ประชาธิปไตยแลกกับความมั่งคั่งไม่ได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

หลังจากที่จอมเผด็จการ ลีกวนยู ของสิงคโปร์เสียชีวิต มีบทความขยะออกมามากมายที่เสนอว่า ถ้าจะพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดี อาจต้องแลกกับสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่แนวคิดแบบนี้เป็นเพียงข้อแก้ตัวแทนเผด็จการ ในความเป็นจริงประชาธิปไตยแลกกับความมั่งคั่งไม่ได้

ในบทความที่ชื่นชมผลงานของ ลีกวนยู มักจะมีการพูดถึงรายได้ต่อหัวของสิงคโปร์ และถ้าพิจารณาตัวเลขชุดนนี้เราอาจหลงเชื่อว่าประชาชนสิงคโปร์มีความอยู่ดีกินดีสูงอย่างถ้วนหน้า แต่พอเรามาพิจารณาตัวเลขที่วัดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน เราจะเห็นว่าสิงคโปร์มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก สูงกว่าประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศในยุโรปตะวันตก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความร่ำรวยกระจุกอยู่กับคนส่วนน้อย ซึ่งทำให้รายได้ต่อหัว ซึ่งเป็นตัวเลขเฉลี่ย ดูเหมือนว่าสูง

สิงคโปร์เป็นสังคมที่มีเศรษฐีระดับสูง และนักการเมืองกอบโกยเงินเดือนสูงกว่านักการเมืองในสหรัฐอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันกรรมาชีพคนทำงานธรรมดาของสิงคโปร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี หลายคนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ และเรากำลังพูดถึงคนทำงานที่เป็นพลเมืองสิงคโปร์ แต่กำลังงานมีส่วนอื่นที่รัฐบาลไม่ถือว่าเป็นพลเมือง ที่เข้าถึงสวัสดิการไม่ได้ พวกนี้คือคนงานข้ามพรมแดน ซึ่งถ้าไม่เข้ามาทำงานในเกาะสิงคโปร์ เศรษฐกิจก็คงพัง

ในสิงคโปร์กรรมาชีพคนทำงานไม่มีสิทธิ์ก่อตั้งสหภาพแรงงานที่อิสระจากรัฐบาลเผด็จการ สมาชิกสหภาพเกือบจะไม่มีสิทธิอะไรเลย การนัดหยุดงานทำได้ยากมากจนถือได้ว่ามีกรอบจำกัดที่ห้ามการนัดหยุดงาน คนงานข้ามพรมแดนก็เป็นสมาชิกสหภาพไม่ได้ สำหรับประชาชนการเคลื่อนไหวหรือเดินขบวนเกือบจะทำไม่ได้ และพรรคฝ่ายซ้ายหรือพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ไม่มีพื้นที่ที่จะเสนอนโยบายทางเลือกที่อาจกระจายรายได้หรือความร่ำรวยให้ประชาชนส่วนใหญ่ เพราะมีการปราบและกลั่นแกล้งพรรคฝ่ายค้านมาตลอด บางคนอาจพูดถึงสวัสดิการที่รัฐบาลให้พลเมือง เช่นที่อยู่อาศัยหรือการรักษาพยาบาล แต่คุณภาพก็จำกัดและหลายคนมองว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะควบคุมประชาชนอีกด้วย เพราะใครที่ไม่จงรักภักดีต่อพรรครัฐบาลอาจโดนไล่ออกจากที่อยู่อาศัยที่รัฐให้ก็ได้

พูดง่ายก็คือ เผด็จการในสิงคโปร์เป็นอุปสรรคในการสร้างความมั่งคั่งกินดีอยู่ดีของประชาชนส่วนใหญ่

แน่นอนสภาพสังคมภายใต้เผด็จการแบบสิงคโปร์ คงเป็นแรงดึงดูดสำคัญสำหรับการลงทุนของบริษัทไฟแนนส์ข้ามชาติ และการลงทุนดังกล่าวมีผลในการขยายเศรษฐกิจสิงคโปร์ แต่เราต้องถามว่าชนชั้นไหนได้ประโยชน์?

ตัวอย่างของเผด็จการในประเทศร่ำรวยที่มีสภาพแบบสิงคโปร์มีมากมายในตะวันออกกลาง เช่นซาอุ หรือประเทศเล็กๆ ในอ่าว ที่ได้รายได้จากน้ำมัน ประเทศเหล่านี้อาศัยกำลังงานจากคนงานข้ามพรมแดนที่ไม่มีส่วนได้เลยจากเศรษฐกิจที่เขาสร้าง

ในขณะเดียวกันเราก็เห็นเผด็จการแบบพม่าหรือเกาหลีเหนือ ที่ยากจน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราหันไปพิจารณาประเทศในสแกนดีเนเวีย ที่มีรัฐสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของพลเมืองส่วนใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก เราจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้มีสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเต็มที่  และที่สำคัญคือการลดความเหลื่อมล้ำ หรือการมีรัฐสวัสดิการ มาจากการต่อสู้ของสหภาพแรงงานและพรรคการเมืองสังคมนิยมประชาธิปไตยที่มีความสัมพันธ์กับขบวนการแรงงาน

พูดง่ายๆ การมีสิทธิเสรีภาพ และการมีการจัดตั้งที่เข้มแข็งทางการเมืองของขบวนการแรงงาน เป็นสิ่งที่สร้างความเท่าเทียมและการอยู่ดีกินดีของประชาชน

การมีสิทธิเสรีภาพในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย แต่ถ้าเราพิจารณาประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง เช่นสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรัฐสวัสดิการ เราจะเห็นว่าการเมืองกลายเป็นเวทีผูกขาดของเศรษฐี นายทุน และคนรวย การมีส่วนร่วมจากประชาชนส่วนใหญ่ต่ำมาก

คือเราสามารถพูดได้ว่า ถ้าประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำ ประชาธิปไตยแท้ย่อมมีไม่ได้ถ้าสังคมมีความเหลื่อมล้ำสูงอีกด้วย นั้นไม่ใช่การสนับสนุนข้ออ้างแย่ๆ ของสลิ่มกับเผด็จการมือเปื้อนเลือดแต่อย่างใด เพราะพวกนั้นโกหกว่าคนจนไม่เข้าใจประชาธิปไตย แต่เรากำลังเสนอว่าความเหลื่อมล้ำกลายเป็นอุปสรรค์ในการจัดตั้ง เคลื่อนไหว หรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่างหาก

ประชาธิปไตยแท้ต้องให้ความสำคัญกับเสรีภาพ และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดีพร้อมๆ กัน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาตลอด และทั้งๆ ที่เศรษฐกิจขยายตัวและรายได้ของพลเมืองทุกคนเพิ่มขึ้น แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของชนชั้นสูงมาตลอด นี่เป็นผลพวงของการมีเผด็จการทหารในหลายยุค ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย นโยบายที่ช่วยคนจนมีผลในการลดความเหลื่อมล้ำบ้าง แต่ไม่พอ เพราะไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองของนายทุน แต่พอทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองและเสนอนโยบายคลั่งกลไกตลาด ความเหลื่อมล้ำในไทยคงจะแย่มากขึ้น

ประชาธิปไตยแลกกับความมั่งคั่งไม่ได้ ทั้งสองเรื่องแยกกันไม่ออก มันไปด้วยกันเสมอ

ลีกวนยู ผู้นำเผด็จการทรามของสิงคโปร์ตายแล้ว

ใจ อึ๊งภากรณ์

ลีกวนยู (Lee Kuan Yew) เป็นผู้นำเผด็จการของสิงคโปร์ที่ปราบปรามฝ่ายค้านและฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง เขาคือคนที่ร่วมออกแบบประชาธิปไตยจอมปลอมภายใต้อำนาจพรรครัฐบาลซึ่งยังดำรงอยู่ถึงทุกวันนี้ เขาเป็นคนที่แต่งตั้งลูกชายเพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมือง และเขาเป็นคนที่ประยุทธ์คงขยันศึกษาและทักษิณเคยชื่นชมอีกด้วย นักประชาธิปไตยไม่ควรจะเศร้าใจที่ ลีกวนยู ตายไปจากโลกนี้

ลีกวนยู เป็นนักการเมืองที่ใช้เล่ห์เหลี่ยมในการขึ้นมามีอำนาจ ในปี ค.ศ. 1950 ลีกวนยู อดีตทนายกฎหมายแรงงานที่จบการศึกษาจากอังกฤษพูดกับเพื่อนๆ นักศึกษานอกว่า “เมื่ออังกฤษให้เอกราชกับเรา อังกฤษจะเลือกพวกเรามาปกครองประเทศ เพราะอังกฤษมีแค่สองทางเลือกคือ การปล่อยให้พรรคคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจหรือการสถาปนารัฐมาเลย์ในเครือจักรภพอังกฤษ”  ลีกวนยูเข้าใจดีว่าฝ่ายซ้าย ทั้งพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยม สำคัญและมีอิทธิพลแค่ไหนในยุคนั้น เขาจึงแสวงหาแนวร่วมกับกลุ่มฝ่ายซ้ายที่ไม่สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อแข่งกับพรรคคอมมิวนิสต์และเพื่อสร้างฐานเสียงมวลชนในการชักชวนให้อังกฤษให้ความสำคัญกับเขา

ในปี ค.ศ. 1954 ลี ก่อตั้งพรรค People’s Action Party – P.A.P. หรือ “พรรคกิจประชา” โดยใช้ฐานมวลชนในยุคแรกจากสายสังคมนิยม ในขณะเดียวกัน ลี ได้สร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกับทหารและหน่วยราชการลับของอังกฤษเพื่อให้อังกฤษไว้ใจเขามากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 พรรค P.A.P. ชนะการเลือกตั้ง และในระหว่างที่ถืออำนาจอยู่ 4 ปีแรก ลี ใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามฝ่ายซ้ายทุกซีกรวมถึงซีกที่เคยเป็นฐานเสียงของ P.A.P. พร้อมกันนั้นมีการสร้างฐานมวลชนใหม่ของพรรคในหมู่ข้าราชการที่รัฐบาลอุปถัมภ์

ในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลของ ลีกวนยู พร้อมจะใช้วิธีขังยาวโดยไม่ต้องมีการตัดสินว่าทำอะไรผิด และมีการทรมานผู้ถูกขังอีกด้วย ทั้งหมดนี้กระทำไปโดยอ้าง “ความมั่นคงของชาติ”

