Tag Archives: จัดตั้ง

ไทย-พม่า ข้อแก้ตัวเหลวไหลของคนไทยบางคน

ข้อแก้ตัวว่าไทยมีกษัตริย์ที่คุมเผด็จการ จึงล้มเผด็จการยาก

เวลาเรามองเปรียบเทียบการต่อสู้กับเผด็จทหารระหว่างไทยกับพม่า เราจะพบว่าความเชื่อในนิยายว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์มีอำนาจล้นฟ้าและควบคุมเผด็จการประยุทธ์ กลายเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนตาบอด วิเคราะห์อะไรอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ได้ และที่แย่กว่านั้นกลายเป็นข้อแก้ตัวสำหรับบางคนที่จะไม่สู้กับเผด็จการไทย และไม่สนใจที่จะคิดถึงวิธีการจัดตั้งมวลชนในการต่อสู้ดังกล่าว

เราจึงได้ยินคนบางคนพูดว่าประชาชนพม่าสามารถสู้กับเผด็จการพม่าได้ง่ายกว่า “เพราะไม่มีกษัตริย์”

คำพูดนี้เหลวไหลที่สุด และดูถูกเพื่อนๆในพม่าอย่างถึงที่สุดด้วย เพราะเผด็จการพม่ามีประวัติในการปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยในลักษณะที่โหดร้ายยิ่งกว่าของไทย มีการยิงกระสุนใส่มวลชนมือเปล่าจนล้มตายเป็นพันๆ หลายครั้ง และมีการล้างเผ่าพันธุ์ในกรณีชาวโรฮิงญาอีกด้วย

ที่สำคัญคือฝ่ายประชาธิปไตยในพม่ามีการจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ เพื่อต่อสู้ต่อไปหลังจากที่มีการปราบปรามโดยทหาร

เรื่องอำนาจกษัตริย์ไทย เป็นเรื่องเท็จตั้งแต่แรก และที่แย่กว่านั้นมันเป็นนิยายที่ชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะทหาร พยายามใช้ในการหลอกและกล่อมเกลาให้คนไทยไม่กล้าสู้อย่างถึงที่สุด เราโชคดีที่บ่อยครั้งมวลชนไทยไม่เชื่อ

แต่ที่สำคัญคือ คนที่เสนอว่ากษัตริย์ไทยมีอำนาจเหนือทหาร ไม่ว่าจะเป็นักวิชาการหรือประชาชนธรรมดา กำลังช่วยทหารในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อความเท็จที่พยุงลัทธิกษัตริย์

และเป็นที่น่าเสียดายที่คนที่หมกมุ่นในเรื่องกษัตริย์และราชวงศ์ เช่นในเพจ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” มักจะไม่มีข้อเสนอใดๆ อย่างเป็นรูปธรรม ในการขยายการต่อสู้และเพิ่มอำนาจของการเคลื่อนไหว เพราะเขาดูเหมือนสดวกสบายที่จะแค่ซุบซิบ

สรุปแล้วแนวที่เน้นอำนาจกษัตริย์เป็นแนวที่ “เข้าทาง” เผด็จการทหารไทย

ในโลกแห่งความเป็นจริงความโหดร้ายของเผด็จการทหารไทยและพม่า ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการที่มีหรือไม่มีกษัตริย์

ข้อแตกต่างระหว่างเผด็จการไทยกับพม่าคือเผด็จการไทยใช้กษัตริย์เป็นหนึ่งในข้ออ้างเพื่อปราบฝ่ายตรงข้าม แต่เผด็จการทหารพม่าก็มีข้ออ้างเช่นกัน คือเรื่องความมั่นคงของชาติและศาสนา ซึ่งฝ่ายไทยก็ใช้ด้วย

คนไทยที่ยังไม่ตาสว่างเรื่องนี้ควรจะรีบออกจากกะลา เพื่อร่วมล้มเผด็จการประยุทธ์!!

