ไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น (WN-CoV) กับท่าทีของนักสังคมนิยม

ใจ อึ๊งภากรณ์

ไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น (WN-CoV) เป็นไวรัสพันธุ์ใหม่ที่พึ่งเริ่มแพร่หลายระหว่างมนุษย์ เดิมมาจากสัตว์ป่าที่นำมาขายร่วมกับเนื้อสัตว์อื่นๆ ในตลาดสดที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ลักษณะของไวรัสใหม่นี้ การระบาด และความร้ายแรง ยังไม่ชัดเจน แต่เราไม่ควรจะกลัวเกินเหตุ ที่สำคัญคือควรเลือกอ่านสื่อที่ไว้ใจได้และมีคุณภาพ แทนที่จะตกใจกับข่าวปลอมในโซเชียล์มีเดีย

โคโรน่าไวรัสเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัตว์ และจะไม่ลามไปถึงมนุษย์ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่นเมื่อมีการแปรพันธุ์ในสัตว์ป่าแล้วถูกขายแบบผิดกฏหมายในตลาดสด นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าค้างคาวมีส่วนสำคัญในกรณีไวรัสชนิดนี้

nn_mal_coronavirus_spreads_to_US_200121_1920x1080.focal-760x428

ไข้หวัดซาร์ ( SARS – severe acute respiratory syndrome) และ ไข้หวัดเมอร์ส (MERS – Middle East respiratory syndrome ) ซึ่งเคยระบาดจนเป็นข่าว เป็นไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรน่าเช่นกัน

ไข้หวัดซาร์ แพร่สู่มนุษย์ผ่านแมวป่าที่ติดเชื้อจากค้างคาว และไวรัสเมอร์ส ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาวแล้วติดอูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ

นอกจากนี้โคโรน่าไวรัสพันธุ์อื่นในมนุษย์ทำให้เป็นหวัดธรรมดาที่ไม่ร้ายแรง

191217-hand-washing-stock-cs-906a_f4b26951f71188739ce7617acf4cb093.fit-760w

วิธีป้องกันการระบาดของไข้หวัดคือการรักษาความสะอาด ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ควรปิดปากเวลาไอหรือจาม และพยายามไม่เข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย การใส่หน้ากากจะช่วย

200122213126-coronavirus-fears-markets-02-exlarge-169

เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ไม่มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อไวรัส สิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดในการฆ่าไวรัสคือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราตามธรรมชาติ และการกินยาลดไข้ธรรมดา อย่างไรก็ตามถ้าเป็นไข้หวัดแล้วเกิดโรคแทรกเช่นปอดอักเสบ ที่มาจากเชื้อบักเตรี ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ นอกจากนี้ถ้าใครมีอาการหนักในแง่ของการหายใจด้วยความยากลำบาก และคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นคนอายุสูง จะต้องเข้าโรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในการหายใจ

tdy_sat_jmf_coronavirus_200125_1920x1080.focal-760x428

คนที่มีอาการไม่ร้ายแรง ควรหลีกเลี่ยงการไปหาหมอหรือเข้าโรงพยาบาลถ้าเป็นไปได้ เพราะจะทำให้วิกฤตโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในชุมชน และถ้าป่วยไม่ควรใช้ระบบขนส่งมวลชน

