นักเคลื่อนไหวไทยควรร่วมต้านปัญหาโลกร้อน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในวันที่ 20 กันยายนปีนี้ นักสหภาพแรงงานในประเทศต่างๆ จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต้านปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ

greta_finland_twitter

การประท้วงระดับโลกครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาและคนหนุ่มสาวในรอบปีที่ผ่านมา คนที่มีชื่อเสียงในการจุดประกายเรื่องนี้คือสาวสวีเดนชื่อ เกรตา ธันเบิร์ก​ (Greta Thunberg) นักศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศต่างๆ ได้เดินออกจากห้องเรียนในวันศุกร์ทุกเดือนเพื่อกดดันให้รัฐบาลต่างๆ ให้ความสำคัญกับวิกฤตโลกร้อนที่กำลังก่อตัวขึ้น ต่อมาก็เกิดการประท้วงใหญ่ที่ใช้วิธีสันติ เช่นการปิดถนน ขององค์กร Extinction Rebellion ในหลายประเทศ

exr2

เกรตาและพรรคพวกได้ประกาศเรียกร้องให้คนทำงานและผู้ใหญ่อื่นๆ “นัดหยุดงานทั่วไป” ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน เพื่อเป็นพลังสำคัญในการกดดันรัฐบาลและกลุ่มทุน ดังนั้นนักเคลื่อนไหว นักสหภาพแรงงาน และคนอื่นๆ กำลังเตรียมตัวประท้วงในวันนั้น สหภาพแรงงานบางกลุ่มในเยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ กำลังวางแผนเพื่อเดินออกจากสถานที่ทำงาน บางคนจะนัดหยุดงาน บางคนจะลาพักร้อน และบางคนอาจออกมาตอนพักเที่ยง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในที่ทำงานต่างๆ และการออกมาประท้วงในวันที่ 20 กันยายน คงจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการต่อสู้ที่จะใช้เวลา

D8Kz5kCXYAEjyZz

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น เพราะต้นสาเหตุของปัญหามาจากการกอบโกยกำไรโดยกลุ่มทุน และการที่รัฐบาลต่างๆ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเหล่านี้ ตัวอย่างที่ดีคือรัฐบาลของ ดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ ที่ปฏิเสธข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องเชื้อเพลิงคาร์บอนกับปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ผลร้ายของโลกร้อนในด้านภูมิอากาศ เช่นพายุ น้ำท่วม อุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือฝนแล้ง ล้วนแต่มีผลกระทบกับคนจนมากกว่าคนรวย

FlatMapStillFinal_nasa-e1549853874827

การแก้ปัญหาโลกร้อนคงจะมีผลกระทบกับกำไรกลุ่มทุนแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ถ่านหิน หรือการประกอบรถยนต์ แต่มันสามารถสร้างงานให้คนทำงานได้ เช่นในเรื่องการผลิตวิธีปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแสงแดด การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มการขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัวหรือเครื่องบิน หรือผ่านการปรับบ้านเรือนและตึกทำงานให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเป็นต้น

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ มีพลังทางเศรษฐกิจที่สามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ผ่านการนัดหยุดงาน นี่คือความสำคัญของการที่เกรตาและพรรคพวกประกาศเรียกร้องให้มีการ “นัดหยุดงานทั่วไป” ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วย ที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 385 ppm ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่ม 0.2 องศาทุกสิบปี

ผลคือน้ำแข็งในขั้วโลกเริ่มละลาย เกิดภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก ไฟไม้ป่าเพิ่มขึ้น ผลผลิตทางเกษตรลดลง และมีการสูญพันธ์ของสัตว์จำนวนมาก รวมถึงแมลงที่มีความสำคัญสำหรับการผสมเกสรดอกไม้ เพื่อให้มีการออกผล