ข้อแก้ตัวเพื่อไม่ลงมือจัดตั้งกรรมาชีพไทยให้ร่วมและเป็นหัวหอกในการต่อสู้กับเผด็จการไทย

หลายคนจะบ่นว่ากรรมาชีพไทย “จะเอาตัวรอดไม่ได้อยู่แล้ว จะหวังให้ออกมานัดหยุดงานได้อย่างไร?” หรือบางคนพูดว่า “ขบวนการแรงงานไทยอ่อนแอเกินไป” ที่จะเป็นหัวหอกในการต่อสู้

คำพุดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคำแก้ตัวของนักสหภาพแรงงานหรือนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่จะไม่จัดตั้งกรรมาชีพไทยในทางการเมือง ก็เลยสดวกสบายที่จะทำอะไรเดิมๆ เช่นการสอนให้คนงานแค่รู้จักกฏหมายแรงงานและรัฐสวัสดิการ แทนที่จะปลุกระดมทางการเมือง หรือบางคนอาจแค่พึงพอใจที่จะให้ “ผู้แทน” ของสหภาพแรงงานปราศรัยกับม็อบคนหนุ่มสาว โดยไม่สนใจที่จะมีการตั้งวงเพื่อร่วมกันคิดว่าจะสร้างกระแสนัดหยุดงานอย่างไร

ครูพม่า ภาพจาก Myanmar Now

แต่การออกมาต่อสู้ของกรรมาชีพพม่า ท้าทายแนวคิดอนุรักษ์นิยมต่อพลังกรรมาชีพของนักสหภาพแรงงานและนักเคลื่อนไหวไทย

พนักงานรถไฟ

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาในพม่ามีการออกมาประท้วงอย่างเป็นระบบของ พยาบาล หมอ ครู ข้าราชการ เจ้าหน้าทีธนาคารชาติ พนักงานรถไฟ และคนงานเหมืองแร่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการจัดตั้งกรรมาชีพกลุ่มต่างๆ และที่สำคัญคือนักเคลื่อนไหวพม่าเข้าใจเรื่องพลังที่มาจากการนัดหยุดงาน เข้าใจมาตั้งแต่การลุกฮือ 8-8-88 ด้วย

คนงานเหมืองแร่ ภาพจาก irrawaddy

เห็นแล้วน่าปลื้มที่สุด แต่ในขณะเดียวกันละอายใจเพราะที่ไทยไม่มีแนวคิดแบบนี้ และขณะนี้ดูเหมือนคณะราษฏร์ไม่มียุทธศาสตร์ที่จะสร้างกระแสนัดหยุดงาน ทั้งๆ ที่แกนนำจำนวนมากโดนกฏหมาย 112 พร้อมกันนั้นพรรคที่เรียกตัวเองว่า “ก้าวไกล” แต่ก้าวไม่พ้นกรอบเดิมๆ จะยังคงไว้การจำคุกพลเมืองภายใต้ม.112

คนไทยที่ยังไม่ตาสว่างเรื่องกรรมาชีพควรจะรีบออกจากกะลา เพื่อช่วยสร้างกระแสนัดหยุดงานและร่วมล้มเผด็จการประยุทธ์!!

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

ข้อเสนอสำหรับการต่อสู้ http://bit.ly/2Y37gQ5

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

การมองว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่างเป็นการช่วยให้ทหารลอยนวล  https://bit.ly/2XIe6el อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj

ทำไมไม่มีการสร้างกระแสมวลชนเพื่อสนับสนุนวัฒนา?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ขบวนการประชาธิปไตยไทยควรศึกษาและสรุปบทเรียนจากการคุมขัง วัฒนา เมืองสุข เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะการที่ไม่มีการสร้างกระแสมวลชนเพื่อสนับสนุนวัฒนา เป็นจุดอ่อนมหาศาล การปล่อยให้กลุ่ม “พลเมืองโต้กลับ” แค่สี่ห้าคนพร้อมกับผู้สนับสนุนอีกสิบถึงยี่สิบคน เป็นผู้ออกมาประท้วง ถือว่าเป็นความผิดพลาดทางการเมืองของพวกเรา

