วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง: การแบ่งขั้วยังดำรงอยู่ และการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวมีความสำคัญยิ่ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

คนไทยที่รักประชาธิปไตยรู้อยู่ในใจอยู่แล้วว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่เสรีและเป็นธรรม เพราะใครๆ ก็ทราบถึงมาตรการต่างๆ ของเผด็จการที่จะสืบทอดอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญทหาร แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20ปี การแต่งตั้งสว. 250คน หรือความลำเอียงของ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ

แต่คนไทยที่รักประชาธิปไตยจำนวนมากอยากฝันถึงเรื่องดีๆ จึงปล่อยให้ตนเองแอบหวังว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะชนะการเลือกตั้ง และยุคแห่งเผด็จการจะสิ้นลง ตรงนี้เข้าใจได้

แต่ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมองความจริงที่ทุกคนรู้ในใจอยู่แล้ว คือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและการลบผลพวงของเผด็จการมันยังไม่จบ มันพึ่งเริ่มในรูปแบบใหม่เท่านั้นเอง และการกาบัตรเลือกตั้งไม่สามารถฆ่าเผด็จการได้ง่ายๆ

มันมีหลายคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของ กกต. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยุติประกาศคะแนนโดยไม่มีเหตุผลในเช้าวันที่25มีนาคม การที่คะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ปัญหาบัตรจากนิวซีแลนด์ เรื่อง “บัตรเสีย” 2 ล้านเสียง และการที่ตัวเลขที่กกต.เดิมอ้างว่าเป็นการนับคะแนน 100% มีข้อผิดพลาดมากมาย เรารู้ด้วยว่า คสช. โกงการเลือกตั้งด้วยหลายวิธีที่อ้างกฏหมายที่มันเขียนเอง การยุบพรรคไทยรักษาชาติเป็นตัวอย่างสำคัญที่กระทบต่อคะแนนเสียง

ปัญหาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจคงจะเกิดจากสองสาเหตุหลักคือ ความไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงของ กกต. และการจงใจโกงการเลือกตั้งโดย คสช.

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสที่ประชาชนสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับเผด็จการประยุทธ์ได้ และผลคะแนนทั่วประเทศคงสะท้อนความจริงในระดับหนึ่ง เพราะไม่ว่าคะแนนเสียงทั่วประเทศจะเปลี่ยนหรือ “เขย่ง” แค่ไหน ภาพรวมก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปนัก คือฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนมากกว่าฝ่ายเผด็จการ

จำนวนคะแนนทั้งหมดที่แต่ละพรรคได้รับมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่ในแง่ที่ประยุทธ์เสนอเพื่อให้ความชอบธรรมกับการตั้งรัฐบาลโดยพรรคพลังประชารัฐ

จำนวนคะแนนทั้งหมดที่แต่ละพรรคได้รับมีความสำคัญในการประเมินเสียงประชาชนที่ต่อต้านเผด็จการ แล้วเทียบกับเสียงที่สนับสนุนเผด็จการ เราจำเป็นต้องไม่ลืมว่ากติกาการเลือกตั้งภายใต้ คสช. ทำให้พรรคการเมืองแตกเป็นหลายพรรคย่อย ดังนั้นการดูแค่คะแนนของพรรคเดียวจะไม่สะท้อนภาพจริง

จากการประกาศผลทั้งหมด100%โดยกกต. ในวันที่28มีนาคม จะเห็นว่าในหมู่พรรคการเมืองที่ประกาศล่วงหน้าก่อนวันเลือกตั้งว่าต้องการลบผลพวงของเผด็จการ คือพรรคเพื่อไทย อนาคตใหม่ เสรีรวมไทย ประชาชาติ และเพื่อชาติ พรรคฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนทั้งหมด 15.9 ล้านเสียง หรือ 41.5% ของผู้มาใช้สิทธิ์

พรรคพลังประชารัฐของประยุทธ์ได้ 8.4 ล้านเสียง และถ้าบวกกับเสียงของพรรคภูมิใจไทย 3.7 ล้าน และพรรครวมพลังประชาชาติ 0.4 ล้าน จะเห็นว่าพรรคที่ประกาศล่วงหน้าว่าจะสนับสนุนเผด็จการได้แค่ 12.5 ล้านเสียง หรือ 32.6% เท่านั้น เราไม่สามารถนับเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 4 ล้านเสียงรวมเข้าไปตรงนี้ได้เพราะผู้นำพรรคประกาศล่วงหน้าว่าจะไม่สนับสนุนให้ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี

พูดง่ายๆ ฝ่ายเผด็จการแพ้เสียงข้างมากอย่างชัดเจน

พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนไปมากมาย ตกจาก 11.4 ล้านเสียงในปี ๒๕๕๔ เหลือแค่ 4 ล้าน สาเหตุคงจะเป็นเพราะสลิ่มเสื้อเหลืองเทคะแนนที่เคยให้ประชาธิปัตย์ไปสู่พรรคเผด็จการโดยตรง พวกนั้นคงอยากสนับสนุนเผด็จการตัวจริงแทนที่จะเลือกทางอ้อม การด่ากันเองภายในพรรคประชาธิปัตย์หลังเลือกตั้งสะท้อนสิ่งนี้

ถ้าพิจารณาว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๔ 1.1 เท่า เนื่องจากประชากรที่อายุเกิน 18 ปีเพิ่มขึ้น จะเห็นว่าคะแนนทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคทหารปีนี้ คล้ายคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ในปี ๒๕๕๔

สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ในปีนี้ คือ 74.7% ของผู้มีสิทธิ์ 51.2 ล้าน สัดส่วนพอๆกับการเลือกตั้งปี ๒๕๕๔ ที่ 75% ของผู้มีสิทธิ์ 46.9 ล้าน ไปใช้สิทธิ์

ผลคะแนนทั่วประเทศแสดงให้เห็นว่าการแบ่งขั้วระหว่าง “เหลืองกับแดง” หรือ “เผด็จการกับประชาธิปไตย” ยังคงดำรงอยู่หลังจากการครองอำนาจเผด็จการมาหลายปี ไม่มีการแก้วิกฤตแต่อย่างใด

พรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยลง ส่วนหนึ่งเพราะไม่ได้ลงสมัครในทุกเขตเพื่อไม่ให้แข่งกับพรรคไทยรักษาชาติ และพอไทยรักษาชาติถูกยุบ คนที่เคยอยากจะลงให้พรรคนี้คงวุ่นวายพอสมควร มันอาจช่วยอธิบายได้บ้างว่าทำไมพรรคภูมิใจไทยเพิ่มคะแนนจาก 1.3 ล้านในปี ๕๔ เป็น 3.7 ล้านในปีนี้

คำพูดของกษัตริย์วชิราลงกรณ์เรื่องการ “เลือกคนดี” คงไม่มีผลอะไรทั้งสิ้นกับคนที่อยากเลือกฝ่ายเผด็จการหรือคนที่อยากเลือกฝ่ายประชาธิปไตย เพราะไม่ค่อยมีความหมาย และตีความยังไงก็ได้แล้วแต่ว่าอยู่ฝ่ายใด

ในแง่ของการกำหนดจำนวนสส.ในสภา จำนวนสส.บัญชีรายชื่อยังไม่แน่นอนและคงเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ้าง เพราะสูตรในการคำนวณมันซับซ้อน ทั้งนี้เพื่อกีดกันพรรคใหญ่ของทักษิณเป็นหลัก แต่ถ้าดูจำนวน สส. เขต พรรคเพื่อไทยได้มากกว่าพรรคพลังประชารัฐ และพรรคที่ประกาศต้านทหารทั้งหมด ได้มากกว่าพรรคที่ประกาศก่อนวันเลือกตั้งว่าจะสนับสนุนประยุทธ์

พูดง่ายๆ เผด็จการประยุทธ์แพ้ทั้งเสียงประชาชน และที่นั่งเขตในสภา

การที่เพื่อไทยนำทีมพรรคฝ่ายประชาธิปไตย 6 พรรคประกาศว่าจะตั้งรัฐบาล ถือว่ามีความชอบธรรม ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการเพื่อไทยระบุว่า ถ้ารวมพรรคเศรษฐกิจใหม่ของ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ แล้ว คาดว่าจะมีที่นั่งถึง 256 เสียง แต่ตัวเลขที่นั่งนี้เปลี่ยนได้ และมีหลายคนตั้งคำถามว่าไว้ใจ มิ่งขวัญ ได้แค่ไหน