3.1.1-Temperature-rise_1280x720

ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก เช่นจากองค์กรสากล IPCC ของสหประชาชาติ แนะนำว่าต้องมีการลดอัตราการผลิตก๊าซ CO2 อย่างเร่งด่วน ในปลายปี ๒๕๖๑ IPCC เสนอว่าเรามีเวลาแค่ 12 ปี ที่จะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิดวิกฤตร้ายแรงที่สุด และ IPCC เตือนว่าต้องมีการเปลี่ยน “ระบบเศรษฐกิจ” อย่างถอนรากถอนโคน

ก๊าซ CO2 นี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ และแหล่งผลิต CO2 หลักๆ คือโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน/น้ำมัน/ก๊าซ และระบบขนส่งที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัวและเครื่องบิน

tnews_1558141107_1624

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

พวกเสรีนิยมกลไกตลาดมีหลายข้อเสนอที่เขาอ้างว่าจะแก้ปัญหาได้ แต่ในโลกจริงจะไม่มีผลเลย เช่นการซื้อขาย “สิทธิที่จะผลิตCO2” ซึ่งเป็นแค่การให้สิทธิกับบริษัทใหญ่ในการผลิตต่อไปแบบเดิม เพราะเขาจะสามารถซื้อ “สิทธิ์ที่จะผลิต CO2”จากประเทศหรือบริษัทที่ยังไม่พัฒนา หรือข้อเสนอว่าต้องใช้ “กลไกราคา” ในการชักชวนให้ทุกฝ่ายลด CO2 แต่กลไกราคาที่เขาเสนอ จะไม่มีวันมีผล เพราะต้องแข่งกับผลประโยชน์กำไรของบริษัทน้ำมัน ซึ่งทำไม่ได้ และการขึ้นราคาน้ำมันหรือเชื้อเพลิงคาร์บอนอื่นๆ ก็แค่ทำให้คนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ มีปัญหาเดือดร้อน

youth-climate-strike-may-24-2019-007-May-25-2019-011
ประท้วงโลกร้อนที่ฟิลิปปินส์ ถ้าเขาทำได้ เราก็ทำได้ในไทย

นักสังคมนิยมเข้าใจว่าต้นตอปัญหาไม่ได้อยู่ที่อุตสาหกรรมหรือความโลภของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ยังยากจน ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศพัฒนาหรือในประเทศยากจน ปัญหาไม่ได้มาจากการที่เราไม่มีเทคโนโลจีที่จะผลิตพลังงานโดยไม่ทำลายโลก เทคโนโลจีเหล่านี้เรามีอยู่แล้ว เช่นการปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแรงคลื่นในทะเล และการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด ปัญหามาจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดที่ตาบอดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และตาบอดถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ส่วนใหญ่ เพราะมุ่งแต่แข่งขันกันเพื่อเพิ่มกำไรอย่างเดียว

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องรณรงค์ ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและพรรคการเมืองก้าวหน้าให้มีการเลิกผลิต CO2 และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนทุกชนิด ต้องมีการใช้พลังงานทางเลือก และส่งเสริมการขนส่งมวลชนอย่างเช่นรถไฟไฟฟ้า และต้องมีการประหยัดพลังงาน แต่อย่าไปหวังว่าตามลำพังผู้นำโลกจะทำในสิ่งเหล่านี้เลย และในไทยการที่เรายังมีเผด็จการทหารที่อาศัยกลไกรัฐสภา ก็เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาโลกร้อนเช่นกัน

นี่คือสาเหตุที่นักเคลื่อนไหวในไทยจะต้องสร้างขบวนการต้านโลกร้อน และร่วมประท้วงในวันที่ 20 กันยายน

 

อ่านเพิ่ม สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

 

 

จุดเด่นจุดด้อยของทฤษฎี “การผลิตซ้ำทางสังคม” ในการทำความเข้าใจกับการกดขี่ทางเพศ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ตั้งแต่ทศวรรษที่  80 การศึกษาในมหาวิทยาลัยเรื่องการกดขี่ทางเพศ หรือปัญหาสิทธิสตรี ถูกครอบงำโดยพวก “เฟมินิสต์” ฝ่ายขวาที่เน้นแนวคิด “ชายเป็นใหญ่” (Patriarchy) โดยตัดแนวคิดเรื่องชนชั้นออกไปและหันหลังให้กับทฤษฎีมาร์คซิสต์ที่เต็มไปด้วยงานเขียนเรื่องการกดขี่ทางเพศ สาเหตุหลักที่พวกแนวคิดชายเป็นใหญ่ครอบงำการศึกษาได้ ก็เพราะการต่อสู้ทางชนชั้นของขบวนการแรงงานอ่อนตัวลงชั่วคราวในตะวันตกหลังการลุกฮือ 1968

