในสังคม ในขณะที่เศรษฐกิจพัฒนาไปไกล
ซึ่งทำให้สภาพสังคมในระดับพื้นฐานเปลี่ยนไปมาก
คนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาไม่พอใจกับสภาพการแช่แข็งแบบนี้
และคนงานกรรมาชีพก็ไม่พอใจด้วย เพราะพวกคนรวยรวยขึ้น
ในขณะที่เงินเดือนและสภาพการทำงานของคนธรรมดาไม่เปลี่ยน นอกจากนี้ สตรี คนผิวดำ
และคนรักเพศเดียวกัน เริ่มมองว่าการเลือกปฏิบัติและสังคมจารีตที่กดทับเขา
เป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยน และที่สำคัญมากๆ คือในประเทศที่เคยถูกเจ้าอาณานิคมยึดครอง
ในเอเชียและอัฟริกา เริ่มมีขบวนการกู้ชาติเกิดขึ้น ซึ่งให้กำลังใจกับผู้กบฏทั่วโลก
ตัวอย่างที่สำคัญคือการต่อสู้ของขบวนการชาตินิยมในเวียดนาม
ดังนั้นเราเห็นการต่อสู้ระเบิดขึ้นในฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี่ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
และไทย และนักศึกษามีส่วนสำคัญ
    
นักศึกษาเป็นกลุ่มคนที่ไฟแรงเพราะเป็นหนุ่มสาว แต่จะใช้ไฟไปในด้านไหน
ไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ อาจกระตือรือร้นในการแต่งกาย ติดตามดนตรี ใช้อินเตอร์เน็ด
หรืออาจกระตือรือร้นในเรื่องการเมืองก็ได้ นอกจากนี้นักศึกษามีโอกาสตั้งวงคุยกัน
และมีโอกาสอ่านหนังสือ และสำรวจความคิดต่างๆ ในโลก
เพราะยังไม่ต้องออกไปทำงานภายใต้กฏข้อบังคับของนายจ้าง ที่จะทำให้ลูกจ้างเหนื่อย
หมดแรง และเมื่อกลับถึงบ้านแค่อยากพักผ่อน
นี่คือสาเหตุที่นักสังคมนิยมให้ความสำคัญกับการปลุกระดมและการจัดตั้งนักศึกษาเสมอ
องค์กรไหนไม่ทำ ในที่สุดก็จะมีแค่สมาชิกเป็นคนแก่เท่านั้น
     แต่อย่าเข้าใจผิดว่าช่วง “ตุลา”
ในประวัติศาสตร์ไทยเป็นแค่เรื่องของนักศึกษา
เพราะตอนนั้นมีขบวนการแรงงานที่ออกมาต่อสู้
และที่สำคัญคือมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่คอยปลุกระดม ตั้งเครือข่าย
และจัดตั้งนักเคลื่อนไหวภายใต้ชุดความคิดที่จะเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้นสำหรับคนส่วนใหญ่
     ในยุคยี่สิบปีที่ผ่านมา คนที่เป็น
“นักกิจกรรม” ที่มีอิทธิพลต่อนักศึกษา ไม่ใช่คนก้าวหน้าแล้ว แต่กลายเป็นพวก
เอ็นจีโอ หรือพวก “พี่เผด็จการ” ที่พากลุ่มนักศึกษาไปจับมือกับ “พันธมิตรฯ”
เสื้อเหลือง ซึ่งเป็นพวกที่อยากหมุนนาฬิกากลับสู่ยุคเผด็จการ

     ดังนั้นในสภาพสังคมแบบนี้ เราต้องชื่นชม
และให้กำลังใจ กับคนหนุ่มสาวและนักศึกษาที่มีอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพ
และเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะเพื่อนๆ ของเราที่กระตือรือร้นที่จะตั้งคำถามยากๆ
กับผู้ใหญ่ในระบบการศึกษา แล้วโดนพวกผู้ใหญ่ปฏิกิริยาข่มขู่ 

รากฐานความรุนแรงคือชนชั้นปกครองไทย

รากฐานความรุนแรงคือชนชั้นปกครองไทย
ใจ อึ๊งภากรณ์
การปาระเบิดใส่ประชาชนหรือกราดยิงคนธรรมดา
ไม่ว่าเขาจะเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ เป็นเรื่องแย่
และเป็นสิ่งที่ไม่ก้าวหน้าและจะไม่นำไปสู่ประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพ การฆ่าเด็กก็เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด
   



    
เราไม่สามารถทราบว่าใครเป็นคนทำ
อาจเป็นฝ่ายเผด็จการที่ต้องการสร้างสถานการณ์เพื่อหวังรัฐประหาร
หรือเพื่อให้ยิ่งลักษณ์ลาออก
หรืออาจเป็นคนเสื้อแดงหัวรุนแรงที่รับไม่ได้กับความรุนแรงของม็อบสุเทพที่ลอยนวลเสมอ
    
แต่เราต้องมองภาพกว้าง เพราะเราจะเห็นว่าความรุนแรงในวิกฤตการเมืองรอบนี้
เริ่มเมื่อทหารนำอาวุธสงครามออกมาก่อรัฐประหารและล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในปี
๔๙ หลังจากนั้นรัฐบาลทหารของอภิสิทธิ์และนายพลอย่างประยุทธิ์
ก็ออกมาเข่นฆ่าเสื้อแดงเก้าสิบศพเพราะแค่เรียกร้องประชาธิปไตย และหนึ่งในนั้นเป็นเด็ก
หลังจากนั้นชนชั้นปกครองก็ถือหางม็อบสุเทพที่ก่อความรุนแรงต่อผู้ที่ต้องการไปเลือกตั้ง
มีการถือปืนสงครามบนท้องถนนอย่างโจ่งแจ้ง และมีการใช้ปืนเหล่านั้นกราดยิงประชาชนที่ต้องการไปเลือกตั้งด้วย
แต่ไม่มีใครถูกจับหรือถูกลงโทษ
    
พวกที่คอยเชียร์ทหารให้ทำรัฐประหาร สนับสนุนพันธมิตรฯ
เงียบเฉยต่อการเข่นฆ่าเสื้อแดง และสนับสนุนหรือกึ่งสนับสนุนม็อบอันธพาลของสุเทพ
ตอนนี้ออกมาโวยวายร้องไห้ด้วยน้ำตาเทียมเรื่องความรุนแรง แต่เขาเป็นคนช่วยเพาะเลี้ยงความรุนแรงในสังคมไทยแต่แรก
    
