ถึงเวลาที่เราต้องเลิกเล่นละคร

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ทหารส่วนหนึ่งในประเทศตุรกีพยายามก่อรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทันทีที่ทหารกลุ่มนั้นนำรถถังออกมาบนท้องถนน ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยก็ลุกฮือออกมาต้านเป็นหมื่นๆ ในสถานีโทรทัศน์แห่วหนึ่ง เมื่อทหารบุกเข้าไป นักข่าวก็ไม่ยอม มีการปะทะกันจนทหารถูกจับ ในที่สุดรัฐประหารครั้งนี้ก็ล้มเหลว

160715212318-23-turkey-coup-0725-exlarge-169

11072913_862664113774986_6805070261629013469_n

ถ้าเปรียบเทียบภาพมวลชนในตุรกี ที่ออกมาต้านรัฐประหาร กับการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ หรือกลุ่มนักศึกษาอื่นๆ ที่ออกมาค้านเผด็จการแค่หยิบมือหนึ่ง แค่ห้าหกคน แล้วถูกทหารเถื่อนจับคุมซ้ำแล้วซ้ำอีก มันชวนให้นึกว่าที่ไทยมันมีการเล่นละครต้านเผด็จการเท่านั้นเอง มันชวนให้คิดว่าบางทีกลุ่มนักศึกษาดังกล่าวสนใจแต่จะเป็น “พระเอก” แบบ “โรแมนติก” หรืออย่างน้อยก็มองว่าคนหยิบมือหนึ่งทำแทนมวลชนได้ ถ้าเราจมอยู่ในวิธีต้านเผด็จการแบบเล่นละครในไทยแบบนี้ เราจะไม่มีวันล้มเผด็จการได้

ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่เพื่อตั้งคำถามกับความจริงใจของกลุ่มนักศึกษาแต่อย่างใด แต่ความจริงใจมันล้มเผด็จการไม่ได้ การเลือกแนวสู้ หรือการเลือกยุทธวิธี เป็นเรื่องชี้ขาด และไม่ใช่ว่าคนไทยไม่เคยออกมาเป็นหมื่นๆ แสนๆ ในอดีตเพื่อล้มเผด็จการ

TanksRed

24879_385730269924_537184924_3652887_7350322_n

1_22979

เราต้องเปรียบเทียบภาพขบวนการประชาธิปไตยใหม่กับภาพของเสื้อแดงที่ชุมนุมกันในอดีต หรือภาพนักศึกษาและคนงานที่เคยออกมาในปี ๒๕๑๖ แล้วจะเห็นพลังที่สามารถล้มทหารได้ ถ้าเราฉลาดในการสู้

มันถึงเวลานานแล้วที่นักเคลื่อนไหวปัจจุบันจะต้องทบทวนแนวคิดที่มองว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ทำได้โดยห้าหกคนที่ “ยอมเสียสละ” อดอาหารหรือยอมถูกจับ แนวคิดนี้เน้นการ “ทำข่าว” หรือการ “เปิดโปง” ความชั่วร้ายของทหาร แต่ละเลยเรื่อง “พลัง” หรือ “อำนาจ”

ถ้าเราจะสร้างพลังในการต่อรองกับเผด็จการ เราต้องมีการ “จัดตั้ง” มวลชน อย่างที่เสื้อแดงหรือนักศึกษาในปี ๒๕๑๖ เคยทำ และถ้าจะให้ความสำคัญกับการจัดตั้ง ต้องกระตือรือร้นในการลงพื้นที่เพื่อคุยกับและปลุกระดมมวลชน ต้องไว้ใจว่ามวลชนกลุ่มต่างๆ จะนำตนเองได้ และต้องมีทัศนะที่เปิดกว้างยอมทำงานกับคนที่มีความคิดหลากหลายที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนที่ไม่ชอบเผด็จการ ไม่ใช่ว่าเราจะต้องหวงความบริสุทธิ์ หรือไม่กล้าเถียงกับคนที่เห็นต่างในบางเรื่องแต่พร้อมจะจับมือกันในการเคลื่อนไหว

