เก็บตกจากสัมนาปารีส กรัมชี่ กับ การสร้างฉันทามติในสังคมไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในงานสิบปีรัฐประหาร ๑๙ กันยาที่ปารีส มีประเด็นข้อตกเถียงที่น่าสนใจหลายประการ ผู้เขียนจะขอสรุปบางประเด็นตามความสนใจและมุมมองของผู้เขียนเอง แต่คนที่อยากศึกษาประเด็นเหล่านี้อย่างรอบด้านควรไปพยายามอ่านความเห็นของคนอื่นด้วย โดยเฉพาะคนที่มองต่างมุมกับผม

อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อธิบายว่าในช่วงประมาณ 20 ปีก่อนรัฐประหาร ๑๙ กันยา สังคมไทยค่อนข้างจะไร้ข้อขัดแย้งทางการเมือง คือมี “ฉันทามติ” ภายใต้แนวคิดรักเจ้า

ตรงนี้น่าจะเป็นการ “สรุป” ภาพรวม เพราะสำหรับประชาชนมาเลย์มุสลิม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในปาตานี มันคงจะไม่มีฉันทามติแบบนี้เลย แต่ผมจะขอข้ามประเด็นนี้ไป

จริงๆ แล้วสำหรับนักมาร์คซิสต์ “ฉันทามติ” ทางการเมืองและสังคมไม่เคยมีในสังคมใดเลย เพราะมันมีความขัดแย้งทางชนชั้นเสมอ ซึ่งบางครั้งเปิดเผย และบางครั้งซ่อนเร้น การที่ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างนายทุนกับกรรมาชีพ หรือคนรวยกับคนจน จะระเบิดออกมาหรือดูเหมือนเงียบไป มันขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการเคลื่อนไหวของคนชั้นล่าง และการปราบปรามหรือการเอาใจคนชั้นล่างโดยชนชั้นปกครอง สภาพเศรษฐกิจก็มีส่วนด้วย

ภาพของ “ฉันทามติ” ที่ อ.สมศักดิ์พูดถึงในไทยนี้ ผมอธิบายว่ามาจากความพ่ายแพ้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และการที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวจนประชาชนจำนวนมากมีชีวิตที่ดีขึ้นบ้าง ทั้งๆ ที่อาจได้ประโยชน์ตรงนี้น้อยกว่าพวกนายทุน คนรวย หรือชนชั้นกลาง

ทั้งๆ ที่ อ.สมศักดิ์ มองว่าในประชาธิปไตยตะวันตกมี “ฉันทามติ” ทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงมีการแบ่งแยกการเมืองระหว่างสายแรงงานกับสายนายทุนมาตลอด และท่ามกลางปัญหาที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 มีกระแสไม่พอใจกับการเมืองกระแสหลักมากมาย จนเกิดการแยกขั้วอย่างรุนแรง ในบางประเทศฝ่ายซ้ายใหม่เพิ่มคะแนนนิยม ในบางประเทศพรรคฟาสซิสต์ก็มาแรง และแนวสุดขั้วเหล่านี้ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบประชาธิปไตยกระแสหลักเท่าไร ยิ่งกว่านั้นฝ่ายชนชั้นปกครองยุโรปก็ไม่เคารพประชาธิปไตย กรณีกรีซเป็นตัวอย่างที่ดี แม้แต่ในอังกฤษมีนายพลขู่ว่าถ้านักการเมืองฝ่ายซ้าย เจเรอมี คอร์บิน เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคแรงงาน อาจมีรัฐประหารเกิดขึ้น

ในอังกฤษและประเทศอื่นๆ ของยุโรป จะมีคนที่เห็นต่างกันอย่างรุนแรงในหลายเรื่อง เช่นเรื่องสหภาพยุโรป รัฐสวัสดิการ การทำสงคราม นโยบายรัดเข็มขัด หรือท่าทีต่อผู้ลี้ภัย ในสหรัฐก็ไม่ต่างออกไป นี่คือสาเหตุที่คะแนนนิยมนักการเมืองนอกกรอบมาแรงในยุคนี้ และนี่คือสาเหตุที่ประชาชนจำนวนมากในสหรัฐไม่เคยไปลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้งด้วย เพราะมองว่ามันไม่เปลี่ยนอะไร

ดังนั้นความขัดแย้งทางสังคมที่เราเห็นทุกวันนี้ในไทยเป็นเรื่องธรรมดา

ในประเทศสเปน ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเดือดร้อนสูงจากนโยบายรัดเข็มขัด เพราะคนจำนวนมากตกงาน พรรคฝ่ายซ้ายใหม่ Podemos วิวัฒนาการมาจากการประท้วงของคนหนุ่มสาวในจัตุรัสต่างๆ กลางเมือง [ดู http://bit.ly/293hWr1 ] แกนนำของพรรคนี้พยายามเสนอว่าเขาจะสร้าง “ฉันทามติ” ใหม่ โดยข้ามพ้นความเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา ยิ่งกว่านั้นพวกนี้จะอ้าง กรัมชี่ ซึ่งเป็นนักมาร์คซิสต์อิตาลี่ เพื่อให้ความชอบธรรมกับสิ่งที่ตนเองเสนอ แต่มันเป็นการบิดเบือนกรัมชี่