ท่าทีของนักสังคมนิยมต่อปัญหาไข้หวัด

  1. เราควรเรียกร้องให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น ข้อมูลต้องมีมาตรฐานวิทยาศาสตร์และเข้าใจง่าย เพื่อให้คนป้องกันตัวได้ นอกจากนี้รัฐบาลควรเปิดศูนย์รับสายโทรศัพท์พิเศษ เพื่อให้ประชาชนปรึกษาเจ้าหน้าที่อนามัยได้Mental-health-helpline
  2. เราไม่ควรมองนักท่องเที่ยวจีนด้วยอคติ หรือการเหยียดเชื้อชาติ
  3. เราควรเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาอธิบายว่าได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับไข้หวัดอย่างไร เช่นรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการในโรงพยาบาลต่างๆ อุปกรณ์สำหรับตรวจพันธุ์ไวรัส อุปกรณ์สำหรับการป้องกันเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล อุปกรณ์สำหรับการรักษาคนไข้และห้องพิเศษตามที่ต่างๆ โครงการการอบรมเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์เพื่อให้ประชาชนป้องกันตนเอง เช่นหน้ากากและสิ่งจำเป็นสำหรับการล้างมือ
  4. ถ้ามีวิกฤตการระบาดของไข้หวัด รัฐบาลควรออกประกาศให้โรงพยาบาลทุกแห่งรับคนป่วยด้วยไข้หวัดในขั้นตอนแรกโดยไม่เลือกปฏิบัติกับคนที่ถื่อบัตรทองหรือไม่มีเงินจ่าย และมาตรการนี้ควรใช้กับโรงพยาบาลเอกชนและรัฐ
  5. มาตรการการปิดเมืองมักไม่มีผล เพราะไม่มีที่ไหนที่ทำได้อย่างจริงจัง และประชาชนในเมืองทุกแห่งต้องได้รับอาหารและของใช้ประจำวัน มันเป็นการใช้มาตรการเผด็จการที่แค่เพิ่มความหวาดกลัว บ่อยครั้งมาตรการแบบนี้กระทำไปเพื่อให้รัฐบาล “ดูดี” เพราะสร้างภาพความเข้มงวด แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ลดความร้ายแรงของโรคแต่อย่างใด การปิดเมืองต่างๆ ในจีนไม่ได้ทำให้โรคหยุดระบาด วิธีที่ดีกว่าคือการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ ความโปร่งใสของรัฐบาล และการให้ข้อมูลกับประชาชน พลเมืองจะได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันลดความร้ายแรงของโรคและการระบาด บางคนที่ติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้ออาจไม่มีไข้ ดังนั้นการวัดไข้ที่ด่านต่างๆ จะมีประสิทธิภาพจำกัด ฉนั้นเราควรรณรงค์ให้มีการสร้างบรรยากาศที่ชักชวนให้คนป่วยไม่ต้องกลัวหรือหลบหนี เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดี
  6. ใครที่มีไข้และอาการของไข้หวัดไม่ควรกังวลว่าจะถูกตัดค่าจ้างถ้าไม่ไปทำงาน รัฐบาลต้องมีการปกป้องคนป่วย เพื่อไม่ให้คนป่วยจำใจไปทำงานแล้วแพร่เชื้อ

ในระยะยาว เราต้องต่อสู้เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการและความเท่าเทียม ซึ่งแน่นอนต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ไม่สามารถปกป้องพลเมืองจากภัยไข้หวัดหรือภัยจากฝุ่นละอองเพราะมีแนวคิดคับแคบอนุรักษ์นิยมแบบทหาร ชอบแต่จะสั่งแต่คิดอะไรใหม่ๆไม่เป็น และไม่ไว้ใจประชาชน

 

ถึงเวลานานแล้วที่นักเคลื่อนไหวแรงงานต้องสร้าง “ขบวนการแรงงาน”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในรอบสองสามเดือนที่ผ่านมามีข่าวการเลิกจ้างแรงงานโดยที่หลายบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย หรือมีการจงใจเลิกจ้างแกนนำสหภาพแรงงานเพื่อหวังล้มสหภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอะไหล่รถยนต์ การตัดเย็บเสื้อผ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ

แต่ในทุกกรณีสหภาพแรงงานและคนงานขาดการต่อสู้ และขาดการหนุนช่วยข้ามรั้วสถานประกอบการจากแรงงานอื่น จนคนงานกลายเป็นเหยื่อที่ต้องไปร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล “เผด็จการรัฐสภา”หรือองค์กรอื่นๆ ของรัฐ หรือจากพรรคการเมืองของฝ่ายทุนอย่างพรรคอนาคตใหม่

สภาพเช่นนี้ในไทยแสดงให้เห็นว่าในประเทศของเราเกือบจะพูดได้ว่าเราไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ขบวนการแรงงาน”

ขบวนการแรงงานที่เข้มแข็งจะเน้นการต่อสู้และความสมานฉันท์ระหว่างสหภาพแรงงานต่างๆ จะพยายามจัดการนัดหยุดงานพร้อมๆ กันหลายที่ และตัวอย่างที่ดีคือการนัดหยุดงานทั่วไปที่พึ่งเกิดขึ้นที่อินเดีย ที่มีกรรมาชีพออกมาหยุดงานกัน 250 ล้านคน

ที่มาของสภาพย่ำแย่นี้ในไทย ไม่ใช่ “ลักษณะพิเศษของสังคมไทย” หรือนิยายเรื่องไทยไม่มีระบบชนชั้น หรือเรื่อง “แนวคิดศักดินาที่ฝังลึกอยู่ในสมองคนธรรมดา”