พวกเฟมินิสต์ฝ่ายขวามีอิทธิพลสูงในสหรัฐ และแนวคิดแบบนี้ก็ลามเข้ามาในแวดวงสตรีศึกษาของไทย มุมมอง “ชายเป็นใหญ่” เสนอว่าผู้หญิงควรจะสามัคคีข้ามชนชั้นเพื่อสู้กับแนวคิดของผู้ชาย มันนำไปสู่การเสนอว่าการมีชนชั้นนำเพศสตรี หัวหน้างานเพศสตรี หรือนักการเมืองเพศสตรี เป็นเรื่องดีสำหรับผู้หญิงทุกชนชั้นไม่ว่าสตรีที่เข้ามามีบทบาทนำจะมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร แต่ในความเป็นจริงกรรมาชีพหญิง พนักงานหญิง และผู้หญิงยากจน ไม่เคยได้ประโยชน์จากการที่สตรีบางคนขึ้นมามีอำนาจ เพราะผลประโยชน์ทางชนชั้นของสตรีที่เป็นชนชั้นนำจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับสตรีธรรมดา

ในประเทศไทยการที่ยิ่งลักษณ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ทำให้สตรีไทยมีสิทธิ์ทำแท้งเสรี และไม่ได้ปลดแอกกรรมาชีพหญิงจากการถูกกดขี่ขูดรีดแต่อย่างใด การที่หัวหน้าองค์กร “ไอเอ็มเอฟ” เคยเป็นสตรีฝ่ายขวาที่คลั่งกลไกตลาด ไม่ได้ทำให้องค์กรนี้เลิกตัดสวัสดิการและทำลายฐานะทางเศรษฐกิจของสตรีล้านๆ คนทั่วโลกผ่านนโยบายรัดเข็มขัด

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพวกเฟมินิสต์แนว “ชายเป็นใหญ่” ได้พัฒนาทฤษฎีโดยนำแนวคิดเข้ามาใหม่สองแนวคิดคือ “ทฤษฎีเอกสิทธิ์” (Privilege Theory) กับ “ทฤษฎีลัคนาภาวะ” หรือ “ทฤษฎีสภาวะทับซ้อน” (Intersectionality) ทั้งสองทฤษฎีนี้ลดความสำคัญของเรื่องชนชั้น

“ทฤษฎีเอกสิทธิ์” เสนอว่าชายผิวขาวทุกคน ไม่ว่าจะจนหรือรวย ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรหรือนายทุน มีเอกสิทธิ์พิเศษเหนือคนอื่นที่มีสีผิวต่างออกไป หรือคนอื่นที่ไม่ใช่เพศชาย หรือเป็นคนพิการ ฯลฯ

ส่วน  “ทฤษฎีลัคนาภาวะ” หรือ “ทฤษฎีสภาวะทับซ้อน” เสนอว่าทุกคนที่ถูกกดขี่ (คนที่ไม่ใช่ชายผิวขาว) จะถูกกดขี่ในหลากหลายรูปแบบเนื่องจาก เพศ สีผิว ชนชั้น สภาพร่างกาย ฯลฯ

จุดร่วมของสองแนวคิดนี้คือการเสนอว่ากรรมาชีพ หรือสตรี หรือคนที่ถูกกดขี่ทั้งหลาย ไม่สามารถรวมตัวกันต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพได้ เพราะทุกคนที่สภาวะที่แตกต่างกัน อีกจุดร่วมหนึ่งคือการปฏิเสธว่าการกดขี่ทั้งหลายในโลกปัจจุบันมาจากระบบทุนนิยม โดยมีการเสนอว่าการกดขี่มาจากนิสัยใจคอของชายเป็นหลัก นอกจากนี้การลดความสำคัญของชนชั้นเป็นการปฏิเสธพลังหลักในที่จะเปลี่ยนสังคม คือพลังของขบวนการแรงงาน