ในทศวรรษที่ 60 และ 70 พรรค P.A.P. ครองอำนาจอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการเผด็จการที่กีดกันฝ่ายค้านในระบบการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งเป็นประจำ แต่เป็นเพียงละครเลือกตั้งเพื่อสร้างภาพเท่านั้น นอกจากมาตรการเผด็จการแล้ว รัฐบาลของ ลี อาศัยความชอบธรรมจากการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ และการจัดระบบสวัสดิการถ้วนหน้าให้พลเมือง การจัดสวัสดิการทำได้ง่ายกว่าที่อื่น เพราะประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงเมืองเดียวบนเกาะเล็กๆ ที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการเงินและการค้าในเอเชียตั้งแต่ยุคอังกฤษครอบครอง และสิงคโปร์อาศัยแรงงานจากมาเลเซียเพื่อทำงานหลายอย่าง แต่แรงงานนี้ไม่มีฐานะเป็นพลเมืองและไม่มีสิทธิ์รับสวัสดิการ

อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้นและประชาชนเริ่มอึดอัดกับระบบการปกครองที่ควบคุมทุกแง่ของชีวิตตั้งแต่เรื่องในครัวเรือนถึงเรื่องในที่ทำงาน สิงคโปร์มีกฎหมายลงโทษผู้ที่ไม่ชักโครกหลังใช้ส้วม มีการห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง และห้ามใช้ปากในการมีเพศสัมพันธ์เป็นต้น ในการเลือกตั้งช่วงนี้ พรรครัฐบาลได้รับคะแนนเสียงลดลงเหลือแค่ 60% ทั้งๆที่ มีกติกาต่างๆ ที่ให้เปรียบกับ P.A.P. เสมอ เช่นการนำผู้นำฝ่ายค้านมาขึ้นศาลลำเอียง แล้วห้ามคนเหล่านั้นให้เล่นการเมือง หรือการควบคุมประชาชนในตึกที่อยู่อาศัย ผ่านพรรคพวกของพรรครัฐบาลที่คอยสอดแนม

ดังนั้นในทศวรรษที่ 80  รัฐบาลสิงคโปร์พยายามเสนอ “ลัทธิประชาคมนิยม” (Communitarianism) เพื่อรณรงค์ความสามัคคีและความจงรักภักดีต่อรัฐ เนื้อหาหลักของลัทธิประชาคมนิยมคือการเน้น “ส่วนรวม” แทน “ปัจเจก” ซึ่ง ลีกวนยู เสนอมาตลอดว่าปัจเจกนิยมเป็น “แนวคิดตะวันตก” ความคิดของ ลีกวนยู อันนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสายคิด “ค่านิยมเอเชีย” (Asian Values) ที่มองว่าประชาธิปไตยเสรีเป็นแนวคิดตะวันตกที่ไม่เหมาะสมกับเอเชีย แนวคิดนี้เป็นแนวที่ประยุทธ์และเผด็จการไทยชอบเหลือเกิน จุดอ่อนของแนวนี้คือ ประชาชนมองออกว่ามันเป็นเพียงข้ออ้างในการใช้มาตรการเผด็จการของชนชั้นปกครอง และบ่อยครั้งประชาชนเอเชียก็จะลุกขึ้นล้มเผด็จการเพื่อสร้างประชาธิปไตยเสรีอีกด้วย นอกจากนี้การเสนอว่าสังคมตะวันตกเน้นความเป็นปัจเจกเป็นการมองข้ามวัฒนธรรมรัฐสวัสดิการในยุโรปตะวันตก

ลีกวนยู ชอบอ้างว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่เคร่งครัดในการปราบคอร์รับชั่น แต่การคอร์รับชั่นหลักของสิงคโปร์มีอยู่ในรูปแบบ “ถูกกฏหมาย” เพราะพรรคการเมือง P.A.P. ใช้มาตรการเผด็จการเพื่อครองอำนาจ แล้วรัฐสภาก็อนุมัติให้ผู้นำทางการเมืองมีเงินเดือนสูงที่สุดในโลก สูงกว่าผู้นำในสหรัฐด้วยซ้ำ ปรากฏว่าในปี 2012 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นลูกชาย ลีกวนยู กอบโกยเงินเดือนปีละ $US 1.69 ล้าน นอกจากนี้มีการให้พรรคพวกหรือญาติพี่น้องของแกนนำพรรครัฐบาล มีอำนาจและผลประโยชน์จากการบริหารรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชนที่ถูกแปรรูปไปจากรัฐวิสาหกิจ

สิงคโปร์เป็นประเทศป่าเถื่อนที่ยังใช้การเฆียนในการลงโทษนักเรียนและประชาชนทั่วไป สังคมสิงคโปร์เป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง คนทำงานธรรมดามีเงินเดือนที่ไม่พอใช้ ในขณะที่คนชั้นสูงและคนชั้นกลางสบาย ดัชนี “จินี” ของสิงคโปร์ ที่วัดความเหลื่อมล้ำ ค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น หรือประเทศในยุโรป นอกจากนี้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ปกป้องและผูกมิตรกับเผด็จการทหารในพม่ามาตลอด ทั้งหมดนี้คือมรดกของ ลีกวนยู

อ่านเพิ่มเรื่อง  “การเมืองเอชียตะวันออกเฉียงใต้”

