Fundamentalist

โดย วันลา วันวิไล

๑.
บนโลกกว้างทางไกลไร้ขอบเขต
ข้าเอานามประเทศเป็นเขตกั้น
เอาตำนานแห่งเทวาสถาบัน
เอามายาสามัญเป็นจรรยา
สดุดีกราบไหว้แต่ทวยเทพ
เผื่อจะเสพสุขสวรรค์ชั้นฟ้า
มารตีศรีกฤษณะทุรคา
ท่านคงมีเมตตามาโปรดปราน
บวงสรวงด้วยโลหิตแห่งความทุกข์
ขวัญข้าขอท่านปลุกให้ฉาดฉาน
เครื่องบำเรอเสนอสวัสดิ์นมัสการ
บุญจงดาลให้ประเสริฐอย่าเริดร้าง ฯ

๒.
ไม่เรี่ยมเร้เรไรหรอกนายท่าน
คนบ้านบ้านความติดมันติดอ่าง
พูดไม่ออกบอกไม่เป็นเห็นรางราง
ไม่มีที่ไม่มีทางจะดุ่มเดิน
ชีวิตยืนอยู่มาห้าหกรอบ
คำตอบมันตลกระหกระเหิน
แค่กินอยู่สืบพันธุ์วันวันเพลิน
ไม่กล้าเกินนอกกรอบระบอบใด
อยู่มาได้เพราะชาติศาสน์กษัตริย์
บุญที่วัดไม่เคยเกี่ยงเลี่ยงผลักไส
บุญนักแล้วได้เกิดบนแผ่นดินไทย
ขอชาติหน้าอย่าได้ไกลจากไทยเลย ฯ

ว่าด้วยทุน เล่ม 2 ภาคที่ 3 การผลิตซ้ำและหมุนเวียนของทุนสังคม(บทที่21)

บทที่ 21: การขยายการสะสม และหมุนเวียน

ในโลกแห่งความเป็นจริง การสะสมและการหมุนเวียนของทุน เกิดขึ้นในปริมาณที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่ามูลค่าส่วนเกินทั้งหมดถูกบริโภค

•ซึ่งแปลว่ามูลค่าส่วนเกินส่วนหนึ่งของการผลิตภาค 1 (ปัจจัยการผลิต) และภาค 2 (ปัจจัยการบริโภค) ต้องนำมาลงทุนต่อเพื่อสะสม จึงบริโภคไม่ได้

•สำหรับภาค 1 มูลค่าส่วนเกินในส่วนที่จะนำมาลงทุนต่อ มีรูปร่างเป็นปัจจัยการผลิตอยู่แล้ว นำมาใช้งานได้เลย เพื่อขยายการสะสมหมุนเวียน

•สำหรับภาค 2 มูลค่าส่วนเกินที่จะลงทุนต่อ ต้องนำมาซื้อปัจจัยการผลิตจาก ภาค 1

•ดังนั้นภาค 1 มีหน้าที่ในการขยายปัจจัยการผลิตของทั้งสองภาค

•สำหรับภาค 2 การเพิ่มการบริโภคผลผลิตที่เกิดขึ้นต้องมาจากภาคนี้ทั้งหมด และต้องอาศัยค่าจ้างของภาค 1 และภาค 2 รวมกับการบริโภคส่วนตัวของนายทุน ซึ่งการเพิ่มขึ้นตรงนี้อาจมาจากการเพิ่มจำนวนคนงานหรือค่าจ้างตามการขยายของการผลิต

•นายทุนภาค 2 ต้องออกเงินซื้อปัจจัยการผลิตเพิ่มจากภาค 1 ในขณะที่ “การลงทุนต่อ” ในทั้งสองภาค ต้องกินส่วนแบ่งมูลค่าส่วนเกินจากการบริโภค การเพิ่มปริมาณเงินจากการผลิตอาจช่วย และสำหรับนายทุนปัจเจก เขาอาจพยายามลดค่าจ้างของลูกจ้างเขาผ่านระบบร้านค้าของบริษัทที่บังคับให้ลูกจ้างใช้ซื้อสินค้าในราคาแพง เพื่อเพิ่มเงินในมือนายทุน

•การขยายการหมุนเวียนและสะสม ต้องขยายทั้งระบบ เพราะทั้งเงินและเครื่องจักรต้องมีเพิ่มขึ้นในสังคม (แรงงานด้วย) แต่เงินไม่ใช่ตัวกระตุ้นหลักในการขยาย มันเป็นเพียงน้ำมันหล่อลื้น

