ถ้าจะสร้างประชาธิปไตย เราต้องโค่น “ระบอบประยุทธ์”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ขณะนี้ประยุทธ์มือเปื้อนเลือด ตระกูลจันทร์โอชา และพรรคพวกทหารของเขา กำลังสร้าง “ระบอบประยุทธ์” ในพื้นที่การเมือง เศรษฐกิจ กับสังคม ถ้าปวงชนชาวไทยจะมีสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย เราต้องร่วมแรงร่วมใจกันล้มล้างระบอบประยุทธ์อันชั่วร้ายนี้

ตอนนี้พี่เบิ้มจันทร์โอชา กำลังโยกย้ายข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐประหาร และแต่งตั้งญาติพี่น้องและพรรคพวก เข้ามาครองตำแหน่งแทน ความหวังคือจะต้องคุมสังคมต่อไปอีกนาน

ในรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย พี่เบิ้มจันทร์โอชากำลังกำจัดกรรมการบริหารบอร์ดต่างๆ และแต่งตั้งทหารกับพวกประจบสอพลอเข้ามาแทน ในกรณี ปตท. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เข้ามาโกยโดยตรง และ “นกหวีด”ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้ามานั่งข้างๆ บอร์ดรัฐวิสาหกิจทุกแห่งมีพี่เบิ้มจันทร์โอชานั่งคุมจากเบื้องบน นี่คือการละเมิดอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ทับซ้อนกับการคอร์รับชั่น แบบสุดขั้ว “โมเดล 1984”

ในประวัติศาสตร์ไทย เผด็จการทหารยุคจอมพลป. และสฤษดิ์ ริเริ่มวัฒนธรรมการโกงกินและการดูดทรัพย์จากรัฐวิสาหกิจเข้ากระเป๋าตนเอง พี่เบิ้มจันทร์โอชามองว่าการใส่เครื่องแบบและการเบ่งอำนาจแปลว่าทหารมีคุณสมบัติในการเป็นเลิศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารเศรษฐกิจ การศึกษา กฏหมาย หรือการฆ่าคนไทยที่รักประชาธิปไตย ดังนั้นทหารควรได้รับอะไรตอบแทน

พี่เบิ้มจันทร์โอชาได้แต่งตั้งตนเองเป็นหัวหน้าใหญ่คุมการค้า การลงทุน และทุกอย่างเกี่ยวกับเศรษฐกิจ คือพูดง่ายๆ ตรงไหนมีเงินทอง ตรงนั้นต้องมีนายพล เหมือนแมลงวันตอมขี้

แต่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ไม่ต้องไปสำรวจคณะทหารเถื่อนหรอก ก่อนหรือหลังเข้าแต่งตั้งตนเองในตำแหน่งใดๆ ไม่ต้องรายงานทรัพย์สิน ต่างจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งโดยสิ้นเชิง นี่ก็อีกตัวอย่างของการทุจริตครั้งใหญ่ของคณะทหารเถื่อน ในขณะเดียวกัน ปปช. กำลังสืบสวนอดีตนายกยิ่งลักษณ์ เพราะมันจะเป็นโอกาสทองที่จะห้ามไม่ให้มีบทบาททางการเมืองในอนาคต และอาจมีโบนัสใหญ่คือยุบพรรคเพื่อไทย

ในภาคการศึกษา โรงเรียนต่างๆ ต้องเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกับความคิดของพี่เบิ้มจันทร์โอชา มีการเน้นวินัย การรักชาติของอำมาตย์ และการปลูกฝังความรักต่อพี่เบิ้มจันทร์โอชา แต่เวลาทำอะไรต้องหัดประหยัด เพราะคณะทหารเถื่อนตัดงบการศึกษาเพื่อพยุงงบทหารและค่าใช้จ่ายของเผด็จการ

โครงการที่จะพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค ถูกตัดไปด้วย แต่บางโครงการอาจฟื้นใหม่ ซึ่งเป็นโอกาสที่ทหารจะรับเงินใต้โต๊ะในการประมูลรอบใหม่

ในด้านสื่อมวลชน คณะทหารเถื่อนขอให้สื่อทำหน้าที่อย่างสบายใจ ไม่ต้องวิตกเรื่องทหารนั่งคุมสำนักงาน เสนอข่าวได้อย่างเสรี เพียงแต่ต้องเสนอข่าวแนวที่ชื่นชมอวยคณะของพี่เบิ้มจันทร์โอชา และโกหกชาวโลกว่าประเทศไทยเสรีและมีความสุข

คราวก่อนที่ทหารก่อรัฐประหาร ๑๙ กันยา มีการเขียนรัฐธรรมนูญทหาร และสร้างองค์กรที่อิสระจากการตรวจสอบของประชาชน องค์กรเหล่านี้เต็มไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมที่ชอบทหารเผด็จการและเกลียดชังทักษิณ ตัวอย่างก็รู้ๆ กัน เช่นศาลรัฐธรรมนูญ และส.ว.ลากตั้ง แต่มันไม่พอ ในที่สุดต้องยอมให้มีการเลือกตั้งและพรรคเพื่อไทยก็ชนะ วิกฤตเลยยืดยาว

คราวนี้ทหารต้องการสร้างระบอบประยุทธ์ให้คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ดังนั้นจะมีการแต่งตั้งพวกประจบสอพลอที่เกลียดชังประชาธิปไตยและดูถูกประชาชน ให้มานั่งร่างรัฐธรรมนูญระบอบประยุทธ์ ใช้ “พม่าโมเดล” ทหารจะได้มีอิทธิพลต่อไปอีกนาน และผลการเลือกตั้งจะต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับระบอบ“ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของท่านผู้นำ” (guided democracy) โดยที่ทหารจะมีสองบทบาทคู่ขนานตลอดไปในสังคม คือฆ่าคน และเสือกการเมืองพร้อมกัน ตามสูตร “Dwifungsi” ของอดีตเผด็จการซุฮาร์โต้ในอินโดนีเซีย

คนหนึ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับสภาประจบสอพลอ ที่จะมานั่งร่างรัฐธรรมนูญระบอบประยุทธ์คือ สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีธรรมศาสตร์ เพราะเขามองว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นเผด็จการ และการทำรัฐประหารเพียงแต่นำคนใส่เครื่องแบบเข้ามาบริหารประเทศแทนเท่านั้น

ประเทศไทยโชคดีมากที่มีคนฉลาดแบบสุรพล นิติไกรพจน์ และมีคนที่ทั้งกล้า ทั้งขยัน และทั้งมีวิสัยทัศน์เพื่อประโยชน์ตนเอง อย่างพี่เบิ้มจันทร์โอชา ไม่ยังงั้นประเทศจะถอยหลังลงคลองในมือของประชาชนส่วนใหญ่ที่โง่เขลา

ขบวนการเสรีไทย

ใจ  อึ๊งภากรณ์

FT

ในเมื่อพรรคเพื่อไทยและแกนนำ นปช. ยอมจำนนต่อคณะทหารเถื่อน การประกาศตัวขององค์กรเสรีไทยเป็นปรากฏการณ์ที่น่าชื่นชม และให้กำลังใจแก่ผู้รักประชาธิปไตยเป็นจำนวนมากในประเทศไทย

ความสำคัญของขบวนการเสรีไทยในยุคนี้ คือ การประกาศตัวเป็นแกนนำในการต่อสู้กับเผด็จการทหาร ซึ่งแกนนำนี้ ถ้ามีจุดยืนที่ถูกต้องและชัดเจน จะสามารถครองใจคนเสื้อแดงภายในประเทศจำนวนมาก นี่คืออาวุธที่เราจะต้องรู้จักใช้อย่างถึงที่สุด ไม่ควรจะพลาดโอกาส เพราะแกนนำเสื้อแดงก้าวหน้าที่จะกระจัดกระจาย หลายคนติดคุกและหลายคนกำลังหลบหนีอยู่ คำถามสำคัญคือ ขบวนการเสรีไทยจะใช้เครดิตที่มีอยู่กับประชาชนไทยอย่างจริงจังหรือไม่

แกนนำของขบวนการเสรีไทยยอมรับว่าในขณะนี้องค์กรยังเล็กอยู่ และภารกิจสำคัญคือการขยายสมาชิก นอกจากนี้ในเมื่อองค์กรเพิ่งตั้งขึ้นมาในไม่กี่วันที่ผ่านมา เราจะไปหวังว่าขบวนการเสรีไทยจะมีคำตอบครบชุดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวล้มเผด็จการไม่ได้

คำถามสำคัญที่ขบวนการเสรีไทยควรจะตอบกับมวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยอิสระที่ไม่ใช่เสื้อแดงคือ เสรีไทยจะเน้นการเคลื่อนไหวตรงจุดไหน? การล้มเผด็จการจะต้องอาศัยพลังชี้ขาดภายในประเทศ ดังนั้นต้องมีการเน้นการจัดตั้งเครือข่ายของขบวนการเสรีไทยภายในประเทศเป็นอันดับหนึ่ง เราทราบดีว่าเผด็จการทหารกำลังใช้อำนาจป่าเถื่อนในการปราบปรามผู้ที่คิดต่าง การจัดตั้งขบวนการเสรีไทยภายในประเทศไทยจึงต้องเป็นงานใต้ดิน  แต่อย่าลืมว่าเสื้อแดงมีเครือข่ายทั่วประเทศอยู่แล้ว และผู้รักประชาธิปไตยอิสระก็มีเครือข่ายหลวมๆ กระจัดกระจายอยู่บ้าง ซึ่งเราเห็นจากการออกมาต่อต้านรัฐประหาร เราต้องใช้ทรัพยากรสำคัฐตรงนี้