ค่านิยมหลัก 12 ประการของไอ้ยุทธ์มือเปื้อนเลือด

  1. ก้มหัวกราบไหว้กองทัพไทย และท่านผู้นำ หัวหน้าองค์กรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล ใครวิจารณ์จะโดนกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมหาประยุทธ์
  2. เคารพกฏหมายและรัฐธรรมนูญที่กูร่าง ทำตามคำสั่งกู แต่ไม่ต้องทำเหมือนกู เพราะกูเขียนกฏหมายเองก็ละเมิดเองได้เสมอ
  3. ขยันเคารพผู้ใหญ่อย่างกู ที่ปลดแอกประชาชนไทยจากความเลวทรามของประชาธิปไตย และคืนความสุขให้พวกมึง
  4. พวกเอ็งไม่มีพ่อ พวกเอ็งไม่มีแม่ มีแต่นายภูมิพลกับนางสิริกิติ์
  5. จงท่องจำทุกอย่างที่เราป้อนให้ อย่าบังอาจคิดเอง “ความโง่เขลาคือความเข้มแข็ง”
  6. จงปกป้องรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแบบประยุทธ์ โดยการใช้ชีวิตในการหมอบคลาน อย่ายืนตรง และอย่ามองหน้ากูหรือตั้งคำถามกับกูมากเกินไป
  7. พยายามกอบโกยให้มากที่สุด โดยไม่สนใจคนจน ตามแนวทางคิดพอเพียง
  8. พยายามทำความเข้าใจว่า “ประชาธิปไตย” งอกจากกระบอกปืนรถถังเสมอ จงช่วยเหลือเหล่าสัตว์เลื้อยคลานที่กำลังออกแบบประยุทธรรมนูญฉบับใหม่
  9. รักษาวินัยเชิงฟาสซิสต์เสมอ ทำตามคำสั่งทุกประการ เพราะถ้าไม่ทำจะเชิญไปกินกำปั้นและไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนทัศนะคติ

10.จงศึกษาคำสอนของกูที่ทุกคนรัก ตามแนวทางเกาหลีเหนือ อย่าลืมว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต

  1. จงต่อต้าน “อสูรทักษิณ” และพวก “มารเสื้อแดง” อย่างถึงที่สุด อย่าลืมว่าเขาไม่ใช่คน พุทธศาสนาฉบับประยุทธ์จึงสอนเราว่าเราฆ่าพวกเขาได้และเราจะเป็นคนดี
  2. จงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ชาติหมาของกูและผลประโยชน์ชาติหมาของกองทัพไทย เหนือความสุขและเสรีภาพของประชาชนตลอดกาล เพื่อความมั่นคงแห่งชาติหมา

ทำไมเราควรคัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

รัฐบาลเผด็จการทหารปัจจุบันกำลังผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ธรรมดาแล้วจะมีการคัดค้านและตรวจสอบจากประชาชนในยุคที่มีประชาธิปไตย ล่าสุดคือการนำมหาวิทยาลัยหลายแห่งออกนอกระบบ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจากองค์กรภาครัฐ ให้เป็นองค์กรที่บริหารตนเองเหมือนธุรกิจเอกชน คือเน้นการหารายได้เองโดยการ “ขายวิชา” เพื่อลดงบประมาณรัฐ นโยบายดังกล่าวจะเป็นผลเสียต่อมาตรฐานทางวิชาการ และสภาพการจ้างงานของพนักงานและอาจารย์ นอกจากนี้จะเพิ่มการกีดกันนักศึกษายากจนโดยการขึ้นค่าเทอม คราวก่อนที่มีรัฐบาลทหารหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา มีการผลักดันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนจุฬาฯคัดค้าน รอบนี้มีการผลักดันให้ ม. เกษตรศาสตร์ ขอนแก่น และธรรมศาสตร์ออกไป และมีการระบุด้วยว่าไม่ต้องปรึกษาใคร

การนำกลไกตลาดเข้ามาในมหาวิทยาลัยผ่านการออกนอกระบบ จะมีผลในการนำการแข่งขันแบบตลาดเข้ามาในระบบการศึกษา ทั้งๆ ที่มีการอ้างว่ามหาวิทยาลัยจะยังอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ

ผลที่เห็นชัดเจนคือ จะมีการตัดค่าจ้างสวัสดิการให้พนักงานมหาวิทยาลัยในรูปแบบทางอ้อมและทางตรง ค่าจ้างอาจดูเหมือนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ต้องแลกกับการตัดสวัสดิการและความมั่นคงในการทำงาน ในขณะเดียวกันจะเพิ่มค่าจ้าง ผลประโยชน์ และอำนาจให้กับฝ่ายบริหาร อาจารย์บางคนที่ “ถูกประเมินว่าดี”  เพราะเลียก้นผู้บริหาร จะมีโอกาสพัฒนาอาชีพ ส่วนอาจารย์คนไหนที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือไปขัดคอผู้บริหาร ก็จะไม่ได้รับการต่อสัญญาการจ้างงาน