การที่กกต.เสนอว่าจะรายงานผลอย่างเป็นทางการในเดือนพฤภาคม เป็นเรื่องตลกร้าย แต่ที่ชัดเจนคือเป็นโอกาสทองที่จะโกงการเลือกตั้งผ่านการแจกใบเหลือง ใบส้มหรือใบแดง

วิกฤตประชาธิปไตยไทยคงแก้ไม่ได้ถ้าเราเคารพกติกาที่ไร้ความชอบธรรมของเผด็จการ ไม่ว่าฝ่ายเผด็จการหรือฝ่ายประชาธิปไตยสามารถตั้งรัฐบาลได้ ทักษิณพูดถูกว่าไม่ว่าฝ่ายไหนเข้ามาก็ล้วนแต่ขาดเสถียรภาพ แต่สิ่งที่ทักษิณไม่พูดและไม่เคยพูดก็คือเรื่องความสำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชน

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เราจะค้นพบว่ารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ มาจากกระแสมวลชนที่ล้มเผด็จการทหารในปี ๒๕๓๕ และหลังจากนั้นเราก็มีรัฐบาลที่เสนอการปฏิรูปสังคมในทางที่ดีบ้าง เช่นการเริ่มต้นระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่หลังจากนั้นมวลชนฝ่ายเหลืองก็ขึ้นมาคัดค้านประชาธิปไตยและเรียกให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองในปี ๒๕๔๙ แต่กระแสมวลชนเสื้อแดงบังคับให้ต้องมีการเลือกตั้งอีกที่เพื่อไทยชนะในปี ๒๕๕๔ ต่อมารัฐประหารของประยุทธ์เกิดขึ้นได้เพราะยิ่งลักษณ์กับทักษิณแช่แข็งขบวนการเสื้อแดงจนหมดสภาพ และไปหาทางประนีประนอมในรัฐสภา ซึ่งไม่สำเร็จ

จะเห็นว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนเป็นเรื่องชี้ขาดในการเมืองเสมอ ถ้าเราไม่หันมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชนอย่างจริงจัง เผด็จการจะสามารถสืบทอดอำนาจไปได้อีกนาน และความสิ้นหวังของประชาชนจะกลายเป็นยาพิษที่ทำให้คนยอมรับสภาพเช่นนี้

ร่วมกันลงคะแนนให้พรรคต้านทหาร – สรุปนโยบายหลักของพรรคเหล่านี้

ใจ อึ๊งภากรณ์

พลเมืองไทยที่รักประชาธิปไตยไม่ควรตั้งความหวังสูงเกินไปสำหรับการเลือกตั้งที่จะถึงในอีกไม่กี่วัน เราทราบดีว่าเผด็จการประยุทธ์พยายามที่จะโกงการเลือกตั้งด้วยหลายวิธี เช่นการแต่งตั้งสว.ของฝ่ายทหาร 250 คน ซึ่งแปลว่าฝ่ายพรรคเผด็จการจะสามารถอ้างว่าได้เสียงข้างมากในสภาทั้งๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่ได้เลือก

นอกจากนี้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ20 ปี ที่ออกแบบเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการไปอีกนาน และจำกัดความอิสระของรัฐบาลประชาธิปไตยในการบริหารประเทศ บวกกับศาลและวุฒิสภาที่เป็นทาสรับใช้ของทหาร จะทำให้เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการเคารพ การยุบพรรคไทยรักษาชาติคือตัวอย่างที่ดี

การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งประชาธิปไตย

แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าเราต้องร่วมกันลงคะแนนเสียงให้พรรคต้านทหาร เรื่องนี้สำคัญมากเพราะอะไร?