แน่นอนในทุกยุคทุกสมัย และในประเทศต่างๆ สถานการณ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือเราต้องสามารถดึงประเด็นหลักๆ ออกมาเพื่อเป็นบทเรียน

บทเรียนที่สำคัญที่สุดคือถ้ามวลชนไม่ออกมาประท้วง เราสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ การอาศัยพระเอกไม่กี่คนไม่เคยชนะเผด็จการ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือแนวทาง “พระเอก” หรือ “นางเอก” ของอองซานซูจีในพม่า เพราะเขาใช้เวลาหลายปีในการสลายพลังมวลชน และดูดพลังมวลชนดังกล่าวเข้ามาในตัวเขาคนเดียว ผลคือการประนีประนอมครั้งใหญ่กับทหาร และการประนีประนอมกับรัฐเผด็จการ อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ในพม่า

ในตุรกีมันมีความขัดแย้งระหว่างกองทัพ ที่อาศัยแนวคิด “เคมาลลิสต์” ของ เคมาล อตาเติร์ก อดีตผู้ก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ กับฝ่ายพรรคมุสลิม (พรรคความยุติธรรมและความเจริญ AKP) ที่ชนะการเลือกตั้งมาหลายรอบ มันสะท้อนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก้อนเผด็จการเก่ารวมถึงฝ่ายตุลาการที่ไม่อิงศาสนา กับนักการเมืองที่เป็นมุสลิม มันสะท้อนความขัดแย้งระหว่างพลเมืองชนชั้นกลางที่มีวิถีชีวิตแบบตะวันตก(สลิ่มตุรกี) กับพลเมืองกรรมาชีพเกษตรกรและคนจนที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับศาสนา ในอดีตฝ่ายซ้ายสังคมนิยมเคยเป็นหัวหอกในการนำการเคลื่อนไหวของคนจน แต่การปราบปรามจากเผด็จการทหารและความเสื่อมของฝ่ายซ้าย ทำให้พรรคมุสลิมเข้ามาแทนที่ได้

ที่น่าประทับใจคือในการต้านรัฐประหารครั้งนี้ประชาชนหลายฝ่าย ทั้งผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลและผู้ที่สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านร่วมมือกันออกมาต้านทหาร สาเหตุเพราะคนจำนวนมากจำได้ว่าชีวิตเป็นอย่างไรภายใต้เผด็จการทหารในอดีต

People react near a military vehicle during an attempted coup in Ankara, Turkey, July 16, 2016. REUTERS/Tumay Berkin TPX IMAGES OF THE DAY
People react near a military vehicle during an attempted coup in Ankara, Turkey, July 16, 2016. REUTERS/Tumay Berkin TPX IMAGES OF THE DAY

พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพปฏิวัติของตุรกี หรือ Revolutionary Socialist Workers Party (DSİP) อธิบายว่าการก่อรัฐประหารที่พึ่งเกิดขึ้น สะท้อนความไม่พอใจของกลุ่มทหารที่กำลังเสียเปรียบต่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะรัฐบาลพยายามลดอิทธิพลของทหารที่ต่อต้านพรรคมุสลิมในกองทัพ ในความเป็นจริงทั้งสองฝ่ายก็มีแนวโน้มเผด็จการพอสมควร และรัฐบาลนี้พร้อมจะใช้อำนาจรัฐในการปราบผู้เห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้าย สหภาพแรงงาน หรือชาวเคิร์ด แน่นอนทหารมีประวัติเผด็จการโหดที่ชัดเจน แต่เราไม่ควรไปหลงสนับสนุนรัฐบาล ดังนั้นเมื่อมีการพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้ พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพปฏิวัติของตุรกี ประกาศจุดยืนระดมมวลชนเพื่อต้านทหาร แต่ในการเคลื่อนไหวต้องคัดค้านมาตรการเผด็จการของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วย ไม่ใช่ไปตั้งความหวังกับรัฐบาล หรือตั้งความหวังกับตำรวจหรือทหาร “แตงโม”

ผมขอย้ำอีกที พลังหลักในการล้มเผด็จการอยู่ที่มวลชนที่ประกอบไปด้วยกรรมาชีพ เกษตรกร คนจน และประชาชนธรรมดาที่รักประชาธิปไตย