กรัมชี่ เดิมเสนอความคิดเรื่อง hegemony หรือ “การครองความเป็นใหญ่ในสังคม” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ความคิดของชนชั้นปกครองกลายเป็นที่ยอมรับทั่วไป และมีข้อเสนอว่าฝ่ายชนชั้นกรรมาชีพและแนวร่วม ควรสร้างพลังเพื่อครองความเป็นใหญ่ทางความคิดและต้านความคิดของชนชั้นปกครอง และในเรื่องนี้กรัมชี่จะเน้นเรื่องชนชั้นและความขัดแย้งทางชนชั้นเสมอ ที่สำคัญคือ กรัมชี่ ไม่ได้เสนอความคิดนี้เพื่อสร้างสันติภาพในสังคมภายใต้ฉันทามติที่สร้างความสามัคคีระหว่างชนชั้นที่ขัดแย้งกัน และเขาต้องการเห็นชนชั้นกรรมาชีพเป็นใหญ่ในสังคมเพื่อสร้างสังคมนิยม

แต่แกนนำพรรค Podemos ปฏิเสธเรื่องชนชั้น และผลพวงของชนชั้น…คือความเป็น “ซ้าย” หรือ “ขวา” คือไม่พูดถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับกรรมาชีพ เช่นรัฐสวัสดิการ สิทธิแรงงาน การเพิ่มฐานะความเป็นอยู่ของคนจนผ่านการขึ้นภาษีกับคนรวย หรือการต่อต้านคำสั่งจากกลุ่มอำนาจในสหภาพยุโรป ฯลฯ และวิธีการที่เขาใช้ในการบริหารพรรคคือการนำแบบเผด็จการภายในพรรค ทั้งนี้เพื่อกีดกันไม่ให้กระแสรากหญ้าที่เคยมีสามารถกำหนดนโนบายได้ แกนนำเท่านั้นจึงมีสิทธิ์กำหนดนโยบายที่คลุมเครือไม่มีรายละเอียดแต่ฟังดูดี

ที่นี้ อ.สมศักดิ์ ก็อ้าง กรัมชี่ ในลักษณะเหมือนกันกับ Podemos คือเสนอว่าเราควรสร้าง “ฉันทามติ” ร่วมกันกับพวกชนชั้นกลางสลิ่ม คือข้ามพ้นความขัดแย้งทางชนชั้นในไทยที่ปรากฏออกมาในรูปแบบความขัดแย้งเรื่องประชาธิปไตยระหว่างแดงกับเหลือง นอกจากนี้ อ.สมศักดิ์ ก็มองว่าแนวคิดมาร์คซิสต์เป็นเรื่องที่มาล้อกันได้ในที่ประชุมเพื่อพยายามให้คนที่มองต่างมุมถูกมองว่าเป็นตัวตลก ดูเหมือนอาจารย์ข้ามพ้นความคิดมาร์ซิสต์ไปแล้ว

การสร้าง “ฉันทามติ” ระหว่างสลิ่มชนชั้นกลางกับคนเสื้อแดงในไทย ในบริบทที่ไม่มีการสร้างพลังของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ย่อมจบลงด้วยการประนีประนอมกับฝ่ายที่เกลียดประชาธิปไตยเพราะเกลียดคนจน ผลที่ออกมาคือประชาธิปไตยครึ่งใบเท่านั้น อ.สมศักดิ์ จริงใจในความพยายามที่จะหาทางไปสู่สันติภาพในไทย และจริงใจในการรักประชาธิปไตย แต่เนื่องมาจากเขาไม่เคยสนใจและไม่เคยมั่นใจในพลังมวลชน เขาจึงถึงทางตัน

อีกคนหนึ่งที่ดูเหมือนอยากคุยกับฝ่ายตรงข้าม เพราะไม่มุ่งสร้างขบวนการมวลชนคือ รังสิมันต์ โรม [ดู http://bit.ly/2dizkuE %5D

วิธีสร้างประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพในไทยที่ยั่งยืน คือการสร้างพลังมวลชนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย พร้อมๆ กับการสร้างพรรคซ้ายที่เน้นผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพ เกษตรกรรายย่อย และคนจน และถ้าพลังของขบวนการนี้เข้มแข็งพอเมื่อไร เราจะกดดันให้ชนชั้นกลางหลายส่วน หันมาสนับสนุนเราได้ภายใต้เงื่อนไขของเรา ไม่ใช่ภายใต้เงื่อนไขของพวกที่เกลียดประชาธิปไตย ชนชั้นกลางไม่เคยเป็นกลุ่มก้อนที่มั่นคงและสามัคคี แต่เป็น “กลุ่มชนชั้น” ที่กระจัดกระจาย และจุดยืนทางการเมืองมักแกว่งไปมาเสมอ ยุคหนึ่งสนับสนุนเผด็จการ ยุคหนึ่งสนับสนุนคนชั้นล่าง ขึ้นอยู่กับพลังของสองชนชั้นที่อยู่เหนือและใต้ชนชั้นของเขา

พลังการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องสร้างบนรากฐานขบวนการเสื้อแดงเก่า ประชาชนสิบล้านคนที่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญทหาร และนักศึกษาก้าวหน้า ที่สำคัญคือต้องสร้างขบวนการที่มีการนำอิสระจากอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยและทักษิณ

14480594_10207643228419481_7044129971385575274_o

การสร้างขบวนการดังกล่าวจะใช้เวลา และตราบใดที่ยังอ่อนแออยู่ ระดับการต่อต้านเผด็จการจะไม่สูง ซึ่งแปลว่าคำพูดของ อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักประชาธิปไตยอีกคนหนึ่ง ที่พูดในงานสัมมนาที่ปารีส และเสนอว่า “สังคมไทยใกล้จะระเบิด” คงไม่เป็นอย่างนั้นจริง

นอกจากเรื่อง “ฉันทามติ” แล้ว การมองข้ามพลังของมวลชน มักพาคนไปหลงเชื่อว่ากษัตริย์ไทยมีอำนาจทางการเมือง อ.สมศักดิ์ มองต่างมุมกับผมว่ากษัตริย์เป็นแค่คนที่ถูกทหารใช้ [ดู http://bit.ly/1OtUXBm   http://bit.ly/2cAODfC  http://bit.ly/2cnQepl  ]

เขาเสนอว่า “อำนาจ” เป็นเรื่องซับซ้อน เขาเสนอว่าคนที่ไม่มีใครวิจารณ์ได้มีอำนาจสูง แต่กษัตริย์ไม่ต้องออกคำสั่งอะไรอย่างตรงไปตรงมา ผมก็เลยเถียงกลับไปว่า “พระเจ้า” ก็เหมือนกัน แต่นอกจากพระเจ้าไม่มีจริงแล้ว และอำนาจพระเจ้าจึงไม่มีจริง แต่พระเจ้าก็ยังเป็นสิ่งที่นักการเมืองและชนชั้นปกครองใช้เป็นเครื่องมือที่ให้ความชอบธรรมกับตนเอง

ในเรื่องที่ผมปฏิเสธแนวคิดเรื่อง “รัฐพันลึก”  [ ดู http://bit.ly/2a1eP01 ]  มีคนไทยคนหนึ่งถามผมเพิ่มเติมและผมก็อธิบายให้ฟังตามที่เคยเขียนไว้ แต่ภาพหนึ่งที่ อ.สมศักดิ์ฉายที่ปารีส ในเรื่องจำนวนรัฐประหารของประเทศไทย ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่าข้อมูลอีกชิ้นหนึ่งที่ท้าทายทฤษฏีรัฐพันลึกคือ ในอดีตมีหลายครั้งที่พวกทหารทำรัฐประหารกันเองอันเนื่องจากความแตกแยกในกองทัพ นี่ไม่ใช่ลักษณะของการมีรัฐพันลึกแต่อย่างใด

สุดท้ายนี้ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบ อ.สมศักดิ์ และ อ.ปวิน ที่ปารีส และผมหวังว่าทั้งสองท่านจะมีความสุขต่อไปในชีวิตที่อาจลำบากเพราะความกล้าหาญของเขา ผมหวังด้วยว่าทั้งสองท่านคงจะเข้าใจว่าที่ผมเถียงด้วยในบทความนี้ ไม่ได้สะท้อนอคติส่วนตัวแต่อย่างใด ประชาธิปไตยไทยจะรุ่งเรืองได้ก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเสรีในเรื่องความคิดได้

สิบปีหลัง ๑๙ กันยา เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

ใจ อึ๊งภากรณ์

สิบปีที่แล้วพวกทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยมได้ริเริ่มกระบวนการในการทำลายประชาธิปไตยไทย ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา เราต้องประสบวิกฤตทางการเมืองอันเนื่องมาจากการทำรัฐประหารของทหารกับศาลซ้ำแล้วซ้ำอีก รวมถึงการก่อความรุนแรงโดยม็อบคนชั้นกลางและพวกอันธพาลจัดตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำลายการเลือกตั้งและสนับสนุนการก่อรัฐประหารดังกล่าว นอกจากทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยมแล้ว นักเคลื่อนไหวเอ็นจีโอ และนักวิชาการเสรีนิยมฝ่ายขวาก็มีส่วนในการสนับสนุนรัฐประหารและการทำลายประชาธิปไตยอีกด้วย