เราต้องมองการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นโอกาสที่ประชาชนจะลงมติไม่ไว้วางใจเผด็จการและพวกทหารที่ชอบก่อรัฐประหาร มันจะเป็นการลงมติในเชิงสัญญลักษณ์ที่มีค่ามหาศาลในการให้ความชอบธรรมกับการต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตยแท้

ลองนึกภาพดูก็ได้ ถ้าพรรคที่ต้านทหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเกินครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศ พวกทหารจะยกเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างในการอยู่ต่ออีกนาน กรณีนายพลเอลซีซีในประเทศอียิปต์เป็นคำเตือนที่สำคัญ

ดังนั้นพวกเราทุกคนต้องเข้าใจกันว่าอะไรสำคัญอะไรไม่สำคัญ เราต้องข้ามพ้นอคติส่วนตัวและสร้างความสามัคคีในการลงคะแนนให้พรรคใดพรรคหนึ่งจากกลุ่มพรรคต้านทหาร ซึ่งประกอบไปด้วยพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคสามัญชน และพรรคประชาชาติ

และที่สำคัญคืออย่าไปหวังอะไรจากพรรคต่างๆ เพราะเรากำลังลงมติไม่ไว้วางใจในเผด็จการในเชิงสัญญลักษณ์เท่านั้น

ทุกพรรคที่เอ่ยถึงข้างบนมีปัญหา ไม่มีพรรคไหนพร้อมจะลงมือสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าและครบวงจรทันทีด้วยการเก็บภาษีในอัตราสูงจากคนรวยและกลุ่มทุน มีแต่การเสนอว่าจะสร้างในอนาคตอันไกลหรือแค่เพิ่มสวัสดิการบางส่วนเท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนกับการลงมือสร้างรัฐสวัสดิการทันที นอกจากนี้ไม่มีพรรคไหนในรายชื่อข้างบนที่เสนอให้ยกเลิกหรือแม้แต่ปฏิรูปกฏหมายเผด็จการ 112 และไม่มีพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพและคนจนอีกด้วย

พรรคเพื่อไทยมีข้อดีตรงที่เสนอตัดงบประมาณทหาร แต่ทำไปเพื่อช่วยนายทุนน้อย มีการเสนออีกว่าจะซื้อรถเมล์ไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหามลพิษแทนการซื้อรถถัง ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่พรรคนี้มีนักการเมืองประเภท “มาเฟีย” หรือ “โจร” หลายคน เช่น พัลลภ ปิ่นมณี เสนาะ เทียนทอง และเฉลิม อยู่บำรุง และมี อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีที่เคยเพิ่มความเข้มข้นในใช้ 112 เพื่อการปราบประชาชานที่ใช้อินเตอร์เน็ด

พรรคอนาคตใหม่มีจุดเด่นตรงที่ประกาศว่าจะลบผลพวงของเผด็จการและตัดงบประมาณทหารเพื่อเพิ่มสวัสดิการให้ประชาชน แต่คำประกาศดังกล่าวขาดประเด็นสำคัญคือการสร้างพลังมวลชนนอกรัฐสภาที่จะมาหนุนช่วย นอกจากนี้มีการพูดถึงปัญหาปาตานี และการเปิดรับผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นนโยบายก้าวหน้า แต่พรรคนี้เป็นพรรคนายทุนไม่ใช่พรรคแรงงานหรือพรรคฝ่ายซ้าย ดังนั้นการเพิ่มประโยชน์ให้กับแรงงานจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองผลประโยชน์นายทุนก่อน และทั้งๆ ที่มีปีกแรงงาน แต่นั้นเป็นแค่ไม้ประดับ เพราะไม่มีข้อเสนอให้เพิ่มอำนาจต่อรองให้สหภาพแรงงานและร่างกฏหมายแรงงานใหม่ ซึ่งตรงนี้ต่างกับนโยบายพรรคสามัญชน นอกจากนี้พรรคอนาคตใหม่มีข้อเสนอสำหรับบำนาญคนชราที่ตั้งไว้แค่ 1800 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าพรรคอื่นหลายพรรค