เราต้องไม่ลืมด้วยว่าในภาคใต้ ในแคว้นปาตานี มีการกราดยิงพลเรือนรวมถึงเด็ก
จนเสียชีวิตไปหลายราย
และเราคาดเดาได้ว่าบ่อยครั้งก็เป็นฝีมือของหน่วยรัฐที่ไม่แต่งเครื่องแบบหรืออาจพยายามป้ายสีขบวนการปลดแอกอีกด้วย
    
รัฐไทยก่ออาชญากรรมต่อประชาชนตั้งแต่ ๑๔ ตุลา, ๖ตุลา, พฤษภา ๓๕, ราชประสงค์
๕๓ และตากใบกับสงครามยาเสพติดสมัยทักษิณ ไม่มีใครเคยถูกลงโทษเลย
สรุปแล้วรัฐไทยสนับสนุนและสร้างบรรยากาศความรุนแรงทางการเมืองมาตลอด

    
ทางออกที่จะห้ามความรุนแรง คือการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยและการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
โดยการนำอาชญากรรัฐและคนใหญ่คนโตมาขึ้นศาลและลงโทษ เพราะถ้าไม่จัดการกับหัวหน้าโจร
การไปไล่จับลูกน้องโจรคงไม่มีผลอะไรเลยในการลดความรุนแรง

อย่าให้ ”สงครามกลางเมือง” กลายเป็นคำขู่ให้เรายอมจำนน

อย่าให้
”สงครามกลางเมือง” กลายเป็นคำขู่ให้เรายอมจำนน
ใจ อึ๊งภากรณ์
ช่วงนี้นักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ที่มองตัวเองว่าเป็นหลักผู้ใหญ่หรือคนดีในสังคม ต่างประโคมภัยของ
“สงครามกลางเมือง” แล้วนำความชอบธรรมจอมปลอมใส่ตัวเอง เพื่อเสนอให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและประนีประนอม
บางคนเสนอว่าควรมี “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” บางคนเสนอให้มี “รัฐบาลผสม”
ที่ประกอบไปด้วยฝ่ายสุเทพและเพื่อไทย
บางคนบอกว่าต้องมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อให้สถานการณ์สงบลง
และทุกคนพูดว่าต้องมี “การปฏิรูปการเมือง”
โดยไม่พูดถึงการปฏิรูปที่จะขยายพื้นที่ประชาธิปไตยแต่อย่างใด
เพราะมุ่งไปที่การกำจัดตระกูลเดียวในการเมืองไทย



     ถ้าจะหา “นายกรัฐมนตรีคนกลาง”
มาบริหารประเทศ คงต้องไปหาลาโง่จากคอกสัตว์มาดำรงตำแหน่ง เพราะ “คนกลาง”
คงต้องเป็นคนที่ไม่เข้าข้างประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ไม่เลือกฝ่ายเพื่อไทย
ประชาธิปัตย์ หรือทหาร และไม่มีความคิดทางการเมืองเลย
หรือถ้าไม่นำลาโง่มานั่งเก้าอี้นายก ก็คงต้องเอาคนจอมโกหกที่บอกว่าตนเอง
“เป็นกลาง” แต่เอียงเข้าข้างฝ่ายเผด็จการจนเกือบตกเก้าอี้
ตัวอย่างที่ดีคือพวกตุลาการ
     คนที่เสนอรัฐบาลผสม ยกตัวอย่างประเทศเยอรมัน
ที่มีรัฐบาลผสมระหว่างพรรคนายทุนกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย
แต่ผู้เสนอละเว้นที่จะบอกว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่ไม่มีพรรคไหนได้เสียงข้างมากในสภา
ซึ่งไม่ตรงกับกรณีไทยแต่อย่างใด รัฐบาลผสมในเยอรมันนำความหายนะมาสู่การเมืองของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยด้วย
เพราะพรรคนี้ถูกลากไปสนับสนุนนโยบายฝ่ายขวา และเสี่ยงกับการเสียคะแนนเสียงในอนาคต
จริงๆ ตัวอย่างจากเยอรมันที่มาจากข้ออ้างในการ “แก้วิกฤต” มีดีกว่านั้นคือ ในปี
1933 ประธานาธิบดี ฮินเดนเบอร์ค แต่งตั้งผู้นำจากพรรคที่ได้คะแนนเสียงส่วนน้อย
ให้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้นประชาธิปไตยเยอรมันก็ดับหายไปเพราะนายกรัฐมนตรีคนนั้นชื่อ ฮิตเลลอร์
    