ji

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาพวกที่ต้านประชาธิปไตยได้เข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอย่างเลือดเย็น โดยพวกฆาตรกรของฝ่ายรัฐลอยนวลเสมอ ในขณะเดียวกันคุกไทยมีนักโทษทางการเมืองในจำนวนที่เราไม่เคยเห็นตั้งแต่การยุติของสงครามเย็น พร้อมกันนั้นในต่างประเทศก็มีคนไทยที่เป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองจำนวนหนึ่งอย่างที่ไม่เคยมีมานาน กลไกสำคัญอันหนึ่งที่ใช้ในการปราบฝ่ายซ้ายและเสื้อแดงคือกฏหมายเถื่อน 112 ที่ปกป้องผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะและการกระทำทุกอย่างของทหารเผด็จการ

somyot-prueksakasemsuk

ต้นกำเนิดของวิกฤตการเมืองไทยครั้งนี้คือวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี ๒๕๔๐ ซึ่งเปิดโปงปัญหาพื้นฐานในสังคมไทย คือการที่สภาพการดำรงอยู่ “ทางวัตถุ” หรือ “ทางเศรษฐกิจสังคม” ของประชาชนส่วนใหญ่ ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับโครงสร้างส่วนบนของสังคมไทยที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แค่ห้าปีก่อนหน้านั้นมีการลุกฮือที่ประสบความสำเร็จในการล้มเผด็จการทหาร แต่การเมืองยังวนเวียนอยู่ในสภาพเดิมๆ

ในหลายปีก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่อย่างที่ควร เพราะผลประโยชน์เกือบทั้งหมดตกอยู่ในมือของชนชั้นนำและนายทุนไม่กี่คน ส่วนชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยเช่นกัน ก็ได้ประโยชน์บ้าง สรุปแล้วหลายแง่ของสังคมไทยถูกแช่แข็งในความล้าหลัง

ในขณะเดียวกันวิถีชีวิตของประชาชนทั่วประเทศเปลี่ยนไป คนที่เลี้ยงชีพในภาคเกษตรลดลงอย่างรวดเร็ว และคนที่เป็นลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและการบริการก็เพิ่มขึ้น แม้แต่คนที่อยู่ในภาคเกษตรของชนบทก็ต้องเสริมรายได้ด้วยการทำงานในกิจกรรมนอกภาคเกษตรในชุมชนตนเองด้วย

สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนมากพอสมควร โดยเฉพาะเวลาเราพิจารณาว่าคนที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายขึ้นไป ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคนร่นใหม่เริ่มเข้าสู่วัยของการเป็นผู้ใหญ่ แต่ความไม่พอใจดังกล่าวไม่ได้ถูกแสดงออกเพราะหลายคนขาดความมั่นใจ และมองไม่ออกว่าจะแก้สถานการณ์ในรูปธรรมอย่างไร

ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และเรามีรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีภาพว่ามาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมกับการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ประชาชนเริ่มมีความหวังว่าสภาพสังคมจะดีขึ้น มันเป็นประกายไฟที่จุดให้คนจำนวนมากตื่นตัวทางการเมืองภายใต้ความหวังและทางออกที่พอมองเห็นได้

ทักษิณ ชินวัตร กับไทยรักไทย เข้าใจ และพร้อมจะฉวยโอกาสทองในการสร้างการเมืองแบบใหม่บนพื้นฐานโยบายที่เป็นรูปธรรม เพื่อครองใจประชาชน แทนระบบอุปถัมภ์และการซื้อเสียงแบบเดิม นโยบายของไทยรักไทย โดยเฉพาะ “30บาทรักษาทุกโรค” และกองทุนหมู่บ้าน ถูกออกแบบเพื่อทำให้สังคมไทยทันสมัยมากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนใหญ่เพิ่มกำไรผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยทั่วไปในสังคม ทักษิณเรียกนโยบายดังกล่าวว่า นโยบายคู่ขนาน คือผสมการลงทุนจากรัฐกับการใช้กลไกตลาดเสรี แต่ศัตรูของไทยรักไทยมักเรียกนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ว่าเป็น “ประชานิยม” เหมือนกับว่าเป็นคำด่า พวกนี้เกลียดชังการใช้รัฐเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เพราะเขานิยมกลไกตลาดเสรีสุดขั้วแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ที่ให้ประโยชน์กับเขามานาน นอกจากนี้พวกนี้เกลียดชังคนส่วนใหญ่และมองว่าเราเป็น “คนโง่” ที่ไว้ใจไม่ได้และตัดสินใจอะไรเองไม่ได้

สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่พวกทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยม เริ่มไม่พอใจรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ทั้งๆที่เคยชื่นชมในยุคแรก คือการที่ไทยรักไทยสามารถครองใจประชาชนผ่านนโยบายและสามารถผูกขาดอำนาจจากการชนะการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย พวกนั้นไม่พร้อมหรือไม่สามารถที่จะแข่งทางการเมืองกับไทยรักไทยในระบบการเลือกตั้งได้ เขาจึงหันมาชื่นชมเผด็จการแทน

วิกฤตการเมืองปัจจุบันไม่ได้เกิดจาก “ปัญหาการเปลี่ยนรัชกาล” แต่อย่างใด เพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นคนอ่อนแอมาตลอด ไม่มีอำนาจ และถูกใช้โดยทหารและอำมาตย์ รวมถึงนักการเมืองอย่างทักษิณอีกด้วย ปัจจุบันขณะที่กษัตริย์ภูมิพลป่วยมานานและหมดสภาพในการแสดงออกอะไรมากมาย ก็ไม่มีสุญญากาศทางการเมืองแต่อย่างใด และทุกส่วนของชนชั้นนำมองว่าเจ้าฟ้าชายจะขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไป ยิ่งกว่านั้นเจ้าฟ้าชายจะเป็นคนที่อ่อนแอและถูกใช้ยิ่งกว่าพ่อด้วยซ้ำ เพราะไม่สนใจการเมืองเลย และชนชั้นนำไทยก็ไม่เคารพเท่าไร ดังนั้นการเน้นเรื่อง “ปัญหาการเปลี่ยนรัชกาล” เป็นการเบี่ยงเบนปัญหา และมองสังคมไทยจากมุมองชนชั้นบนเท่านั้น  (ดู http://bit.ly/2cnQepl )

การที่ประยุทธ์ทำรัฐประหารครั้งล่าสุด เปิดให้เราเห็นว่าอำนาจสำคัญที่สุดในการทำลายประชาธิปไตยคือกองทัพ ไม่ใช่กษัตริย์ เพราะกษัตริย์เพียงแต่มีหน้าที่ในการให้ความชอบธรรมกับสิ่งแย่ๆ ที่ทหารทำเท่านั้น แต่อำนาจเผด็จการของทหาร ไม่ใช่ในลักษณะ “รัฐพันลึก” เพราะกองทัพไทยและพวกอำมาตย์แตกแยกกันเสมอและแข่งกันเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ดังนั้นมีการทำแนวร่วมและเปลี่ยนขั้วกันเป็นประจำ ทฤษฏีรัฐพันลึกเป็นอีกทฤษฏีหนึ่งที่เน้นแต่เบื้องบน เราต้องพิจารณาภาพรวมและการต่อสู้ของประชาชนธรรมดาที่ต้องการประชาธิปไตยและพร้อมจะสู้เสมอ (ดู http://bit.ly/2a1eP01 )

พอมาถึงจุดนี้เราควรทบทวนสถานการณ์ เราต้องไม่ไปหลงใหลในนักการเมืองแบบทักษิณว่าจะสู้เพื่อประชาธิปไตย ทักษิณมีส่วนในการแช่แข็งเสื้อแดง และเขาเป็นนักการเมืองของฝ่ายทุนที่พร้อมจะก่ออาชญากรรมในปาตานีหรือในสงครามยาเสพติด ตรงนี้เขาไม่ต่างจากทหารหรือพรรคประชาธิปัตย์

ข้อเสนอของนักประชาธิปไตยอย่าง อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่าเราควรหาทางข้ามพ้นความขัดแย้งในหมู่ประชาชนสองฝ่ายของสังคมไทย เพื่อหาฉันทามติในการกำหนดรูปแบบการเมืองที่ไม่ใช่เผด็จการทหาร เป็นข้อเสนอที่จะไม่สร้างประชาธิปไตยจริงในรูปธรรม เพราะความขัดแย้งทางการเมืองมักดำรงอยู่ในทุกสังคมของโลก และความขัดแย้งดังกล่าว มีรากฐานจากผลประโยชน์ที่ต่างกันทางชนชั้น ทั้งๆ ที่ประเด็นต่างๆ อาจถูกบิดเบือนไปหรือไม่ชัดเจนขาวกับดำ การหาฉันทามติระหว่างคนที่รักประชาธิปไตยในไทยกับพวกสลิ่ม นอกจากจะเป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้แล้ว ยังเป็นข้อเสนอที่จะจบลงโดยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประนีประนอมในที่สุด ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องเป็นฝ่ายประนีประนอม เราจะได้แค่ประชาธิปไตยครึ่งใบ

2551-10-02_%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a5

ทั้งๆ ที่ อ. สมศักดิ์ เป็นคนจริงใจในการต้านเผด็จการ แต่ความคิดแบบนี้มาจากการที่เขา และคนที่คิดเหมือนเขา ไม่มีความมั่นใจในพลังของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือขบวนการกรรมาชีพ เขาจึงไม่มีส่วนในการทำงานเพื่อจัดตั้งมวลชน และต้องหันมาแสวงหาสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นทางลัด แต่มวลชนผู้รักประชาธิปไตยเป็นพลังชี้ขาดในการผลักดันความก้าวหน้าเสมอ