พรรคสามัญชนมีข้อเสนอให้รวมสามระบบประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน ซึ่งต่างกับพรรคอื่นและเป็นก้าวสำคัญในการสร้างรัฐสวัสดดิการ แต่ไม่มีข้อเสนอที่ชัดเจนเรื่องการเก็บภาษีในอัตราสูงจากคนรวย บำนาญถ้วนหน้าสำหรับคนชราพรรคตั้งไว้ในระดับ 3000 บาทต่อเดือน ซึ่งทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับ และถือว่าเป็นข้อเสนอก้าวหน้า โดยทั่วไปพรรคนี้มีอิทธิพลของเอ็นจีโอสูง ไม่ใช่พรรคของแรงงานหรือพรรคสังคมนิยม และนโยบายหลักๆ เน้นแต่สิ่งแวดล้อมกับปัญหาชนบท และยังมีอิทธิพลของแนวเศรษฐกิจชุมชนสูง ซึ่งสะท้อนวิธีการทำงานประเด็นปัญหาเดียวของเอ็นจีโอ อย่างไรก็ตามข้อเสนอของพรรคให้หนุนพลังสหภาพแรงงานและเขียนกฏหมายแรงงานใหม่เป็นข้อเสนอที่ก้าวหน้า และนโยบายยกเลิกการใช้พาราคอตเพื่อคืนอาหารปลอดภัยให้ประชาชนเป็นนโยบายก้าวหน้าเช่นกัน

เราอาจพูดได้ว่าพรรคสามัญชนเป็นพรรคซ้ายอ่อนๆ ซึ่งดีกว่าพรรคอื่นๆ มีจุดยืนเคียงข้างคนจนที่ชัดเจน แต่เป็นพรรคเล็ก แกนนำตั้งความหวังว่าอย่างมากอาจได้สส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคนเท่านั้น

ในเรื่องปัญหากฏหมายแรงงานฉบับปัจจุบันดูบทความนี้ https://prachatai.com/journal/2019/02/81152

พรรคเพื่อชาติไม่ค่อยมีนโยบายชัดเจน มีการพูดถึงการลดความเหลื่อมล้ำแต่รายละเอียดน้อยเกินไป มีการพูดถึง “อนาคตดิจิตอล” เหมือนเป็นคำขวัญสวย แต่ขาดรูปธรรมพอสมควร มีการเสนอบำนาญสำหรับคนชราในระดับ 2000 บาทต่อเดือน และมีนโยบายสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนักเรียนแพทย์ตำบลละ 1 คน เพื่อให้กลับมาช่วยบ้านเกิด ซึ่งเป็นเรื่องดี

พรรคประชาชาติมีจุดเด่นตรงที่เน้นการสร้างสังคมแห่งพหุวัฒนธรรม และบำนาญสำหรับคนชราในระดับ 3000 บาทต่อเดือน แต่ทั้งๆ ที่มีฐานเสียงในภาคใต้ ไม่ค่อยมีนโยบายที่ชัดเจนและก้าวหน้าเรื่องการใช้การเมืองแทนการทหารในการคืนเสรีภาพให้ชาวปาตานี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับรายละเอียดของนโยบายเท่าไร ประเด็นหลักคือการต้านทหาร เพราะเรารู้กันว่ากติกาการเลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย

โกงเลือกตั้ง

ดังนั้นเราต้องร่วมกันลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองที่ต้านทหารโดยข้ามพ้นอคติส่วนตัวบางอย่าง เราไม่ควรไปเลือกพรรคอื่นที่อวยทหารโดยเด็ดขาด เพราะพรรคอื่นเช่นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรครวมพลังประชาชาติไทยเป็นตัวแทนของคนที่ทำลายประชาธิปไตย

หลังจากที่มีการนับคะแนน ถ้าคะแนนเสียงของประชาชนส่วนใหญ่เทให้พรรคต้านทหาร เราต้องเรียกร้องให้ประยุทธ์และแก๊งทหารถอนตัวออกจากการเมืองไทยสักที

 

เงื่อนไขสำคัญในการออกมาประท้วงการโกงการเลือกตั้ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยควรเตรียมตัวรับมือกับการโกงการเลือกตั้งโดยเผด็จการทหารของประยุทธ์ ขั้นตอนแรกคือการคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง ว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะมียุทธศาสตร์อะไรที่เหมาะสม เพราะเราไม่สามารถงอมืองอเท้าน้อมรับการโกงการเลือกตั้งโดยทหาร