จะมีการตัดรายวิชาที่ “ไม่คุ้มทุน” เพราะมีคนเลือกเรียนน้อย เช่นปรัชญา ทฤษฏีการเมืองฝ่ายที่ไม่ใช่กระแสหลัก วรรณคดีไทย ฟิซิกส์แนวทฤาฏี หรืออะไรที่ชวนให้นักศึกษาคิดเองเป็นต้น พร้อมกันนั้นจะมีการเพิ่มวิชาบริหารธุรกิจ วิชาที่ทำให้หางานเงินเดือนสูงได้ หรือวิชาที่จบง่ายๆ และรับประกันว่าไม่มีสอบตก เพื่อเอาใจนักศึกษาที่กลายเป็น “ลูกค้า” ในบางแห่งอาจมีกำเนิด “วิชาไร้สาระ” ที่ขายให้คนรวยได้ เช่น “กอลฟ์สำหรับผู้บริหาร C.E.O.” ซึ่งมีในมหาวิทยาลัยที่ประเทศออสเตรเลีย สรุปแล้วมหาวิทยาลัยจะมีความหลากหลายและทางเลือกทางวิชาการน้อยลง และมหาวิทยาลัยจะไม่เน้นผลิตนักคิดที่มีคุณภาพ แต่จะเน้นการเป็น “โรงงานผลิตคนเพื่อรับใช้นายจ้างและกลุ่มทุนใหญ่” มาตรฐานทางวิชาการก็จะลดลง

แน่นอนจะต้องมีการเพิ่มค่าเทอมและลดความช่วยเหลือจากรัฐ ตามลัทธิคลั่งกลไกตลาดเสรี ซึ่งคนที่เสียประโยชน์จะเป็นลูกหลานคนจน ซึ่งเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ บทสรุปจากการทำให้มหาวิทยาลัยเกี่ยวเข้ากับกลไกตลาดจากประเทศในยุโรปและที่อื่นๆ คือ สัดส่วนนักศึกษาจากครอบครัวกรรมาชีพลดลง เพราะต้นทุนการเรียนสูงเกินไป ทั้งๆ ที่มีการอ้างว่าจะมีทุนพิเศษให้คนจนกู้ซึ่งไม่เคยเพียงพอ

ถ้าเราจะเข้าใจธาตุแท้ของแนวเสรีนิยมกลไกตลาด เราต้องใช้มุมมองชนชั้นมาจับ เพื่อให้เห็นว่าแนวเสรีนิยมกลไกตลาดเป็นแนวคิดที่รับใช้และมาจากผลประโยชน์ชนชั้นนายทุนล้วนๆ นักเสรีนิยมส่วนใหญ่มองว่าควรนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพื่อที่จะลดภาระของรัฐในเรื่องการบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา เขาเชื่อว่าถ้ารัฐลดงบประมาณลงในเรื่องนี้ และในเรื่องการบริการคนจนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการรัฐหรือระบบสาธารณะสุข จะช่วยให้ธุรกิจเอกชนรุ่งเรือง และรัฐจะสามารถลดภาระภาษีที่เอกชนและคนรวยจ่าย

นักเสรีนิยมกลไกตลาดที่มีสมองบางคน จะไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยต้องสูญเสียรายได้จากการลดงบประมาณรัฐ เพราะเขามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย ดังนั้นเขาจึงหวังว่ามหาวิทยาลัยจะหารายได้เองมาทดแทนส่วนที่ลดลงจากรัฐ การหารายเสริมได้ดังกล่าวจะมาจากการเก็บค่าเล่าเรียนแพงขึ้นและ การรับเหมาทำการวิจัย หรือการขายวิชาและปริญญา ซึ่งในที่สุดมีผลในการทำลายมาตรฐานทางวิชาการสำหรับสังคมทั่วไปอยู่ดี

การมีเสรีภาพทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของไทยควรจะเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ส่งเสริม แต่ภายใต้เผด็จการและวิกฤตการเมืองที่เป็นผลพวงของรัฐประหารสองรอบ มหาวิทยาลัยของเราขาดเสรีภาพไปมาก ดูได้จากพฤติกรรมของฝ่ายบริหารต่อขบวนการนักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยก็ได้ และดูได้จากการลงโทษอาจารย์ก้าวหน้าที่ต่อต้านเผด็จการ ตราบใดที่ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนในไทยที่จะมีคุณภาพเทียบเท่ามหาวิทยาลัยดีๆ ในต่างประเทศได้

ที่สำคัญคือ เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กฏเกณฑ์ในการบริหารจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยถูกกำหนดไว้โดยระบบราชการ หลังการออกนอกระบบผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะกลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือพนักงานทุกคน จะเป็น C.E.O.ใหญ่ และสามารถใช้อคติทางการเมืองเพื่อให้คุณให้โทษกับอาจารย์หรือพนักงานได้ โดยไม่มีการตรวจสอบอะไรเลย แถมมีการเขียนกฏเกณฑ์ห้ามไม่ให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อตั้งสหภาพแรงงาน เหมือนที่อาจารย์ในตะวันตกมี สภาพแบบนี้ก็จะยิ่งลดเสรีภาพลงและเพิ่มอำนาจผู้บริหารให้มากขึ้น

จะเห็นว่าการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ไปได้ดีกับเผด็จการทางการเมืองและเผด็จการของแนวเสรีนิยมกลไกตลาด และการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในรอบสิบปีที่ผ่านมาในไทย เกิดขึ้นภายใต้อำนาจมืดของทหารทั้งสิ้น