ส่วนการเสนอว่านายกรัฐมนตรีไทยไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง “เพื่อแก้วิกฤต”
เป็นข้ออ้างของการเข้ามาของเผด็จการทหารและเผด็จการฟาสซิสต์ทั่วโลก
     เวลาพวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้หลักผู้ใหญ่คนดีในสังคม เสนอให้ปฏิรูปการเมือง
เราต้องอ่านตัวหนังสือตัวเล็กๆ ที่ตามมา ที่เขาไม่อยากให้เราพิจารณา
เพราะจะมีแต่มาตรการเพื่อลดเสียงของประชาชนส่วนใหญ่
และเพิ่มสิทธิพิเศษของพวกมันเองและชนชั้นกลางฟาสซิสต์ เพื่อกำจัดอิทธิพลของทักษิณเท่านั้น
ไม่มีอะไรอีก ไม่มีการเสนอการเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ
ไม่มีการเสนอให้ยกเลิก 112 ไม่มีการเสนอให้ปล่อยนักโทษการเมือง
ไม่มีการเสนอให้ปลดตุลาการลำเอียงและยกเลิกองค์กรที่ “อิสระ” จากประชาธิปไตย
ไม่มีข้อเสนออะไรทั้งสิ้นให้ลดบทบาททหารในการเมืองและสังคม
และไม่มีข้อเสนอเพื่อสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
โดยนำทหารและนักการเมืองที่ฆ่าประชาชนมาขึ้นศาล
     สรุปแล้วพวกนี้ล้วนแต่เป็นคนโกหกตอแหล ที่สร้างภาพว่า
“เป็นห่วงประเทศไทย” แต่ความจริงมันตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
     ประเด็นที่เราต้องนำมาอุดปากพวกนี้คือ ถ้าเกิดสงครามกลางเมืองในไทย
พวกเขานั้นเอง พวก
นักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ที่หลักผู้ใหญ่คนดีในสังคม
รวมถึงชนชั้นกลางรักเผด็จการ เป็นผู้สร้างเงื่อนไข ปลุกระดม ถือหาง และก่อกองไฟสนับสนุนให้เกิดสงครามกลางเมืองแต่แรก
     เพราะอะไร?
     เมื่อมีการก่อตัวของกลุ่มพันธมิตรฟาสซิสต์
ก่อนรัฐประหารปี ๒๕๔๙ พวกเขาไปร่วมชุมนุมและขึ้นเวทีพันธมิตรฯ
และมักจะสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยการวิจารณ์ “การซื้อเสียงของทักษิณ” และการด่านโยบาย
“ประชานิยม” ที่ช่วยคนจนว่าเป็นเรื่องที่จะทำให้ “บ้านเมืองพัง”
และที่แย่ที่สุดคือเขาเหล่านั้นพูดเป็นประจำว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เลือกไทยรักไทย
เป็นคนที่ขาดการศึกษา “เข้าไม่ถึงข้อมูล” และโง่
ประชาชนจึงไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
สำหรับพวกเอ็นจีโอที่มีความคิดแบบนี้ มันตลกร้ายยิ่งนัก เพราะพวกนี้เคยท่องคำขวัญ
“คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” แต่ตอนนั้นหันขวาท่องคำขวัญขอรัฐบาลพระราชทานแทน
     เราไม่ควรลืมว่าพวกนี้เกือบทั้งหมด เคยหลงใหลเชียร์ทักษิณ
ในขณะที่ชาวสังคมนิยมเตือนตลอดว่าพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคของนายทุนใหญ่เพื่อประโยชน์นายทุน
     ถ้าพูดถึง เอ็นจีโอ
อีเรื่องที่ต้องเข้าใจคือ แกนนำส่วนใหญ่เคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์สาย
“สตาลินเหมา” ที่ไม่เคยมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย
     ในขณะที่พวกนั้นยกเรื่องการซื้อเสียงมาพูด
ไม่มีใครยอมรับว่านโยบายรูปธรรมของไทยรักไทยมีผลในการลดการซื้อเสียง ซึ่งต่างจากพรรคที่ไม่มีนโยบายเลย
เช่นประชาธิปัตย์ ในขณะที่เขาวิจารณ์นโยบายที่ช่วยคนจน
ไม่มีใครพูดถึงการใช้เงินรัฐมหาศาลที่มาจากภาษีประชาชน เพื่ออุดหนุนทหาร ในขณะที่เขาพูดถึงการโกงกิน
ก็พูดด้านเดียวเสมอ เงียบเฉยกับการคอร์รับชั่นของนักการเมืองทุกฝ่าย และของทหาร
     พวกนั้นมีการโกหกว่ารัฐบาลไทยรักไทยใช้
“นโยบายเศรษฐกิจทักษิณ”
(Taksinomics) ทั้งๆ ที่ไทยรักไทยใช้นโยบายคู่ขนาน คือแนวกลไกตลาดเสรี
บวกกับเศรษฐกิจแนว “เคนส์” รากหญ้า การพูดแบบนี้ก็เพื่อสร้างภาพว่าไทยรักไทยเป็น
“กรณีเลวร้ายพิเศษ”
     พวกนั้นมีการโกหกว่าการที่พรรคหนึ่งมีเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา
ซึ่งเป็นเรื่องปกติในประชาธิปไตยสากล เป็น “เผด็จการรัฐสภา”
เพื่อปูทางไปสู่รัฐประหาร เหมือนกับว่ามันไม่ใช่เผด็จการ หรือเป็นการ
“กำจัดเผด็จการ”
    
ตลอดเวลาที่มีการวิจารณ์ทักษิณในหมู่เสื้อเหลือง
ไม่มีใครวิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเลวร้ายของทักษิณในสงครามยาเสพติด
และที่ตากใบ
พวกนักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้หลักผู้ใหญ่คนดี ไม่ได้สนใจสิทธิมนุษยชน
และไม่มีวันสนับสนุนเสรีภาพของชาวมาเลย์มุสลิมเลย
     เมื่อมีการก่อรัฐประหาร ๑๙ กันยา
ซึ่งเป็นอาชญากรรมทางการเมืองอันเลวร้าย
พวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้หลักผู้ใหญ่คนดีเหล่านี้ก็ออกมาสนับสนุน
บางคนเต้นไปเต้นมาด้วยความดีใจ บางคนเข้าไปร่วมในรัฐบาลเผด็จการ หรือร่วมในสภาที่ทหารแต่งตั้ง
บางคนสงวนท่าทีโดยการบอกว่ากึ่งสนับสนุนรัฐประหาร
และส่วนใหญ่ก็ไปร่วมมือในการร่างรัฐธรรมนูญทหาร ซึ่ง
ร่างขึ้นหลังจากที่เผด็จการฉีกรัฐธรรมนูญปี
๔๐ ทิ้ง
     ในปลายปี ๒๕๕๑ เมื่อมีการปิดสนามบินและใช้ตุลาการอนุรักษ์นิยม
เพื่อล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่ชนะการเลือกตั้ง
พวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้หลักผู้ใหญ่คนดี ก็ไปร่วมกับพันธมิตรฯ หรือไม่ก็เงียบเฉย
ปล่อยให้อันธพาลครองเมืองแล้วลอยนวล
    