ในปี 1983 นักมาร์คซิสต์สหรัฐชื่อ Lise Vogel ได้เขียนหนังสือชื่อ Marxism and the Oppression of Women เพื่อดึงนักสิทธิสตรีกลับมาสู่แนวมาร์คซิสต์

Women's Lib

ในอดีตมาร์คซิสต์อย่าง เองเกิลส์ ได้เสนอว่าการกดขี่ทางเพศไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ และไม่ใช่ธรรมชาติของชาย แต่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เมื่อเกิดสังคมชนชั้น และมาร์คซิสต์อย่าง Chris Harman, Brenner และคนอื่นๆ ได้อธิบายว่าระบบทุนนิยมสร้างค่านิยมทางสังคมที่เสนอว่าผู้หญิงควรจะทำหน้าที่หลักในการเลี้ยงลูก เพื่อลดค่าใช้จ่ายสำหรับนายทุนในการผลิตคนงานรุ่นใหม่ ค่านิยมนี้นำไปสู่ “ลัทธิ” หรือแนวคิดที่มองว่าสตรีเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการกดขี่ทางเพศ [ดู มาร์คซิสต์กับการกดขี่ทางเพศ https://bit.ly/2QQr5VX ]

woman

แนวคิดกดขี่ทางเพศนี้มีความสำคัญมากขึ้นในยุคที่ระบบทุนนิยมต้องการให้ผู้หญิงไปทำงานนอกบ้าน เพื่อผลิตส่วนเกินให้นายทุน เพราะทำให้สตรีถูกกดดันให้ทำสองหน้าที่ คือทำงานนอกบ้านและทำงานในครัวเรือนพร้อมกัน

640x390_638923_1426200224

ดังนั้นลัทธิกดขี่ทางเพศในระบบทุนนิยม เป็นเครื่องมือในการที่นายทุนบังคับให้ผู้หญิงในครอบครัวทำหน้าที่ “ผลิตซ้ำทางสังคม” หรือผลิตคนงานรุ่นใหม่นั้นเอง มันเป็นการผลักภาระสู่ครอบครัวปัจเจก แทนที่จะเป็นภาระของทุกคนในสังคมร่วมกัน

หนังสือของ Lise Vogel มีประโยชน์ในการกู้คำอธิบายมาร์คซิสต์กลับมา และการเน้นว่าการกดขี่ทางเพศในสังคมปัจจุบันมาจากระบบทุนนิยม แต่ข้อเสียคือ Vogel หันหลังให้ เองเกิลส์ โดยการเสนอว่าสภาพทางชีววิทยาของเพศหญิง ทำให้ผู้หญิงต้องถอนตัวออกจากระบบการผลิตในสังคมและต้องพึ่งผู้ชายตั้งแต่กำเนิดของมนุษย์ ซึ่งไม่ตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงในฐานะของผู้หญิงในโลกปัจจุบันอีกด้วย ข้อเสนออันนี้ของ Vogel นำไปสู่การเสนอว่าสตรีทุกชนชั้นต้องสามัคคีกัน แทนที่จะสามัคคีกรรมาชีพชายกับหญิง มีการลดความสำคัญของชนชั้นนั้นเอง

ในยุคนี้มีการพูดถึงทฤษฎี “การผลิตซ้ำทางสังคม” ในลักษณะที่ ผสมเรื่อง “การกดขี่” เข้ากับ “การขูดรีด” จนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน คือมีการเสนอว่างานของผู้หญิงในครัวเรือนเป็นการ “ขูดรีดส่วนเกิน” ชนิดหนึ่งไม่ต่างจากการขูดรีดในระบบการผลิตของสังคมทุนนิยม เพียงแต่ว่ามันเกิดขึ้นในครอบครัวปัจเจก