วิกฤติและความปั่นป่วนในจีน

โดย Jane Hardy แปลและเรียบเรียงโดย นุ่มนวล ยัพราช

ถ้าเชื่อตาม IMF ตอนนี้ความเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งทางเศรษฐกิจของอเมริกาได้ถูกแทนที่โดยจีนเป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มล่าสุดโดย แมทธิว แครบเบ (Matthew Crabbe) ได้ท้าท้ายความเชื่อดังกล่าว เริ่มต้นจากคำถามง่ายๆทางสถิติ ซึ่งฉายภาพความขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับนิยายความสำเร็จของจีน เช่น ศักยภาพพลังการบริโภคต่อหัว

เราปฏิเสธไม่ได้เกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อดูสัดส่วนของพลังการผลิตในระดับโลก การขยายตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ การพองตัวมหึมาทางเศรษฐกิจไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เศรษฐกิจจีนจะสามารถหลบหลีกปัญหาความปั่นป่วนที่กำลังเกิดขึ้นได้ เช่น การเรียกร้องการเพิ่มค่าแรงของคนงาน แต่รัฐบาลจีนต้องการจะคงรูปแบบการจ้างงานที่เน้นการกดค่าจ้าง

การเติบโตสำคัญๆ ของเศรษฐกิจจีนมีลักษณะขาดความสมดุล โดยเฉพาะสัดส่วนการลงทุน ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่า อย่างมีนัยยะสำคัญถ้าเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ สูงกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วของกลุ่มประเทศ G7 ระดับการลงทุนมหึมาขนาดนี้สามารถทำได้โดยการกดค่าแรงอย่างป่าเถื่อน ประกอบกับการที่จีนมีกองทัพสำรองแรงงานและชาวนาขนาดใหญ่ รูปแบบการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้นในจีนเป็นลักษณะโดยทั่วไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจชนิดก้าวกระโดดที่เกิดขึ้นในเอเชียในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ธนาคารโลกได้ฉายภาพจากปี 2000 – 2003 การเติบโตทางด้านการลงทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.2% ในขณะที่ศักยภาพในการบริโภคต่อหัวนั้นอยู่เพียงแค่ 7.3% ศักยภาพในการจับจ่ายโตไม่ทันที่รองรับปริมาณสินค้าที่ได้ผลิตขึ้นมา ทำให้เศรษฐกิจจีนนั้นต้องพึ่งพากับการส่งออกเป็นหลัก ความไม่สมดุลดังกล่าวสร้างปัญหาให้จีนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะหลังจากวิกฤติทางการเงินโลกในปี 2008 เพราะความต้องการในตลาดของสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลง

รัฐบาลจีนรับมือกับสภาวะซบเซาดังกล่าวโดยมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดเมก้าโปรเจก ในปี 2008 ซึ่งคาดว่ามีปริมาณถึง 580 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนเงินทุนดังกล่าวได้เพิ่มปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างพลังการลงทุนกับพลังการบริโภคให้แย่หนักเข้าไปมากขึ้น เพียงแค่ 20% ของเมก้าโปรเจก ที่ถูกนำไปลงทุนทางด้านสังคม ที่เหลือถูกเทไปที่ภาคการผลิตที่มีลักษณะล้นเกินอยู่แล้ว เช่น เหล็ก ซีเมนต์ และโครงการก่อสร้างระบบรถไฟที่มีความเร็วที่สุดในโลก

อุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เบ่งบานเป็นดอกเห็ดมาพร้อมๆกับปริมาณเงินกู้ที่ตามมาเป็นเงา ได้มีส่วนป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจจีนล้มหลังวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2008 แต่มันกลายเป็นฐานของปัญหาวิกฤติซับไพร์มเวอร์ชั่นจีน

หนี้ก้อนมหึมาที่สะสมโดยรัฐบาลท้องถิ่น คาดว่าจะเป็นบูมเมอแรงค์ตีตัวกลับไปทำลายเศรษฐกิจจริง เพราะ รัฐบาลท้องถิ่นได้สร้างหนี้ในปริมาณที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อขยายโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ รูปแบบการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดขึ้นในภาครัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน

ระบบหนี้เสีย

อีกหนึ่งสาเหตุความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจของจีนคือระบบธนาคาร หรือ ที่รู้จักกันว่า “ธนาคารเงา” ซึ่ง ธนาคารเหล่านี้จะปล่อยเงินให้กับผู้ประกอบการรายย่อยหรือปัจเจกที่ไม่มีคุณภาพหรือจ่ายเงินคืนไม่ได้ หนี้เสียเหล่านี้ได้ผันตัวเองเข้าไปและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในกองทุนเพื่อการลงทุน เชื่อกันว่าหนี้เสียเหล่านี้คือ “ระเบิดเวลา” ที่จะทำลายเศรษฐกิจจีนในอนาคต

ในปี 2007 นายกรัฐมนตรี เวน จั่ยเปา ได้กล่าวต่อสภาประชาชนเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจว่า “ไม่มีเสถียรภาพ ขาดความสมดุล ขาดการวางแผน และ ขาดความยั่งยืน” ความกลัวของชนชั้นปกครองจีนเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจได้สะท้อนออกมาในแผนเศรษฐกิจฉบับที่ 12 (2011-2015) ซึ่งได้เปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยชะลอการเติบโตและเน้นสร้างความสมดุลระหว่างพลังการผลิตและพลังการบริโภค

ราคาสินค้าในจีนนั้นถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก การกดค่าแรงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จีนต้องคงไว้เพื่อรักษา “ศักยภาพการแข่งขัน” ในตลาดโลก ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาระดับค่าแรงได้ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการต่อสู้ของคนงาน บางส่วนของจีนเช่น กวางดอง (Guangdong) ถูกมองว่าเป็นพื้นที่แพงเกินไป ยิ่งทุนของจีนไหลตัวเข้าไปในตลาดโลกมากเท่าไหร่ คำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการแข่งขัน ยิ่งจะกลายมาเป็นปัญหาหลักสำหรับชนชั้นปกครองจีน สัดส่วนการส่งออกได้ลดลงจาก 39.1% ในปี 2006 สู่ 26.1% ในปี 2013 แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังพึ่งพาการส่งออกไปที่อเมริกา และ ยุโรป

เป้าหมายหลักอันดับต้นๆ ของจีนคือการขยายอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ พลังทางการทหาร และ พลังทางการทูต ในระดับสากล ในปี 2005 จีนกับอินเดียได้เซ็นสัญญาว่าด้วย “แผนยุทธศาสตร์และความร่วมมือเพื่อสันติภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ” จีนเป็นแนวร่วมสำคัญของอินเดียในการสู้รบกับปากีสถาน ซึ่งจีนได้ขายเครื่องบินรบ เรือรบ เฮลิปคอร์บเตอร์ รถถัง ระบบการเตือนภัย และ จรวดมิสไซด์หลายชนิด

รอบ 10 ปีที่ผ่านมาจีนได้ขยายค่าใช้จ่ายทางการทหารราว 15% ต่อหัว โดยทางการจีนได้เน้นการพัฒนาขีปนาวุธที่เน้นเทคโนโลจีชั้นสูง เช่น การพัฒนาการสื่อสารทางดาวเทียม จรวดมิสไซด์ สงครามไซเบอร์ การลาดตระเวนทางทะเลซึ่งผูกพันเป็นหลักกับผลประโยชน์ทางการค้าในตลาดโลก 90% ของสินค้านั้นส่งออกทางเรือ การนำเข้าพลังงานนั้นมีความสำคัญมาก ปัจจุบันจีนบริโภคน้ำมันครึ่งหนึ่งของโลก สหรัฐฯ คาดการณ์ว่าในปี 2030 จีนจะต้องการน้ำมัน 3ใน 4 ของโลก

ความต้องการของจีนที่จะมีอิทธิพลในระดับโลกและความพยายามในการรักษาประสิทธิภาพในการแข่งขัน นั้นต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้ไม่เหลือเงินที่จะนำมาตอบสนองความต้องการพื้นฐานของพลเมือง จีนต้องการที่จะลดอิทธิพลทางการทหารของสหรัฐฯ ผ่านการยั่วยุ สร้างความกลัว ในคาบมหาสมุทร จากเกาหลีเหนือ-ใต้ จากทิศตะวันออกสู่ทะเลจีนใต้ ความตึงเครียดนั้นได้เพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ

แผ่อิทธิพล

ในปี 1999 นโยบายหนึ่งที่สำคัญของจีนคือ “ขยายไปต่างประเทศ” ซึ่งมูลเหตุจูงใจหลักมาจากความต้องการที่จะเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบในแอฟริกาและบราซิล เพื่อตอบสนองการเติบโตของอุตสาหกรรมหนัก โดยจีนได้เสนอความช่วยเหลือผ่านโครงการก่อสร้างและวิศวกรรมศาสตร์ไปพร้อมกับการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน และ การเมือง แก่กลุ่มประเทศเป้าหมาย

ในปี 2010 จีนได้สยายปีกสู่ภูมิภาคยุโรป การลงทุนในต่างประเทศของจีนนั้นมีมูลค่าถึง 6.1 ล้านล้านเหรียญยูโร และในปี 2012 ได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 27ล้านล้านเหรียญยูโร กลุ่มประเทศบอลข่าน ยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง ( The Balkans and Central and Eastern Europe : CEE) กลายเป็นภูมิศาสตร์สำคัญที่จะช่วยให้จีนก้าวล้ำเข้าไปสู่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของยุโรป วิกฤติทางการเงินในปี 2007-2008 ได้ทำลายเศรษฐกิจในภูมิภาคCEE อย่างหนัก การขาดช่วงของโครงการก่อสร้าง การแปรรูป และ การตัดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล กลายเป็นโอกาสทองของจีน ก้าวขึ้นมามีอิทธิพลอย่างเป็นทางการ  ในปี 2012 จีนประกาศความร่วมมือการลงทุนกับอดีตกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ในปี 2009 รัฐมนตรีของประเทศฮังการีถึงกับกล่าวว่า “เรือนั้นมุ่งไปทางตะวันตกแต่ลมนั้นพัดมาจากทางตะวันออก”

ดอกผลที่จีนเก็บเกี่ยวมาครั้งนี้คือ การควบคุมกลไกสำคัญๆ ของเศรษฐกิจยุโรป ไม่ว่าจะเป็นโครงการการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่านหลายประเทศในกลุ่ม CEE ท่าเรือสำคัญเช่น ของกรีซที่ตอนนี้รัฐบาลจีนร่วมเป็นเจ้าของ รวมไปถึงยักษ์ใหญ่ของวงการการส่งสินค้าทางทะเลอย่าง COSCO มันได้กลายมาเป็นประตูหลักของจีนที่จะระบายสินค้าเข้าสู่ยุโรปด้วยต้นทุนราคาต่ำ ลดย่นระยะเวลาการขนส่งปกติลงถึง 30-20 วัน โดยโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มต้นขึ้นปีนี้ (2015) ซึ่งเงินทุนการก่อสร้างมาจากธนาคารเพื่อการส่งออกและก่อสร้างโดยบริษัทรถไฟและสะพานของจีน ถึงแม้ว่าการลงทุนของจีนในยุโรปจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่สัดส่วนนั้นยังถือว่าเป็นจำนวนน้อย