20100328_02_27

เราต้องสร้างความมั่นใจว่าประชาชนสู้เองได้ แต่ถ้าเราไม่สร้างองค์กร ไม่สร้างพรรค ไม่สร้างเครือข่ายมวลชน เราจะไม่มีวันนำตนเองอย่างมีพลัง ที่สำคัญคือเราต้องรู้จักสามัคคีกับคนที่อาจเห็นต่างแต่มีจุดร่วมในการเกลียดเผด็จการและพฤติกรรมของสลิ่ม การเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเรา เป็นพฤติกรรมของเด็กๆ ที่ต้องเลิก และถ้าเรามัวแต่เคลื่อนไหวในกลุ่มเล็กๆ ในเชิงสัญลักษณ์ โอกาสที่จะล้มเผด็จการจะยิ่งยืดออกไปนานในอนาคต

อย่าลืมว่าคนไทยเคยล้มเผด็จการมาหลายรอบ และคนไทยจำนวนมากมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมประชาธิปไตย แน่นอนเราทุกคนก็เคยพบอุปสรรคในการต่อสู้ บ่อยครั้งเช่นหลังผลประชามติ เราต้องยอมรับว่าต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อเดินหน้าสองก้าว และเพื่อชัยชนะของประชาชนชั้นล่าง

อ่านเพิ่ม http://bit.ly/1VTFyio

และบทความภาษาอังกฤษล่าสุดที่เขียนเพื่อเสนอในงาน “เสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน” ที่กรุงปารีส 19/9/2016 ดูได้ที่นี่: http://bit.ly/2bSpoF2  or http://bit.ly/2cmZkAa

มนุษย์กับประวัติศาสตร์ภูมิอากาศโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์ เรียบเรียงจากบทความของ Camilla Royle

การดำรงอยู่ของมนุษย์ในรอบหมื่นกว่าปีหลังยุคน้ำแข็งอยู่ในสมัย “โฮโลซีน” ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศน์ที่ค่อนข้างคงที่ถ้าเทียบกับยุคก่อน แต่ในปัจจุบันนักธรณีวิทยาเริ่มนิยามยุคปัจจุบันว่าเป็นยุค “แอนโทรโปซีน” ซึ่งหมายถึงสมัยที่การกระทำของมนุษย์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อย่างที่ไม่เคยเป็นในอดีต

การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหา “โลกร้อน” ที่มาจากการที่มนุษย์ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกซ์ไซด์ จากการเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่นการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก การเพิ่มกรดในทะเล การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศน์ ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อเรา ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และต่อระบบการเกษตร มันมากกว่าแค่ “วิกฤต” เพราะมันจะไม่หายไปด้วยตัวมันเอง และอาจอยู่กับโลกตลอดไป

ประเด็นสำคัญที่นักมาร์คซิสต์จะต้องเน้นคือ มันเป็นปัญหาของทุนนิยม และระบบที่ “การสะสมเพื่อกำไร”เป็นพระเจ้าที่ครองสังคมมนุษย์ อย่างที่ คาร์ล มาร์คซ์ เคยอธิบาย

จริงๆ แล้วการเสนอว่าวิถีชีวิตของมนุษย์มีผลต่อภูมิอากาศและระบบนิเวศน์โลก เป็นข้อเสนอที่เริ่มจากนักวิทยาศาสตร์โซเวียตในปี 1945 โดยที่ Aleksei Pavlov และ Vladimir Vernadsky พูดถึงมนุษย์ว่ากลายเป็น “พลังทางธรณี”

ในหมู่คนที่เป็นห่วงและสนใจปัญหาโลกร้อน มีนักเคลื่อนไหวบางคนที่เสนอว่ายุค “แอนโทรโปซีน” เกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เริ่มเดินบนโลก ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงวิกฤตทางธรณีวิทยาที่กำลังเกิดจากระบบทุนนิยม มันนำไปสู่ทางตัน เพราะโทษมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ชนชั้นใด ว่ามีส่วนร่วมในการก่อปัญหา และมีข้อเสนอเดียวคือเราในฐานะปัจเจกต้องลดการบริโภค ในขณะที่มนุษย์จำนวนมากบริโภคไม่พอ มันเป็นคำอธิบายที่โทษ “ธรรมชาติมนุษย์” และเสนอว่าเราต้องหาวิธีทางเทคนิคเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนี้มันมาจากมุมมองว่ามนุษย์เป็นพลังพิเศษที่แยกออกจากธรรมชาติของโลกได้ มันเป็นแนวคิดประเภท “หลังสมัยใหม่” หรือ “หลังยุคการเมือง” ที่ปฏิเสธความคิดทางการเมือง