ลองคิดดูสิ สมมุติว่าอดีต สส. พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. รวมถึงนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย แกนนำขบวนการประชาธิปไตยรากหญ้า และแกนนำขบวนการแรงงานซีกก้าวหน้า ออกมาพร้อมเพรียงกัน ในจุดเดียวกันที่กรุงเทพฯ แล้วรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง “รัฐอธรรมนูญ” เผด็จการ เพื่อเป็นการแสดงความสมานฉันท์กับ วัฒนา และเพื่อช่วยสร้างกระแสคัดค้านเผด็จการ มันจะเกิดอะไรขึ้น?

ในประการแรกมันจะให้กำลังใจกับมวลชนเป็นแสนๆ ที่จะออกมาคัดค้านเผด็จการ

ผมไม่เชื่อเลยว่าทหารจะกล้านำปืนมากราดยิงประชาชนในกรณีแบบนี้ โดยเฉพาะถ้าประกาศว่าจะโยกย้ายกลับบ้านในไม่กี่ชั่วโมง

ถ้าทหารมาจับแกนนำดังกล่าวหมดเลย จับไปขังปรับทัศนะคติเป็นอาทิตย์ ฝ่ายเผด็จการจะเสียการเมืองไปมากมายแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่ใครๆ จับตาดูผู้นำประเทศไทยและการจัดประชามติ แต่ถ้าเขาไม่จับ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายเถื่อนของไอ้ยุทธ์มือเปื้อนเลือดที่ประสบความสำเร็จ มันจะเป็นการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยอีกนิด และปูทางไปสู่สิทธิในการรณรงค์ต่อต้าน “รัฐอธรรมนูญ” ผ่านประชามติที่จะจัดขึ้น และแน่นอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบนี้จะมีความชอบธรรมสูง

26525867005_abdb936c4b

แล้วใครควรจะรับผิดชอบในเรื่องความผิดพลาดทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการไม่ออกมาสนับสนุน วัฒนา ในครั้งนี้?

แกนนำพรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. และทักษิณ คงต้องมีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบตรงนี้ แต่ใครที่หูตาสว่างและผ่านเหตุการณ์วิกฤตการเมืองไทยในรอบสิบปี คงไม่แปลกใจแต่อย่างใดที่ ทักษิณ พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. ตั้งใจนอนหลับ ไม่ยอมเคลื่อนไหว ตั้งใจแช่แข็งขบวนการ เพื่อรอวันกอบโกยผลประโยชน์เมื่อทหารอนุญาตให้มีการเลือกตั้งจอมปลอมภายใต้ประชาธิปไตยครึ่งใบ

ดังนั้นเราไม่ควรไปหวังหรือผิดหวังอะไรกับพวกนั้น

แล้วใครควรทบทวนตนเองในเรื่องนี้? คำตอบง่ายๆ คือพวกเราเอง

ผมอ่านคำพูดของนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการหลายคนที่พยายามแก้ตัวว่าทำไมไม่ควรสนับสนุนวัฒนา และทั้งหมดนั้นฟังไม่ขึ้น

บางคนบ่นว่าวัฒนามีเส้นสาย บางคนบอกว่าใกล้ชิดทักษิณเกินไป บางคนบ่นว่าเวลาคนอย่างวัฒนาโดนทหารจับสื่อมักจะสนใจ แต่เวลาผู้น้อยโดนจับไม่มีใครรู้ มันล้วนแต่เป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น และเป็นการเล่นพรรคเล่นพวก ไม่รู้จักวิธีสร้างแนวร่วมแต่อย่างใด