•การหมุนเวียนของทุนในสังคมโดยรวม เป็นภาพของการแปรตัวกลับไปกลับมาระหว่างทุนเงิน ทุนสินค้า และทุนการผลิตตลอดเวลา โดยมีทุนในแต่ละรูปแบบดำรงอยู่พร้อมๆ กัน

•การขยายการหมุนเวียนและสะสม อาศัยการออมเงินของนายทุนเพื่อรอวันลงทุนเพิ่ม แต่ระบบธนาคารทำให้เงินออมของนายทุนคนหนึ่ง กลายเป็นทุนเงินเพื่อการผลิตของนายทุนอีกคนได้

•ระบบสินเชื่อ ลดการหมุนเวียนของเงินจริง

•เวลาทุนนิยมพัฒนามากขึ้น ปริมาณมูลค่าส่วนเกินที่จะมาลงทุนเพิ่มย่อมมากขึ้นเรื่อยๆ

แถลงการณ์วันสตรีสากล 8 มีนา 56

ภาพการต่อสู้นัดหยุดงาน ของแรงงานหญิงไทรอัมพ์ ปี 51 ถ่ายโดย วัฒนะ วรรณ

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นครั้งยิ่งใหญ่ของกรรมกรหญิงทั่วโลกได้มาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ 8 มีนาที่เรียกกันว่าวันสตรีสากล  โดยเฉพาะกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกนายทุนในระบบทุนนิยม กดขี่ขูดรีดทารุณ เห็นกำไรสำคัญกว่าชีวิตของความเป็นมนุษย์

กรรมกรหญิงและชายไม่ต่างอะไรกับทาส ทำงานวันละหลายชั่วโมงได้ค่าจ้างแรงงานเพียงน้อยนิด สภาพการทำงานในโรงงานเลวร้ายมีการเจ็บป่วยล้มตายไร้การเหลียวแล ทำให้กรรมกรทนไม่ได้กับระบบการกดขี่ขูดรีดจึงเกิดการลุกขึ้นสู้ โดยใช้วิธีการนัดหยุดงานและเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 การต่อสู้ในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากกรรมกรทั่วโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่อทุนนิยมทั้งโลก และได้มีการเรียกร้องชั่วโมงการทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในการรวมตัว

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 มีผู้แทนสตรีจาก 18 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม สมัยที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเกน เสนอให้มีการทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง  ที่เรียกว่าระบบสามแปด  ค่าจ้างแรงงานระหว่างชายกับหญิงต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองสิทธิกรรมกรหญิงและเด็ก  โดยเฉพาะนักต่อสู้สตรีที่สำคัญเธอชื่อ คลาร่า แซทกิน ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ยืนหยัดมาตลอดว่าการโค่นล้มทุนนิยมและการสร้างสังคมใหม่คือสังคมนิยม  จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดพลังแรงงานกรรมกรหญิงและชาย ถ้าพลังแรงงานกรรมกรหญิงยังถูกกดขี่ ขูดรีดอยู่ และไม่มีสิทธิใดๆ  และเธอก็ได้เผยแพร่ความคิดสังคมนิยมไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

ระบบทุนนิยม ชนชั้นปกครองชอบสอนให้ประชาชน ผู้ใช้แรงงานเคารพค่านิยมครอบครัวอนุรักษ์นิยม แต่ระบบทุนนิยมทำให้ผู้หญิงออกไปทำงานในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีพัฒนาการความคิดที่ก้าวหน้า และระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้ผู้หญิงออกมาต่อสู้เพื่อการปลดแอกตนเองอยู่เสมอ

สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และองค์กรสมาชิกและพันมิตร ส่งเสริมให้ผู้หญิงออกไปทำงานและสร้างความมั่นใจในตนเอง และต้องการเห็นชายกับหญิงร่วมกันต่อสู้ในสหภาพแรงงานหรือขบวนการประชาธิปไตย เราสนับสนุนข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น สตรีมีสิทธิทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน และสร้างรัฐสวัสดิการมาตรฐานเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย

วันสตรีสากล ชนชั้นกรรมาชีพทั้งหลายจงเจริญ
8 มีนาคม 2556

1.สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (THE TEXTILE GARMENT AND LEATHER WORKERS FEDERATION OF THAILAND)(TWFT) 11/53 Siwanakorn Village Moo 8 Taibaan Sub-District, Muang District, Samutprakarn Province 10280 Thailand Tel & Fax (662) 02-3872429 Email: twft2524@gmail.com
2.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign)
3.องค์กรเลี้ยวซ้าย
4.องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย

leftwing