แต่การผสมเรื่อง “การกดขี่” กับ “การขูดรีด” เป็นการทำให้ลัทธิกดขี่ทางเพศกลายเป็นสิ่งเดียวกันกับการผลิตส่วนเกินในเศรษฐกิจซึ่งไม่ใช่

ความคิดแบบนี้ของเฟมมินิสต์รุ่นใหม่บางคนที่อ้างถึง Vogel ในลักษณะผิดเพี้ยน นำไปสู่การ “นัดหยุดงานของสตรี” ในสเปนเป็นต้น แต่การ “นัดหยุดงานของสตรี” ไม่ได้ท้าทายโครงสร้างอำนาจในสังคมทุนนิยมแต่อย่างใด เพียงแต่ทำให้คู่ของสตรีที่หยุดงานต้องเลี้ยงลูกหรือทำอาหารแทนในวันนั้นเท่านั้น

ทฤษฎี “การผลิตซ้ำทางสังคม” อย่างที่พวกนี้เสนอ มีผลทำให้ลดความสำคัญของชนชั้น และลดความสำคัญของขบวนการแรงงานหรือชนชั้นกรรมาชีพ โดยเน้นแค่การประท้วงบนท้องถนนเท่านั้น แต่บทเรียนจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซูดาน หรือฮ่องกง ชี้ให้เห็นว่าเมื่อขบวนการแรงงานเข้ามามีบทบาทสำคัญในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วง การประท้วงจะมีพลังมากขึ้น เพราะกรรมาชีพมีพลังทางเศรษฐกิจที่จะล้มระบบทุนนิยมได้

13124929_1181060888592867_9078848768920258106_n

อ่านเพิ่มเรื่องทฤษฎี “การผลิตซ้ำทางสังคม”  https://bit.ly/31j6lKY

สถาบันกษัตริย์ไทยปฏิรูปไม่ได้ และไม่ควรพยายามปฏิรูป ไทยควรเป็นสาธารณรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในยุคนี้มีนักประชาธิปไตยบางคนเสนอว่าเราควร “ปฏิรูป” สถาบันกษัตริย์ [ดู https://bit.ly/2yyxH3x ] แต่สถาบันกษัตริย์ปัจจุบันภายใต้นายวชิราลงกรณ์แย่เกินไปที่จะปฏิรูปแล้ว

การเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในที่สุดเป็นเพียงข้อเสนอให้คงไว้ระบบที่แช่แข็งความเหลื่อมล้ำ มันไม่เปิดประเด็นให้มีการถกเถียงกันในสังคมเรื่องระบบสาธารณรัฐ

ตั้งแต่นายวชิราลงกรณ์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ สถาบันกษัตริย์และพฤติกรรมของกษัตริย์กลายเป็นละครน้ำเน่าราคาแพงสำหรับประชาชนไทยที่ต้องจ่ายแล้วจ่ายอีก เพื่อให้วชิราลงกรณ์เสพสุขในเยอรมันกับบรรดาเมียต่างๆ ของเขา และประชาชนไทยต้องจ่ายค่าเลี้ยงปรสิตคนนี้ เพื่อให้ทหารและส่วนอื่นของชนชั้นปกครองสร้างความชอบธรรมกับตนเอง ในขณะที่พวกนี้ไร้ความชอบธรรมที่จะปกครองเราโดยสิ้นเชิง เพราะไม่เคยเคารพประชาชน ไม่เคยเคารพประชาธิปไตย และทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อยเสมอ

657981941

ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก วชิราลงกรณ์ เป็นคนปัญญาอ่อนที่เอาแต่ใจตนเอง ไม่สนใจเรียนหนังสือ แต่ตอนนี้บังอาจดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ คนไทยจำนวนมากทราบความจริง และรัฐบาลกับประชาชนต่างประเทศก็ทราบดีด้วย

พฤติกรรมของวชิราลงกรณ์ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เคยเคารพประชาชนไทยเลย แต่วชิราลงกรณ์อยากให้เราจ่ายเงินอุดหนุนวิถีชีวิตอันเลวทรามของเขา ถ้าเขาไม่เคารพเรา เราก็ไม่ต้องเคารพเขา และไม่ต้องเคารพพวกที่จงใจอวยคนเลวคนนี้ด้วย

การขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ของวชิราลงกรณ์ เป็นการตบหน้าสตรีไทย 35 ล้านคน เพราะเขาใช้ผู้หญิงหลายคนด้วยกิริยาเหยียดหยามเพศสตรีมาตลอด

คนแบบนี้จะปฏิรูปหรือปรับตัวให้ดีขึ้นไม่ได้ มันเกินเลยจุดนั้นไปนาน ต้องปลดออกอย่างเดียว

การเลือกที่จะอยู่เยอรมันของ วชิราลงกรณ์ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่แคร์อะไรกับสังคมไทย เพียงแต่อยากเสพสุขจากการมีตำแหน่งกษัตริย์ และมันสะท้อนอีกด้วยว่าในตัวมันเองเขาไม่มีอำนาจ แต่เป็นเครื่องมือราคาแพงของทหาร [อ่านเพิ่มเรื่องความไร้อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj ]

2014-05-26T062442Z_555340716_GM1EA5Q13YF01_RTRMADP_3_THAILAND-POLITICS

พวกนายพลคลั่งเผด็จการที่ชอบทำรัฐประหาร โกงการเลือกตั้ง และใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองไทยที่ต้องการสิทธิเสรีภาพ มักพูดเสมอว่าเขาจะปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างถึงที่สุด พวกนี้อ้างว่าใครที่วิจารณ์กษัตริย์เป็น “ภัยต่อความมั่นคงของชาติ” เพราะกษัตริย์เป็น “สัญลักษณ์ของชาติไทย” แต่ในความเป็นจริง กษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นสัญลักษณ์ของ “ชาติหมา” ที่พวกนายพลเผด็จการสร้างขึ้นมาด้วยการทำลายประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และการเสนอประชาธิปไตยแท้ เพียงแต่เป็นภัยต่อความมั่นคงของแก๊งทหารเท่านั้น

ประเทศทั่วโลกที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เช่นอังกฤษ สเปน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ หรือไทย ยังคงไว้สถาบันจากอดีตอันนี้เพื่อวัตถุประสงค์สมัยใหม่ วัตถุประสงค์หลักคือเรื่องลัทธิความคิดทางการเมืองที่เน้นว่าลำดับชนชั้นในสังคมเป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” ที่เราเปลี่ยนไม่ได้ สถาบันกษัตริย์มีไว้เพื่อกล่อมเกลาให้ประชาชนพึงรู้ว่ามีคนเกิดสูงและเกิดต่ำ คนที่เกิดสูงมีความชอบธรรมในการกอบโกยทรัพย์สินของสังคม และในการมีบทบาทหลักในสังคม ส่วนคนที่เกิดต่ำควรเจียมตัวกับความจนและการที่ถูกกีดกันออกจากการตัดสินใจทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม

วัตถุประสงค์หลักของลัทธิ “สูงต่ำ” อันนี้ไม่ใช่เพื่อเชิดชูกษัตริย์ การเชิดชูกษัตริย์เป็นเพียงวิธีการ แต่วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้ความชอบธรรมกับการกดขี่ขูดรีดของพวกนายทุนหรือทหารเผด็จการ

นี่คือสาเหตุสำคัญที่เราไม่ควรคงไว้สถาบันกษัตริย์

ถ้าเรายกเลิกสถาบันกษัตริย์ และบังคับให้คนอย่างวชิราลงกรณ์ต้องทำงานเลี้ยงชีพตนเองเหมือนคนธรรมดา เราจะสามารถใช้ทรัพยากรมหาศาลจากวังในการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ได้ เราสามารถพัฒนาระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข และสร้างรัฐสวัสดิการได้ ระบบกษัตริย์ทำให้พวกสมาชิกราชวงศ์กลายเป็นคนขี้เกียจหลังยาวแบมือกอบโกย “สวัสดิการ” มหาศาลจากรัฐ โดยไม่ทำงานตลอดชีพ