เมื่อมีการแต่งตั้งรัฐบาลเผด็จการของประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร
พวกเขาก็เงียบหรือให้การสนับสนุนโดยโกหกว่า “เป็นไปตามกระบวนการกฏหมาย”
     เมื่อมีการเรียกร้องโดยคนเสื้อแดง ให้ยุบสภาและจัดการเลือกตั้ง
พวกนักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดี มองว่ามันเป็นการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงและขาดความชอบธรรม
     ดังนั้นเมื่อทหารและพรรคประชาธิปัตย์เข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่ปราศจากอาวุธ
พวกนักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่ตอแหล
ก็ออกมาเตือนว่าคนเสื้อแดงควรหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
แต่เงียบเฉยกับความรุนแรงของทหารและรัฐบาลทหารประชาธิปัตย์
ไม่มีใครสักคนเสนอว่าต้องนำฆาตกรมาขึ้นศาล ไม่มีใครสักคนเสนอว่ารัฐบาลควรตัดสินใจสนับสนุนให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ
เข้ามาใช้อำนาจในไทยกับอาชญากรรัฐ
     เมื่อมีการใช้กฏหมาย112 เพื่อกลั่นแกล้ง
และจำคุกคนที่คัดค้านเผด็จการ พวกนี้ก็เงียบเฉย ไม่เคยมองว่าเป็นปัญหา
มีแต่นักวิชาการก้าวหน้า เช่นคณะนิติราษฏร์ที่พูดถึงเรื่องนี้ และเมื่อ
คณะนิติราษฏร์มีข้อเสนอให้ล้มล้างผลพวงจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา พวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดีตอแหล ก็ไม่เอาด้วย
       เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญปกป้องระบบการแต่งตั้ง
สว. และใช้อำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
โดยคิดว่าตนมีสิทธิ์ออกนโยบายเศรษฐกิจ มีน้อยคนนักในกลุ่ม พวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดีตอแหล ที่ออกมาวิจารณ์และเสนอให้ยุบตุลาการรัฐธรรมนูญ
 
     เมื่อม็อบสุเทพใช้ความรุนแรงเพื่อล้มการเลือกตั้งและข่มขู่ประชาชนที่อยากใช้สิทธิ์
พวกนักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดีตอแหล บางคนออกมาพูดว่า “ไม่ชอบ”
แต่ในขณะเดียวกัน ไม่เคยออกมาประกาศว่าม็อบสุเทพทำผิดและควรถูกลงโทษ
ไม่เคยยืนขึ้นเหมือนคนเสื้อขาว
และประกาศว่าต้องมีการเคารพเสียงของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
มีแต่การถือหางให้กับแนวคิดของม็อบสุเทพ
     เมื่อ กกต. ขยันในการพยายามล้มการเลือกตั้ง
ทำงานคู่ขนานกับม็อบสุเทพ พวกนักวิชาการ แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดีตอแหล
เงียบเฉย แต่หลังจากนั้นมีการเตือนภัยว่ากำลังจะเกิด
สงครามกลางเมืองแล้วเสนอให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและประนีประนอม
มีการเสนอว่าควรมี
นายกรัฐมนตรีคนกลางมีการเสนอให้มี รัฐบาลผสมที่ประกอบไปด้วยฝ่ายสุเทพและเพื่อไทย มีการเสนอว่าต้องมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อให้สถานการณ์สงบลง
     สรุปแล้วพวกนักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดี
นี้
เป็นผู้สร้างสถานการณ์ความรุนแรงมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ๑๙ กันยาเรื่อยมา
เขาช่วยสร้างเงื่อนไขของสงครามกลางเมือง เสร็จแล้วหันมาบอกเราว่า “ไม่มีทางเลือก”
และเรา“ต้อง”ยอมรับการประนีประนอมกับฝ่ายที่อยากทำลายประชาธิปไตย
ซึ่งในรูปธรรมหมายถึงการลดพื้นที่ประชาธิปไตย

     ถือว่าเป็นการ “แบลคเมล”
ประชาชนอย่างไม่รู้จักอาย
ถึงเวลาที่พวก นักวิชาการ
แกนนำเอ็นจีโอ และผู้ใหญ่คนดี
ต้องหัดรับผิดชอบกับความหายนะที่เขานำมาสู่พื้นที่ประชาธิปไตยไทย
แต่ผมจะไม่ตั้งความหวังอะไรกับพวกนี้

คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตย

คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตย



พวกอันธพาลชนชั้นกลางของสุเทพ ชอบเห่าหอนเรื่องคอร์รับชั่น
แล้วนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย
     แต่การที่สังคมมีหรือไม่มีการคอร์รัปชั่น
เป็นเรื่องของระดับประชาธิปไตยและระดับอำนาจของประชาชนที่จะปกครองตนเอง
    
ทหารไทยเป็นผู้นำร่องในการกินบ้านกินเมือง ตั้งแต่สมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม
จอมพลผิน ชุณหะวัณ และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และมาพัฒนาเต็มรูปแบบภายใต้ “จอมพล
จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก” สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ “จอมพล จอมพลเรือ
จอมพลอากาศ” ถนอม กิตติขจร กับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่สำคัญคือเขาสามารถทำได้เพราะเคยใช้ความรุนแรงในการยึดอำนาจผ่านรัฐประหาร
เผด็จการทหารไทยคือมหาโจรนั้นเอง แต่ม็อบสุเทพรักทหารเหลือเกิน
! ทุกวันนี้มีประเพณีอันเลวทรามของทหาร ที่นั่งตำแหน่งคุมสื่อ
และรัฐวิสาหกิจ เพื่อมีอำนาจในการกอบโกยเต็มที่
     ผู้นำและรัฐมนตรีทุกคนในไทย
ที่ได้ตำแหน่งจากการทำรัฐประหาร แล้วรับเงินเดือนสูงๆ ต้องถือว่าคอร์รัปชั่น
ไม่ว่าจะเป็น อภิสิทธิ์ หรือ สุเทพ    
ยิ่งกว่านั้นเวลาประชาชนพยายามเรียกร้องประชาธิปไตย
ซึ่งต้องถือว่าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการ “ตรวจสอบผู้มีอำนาจ”
ฝ่ายที่ยึดอำนาจมาอย่างไม่ชอบธรรมในไทยก็ไม่ลังเลใจในการฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็น
พอฆ่าแล้ว “เครือข่ายคอรัปชั่น” ของชนชั้นปกครองไทยก็มาฮั้วกันเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างฟอกตัวนิรโทษกรรมซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ
     การที่สังคมไทยมีหลายส่วนที่ปกปิดไว้ด้วยกฏหมายเผด็จการชนิดต่างๆ
ย่อมขัดกับหลักพื้นฐานในการตรวจสอบเพื่อสร้างความโปร่งใส
     ประเพณีการถือหลายตำแหน่ง
และการรับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงจากทุกตำแหน่ง
เป็นเรื่องที่ชนชั้นปกครองผูกขาดไว้ผ่านอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าไปห้ามได้ บ่อยครั้งมีการแต่งตั้งกันเองในหมู่เพื่อนฟูงผู้มีอำนาจ
เช่นในองค์กร “อิสระ”
     ถ้าเราจะกำจัดคอรัปชั่นในไทย มันมีหลายก้าวสำคัญที่เราสามารถทำได้
เราต้องนำคนที่เคยทำรัฐประหาร คนที่ได้ดิบได้ดีจากรัฐประหาร
และคนที่ฆ่าประชาชนมือเปล่า มาลงโทษ เราต้องยกเลิกกฏหมายเผด็จการเช่น
112 หรือกฏหมายคอมพิวเตอร์
และกฏหมายที่คุ้มครองไม่ให้เราวิจารณ์ศาล
แต่ถ้าจะทำสิ่งเหล่านี้คนธรรมดาต้องมีอำนาจมากขึ้น
เพราะการเพิ่มอำนาจของประชาชนคือวิธีเดียวที่จะเริ่มกำจัดการคอร์รัปชั่น
แต่ม็อบสุเทพและพรรคพวกเกลียดชังและดูถูกประชาชนธรรมดาอย่างเป็นระบบ
     อย่าไปหลงเชื่อว่าชนชั้นกลางควรมีบทบาทสูงในการปราบคอร์รับชั่น
เพราะเวลาคนชั้นกลางคัดค้านการคอร์รัปชั่น เขาแค่ไม่พอใจที่ตนเองและพรรคพวกไม่มีโอกาสไปร่วมกินด้วยกับคนที่มีอำนาจ
และเขาเลือกปฏิบัติในการวิจารณ์การโกงกิน
อย่างที่เราเห็นในกรณีสลิ่มที่ด่าการคอร์รัปชั่นของทักษิณ
แต่เชิดชูรัฐประหารและไม่กล่าวถึงการโกงกินของทหาร