แน่นอนพวกเราทราบดีว่า #เผด็จการทหาร มีแผนสืบทอดอำนาจไปอีก 20ปี ด้วยการแต่งตั้งสว. แต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งกกต. และการใช้แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ20ปีเพื่อมัดมือรัฐบาลที่มาจากการเลอกตั้ง ประเด็นนี้เราทราบมานานแล้ว แต่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่จะทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจจนพร้อมที่จะออกมาเคลื่อนไหว

ประเด็นสำคัญคือการโกงการเลือกตั้งหลังจากที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเรียบร้อยไปแล้ว

ในประการแรกหลังวันเลือกตั้งเราจะต้องนับคะแนนเสียงทั้งหมดที่ประชาชนแต่ละคนทั่วประเทศลงให้พรรคเพื่อไทย อนาคตใหม่ สามัญชน เพื่อชาติ และประชาชาติ ซึ่งเป็นพรรคหลักที่มีนโยบายต้านทหารที่ชัดเจน

หลังจากนั้นเราจะต้องนำคะแนนเสียงทั้งหมดที่ประชาชนลงให้พรรคต้านทหาร มาเปรียบเทียบกับคะแนนเสียงที่ประชาชนลงให้พรรคทหารและพรรคของสุเทพ

การนับคะแนนเสียงไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับการนับจำนวนสส.

เราควรจะมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เหมือนการลงประชามติว่าประชาชนต้องการประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่

ในขั้นตอนนี้จำนวน สส. ไม่สำคัญ เพราะเราทราบว่ามีการใช้สูตรแปลกๆ และการแต่งตั้ง สว. เพื่อให้ประยุทธ์กับพรรคพวกได้เปรียบ

ถ้าจำนวนคะแนนเสียงทั่วประเทศที่ต้านประยุทธ์มากกว่าคะแนนเสียงที่สนับสนุนประยุทธ์ เราต้องชัดเจนว่าประยุทธ์ไม่มีความชอบธรรมแต่อย่างใดที่จะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าที่นั่งในสภาจะเป็นอย่างไร

ถ้าประยุทธ์หน้าด้านผลักตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์แบบนั้น การออกมาประท้วงต้านประยุทธ์จะมีความชอบธรรมสูง และถ้าพรรคการเมืองหรือนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยสนับสนุนการประท้วงก็จะยิ่งดี แต่นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องรอนักการเมือง เพราะบ่อยครั้งนักการเมืองลังเลใจไม่กล้านำ

571d8aa2c038bd71e98317cb1cad16cdb98096fad3d964da3c320acffed5b9f0

ถ้ามีการประท้วงเราต้องชัดเจนว่ามันไม่ใช่การประท้วงแสดงความไม่พอใจกับผลการเลือกตั้ง แต่เป็นการประท้วงเพราะเผด็จการทหารและพรรคทหารไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน

อีกกรณีที่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการออกมาประท้วงคือกรณีที่พรรคอนาคตใหม่หรือพรรคสามัญชนหรือพรรคเพื่อไทยถูกยุบ หรือกรณีที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือแกนนำพรรคต้านทหารคนอื่น ถูกลงโทษหรือจำคุก เพราะมันจะเป็นมาตรการที่ขัดกับการเลือกตั้งเสรีในระบบประชาธิปไตย เรายอมไม่ได้

ใครคิดที่จะเล่นพรรคเล่นพวกเพราะชอบหรือไม่ชอบ ธนาธร หรือพรรคอนาคตใหม่ หรือใครก็ตามจากฝ่ายประชาธิปไตยที่โดนลงโทษทางการเมือง จะเป็นคนปัญญาอ่อนทางการเมืองโดยสิ้นเชิง เราต้องข้ามพ้นอคติแบบนั้น

การประท้วงการโกงการเลือกตั้งอย่างที่พูดถึงนี้ มีความสำคัญในการเดินหน้าลดผลพวงของเผด็จการ ซึ่งเป็นงานที่คงใช้เวลา เราจึงยอมจำนนตั้งแต่ก้าวแรกไม่ได้ การประท้วงในสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่การกระทำที่ “เข้าทางเผด็จการ” หรือสร้างเงื่อนไขให้เผด็จการอยู่ต่อยาว ตรงกันข้ามการนิ่งเฉยเป็นสูตรที่ทำให้เผด็จการอยู่ต่ออย่างสบาย และที่สำคัญคือวิธีการกับรูปแบบการประท้วงต้องถูกกำหนดจากนักเคลื่อนไหวในไทย ควรเรียนบทเรียนจากอดีต และควรพิจารณาการนัดหยุดงานอีกด้วย ควรเน้นมวลชนไม่ใช่ทำในรูปแบบกลุ่มเล็กๆในเชิงสัญญลักษณ์

นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทุกคน คงหวังว่าพรรคต้านทหารจะได้เสียงในรัฐสภาพอที่จะตั้งรัฐบาลพลเรือนได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นแต่มีการกีดกันไม่ให้ตั้งรัฐบาล นั้นก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะออกมาประท้วงด้วยความชอบธรรม

ประชาธิปไตยไม่เคยสร้างได้จากการเคารพกฏหมายเผด็จการหรือการอาศัยสส.ในรัฐสภาอย่างเดียว

ถ้าเราไม่คุยและเตรียมตัวล่วงหน้าเรื่องนี้ พลเมืองไทยจะเป็นแค่เหยื่อของเผด็จการที่ไร้พลัง ขออย่าให้เป็นเช่นนั้นเถิด

จุดอ่อนพรรคสามัญชนคือแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเอ็นจีโอ – การแก้ปัญหาโลกร้อนจะไม่ทำให้คนตกงาน

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อไม่นานมานี้ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ แกนนำพรรคสามัญชน เขียนบทความที่เสนอว่าการพัฒนาที่พยายามปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อต้านปัญหาโลกร้อน จะทำให้แรงงานจำนวนมากว่างงานหรือมีรายได้น้อยลง [ดู https://bit.ly/2BUMtUj ] แต่ข้อเสนอนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จะขออธิบายรายละเอียดต่อข้างล่าง

นอกจากนี้มีการเขียนว่าขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองในฝรั่งเศส ออกมาต้าน “นโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน” ของรัฐบาลฝรั่งเศส แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลฝ่ายขวาของฝรั่งเศสพยายามขึ้นภาษีน้ำมัน เพื่อรีดไถเงินจากคนธรรมดาในขณะที่ไม่มีมาตรการการแก้ปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง และรัฐบาลยังลดภาษีให้คนรวยและบริษัทใหญ่อีกด้วย [ดูบทความของผมเกี่ยวกับเสื้อกั๊กเหลือง https://bit.ly/2XyuNab]

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ยังเสนอต่อไปว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและตัวเลข GDP หรือ “ผลิตผลมวลรวม” เพราะการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายมักหนุนเสริม GDP และพร้อมกันนั้นเขาวิจารณ์สหภาพแรงงานไทยที่ไม่ค่อยแสดงความเห็นในเรื่องแบบนี้อีกด้วย นี่คือแนวเอ็นจีโอชัดๆ และมาจากกลุ่มคนที่ไม่ลงไปปลุกระดมให้การศึกษาทางการเมืองกับขบวนการแรงงานอีกด้วย

Small-Is-Beautiful-Cover
จิ๋วแต่แจ๋ว

ความเห็นของ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ สะท้อนแนวคิดของพรรคสามัญชนที่ยังจมอยู่ในแนวคิด “เศรษฐกิจชุมชน” และ “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ตามวิธีคิดเอ็นจีโอ มันเป็นแนวคิดที่มีมุมมองคับแคบ ไม่ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายซ้ายหรือมาร์คซิสต์ที่วิจารณ์ทุนนิยมจากจุดยืนกรรมาชีพคนทำงาน และไม่สนใจพลเมืองส่วนใหญ่ที่ทำงานในเมืองอีกด้วย แนวคิดพรรคสามัญชนสอดคล้องกับแนวเศรษฐศาสตร์จิ๋วแต่แจ๋ว ที่เป็นแนวกรีนฝ่ายขวาที่เกลียดคนธรรมดาเพราะมองว่ามนุษย์ทุกคนทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะอยู่ชนชั้นใด