รอยร้าว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนได้ดึงคนเป็นหลายล้านออกมาจากความยากจน แต่ปัญหาคอรัปชั่น ความเหลื่อมล้ำ การแย่งชิงที่ดิน โดยรัฐบาลท้องถิ่นได้ไลคนออกและยกที่ดินดังกล่าวให้กับกลุ่มทุนสร้างโรงงาน ได้สร้างความโกรธแค้นชิงชังในหมู่คนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก อันนี้ยังไม่นับรวมถึงความแตกต่างระหว่างคนที่อยู่ในชนบทและเมือง ตามชายฝั่งและแผ่นดินใหญ่

คนงานฮอนดานัดหยุดงาน

ปี 2010 วารสารแรงงานรายงานว่า คนงานทางใต้ของจีนชนะการนัดหยุดงานกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่สามารถเพิ่มค่าแรงได้มหาศาล ปี 2011 คนงานที่อพยพมาจากชนบทกลายมาเป็นศูนย์กลางของการก่อจลาจล คนงานราว 10,000 คนได้ทำงายสถานีและทรัพย์สินของตำรวจ รัฐบาลต้องใช้ตำรวจ 6,000 คนเพื่อควบคุมสถานการณ์ คนงานกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่มากที่สุด ในจีนนั้นเมื่อคนงานอพยพมาจากชนบทจะได้ไม่มีสิทธิเหมือนคนงานที่มีที่อยู่ในเมือง ฉะนั้นคนกลุ่มนี้จะถูกเอาเปรียบในเกือบทุกด้าน

china-workers-rebel

OCDC รายงานว่าในปี 2011 คลื่นคนงานอพยพจากชนบทเข้าสู่เมืองนั้นสูงถึง 200ล้านคน ซึ่งเข้ามาทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เพื่อหางานทำในโรงงาน โครงการก่อสร้าง และ ร้านอาหาร ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาคือ คนงานชนบท ไม่มีสิทธิเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการสังคมพื้นฐานในเมืองที่พวกเขาร่วมสร้างขึ้นมา ระบบดังกล่าวมีชื่อว่า ฮุกู (Hukou) ระบบดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็น ระบบอพาไทแบบจีนๆ โดยคนงานเหล่านี้ถูกจำกัดให้อยู่ในหอพักเท่านั้น ถ้ามีลูกลูกจะต้องถูกส่งกลับไปในหมู่บ้านเพื่อรับการศึกษา ในขณะที่พ่อแม่ต้องการให้ลูกๆ ได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่

ชาวบ้านวูคานประท้วงปกป้องที่ดิน

ระหว่างปี 2010 และ 2013 มีการนัดหยุดงานถึง 1,171 ครั้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น กวางดอง สาเหตุหลักๆ ของการประท้วงนั้นมาจาก การลดขนาด ปิดโรงงาน และ ย้ายฐานการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่จีนเสียจุดได้เปรียบคือ ค่าแรงราคาถูก เพราะคนงานสามารถเรียกร้องให้มีการเพิ่มค่าแรงได้มากกว่า 50% โรงงานที่เน้นการใช้แรงงานอย่างเข้มข้นเช่น สิ่งทอ รองเท้า และ ของเล่น จะย้ายฐานไปประเทศที่มีค่าแรงถูกมากกว่าเช่น กัมพูชา และ บังคลาเทศ

การนัดหยุดงาน

ข้อเรียกร้องหลักๆที่เกิดขึ้นในช่วง 2011-2013 คือ ค่าชดเชยการว่างงาน การติดค้างจ่ายค่าแรง และ การเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งลักษณะการประท้วงลามออกไปนอกรั้วโรงงานด้วย ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ การประท้วง 306 ครั้งมาจากคนงานขนส่ง 69 ครั้งมาจากครู รวมทั้งการประท้วงอย่างต่อเนื่องของคนงานประปาและคนงานท่อระบายน้ำเสีย เพื่อบังคับรัฐบาลท้องถิ่นให้ปรับปรุงคุณภาพการจ้างงาน วารสารแรงงานจีนได้กล่าวว่า “คนงานจีนได้สลัดภาพของความจน ความอ่อนแอ มาสู่ภาพของคนงานที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา การรวมกลุ่ม และ นำการต่อสู้เองได้”

บก. เศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์ The Guardian ตั้งข้อสังเกตในปลายปี 2014 ว่าจีนอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในระดับโลก สร้างสภาวะซบเซาเงินฝืดในสหภาพยุโรป การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีน ส่งผลกระทบต่อเยอรมันซึ่งส่งออกเครื่องจักรหนักให้จีนเป็นหลัก และ ออสเตรเลียซึ่งส่งออกวัตถุดิบไปสู่จีน ในขณะที่ภายในประเทศนั้นรัฐบาลจีนกำลังเผชิญหน้ากับความโกรธแค้นของคนงาน

(Instability and Crisis in China by Jane Hardy, Socialist Review No.399)