     พูดง่ายๆ
เส้นทางที่จะนำไปสู่การกำจัดการคอร์รัปชั่นในสังคมคือ การเพิ่มอำนาจ ความมั่นใจ
และการจัดตั้ง ในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน และเกษตรกรคนจน

กัมพูชากับการทุจริตคอรัปชั่นและการเมืองอุปถัมภ์

Normal
0

false
false
false

EN-US
X-NONE
TH

/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-qformat:yes;
mso-style-parent:””;
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin-top:0cm;
mso-para-margin-right:0cm;
mso-para-margin-bottom:10.0pt;
mso-para-margin-left:0cm;
line-height:115%;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:11.0pt;
mso-bidi-font-size:14.0pt;
font-family:”Calibri”,”sans-serif”;
mso-ascii-font-family:Calibri;
mso-ascii-theme-font:minor-latin;
mso-fareast-font-family:”Times New Roman”;
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;}

โดยปู โซวาชนา (Pou Sovachana) นักวิชาการ
สรุปโดย พจนา วลัย
บทความของนักวิชาการท่านนี้ (ที่มา: จากหนังสือพิมพ์กัมพูชารายวัน
26 มิ.ย. 56

 http://www.cambodiadaily.com/opinion/cambodia-is-ingrained-with-corruption-political-patronage-32120/ ) อาจจะช่วยเข้าใจสถานการณ์การประท้วงของพรรคฝ่ายค้านต่อผลการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรได้ระดับหนึ่งว่า
ทำไมจึงมีการต่อต้านผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ยอมรับชัยชนะของพรรคประชาชนกัมพูชาที่นำโดย
ฮุนเซน เพราะมีการโกงการเลือกตั้ง 
โดยพรรคของฮุนเซนได้ส.ส.
68 ที่นั่ง
ส่วนพรรคฝ่ายค้าน “พรรคสงเคราะห์ชาติ” (
CNRP) ที่นำโดยสม
รังสี ได้ ส.ส.
55 ที่นั่ง ค่อนข้างสูสีกัน  แต่พรรคฝ่ายค้านอ้างว่า
ผลคะแนนการเลือกตั้งที่ถูกต้องนั้นควรจะเป็นพรรคซีเอ็นอาร์พี ชนะที่
63 ที่นั่ง ต่อ 60 ที่นั่งมากกว่า   อีกทั้ง
การที่ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วงพรรคของฮุนเซน เพราะไม่พอใจนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
ที่ก่อให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน
ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนส่วนใหญ่ และมีการควบคุมสื่ออย่างมาก (โพสต์ทูเดย์.
สมรังสี ปลุกม็อบค้านผลเลือกตั้งเขมร
. 06 สิงหาคม 2556.
ที่มา:
www.posttoday.com/รอบโลก/238869/สมรังสี-ปลุกม็อบค้านผลเลือกตั้งเขมร )  ผู้แปล/สรุปมองว่า ประเด็นคือ
ประชาชนออกมาตั้งคำถามกับการเลือกตั้งที่ทุจริต 
เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง แต่ไม่ใช่ไปบิดเบือนว่า  ประชาชนไม่ยอมรับการมีระบบเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
เพราะที่จริงประชาชนต้องการให้ระบบโปร่งใส ตรวจสอบได้และเอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่
และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีที่มาที่โปร่งใส ยอมรับได้

เป็นเวลาเกือบทศวรรษ ที่เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาเจริญเติบโตเกือบ 10% ของทุกปี  นับหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกถดถอยในปี
2551-2552 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตถึง 7.2% ในปี 2555 ซึ่งมาจากการบริโภค การท่องเที่ยว
เกษตรกรรมและการลงทุนที่สูงขึ้นจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย  และคาดว่าจะสูงขึ้นเป็น
7.5% ในปี 56  เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาเริ่มฟื้นตัว
 กระนั้นก็ก่อให้เกิดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ
และการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นเพราะกฎหมายแทบไม่มีเนื้อหาอะไรที่คุ้มครองประชาชน
เป้าหมายของการพัฒนาที่แท้จริงคือช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคน
แต่ในความเป็นจริงกลับสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชน
ดูจากรายงานของกองทุนพัฒนาท้องถิ่น สหประชาชาติ ปี
2553 มีประชาชนราว 3.7 ล้านคนอยู่ใต้เส้นความยากจน และ 92% ของจำนวนประชากรที่ยากจนนี้อาศัยในชนบท และที่มีที่ดินของตัวเองมีเพียง
10% ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท
และระหว่างคนรวยกับคนจน 
โครงการเกี่ยวกับที่ดินที่กำลังเป็นที่ขัดแย้ง
ริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน
2555 ถึงพฤษภาคม 2556  เขาอ้างว่าจะช่วยกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่า 125,000
โฉนดในชนบท
นอกจากนี้นโยบายด้านการศึกษา สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน
ชลประทานเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในปัจจุบัน 
ในกัมพูชา ผู้นำจำนวนมกและเจ้าหน้าที่รัฐขาดความรับผิดชอบต่อประชาชน
มีการทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับ ใช้อำนาจและสะสมความมั่งคั่ง  กล่าวคือ
ผู้นำให้สัมปทานที่ดินแก่นักลงทุนเพื่อพัฒนาแต่คนในท้องถิ่นประสบปัญหามาก 
ตัวเลขความมั่งคั่งมาจากผลประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงผลที่ตามมา  เสรีภาพมักถูกบิดเบือนความหมาย กลไกรัฐไม่ได้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน  ประชาธิปไตยคือการมีเสรีภาพในการแสดงออก
และการรวมตัว  แต่ข้อเท็จจริงตอนนี้
สิ่งที่ผู้มีอิทธิพลพูดมักเป็นเรื่องถูกต้อง แต่เมื่อคนตัวเล็กๆ พูด
มักเป็นเรื่องผิด
ในประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงใช้อำนาจลงโทษฝ่ายค้าน
ทำให้การเมืองเป็นสองมาตรฐาน และทำให้เป็นเรื่องปกติ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ
เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐทีเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนลอยนวล เช่น
ยิงผู้บริสุทธิ์ โดยไม่ถูกลงโทษ จับกุมหรือปรากฏต่อศาล
ดังกรณีอดีตผู้ว่าเมืองบาเว็ท ชื่อ
Chhouk
Bundith ยังเป็นอิสระแม้ถูกพิพากษาว่าผิดที่ยิงคนงานหญิง 3 คน เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 55
ที่หน้าโรงงานโคเวย์สปอร์ต จากข่าวน.ส.พ.กัมพูชารายวัน
19 ธ.ค.55   ผลที่ตามมาคือ
ทำให้ระบบสองมาตรฐานในกัมพูชาเข้มแข็งมาก 
โศกนาฏกรรมชีวิตของคนที่นี่ทำให้ผู้เคราะห์ร้าย คนงานอยู่อย่างตายทั้งเป็น
การเมืองที่นี่มีลักษณะอำนาจนิยมสูง 
ระบบการเมืองชนชั้น อภิสิทธิชน ที่พวกคนรวยได้รับสิทธิพิเศษจากการสัมปทานของรัฐ  จ่ายใต้โต๊ะมาอย่างยาวนาน
ดูจากนักลงทุนและเจ้าของธุรกิจต่างชาติ
55% รู้สึกว่า กฎหมายต้านการคอรัปชั่นที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 ไม่ได้แก้ปัญหาติดสินบน 
ธุรกิจส่วนใหญ่ถูกเรียกสินบนทุกรูปแบบ
ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรไปจนถึงศาล 
ยกเว้นแต่บริษัทที่มีเครือข่ายใกล้ชิดกับรัฐบาลได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่า
เช่นในเรื่องการจ่ายภาษี และกฎระเบียบต่างๆ 
พรรคที่ได้ชนะการเลือกตั้งควบคุมทุกอย่าง เช่น สื่อ กองทัพ ตำรวจ
เศรษฐกิจ เพราะการควบคุมมันฝังอยู่ในโครงสร้างของรัฐ ด้วยระบบพวกพ้อง
ทุนต่างประเทศจะถูกคัดสรรด้วยระบบเส้นสายในรัฐบาลมากกว่าการทำตามกฎระเบียบ กฎหมาย
และทุนใหญ่ที่มีอิทธิพลก็จะทำตามอำเภอใจ 
และล่าสุดปี
2554 กัมพูชาถูกจัดอันดับประเทศที่คอรัปชั่นมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก  และนี่อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตในประเทศได้
สิ่งที่ผู้เขียนต้องการเสนอคือ
การจัดหาความจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนและการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน
เพราะประเทศมาถึงจุดที่ระบบไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ทำงานไม่ได้ผลต่อส่วนรวม
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมืองที่จะหยุดการทุจริตและวัฒนธรรมการละเว้นโทษแก่เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิด
การบริการที่ดีแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ถนน
ให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดตัวเอง สร้างเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก
ให้นักการเมืองรับผิดชอบต่อประชาชน 
โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งเสริมวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของร่วม
โอกาสเข้าถึงปัจจัย การสร้างธุรกิจของคนระดับล่าง การพัฒนาที่แท้จริง
กระจายความมั่งคั่ง
เราจึงต้องมีระบบนิติรัฐ รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย
ที่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมก่อน กฎหมายบังคับใช้กับทุกคนอย่างเสมอหน้า
แต่ในรัฐบาลฮุนเซนที่ผ่านมานั้น มักเกิดปัญหาระหว่างคนในท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติ
เพราะขณะนี้มีการสัมปทานที่ดิน
3.9 ล้านเอเคอร์ หรือประมาณ 22% ของพื้นที่ประเทศ ดังปรากฏหน้าสื่อท้องถิ่น
มักรายงานข่าวการประท้วงต่อต้านของชุมชนกับผู้ถือสัมปทาน  ประเด็นปัญหายึดที่ดินทำกินเป็นตัวอย่างล่าสุด  ชาวกัมพูชาให้สัมภาษณ์แก่สื่อว่า
ต้องการปกครองที่ยุติธรรม ที่ไม่ละเมิดประชาชน
และอนุญาตให้พวกเขาทำกินบนที่ดินของเขา 
ท้ายสุดอยากให้รัฐดูแลเอาใจใส่เด็กทุกคน เช่น ให้การศึกษาชั้นประถม
โภชนาการที่ดี คุณภาพการศึกษาที่ได้มาตรฐาน
เข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัย ปกป้องพวกเขาจากการถูกกระทำ ละทิ้ง
ละเมิดและใช้ความรุนแรง และเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ผู้แปล/สรุปต้องการนำเสนอให้เห็นร่องรอยของความขัดแย้งข้างต้นไว้เพื่อสืบสาวสาเหตุและติดตามสถานการณ์ในกัมพูชาต่อไป
ทั้งในแง่เศรษฐกิจการเมือง สิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
และเพื่อเรียนรู้ หาทางออกสำหรับการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย
และมีอำนาจในโครงสร้างที่เป็นทางการ เพื่อหยุดยั้งการทุจริตคอรัปชั่น
เพราะถ้าหากการพูดแต่ปัญหาการคอรัปชั่น
แต่ไม่พูดถึงการเพิ่มอำนาจของประชาชนในการบริหารและตรวจสอบรัฐ ก็ไม่มีประโยชน์    และอาจนำไปสู่การบิดเบือน เรียกร้องหาคนดี
มีอำนาจพิเศษ คนที่เข้มแข็งกว่าที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
มาปกครองแทนกลุ่มอำนาจปัจจุบัน เช่น ทหารยึดอำนาจรัฐบาล หรือพรรคคนรวย
พรรคกระแสหลักที่อาจมีแนวคิดนโยบายไม่ต่างจากเดิมนักมาปกครอง  การเมืองก็อาจจะมีลักษณะดังที่เป็นอยู่
ดังหัวข้อที่นำเสนอในวันนี้

กลับมาดูโครงการจำนำข้าวอีกครั้ง

กลับมาดูโครงการจำนำข้าวอีกครั้ง
การนำภาษีของสังคมมาอุดหนุนโครงการบางอย่าง
เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่องที่ชอบธรรม ยิ่งในสังคมไทยที่มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างคนรวยกับคนจน
ยิ่งสมควรทำมากขึ้นอีก ชาวนาเป็นกลุ่มที่ยากจนกลุ่มแรกๆ
ในสังคมไทยที่ถูกละเลยมาต่อเนื่อง
     โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย
เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวนาอย่างไม่ต้องสงสัย
ถึงแม้ว่าจะมีคอรัปชั่นในบางขั้นตอนเช่นการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์
หรือการขายข้าวราคาถูกมากๆ ให้กับนายทุนเอาไปขายต่อในราคาเดิม
    ส่วนคนที่คัดค้านในโครงการนี้
ส่วนมากจะเป็นพวกเสรีนิยมกลไกตลาด เช่น
TDRI ที่มักจะหยิบประเด็นการขาดทุนของโครงการมาแสดงความไม่เห็นด้วย
เพราะมองว่าถึงที่สุดแล้วรัฐบาลอาจจะเป็นหนี้มากขึ้น หรือรัฐบาลอาจจะถังแตกได้
จากการเอาเงินมาอุดหนุนชาวนา
     จุดยืนของประชาธิปัตย์และสุเทพก็ไม่ต่างจาก
TDRI ซึ่งแสดงว่าม็อบสุเทพที่กำลังสร้างภาพจอมปลอมตอนนี้ว่าเป็น
“มิตรชาวนา” ก็เป็นแค่การฉวยโอกาสอย่างหน้าด้าน



    
ยิ่งกว่านั้นม็อบประชาธิปัตย์ของสุเทพ
มีส่วนสำคัญในการทำให้รัฐบาลยุบสภาและการเลือกตั้งติดคัด ซึ่งเป็นผลให้ชาวนาไม่ได้รับเงินจากโครงการ
    
การที่กลุ่มชาวนาไม่ออกมาพูดเรื่องนี้อย่างชัดเจน
แสดงว่าพวกเขาอ่อนหัดทางการเมือง หรือสนใจแต่เรื่องตนเองแบบ “ประเด็นเดียว”
แต่นั้นไม่ได้แปลว่าเขาไม่เดือดร้อนจริง
อย่างไรก็ตามเขาควรออกมาวิจารณ์การฉวยโอกาสของประชาธิปัตย์ในขณะที่ประท้วงเรียกร้องเงินที่ขาดหายไป
    
พวกเสรีนิยมอย่างประชาธิปัตย์และ
TDRI มักมองว่ารัฐไม่ควรเอาเงินภาษีไปอุดหนุนโครงการต่างๆ
ที่ก่อประโยชน์ให้กับคนในสังคมโดยเฉพาะคนจน แต่ถ้าเอาไปอุดหนุนคนรวยหรือกองทัพสามารถทำได้
    
ข้อเสียของโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลนี้
มาจากแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาดของรัฐบาลเพื่อไทยแต่แรก ที่ไม่พยายามจะเพิ่มภาษีคนรวย
เพื่อเอามาอุดหนุนโครงการ ด้วยคาดหวังว่าถ้ารัฐบาลเป็นผู้รับซื้อข้าวรายใหญ่
และกักตุนไว้(นำอุปทานออกจากตลาด) จะทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวสูงขึ้นสุดท้ายการขาดทุนจะไม่มากนัก
และโครงการน่าจะดำเนินการไปได้ด้วยดี แต่ราคาข้าวไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น
เพราะทั่วโลกมีวิกฤตเศรษฐกิจ และการเร่งระบายข้าวที่อยู่ในโกงดัง
จะยิ่งซ้ำเติมให้ราคาข้าวมีราคาตกต่ำลงไปอีก ซึ่งราคาที่ตกต่ำลงมา
น่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะคนจนที่บริโภคข้าวเป็นหลัก แต่ในอดีตรัฐบาลกลับเลือกไม่ปล่อยข้าวราคาถูกมากๆ
ออกมาขายให้กับประชาชน และนี่แสดงถึงความอับจนของแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาด
ที่นักมาร์คซิสต์วิจารณ์มาตลอด
    
เราจะแก้ปัญหาผู้ผลิตให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร
เราจะแก้ปัญหาผู้บริโภคให้สามารถซื้อข้าวในราคาถูกได้อย่างไร
วิธีการจัดการบริหารนั้นง่ายมากโดยรัฐรับซื้อข้าวราคาแพงจากชาวนา
และขายข้าวราคาถูกให้ผู้บริโภค
ในส่วนต่างนั้นรัฐก็นำเงินภาษีที่เก็บในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยมากๆ
ในอัตราสูงพิเศษมาอุดหนุน หรือไปลดงบประมาณอื่นๆ ที่สิ้นเปลือง เช่นงบประมาณทหาร
และงบพิธีกรรมต่างๆ
    
