กัมพูชากับการทุจริตคอรัปชั่นและการเมืองอุปถัมภ์

Normal
0

false
false
false

EN-US
X-NONE
TH

/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-qformat:yes;
mso-style-parent:””;
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin-top:0cm;
mso-para-margin-right:0cm;
mso-para-margin-bottom:10.0pt;
mso-para-margin-left:0cm;
line-height:115%;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:11.0pt;
mso-bidi-font-size:14.0pt;
font-family:”Calibri”,”sans-serif”;
mso-ascii-font-family:Calibri;
mso-ascii-theme-font:minor-latin;
mso-fareast-font-family:”Times New Roman”;
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;}

โดยปู โซวาชนา (Pou Sovachana) นักวิชาการ
สรุปโดย พจนา วลัย
บทความของนักวิชาการท่านนี้ (ที่มา: จากหนังสือพิมพ์กัมพูชารายวัน
26 มิ.ย. 56

 http://www.cambodiadaily.com/opinion/cambodia-is-ingrained-with-corruption-political-patronage-32120/ ) อาจจะช่วยเข้าใจสถานการณ์การประท้วงของพรรคฝ่ายค้านต่อผลการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรได้ระดับหนึ่งว่า
ทำไมจึงมีการต่อต้านผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ยอมรับชัยชนะของพรรคประชาชนกัมพูชาที่นำโดย
ฮุนเซน เพราะมีการโกงการเลือกตั้ง 
โดยพรรคของฮุนเซนได้ส.ส.
68 ที่นั่ง
ส่วนพรรคฝ่ายค้าน “พรรคสงเคราะห์ชาติ” (
CNRP) ที่นำโดยสม
รังสี ได้ ส.ส.
55 ที่นั่ง ค่อนข้างสูสีกัน  แต่พรรคฝ่ายค้านอ้างว่า
ผลคะแนนการเลือกตั้งที่ถูกต้องนั้นควรจะเป็นพรรคซีเอ็นอาร์พี ชนะที่
63 ที่นั่ง ต่อ 60 ที่นั่งมากกว่า   อีกทั้ง
การที่ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วงพรรคของฮุนเซน เพราะไม่พอใจนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
ที่ก่อให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน
ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนส่วนใหญ่ และมีการควบคุมสื่ออย่างมาก (โพสต์ทูเดย์.
สมรังสี ปลุกม็อบค้านผลเลือกตั้งเขมร
. 06 สิงหาคม 2556.
ที่มา:
www.posttoday.com/รอบโลก/238869/สมรังสี-ปลุกม็อบค้านผลเลือกตั้งเขมร )  ผู้แปล/สรุปมองว่า ประเด็นคือ
ประชาชนออกมาตั้งคำถามกับการเลือกตั้งที่ทุจริต 
เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง แต่ไม่ใช่ไปบิดเบือนว่า  ประชาชนไม่ยอมรับการมีระบบเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
เพราะที่จริงประชาชนต้องการให้ระบบโปร่งใส ตรวจสอบได้และเอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่
และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีที่มาที่โปร่งใส ยอมรับได้