GreenJobs2

ในเรื่องมาตรการที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน โดยการลดการเผาเชื้อเพลิงคอร์บอนนั้น แทนที่มันจะทำลายงานและทำให้กรรมาชีพมีรายได้น้อยลง มันสามารถที่จะสร้างงานคุณภาพให้ประชาชนเป็นล้านๆ ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารสังคมยึดถื่อผลประโยชน์ของกรรมาชีพและคนจนหรือไม่ ประเด็นใหญ่คืออำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจจะอยู่ในมือชนชั้นใด ถ้าอยู่ในมือของนายทุนใหญ่และคนอย่าง ดอนัลด์ ทรัมป์ โลกเราคงฉิบหายแน่

GettyImages-613835366-1280x720
ทรัมป์ไม่เชื่อเรื่องปัญหาโลกร้อน

มาตรการสำคัญในการแก้ปัญหาโลกร้อนมีหลายอย่าง เช่น การสร้างวิธีผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดและลม โดยผลิตอุปกรณ์เองภายในประเทศ การสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ไฟฟ้าจากลมและแสงแดด แทนการใช้เครื่องบินระหว่างเมืองต่างๆ การสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่ใช้ไฟฟ้าและไม่เก็บค่าบริการจากประชาชน การสร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลชั้นดีเพื่อบริการประชาชนในทุกชุมชน เพื่อลดระยะทางที่ต้องผู้คนต้องเดินทาง การสร้างตึกที่ไม่อมความร้อนมากเกินไปโดยมีโครงสร้างที่กันแสงแดดและเปิดให้อากาศถ่ายเท เพื่อประหยัดพลังงานที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ และการพัฒนาบ้านเรือนและตึกสถานที่ทำงานที่มีอยู่แล้วให้มีสภาพแบบนี้อีกด้วย ฯลฯ

climatejobscover

โครงการแบบนี้ล้วนแต่จะสร้างงานที่มีคุณภาพและความหมายให้กับประชาชนจำนวนมาก และมีการเสนอนโยบายอย่างละเอียดและเป็นรูปธรรมโดยสหภาพแรงงานในอังกฤษและที่อื่น [ดู https://bit.ly/2DMkGrq ] ซึ่งดูเหมือนคนของพรรคสามัญชนไม่ติดตามข่าวหรือข้อมูลสากลจากสื่อก้าวหน้าเลย อันนี้ก็เป็นนิสัยของนักกิจกรรมเอ็นจีโอมานาน

52461564_327215004590008_7594824578283601920_n

ในเรื่องความสำคัญของ GDP หรือ “ผลิตผลมวลรวม” มันสำคัญเพราะมันเป็นเครื่องชี้วัดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจหดตัวคนธรรมดาจะตกงานและเดือดร้อน แต่แน่นอนเราไม่สามารถดูแค่เรื่อง GDP อย่างเดียวโดยไม่ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้หรือความเหลื่อมล้ำ เรื่องนี้ก็กลับมาสู่เรื่องอำนาจในการควบคุมระบบทุนนิยมอีก เพราะถ้าปล่อยให้เศรษฐกิจอยู่ในมือนายทุนมันต้องมีความเหลื่อมล้ำเป็นธรรมดา ดังนั้นเราต้องเพิ่มพลังของกรรมาชีพคนทำงานเพื่อต่อรองกับนายทุน และในที่สุดยึดอำนาจการควบคุมเศรษฐกิจมาอยู่ในมือประชาชนธรรมดา เราต้องเดินหน้าสร้างระบบสังคมนิยมแทนทุนนิยม แต่พรรคสามัญชนไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้เลย

jobsjusticeclimate

แทนที่จะพูดถึงเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจจิ๋วแต่แจ๋ว หรือเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งล้วนแต่มีจุดร่วม เราต้องเข้าใจว่าประชาชนไทยจำนวนมากมีความยากจนและมีความไม่เพียงพอ ประเด็นคือเราจะใช้อำนาจอะไรเพื่อกำกับการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ลดความเหลื่อมล้ำและปกป้องสิ่งแวดล้อม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การวิจารณ์พรรคสามัญชนในบทความนี้ ไม่ควรถูกตีความว่าเราควรสนับสนุนพรรคทหารหรือพรรคที่อวยทหารแต่อย่างใด ผู้เขียนเสนอว่าในวันเลือกตั้งประชาชนที่รักประชาธิปไตยควรเลือกพรรคในเครือข่ายพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคสามัญชน