Tag Archives: คาร์ล มาร์คซ์

ทำไมนักมาร์คซิสต์ต้องสร้างพรรค?

“นักปรัชญาเพียงแต่วิเคราะห์โลกในแง่ต่าง ๆ แต่ประเด็นหลักคือการเปลี่ยนแปลงโลก”

-คารล์ มาร์คซ์

ข้อความของ มาร์คซ์ ข้างบน ชี้ให้เราเห็นว่านักมาร์คซิสต์ต้องเน้นทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติพร้อมกัน ถ้าใครไม่ลงมื้อสร้างพรรค หรือ “เตรียมพรรค” เพื่อเปลี่ยนสังคมอย่างเป็นรูปธรรม คนนั้นไม่ใช่นักมาร์คซิสต์

กรรมาชีพ

เมืองไทยมีลักษณะของทุนนิยมที่ทันสมัยที่สุดดำรงอยู่เคียงข้างความล้าสมัยและด้อยพัฒนาแบบดั้งเดิม แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดและมีพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงสังคมปัจจุบันเป็นส่วนที่ทันสมัยที่สุด สังคมเมืองและชนชั้นกรรมาชีพนั้นเอง

ชนชั้นกรรมาชีพไทยเป็นชนชั้นสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดในสังคมไทย แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพกำลังทำงานในใจกลางระบบการผลิตแบบสมัยใหม่ และการทำงานของกรรมาชีพเป็นที่มาของการสร้างมูลค่าและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอีกด้วย ดังนั้นชนชั้นกรรมาชีพมีพลังซ่อนเร้นมหาศาล ซึ่งถ้าเลือกที่จะใช้ภายใต้จิตสำนึกทางการเมืองแบบชนชั้น จะสามารถแปรสภาพสังคมไทยได้อย่างถอนรากถอนโคน

กรรมาชีพไม่ใช่แค่คนทำงานในโรงงาน แต่รวมถึงลูกจ้างทุกคน ไม่ว่าจะทำงานในออฟฟิส ทำงานในโรงพยาบาล ทำงานในโรงเรียน ทำงานในระบบขนส่ง หรือทำงานในห้างร้าน

นักศึกษา ถือว่าเป็น “เตรียมกรรมาชีพ” และมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษามักจะไฟแรง มีเวลาศึกษาอ่านทฤษฏี และไม่ยึดติดกับแนวความคิดเก่าๆ ที่ล้าหลัง

จิตสำนึกทางชนชั้นมันไม่เคยเกิดเองโดยอัตโนมัติ เพราะในทุกสังคมมีแนวความคิดหลากหลายดำรงอยู่ ซึ่งมีผลกับสมาชิกของสังคมตลอดเวลา การผลักดันให้กรรมาชีพมีจิตสำนึกทางชนชั้นตนเองล้วนๆ ต้องมาจากพรรคสังคมนิยมพร้อมกับประสบการณ์ที่มาจากการต่อสู้

สำหรับนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน รูปแบบการสร้างพรรคไม่ได้ก่อกำเนิดจากสมองอันใหญ่โตของ เลนิน ตรงกันข้ามมันมาจากลักษณะการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพในโลกจริง ปัญหาหลักคือการต่อสู้ของกรรมาชีพจะมีลักษณะต่างระดับและหลากหลายเสมอ เช่นจะมีบางกลุ่มที่ออกมาสู้อย่างดุเดือดเพื่อล้มระบบ ในขณะที่กลุ่มอื่นออกมาสู้แค่เพื่อเรื่องปากท้องเท่านั้น หรือบางกลุ่มอาจไม่สู้เลย และในมิติเวลาที่ต่างกัน กลุ่มที่กล้าสู้หรือก้าวหน้าที่สุดในยุคหนึ่งอาจจะเป็นกลุ่มที่ล้าหลังในยุคต่อไป ดังนั้นปัญหาของชาวมาร์คซิสต์คือ จะทำอย่างไรเพื่อให้มีการรักษาประสบการณ์ความรู้ในการต่อสู้ของกรรมาชีพส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป

เองเกิลส์ เคยยกตัวอย่างทหารในสนามรบว่า ภายใต้การกดดันของการต่อ สู้ทหารบางหน่วยจะค้นพบวิธีการต่อสู้ที่ก้าวหน้าที่สุด และบทบาทสำคัญของผู้บังคับบัญชาที่ดี คือการนำบทเรียนที่ก้าวหน้าอันนั้นไปเผยแพร่กับกองทหารทั้งกองทัพ นี่คือที่มาของแนวคิด “กองหน้า” ในการสร้างพรรคของ เลนิน เพราะหลักการสำคัญคือพรรคต้องเป็นตัวแทนของส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดของกรรมาชีพ ไม่ใช่ตัวแทนของกรรมาชีพทั้งชนชั้นที่มีจิตสำนึกต่างระดับกัน และพรรคต้องแยกตัวออกจากความคิดล้าหลังของชนชั้นทั้งชนชั้นเพื่ออัดฉีดความคิดก้าวหน้าที่สุดกลับเข้าไปในขบวนการกรรมาชีพ ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็จะไม่เกิดการพัฒนาการต่อสู้และจิตสำนึกเลย

ลีออน ตรอทสกี เสนอว่าในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมนิยมต้องอาศัยพลังของมวลชนกรรมาชีพ โดยที่สมาชิกพรรคทำการเปลี่ยนแปลงแทนมวลชนกรรมาชีพไม่ได้ แต่พลังกรรมาชีพที่ไร้เป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนจะเสมือนพลังไอน้ำที่ไม่มีลูกสูบ มันจะสำแดงพลังแล้วสูญสลายไปกับตา

พรรคสังคมนิยมของชนชั้นกรรมาชีพมีหน้าตาอย่างไร?

พรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพไม่เหมือนพรรคแบบนายทุนที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ในสามแง่คือ

ในแง่ที่หนึ่ง พรรคกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็นชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย หรือคนจนในเมือง พรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และวิถีชีวิต พรรคต้องไม่เสนอให้มีการสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพและคนจนกับศัตรูของเรา เช่นนายทุนเป็นอันขาด และที่สำคัญเราต้องไม่หลงคล้อยตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและการรักษาระบบเดิม”

ในแง่ที่สอง พรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาเป็นผู้ควบคุมนโยบาย ผู้นำ และผู้แทนของพรรคตลอดเวลา ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรคเผด็จการ สตาลิน-เหมา แบบ พ.ค.ท. อีกด้วย

ในแง่สุดท้าย พรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกในอัตราก้าวหน้าเป็นหลัก คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมากและคนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของกรรมาชีพและคนจน ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่นและตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น และถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนทุกพรรคคือการเป็นพรรคของมวลชนจริง การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน และผู้สนับสนุนพรรคจะไม่เข้ามาร่วมภายใต้นโยบายของพรรคเท่านั้น แต่จะได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน

เน้นการต่อสู้นอกรัฐสภาไปก่อน ไม่ต้องรีบจดทะเบียน

พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพไม่ใช่พรรคประเภทบนลงล่าง “คุณเลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำให้ทุกอย่าง” พรรคต้องไม่ตั้งเป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจแท้ในระบบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายทุน ทั้งนี้เนื่องจากอำนาจแท้ของ “เผด็จการเงียบของนายทุน” ในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม อยู่ที่การควบคุมการผลิตมูลค่าทั้งปวงในสังคม และในระบบ “เผด็จการรัฐสภา” ของประยุทธ์ รัฐสภายิ่งไม่มีความสำคัญในการเป็นเวทีประชาธิปไตย

ต้องอาศัยพลังมวลชน ไม่ใช่บารมีผู้นำ

เลนิน อธิบายว่าสมาชิกพรรคไม่ควรตั้งตัวขึ้นมาเป็นศาสดาองค์ใหญ่ที่สอนกรรมาชีพ เพราะพรรคต้องเรียนรู้จากการต่อสู้ของกรรมาชีพพื้นฐานตลอด ทั้งในยุคนี้และยุคอดีต ดังนั้นพรรคต้องเป็นคลังรวบรวมประสบการณ์การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกเพื่อนำเสนอประสบการณ์ดังกล่าวกลับเข้าไปสู่ชนชั้นกรรมาชีพในขณะที่กำลังต่อสู้อยู่

อันโตนีโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวอิตาลี่ เคยเตือนว่าพรรคไม่สามารถ “ป้อนความรู้” ใส่สมองกรรมาชีพเหมือนพี่เลี้ยงป้อนอาหารให้เด็ก แต่พรรคต้องเสนอประสบการณ์จากอดีตกับคนที่กำลังเปิดกว้างเพื่อแสวงหาทางออกเนื่องจากเขาอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้ ดังนั้นสมาชิกพรรคต้องร่วมในการต่อสู้พื้นฐานของกรรมาชีพ เพื่อเสนอความคิดและแนวทางในการต่อสู้ที่ท้าทายความคิดกระแสหลักของทุนนิยมเสมอ ไม่ใช่นั่งอยู่แต่ในห้องประชุม

สื่อของพรรคคือนั่งร้านในการสร้างพรรค

วิธีหนึ่งที่สำคัญในการสื่อแนวคิดเพื่อสร้างพรรคคือการใช้สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์ หรือโซเชียลมีเดีย

สื่อของพรรคผลิตออกมาเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งทฤษฏีให้กับสมาชิกพรรคเอง อาจมองได้ว่าเป็นอาวุธทางปัญญาในการขยายงานของพรรค นอกจากนี้สื่อของพรรคเป็นคำประกาศจุดยืนต่อสาธารณะอย่างชัดเจน การที่สมาชิกต้องขายสิ่งตีพิมพ์ให้คนภายนอกพรรคเป็นวิธีการในการสร้างความสามัคคีทางความคิดภายในพรรค เพราะเวลาสมาชิกขายสิ่งตีพิมพ์ให้คนอื่น สมาชิกต้องถกเถียงเพื่อปกป้องแนวคิดของพรรคเสมอ ดังนั้นสมาชิกต้องอ่านและทำความเข้าใจกับสื่อของพรรค

ประชาธิปไตยรวมศูนย์ไม่ใช่เผด็จการรวมศูนย์

ในอดีตพรรคคอมมิวนิสต์สาย สตาลิน-เหมา ทั้งหลาย เช่น พ.ค.ท. มักใช้คำว่า “ประชาธิปไตยรวมศูนย์” เพื่อเป็นข้ออ้างว่าทำไมสมาชิกพรรคต้อง “เชื่อฟัง” คำสั่งและนโยบายของ “จัดตั้ง” หรือผู้นำระดับบน แต่จริงๆ แล้วความหมายของประชาธิปไตยรวมศูนย์ตามที่ เลนิน หรือ ตรอทสกี ตีความ คือการมีเสรีภาพในการถกเถียงนโยบายเต็มที่ภายในพรรคในขณะที่พรรคต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ดังนั้นพอถึงเวลาปฏิบัติต้องมีการลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดนโยบายที่ชัดเจนโดยที่เสียงข้างมากต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายที่ทุกคนต้องทำตาม แน่นอน การเป็นสมาชิกพรรคไม่เสรีเท่ากับการเป็นปัจเจกชน แต่เสรีภาพของปัจเจกชนไม่มีอำนาจใดๆ ในสังคม ถ้าไม่รวมตัวกับคนอื่น ระบบประชาธิปไตยรวมศูนย์จึงเป็นวิธีการทำงานที่พยายามรวมสองสิ่งที่ขัดแย้งกัน (เสรีภาพในการคิด กับ การมีนโยบายที่ชัดเจน) มาทำพร้อมกัน และที่สำคัญคือต้องไม่ลืมทั้งสองส่วน คือต้องไม่ลืมการรวมศูนย์ และต้องไม่ลืมประชาธิปไตย

เสรีภาพในการถกเถียงภายในพรรค ไม่ใช่แค่เรื่องอุดมการณ์ ถ้าพรรคไม่มีการถกเถียงนโยบายอย่างเสรีและเปิดเผย สมาชิกพรรคไม่สามารถจะนำปัญหาของโลกจริงมาทดสอบแนวของพรรคได้ในรูปธรรม และพรรคไม่สามารถสะท้อนความคิดของแนวหน้าของชนชั้นกรรมาชีพได้จริง

ความสำคัญของการประชุมเป็นระบบ

หลายคนสงสัยว่าทำไมสมาชิกพรรคต้องประชุมทุกสัปดาห์อย่างเป็นระบบ บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลาและเป็นการมัวแต่นั่งคุยกันโดยไม่ออกไปต่อสู้ในโลกจริง คำตอบคือ

(1) การประชุมเป็นประจำและเป็นระบบ เป็นวิธีสำคัญในการรักษารูปแบบขององค์กร การประชุมเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยน ฝึกฝนการพูด วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลก และพัฒนาความคิดและความสามารถทางด้านทฤษฎีของสมาชิก ในขณะที่การอ่านหนังสือคนเดียวไม่มีวันให้ประโยชน์เพียงพอ  

(2) การประชุมเป็นประจำ เป็นวิธีเดียวที่จะประสานการต่อสู้ประจำวันของสมาชิกเพื่อนำประสบการณ์เข้ามาในพรรคและเพื่อพัฒนาการต่อสู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(3) การประชุมเป็นประจำ เป็นวิธีเดียวที่สมาชิกสามารถควบคุมนโยบายและผู้นำของพรรคได้

ควรมีการฝึกความคิดทางการเมืองในเรื่อง ชนชั้น ปัญหาสตรี ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิธีการจัดตั้งพรรค ประวัติศาสตร์การต่อสู้ การทำความเข้าใจกับเศรษฐศาสตร์หรือปรัชญา หรือการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ ฯลฯ แต่ทุกครั้งต้องมีการเชื่อมโยงประเด็นระหว่างทฤษฎีการเมือง กับปัญหาในระดับสากล และปัญหาในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม และยิ่งกว่านั้นต้องมีการเสนอทางออก

ทุกคนที่เป็นสมาชิกพรรคมาร์คซิสต์ ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรโรงงานที่ไม่จบการศึกษาสูง หรือพนักงานปกคอขาวที่จบมหาวิทยาลัย ควรแม่นทฤษฎี การแม่นทฤษฎีที่พูดถึงนี้ ไม่ใช่การนำหนังสือที่ตนเคยอ่านมาอวดความฉลาดกับคนอื่น หรือการท่องหนังสือเหมือนคัมภีร์ แต่สิ่งที่เราต้องสร้างคือ “ปัญญาชนของชนชั้นกรรมาชีพ” แน่นอนบางคนที่ไม่คุ้นเคยกับการอ่านหรือคนที่ทำงานทั้งวันจนเหนื่อย ย่อมมีอุปสรรคในการพัฒนาตนเองมากกว่าคนที่ถูกฝึกฝนเรื่องนี้ในมหาวิทยาลัย แต่เราต้องหาทางฝ่าอุปสรรคแบบนี้ให้ได้

อันโตนิโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติจากอิตาลี่เคยเสนอว่าทุกชนชั้นต้องมีปัญญาชนของตนเอง ชนชั้นนายทุนมีทรัพยากรมหาศาล เขามีปัญญาชนและสถาบันศึกษาของเขาแน่นอน แต่ถ้ากรรมาชีพไม่มีปัญญาชนของตัวเองที่จะอธิบายโลกจากมุมมองทฤษฎีของกรรมาชีพเอง ผลที่ได้คือขบวนการกรรมาชีพจะเคลื่อนไหวภายใต้ชุดความคิดของนายทุนตลอดไป พูดง่ายๆ เราจะติดอยู่ในคุกแห่งความคิดของฝ่ายศัตรู

ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐกับการปฏิวัติ ทำไมเราต้องปฏิวัติ

รัฐ คืออะไร? ใครคุมอำนาจรัฐในระบบเผด็จการ? ใครคุมอำนาจรัฐในระบบประชาธิปไตย? นี่คือประเด็นที่นักมาร์คซิสต์ต้องเข้าใจ

ถ้าเราศึกษาหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติ” ของ เลนิน และ “สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส” ของ มาร์คซ์ เราจะเข้าใจว่า ในทุกสังคมภายใต้ทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรปตะวันตก หรือไทย มีพวกชนชั้นปกครองดำรงอยู่ ซึ่งดูเหมือนขัดกับรัฐธรรมนูญหรือหลักประชาธิปไตย และการกำจัดพวกนี้จะอาศัยแค่การเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้นไม่พอ เพราะ “รัฐ” มันมากกว่าแค่รัฐบาล

ในหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติเลนิน กล่าวถึงงานของ มาร์คซ์ และ เองเกิลส์ ซึ่งเป็นนักมาร์คซิสต์ “รุ่นครู”    เลนิน ชี้ให้เห็นว่า “รัฐ” มันมากกว่าแค่ “รัฐบาล” และรัฐทุนนิยมมีไว้เพื่อกดขี่ชนชั้นกรรมาชีพและเกษตรกร โดยยึดผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนเป็นหลัก ตรงนี้เราไม่ควรสับสนว่า “ชนชั้นนายทุน” คือคนอย่างทักษิณหรือหัวหน้า CPเท่านั้น เพราะในไทยชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นชนชั้นปกครองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ ประกอบไปด้วยนายทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง กษัตริย์ นักการเมืองผู้ใหญ่ และนายทุนเอกชน

สำหรับนักมาร์คซิสต์ เราเชื่อกันว่า “รัฐ” เป็นสิ่งที่เกิดมากับสังคมชนชั้น มันไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่ตกจากฟ้า รัฐเป็นเครื่องมือที่คนกลุ่มน้อยในสังคมปัจจุบันใช้เพื่อควบคุมคนส่วนมากที่ถูกปกครอง ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร

สังคมทุนนิยมในปัจจุบัน และสังคมศักดินาในอดีต ล้วนแต่เป็นสังคมชนชั้น คือคนส่วนน้อยปกครองและขูดรีดคนส่วนใหญ่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ที่อาจเปิดเผยหรือซ่อนเร้นก็ได้ ในการสร้างสังคมนิยมอันเป็นประชาธิปไตยแท้ เราจึงต้องปฏิวัติล้มรัฐเก่าและสร้างรัฐใหม่ชั่วคราวขึ้นมา เพื่อเป็นอำนาจในการเปลี่ยนสังคม แต่เป้าหมายระยะยาวคือการยกเลิกรัฐ หรือที่ เลนิน เรียกว่าเป็นการ “สิ้นสุดของการปกครอง” เพื่อให้มนุษย์กำหนดอนาคตตนเองในชุมชนต่างๆ อย่างเสรี

“อำนาจพิเศษสาธารณะ” ของรัฐ อาศัยวิธีควบคุมสังคมสองวิธีคือ (๑) อาศัยกองกำลังและการปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่ง เองเกิลส์ และ เลนิน เรียกว่า “องค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ” นั้นคือ ทหาร ตำรวจ ศาล และคุก กับ(๒) อาศัยการสร้างระเบียบและความชอบธรรมกับการปกครองของรัฐ เพื่อให้ผู้ถูกปกครองยอมรับอำนาจรัฐ และวิธีที่สำคัญคือการวางตัวของรัฐให้ห่างเหินแปลกแยกจากสังคม เพื่อให้ดูเหมือน “ลอยอยู่เหนือสังคมและเป็นกลาง” ในขณะที่คุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ เพราะถ้ารัฐไม่สร้างภาพแบบนี้มาปิดบังความจริงที่รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองฝ่ายเดียว ประชาชนจะไม่ให้ความจงรักภัคดี การควบคุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ กระทำผ่านการพยายามผูกขาดแนวคิดในโรงเรียน ศาสนา และสื่อ จนเราอาจไม่รู้ตัวว่าเราถูกควบคุมกล่อมเกลาทางความคิด

เองเกิลส์ อธิบายว่ารัฐไหนสร้างภาพหลอกลวงว่าเป็นกลางได้ดีที่สุด รัฐนั้นสามารถควบคุมประชาชนได้อย่างแนบเนียนที่สุด นี่คือสาเหตุที่นักวิชาการที่รับใช้ชนชั้นปกครองมักเสนอตลอดว่า “รัฐเป็นกลาง” ไม่เข้าข้างใคร และด่าแนวมาร์คซิสต์ว่า “ตกยุค”

ในยุคนี้รัฐไทยเผยธาตุแท้ว่าเป็นรัฐเผด็จการและเป็นศัตรูของประชาชน จึงครองใจพลเมืองยากขึ้น แต่ในอนาคตเขาจะพยายามสร้างภาพว่าเป็นกลางอีกครั้ง

ทุกวันนี้เราต้องสู้ทางความคิดเพื่อทำลายความชอบธรรมของชนชั้นปกครอง ตรงนี้เราจะได้เปรียบในแง่หนึ่ง เพราะการหาความชอบธรรมของชนชั้นปกครองย่อมอยู่บนพื้นฐานการโกหกหลอกลวงเสมอ เข้าใจได้ง่าย เพราะชนชั้นปกครองมีผลประโยชน์ตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ที่ถูกปกครอง ดังนั้นข้อสรุปสำคัญคือ เราต้องทำสงครามความคิดอย่างถึงที่สุด ไม่ใช่ไปประนีประนอมกับความคิดชนชั้นปกครองโดยกลัวว่าคนส่วนใหญ่ “ยังไม่พร้อม” จะรับความคิดใหม่ นี่คือ “สงครามจุดยืน” ที่ อันโตนิโอ กรัมชี่ นักมาร์คซิสต์อิตาลี่เคยพูดถึง สำหรับกรัมชี่มันมีสงครามสองชนิดที่เราต้องทำคือ “สงครามจุดยืน” และ “สงครามขับเคลื่อน” –การเผชิญหน้า ปฏิวัติ และล้มรัฐเก่านั้นเอง

ถ้าเราจะทำสงครามจุดยืน มันแปลว่า เราทุกคนที่อยากร่วมในการต่อสู้ ต้องสร้างตัวขึ้นมาเป็น “อาจารย์” หรือสิ่งที่ กรัมชี่ เรียกว่า “ปัญญาชนอินทรีย์” คือนักคิดติดดินที่เลือกข้างประชาชนคนจน และกรรมาชีพนั้นเอง ถ้าใครคิดว่าจะพัฒนาตนเองเป็นอาจารย์ไม่ได้ ก็ลองดูพวกอาจารย์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน พวกนี้มีอคติกับคนจนที่รักประชาธิปไตย และเขาพร้อมจะโกหกบิดเบือนทฤษฏีต่างๆ เพื่อปกป้องคนรวยและอภิสิทธิ์ชน  การกระทำของเขาไม่ใช่การใช้ปัญญาอะไรหรอก มันเป็นการเอาผลประโยชน์ชนชั้นตนเองมานำทุกอย่าง

ถ้าเราเข้าใจ “รัฐกับการปฏิวัติ” เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองในทุกสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ รวมถึงไทยและที่อื่น เป็นส่วนหนึ่งของ “อำนาจพิเศษสาธารณะ” นี่คือสาเหตุที่ในประเทศตะวันตกที่มีประชาธิปไตย บ่อยครั้งรัฐบาลพรรคแรงงานหรือพรรคสังคมนิยม ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจต้องยอมอ่อนน้อมต่อนายทุนใหญ่หรือข้าราชการในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ

การทำลายอำนาจชนชั้นปกครองจึงไม่ใช่แค่การผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการยอมรับผลของการเลือกตั้งเท่านั้น การกำจัดชนชั้นปกครองต้องอาศัยการปฏิวัติล้มรัฐเก่าในทุกแง่ เพื่อสร้างรัฐใหม่ของประชาชนผู้ทำงาน หรือที่เรียกว่า “รัฐกรรมาชีพ” ซึ่ง มาร์คซ์ เคยอธิบายว่าองค์ประกอบของรัฐเก่านั้นมันไม่หายไปง่ายๆ เพราะมันเป็น “งูเหลือมที่รัดสังคมไว้อย่างแน่นแฟ้น” ต้องใช้ “ไม้กวาดแห่งการปฏิวัติ” ถึงจะแกะมันออกได้ และต้องสร้างรัฐใหม่ที่มีองค์ประกอบใหม่ขึ้นมาแทน เช่นรัฐสภาคนทำงาน กองกำลังของประชาชน หรือผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นต้น ต้องรื้อกฎหมายเก่าๆ ทิ้งให้หมด และสร้างระเบียบใหม่ของสังคม โดยที่คนส่วนใหญ่ คนจน คนทำงาน… เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เพราะประชาธิปไตยแท้ต้องไม่มีอภิสิทธิ์ชน และต้องไม่มีนายทุนที่เป็นเผด็จการทางเศรษฐกิจในสถานที่ทำงานและระบบการผลิตอีกด้วย

ในระยะยาวการที่เราต้องปฏิวัติ ไม่ได้แปลว่าเราไม่สนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวันในสังคม หรือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยรัฐสภาในระบบทุนนิยม การต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในสังคมทุนนิยม เป็นสิ่งที่นักมาร์คซิสต์เช่น โรซา ลัคแซมเบอร์ค มองว่าสำคัญและจำเป็น มันเป็นการต่อสู้ประจำวันที่ให้สิทธิเสรีภาพมากขึ้น มันช่วยให้เรามีสหภาพแรงงานที่มีอำนาจต่อรอง มันช่วยให้เราประท้วงหรือเดินขบวนได้ มันช่วยให้เรามีสื่อและสิทธิในการแสดงออก และที่สำคัญ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยภายในระบบทุนนิยม จะผลักดันชนชั้นปกครองจนเขาไม่กล้ามาก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพมากเกินไป มันทำให้ชนชั้นปกครองลำบากมากขึ้นในการใช้อำนาจเพราะต้องหลบไปในมุมมืดและแอบใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจของเครือข่ายอภิสิทธิ์ชนลับหลัง ซึ่งเป็นสภาพสังคมที่เห็นในยุโรปตะวันตกหรือสหรัฐ

โรซา ลัคแซมเบอร์ค เคยอธิบาย…ในหนังสือ “ปฏิรูปหรือปฏิวัติ” ว่าการต่อสู้ประจำวันเป็นการฝึกฝนมวลชนให้พร้อมเพื่อการปฏิวัติที่จะล้มและทำลายรัฐเก่าลงอย่างสิ้นเชิงในอนาคต แต่สำหรับคนที่เสนอให้ “ค่อยเป็นค่อยไป” นั้น เธออธิบายว่าพวกนี้จะเป็นคนที่ต้องการประนีประนอมกับรัฐเก่าเสมอ

รัฐทุนนิยมปกป้องการขูดรีด

รัฐทุนนิยมจะปกป้องกฎหมายและระบบศาลที่ให้ประโยชน์กับนายทุนในการขูดรีด การ “ขูดรีด” หมายถึงการที่นายทุนไม่กี่คน สามารถยึดมูลค่าทั้งหมดที่คนงานทั้งหลายสร้างขึ้นมาจากการทำงาน มันเป็นระบบการขูดรีดแบบแอบแฝง ไม่เหมือนสมัยก่อนทุนนิยมที่ขุนนางส่งทหารมาบังคับให้เราทำงาน หรือบังคับให้เราส่งภาษี มันดูเหมือนว่าไม่มีใครบังคับเรา แต่ในความเป็นจริง คนที่ทำงานในระบบทุนนิยมไม่มีทางเลือกอะไร เพราะถ้าไม่ทำงานก็อดตาย ที่สำคัญคือ…..

การเปลี่ยนรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่สามารถกำจัดระบบขูดรีดของนายทุนได้

ความมั่นใจในตนเอง

การต่อสู้ของมวลชนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยสร้างความมั่นใจกับทุกคนว่าเราสามารถเปลี่ยนสังคมได้ มาร์คซ์ เคยอธิบายว่าในระบบทุนนิยม เราจะถูกสอนให้คิดว่าเราด้อยกว่าชนชั้นปกครอง “เราไม่มีความสามารถ และเราต้องจงรักภักดีต่อเขาเสมอ” ชนชั้นปกครองใช้สื่อ โรงเรียน และศาสนาในการกล่อมเกลาเราเรื่องนี้ แต่ มาร์คซ์ และนักมาร์คซิสต์ชาวฮังการี่ชื่อ จอร์ช ลูคักส์ อธิบายว่าถ้าจะแก้ไขสภาพเช่นนี้ เราต้องเคลื่อนไหวต่อสู้ ต้องเสริมความมั่นใจซึ่งกันและกัน และท่ามกลางการต่อสู้เราจะตาสว่างถึงคำหลอกลวงของชนชั้นปกครอง อย่างไรก็ตามถ้าจะให้การต่อสู้มีพลัง นอกจากจะต้องมีมวลชนแล้ว ยังต้องจัดระบบความคิดและจัดตั้งมวลชนผ่านการสร้างพรรคปฏิวัติ

การวิเคราะห์สังคมแบบมาร์คซิสต์คืออะไร

เวลามีคนเอ่ยถึงลัทธิมาร์คซ์คนส่วนใหญ่มักนึกถึงพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ท่านประธานเหมาเจ๋อตุง หรือระบบการปกครองในจีน ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าลัทธิมาร์คซ์ในที่นี้ต่างกับแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เหมาเจ๋อตุง และสตาลิน

แนวความคิดลัทธิมาร์คซ์ตามความคิดของมาร์คซ์ เองเกิลส์ เลนิน หรือตรอทสกี ซึ่งเป็นแนวคิดปฏิวัติสังคมนิยมสำหรับยุคสมัยใหม่มีองค์ประกอบดังนี้คือ

1. แนวคิดวิทยาศาสตร์ที่อิงเหตุผลและพร้อมที่จะถูกทดสอบในโลกจริงเสมอ สำนักคิดของเราไม่ใช่สำนักคัมภีร์นิยมที่ท่องจำสูตรของผู้นำผู้เป็นพระเจ้า ถ้าในอนาคตสิ่งที่เราเสนอถูกทดสอบกับโลกแห่งความจริงแล้วล้มเหลว เราพร้อมที่จะปรับความคิดเสมอ

2. เป็นวิธีการมองโลกเพื่อประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพในการเปลี่ยนโลกให้เป็นสังคมนิยม สังคมนิยมเป็นสิ่งที่กรรมาชีพต้องสร้างขึ้นเอง จากล่างสู่บน ไม่มีอัศวินม้าขาวที่ไหนที่จะมาสร้างให้แทนได้ ดังนั้นการวิเคราะห์ต้องวิเคราะห์เพื่อเปลี่ยนสังคม ไม่ใช่วิเคราะห์เพื่อให้รู้อย่างเดียว คาร์ล มาร์คซ์ จึงตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ในอดีตนักปรัชญาเพียงแต่วิเคราะห์โลก แต่จุดมุ่งหมายหลักคือการเปลี่ยนโลก” ดังนั้นนักมาร์คซิสต์จะต้องลงมือทำงานในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และลงมือสร้างพรรคสังคมนิยมเพื่อเปลี่ยนโลกในรูปธรรม

3. การวิเคราะห์แบบมาร์คซิสต์ อาศัยหลักความคิดที่ค้นพบและถูกนำมาใช้โดย มาร์คซ์ เองเกิลส์ เลนิน ตรอทสกี ลัคแซมเบอร์ค และ กรัมชี่ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญดังนี้คือ

     (ก) มองว่ามนุษย์ธรรมดาเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ท่ามกลางการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่ และเราจำเป็นต้องเข้าใจประวัติศาสตร์เพื่อเข้าใจโลกปัจจุบัน

     (ข) มองว่าถึงแม้ว่ามนุษย์สามัญเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แต่เขาไม่มีอำนาจที่จะเลือกสถานการณ์ภายนอกที่ดำรงอยู่ได้ เพราะสถานการณ์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสภาพความเป็นจริงในโลกแห่งวัตถุ ดังนั้นการเปลี่ยนสังคมขึ้นอยู่กับทั้งอัตวิสัย และภววิสัยเสมอ

     (ค) มองว่าลักษณะการเลี้ยงชีพของมนุษย์ในยุคใดยุคหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์ทางการผลิต และพลังการผลิต” เป็นสิ่งหลักที่กำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์เช่นระบบการปกครองหรือระบบสังคม และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกเป็นสิ่งที่กำหนดลักษณะความคิดในสมองมนุษย์ด้วย การให้ความสำคัญกับสิ่งของที่แตะต้องได้ หรือวัตถุ ในการกำหนดความคิดของมนุษย์ เรียกว่าแนวคิดแบบ “วัตถุนิยม” ซึ่งต่างจากแนวคิด “จิตนิยม” ที่มองว่าความคิดมนุษย์ โดยเฉพาะ “คนเก่ง” เป็นสิ่งที่กำหนดรูปแบบของโลกแต่แรก

     (ฆ) มองว่าถ้าเราจะเข้าใจโลกเราได้เราต้องมองโลกด้วย “วิภาษวิธี” (หรือไดอาเลคทิค) คือต้องมองภาพรวมของโลก ต้องหาความขัดแย้งในภาพรวมดังกล่าว และเมื่อหาความขัดแย้งดังกล่าวได้ จะค้นพบสิ่งที่ผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ นักมาร์คซิสต์จึงมองว่าสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง และสภาพการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติ

     ในรูปธรรมแนวคิดมาร์คซิสต์มองว่า “วัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิม” เป็นเรื่องรองที่เปลี่ยนตามยุคสมัย ไม่ใช่เรื่องหลักที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งหลักที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือความขัดแย้งที่เติบโตจากลักษณะระบบการผลิต และบทบาทของสามัญชนในการต่อสู้ทางชนชั้น

     สรุปแล้วแนวความคิดมาร์คซิสต์อาศัยหลักของ “วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ และวิภาษวิธี” ซึ่งตรงข้ามกับแนวความคิดของฝ่ายกระแสหลักที่มีรูปแบบ “บูชาปัจเจกคนเก่งที่เป็นชนชั้นนำ”   หรือแนวคิดสำนัก “วัฒนธรรมนิยม” ที่มองว่าการเมืองและสังคมไทยมีลักษณะพิเศษที่มาจากวัฒนธรรมของคนไทย นอกจากนี้แนวมาร์คซิสต์จะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนว “กลไก” ของพวกสตาลิน-เหมาที่มักอ้างวิภาษวิธีหรือวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ในทางที่บิดเบือน

ใจ อึ๊งภากรณ์

สภาวะแปลกแยก กับการสร้างภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์

ในบทความที่อื่น ผมอธิบายว่าทำไมระบบศักดินาหมดสิ้นไปตั้งแต่การปฏิวัติระบบโดยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งนำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจและการสร้างชาติเป็นครั้งแรกภายใต้กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธราชย์ โดยที่รัฐไทยใหม่กลายเป็นรัฐทุนนิยม และภายในเวลาแค่ 60 ปีรูปแบบรัฐอันนี้ถูกปฏิวัติอีกทีโดยคณะราษฏร์ในปี ๒๔๗๕

หลัง ๒๔๗๕ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทน้อยมากในสังคมไทย จนถึงการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังจากนั้นสฤษดิ์ ผู้นำทหารและพลเรือนที่ตามมา และพรรคพวกที่นิยมเจ้า ก็ค่อยๆเชิดชูกษัตริย์มากขึ้นทุกวัน จนมีการสร้างภาพว่าเป็นเสมือนเทวดา

ถ้าเราศึกษาบทบาทสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษ สเปน สวีเดน ญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เราจะเห็นว่าในระบบทุนนิยมที่มีนายทุนเป็นใหญ่ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทในลักษณะลัทธิการเมืองอนุรักษ์นิยมที่รณรงค์ให้ประชาชนมองว่ามนุษย์บางคน “เกิดสูง” และคนส่วนใหญ่ “เกิดในฐานะต่ำ” คนที่เกิดสูงมีอภิสิทธิ์ที่จะกอบโกยทรัพย์สิน และมี “ความสามารถ” ในการปกครอง ส่วนพลเมืองส่วนใหญ่ควรจะเจียมตัวกับสภาพที่ด้อยกว่าและเชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถที่จะปกครองตนเอง นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์ถูกเสนอว่าเป็นตัวแทนของ “ชาติ” และพลเมืองทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ความเชื่อดังกล่าวเป็นเรื่องเท็จโดยสิ้นเชิง เพราะผลประโยชน์นายทุนหรือคนรวย ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์พลเมืองส่วนใหญ่เสมอ ตัวอย่างที่ดีคือนโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลมักอ้างว่าทำไป “เพื่อชาติ” แต่จริงๆ เป็นการรัดเข็มขัดคนส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มกำไรและผลประโยชน์ให้กับนายทุน

นักวิชาการส่วนใหญ่ในไทย มักมองข้ามบทบาทหน้าที่สำคัญอันนี้ของสถาบันกษัตริย์ในโลกทุนนิยมปัจจุบัน เพราะเชื่อนิยายว่า “สังคมไทยไม่เหมือนที่อื่น”

แต่การนำกษัตริย์กลับมาให้มีบทบาทสำคัญในไทยตั้งแต่ยุคสฤษดิ์ มีวัตถุประสงค์เดียวกับที่อื่น คือวัตถุประสงค์ในการรณรงค์แนวคิดอนุรักษ์นิยมอย่างที่ได้กล่าวถึงข้างบน ในช่วงแรกๆ กษัตริย์มีความสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์ที่ต่อต้านแนวคิดคอมมิวนิสต์ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ต่อมากษัตริย์มีความสำคัญในการให้ความชอบธรรมกับการปกครองของนายทุน เช่นในสมัยทักษิณ หรือการปกครองแบบเผด็จการทหาร ทหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอ้างว่าตนปกป้องกษัตริย์เวลายึดอำนาจ เพื่อปกปิดว่าจริงๆ แล้ว เขาทำรัฐประหารเพื่อผลประโยขน์ของตนเอง ซึ่งต่างจากรัฐบาลพลเรือน ที่สามารถอ้างความชอบธรรมจากนโยบายต่างๆ ที่เสนอกับประชาชนในการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ทหารไม่มีความชอบธรรมจากระบบประชาธิปไตยเลยจึงต้องอ้างกษัตริย์

จะเห็นได้ว่าการเชิดชูกษัตริย์ให้เหมือนเทวดา ไม่ได้แปลว่ากษัตริย์มีอำนาจจริง มันเป็นเพียงการเชิดชูลัทธิกษัตริย์เพื่อแช่แข็งความเหลื่อมล้ำในสังคม

พูดง่ายๆ สถาบันกษัตริย์ไทยไม่เคยมีอำนาจหลัง ๒๔๗๕ แต่มีบทบาทหน้าที่ในทางลัทธิความคิด เพื่อประโยชน์ของนายทุนและทหาร

การสร้างภาพลวงตาว่ากษัตริย์เป็นเทวดาที่มีอำนาจล้นฟ้า (และมันเป็นภาพลวงตาเพราะเราก็รู้กันว่าเทวดาไม่มีจริง) เป็นไปเพื่อทำให้พลเมืองเกรงกลัวและไม่กล้าท้าทายระบบชนชั้นที่ดำรงอยู่

ดังนั้นเวลาพวกผู้นำทหารปัจจุบันหมอบคลานต่อวชิราลงกรณ์ มันเป็นการเล่นละครเพื่อหลอกประชาชนว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ผู้มีอำนาจจริงกำลังหมอบคลานต่อผู้ที่ไม่มีอำนาจเลย (และวชิราลงกรณ์ไร้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำอีกด้วย ลองอ่านประวัติการศึกษาก็จะเห็นภาพ)

แล้วทำไมประชาชนจำนวนมากถึงเชื่อนิยายของชนชั้นปกครอง? ทำไมเขาครองใจคนจำนวนมากได้?

จริงๆ แล้วมันไม่ต่างจากคำถามว่าทำไมคนถึงเชื่อกันว่า “ตลาด” มีพลังหรือชีวิตของมันเองที่เราต้องจำนนต่อ ทั้งๆ ที่ตลาดเป็นแค่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น? หรือความเชื่อว่า “เงิน” มีค่าในตัวมันเองทั้งๆ ที่มันเป็นแค่ตัวแทนของมูลค่าจริงๆ ของสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากการทำงาน

มันเหมือนกับปัญหาว่าทำไมคนถึงลืมว่ามนุษย์สร้างพระพุทธรูปด้วยมือของตนเอง เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาและคำสอน แต่คนกลับหันมาเชื่อว่าพระพุทธรูปมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์วิเศษ?

ในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” มาร์คซ์เสนอว่าการขโมยผลงานของกรรมาชีพ โดยนายทุน ในระบบการผลิต ทำให้กรรมาชีพขาดความเป็นมนุษย์แท้ มีผลทำให้มนุษย์มองโลกในทางกลับหัวกลับหางคือ เงินกลายเป็นของจริง ในขณะที่การขูดรีดหายไปกับตา และมูลค่าหรือประโยชน์ในการใช้สอยกลายเป็นเพียงเรื่องข้างเคียง เพราะมูลค่าแลกเปลี่ยนถูกทำให้ดูสำคัญกว่า

นักมาร์คซิสต์ จอร์ช ลูคักส์ และ คาร์ล มาร์คซ์ อธิบายว่ามนุษย์เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง เชื่อแบบกลับหัวกลับหาง ในกรณีที่มนุษย์ขาดความมั่นใจ มันไม่ใช่เรื่องความโง่หรือการมีหรือไม่มีการศึกษาแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องผลของอำนาจต่อความมั่นใจของเราต่างหาก อำนาจการกดขี่ขูดรีดของนายทุน เช่นการที่ทุกวันเราต้องยอมจำนนไปทำงานให้นายทุน หรือต้องก้มหัวให้อำนาจรัฐ มีผลในการกล่อมเกลาให้เรามองว่าตัวเราเองไร้ค่ากว่าพวก “ผู้ใหญ่” หรือนายทุน และชวนให้เรามองว่าเราไร้ความสามารถ เราเลยเชื่อพวกนั้นง่ายขึ้น ดังนั้นชนชั้นปกครองสามารถสร้างภาพลวงตา กลับหัวกลับหาง เรื่องอำนาจแท้ในสังคมไทยได้ เพื่อไม่ให้คนเห็นว่าอำนาจจริงอยู่ที่ทหารและนักธุรกิจ และภาพลวงตานี้ผลิตซ้ำด้วยกฏหมายเผด็จการ 112 ที่ปิดปากเราด้วย ซึ่งเป็นการซ้ำเติมความกลัวเพื่อทำลายความมั่นใจของเราอีก

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) คือแปลกแยกจากความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของเราทุกคน และแปลกแยกจากความจริง

แต่ ลูคักส์ เสนอว่าต่อว่าเมื่อเรารวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อออกมาต่อสู้กับเผด็จการ ความกล้าในการคิดเองและวิเคราะห์โลกเองก็จะเกิดขึ้น และเราจะเลิกเชื่อนิยายงมงายของชนชั้นปกครอง เราเริ่มเห็นสิ่งนี้หลังจากที่มีการประท้วงที่นำโดยคนหนุ่มสาวในหกเดือนที่ผ่านมา แต่พวกเราต้องเดินทางให้สุดทาง คือเปิดตาในเรื่องนิยายภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์

การเดินให้สุดทางในแง่ความคิดเป็นเรื่องสำคัญในรูปธรรม เพราะมันจะทำให้เราชัดเจนว่าศัตรูหลักของเราตอนนี้คือเผด็จการทหาร กษัตริย์เพียงแต่เป็นศัตรูของเราในลักษณะความคิด ทหารเป็นศัตรูหลักเพราะคุมอำนาจรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

การเปลี่ยนแปลงจากศักดินาสู่ทุนนิยมในไทย https://bit.ly/2ry7BvZ

อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj

บทบาทแท้ของนายภูมิพล และสถาบันกษัตริย์ไทย นิยายและความจริง https://bit.ly/2BLf2Gy

ไทยควรเป็นสาธารณรัฐ https://bit.ly/30Ma32f

คลังบทความแนวสังคมนิยมว่าด้วยการเมืองยุคปัจจุบัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

เชิญอ่านและใช้คลังบทความของผม ที่ใช้แนวสังคมนิยมมาร์คซิสต์วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในโลกสมัยใหม่

200 ปีหลังยุคของคาร์ล มาร์คซ์ แนวคิดมาร์คซิสต์เป็นสิ่งที่ไม่เคยตาย และไม่ใช่เรื่องของการท่องหนังสือของมาร์คซ์จากอดีต

นักมาร์คซิสต์สมัยใหม่จะต้องสนใจปัญหาภาพรวมทั่วโลกในลักษณะหลากหลาย และยิ่งกว่านั้นนักมาร์คซิสต์เป็นผู้ผสมทฤษฏีกับการปฏิบัติเสมอ ทั้งนี้เพื่อเข้าใจและเปลี่ยนแปลงโลกอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักมาร์คซิสต์จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยมและการต่อสู้ประจำวันอย่างต่อเนื่อง

ลาตินอเมริกา https://bit.ly/2DlwMsp

 

สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

 

ความคิดมาร์คซิสต์ในโลกสมัยใหม่

200ปี คาร์ล มาร์คซ์ https://bit.ly/2xJqMnn      

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย https://bit.ly/2BYxAyd

ว่าด้วยทุน https://bit.ly/2iWRQtY

วิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf

ทฤษฏีมูลค่าแรงงาน https://bit.ly/2zozGbS

การเมืองไทย https://bit.ly/2t6CapR

สังคมนิยมในทัศนะของมาร์คซ์ https://bit.ly/2zoAiy5

 

การกดขี่ทางเพศ https://bit.ly/2QQr5VX

รัฐสวัสดิการ https://bit.ly/2rOzlLy

การศึกษา https://bit.ly/2I9u7ki

ปาตานี https://bit.ly/2b5aCYI

 

เพิ่มเติม

Trotsky https://bit.ly/2zCPB5h

Rosa https://bit.ly/2DtwQWo

 

marx-virsam

อุปสรรคในการขยายตัวของจีน

[ท่านใดที่อ่านผ่าน Facebook อาจอ่านได้ง่ายขึ้นถ้าเข้าไปอ่านในบล็อก ]

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในอัตราเฉลี่ยปีละ 10% ทำให้จีนกลายเป็นประเทศส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเศรษฐิจจีนโตเป็นอันดับสองของโลก แต่การขยายตัวดังกล่าวไม่ได้เกิดจากพลวัตของกลไกตลาดเสรีอย่างที่ทฤษฏีเสรีนิยมมักจะทำนาย แต่มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐต่างหาก ทั้งในส่วนของรัฐวิสาหกิจและนโยบายของรัฐที่ควบคุมและกำกับธุรกิจเอกชน

135591304_14710448465461n

ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤต 2008-9 33% มาจากการขยายตัวของจีน และตั้งแต่ปี 1978 จำนวนกรรมาชีพจีนก็เพิ่มขึ้น 5 แสนล้านคน ซึ่งชนชั้นนี้มีพลังซ่อนเร้นที่จะท้าทายเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์

ในแผนเศรษฐกิจ “สร้างในจีน 2025” มีการพยายามพัฒนาเทคโนโลจีสมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดึงนักวิทยาศาสตร์ชั้นดีจากทั่วโลก เมื่อสิบปีก่อนจีนไม่มีรถไฟความเร็วสูง แต่ตอนนี้มีเส้นทางรถไฟสำหรับรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดในโลก แต่รัฐบาลสหรัฐกำลังพยายามสร้างอุสรรคกับการพัฒนาเทคโนโลจีของจีน โดยห้ามไม่ให้บริษัทอเมริการร่วมมือด้วย

1017225341

ทุนนิยมจีนไม่สามารถหลุดพ้นจากข้อจำกัดและปัญหาของระบบทุนนิยมอย่างที่คาร์ล มาร์คซ์เคยอธิบายในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” กลุ่มทุนรัฐของจีนต้องแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดทั่วโลก ซึ่งแปลว่าต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้นำจีนได้จัดการให้มีการลงทุนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ ถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกอัตราการลงทุนเท่ากับเพียง 20% ของผลผลิต แต่การลงทุนที่ขยายตัวเรื่อยๆ มีผลในการเพิ่มการลงทุนในเครื่องจักรในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในการจ้างงาน และเนื่องจากกำไรมาจากการจ้างงาน ผลคืออัตรากำไรต่อการลงทุนมีแนวโน้มจะลงลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ทำให้จีนเสี่ยงกับวิกฤตเศรษฐกิจ ในหลายส่วนของเศรษฐกิจจีน เช่นในการพัฒนาสาธารณูปโภคหรือการขนส่ง ประสิทธิภาพในการผลิตและผลกำไรจะต่ำ รัฐวิสาหกิจจีนได้รับ 33% ของการลงทุนทั้งหมด แต่มีส่วนในการผลิตแค่ 10% ของมูลค่าทั้งหมดของชาติ

รัฐวิสาหกิจยังมีความสำคัญสำหรับรัฐบาลในการเป็นฐานเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์ในหมู่ผู้บริหาร และในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและการขนส่ง ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจมีความสำคัญในการรักษาไม่ให้คนงานตกงานในภูมิภาคที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอีกด้วย

กลุ่มทุนใหญ่ของจีนส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งนับเป็น 80% ของมูลค่าทั้งหมดในตลาดหุ้น และภายใต้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง บริษัทเอกชน IT ขนาดใหญ่ เช่น Tencent กับ Ali Baba ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ และถูกบังคับให้ลงทุนในรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้กิจกรรม “กึ่งธนาคาร” หรือ “ธนาคารเงา” ของบริษัทเอกชนถูกควบคุม เพื่อไม่ให้ระบบธนาคารล้มเหลวและเพื่อพยายามลดปริมาณทุนจีนที่ไหลออกนอกประเทศ ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามชักชวนให้ทุนเอกชนลงทุนในระบบขนส่งระหว่างจีนกับตลาดในทวีปต่างๆ ของโลกอีกด้วย

แต่เนื่องจากอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์มีลักษณะกระจายสู่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น ประสิทธิภาพของรัฐบาลกลางจึงมีข้อจำกัด

ระบบธนาคารของจีนมีปัญหาเรื้อรัง และการที่รัฐบาลจีนใช้การลงทุนของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโลก 2008-9 สร้างความเสี่ยงสำหรับอนาคต เพราะระดับหนี้ของกลุ่มทุนจีนสูงมาก คืออยู่ในระดับ 160% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในระบบไฟแนนส์ระดับหนี้สูงกว่านี้อีก และประมาณหนึ่งในสามของหนี้ เป็นหนี้เสีย ปรากฏการณ์ฟองสบู่กำลังเกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

ชนชั้นปกครองจีนต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่มาตรการที่เขาใช้มาในอดีตทำให้อัตราหนี้พุ่งสูง และการเพิ่มเงินกู้เพื่อการลงทุนมีผลในการขยายการผลิตและเพิ่มกำไรน้อยลงทุกวัน นอกจากนี้เสถียรภาพของเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ที่ครองประเทศมานานเป็นแหล่งเพาะโรคระบาดแห่งการคอร์รับชั่น ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถกำจัดได้ทั้งๆ ที่ประกาศเป็นนโยบายสำคัญ

ในขณะเดียวกันแหล่งแรงงานราคาถูกในชนบทเริ่มหายไปเนื่องจากถูกดึงเข้าไปในเมืองหมดแล้ว ในสถานการณ์การขาดแรงงาน ชนชั้นกรรมาชีพเริ่มเข้าใจอำนาจต่อรองของตนเองที่เพิ่มขึ้น เราเห็นการนัดหยุดงานเพื่มขึ้นในอตสาหกรรมรถยนต์ และล่าสุดครู กับ คนขับรถบรรทุกทั่วประเทศก็มีการประท้วงหยุดงาน

22889682_1502271242.6035

นอกจากปัญหาเศรษฐกิจภายในแล้ว “สงครามการค้า” และความตึงเครียดทางทหาร ระหว่างจีนกับสหรัฐ ก็เพิ่มความเสี่ยง

ถ้าในอนาคตพรรคคอมมิวนิสต์ไม่สามารถจะประกันฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประชาชน การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอาจระเบิดขึ้นอีก เพราะข้อตกลงกับประชาชนในรูปแบบ “การแลกสภาพไร้ประชาธิปไตยกับการพัฒนาประเทศ” กำลังจะถูกท้าทาย นี่คือสาเหตุที่เราเห็นรัฐบาลพยายามใช้มาตรการเผด็จการมากขึ้น โดยเฉพาะในสื่อและภายในพรรค

[บทความนี้อาศัยเนื้อหาจากบทความของ Adrian Budd ในวารสาร Socialist Review]

200ปี คาร์ล มาร์คซ์

มาร์คซ์เสียชีวิตและถูกฝังที่ลอนดอนในปี 1883 ในงานศพของมาร์คซ์มีคนมาร่วมแค่สิบกว่าคน แต่ในไม่ช้าความคิดของเขากลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะขับเคลื่อนคนเป็นล้านๆ ทั่วโลก ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกมนุษย์ อย่างไรก็ตามในเวลาที่ผ่านมามีหลายคนที่พยายามฝังมาร์คซ์อีกรอบ โดยอ้างว่าความคิดเขาหมดยุค และสังคมต่างๆ “ข้ามพ้น” ประเด็นชนชั้นไปแล้ว ในไทยคนที่พูดแบบนี้ยังมีอยู่ เช่น อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล เวลาพูดถึงพรรคอนาคตใหม่ หรือคนที่เป็นอดีตนักเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้วมาเปลี่ยนจุดยืนหลังการล่มสลายของพรรค

marx200-motiv

พอเรามาถึงปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ200ปีแห่งการเกิดของมาร์คซ์ สื่อกระแสหลักถูกบังคับให้หันมาสนใจชีวิตและงานของเขา เพราะพลเมืองในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ได้หันมาศึกษาแนวความคิดมาร์คซิสต์อีกครั้ง สาเหตุใหญ่คือความล้มเหลวของแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาดท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจหลายรอบ ความเสื่อมศรัทธาในพรรคการเมืองกระแสหลัก สงครามที่ก่อตัวเป็นประจำ และการขยายตัวของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย สรุปแล้วระบบทุนนิยมไม่ได้แก้ปัญหาของมนุษย์แต่อย่างใด

ในวัยหนุ่มที่เยอรมัน มาร์คซ์เป็นแค่นักประชาธิปไตยธรรมดา แต่ในไม่ช้าเขาเริ่มเข้าใจว่าการปฏิวัติอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลกอย่างถอนรากถอนโคนพอที่จะปลดแอกมวลมนุษย์ มันเป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนผู้กดขี่จากชนชั้นหนึ่งไปสู่ชนชั้นใหม่คือนายทุน มาร์คซ์สรุปว่าถ้าจะปลดแอกมนุษย์อย่างจริงจัง ต้องมีการเปลี่ยนสภาพทางวัตถุในชีวิตประจำวันของทุกคน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับเศรษฐศาสตร์การเมือง เขาจึงใช้เวลาในการศึกษานักเศรษฐศาสตร์การเมืองเด่นๆ อย่างเช่นอดัม สมิท และเดวิด ริคาร์โด ผลงานอันยิ่งใหญ่ของมาร์คซ์คือหนังสือ “ว่าด้วยทุน” ที่อธิบายหัวใจของระบบทุนนิยมเพื่อที่จะหาทางโค่นล้มมัน และสร้างสังคมใหม่ที่เน้นความสมานฉันท์และการร่วมมือกันแทนการแย่งชิงแข่งขันและขูดรีด (ดูรายละเอียดหนังสือ “ว่าด้วยทุน”ที่นี่ https://bit.ly/2iWRQtY )

มาร์คซ์เข้าใจดีว่าระบบทุนนิยมมีพลังมหาศาลในการพัฒนาระบบการผลิต และเขาเขียนเรื่องนี้ใน “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (ดู https://bit.ly/2ItmKqm ) แต่ในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” มาร์คซ์อธิบายกลไกภายในของระบบทุนนิยมที่ทำให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มด้วยบทที่กล่าวถึงการผลิต “สินค้า” แต่แทนที่จะคล้อยตามพวกนักเศรษฐศาสตร์การเมืองกระแสหลัก ที่หลงเชื่อว่าสินค้าและการแลกเปลี่ยนในตลาดสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ มาร์คซ์อธิบายว่าทุนนิยมเป็นสังคมที่ไร้เสรีภาพและเต็มไปด้วยการขูดรีด

ในระบบทุนนิยมปัจจัยการผลิตต่างๆ อยู่ในมือของบริษัทต่างๆ ซึ่งเอาตัวรอดได้ถ้ามีการขายผลผลิต กลไกของระบบถูกผลักดันโดยการแข่งขันระหว่างบริษัทต่างๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ในการแข่งขันดังกล่าวการแสวงหาและขยายกำไรเป็นเรื่องชี้ขาด มาร์คซ์ใช้และพัฒนาทฤษฏีของ สมิท กับ ริคาร์โด เพื่อชี้ให้เห็นว่ากำไรดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทำงานของกรรมาชีพธรรมดา แต่มูลค่าของกำไรนี้ถูกนายทุนขโมยไปจากกรรมาชีพ และกลไกของทุนนิยมช่วยปกปิดการขโมยหรือการขูดรีดจากสายตาของมนุษย์ กรรมาชีพคนงานอาจดูผิวเผินว่าเป็นแรงงาน “เสรี” ต่างจากทาสในสมัยก่อน แต่ในความเป็นจริงพลเมืองส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกในการเลี้ยงชีพนอกจากการยอมจำนนต่อการขูดรีดของนายทุน สภาพเช่นนี้มาจากการที่พวกเรามีแต่ความสามารถในการทำงานเท่านั้น ที่เราจะไปแลกกับปัจจัยในการเลี้ยงชีพ

ในระยะแรกๆ ของระบบทุนนิยมในตะวันตก มาร์คซ์อธิบายว่าแรงงานถูกผลักออกจากที่ดินด้วยความรุนแรง เพื่อบังคับให้เป็นคนงานในโรงงานต่างๆ แต่ในกรณีทุนนิยมที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลกหลังจากนั้น เช่นในไทย เราจะเห็นได้ว่าแรงงานถูกดึงเข้าเมืองเพราะไม่สามารถเลี้ยงชีพจากที่ดินได้ ผลที่ได้มาไม่ต่างกันนัก

ถ้าบริษัททุนจะเอาตัวรอดได้ ระบบการแข่งขันบังคับให้กลุ่มทุนต้องขูดรีดลูกจ้าง สะสมทุนที่มาจากกำไรที่ลูกจ้างสร้าง และนำทุนดังกล่าวไปลงทุนต่อ ปรากฏการณ์นี้ทำให้ทุนนิยมขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะมีการลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้นทุกวันแทนการขยายการจ้างงานในอัตราเดียวกัน การลงทุนแบบนี้มีผลทำให้อัตรากำไรลดลง อัตรากำไรคือกำไรเมื่อเทียบกับสัดส่วนปริมาณการลงทุนทั้งหมด (ดู https://bit.ly/2HZwn0y )

ในรายการที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ คุยกับแรงงาน เขาอธิบายว่าบริษัทกลุ่มทุน “ต้อง” สร้างกำไรก่อนที่จะขึ้นค่าจ้างได้ แต่เขาไม่อธิบายว่ากำไรดังกล่าวมาจากการทำงานของลูกจ้างแต่แรก ไม่ได้มาจากการกระทำของเจ้าของบริษัทแต่อย่างใด และการที่เขายอมรับ “ความศักดิ์สิทธิ์” ของกระบวนการสร้างกำไร แสดงว่าธนาธรยอมรับว่าต้องมีการขูดรีดแรงงาน แรงงานไม่มีวันที่จะมีเสรีภาพได้ และวิกฤตเศรษฐกิจกับความเหลื่อมล้ำย่อมมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง อันนี้เป็นมุมมองสามัญของคนที่ไม่ใช่นักสังคมนิยม

มาร์คซ์อธิบายการทำงานของระบบทุนนิยมเพื่อให้พวกเราสามารถล้มมันได้ในที่สุด เขาอธิบายว่านายทุนดึงคนงานเข้ามาทำงานในสถานประกอบการ โดยที่แต่ละคนต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนร่วมงานในการทำงาน มันไม่ใช่กิจกรรมของปัจเจก สิ่งนี้ทำให้กรรมาชีพมีพลังซ่อนเร้นในการต่อสู้กับนายทุนถ้ารวมตัวกันและสามัคคีได้ ยิ่งกว่านั้น การทำงานร่วมกัน และการใช้พลังจากความสามัคคี เป็นหน่ออ่อนของสังคมใหม่ได้ มันเป็นรากฐานของระบบสังคมนิยมที่คนธรรมดาควบคุมการผลิตและจัดการให้กิจกรรมต่างๆ ในสังคมกระทำไปเพื่อตอบสนองความต้องการแท้ของมนุษย์ แทนที่จะทำไปเพื่อการแข่งขันระหว่างกลุ่มทุนและการขูดรีด

สังคมนิยมของมาร์คซ์ เป็นระบบประชาธิปไตยเต็มตัว ต่างโดยสิ้นเชิงจากระบบเผด็จการ “สตาลิน-เหมา” ที่เคยมีในรัสเซียและยังมีในจีน และต่างโดยสิ้นเชิงจากระบบประชาธิปไตยครึ่งใบที่พบในประเทศทุนนิยมตะวันตกรวมถึงประเทศที่มีรัฐสวัสดิการด้วย (ดู https://bit.ly/2IaUXrh )

มาร์คซ์เขียนเสมอว่า “การปลดแอกมนุษย์ต้องเป็นการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพเอง” แต่ถ้าจะมีพลังพอที่จะยึดอำนาจมาเป็นของคนส่วนใหญ่ได้ กรรมาชีพจะต้องสามัคคีข้ามเชื้อชาติ สีผิว หรือเพศ และที่สำคัญพอๆ กันคือต้องมีการจัดตั้งทางการเมืองในรูปแบบพรรคปฏิวัติ

[บทความนี้อาศัยเนื้อหาจากบทความของ Alex Callinicos ในหนังสือพิมพ์ Socialist Worker]

สังคมนิยมในทัศนะของ คาร์ล มาร์คซ์

ใจ อึ๊งภากรณ์

หลายคนชอบบ่นว่า คาร์ล มาร์คซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน “บิดาของลัทธิสังคมนิยม” มักจะไม่กำหนดอย่างชัดเจนว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จะมีหน้าตาแบบไหน ในด้านหนึ่งก็เพราะเขาและชาวมาร์คซิสต์ที่ตามหลังเขา จะมองว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของคนทำงานธรรมดา ต้องร่วมกันกำหนดว่ามนุษย์จะอยู่กันอย่างไร โดยคนรากหญ้าเอง จากล่างสู่บน ไม่ใช่ว่าจะมีผู้ใหญ่ที่ไหนออกแบบมาล่วงหน้า

capital-inter

แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนที่เคยอ่านงานเขียนของ คาร์ล มาร์ซ์ เช่นหนังสือ “ว่าด้วยทุน” จะพบว่าเขาเขียนถึงระบบสังคมนิยมในหลายจุด ดังนั้นจะขอเสนอตัวอย่างคำเขียนของ มาร์คซ์ ในเรื่องนี้มาให้ท่านอ่านโดยตรง….

“ความขัดแย้งทวีคูณจนระเบิดออกมา ผู้ที่เคยยึดทรัพย์ประชาชน จะถูกยึดทรัพย์เอง <การปฏิเสธสิ่งที่ปฏิเสธนั้นเอง> จะเกิดจากการร่วมมือกันและการเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินและปัจจัยการผลิตทั้งหมดโดยชนชั้นกรรมาชีพ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยมในอดีตเคยใช้เวลานาน และมีความรุนแรงโหดร้าย เพราะเป็นการปล้นคนส่วนใหญ่โดยคนส่วนน้อย แต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยม จะเป็นการปล้นคืนจากโจรที่เป็นคนส่วนน้อย โดยคนส่วนใหญ่”

สังคมนิยมเป็นระบบที่เน้นการร่วมมือสมานฉันท์กัน จะต้องมาจากการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมโดยคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่กลุ่มคนเล็กๆ ที่ทำแทนมวลชน และการปฏิวัติดังกล่าวโดยคนส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องใช้ความโหดร้ายป่าเถื่อนเหมือนที่พวกนายทุนหรือพวกศักดินาก่อนหน้านั้นเคยใช้ในการปล้น วิถีชีวิต และอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองจากคนธรรมดา ในประโยคนี้มาร์คซ์ใช้แนวคิด “วิภาษวิธี” ที่เสนอว่าทุกสังคมมีความขัดแย้ง ซึ่งเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลง และในที่สุดสภาพเดิมที่เคยเกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งก่อนหน้านั้น จะถูกปฏิเสธอีกรอบโดยความขัดแย้งรอบใหม่

การยกเลิกทุนนิยมจะทำให้ลดชั่วโมงการทำงานให้ใกล้เคียงที่สุดกับปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพ และส่วนเกินที่เราผลิตจะนำมาใช้โดยคนในสังคมร่วมกัน เพื่อลงทุนต่อและพัฒนาสังคม ดังนั้นจะมีการเพิ่มเวลาสำหรับกิจกรรมทางสังคมและการพัฒนาปัญญาของกรรมาชีพอย่างเสรี”

เสรีภาพที่จะเลี้ยงชีพตามความต้องการในสิ่งจำเป็น ย่อมเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีระบบการผลิตแบบรวมหมู่ที่มนุษย์ทุกคนมีอำนาจร่วมกันที่จะกำหนดกิจกรรมต่างๆ และกำหนดความสัมพันธ์กับโลกธรรมชาติด้วยเหตุผล แทนที่มนุษย์จะตกเป็นทาสของระบบการผลิต ระบบการผลิตแบบใหม่ที่จะเกิด ย่อมสอดคล้องที่สุดกับธรรมชาติมนุษย์ และย่อมประหยัดพลังการทำงานให้มากที่สุด แต่นั้นยังอยู่ในขอบเขตความจำเป็น เสรีภาพของมนุษย์ที่แท้จริง จะเริ่มตรงจุดที่แรงงานจำเป็นสำหรับการเลี้ยงชีพจบลง มันเป็นจุดที่เกินเลยจุดแห่งการผลิตวัตถุ เรากำลังพูดถึงเสรีภาพแท้ในกิจกรรมของมนุษย์หลังจากที่เราได้สิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงชีพ อนาคตแห่งเสรีภาพแท้จริงคือการพัฒนาพลังและความสามารถของมนุษย์ เพื่อตัวเราเอง”

download

มาร์คซ์ วาดภาพว่าในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน และการวางแผนดังกล่าวจะสะท้อนการมีประชาธิปไตยในเรื่องเศรษฐกิจ และจะทำให้เราอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติได้อีกด้วย ยิ่งกว่านั้นสังคมนิยมไม่ใช่แค่เรื่องความพอเพียง แต่เป็นวิธีที่มนุษย์จะมีเวลาเสรีสำหรับการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ ตามใจชอบ พูดง่ายๆ สังคมนิยมในทัศนะของ คาร์ล มาร์คซ์ คือเสรีภาพและประชาธิปไตยที่แท้จริง และสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์มากกว่าระบบทุนนิยม

woman-591576_960_720

มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ที่หลากหลายของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน

ตรงนี้ มาร์คซ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ ระบบเศรษฐกิจ และความรู้สึกจิตวิญญาณของมนุษย์ ที่รักเสรีภาพและต้องการพัฒนาตนเองทางปัญญาโดยไม่มีขอบเขตจำกัด

พอถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านน่าจะเข้าใจดีว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ที่นักมาร์คซิสต์แสวงหา ตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับเผด็จการ สตาลิน-เหมา ที่ใช้ “ทุนนิยมโดยรัฐ” ซึ่งเคยดำรงอยู่ในรัสเซียและจีนสมัยที่ผู้นำประเทศเหล่านั้นโกหกว่าปกครองโดยระบบ “สังคมนิยม”

และที่สำคัญที่สุดคือ เป้าหมายแห่งเสรีภาพสำหรับมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ ยิ่งใหญ่และงดงามกว่าสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้เผด็จการอนุรักษ์นิยมปัจจุบันของไทย เผด็จการที่ครอบเราอยู่ตอนนี้มองว่าเราต้องก้มหัวคลานต่อผู้ใหญ่ในสังคม ทำตามคำสั่งของพวกกาฝาก และพึงพอใจกับชีวิตถ้ามีแค่อาหารการกินพอเพียง นั้นคือสภาพที่ไร้ความเป็นมนุษย์อย่างชัดเจน

“ว่าด้วยทุน” ของคาร์ล มาร์คซ์ กับฝ่ายซ้ายไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทั้งๆ ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อเกือบ 90 ปีก่อนหน้านี้ แต่ตลอดเวลาที่พรรคมีบทบาทสำคัญในการนำการต่อสู้กับเผด็จการ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ หนังสือสำคัญของ คาร์ล มาร์คซ์ ที่วิเคราะห์ระบบทุนนิยมอย่างละเอียด ไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยจนถึงปี ๒๕๔๒ หลังจากที่ พคท. ล่มสลายไปสิบกว่าปี

สาเหตุสำคัญที่อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ ตลอดเวลาที่ พคท. ยังดำรงอยู่ พรรคใช้แนว “สตาลิน-เหมา” ที่ตรงข้ามกับทฤษฏีมาร์คซิสต์ และในขณะที่พวกแนว “สตาลิน” ใช้ศัพท์ของฝ่ายซ้ายมาร์คซิสต์อย่างต่อเนื่อง แต่เนื้อหาและความหมายของคำพูดและคำเขียนของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ตั้งแต่ยุคสตาลิน กลับหัวหลับหางกับความหมายตามทฤษฏีมาร์คซิสต์

“สังคมนิยม” หรือ ระบบ “คอมมิวนิสติ์” ในความหมายมาร์คซิสต์คือระบบที่มาจากการปลดแอกตนเองของชนชั้นกรรมาชีพ ในระบบนี้การแบ่งแยกทางชนชั้นจะหายไป รัฐจะสลายไป และแม้แต่การปกครองก็หายไป ทั้งนี้เพราะกรรมาชีพทุกคนในสังคมจะร่วมกันกำหนดอนาคตในทุกแง่ และจะร่วมกันกำหนดว่าเราต้องผลิตอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ระบบของนายทุน การกดขี่ขูดรีด และการแสวงหากำไรจะสิ้นสุดลง อย่าลืมว่าระบบทุนนิยม และแม้แต่การแบ่งแยกทางชนชั้น ไม่ได้มีมาตลอดเวลาที่มนุษย์อยู่บนโลกจากอดีตถึงปัจจุบัน

แต่สตาลินทำในสิ่งตรงข้าม หลังจากที่เขายึดอำนาจในทศวรรษ1930 และทำลายการปฏิวัติปี 1917 ของพรรคบอลเชวิค และหลังจากที่เขาเข่นฆ่าผู้นำบอลเชวิคทั้งหมด สตาลินก็หันมาสร้างระบบเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์เหนือชนชั้นกรรมาชีพ รัฐถูกทำให้เข้มแข็งขึ้น ระบบทุนนิยมถูกนำมาใช้ในรูปแบบ “ทุนนิยมรวมศูนย์โดยรัฐ” และกรรมาชีพรัสเซียถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินอย่างโหดร้าย เพื่อผลิตอาวุธแข่งกับตะวันตก

eac06f701dc8810152d86a9d327877d2

ในรัสเซีย และประเทศต่างๆ ของยุโรปตะวันออก การอ่านและเข้าใจหนังสือ “ว่าด้วยทุน” โดยกรรมาชีพธรรมดาจะเป็นเรื่องอันตรายในสายตาชนชั้นปกครอง เพราะกรรมชีพจะเข้าใจว่าตนถูกขูดรีดในระบบชนชั้น ไม่ต่างจากกรรมาชีพในทุนนิยมของตะวันตกเลย

เหมาเจ๋อตุง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ สตาลิน เมื่อเดินหน้ายึดอำนาจทางการเมืองในจีน ก็ยิ่งเสริมการบิดเบือนแนวคิดมาร์คซิสต์เพิ่มขึ้น โดยเสนอว่ากรรมาชีพไม่ใช่พลังหลักในการสร้างสังคมนิยม เหมา เสนอว่าชัยชนะของพรรคจะต้องมาจากกองทัพชาวนาที่นำโดยปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์ ยิ่งกว่านั้น เหมา อธิบายว่าขั้นตอนแรกของการต่อสู้จะต้องเป็นการสถาปนารัฐชาติในระบบทุนนิยมโดยรัฐ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นขั้นตอน “ประชาชาติประชาธิปไตย” ทั้งๆ ที่เป็นเผด็จการแท้ๆ  ส่วนสังคมนิยมเป็นเรื่องของอนาคตอันห่างไกล

ในไทย พคท. ลอกแบบแนวคิดของเหมามาหมด และสร้างนิยายว่าไทยเป็นกึ่งเมืองขึ้นของสหรัฐและกึ่งศักดินาของชนชั้นปกครองไทย ดังนั้น พคท. เน้นการ “ปลดแอกประเทศ” และการสร้าง “ประชาชาติประชาธิปไตย” ผ่านการสามัคคีระหว่างทุกชนชั้น รวมถึงการสามัคคีชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งๆ ที่สองชนชั้นนี้เป็นศัตรูกัน ในความเป็นจริงไทยเป็นทุนนิยมมาตั้งแต่การปฏิวัติล้มระบบศักดินาของรัชกาลที่ ๕ และไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐแต่อย่างใด อำนาจของสหรัฐในภูมิภาคนี้มีลักษณะของ “จักรวรรดินิยม” ซึ่งดำรงอยู่ในระบบโลกจนถึงปัจจุบัน แต่มันไม่ใช่อำนาจของประเทศที่ล่าอาณานิคมแบบที่อังกฤษหรือฝรั่งเศสเคยทำ

แนวคิดชาตินิยมล้วนๆ ของ พคท. แปลว่าการศึกษาการต่อสู้ทางชนชั้น การขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน หรือการเข้าใจธาตุแท้ของระบบทุนนิยม เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับแนวทางของพรรค ดังนั้นแกนนำของพรรคไม่ต้องการให้ใครแปลหนังสือ “ว่าด้วยทุน” เป็นภาษาไทย

ยิ่งกว่านั้นแนวคิด “เหมา” ของ พคท. มีลักษณะที่ต่อต้านการเป็นปัญญาชน ไม่เหมือนกับแนวมาร์คซิสต์ที่สนับสนุนให้กรรมาชีพพัฒนาตนเองเป็น “ปัญญาชนอินทรีย์” ตามที่ กรัมชี เคยพูดถึง ในค่ายป่าของ พคท. สหายต่างๆ มีโอกาสอ่านแต่สรรนิพนธ์ของ “ประธานเหมา”

cpt2

ซัง ตะวันออก อดีตนักศึกษาที่เข้าป่า เล่าว่า “หนังสือในห้องสมุดมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นบทแปล และหนังสือภาพ (ไชน่าพิคทอเรียล-แปลอังกฤษเป็นไทยเฉพาะคำบรรยาย) หนังสือการ์ตูนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เช่น “ปู่โง่ย้ายภูเขา” “ศึกษาแบบอย่างหมอเบธูน” “ศึกษาจิตใจจางซือเต๋อ” “วีรสตรีหลิวหูหลาน” ฯลฯ หนังสือทฤษฎีลัทธิมาร์คซ์แทบจะไม่มีเลย อย่าง “ว่าด้วยทุน” “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์”  หรือ “การสร้างพรรคกรรมาชีพของเลนิน” ซึ่งถ้าใครไม่เคยอ่านก่อนเข้าป่าช่วงที่มีหนังสือแนวซ้ายพิมพ์ออกมาหลัง ๑๔ ตุลา ก็อย่าหวังว่าจะได้อ่านอีกเลย” (หนังสือ “การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมาร์คซ์” ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ ๒๕๔๓ สำนักพิมพ์ป.ร. บทที่ 8)

วันวา วันวิไล ในหนังสือ “ตะวันตกที่ตะนาวศรี” (www.2519.net) เล่าว่า “ห้องสมุดเป็นเพียงเพิงเล็กๆ … ส่วนมากเป็นสรรนิพนธ์ เหมาเจ๋อตุง …. ด้วยเหตุนี้พวกเราทุกคนจึงมีปัญญาเล็กๆ …รู้แต่เรื่องปฏิวัติ เรื่องอื่นไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การปกครอง กฏหมาย เรื่องราวของต่างประเทศ เศรษฐกิจ การศึกษา และสังคม”

อย่างไรก็ตาม ก่อนช่วง ๖ ตุลา ปัญญาชนไทยบางคน ที่ไม่ได้สังกัด พคท. ได้เคยอ่าน “ว่าด้วยทุน” จากฉบับภาษาอังกฤษ สุภา ศิริมานนท์ เป็นตัวอย่างที่ดี และเขาได้รับอิทธิพลจาก เจ. เอฟ. ฮัตเจส ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายจากอังกฤษ ที่อาจารย์ปรีดีเชิญมาสอนลัทธิมาร์คซ์และลัทธิเศรษฐศาสตร์การเมืองอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในการพูดถึงแนวมาร์คซิสต์ ฮัตเจสสัน มักจะวิจารณ์แนวเผด็จการของสตาลิน

สุภา ศิริมานนท์ ค้านพวกนักวิชาการที่อ้างอยู่เรื่อยว่าแนวมาร์คซิสต์ใช้ไม่ได้ในโลกสมัยใหม่ โดยการอธิบายว่าแนวมาร์คซิสต์มองสองด้านตลอด และมองในลักษณะที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นระบบการวิเคราะห์แบบมาร์คซิสต์สามารถปรับตัวให้ทันสมัยตลอดเวลา

หนังสือ “ว่าด้วยทุน” ของ คาร์ล มาร์คซ์ เป็นงานที่วิวัฒนาการตลอดชีวิตของมาร์คซ์ มันไม่เคยเป็นผลงานสำเร็จรูป เพราะ มาร์คซ์ ไม่เคยหยุดวิเคราะห์และเรียนรู้ และเขาเป็นคนที่จบอะไรไม่เป็น ปิดเล่มไม่ได้ เพราะมักจะสนใจประเด็นปลีกย่อยไปเรื่อยๆ และปรับปรุงงานเก่าอย่างต่อเนื่อง ลักษณะแบบนี้ของ มาร์คซ์ สร้างความเครียดให้กับ เองเกิลส์ เพื่อนรักและผู้ร่วมงานของเขาเป็นอย่างมาก เพราะเองเกิลส์รับหน้าที่ตีพิมพ์ผลงานของ มาร์คซ์

มาร์คซ์ มองว่าทุนนิยมเป็น “ความสัมพันธ์” ระหว่างมนุษย์ในชนชั้นต่างๆ ที่มีความแปลกแยกห่างเหินสองชนิดพร้อมกันคือ (1) ความแปลกแยกระหว่างกรรมาชีพผู้ทำงาน กับระบบการผลิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมของนายทุน และ(2) ความแปลกแยกระหว่างนายทุนแต่ละคนหรือหน่วยงาน ที่แข่งขันกันในตลาด

มาร์คซ์ ศึกษาระบบทุนนิยมเพื่อหาทางล้มทำลายมัน เป้าหมายหลักของมาร์คซ์ก็เพื่อให้กรรมาชีพสามารถสร้างสังคมนิยมได้ ดังนั้น “ว่าด้วยทุน” เป็นงานที่ผสมทฤษฏีกับการปฏิบัติเสมอ (ดู http://bit.ly/2fOSurV )

1366103357

คนไทยคนแรกที่แปล “ว่าด้วยทุน” ของคาร์ล มาร์กซ์  เป็นภาษาไทย คือ เมธี เอี่ยมวรา ในปี ๒๕๔๒ โดยเล่มหนึ่งและเล่มสองพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธีรทรรศน์ น่าเสียดายที่ เมธี เอี่ยมวรา ไม่ได้แปลเล่มที่สามของมาร์คซ์ อย่างไรก็ตามงานสองเล่มของ เมธี เอี่ยมวรา เปิดโอกาสให้นักเคลื่อนไหวและนักศึกษาสามารถเข้าถึง “ว่าด้วยทุน” มากขึ้น

ก่อนหน้านี้ นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายในขบวนการแรงงาน สามารถใช้หนังสือของ คาร์ล มาร์กซ์ ชื่อ “แรงงาน ค่าจ้าง และเงินทุน” (เช่นฉบับสำนักพิมพ์พรรคสัจจธรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี ๒๕๓๙) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ว่าด้วยทุน” หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้ถูกใช้เพื่อศึกษาทฤษฏีมูลค่าแรงงานและการขูดรีด

ในปี ๒๕๓๘ ผมได้ย่อและเรียบเรียงงาน “ว่าด้วยทุน” ทั้งสามเล่มของ คาร์ล มาร์คซ์ เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้สนใจเข้าใจงานนี้ดีขึ้น แต่งานนี้เรียกว่า “งานแปล” ไม่ได้เพราะเป็นฉบับย่อเพื่อการศึกษาเท่านั้น อ่านได้ที่นี่ http://bit.ly/129xlhF หรือ http://bit.ly/2fP0lFL

%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99-das-kapital1

พัฒนาการล่าสุดของการแปลหรือเรียบเรียง “ว่าด้วยทุน” เป็นภาษาไทย คืองานของ บุญศักดิ์ แสงระวี ซึ่งเรียบเรียงและย่อทั้งสามเล่มของ คาร์ล มาร์คซ์ ในปี ๒๕๕๙ (สำนักพิมพ์ชุมศิป์ธรรมดา) สามเล่มนี้อ่านง่ายกว่างานของ เมธี เอี่ยมวรา และคงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยกับ “ปัญญาชนอินทรีย์” ที่ยืนอยู่เคียงข้างคนจน

“รัฐ” กับกองกำลังติดอาวุธของชนชั้นปกครอง

ใจอึ๊งภากรณ์

ถ้าเราจะสร้างประชาธิปไตย และสร้างสังคมนิยมในไทย เราต้องโค่นระบบเก่าที่เป็นเผด็จการ ต้องจัดการกับกองทัพ และสถาบันกษัตริย์ที่เป็นเครื่องมือของกองทัพและส่วนอื่นของชนชั้นปกครอง แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง “รัฐ” กับ กองทัพ และเราต้องเข้าใจเนื้อแท้ของ “รัฐ”

ถ้าเราศึกษาหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติ” ของ เลนิน เราจะเข้าใจว่า ในทุกสังคมของทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร และไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรปตะวันตก หรือไทย มันมีชนชั้นปกครองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดำรงอยู่ ซึ่งดูเหมือนขัดกับรัฐธรรมนูญหรือหลักประชาธิปไตย ดังนั้นแค่การเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น หรือการเลือกพรรคสังคมนิยมเข้ามาคุมรัฐสภา จะไม่นำไปสู่สังคมใหม่แห่งเสรีภาพแต่อย่างใด

ในหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติ” เลนิน กล่าวถึงงานของ มาร์คซ์ และ เองเกิลส์ ซึ่งเป็นนักมาร์คซิสต์ “รุ่นครู”   ทั้งเลนิน และ เองเกิลส์ ชี้ให้เห็นว่า “รัฐ” มันมากกว่าแค่ “รัฐบาล” เพราะรัฐประกอบไปด้วย “อำนาจพิเศษสาธารณะ”

รัฐทุนนิยมมีไว้เพื่อกดขี่ชนชั้นกรรมาชีพและเกษตรกร โดยยึดผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนเป็นหลัก ตรงนี้เราไม่ควรสับสนว่า “ชนชั้นนายทุน” คือคนอย่างทักษิณหรือนักธุรกิจเท่านั้น เพราะในไทยชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นชนชั้นปกครองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ ประกอบไปด้วยนายทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง กษัตริย์ และนายทุนเอกชน เขาคือชนชั้นปกครอง และ “รัฐ” เป็นเครื่องมือของเขา ไม่ว่าเราจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่

สำหรับนักมาร์คซิสต์ เราเชื่อกันว่า “รัฐ” เป็นสิ่งที่เกิดมากับสังคมชนชั้น มันไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่ตกจากฟ้า รัฐเป็นเครื่องมือที่คนกลุ่มน้อยในสังคมปัจจุบันใช้เพื่อควบคุมคนส่วนมากที่ถูกปกครอง ในการสร้างสังคมนิยมอันเป็นประชาธิปไตยแท้ เราต้องปฏิวัติรัฐเก่าและสร้างรัฐใหม่ชั่วคราวขึ้นมา เพื่อเป็นอำนาจในการเปลี่ยนสังคม แต่เป้าหมายระยะยาวคือการยกเลิกรัฐไปเลย หรือที่ เลนิน เรียกว่า “การสิ้นสุดของการปกครอง” เพื่อให้มนุษย์ทุกคนกำหนดอนาคตตนเอง

“อำนาจพิเศษสาธารณะ” ของรัฐที่เราพูดถึง อาศัยวิธีควบคุมสังคมสองวิธีคือ

(๑) ใช้อำนาจดิบของความรุนแรง คืออาศัยกองกำลังและการปราบปราม ซึ่ง เองเกิลส์และเลนิน เรียกว่า “องค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ” นั้นคือ ทหาร ตำรวจ ศาล และคุก

(๒) การสร้างระเบียบและความชอบธรรมกับการปกครองของรัฐนายทุน ให้ผู้ถูกปกครองยอมรับอำนาจรัฐ และวิธีที่สำคัญคือการวางตัวของรัฐให้ห่างเหินแปลกแยกจากสังคม เพื่อให้ดูเหมือนว่า “ลอยอยู่เหนือสังคมและเป็นกลาง” ในขณะที่คุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ เพราะถ้ารัฐไม่สร้างภาพแบบนี้มาปิดบังความจริงที่รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองฝ่ายเดียว ประชาชนจะไม่ให้ความจงรักภัคดี การควบคุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ ทำผ่านการพยายามผูกขาดแนวคิดในโรงเรียน หรือผ่านศาสนา และสื่อ จนเราอาจไม่รู้ตัวว่าเราถูกควบคุมทางความคิด

ด้วยเหตุนี้เราจะต้องสู้กับรัฐด้วยสองวิธีหรือสองแนวรบเช่นกันคือ

(๑) การใช้ “กำลัง” ซึ่งกำลังหรืออำนาจที่เรามีและฝ่ายชนชั้นปกครองไม่มี คืออำนาจที่มาจากการรวมตัวกันของกรรมาชีพผู้ทำงานในสถานที่ทำงานชนิดต่างๆ ทั่วประเทศ เราต้องชุมนุมบนท้องถนนแน่นอน แต่เมื่อเขานำกองกำลังติดอาวุธมาปราบเรา เราต้องโต้ตอบด้วยการนัดหยุดงานทั่วไป

(๒) การปลุกระดมทางการเมือง เพื่อคานแนวคิดของชนชั้นปกครอง และเพื่อคานคนที่เสนอว่าเราต้องประนีประนอมกับสภาพสังคมปัจจุบันและอำนาจที่ปกครองเราอยู่ เราต้องทำสงครามความคิดอย่างถึงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราแค่เสนอให้ “ปฏิรูปกฎหมาย 112” แทนการยกเลิกกฎหมายนี้ไปเลย เราก็จะยังยอมจำนนต่อความคิดชนชั้นปกครอง และไม่ปลดแอกความคิดของเราเอง

ทั้งสองแนวรบนี้อาศัยการจัดตั้งมวลชนในพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย เราต้องเลือกสมรภูมิในการรบกับความรุนแรงของรัฐให้ดี ไม่ออกรบเวลาเราอ่อนแอและไม่พร้อม แต่เมื่อเราพร้อมแล้ว ก็ออกมาเผชิญหน้ากับรัฐบนท้องถนนและในสถานที่ทำงานอย่างเต็มที่ ถ้าไม่ประสานกัน และไม่เข้าใจธาตุแท้ของสังคม เราคงทำไม่ได้

ถ้าเราเข้าใจ “รัฐกับการปฏิวัติ” เราจะเข้าใจว่า “อำนาจพิเศษสาธารณะ” ซึ่งประกอบไปด้วย ทหาร ตำรวจ ศาล คุก ระบบราชการ รัฐบาล สถาบันกษัตริย์ และสถาบันต่างๆ ที่กล่อมเกลาความคิด มันต้องถูกโค่นแบบถอนรากถอนโคน เพื่อสร้างรัฐใหม่ของคนส่วนใหญ่ เราใช้รัฐเก่า หรือกองทัพและตำรวจเก่าเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ไม่ได้

แต่เมื่อพูดถึงกองกำลังติดอาวุธของชนชั้นปกครอง เราต้องเข้าใจด้วยว่ามันประกอบไปด้วยนายทหารชั้นล่าง ซึ่งเป็นคนธรรมดา ในสถานการณ์ปฏิวัติ ที่กระแสปฏิวัติมาแรงเพราะคนส่วนใหญ่ไม่พอใจที่จะอยู่ต่อแบบเดิม และชนชั้นปกครองอยู่ในสภาวะวิกฤต เราสามารถดึงทหารระดับล่างมาเข้าข้างเราได้ แต่นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากการดึง “นายพลก้าวหน้า” มาอยู่ข้างเรา ซึ่งเคยเป็นความฝันเปียกๆ ของแกนนำ นปช.

มาร์คซ์เคยอธิบายว่า การสร้างรัฐใหม่ต้องอาศัยการปฏิวัติรัฐเก่าในทุกแง่ เพราะองค์ประกอบของรัฐเก่านั้นมันไม่หายไปง่ายๆ มันเป็น “งูเหลือมที่รัดสังคมไว้อย่างแน่นแฟ้น” ต้องใช้ “ไม้กวาดแห่งการปฏิวัติ” ถึงจะแกะมันออกได้ และต้องสร้างรัฐใหม่กับองค์ประกอบใหม่ขึ้นมาแทน เช่นรัฐสภาคนทำงาน กองกำลังของประชาชน หรือผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นต้น ต้องรื้อกฎหมายเก่าๆ ทิ้งให้หมด และสร้างระเบียบใหม่ของสังคม โดยที่คนส่วนใหญ่ คนจน คนทำงานทุกคน ขึ้นมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน นั้นคือวิธีการสร้างสังคมนิยม ซึ่งเป็นประชาธิปไตยขั้นสูงสุด

ในช่วงที่เรายังปฏิวัติสังคมไม่ได้ การต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในทุกรูปแบบ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น มันเป็นการต่อสู้ประจำวันที่ให้สิทธิเสรีภาพมากขึ้น มันช่วยให้เรามีสหภาพแรงงานที่มีอำนาจต่อรอง มันช่วยให้เราประท้วงหรือเดินขบวนได้ และมันช่วยให้เรามีสื่อเสรีและสิทธิในการแสดงออก นอกจากนี้การต่อสู้เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตย เป็นการทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นในระยะสั้น ดังนั้นเป็นเรื่องดีและจำเป็น แต่ยิ่งกว่านั้น  อย่างที่ โรซา ลัคแซมเบอร์ค นักมาร์คซิสต์สตรีเคยอธิบาย…มันจะเป็นการฝึกฝนมวลชนให้พร้อมในการที่จะล้มชนชั้นปกครองและทำลายรัฐเก่าลงอย่างสิ้นเชิงในอนาคต