เป็นเวลาเกือบทศวรรษ ที่เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาเจริญเติบโตเกือบ 10% ของทุกปี  นับหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกถดถอยในปี
2551-2552 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตถึง 7.2% ในปี 2555 ซึ่งมาจากการบริโภค การท่องเที่ยว
เกษตรกรรมและการลงทุนที่สูงขึ้นจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย  และคาดว่าจะสูงขึ้นเป็น
7.5% ในปี 56  เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาเริ่มฟื้นตัว
 กระนั้นก็ก่อให้เกิดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ
และการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นเพราะกฎหมายแทบไม่มีเนื้อหาอะไรที่คุ้มครองประชาชน
เป้าหมายของการพัฒนาที่แท้จริงคือช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคน
แต่ในความเป็นจริงกลับสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชน
ดูจากรายงานของกองทุนพัฒนาท้องถิ่น สหประชาชาติ ปี
2553 มีประชาชนราว 3.7 ล้านคนอยู่ใต้เส้นความยากจน และ 92% ของจำนวนประชากรที่ยากจนนี้อาศัยในชนบท และที่มีที่ดินของตัวเองมีเพียง
10% ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท
และระหว่างคนรวยกับคนจน 
โครงการเกี่ยวกับที่ดินที่กำลังเป็นที่ขัดแย้ง
ริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน
2555 ถึงพฤษภาคม 2556  เขาอ้างว่าจะช่วยกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่า 125,000
โฉนดในชนบท
นอกจากนี้นโยบายด้านการศึกษา สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน
ชลประทานเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในปัจจุบัน 
ในกัมพูชา ผู้นำจำนวนมกและเจ้าหน้าที่รัฐขาดความรับผิดชอบต่อประชาชน
มีการทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับ ใช้อำนาจและสะสมความมั่งคั่ง  กล่าวคือ
ผู้นำให้สัมปทานที่ดินแก่นักลงทุนเพื่อพัฒนาแต่คนในท้องถิ่นประสบปัญหามาก 
ตัวเลขความมั่งคั่งมาจากผลประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงผลที่ตามมา  เสรีภาพมักถูกบิดเบือนความหมาย กลไกรัฐไม่ได้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน  ประชาธิปไตยคือการมีเสรีภาพในการแสดงออก
และการรวมตัว  แต่ข้อเท็จจริงตอนนี้
สิ่งที่ผู้มีอิทธิพลพูดมักเป็นเรื่องถูกต้อง แต่เมื่อคนตัวเล็กๆ พูด
มักเป็นเรื่องผิด
ในประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงใช้อำนาจลงโทษฝ่ายค้าน
ทำให้การเมืองเป็นสองมาตรฐาน และทำให้เป็นเรื่องปกติ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ
เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐทีเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนลอยนวล เช่น
ยิงผู้บริสุทธิ์ โดยไม่ถูกลงโทษ จับกุมหรือปรากฏต่อศาล
ดังกรณีอดีตผู้ว่าเมืองบาเว็ท ชื่อ
Chhouk
Bundith ยังเป็นอิสระแม้ถูกพิพากษาว่าผิดที่ยิงคนงานหญิง 3 คน เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 55
ที่หน้าโรงงานโคเวย์สปอร์ต จากข่าวน.ส.พ.กัมพูชารายวัน
19 ธ.ค.55   ผลที่ตามมาคือ
ทำให้ระบบสองมาตรฐานในกัมพูชาเข้มแข็งมาก 
โศกนาฏกรรมชีวิตของคนที่นี่ทำให้ผู้เคราะห์ร้าย คนงานอยู่อย่างตายทั้งเป็น
การเมืองที่นี่มีลักษณะอำนาจนิยมสูง 
ระบบการเมืองชนชั้น อภิสิทธิชน ที่พวกคนรวยได้รับสิทธิพิเศษจากการสัมปทานของรัฐ  จ่ายใต้โต๊ะมาอย่างยาวนาน
ดูจากนักลงทุนและเจ้าของธุรกิจต่างชาติ
55% รู้สึกว่า กฎหมายต้านการคอรัปชั่นที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 ไม่ได้แก้ปัญหาติดสินบน 
ธุรกิจส่วนใหญ่ถูกเรียกสินบนทุกรูปแบบ
ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรไปจนถึงศาล 
ยกเว้นแต่บริษัทที่มีเครือข่ายใกล้ชิดกับรัฐบาลได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่า
เช่นในเรื่องการจ่ายภาษี และกฎระเบียบต่างๆ 
พรรคที่ได้ชนะการเลือกตั้งควบคุมทุกอย่าง เช่น สื่อ กองทัพ ตำรวจ
เศรษฐกิจ เพราะการควบคุมมันฝังอยู่ในโครงสร้างของรัฐ ด้วยระบบพวกพ้อง
ทุนต่างประเทศจะถูกคัดสรรด้วยระบบเส้นสายในรัฐบาลมากกว่าการทำตามกฎระเบียบ กฎหมาย
และทุนใหญ่ที่มีอิทธิพลก็จะทำตามอำเภอใจ 
และล่าสุดปี
2554 กัมพูชาถูกจัดอันดับประเทศที่คอรัปชั่นมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก  และนี่อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตในประเทศได้
สิ่งที่ผู้เขียนต้องการเสนอคือ
การจัดหาความจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนและการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน
เพราะประเทศมาถึงจุดที่ระบบไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ทำงานไม่ได้ผลต่อส่วนรวม
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมืองที่จะหยุดการทุจริตและวัฒนธรรมการละเว้นโทษแก่เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิด
การบริการที่ดีแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ถนน
ให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดตัวเอง สร้างเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก
ให้นักการเมืองรับผิดชอบต่อประชาชน 
โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งเสริมวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของร่วม
โอกาสเข้าถึงปัจจัย การสร้างธุรกิจของคนระดับล่าง การพัฒนาที่แท้จริง
กระจายความมั่งคั่ง
เราจึงต้องมีระบบนิติรัฐ รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย
ที่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมก่อน กฎหมายบังคับใช้กับทุกคนอย่างเสมอหน้า
แต่ในรัฐบาลฮุนเซนที่ผ่านมานั้น มักเกิดปัญหาระหว่างคนในท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติ
เพราะขณะนี้มีการสัมปทานที่ดิน
3.9 ล้านเอเคอร์ หรือประมาณ 22% ของพื้นที่ประเทศ ดังปรากฏหน้าสื่อท้องถิ่น
มักรายงานข่าวการประท้วงต่อต้านของชุมชนกับผู้ถือสัมปทาน  ประเด็นปัญหายึดที่ดินทำกินเป็นตัวอย่างล่าสุด  ชาวกัมพูชาให้สัมภาษณ์แก่สื่อว่า
ต้องการปกครองที่ยุติธรรม ที่ไม่ละเมิดประชาชน
และอนุญาตให้พวกเขาทำกินบนที่ดินของเขา 
ท้ายสุดอยากให้รัฐดูแลเอาใจใส่เด็กทุกคน เช่น ให้การศึกษาชั้นประถม
โภชนาการที่ดี คุณภาพการศึกษาที่ได้มาตรฐาน
เข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัย ปกป้องพวกเขาจากการถูกกระทำ ละทิ้ง
ละเมิดและใช้ความรุนแรง และเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ผู้แปล/สรุปต้องการนำเสนอให้เห็นร่องรอยของความขัดแย้งข้างต้นไว้เพื่อสืบสาวสาเหตุและติดตามสถานการณ์ในกัมพูชาต่อไป
ทั้งในแง่เศรษฐกิจการเมือง สิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
และเพื่อเรียนรู้ หาทางออกสำหรับการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย
และมีอำนาจในโครงสร้างที่เป็นทางการ เพื่อหยุดยั้งการทุจริตคอรัปชั่น
เพราะถ้าหากการพูดแต่ปัญหาการคอรัปชั่น
แต่ไม่พูดถึงการเพิ่มอำนาจของประชาชนในการบริหารและตรวจสอบรัฐ ก็ไม่มีประโยชน์    และอาจนำไปสู่การบิดเบือน เรียกร้องหาคนดี
มีอำนาจพิเศษ คนที่เข้มแข็งกว่าที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
มาปกครองแทนกลุ่มอำนาจปัจจุบัน เช่น ทหารยึดอำนาจรัฐบาล หรือพรรคคนรวย
พรรคกระแสหลักที่อาจมีแนวคิดนโยบายไม่ต่างจากเดิมนักมาปกครอง  การเมืองก็อาจจะมีลักษณะดังที่เป็นอยู่
ดังหัวข้อที่นำเสนอในวันนี้

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s