นอกจากนี้รัฐต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตให้กับชาวนา
โดยการสนับสนุนองค์กรชาวนาให้ทำการผลิตขนาดใหญ่
อาจจะเป็นในรูปแบบสหกรณ์การผลิตข้าว เพื่อลดต้นทุนเชิงขนาด
โดยรัฐบาลสนับสนุนในด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร ปุ๋ย เมล็ดพันธ์ พลังงาน
ราคาถูก และอาจจะต้องสนับสนุนให้เกิดโรงสีโดยชาวนา
การสนับสนุนอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว เป็นต้น

    
และสุดท้ายการแก้ปัญหาการคอรัปชั่น
โดยมากมักจะเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างโรงสี นายทุนค้าข้าว กับเจ้าหน้าที่รัฐ
วิธีแก้ปัญหาที่ลดการคอรัปชั่นลง ต้องเปิดโอกาสให้การดำเนินโครงการ
มีผู้แทนชาวนาในฐานะผู้ผลิตและผู้แทนผู้บริโภค เขาไปมีส่วนเต็มที่ในการบริหารโครงการภายใต้การร่วมมือกับผู้แทนของอำนาจรัฐส่วนกลาง
ซึ่งจะทำให้การคอรัปชั่นเกิดได้ยากขึ้นมาก
เพราะมันเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ปฏิรูปหรือปฏิวัติ

นักมาร์คซิสต์อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค เคยเสนอว่า “นักปฏิวัติเป็นผู้ปฏิรูปที่ดีที่สุด” เพราะเราไม่ได้หวงระบบที่พบในปัจจุบัน และเราเป็นคนที่ใฝ่ฝันถึงสังคมใหม่ ตัวอย่างที่ดีในไทยปัจจุบัน คือคนที่บอกเราเสมอว่า ข้อเสนอปฏิรูปที่ “ไปไกลเกินไป” เช่นการเสนอให้ยกเลิก 112 หรือการเสนอให้ประชาชนธรรมดาร่วมบริหารองค์กรสาธารณะ จะ”ทำไม่ได้” หรือถ้าทำก็จะเกิดรัฐประหาร ดังนั้นพวกที่อยากปฏิรูปในไทยที่ไม่ใช่นักปฏิวัติ จะไม่กล้าเสนออะไรที่มีสาระเท่าไร

องค์กรเลี้ยวซ้ายขอเลือกพรรคพลังประชาธิปไตย

ในคู่มือรายชื่อรับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีพรรคการเมืองลงสมัครทั้งหมด 53 พรรค มีพรรคที่ส่งบัญชีรายชื่อแบบเต็มๆ จำนวน 3 พรรค ได้เเก่ ชาติพัฒนา ภูมิใจไทย และเพื่อไทย   ในบรรดานโยบายที่พรรคเเต่ละพรรคได้เสนอนโยบายต่อกกต.นั้น
มีพรรคพลังประชาธิปไตย
(หมายเลข 8 ) ซึ่งเพื่อนของเราที่มีประวัติในการต่อสู้เพื่อการรวมตัวกันของคนงานลงสมัครอยู่ด้วยนั้น มีนโยบาย ดังนี้

1. สร้างรัฐสวัสดิการเป็นระบบครบวงจรจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เกิด เเก่ เจ็บ ตาย
2. ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นทำสงครามปราบโกงเเบบเข้มข้น
3. จัดสรรทรัพยากรของชาติให้เป็นธรรม ดิน น้ำ ลม ไฟ
4. กระจายอำนาจแบบแท้จริงเพิ่มสัดส่วนงบประมาณท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง
5. ปฏิรูปการเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นิรโทษกรรมประชาชน คดีการเมืองในรัฐธรรมนูญ

กล่าวได้ว่ามีพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายรัฐสวัสดิการมีอยู่ 3 พรรค
ซึ่งอีกสองพรรคหนึ่งได้แก่ พรรค ถิ่นกาขาวที่เสนอนโยบาย
แก้ปัญหาความยากจน เปลี่ยนประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ
และพรรคเพื่อแผ่นดินที่เสนอนโยบายมิติใหม่ พรรคสีขาวเพื่อการเมืองสีขาว สู่รัฐสวัสดิการ เทิดราชบัลลังค์  แต่ทั้ง 3 พรรคก็ไม่มีรูปธรรมว่า รัฐสวัสดิการจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
เเม้จะมีเป้าหมายสร้างรัฐสวัสดิการตรงกับ
แนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่เสนอต่อสังคมมาโดยตลอด พรรคถิ่นกาขาวและพรรคเพื่อแผ่นดินเ แต่ก็มีนโยบายอื่นที่เป็นอนุรักษ์นิยมสูงอยู่มาก เช่น
เสนอให้ตั้งกระทรวงศาสนา และเสนอการเทิดราชบังลังค์

พรรคพลังประชาธิปไตยเป็นพรรคเดียวที่เสนอเรื่องการนิรโทษกรรมประชาชนในคดีการเมืองโดยเสนอให้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า
ทุกวันนี้เรามีนักโทษในคดีการเมืองติดคุกอยู่เป็นจำนวนมากและอาจจะติดคุกยาวเป็นเวลาถึงยี่สิบปีหากไม่ได้มีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้แล้ว
พรรคพลังประชาธิปไตยเสนอเรื่องการกระจายอำนาจโดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองจะต้องมีสิทธิเลือกตัวแทนของตนเองในระดับท้องถิ่น ทั้งเรื่องปล่อยนักโทษการเมืองและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นนโยบายส่วนหนึ่งขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่พยายามรณรงค์มาตลอด
เมื่อมีพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันสมัครรับเลือกตั้งและมีแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายก็นับว่าเป็นที่น่ายินดีที่สิ่งที่เรารณรงค์มาตลอดนั้นได้ปรากฎว่ามีพรรคการ
เมืองที่เสนอนโยบายนี้ในการเลือกตั้งระดับชาติ แม้ว่าอาจจะไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ช่วยในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในอนาคตได้

อีกประการหนึ่ง องค์กรเลี้ยวซ้ายไม่เสนอการโหวตโน ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน เพราะมองว่า การโหวตโนจะนำไปสู่การเป็นแนวร่วมมุมกลับของฝ่ายต่อต้านการเลือกตั้ง

หากพรรคพลังประชาธิปไตยได้รับการเลือกตั้ง องค์กรเลี้ยวซ้ายจะติดตามการทำงานของพรรคอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายเป็นจริง

 
ประชาธิปไตยจงเจริญ