ในอดีต ในสมัยที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)รุ่งเรือง เรามีสิ่งที่เรียกว่า “ขบวนการแรงงาน” เพราะมีนักเคลื่อนไหวของพรรคตั้งเป้าในการทำงานการเมืองภายในสถานที่ทำงานต่างๆ และมีการสร้างสหภาพแรงงานที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกัน ถ้าใครสนใจเรื่องนี้ก็ควรจะไปอ่านหนังสือ “ใต้ธงปฏิวัติ ประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ

20191220_194854

     ในช่วงก่อนและหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษาที่เคลื่อนไหวเพื่อสังคมก็มีบทบาทในการปลุกระดม และประสานงานร่วมกับขบวนการแรงงาน และหลายคนได้รับอิทธิพลมาจาก พคท. ทั้งโดยตรงและทางอ้อม

ทุกวันนี้มรดกของ พคท. ในขบวนการแรงงานยังหลงเหลืออยู่บ้างในรูปแบบ เครือข่ายสหภาพแรงงาน “กลุ่มย่าน” แต่อยู่ในลักษณะอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก

แง่สำคัญของการจัดตั้งกรรมาชีพในสหภาพแรงงานของ พคท. คือการที่พยายามเชื่อมคนงานในโรงงานและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ข้ามรั้วโรงงานและระหว่างสหภาพแรงงานที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีการต่อสู้ร่วมกัน เช่นการนัดหยุดงานพร้อมกัน และที่สำคัญคือการพยายามสร้างการต่อสู้สมานฉันท์ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่คือความสำคัญของการสร้างองค์กรสหภาพแรงงานกลุ่มย่านต่างๆ โดย พคท.

แต่หลังจากที่ พคท. เริ่มล่มสลาย และนักกิจกรรมต่างๆ หันไปทำงานในองค์กรเอ็นจีโอ นอกจากจะมีการเน้นชาวบ้านในชนบทแล้ว คนที่ยังทำงานในสายแรงงาน กลายพันธุ์ไปเป็นคนที่ทำงานในรูปแบบการกุศล คือเน้นการช่วยเหลือผู้ที่ตกยากหรือผู้ที่เป็นเหยื่อ มากกว่าที่จะปลุกระดมให้มีสหภาพแรงงานที่เน้นการต่อสู้ทางชนชั้น ในที่สุดองค์กรเอ็นจีโอสายแรงงานกลายเป็นองค์กรคล้ายๆ ธุรกิจขนาดเล็ก ที่ขอทุนจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือคนจน มันแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากสมัย พคท. และที่แย่สุดคือไม่มีการเน้นหรือพูดถึงการนัดหยุดงาน ไม่มีการพูดถึงการเมืองหรือเรื่องชนชั้น และไม่เน้นการต่อสู้ของสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเลย

เราจะเห็นได้ว่าความอ่อนแอของขวนการแรงงานไทยในยุคนี้ จนเรียกได้ว่าไม่มีขบวนการ มาจากเรื่องการเมืองล้วนๆ

ขบวนการแรงงาน

     นักต่อสู้สหภาพแรงงานในไทยยังไม่หมดสิ้น ยังมีคนดีๆ ที่ต้องการต่อสู้ไม่น้อย เป้าหมายของคนเหล่านี้ควรจะเป็นการสร้างขบวนการแรงงานที่มีพลัง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีวันเกิดถ้ามัวแต่ไปเน้นการสัมมนาในโรงแรมเรื่อง “สิทธิแรงงาน” ที่จัดขึ้นด้วยงบจากเอ็นจีโอหรือหน่วยงานของรัฐ

การประชุมและการศึกษาที่จะนำไปสู่การสร้างขบวนการแรงงานที่แท้จริง ต้องเป็นการศึกษาทางการเมืองในเรื่องวิธีการปลุกระดมคนในสหภาพแรงงาน เรื่องการนัดหยุดงาน และเรื่องความสำคัญของการเคลื่อนไหวแสดงความสมานฉันท์ข้ามรั้วสถานประกอบการ และการเมืองที่ควรศึกษามากกว่านี้คือการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพในมิติสากล ซึ่งต้องประกอบไปด้วยเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง พรรคการเมืองของกรรมาชีพ และขบวนการฝ่ายซ้ายสากลในอดีตกับปัจจุบัน

ในอดีตเราเคยทำได้ ดังนั้นทุกวันนี้เราก็เริ่มทำได้เช่นกัน

Dxcc29yW0AQEpBn

อ่านเพิ่ม: กรรมาชีพไทยกับการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อสังคมใหม่ หน้าที่ของนักสังคมนิยมในยุคปัจจุบัน  https://bit.ly/2MBfQzc