แต่นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่ยุคมาร์คซ์ จะใช้ “วิภาษวิธี” มองภาพรวมของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยเข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ธรรมชาติมีผลกระทบต่อเรา และเรามีผลกระทบต่อธรรมชาติเสมอ [ http://bit.ly/2aj5st3 %5D

นักวิจารณ์คนสำคัญของฝ่ายซ้ายในปัจจุบันที่พูดถึงปัญหายุค “แอนโทรโปซีน” คือ Andreas Malm (อันเดรอัส มาล์ม) จากมหาวิทยาลัยลุนด์ในประเทศสวีเดน มาล์ม เสนอว่ายุค “แอนโทรโปซีน” เริ่มจากการใช้ถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งทิศทางการพัฒนาในการปฏิวัติอุตสาหกรรมทุนนิยมนี้ ได้รับผลโดยตรงจากการต่อสู้ทางชนชั้น และการที่นายทุนต้องการจะควบคุมปัจจัยการผลิต เขาเน้นว่าปัญหาโลกร้อนคือปัญหาทางการเมือง และมนุษย์ทุกคนไม่ได้ก่อให้มันเกิดขึ้น เราต้องโทษชนชั้นที่ควบคุมระบบการผลิตมากกว่า [http://bit.ly/1IJYR4J]

แต่จุดอ่อนของ มาล์ม คือเขามองแค่สังคมมนุษย์ แต่ไม่ให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเท่าที่ควร เราต้องหาทางวิเคราะห์ทั้งสองเรื่องพร้อมกัน

แน่นอน ระบบทุนนิยมปัจจุบันเกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในระบบทุนนิยม แตกต่างจากความสัมพันธ์ในยุคก่อนทุนนิยม เพราะในปัจจุบันกลไกตลาดบังคับให้กลุ่มทุนต่างๆ แข่งขันกันเพื่อสะสมทุนมากขึ้นตลอดเวลา ในระบบนี้คนธรรมดาทั่วโลกไม่สามารถวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองเพื่อมนุษย์ และไม่สามารถวางแผนการผลิตในรูปแบบที่จะไม่นำไปสู่การทำลายโลกได้

พูดง่ายๆ ระบบนิเวศน์และภูมิศาสตร์ปัจจุบัน มีลักษณะพิเศษอันเนื่องมาจากระบบทุนนิยม ดังนั้นเราควรมองว่ายุคทุนนิยมและยุค “แอนโทรโปซีน” เป็นเรื่องเดียวกัน และเราไม่ควรลืมว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์

นักวิทยาศาสตร์หลายคนกำลังเตือนเราว่าถ้าเราไม่รีบเปลี่ยนแปลงสภาพของ ยุค “แอนโทรโปซีน” มนุษย์เองอาจสูญพันธ์ หรืออย่างน้อยข้อดีของโลกที่พัฒนาและมีอารยะธรรมอาจหายไปหมด มันแปลว่าเราจะต้องเคลื่อนไหวล้มระบบทุนนิยม เพื่อปลดแอกมนุษย์จากสังคมชนชั้น และเพื่อปกป้องโลกกับระบบนิเวศน์พร้อมกัน

สำหรับนักนิเวศวิทยาฝ่ายซ้ายอย่าง John Bellamy Foster เราจะต้อง “ปฏิวัติระบบนิเวศน์” และ “ปฏิวัติระบบทุนนิยม” อย่างเร่งด่วน

[บทความนี้เรียบเรียงจากบทความของ Camilla Royle http://bit.ly/2aGcSun %5D

จีน ต้นเหตุของการ “ปฏิวัติวัฒนธรรม” ในยุคเหมา

ใจ อึ๊งภากรณ์

การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนเริ่มขึ้นในปี 1966 เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มันเกิดขึ้นจากอะไร และเป็นการปฏิวัติจริงหรือ?

ภาพของประเทศจีนในทศวรรษ 1950 และ1960 ที่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์พยายามวาด เป็นภาพของประเทศที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของเกษตรกรรายย่อยที่พึงพอใจกับสังคมใหม่ แต่นั้นก็เป็นภาพจอมปลอมที่มองข้ามความยากจนของเกษตรกร และความลำบากของชีวิตคนธรรมดา ทั้งในเมืองและชนบท

นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อยึดอำนาจได้ คือนโยบายที่คงไว้โครงสร้างเก่าบางส่วน เช่นการคงไว้เจ้าหน้าที่รัฐเก่าของพรรคก๊กมินตั๋ง และการยึดอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ถูกก๊กมินตั๋งยึดมาเป็นของรัฐ โดยจ่ายเงินปันผลให้นายทุนเดิม ซึ่งแปลว่าใน “จีนแดง” ยังมีเศรษฐี นโยบายดังกล่าว เป็นแนวที่เราเรียกว่า “แนวทุนนิยมโดยรัฐตามแม่บทสตาลิน” มันทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้บ้าง แต่ถ้าจีนจะพัฒนาให้ทันตะวันตกหรือรัสเซียต้องมีมาตรการอื่น