สำหรับคนไทยภายในประเทศที่อยู่ในสังคมที่มีข้อจำกัดทางการเมือง ก็ควรรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมาย 112 ไปก่อน เพื่อสร้างความโปร่งใสในระบบการเมือง แต่ในที่สุดเราต้องผลักดันความคิดเรื่องสาธารณรัฐแทนที่จะพูดถึงการปฏิรูปกษัตริย์ เราควรจะปักธงประกาศว่าไทยควรเป็นสาธารณรัฐ แต่แน่นอนการประกาศแบบนี้ทำอย่างเปิดเผยไม่ได้ในประเทศไทย แต่ผมมองว่าคนที่อยู่ต่างประเทศในสังคมที่มีเสรีภาพพอสมควร มีหน้าที่ที่จะพูดในสิ่งที่คนภายในประเทศยังพูดไม่ได้

 

ถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปีนี้ครบรอบ 30 ปีหลังการพังลงมาของกำแพงเมืองเบอร์ลิน การสิ้นสุดของสงครามเย็น และการล้มละลายของพรรคคอมมิวนิสต์แนว “สตาลิน-เหมา” ในเกือบทุกประเทศของโลก

ในช่วงนั้นมีนักวิชาการและนักเขียนหลายคนที่มองว่า เราถึง “จุดจบแห่งประวัติศาสตร์” หรือถึง “จุดจบแห่งความขัดแย้ง” หรือถึง “จุดอวสานของรัฐชาติ” เพราะระบบทุนนิยมตลาดเสรีแบบโลกาภิวัตน์ได้สร้างเครือข่ายทุนและไฟแนนส์ไปทั่วโลก และสร้างความผูกขาดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) ผ่านการกดดันและบังคับให้รัฐบาลต่างๆ นำนโยบายกลไกตลาดเสรีมาใช้ ซึ่งนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเอกชน และการลดค่าใช้จ่ายรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนและคนทำงานธรรมดา

220px-Empire_(book)

นักเขียนฝ่ายซ้ายชื่อดัง สายอนาธิปไตย ที่เสนอว่ารัฐชาติกำลังจะหายไป และระบบจักรวรรดินิยมที่มีศูนย์กลางในประเทศใหญ่อย่างสหรัฐไม่มีแล้ว คืออันโตนิโอ เนกรี กับ ไมเคิล ฮาร์ท ซึ่งเขาเขียนไว้ในหนังสือ Empire ว่ายุคการแข่งขันระหว่างจักรวรรดินิยมสิ้นสุดลงหลังสงครามเย็น และเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ปลอดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

แต่พวกเราในกลุ่มและพรรคฝ่ายซ้ายสายมาร์คซิสต์มักจะมองต่างมุม และเสนอว่าจักรวรรดินิยมและความขัดแย้งระหว่างประเทศยังคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะไปเท่านั้น และสงครามกับความขัดแย้งระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่องตามที่เราคาดไว้

พอถึงปี 2008 ได้เกิดวิกฤตใหญ่ของระบบทุนนิยมกลไกตลาดเสรีที่ลามจากสหรัฐสู่ยุโรปและแพร่กระจายไปทั่วโลก วิกฤตนี้เกิดจากการลดลงของอัตรากำไร แต่นโยบายกลไกตลาดเสรีและการเคลื่อนย้ายทุนจากจุดต่างๆ ของโลกอย่างเสรี ยิ้งทำให้ผลกระทบร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ที่เคยเกิดขึ้นในไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ก็มีลักษณะคล้ายวิกฤตใหญ่ที่ตามมาสิบปีหลังจากนั้น

ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้งและวิกฤตปี 2008 ทำให้ความน่าเชื่อถือของนโยบายคลั่งกลไกตลาดเสรีลดลงอย่างมาก ในไทยรัฐบาลไทยรักไทยของทักษิณนำระบบเศรษฐกิจ “คู่ขนาน” มาใช้ผ่านการเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจของรัฐในระดับชุมชน เพื่อยกระดับคนจน ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่เสื้อเหลือง ทหาร และพวกอนุรักษ์นิยมที่คลั่งตลาดเสรี หลายคนในไทยทุกวันนี้ไม่เข้าใจว่าพวกเผด็จการทหารและประชาธิปัตย์เป็นพวกเสรีนิยมคลั่งกลไกตลาด ในขณะที่ทักษิณนิยมผสมการใช้รัฐกับกลไกตลาด

หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2008 การเคลื่อนย้ายทุนและการค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในสหรัฐและยุโรปหลัง 2008 เริ่มมีการตั้งคำถามอย่างจริงจังกับกลไกตลาดเสรีในหมู่นักเศรษฐศาสตร์และนักเคลื่อนไหว แต่รัฐบาลต่างๆ ยังหน้าด้านเดินหน้าต่อไป และโอนภาระในการแก้วิกฤตให้กับประชาชนธรรมดาผ่านนโยบายรัดเข็มขัดของพวกเสรีนิยม

ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นกลายเป็นเสียงสนับสนุนพวกขวาจัดในบางกรณี เช่นชัยชนะของดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ หรือการขึ้นมาของรัฐบาลขวาจัดในอิตาลี่เป็นต้น ในขณะเดียวกันพรรคการเมืองกระแสหลักของพวกเสรีนิยมเริ่มเข้าสู่วิกฤตหนักในหลายประเทศของยุโรป เช่นในเยอรมัน สแกนดิเนเวีย ฝรั่งเศส และสเปน

ในกรณีอื่นการวิจารณ์กลไกตลาดเสรีออกดอกออกผลในทางที่ก้าวหน้า เช่นในข้อเสนอเรื่อง The Green New Deal (“กรีน นิว ดีล”) ที่เสนอให้รัฐฝืนตลาดและเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ที่มาจากนโยบายรัดเข็มขัดและปัญหาที่มาจากสภาพโลกร้อนพร้อมๆ กัน มีการเสนอ “กรีน นิว ดีล” ในสหรัฐและแพร่ไปสู่คานาดาและอังกฤษผ่านนักการเมืองสายซ้ายปฏิรูป

Untitled

สถานการณ์หลังวิกฤต 2008 นำไปสู่ “สงครามทางการค้า” คู่อริใหญ่คือสหรัฐกับจีน เพราะจีนเริ่มท้าทายอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านการใช้นโยบายพัฒนาเทคโนโลจีที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด บริษัท หัวเว่ย (Huawei) เป็นตัวอย่างที่ดี

huawei_0

ในขณะเดียวกันเราทราบดีว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจผูกพันอย่างใกล้ชิดกับการใช้นโยบายทางทหารของรัฐต่างๆ ซึ่งชาวมาร์คซิสต์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “จักรวรรดินิยม” ดังนั้นความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐมีแง่ของความขัดแย้งทางทหารด้วย โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้

761fdce8-2e6d-11e9-80ef-0255f1ad860b_image_hires_092316

สำหรับคำถามว่าตอนนี้เราถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะทุนนิยมโลกยังมีลักษณะโลกาภิวัตน์ แต่ในขณะเดียวกันมี “กลุ่มอำนาจ” หลายกลุ่มในภูมิภาคต่างๆ เช่น อียู จีน สหรัฐ ซึ่งไปกดทับผลประโยชน์ของประเทศที่เล็กกว่าแต่อยากจะโตเท่าทันประเทศเจริญ เช่นอินเดียหรืออาเจนทีนาเป็นต้น

จุดยืนของมาร์คซิสต์คือ เราต้องคัดค้านแนวชาตินิยม หรือแนวที่จะพาเราไปสนับสนุนกลุ่มอำนาจหนึ่งในความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น และเราต้องเน้นความสมานฉันท์ในหมู่กรรมาชีพสากลเพื่อต่อสู้กับรัฐทุนนิยมในประเทศของเรา และระบบทุนนิยมทั่วโลก

[บทความนี้อาศัยเนื้อหาส่วนใหญ่จากการอภิปรายโดย Alex Callinicos หัวข้อ “Is this the end of globalisation?” ดูได้ที่นี่ https://bit.ly/2XMpE1S ]