ภารกิจสำคัญของขบวนการเสรีไทย จึงต้องเป็นการประสานระหว่างแกนนำนอกประเทศกับเครือข่ายภายในประเทศ

เสรีไทยจะต้องพิสูจน์กับมวลชนว่ารักประชาธิปไตยภายในองค์กร คือแกนนำและการนำต้องสามารถถูกตรวจสอบและเปลี่ยนโดยมวลชน เราไม่ต้องการแกนนำที่แต่งตั้งตนเองอย่างถาวรและพาเราไปเดินตามผู้ใหญ่ทางการเมืองในอนาคต

ขบวนการเสรีไทยควรจะพึ่งตนเองโดยเก็บค่าสมาชิกหรือเรี่ยไรเงินกันเองในระดับรากหญ้า ทั้งนี้เพื่อให้อิสระจากนายทุนทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นทักษิณหรือคนอื่น แกนนำเสรีไทยจะทำหรือไม่? ผมหวังว่าจะทำ

นอกจากจุดยืนอันดีเลิศในแถลงการณ์ฉบับแรกของขบวนการ เสรีไทยจะต้องประกาศอย่างชัดเจนว่ามีเป้าหมายในการปลดปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน รวมถึงนักโทษ 112 และควรจะมีจุดยืนเพื่อยกเลิกกฎหมาย 112 และการลดบทบาททหารในการเมืองอีกด้วย

เป็นเรื่องเร่งด่วนอีกด้วยที่เสรีไทยต้องรวบรวมรายชื่อคนที่มีชื่อในการเคลื่อนไหว ที่พร้อมจะประกาศตัวเป็นสมาชิกกับสาธารณะ องค์กรจะได้ดูมีน้ำหนักมากขึ้น

ในเรื่องการเคลื่อนไหวนอกประเทศ คนที่ยังมีความหวังเกี่ยวกับสหประชาชาติ หรือ คนที่หวังว่าประเทศประชาธิปไตยจะมาช่วยเรา เขาก็มีสิทธิเคลื่อนไหวต่อไป แต่ในความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าเราควรเลิกความหวังดังกล่าว

ภารกิจสำคัญของคนไทยที่อยู่ต่างประเทศในสายตาผม คือการเสนอความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยกับสื่อมวลชนสากล และ การคัดค้านคำโกหกของคณะเผด็จการ นอกจากนี้เราคงต้องช่วยกันประสานการเคลื่อนไหวระหว่างคนที่อยู่ต่างประเทศกับคนจำนวนมากที่อยู่ภายในประเทศไทย

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผมและเพื่อนๆ มิตรสหายจะสามารถเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทย ด้วยจิตใจบริสุทธิ์ในอนาคตอันใกล้

สี่นิยายเรื่อง ๒๔๗๕

สี่นิยายเรื่อง ๒๔๗๕

ใจ อึ๊งภากรณ์

2475 ราษฎร

1. การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็นการ ชิงสุกก่อนห่าม

พวกที่เชื่อนิยายนี้มองว่าประชาชนไทยไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย ประยุทธ์กับสลิ่มปฏิกูลก็คงมองแบบนี้เช่นกัน แนวคิดนี้เริ่มต้นจากความเชื่อว่าประชาชนธรรมดาไร้การศึกษาและโง่ แน่นอนผู้ที่ตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าวถือว่าตนเองเป็นผู้ที่ฉลาดกว่าพวกคนชั้นต่ำทั้งหลายเสมอ และเรามักจะได้ยินคำกล่าวหาจากสำนักนี้ว่าสาเหตุที่ระบบประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันมีการทุจริตซื้อขายเสียงก็เพราะคนยากคนจนขาดการศึกษา แต่แท้ที่จริง การศึกษากับความฉลาดไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และการทุจริตกับการซื้อเสียงเป็นสิ่งที่นักการเมืองไทยทุกพรรคเป็นผู้ริเริ่มทำกันเอง หลัง ๒๔๗๕

ความจริงแล้วถ้าเราพิจารณาการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองไปสู่ระบบรัฐธรรมนูญ ในปี ๒๔๗๕แทนที่จะยังไม่ถึงยุคสุกงอม ต้องถือว่าไทยล้าหลังประเทศอื่นพอสมควรเพราะแม้แต่ประเทศจีนก็ปฏิวัติยกเลิกระบบจักรพรรดิไปแล้ว 21 ปีก่อนการปฏิวัติในไทย

เหล่าประชาชนไทยในยุคก่อน ๒๔๗๕ เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะก่อนหน้านั้นมีการตีพิมพ์บทความและเสนอฎีกาความเห็นจากประชาชนคนสามัญมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีผลกระทบต่อชีวิตประชาชนในสมัยนั้นและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลกษัตริย์ในการแก้วิกฤตดังกล่าว

จะเห็นว่า กระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองมีรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งจากปัญหาเศรษฐกิจยุคในวิกฤตทุนนิยมครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๒ และ ๒๔๗๔ ราคาข้าวในตลาดที่ชาวนาไทยได้รับ ลดต่ำลงอย่างน่ากลัวถึง 60%  ค่าจ้างเฉลี่ยในชนบทถูกลด 50% และสภาพชีวิตของประชาชนโดยทั่วไปย่ำแย่ ส่วนในเมืองค่าแรงของกรรมาชีพถูกกดลง 20% ระหว่างปี ๒๔๗๔ ถึง ๒๔๗๕  และรัฐบาลได้ประกาศลดเงินเดือนและจำนวนข้าราชการ มีการประกาศขึ้นภาษีกับสามัญชนในขณะที่เจ้าที่ดินและนักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลไม่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

 

2. ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฎร์เอา ความคิดฝรั่งที่ไม่เหมาะกับสังคมไทยมาใช้

นิยายนี้เสนอว่าพวกคณะราษฎร์เป็นพวก “จบนอก” ที่เอาความคิดฝรั่งมาสวมสังคมไทยที่มีประเพณีการอาศัยใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ “มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย”

ในประการแรกการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีกษัตริย์เป็นผู้ถืออำนาจสูงสุดไม่ใช่ระบบการปกครองเก่าแก่ของไทย แต่พึ่งประดิษฐ์ขึ้น 60 ปีก่อนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ โดยรัชกาลที่ ๕ และสาเหตุหนึ่งที่รัชกาลที่ ๕ นำระบบนี้มาใช้กับเมืองไทยก็เพราะมองว่าระบบรัฐรวมศูนย์แบบทุนนิยมที่มีอยู่ในโลกภายนอกเหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ของไทย

ในประการที่สองกระแสการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในคนที่ไปเรียนต่างประเทศ เพราะผู้นำส่วนใหญ่ของคณะราษฎร์ไม่ได้จบจากนอกแต่อย่างใด และปรีดีเองได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า “เมื่อข้าพเจ้ากลับเมืองไทยปี ๒๔๗๐ ชนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยไปต่างประเทศมีความตื่นตัวที่จะเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”

 

3. การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็นการกระทำของกลุ่มชั้นนำโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม

นิยายที่สามนี้ถือว่ามีกำเนิดมาจากสำนักคิดที่มองคนชั้นล่างในเมืองไทยเสมือนควายที่ไร้ความสามารถที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง ในปัจจุบันคนที่มีความคิดแบบนี้มองว่าวิกฤตการเมืองปัจจุบันเป็นแค่การทะเลาะกันระหว่างทักษิณกับคู่แข่ง โดยมวลชนเสื้อแดงถูกจ้างมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยหลายชิ้นที่เสนอว่าในหมู่ประชาชนมีกระแสความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมสูง และมีหลักฐานว่าประชาชนชั้นล่างมีส่วนร่วมในการปฏิวัติพอสมควร  แม้แต่ชนชั้นกรรมาชีพก็มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมาก่อนหน้าการปฏิวัติ ตัวอย่างที่ดีคือ“คณะกรรมกร”ของ ถวัติ ฤทธิเดช ที่สนับสนุนคนงานรถรางและที่มีหนังสือพิมพ์ชื่อ “กรรมกร” คณะกรรมกรถูกก่อตั้งขึ้นในปี ๒๔๖๓ และมีส่วนร่วมในการต่อสู้กับฝ่ายเจ้าในปี ๒๔๗๕ และในปราบกบฏบวรเดชปี ๒๔๗๖

4. รัชกาลที่ ๗ เป็นบิดาแห่งการปกครองประชาธิปไตยไทย

กระแสที่เสนอว่ารัชกาลที่ ๗ เป็นบิดาแห่งการปกครองประชาธิปไตย เป็นกระแสที่ได้รับการสนับสนุนในแวดวงชนชั้นปกครองไทยในยุคหลังเหตุการณ์รุนแรง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีการสร้างรูปปั้นรัชกาลที่ ๗ ไว้หน้าตึกใหม่ของรัฐสภาไทยในสมัยนั้น ปรากฏการณ์อันนี้ถ้าเปรียบเทียบกับรูปปั้นหน้ารัฐสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรูปปั้นของผู้นำการปฏิวัติที่ล้มอำนาจกษัตริย์อังกฤษ จะเห็นว่าค่อนข้างจะแปลกประหลาด เพราะการเชิดชูผู้นำการปฏิวัติ เช่นผู้นำคณะราษฎร์ ซึ่งเปิดทางให้มีการปกครองแบบใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญน่าจะสมเหตุสมผลทางประวัติศาสตร์มากกว่าการเชิดชูผู้ปกครองระบบเก่าที่ถูกล้มไป แต่หลังการปราบปรามอย่างป่าเถื่อนของชนชั้นปกครองไทยในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ชนชั้นปกครองต้องการที่จะลบล้างประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยให้หมดไปจากจิตสำนึกของเรา การล้างจิตสำนึกของประชาชนมีหลายรูปแบบ อีกตัวอย่างคือการไม่ให้ความสำคัญกับอนุสาวรีย์การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่เป็นหมุดโลหะซึ่งตั้งไว้บนถนนใกล้ๆ พระรูปทรงม้า และอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงชัยชนะของคณะราษฎร์ในการปราบกบฏบวรเดชที่หลักสี่

สรุป

การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็นการปฏิวัติล้มรัฐทุนนิยมภายใต้เผด็จการกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่รัฐทุนนิยมภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งอาจมีรูปแบบประชาธิปไตยรัฐสภาหรือเผด็จการก็ได้ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและที่มีประโยชน์กับฝ่ายประชาชนชั้นล่างเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ปฏิวัติระบบการศึกษาไทย

ปฏิวัติระบบการศึกษาไทย

ในขณะที่ “ฝูงอธิการบดีต้านประชาธิปไตย” และข้าราชการไดโนเสาร์ ชื่นชมการทำรัฐประหาร และอ้างว่าเป็น “โอกาส” ในการปฏิรูปการศึกษา เราควรมาพิจารณาการปฏิวัติการศึกษาที่จะปลดแอกประชาชนและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างแท้จริง  แทนที่จะมาให้การศึกษามาเป็นเครื่องมือในการกดขี่ประชาชน

10168208_464872896978493_5213036452852588861_n

วิดีโอนี้ทำขึ้นประมาณสองสัปดาห์ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร พ.ค. 57

เนื่องจากปัญหาเทคนิค หลังช่วงดนตรีคงต้องเพิ่มเสียงเพื่อฟังคำบรรยาย ขออภัยด้วย

เชิญอ่านบทความที่นี่…

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องอาศัยการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ

ใจ อึ๊งภากรณ์ องค์กรเลี้ยวซ้าย

คณะทหารเผด็จการต้องการสร้างความกลัว เพราะความกลัวนำไปสู่อัมพาต อัมพาตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และอัมพาตในการเคลื่อนไหว

แต่เรายอมเป็นอัมพาตไม่ได้!! เราจะต้องก้าวพ้นความกลัว

การก้าวพ้นความกลัวไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำอะไรโง่ๆ และไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีความกลัวอยู่ในใจ แต่เราต้องหาทางบริหารความกลัวที่มีอยู่โดยปกติ เพื่อไม่ให้เราอัมพาต และเพื่อไม่ให้เราต้องยอมแพ้ เพราะถ้าเรายอมแพ้ สังคมไทยจะถอยหลังสู่ยุคมืด การเสียสละของวีรชนประชาธิปไตยตั้งแต่ ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันก็จะเปล่าประโยชน์ และลูกหลานคนรุ่นต่อไป จะต้องเติบโตภายใต้ระบบทาสทางความคิด

สถานการณ์ปัจจุบันหมายความว่ามีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรทำเด็ดขาด คือนั่งอยู่บ้านคนเดียวหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรทัศน์ มันจะนำไปสู่ความหดหู่และความกลัว เราต้องออกจากบ้านทุกวันเพื่อไปนัดคุยกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในวงเล็กๆ เงียบๆ ดื่มกาแฟ และคุยอย่างเป็นระบบ คือคุยกับคนเดิมทุกวันอย่างต่อเนื่อง คุยเพื่อแลกข่าว แต่ไม่ใช่ข่าวลือ คุยเพื่อร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ คุยเพื่อศึกษาบทเรียนจากอดีตและจากประเทศอื่น และที่สำคัญคือ

(1)ต้องคุยเพื่อวางแผนการต่อสู้แบบปิดลับ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการในที่สาธารณะแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน และการคุยกันตอนนี้ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรบ้างในอนาคตที่ใหญ่กว่าการออกมาประท้วงเชิงสัญญลักษณ์

(2)ต้องคุยเพื่อเลือกตัวแทนที่จะไปคุยกับกลุ่มเล็กๆ อื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งในประเด็นนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสาร นี่คือ “ก.ข.ค.” ของการจัดตั้งและต่อสู้ใต้ดิน

การต่อสู้ครั้งนี้จะใช้เวลา แต่เรามีเวลา เราคือคนส่วนใหญ่ และเราคืออนาคต พวกทหาร พวกอำมาตย์ และพวกต้านประชาธิปไตย คือคนส่วนน้อยที่ไม่มีอนาคตต่างหาก

จัดขบวนเป็นระบบ

การต่อสู้รอบนี้คงใช้เวลา แต่เราต้องสู้อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย ที่สำคัญคือต้องพยายามขยายกระแส ไปสู่ทุกภาคส่วน ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

แต่เราต้องฉลาดในการต่อสู้ ต้องเข้าใจยุทธวธีที่มีประสิทธิภาพ เพราะแค่การใช้ “อารมณ์” คงอยู่ได้ไม่นาน

การต่อสู้แบบนำตนเอง นัดเอง มาเอง มีความสำคัญยิ่งในสถานการณ์ที่ผ่านมา เพราะมันเป็นการแสดงจุดยืนนำตนเอง ไม่พึ่งทักษิณด้วย เพราะทักษิณไม่มีความคิดจะสู้แบบที่จะถอนรากถอนโคนอำนาจทหารหรืออำมาตย์เลย เขาต้องการแค่กดดันให้เขาสามารถกลับมามีบทบาทเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เราจะสู้แบบ นำตนเอง นัดเอง มาเอง ไม่ได้ มันค่อยๆ ลดพลังลง ดังนั้นเราต้องหาทางทำงานร่วมกันในรูปแบบองค์กร ประสานการเคลื่อนไหวและต่อสู้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ในขณะที่คงไว้แกนนำหลากหลาย หลายหัว เพราะจะรักษาความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร และทำให้ปราบยากขึ้น ที่สำคัญคือควรมีการนัดคุยกันระหว่างตัวแทนกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อถกเถียงทำความเข้าใจกับภาพรวมทางการเมือง เพื่อกำหนดแนวทางการต่อสู้ ต้องเชิญกลุ่มอื่นๆ มาร่วมมากขึ้นตลอด ไม่มีการกีดกันใคร โดยมีกติกาง่ายๆ ในการประชุม เพื่อไม่ให้ใครครอบงำ

เราต้องทำงานเป็นระบบเหมือนฝ่ายตรงข้าม ที่ทหารทำงานร่วมกับองค์กรอิสระ ศาล ม็อบนกหวีด พรรคปชป.กันเป็นอย่างดี

เราต้องให้ความสำคัญในการเชิญกลุ่มสหภาพแรงงานแดงและสหภาพแรงงานที่รักประชาธิปไตยมาร่วม สหภาพแรงงานดังกล่าวต้องพยายามทำความเข้าใจกับสมาชิกว่าทำไมเราต้องสู้แบบ “การเมือง” กับอำนาจเผด็จการ และในอนาคน ถ้าสร้างกระแสได้ เราควรพิจารณาการนัดหยุดงาน แต่ต้องทำงานการเมืองพื้นฐานก่อนอย่างเร่งด่วน

ในอนาคต มันไม่เห็นทางที่คณะรัฐประหารจะใช้ในการแก้ปัญหาสังคม ในการลดความขัดแย้ง ตามที่เขาอ้าง มันจะแก้ได้ยังไง คนจะทนกับสภาพเผด็จการเช่นนี้ได้นานแค่ไหน? ในเมื่อคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่ได้สนับสนุนทหารและพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด อย่าให้สื่อมวลชนภายใต้ตีนทหารกล่อมให้เราหดหู่ เราต้องมีช่องทางสือแนวคิดระหว่างกันเอง การพบกันเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ การใช้โซเชียลมีเดียก็สำคัญ แต่ต้องทำหลายอย่าง ไม่ใช่แค่พึ่งอินเตอร์เน็ตเพราะเขาปิดวิธีการแบบนี้ได้

ในระยะสั้น ทหารอาจจะสร้างภาพว่าคุมสังคมได้ด้วยกระบอกปืน แต่ภายใต้ภาพหลอกลวงนี้ประชาชนโกรธแค้นและไม่ยอมรับทหาร

ในระยะยาว ทหารจะไม่สามารถแบกความต้องการที่หนักหนาซับซ้อนของประชาชนได้ ความต้องการ ข้อเรียกร้องของทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร และฝ่ายคัดค้าน จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ ที่มีความขัดแย้งกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดทั่วไปในทุกสังคม

และสุดท้าย เราไม่ควรลืมเพื่อน ต้องรณรงค์ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองโดยไว ไม่ใช่ปล่อยให้ถูกลืมและเป็นเหยื่อของการเจรจา อย่างที่พรรคเพื่อไทยเคยทำ

เราต้องจัดตั้งลับ เรียนรู้จากข้อดีข้อเสียของ พคท.

ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจะต้องทำงานปิดลับใต้ดิน เพื่อคานอำนาจมืดของทหารที่คอยคุกคามเราตลอด มันไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยต้องสู้แบบปิดลับมานาน ครั้งสุดท้ายก็หลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษายุทธวิธีการเคลื่อนไหวใต้ดิน พวกเราควรทบทวนแนวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นกับจุดด้อย

พคท. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการจัดตั้งมวลชน เพราะมวลชนที่กระจัดกระจายแบบ “ต่างคนต่างทำ” อาจกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวในตอนต้น แต่พอไปสักพักก็หมดกำลังใจ หมดแรง ท่ามกลางความกลัว

การจัดตั้งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงไปทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้ พคท. ต่อสู้ไปได้นาน ทั้งๆ ที่มีการพยายามปราบปรามอย่างหนักจากฝ่ายชนชั้นปกครองไทย นอกจากนี้การจัดตั้งหมายความว่าทุกคนมี “ความเข้าใจร่วมกัน” ว่าสังคมมีลักษณะแบบไหน และก้าวต่อไปในการต่อสู้ควรจะเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ พคท. มีทฤษฏีที่วิเคราะห์สังคมและนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันของสมาชิก เรื่องนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะขณะที่ฝ่ายทหารเผด็จการกำลังสร้างกระแสความกลัว ขณะที่ผู้ปฏิบัติการบางคนถูกจับไป ขณะที่แกนนำเก่ายอมจำนนและสร้างความสับสนในมวลชน เราต้องรักษาความมั่นใจ เราต้องรักษาปัญญาที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ และเราต้องมีแผนสู้

พคท. เข้าใจการทำงานปิดลับที่อาศัยกลุ่มเล็กๆ ที่ประสานงานกันทั่วประเทศ และนอกประเทศ ผ่านตัวแทนหรือที่สหายเก่าเรียกกันว่า “จัดตั้ง” หรือแกนนำของกลุ่มเล็กๆ นั้นเอง นี่คือวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการปราบปรามองค์กร

แต่การจัดตั้งของพคท. มีข้อบกพร่องใหญ่คือ การจัดตั้งของเขาเป็นรูปแบบเผด็จการ สหายนำสั่งลงมาและลูกพรรคต้องทำตาม ต้องเห็นด้วย คิดเองไม่ได้ ไม่มีประชาธิปไตยภายใน ในแง่หนึ่งพอพูดแบบนี้ก็ทำให้เรานึกได้ว่า พคท. เป็นเงาสะท้อนกลับสังคมเผด็จการ แต่ถ้าเราจะสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย เราใช้วิธีการของเผด็จการไม่ได้

ดังนั้นการจัดตั้งรูปแบบใหม่ที่เราต้องใช้คือ การจัดตั้งกลุ่มเล็กๆ ที่ถกเถียงประเด็นอย่างเสรี เรียนรู้และศึกษาสภาพสังคมด้วยกัน และส่งผู้แทนไปประสานกับผู้แทนของกลุ่มอื่นๆ มันเป็นการจัดตั้งแบบรากหญ้า หรือแบบล่างสู่บน ซึ่งมีลักษณะประชาธิปไตย

การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวสำคัญเพราะ เป็นวิธีที่จะประมวลประสบการณ์การต่อสู้ของทุกคนในโลกจริง แทนที่จะทำงานภายใต้ความคิดของคนคนเดียวหรือแกนนำไม่กี่คน มันเป็นวิธีที่เราจะทดสอบการวิเคราะห์สังคมและแนวสู้ในโลกจริง เพื่อปรับปรุงตลอดเวลา ไม่ใช่ทำงานแบบท่องสูตร

ในขณะเดียวกันเราต้องเข้าใจว่า การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวแบบที่เราจะสร้าง ไม่ได้หมายความว่า “ต่างคนต่างเคลื่อนไหว” แบบเสรี 100% เพราะนั้นจะนำไปสู่การปฏิบัติแบบกระจัดกระจาย ซึ่งจะไม่มีพลังเมื่อเผชิญหน้ากับเผด็จการรวมศูนย์ของฝ่ายอำมาตย์ เราต้องมีวินัยในตัวเราเองที่จะทำตามมติเสียงส่วนใหญ่เสมอ เราจะมาเสพสุขกับความเป็นเสรีชนไม่ได้ถ้าเราจะโค่นเผด็จการ

พคท. เข้าใจเสมอว่าเราต้องขยายมวลชนและขยายความคิดไปสู่คนจำนวนมาก เราก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้เช่นกัน ไม่ใช่แค่พอใจในการกระทำของกลุ่มเล็กๆ อย่าลืมว่าเพื่อนๆ พลเมืองไทยเป็นล้านๆ ไม่พอใจกับการเหยียบย่ำสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยโดยทหารหรือม็อบพรรคประชาธิปัตย์ พลเมืองเหล่านี้คือแนวร่วมสำคัญของเรา

พคท. มีจุดอ่อนสำคัญอีกสองจุดคือ (1) การเลือกวิธีจับอาวุธ แทนที่จะเน้นการขับเคลื่อนมวลชน ซึ่งรวมถึงการนัดหยุดงานของคนทำงานด้วย และ(2) เลือกสมรภูมิชนบท แบบ “ป่าล้อมเมือง”

เราคงเรียนรู้ไปแล้ว จากประวัติศาสตร์ พคท. ว่าการจับอาวุธคงเป็นวิธีที่จะรบกับทหารที่มีอาวุธและรถถังครบมือไม่ได้ แต่จุดอ่อนของทหารคือ เวลาเขาจะบริหารบ้านเมือง เขาใช้ปืนอย่างเดียวไม่ได้ และใช้ตลอดไปไม่ได้อีกด้วย ในที่สุดเขาต้องการอาศัยการร่วมมือจากเรา เราจึงต้องหาทางไม่ร่วมมือ ต้องหาทางประท้วงเมื่อโอกาสเหมาะ

ในเรื่องสมรภูมิ นักประชาธิปไตยคงเข้าใจกันแล้วว่าสมรภูมิหลักคือในเมืองต่างๆ ตามที่เราเห็นคนออกมาประท้วงรัฐประหารเมื่อไม่นานมานี้ เราทำงานปิดลับในเมืองง่ายกว่าในชนบทด้วย เพราะในเมืองมีชุมชนแออัด

ถึงแม้ว่าเราจำใจต้องทำงานปิดลับตอนนี้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าเราต้องรู้จักปรับตัว ถ้าโอกาสหรือช่องว่างเกิดขึ้น เราต้องสามารถเปลี่ยนวิธีทำงานไปเป็นการทำงานแบบเปิดเผยอย่างรวดเร็ว ในอดีตหลายองค์กรที่เคยชินกับการทำงานปิดลับ จะปรับตัวเพื่อทำงานแบบเปิดเผยไม่ทัน ตรงนี้นักปฏิวัติรัสเซียชื่อ เลนิน เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของนักต่อสู้ที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อเข้ากับสถานการณ์เสมอ แต่เวลาเลนินปรับตัว เขาไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนหรือุดมการณ์แต่อย่างใด การปรับตัวต่างจากการฉวยโอกาสทิ้งอุดมการณ์เดิมโดยสิ้นเชิง มันเป็นคนละเรื่องกัน 

หวังพึ่งทักษิณ เพื่อไทย หรือ นปช. ไม่ได้ ดังนั้นเราต้องพึ่งตนเอง

ในเมื่อคนอย่างทักษิณ สามารถครองใจประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ และในเมื่อคนอย่างประยุทธ์ ไม่สามารถครองใจใคร นอกจากสลิ่มและพวกประจบสอพลอล้างลิ้นคอยเลีย แถมยังทำตัวน่าสมเพชเป็นที่อับอายขายหน้าสังคมสากลเพราะหลงตัวเองคิดว่าเป็น สฤษดิ์ กลับชาติมาเกิด ทักษิณได้เปรียบประยุทธ์และทหารเผด็จการแบบขาดลอย

ดังนั้นถ้าทักษิณ มีความประสงค์และมีวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำ เขาสามารถออกประกาศให้ประชาชนเสื้อแดงและคนอื่นที่ชื่นชมไทยรักไทยและเพื่อไทย เตรียมพร้อมจัดตั้ง สร้างเครือข่าย วางแผน ที่จะล้มเผด็จการทหารและสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยได้  แต่ทักษิณไม่มีวันทำ

ทักษิณ ไม่มีวันทำ เพราะทักษิณกลัวการลุกฮือของประชาชนมากกว่าที่จะกลัวว่าสังคมไทยจะถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของเผด็จการทหาร เรื่องนี้ชัดเจนมานาน ตั้งแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่นำไปสู่การตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะทักษิณมัวแต่ชักชวนให้พรรคพวกปรองดองกับทหาร แต่การปรองดองกับทหารทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ใจและในที่สุดนำไปสู่รัฐประหารของประยุทธ์

พลเมืองผู้รักประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเชื่อนิยายหลอกเด็ก ว่าทักษิณ หรือ ใครก็ตาม จะมาปลดแอกสังคมและสร้างประชาธิปไตยให้เราทุกคน เราต้องพึ่งตนเอง และเราต้องพึ่งตนเองในขณะที่แกนนำรากหญ้าหลายคนถูกคุกคามจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว

กาลเวลาและสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ตกและฟ้าดินมืดมน ในไม่ช้าเช้ารุ่งก็จะตามมา แต่ในช่วงตกมืดเราหลับนอนไม่ได้ เราต้องขยันสร้างกลุ่ม เชื่อมกับกลุ่มอื่นและสร้างเครือข่าย เพื่อลุกขึ้นสู้โค่นเผด็จการและสร้างประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้

การสร้างกลุ่มและเครือข่ายน่าจะอาศัยจุดยืนง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยได้  เช่น ปฏิเสธรัฐธรรมนูญปี 50 และการปฏิกูลสังคมที่จะเกิดขึ้นภายใต้เผด็จการประยุทธ์

เราน่าจะมีจุดร่วมว่า สส. และ สว. ทุกคนจะต้องมาจากการเลือกตั้ง  ต้องยุบศาลรัฐธรรมนูญ กกต.และองค์กรอิสระทั้งหมด  ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน เน้นการพัฒนาสถานภาพของพลเมืองทุกคนผ่านการพัฒนารายได้ของคนระดับล่าง ส่งเสริมนโยบายที่พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และ นำทหารมือเปื้อนเลือดที่ก่อรัฐประหารมาลงโทษ

พวกเราควรจะจับกลุ่มกันเพื่อรวมตัวกันภายใต้นโยบายง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยแบบนี้

แล้วเราควรจะออกไปขยายเครือข่ายของคนที่เห็นตรงกับเรา ควรมีการตั้งสภากาแฟในทุกชุมชนเพื่อคุยเรื่องอนาคตประชาธิปไตยไทย ซึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของเครือข่ายที่จะลุกขึ้นมาสู้ จนล้มเผด็จการ

เราอาจไปทำบุญร่วมกันที่วัด แล้วถือโอกาสคุยการเมือง

เราควรพัฒนาความรู้โดยจัดกลุ่มศึกษาเล็กๆ ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ทฤษฎีการเมือง และวิธีการต่อสู้กับเผด็จการ

ในไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อทหารเริ่มหมดสภาพในการครองสังคม จะเกิดช่องโหว่และโอกาสในการเคลื่อนไหว และเมื่อนั้นเครือข่ายทั่วประเทศของเราจะต้องขยับตัวออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่สร้างกลุ่มและเครือข่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าเราจะทำไม่ได้

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

การแจกใบปลิวลับๆ ในสถานที่สาธารณะ โดยกลุ่มใต้ดินที่คัดค้านเผด็จการ ควรอาศัยหลักการดังนี้คือการเลือกเนื้อหา ควรคิดว่าต้องการสื่ออะไรให้ใคร อยากให้ผู้รักประชาธิปไตยทำอะไรเป็นรูปธรรม หรืออยากแจ้งอะไรเพื่อทราบ ที่สำคัญคือเลือกเรื่องสำคัญมาเรื่องเดียวก็พอ คราวต่อไปเสนออีกเรื่อง ใบปลิวไม่ใช่หนังสือ และไม่ใช่แถลงการณ์ยาว

หลีกเลี่ยงคำหยาบถ้าไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงข้อความ 112 แสดงตัวว่าเป็นองค์กรที่มีวุฒิภาวะ

การออกแบบจัดหน้า ต้องมีหัวข้อใหญ่ เห็นและเข้าใจทันที อาจมีหนึ่งรูปภาพ เนื้อหาไม่ควรยาว ใช้เวลาอ่านไม่เกิน 1 นาที ทำใบปลิวขนาด A5 คือครึ่งหน้ากระดาษ และควรใช้โลโก้เดียวตลอด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น เช่นโลโก้ชูสามนิ้วเป็นต้น

ก่อนไปถ่ายเอกสาร ต้องสำรวจแหล่งที่ปลอดภัย อาจถ่ายคนละนิดแล้วมารวมกัน

ก่อนที่จะกระจายใบปลิว ควรสำรวจสถานที่ต่างๆ ก่อน สำรวจว่ากระจายแล้วจะหลบไปอย่างไร เส้นทางใด ฯลฯ

หลายแห่งมีกล้องวงจรปิด เราคงต้องหาทางปิดหน้า แบบดูธรรมชาติ

การกระจายใบปลิวมีหลายรูปแบบ เช่นทิ้งจากที่สูงลงมาบนพื้นที่ที่มีคนเดินไปเดินมา ภายในหรือภายนอกตึก อาจแอบวางบนเก้าอี้ หรือในห้องน้ำ อาจกระจายในมหาวิทยาลัย อาจกระจายตามชุมชน หรือวางบนกระจกรถ ฯลฯ คิดสร้างสรรค์เอง

กระจายเสร็จแต่ละครั้งไม่ควรมีเหลือติดตัว ไม่ควรมีเหลือที่บ้าน ต้นฉบับไม่ควรอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

การไล่ล่าคนงานเขมรกับพม่าขัดกับผลประโยชน์คนไทยส่วนใหญ่

ใจ อึ๊งภากรณ์

ขณะนี้เผด็จการทหารฝ่ายขวาของประยุทธ์ กำลังใช้แนวชาตินิยมสุดขั้วและการสร้างกระแสเกลียดชังประชาชนจากเพื่อนบ้าน เพื่อเบี่ยงเบนประเด็นและกดขี่คนไทยส่วนใหญ่ให้เป็นทาสรับใช้ทหารและชนชั้นปกครอง

นอกจากการขับไล่เพื่อนแรงงานจากเขมรและพม่าจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยแล้ว มันยังมีผลกระทบกับความเข้มแข้งของขบวนการแรงงานและขบวนการประชาธิปไตย

ในแง่เศรษฐกิจ ธุรกิจไทยในทุกระดับขาดแคลนแรงงานค่าจ้างต่ำในงานสกปรกและยากลำบาก ซึ่งมิตรสหายจากเพื่อนบ้านได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ ถ้าเค้าขาดหายไปเศรษฐกิจไทยก็จะขยายตัวช้าลง ซึ่งจะมีผลกระทบกับคนไทยธรรมดาจำนวนมาก

ในแง่ของความตอแหลเราต้องถามว่าในบ้านเรือนของนายพล และ พวกคณะทหาร รวมถึงชนชั้นกลางที่เชียรทหาร มีการใช้และเอาเปรียบคนเขมรหรือคนพม่ามากน้อยเพียงไร

ในแง่ของการปลุกระดมให้คนไทยคลั่งชาติ ไม่ว่าจะด้วยภาพยนตร์นเรศวรหรือการสร้างกระแสเกลียดชังคนงานจากประเทศรอบข้าง มันเป็นความพยายามอันน่าสมเพชของประยุทธ์ และ พรรคพวก ที่หวังเบี่ยงเบนความคิดของคนส่วนใหญ่ไปจากการคิดเรื่องรัฐประหารและการขโมยประชาธิปไตย ไปสู่การหมอบคลานต่อชนชั้นปกครองและทหาร

แต่คณะทหารและนักธุรกิจที่สนับสนุนเผด็จการไม่ใช่พวกเดียวกับเรา ทั้งๆ ที่เขามีสัญชาติไทย ในอดีตถึงปัจจุบันเผด็จการอาศัยอำนาจเพื่อกอบโกยทรัพย์สินส่วนรวมเข้ากระเป๋าตัวเอง และพวกนายทุนก็อาศัยเผด็จการในการกดค่าแรงและสวัสดิการของคนทำงาน อย่าลืมว่าฝ่ายอำมาตย์ เกลียดชังทักษิณ เพราะทักษิณ นำนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่มาใช้ แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเราต้องเชียร์ทักษิณ แบบไม่เลือกคิดเอง

ในเมือทหารและอำมาตย์เป็นศัตรูของคนไทยส่วนใหญ่ คนธรรมดาผู้ทำงานทั่วโลกเป็นมิตรของเรา ซึ่งรวมถึงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย

มาตรการโหดร้ายทารุณ ของเผด็จการทหารต่อแรงงานพม่าและเขมร คงไม่ทำให้คนเหล่านั้นไม่กลับมาทำงานในไทย เพียงแต่เค้าจะเข้ามาในลักษณะผิดกฎหมาย และ ขาดความมั่นคงมากขึ้น สถานการณ์แบบนี้จะอำนวยให้พวกนายจ้างกินเลือด ตำรวจ และทหารสามารถเอารัดเอาเปรียบเพื่อนๆ ของเราได้มากขึ้น

การสร้างกระแสความเกรงกลัวในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปราบแรงงานข้ามชาติ หรือ การเรียกพลเมืองผู้รักประชาธิปไตยเข้าไปรายงานตัวต่อทหาร เป็นเรื่องเดียวกัน

ถ้าคนงานไทยหรือประชาชนทั่วไป ถูกคณะทหารหลอกให้คล้อยตามแนวชาตินิยมก็จะทำให้เราเพียงแต่เป็นทาส

วัฏจักรความขัดแย้งทางชนชั้น

วัฏจักรความขัดแย้งทางชนชั้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้ามองวิกฤตการเมืองปัจจุบัน เราต้องมองภาพรวมของการต่อสู้ระหว่างพลเมืองกับชนชั้นปกครองเผด็จการ ตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ผ่านการลุกฮือ ๑๔ ตุลา ผ่านการปราบปรามนองเลือด ๖ ตุลา ผ่านการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ ผ่านการล้มเผด็จการในเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน

Anti-government protester from the Red Sunday group gestures during a rally at a park in Bangkok

     ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ท่ามกลางการต่อสู้ของนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และประชาชนทั่วไป เผด็จการทหารของ ถนอม กิตติขจร ประภาส จารุเสถียร และณรงค์ กิตติขจร ถูกโค่นล้มไป สามทรราชนี้ต้องหนีออกนอกประเทศ เพราะมีส่วนในการสั่งฆ่าประชาชนผู้ไร้อาวุธท่ามกลางกรุงเทพฯ

รัฐบาลเผด็จการทหารของ ถนอม-ประภาส-ณรงค์ เป็นรัฐบาลอำมาตย์ที่รับมรดกอำนาจจากจอมเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์

สฤษดิ์ เป็นนายทหารที่มีบทบาทสำคัญในการรื้อฟื้นสถานภาพของสถาบันกษัตริย์หลัง ๒๔๗๕ นอกจากถนอม-ประภาส-ณรงค์ จะรับมรดกอำนาจเผด็จการจาก สฤษดิ์ แล้ว ยังรับมรดกวิธีโกงกินชาติบ้านเมืองจากครูใหญ่คนนั้นอีกด้วย เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ทหารเข้ามากินบ้านกินเมืองยกใหญ่

ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เวลานักศึกษานำขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่ถนนราชดำเนิน มีนักศึกษาถือรูปกษัตริย์และราชินีนำหน้า ซึ่งแสดงว่านักศึกษาพวกนี้ยังต้องการพิสูจน์ความจงรักภักดี แต่นั้นก็ไม่สามารถป้องกันเขาจากกระสุนของทหารได้

ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ในช่วง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เราควรปฏิเสธนิยาย 2 ข้อคือ

  1. นิยายที่เสนอว่าประชาชน “ถูกหลอกมาเดินขบวน” เพื่อรับใช้ผู้ใหญ่ที่ขัดแย้งกันเอง ซึ่งนอกจากจะดูถูกวุฒิภาวะของนักศึกษาและประชาชนแล้ว ยังเป็นนิยายที่เหมือนกับคำพูดของเสื้อเหลือง หรือเอ็นจีโอ ที่มองว่าคนเสื้อแดงโง่และถูกทักษิณหลอกมาตายที่ราชประสงค์ ความคิดแบบนี้ชวนให้เราเลิกสู้ มันเป็นนิยายที่หวังทำลายขบวนการประชาชน
  2. นิยายที่เสนอว่าเผด็จการทหารถูกล้มเพราะนายทหารชั้นสูงขัดกันเองเท่านั้น ซึ่งพยายามมองแต่บทบาทของผู้ใหญ่และตาบอดถึงบทบาทหลักของประชาชนหรือมวลชนในการเปลี่ยนสังคม มันเป็นมุมมองที่เชียร์อภิสิทธิ์ชน และไม่มองภาพรวม

ข้อผิดพลาดของฝ่ายขบวนการนักศึกษาและประชาชนในช่วง ๑๔ ตุลา เป็นความผิดพลาดที่เราควรยกโทษให้ เพราะขบวนการนี้กำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ท่ามกลางการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองย้อนกลับไปสรุปได้ว่าขบวนการประชาชนในยุคนั้นควรจะเตรียมตัวยึดอำนาจรัฐเอง หลังจากที่โค่นเผด็จการ ไม่ใช่นิ่งเฉยท่ามกลางความสับสน หรือไปมอบอำนาจหรือความชอบธรรมให้อำมาตย์ วิธีหนึ่งที่ขบวนการประชาชนจะเตรียมตัวยึดอำนาจรัฐ คือการสร้างพรรคมวลชนในเมืองที่เชื่อมกับกรรมาชีพ

ในยุคนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พยายามสร้างพรรคมวลชน เพื่อยึดอำนาจรัฐผ่านการสร้างกองกำลังติดอาวุธ ตามแบบของ เหมา เจ๋อ ตุง ในจีน  พคท. เชื่อว่าจะต้องยึดชนบทก่อนแล้วค่อยล้อมเมือง ดังนั้นพรรคไม่ได้เข้าไปจัดตั้งและให้ความสนใจกับการต่อสู้ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับชัยชนะในวันที่ ๑๔ ตุลาเลย ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดมหาศาล

เราจะเห็นว่าพลังมวลชนเป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าเราจะล้มเผด็จการได้หรือไม่ แต่ถ้าเราไม่มีการจัดตั้งเป็นพรรค พลังมวลชนจะกระจายหายไป ไม่สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ และอำมาตย์ก็สามารถฟื้นตัวเพื่ออยู่ต่อในรูปแบบใหม่ได้เสมอ แต่การมีพรรคก็ไม่ใช่หลักประกันอะไร ถ้าพรรคเสนอแนวทางที่ผิดพลาด และไม่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่องแนวทาง

ทั้งๆ ที่ พคท. เข้ามามีอิทธิพลมากมายในขบวนการนักศึกษาและประชาชนหลัง ๑๔ ตุลา แต่ พคท. ก็ไม่ได้สนใจที่จะสู้กับอำมาตย์ในเมือง ปล่อยให้ขบวนการถูกปราบไปในเหตุการณ์นองเลือดวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙  และเมื่อนักศึกษาและประชาชนเข้าป่าไปร่วมกับพคท. ก็ไม่มีการสนับสนุนให้นำตนเอง ใช้วิธีเผด็จการของพรรคปิดกั้นไม่ให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทาง และไม่มีการสนับสนุนการศึกษาทางการเมืองนอกจากการท่องหนังสือของ เหมา เจ๋อ ตุง ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคหดหู่ไม่เข้าใจเมื่อรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์หันมาจับมือกับอำมาตย์ไทย นอกจากนี้ไม่มีการวางแผนเพื่อสู้ในเมืองเลย ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดโอกาสให้อำมาตย์ไทย ภายใต้แนวคิดของ เปรม ติณสูลานนท์ สามารถใช้การเมืองนำทหารดึงนักศึกษาออกจากป่าได้ จนพรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย

ความสำเร็จของ เปรม ในการปรองดองหลัง ๖ ตุลา มาจากสองสาเหตุหลักคือ การล่มสลายของ พคท. และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจไทยหลายปี ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่พึงพอใจกับชีวิตตนเอง

สภาพสันติภาพในสังคมไทย อยู่ได้ไม่นาน เพราะเมื่อทหารเผด็จการ สุจินดา คราประยูร ก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในปี ๒๕๓๔ เนื่องจากกังวลว่าทหารกำลังเสียอำนาจต่อพรรคการเมืองพลเรือน ก็เกิดความไม่พอใจในสังคม ในที่สุดมีการลุกฮือของพลเมืองเพื่อฝ่ากระสุนทหาร และล้มเผด็จการสุจินดา แกนนำรากหญ้าในการต่อสู้ครั้งนี้ มาจากอดีตนักกิจกรรมช่วง ๑๔ ตุลา และ ๖ ตุลา แต่แกนนำคนรุ่นใหม่ก็มี ซึ่งพวกนี้ก็พัฒนาตนเองไปเป็นแกนนำเสื้อแดงในอนาคต หรือถอยหลังไปเป็นฟาสซิสต์ที่เข้าร่วมกับพันธมิตรฯเสื้อเหลือง

ข้อแตกต่างระหว่างการลุกฮือในช่วงพฤษภาคม ๓๕ กับการต่อสู้ช่วง ๑๔ ตุลา คือการที่ประชาชนขาดพรรคมวลชน พรรคการเมืองกระแสหลัก และพวกปัญญาชนอนุรักษ์นิยม จึงสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการล้มทหารในปี ๒๕๓๕ โดยไม่มีกระแสความคิดที่เน้นประโยชน์กรรมาชีพคนทำงาน เกษตรกรรายย่อย และคนจนแต่อย่างใด

เพียงสี่ปีหลังจากนั้น เศรษฐกิจไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ก็เข้าสู่วิกฤตหนัก ซึ่งในที่สุดเปิดโอกาสให้พรรคไทยรักไทยเสนอนโยบายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ และดึงพลเมืองส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม นั้นคือเงื่อนไขใหม่ในการสร้างความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมกับประชาชน

ถ้าทักษิณมีภาวะในการนำ

ใจ  อึ๊งภากรณ์

ในเมื่อคนอย่างทักษิณ สามารถครองใจประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ และในเมื่อคนอย่างประยุทธ์ ไม่สามารถครองใจใคร นอกจากสลิ่มและพวกประจบสอพลอล้างลิ้นคอยเลีย แถมยังทำตัวน่าสมเพชเป็นที่อับอายขายหน้าสังคมสากลเพราะหลงตัวเองคิดว่าเป็นสฤษดิ์ กลับชาติมาเกิด ทักษิณ ได้เปรียบประยุทธ์และทหารเผด็จการแบบขาดลอย

ดังนั้นถ้าทักษิณ มีความประสงค์และมีวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำ เขาสามารถออกประกาศให้ประชาชนเสื้อแดงและคนอื่นที่ชื่นชมไทยรักไทยและเพื่อไทย เตรียมพร้อมจัดตั้ง สร้างเครือข่าย วางแผน ที่จะล้มเผด็จการทหารและสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยได้  แต่ทักษิณ ไม่มีวันทำ

ทักษิณ ไม่มีวันทำ เพราะทักษิณกลัวการลุกฮือของประชาชนมากกว่าที่จะกลัวว่าสังคมไทยจะถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของเผด็จการทหาร เรื่องนี้ชัดเจนมานาน ตั้งแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่นำไปสู่การตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะทักษิณมัวแต่ชักชวนให้พรรคพวกปรองดองกับทหาร แต่การปรองดองกับทหารทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ใจและในที่สุดนำไปสู่รัฐประหารของประยุทธ์

พลเมืองผู้รักประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเชื่อนิยายหลอกเด็ก ว่าทักษิณ หรือ ใครก็ตามจะมาปลดแอกสังคมและสร้างประชาธิปไตยให้เราทุกคน เราต้องพึ่งตนเอง และเราต้องพึ่งตนเองในขณะที่แกนนำรากหญ้าหลายคนถูกคุกคามจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว

กาลเวลาและสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ตกและฟ้าดินมืดมน ในไม่ช้าเช้ารุ่งก็จะตามมา แต่ในช่วงตกมืดเราหลับนอนไม่ได้ เราต้องขยันสร้างกลุ่ม เชื่อมกับกลุ่มอื่นและสร้างเครือข่าย เพื่อลุกขึ้นสู้โค่นเผด็จการและสร้างประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้

การสร้างกลุ่มและเครือข่ายน่าจะอาศัยจุดยืนง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยได้  เช่น ปฏิเสธรัฐธรรมนูญปี 50 และการปฏิกูลสังคมที่จะเกิดขึ้นภายใต้เผด็จการประยุทธ์   สส. และ สว. ทุกคนจะต้องมาจากการเลือกตั้ง  ยุบศาลรัฐธรรมนูญ กกต.และองค์กรอิสระทั้งหมด  ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน เน้นการพัฒนาสถานภาพของพลเมืองทุกคนผ่านการพัฒนารายได้ของคนระดับล่าง ส่งเสริมนโยบายที่พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และ นำทหารมือเปื้อนเลือดที่ก่อรัฐประหารมาลงโทษ

พวกเราควรจะจับกลุ่มกันเพื่อรวมตัวกันภายใต้นโยบายง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยแบบนี้ แล้วเราควรจะออกไปขยายเครือข่ายของคนที่เห็นตรงกับเรา ควรมีการตั้งสภากาแฟในทุกชุมชนเพื่อคุยเรื่องอนาคตประชาธิปไตยไทย ซึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของเครือข่ายที่จะลุกขึ้นมาสู้ จนล้มเผด็จการ

ในไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อทหารเริ่มหมดสภาพในการครองสังคม จะเกิดช่องโหว่และโอกาสในการเคลื่อนไหว และเมื่อนั้นเครือข่ายทั่วประเทศของเราจะต้องขยับตัวออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่สร้างกลุ่มและเครือข่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าเราจะทำไม่ได้

รัฐประหารยาว

รัฐประหารยาว

ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐประหารเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของกระบวนการรัฐประหารปัจจุบันในไทย มันเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๙

10419877_908106819215632_1592394910_n

     ต้นเหตุของความชำรุดของระบบประชาธิปไตยไทย เริ่มจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี ๒๕๓๙ เพราะในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายทุนหลายส่วน และข้าราชการชั้นสูง ต่างหาทางโยนภาระในการแบกปัญหาวิกฤตไปสู่คนจน โดยการเลิกจ้าง ตัดเงินเดือน และตัดสวัสดิการ พวกอำมาตย์หัวเก่าเหล่านี้ใช้เงินรัฐที่มาจากภาษีประชาชน เพื่อจ่ายหนี้เสียในระบบการเงินและหนุนเงินออมของคนรวยและชนชั้นกลาง ฝ่ายเอ็นจีโอและนักวิชาการแนวชาตินิยม ก็สนับสนุนแนวคิดล้าหลังแบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง โดยอ้างแบบเพ้อฝันว่าเราสามารถปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่สังคมเกษตรได้ ส่วนนักวิชาการเสรีนิยมกลไกตลาด ก็พยายามแก้ตัวเรื่องการเปิดเสรีที่นำไปสู่วิกฤตครั้งนี้ โดยอ้างว่าเปิดมากเกินไปโดยไม่มีการกำกับดูแลอย่างเพียงพอโดยรัฐ แต่เขาไม่กล้ายอมรับว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นมาจากข้อบกพร่องในตัวมันเองของกลไกตลาดเสรี และเขาไม่กล้าศึกษาทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายซ้าย ที่อธิบายวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมมาตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์

สำหรับ ทักษิณ ชินวัตร กับพรรคพวก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เน้นความล้าหลังของเศรษฐกิจกับสังคมไทย พรรคไทยรักไทยจึงเสนอนโยบายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพื่อสร้างฐานเสียงในหมู่พลเมือง นอกจากนี้มีการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่จะปรับปรุงและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัย นี่คือที่มาของชัยชนะของพรรคไทยรักไทย และเป็นสาเหตุให้ทักษิณและไทยรักไทยครองใจประชาชนส่วนใหญ่ถึงทุกวันนี้

เราต้องเข้าใจว่ารัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลนายทุน เพื่อประโยชน์นายทุน แต่คนอย่างทักษิณเข้าใจว่าต้องนำพลเมืองส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม ด้วยนโยบายรูปธรรมที่ครองใจประชาชน

ก่อนหน้านี้สังคมไทยมีแต่พรรคการเมืองของนายทุนเพื่อประโยชน์นายทุน ซึ่งล้วนแต่ไม่สนใจที่จะดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตัวอย่างที่ดีคือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอาศัยการสร้างฐานเสียงด้วยระบบอุปถัมภ์ โดยเฉพาะในภาคใต้ และยังอาศัยการสนับสนุนจากชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯด้วย

เป้าหมายของไทยรักไทยคือการพัฒนาเศรษฐกิจกับสังคมไทย เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่มองว่าคนจนควรจะเป็น “ผู้ร่วมพัฒนา” โดยไม่มองว่าคนจนเป็น “ภาระ” หรือเป็น “คนโง่”

ในระยะแรกๆ หลายส่วนของพวกอำมาตย์ ชนชั้นกลาง เอ็นจีโอ และนักวิชาการ ก็แห่กันไปสนับสนุนไทยรักไทย เพราะคิดว่าจะได้ประโยชน์จากรัฐบาลใหม่ และไม่คิดว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่พอเวลาผ่านไป นายทุนที่พัฒนาตนเองไม่ทันโลก นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ และทหารกับข้าราชการที่ยังคิดว่าตนควรจะมีอิทธิพลนอกระบบประชาธิปไตย เริ่มเห็นว่าตัวเองจะเสียประโยชน์มหาศาลเมื่อต้องแข่งกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายจริงและครองใจประชาชนได้ ฝ่ายเอ็นจีโอเริ่มกลัวว่าอาจหมดบทบาทในการเป็น “พี่เลี้ยง” คนจน เมื่อรัฐเข้ามาพัฒนาและดูแลสภาพชีวิตของคนทำงานและคนจนมากขึ้น เขาจึงไม่พอใจ ชนชั้นกลางก็ไม่พอใจเช่นกัน เพราะมองว่ารัฐหันไปให้ความสำคัญกับคนธรรมดาแทนที่จะปกป้องอภิสิทธิ์พิเศษของเขาแต่อย่างเดียว และนักวิชาการที่ดูถูกวุฒิภาวะของคนธรรมดาและบูชากลไกตลาดเสรี ก็ออกมาเสนอว่าการที่รัฐบาลใช้เงินพัฒนาชีวิตประชาชนเป็นเรื่อง “ผิด” เพราะเป็นแค่การซื้อคนผ่านนโยบาย “ประชานิยม”

นโยบายเศรษฐกิจของ ไทยรักไทย คือนโยบาย “คู่ขนาน” (Dual Track) ที่ใช้เศรษฐศาสตร์แนวเคนส์ (Keynesianism) ในระดับรากหญ้า คือใช้งบประมาณของรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานในระดับหมู่บ้านหรือชุมชน และใช้นโยบายตลาดเสรี (Neo-liberalism) ในระดับชาติ เช่นการเซ็นสัญญาค้าเสรีและการพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

เราไม่ควรลืมว่ารัฐบาลไทยรักไทยพร้อมจะก่ออาชญากรรมกับประชาชน ทั้งในปาตานี และในสงครามยาเสพติด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างจากทหารและชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยม

ทั้งหมดนี้คือต้นกำเนิดของความขัดแย้งหลักในระบบการเมืองไทยที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มันไม่ใช่เรื่องลึกลับเกี่ยวกับมือที่มองไม่เห็น การเปลี่ยนรัชกาล หรือเรื่องข้อหาไร้สาระว่าทักษิณเป็นพวก “ล้มเจ้า” แต่อย่างใด

 

เบื้องหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ประกอบไปด้วย ทหาร ข้าราชการชั้นสูง องค์มนตรี นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์  พวกเจ้าพ่อทางการเมืองหัวเก่า และพวกนายทุนใหญ่ที่กลัวโลกาภิวัตน์ อย่างเช่น สนธิ ลิ้มทองกุล และนายธนาคารต่างๆ

ชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมไทย ชื่นชมในระบบการเมืองแบบ “คอกหมู” ที่มีการร่วมกันหรือพลัดกันกินผลประโยชน์ที่มาจากการทำงานของประชาชนชั้นล่าง เขาเคยชินกับรัฐบาลพรรคผสมที่อ่อนแอและมีการพลัดเปลี่ยนรัฐมนตรีเพื่อพลัดกันกิน และพวกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เคยชินกับการใช้อิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญในการร่วมกินด้วย

ความไม่พอใจของแนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยม ที่ก่อตัวขึ้นมาเพื่อทำลายรัฐบาลไทยรักไทย ไม่สามารถนำไปสู่การคัดค้าน ไทยรักไทย ด้วยวิธีประชาธิปไตยได้ เพราะถ้าจะทำอย่างนั้นสำเร็จ พวกนี้จะต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาที่เสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนจนมากกว่าที่ ไทยรักไทย เคยเสนออีก

ดังนั้นฝ่ายอนุรักษ์นิยมจึงต้องใช้รัฐประหาร และอำนาจตุลาการในการล้มรัฐบาลหลายรอบ

แต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา ไม่ใช่สิ่งที่ทหารจะทำได้ง่ายๆ เพราะสังคมไทยพัฒนาไปไกลและมีกลุ่มต่างๆ ที่ตื่นตัวและมีพลังในสังคมมากมาย การทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา จึงต้องอาศัยการทำแนวร่วมกับคนชั้นกลาง นักวิชาการ “เสรีนิยมรถถัง”  และพวกเอ็นจีโอ ที่อ้างว่าเป็น “ภาคประชาชน”   รวมถึงพวก“ฟาสซิสต์” ที่เรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”

รัฐประหาร ๑๙ กันยา และการเขียนรัฐธรรมนูญทหารปี ๕๐ ไม่สามารถทำลายฐานเสียงของ ไทยรักไทยได้ แต่ศาลอนุรัษ์นิยมสามารถทำรัฐประหารสองรอบเพื่อทำลายชัยชนะของพรรคพลังประชาชน ต่อจากนั้นมีการตั้งรัฐบาลเถื่อนของอภิสิทธิ์และสุเทพในค่ายทหาร

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงกับรัฐบาลเถื่อนนี้ ได้เปิดโปงธาตุแท้ของชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมที่เข่นฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็นในปี ๒๕๕๓ และมวลชนคนเสื้อแดง ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ได้พิสูจน์ความอดทนในการต่อสู้ ซึ่งมาจากความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าเขาสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมที่ไม่เคยมี

นักวิชาการสายรัฐศาสตร์จำนวนมาก จะชอบสอนว่าวิธีขยายพื้นที่ประชาธิปไตยคือการเคลื่อนไหวของ “ประชาสังคม” หรือการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลาง แต่พฤติกรรมเลวทรามของชนชั้นกลางไทยที่เป็นสลิ่ม หรือเข้ากับม็อบสุเทพ พิสูจน์ว่าพวกนี้เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย

 

รัฐประหารตุลาการ ตามด้วยรัฐประหารประยุทธ์

หลังชัยชนะของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี ๒๕๕๔ ทักษิณกับพรรคพวกเริ่มพยายามปรองดองจับมือกับทหาร สิ่งที่เราเห็นชัดคือการเลิกวิจารณ์หรือด่าประยุทธ์มือเปื้อนเลือด และด่าแต่อภิสิทธิ์กับสุเทพอย่างเดียว ทักษิณเองก็ให้สัมภาษณ์ว่าคู่แข่งเขาคือแค่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น และทหารไม่ได้เป็นศัตรู ยิ่งลักษณ์ก็ไปถ่ายรูปคู่กับประยุทธ์บ่อยๆ

Yingluk+Prayut

     ทหารอาจต้องจำใจอดทนกับการมีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะการที่จะล้มรัฐบาลในช่วงแรกจะขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง แต่พวกอนุรักษ์นิยมไม่ได้หยุดฝันถึงโอกาสที่จะล้มประชาธิปไตยแต่อย่างใด

เมื่อทักษิณ ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยประเมินสถานการณ์ผิด มั่นใจในการจับมือกับทหารมากเกินไป แล้วเสนอกฏหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ที่นิรโทษกรรมแก๊ง ประยุทธ์-อนุพงษ์-อภิสิทธิ์-สุเทพ และนิรโทษกรรมทักษิณ โดยปล่อยให้นักโทษ 112 และนักโทษเสื้อแดงอื่นๆ ติดคุกต่อ ฝ่ายอนุรักษณ์นิยมที่เกลียดทักษิณแบบบ้าคลั่งก็ได้โอกาส

ในขณะที่ม็อบสุเทพก่ออาชญากรรม ยึดสถานที่ราชการ และใช้อาวุธปืนกับความรุนแรงในการทำลายการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญกับ กกต. ซึ่งเป็นพวกเดียวกับทหารเผด็จการ ก็ค่อยๆ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนทหารก็นั่งอมยิ้มดูการใช้ความรุนแรงของม็อบสุเทพ โดยไม่ทำอะไรทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันฝูงอธิการบดีและแกนนำ เอ็นจีโอ ก็ออกมาเสนอว่าต้องมีนายกคนกลางเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง แต่สงครามที่กำลังเกิด เป็นแค่สงครามข้างเดียวที่ฝ่ายต้านประชาธิปไตยทำกับประชาชนส่วนใหญ่

ในที่สุดท่ามกลางความปั่นป่วนที่ถูกสร้างขึ้นโดยแนวร่วมอนุรักษณ์นิยม ประยุทธ์ก็ยึดอำนาจและลงมือทำสงครามกับคนเสื้อแดงและพลเมืองผู้รักประชาธิปไตยทุกคน

ขอเน้นว่าความขัดแย้งใหญ่ในสังคมไทย เป็นเรื่องการต่อสู้ให้ขยายหรือหดพื้นที่ประชาธิปไตย โดยที่พลเมืองจำนวนมากมีส่วนร่วมในการต่อสู้ครั้งนี้ด้วย เพราะพลเมืองส่วนใหญ่มีส่วนได้จากประชาธิปไตยความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องลึกลับเกี่ยวกับมือที่มองไม่เห็น หรือการเปลี่ยนรัชกาลแต่อย่างใด

ในระยะยาวพลเมืองไทยจะไม่ยอมจำนนต่อการที่สิทธิเสรีภาพถูกขโมยไปอย่างต่อเนื่องแบบนี้

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

การแจกใบปลิวลับๆ ในสถานที่สาธารณะ โดยกลุ่มใต้ดินที่คัดค้านเผด็จการ ควรอาศัยหลักการดังนี้คือ

leaflets3

การเลือกเนื้อหา ควรคิดว่าต้องการสื่ออะไรให้ใคร อยากให้ผู้รักประชาธิปไตยทำอะไรเป็นรูปธรรม หรืออยากแจ้งอะไรเพื่อทราบ ที่สำคัญคือเลือกเรื่องสำคัญมาเรื่องเดียวก็พอ คราวต่อไปเสนออีกเรื่อง ใบปลิวไม่ใช่หนังสือ และไม่ใช่แถลงการณ์ยาว

หลีกเลี่ยงคำหยาบถ้าไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงข้อความ 112 แสดงตัวว่าเป็นองค์กรที่มีวุฒิภาวะ

การออกแบบจัดหน้า ต้องมีหัวข้อใหญ่ เห็นและเข้าใจทันที อาจมีหนึ่งรูปภาพ เนื้อหาไม่ควรยาว ใช้เวลาอ่านไม่เกิน 1 นาที ทำใบปลิวขนาด A5 คือครึ่งหน้ากระดาษ และควรใช้โลโก้เดียวตลอด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น เช่นโลโก้ชูสามนิ้วเป็นต้น

ก่อนไปถ่ายเอกสาร ต้องสำรวจแหล่งที่ปลอดภัย อาจถ่ายคนละนิดแล้วมารวมกัน

ก่อนที่จะกระจายใบปลิว ควรสำรวจสถานที่ต่างๆ ก่อน สำรวจว่ากระจายแล้วจะหลบไปอย่างไร เส้นทางใด ฯลฯ

leaflets4

หลายแห่งมีกล้องวงจรปิด เราคงต้องหาทางปิดหน้า แบบดูธรรมชาติ

การกระจายใบปลิวมีหลายรูปแบบ เช่นทิ้งจากที่สูงลงมาบนพื้นที่ที่มีคนเดินไปเดินมา ภายในหรือภายนอกตึก อาจแอบวางบนเก้าอี้ หรือในห้องน้ำ อาจกระจายในมหาวิทยาลัย อาจกระจายตามชุมชน หรือวางบนกระจกรถ ฯลฯ คิดสร้างสรรค์เอง

กระจายเสร็จแต่ละครั้งไม่ควรมีเหลือติดตัว ไม่ควรมีเหลือที่บ้าน ต้นฉบับไม่ควรอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์