ในปี 1958 เหมาเจ๋อตุง สามารถผลักดันนโยบาย “ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่” เพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมจีน ทั้งๆ ที่ เติ้งเสี่ยวผิง และหลิวเซ่าฉี คัดค้าน นโยบายก้าวกระโดดนี้อาศัยการยึดที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย และบังคับให้ย้ายไปทำงานในโรงงาน หรือบังคับให้ไปทำนารวม ในสองปีแรกดูเหมือนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 30% แต่ในปี 1960 ความจริงก็ปรากฏออกมา เพราะคุณภาพการผลิตในโรงงานต่างๆ แย่มาก และการบังคับทำนารวม ทำให้เกษตรกรไม่พอใจและผลผลิตลดลง จนมีคนอดอาหารตายหลายล้านคน สรุปแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่าน “พลังจิตใจ” ของ เหมาเจ๋อตุง ในการ “ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่”  ไม่สามารถแก้ปัญหาที่มาจากความล้าหลังทางวัตถุของจีน ซึ่งเป็นมรดกจากจักรวรรดินิยมก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะยึดอำนาจ

แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์เขี่ย เหมา ออกไปและหันมาขยายเศรษฐกิจด้วยความระมัดระวัง แต่ผลแย่กว่าเดิม ในปี 1966 เหมาเจ๋อตุง หลินเปียว และเชียงชิง(ภรรยาเหมา) สามารถยึดอำนาจใหม่ผ่านการประกาศ “ปฏิวัติวัฒนธรรมโดยชนชั้นกรรมาชีพ” แต่การรณรงค์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่การปฏิวัติ และไม่ได้ทำโดยกรรมาชีพเลย มันเป็นการพยายามกำจัดคู่แข่งของ เหมา ในแกนนำพรรคต่างหาก โดยใช้ข้ออ้างว่าพวกนี้ยังมีความคิดแบบวัฒนธรรมเก่าๆ มีการผลัก เติ้งเสี่ยวผิง และหลิวเซ่าฉี ออกไป และใช้หนุ่มสาวในกอง “การ์ดแดง” เพื่อกลั่นแกล้งเจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างโหดร้ายทารุน เช่น ครู นักเขียน นักข่าว และนักแสดง โดยเฉพาะคนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อ “ท่านประธานเหมา” แต่ที่น่าสนใจคือ เหมา ออกคำสั่งว่าการ์ดแดงจะต้องไม่ไปยุ่งกับอำนาจกองทัพหรือตำรวจ

mao-newsweek05.16

     ในแง่หนึ่ง เหมา สามารถฉวยโอกาสใช้ความไม่พอใจที่คนหนุ่มสาว กรรมาชีพ และคนระดับล่าง มีต่อพวกข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มเสพสุขในขณะที่คนอื่นยากลำบาก บางส่วนของกระแสนี้พยายามค้นหาทางที่จะกลับสู่ “สังคมนิยมแท้” และคนเหล่านั้นสามารถส่งต่อมรดกไปสู่กระแส “กำแพงประชาธิปไตย” ในทศวรรษ 1970

red-guards_2487403b

     เหมา และพรรคพวกปลุกกระแส “การ์ดแดง” ขึ้นมาแล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมมันได้ เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังการ์ดแดงที่เป็นคู่แข่งกัน จน เหมา ต้องสั่งให้กองทัพเข้าไปจัดการปราบปราม ในที่สุดมีการส่งคนหนุ่มสาวจำนวนมากไปลงโทษในชนบทด้วยการทำงานหนัก

z030b_1

     ในยุคนั้นฝ่ายซ้ายส่วนหนึ่งทั่วโลก ปลื้มกับการปฏิวัติวัฒนธรรมและหนังสือปกแดงของ เหมาเจ๋อตุง และมีการอ้างประโยคไร้สาระ ที่มาจากความคิดเหมาในหนังสือปกแดง ยังกับว่ามันเป็นคัมภีร์อันยิ่งใหญ่ ที่แนะแนวการต่อสู้สำหรับนักสังคมนิยม แต่ในความเป็นจริง ในปี 1972 ขณะที่สหรัฐกำลังถล่มเวียดนาม เหมาเจ๋อตุง ก็ต้อนรับประธานาธบดี นิกสัน สู่ประเทศจีน

ในปี 1977 หนึ่งปีหลังจากที่เหมาเสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิง นำกลไกตลาดเข้ามาใช้ในจีนด้วยความกระตือรือร้นยิ่ง และทุกวันนี้จีนเป็นเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใช้ระบบทุนนิยมกลไกตลาด จีนภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ไม่เคยเป็นสังคมนิยมเลย