ก่อนหน้าที่วัฒนาจะโดนทหารคุมขังเพื่อไปปรับทัศนะคติครั้งแรก ผมไม่เคยรู้จักเขาเลย ไม่รู้จักจุดยืนทางการเมือง ไม่รู้จักผลงานในอดีต และไม่รู้ว่าเขาเป็นคนแบบนั้น แน่นอนเขาคงไม่ใช่นักสังคมนิยมเหมือนผม แต่นั้นไม่มีความสำคัญแต่อย่างใดเลย เพราะไม่ว่า วัฒนา จะมาจากไหนอย่างไร การที่เขาในฐานะอดีต สส. ออกมาวิจารณ์เผด็จการและ “รัฐอธรรมนูญเผด็จการ” โดยดูเหมือนไม่ยอมจำนนต่อทหาร เป็นการแสดงวุฒิภาวะในการนำในครั้งนี้ และเป็นการเปิดโอกาสให้เราร่วมประท้วง ในอนาคตเขาจะยังแสดงวุฒิภาวะในการนำแบบนี้อีกหรือไม่ เราไม่รู้ และมันไม่สำคัญ การต่อสู้มันต้องข้ามพ้นเรื่องตัวบุคคลเสมอ

บางคนเสนอว่าเราไม่ควรไปร่วมลงคะแนนเสียงในประชามติภายใต้ตีนทหารครั้งนี้ ถ้ารณรงค์ให้คนจำนวนมาก เป็นล้านๆ คน งดออกเสียงไม่ไปลงคะแนนมันก็คงดี แต่ถ้าไม่สามารถมั่นใจ 100% ว่าทำได้ เราก็ควรไปลงคะแนนคัดค้าน แต่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับว่าเราควรสนับสนุบ วัฒนา หรือไม่

จุดอ่อนของฝ่ายเรา ท่ามกลางการแช่แข็งของการต่อสู้โดยทักษิณ เพื่อไทย และ นปช. คือเราไม่สนใจการจัดตั้งขบวนการมวลชนของเราเองเลย ชื่นชมแต่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนหยิบมือเดียว  ในช่วง ๑๔ ตุลา แนวความคิดของพวกเราไม่ได้ชำรุดแบบนี้

การสร้างแนวร่วมที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะแนวร่วมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต้องอาศัยการมีจุดร่วมในประเด็นเดียวคือสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย มันต้องมีการยอมทำงานเคลื่อนไหวกับคนที่เราไม่เห็นด้วยในหลายๆ เรื่อง แต่ที่สำคัญคือมันควรเป็นแนวร่วมสมัครใจ คือไม่มีเงื่อนไขว่าต้องทำตามใคร ถกเถียงกันได้เสมอ มีเงื่อนไขเดียวที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อถึงเวลาก็ต้องเคลื่อนร่วมกัน แค่นั้นเอง

ถ้าพวกเราในขบวนการประชาธิปไตยไทยไม่สามารถเข้าใจหลักการต่อสู้พื้นฐานแบบนี้ได้ เราจะไปล้มเผด็จการได้อย่างไร?

“พรรค”

 ใจ อึ๊งภากรณ์

ความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า ที่จะช่วงชิงการนำทางการเมืองจากแกนนำ นปช. ที่เดินตามก้นพรรคเพื่อไทยเสมอ ไม่ว่าเพื่อไทยจะหักหลังวีรชนหรือยอมจำนนต่อทหารแค่ไหน เป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมเราต้องสร้างพรรคสังคมนิยมปฏิวัติในประเทศไทย การช่วงชิงการนำในมวลชนย่อมทำไม่ได้ถ้าเรามีแต่กลุ่มเล็กๆ ที่กระจัดกระจาย เราต้องมีการจัดตั้งเพื่อประสานพลังมวลชน

ในขณะที่ฝ่ายต้านประชาธิปไตยตั้งความหวังกับกองทัพเผด็จการและศาลลำเอียง ฝ่ายประชาธิปไตยต้องอาศัยพลังมวลชนเพื่อให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน และองค์ประกอบสำคัญของพลังมวลชน นอกจากการชุมนุม คือการนัดหยุดงานของชนชั้นกรรมาชีพ เพราะมูลค่าทั้งปวงและทุกอย่างที่ทำให้เราดำรงชีพได้ในสังคม รวมถึงกำไรของนายทุน มาจากการทำงานของคนธรรมดาทั้งสิ้น ดังนั้นพรรคปฏิวัติต้องมีฐานที่มั่นในองค์กรสหภาพแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ นอกจากนี้ต้องมีฐานสำคัญในกลุ่มเยาวชนนักศึกษาอีกด้วย นี่คือบทเรียนสำคัญจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และพรรคปฏิวัติอื่นๆ ทั่วโลก แต่เราไม่ควรเน้นการเข้าป่าจับอาวุธแบบ พคท. เราควรจะเน้นพลังมวลชนในเมืองแทน

แล้ว “กรรมาชีพ” คือใคร? กรรมาชีพคือคนทำงาน พนักงานหรือลูกจ้างทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานในโรงงาน ในระบบขนส่ง ในระบบบริการค้าขาย ในสถานที่ศึกษา ในโรงพยาบาล ในรัฐวิสาหกิจ หรือในระบบธนาคาร คนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกรรมาชีพ และทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย ก็มีการจัดตั้งในรูปแบบสหภาพแรงงานได้ ถ้าไม่โดนกดขี่จากรัฐ

สำหรับนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน รูปแบบการสร้างพรรคมาจากลักษณะของกรรมาชีพในโลกจริงซึ่งมีลักษณะต่างระดับเสมอ เช่นจะมีบางกลุ่มที่อยากออกมาสู้อย่างดุเดือดเพื่อล้มระบบ ในขณะที่กลุ่มอื่นอยากออกมาสู้แค่เพื่อเรื่องปากท้องเท่านั้น หรือบางกลุ่มอาจไม่อยากสู้เลยและมีความคิดล้าหลังด้วยซ้ำ นักมาร์คซิสต์อย่าง เองเกิลส์ เคยยกตัวอย่างทหารในสนามรบว่า ภายใต้การกดดันของการต่อสู้ ทหารบางหน่วยจะค้นพบวิธีการต่อสู้ที่ก้าวหน้าที่สุด และบทบาทสำคัญของผู้บังคับบัญชาที่ดีคือการนำบทเรียนที่ก้าวหน้าอันนั้นไปเผยแพร่กับทหารทั้งกองทัพ นี่คือที่มาของแนวคิด “กองหน้า” ในการสร้างพรรคปฏิวัติ นอกจากนี้พรรคต้องมีสัดส่วนคนหนุ่มสาวสูง ไม่ใช่เต็มไปด้วยคนแก่ที่อนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยกล้าสู้ และคอยพูดถึงแต่ความหลัง

พรรคปฏิวัติไม่ควรมี “ผู้ใหญ่” กับ “ผู้ตาม” ทุกคนที่เป็นสมาชิกควรร่วมถกเถียงและนำเสนอแนวทางการทำงานหรือการวิเคราะห์อย่างเท่าเทียมกัน ในลักษณะแบบนี้ผู้นำในยุคหนึ่งอาจกลายเป็นผู้ตามในยุคต่อไป สลับกันไปอย่างต่อเนื่อง พูดง่ายๆ เราต้องร่วมกันนำ และต้องเปิดโอกาสให้เกิดความคิดใหม่ๆ เสมอ

การที่พรรคปฏิวัติเป็น “กองหน้า” หมายความว่าต้องมีการนำทางความคิด ซึ่งแปลว่าต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับทฤษฏี การศึกษา และการวิเคราะห์สภาพสังคมปัจจุบันที่แหลมคม การวิเคราะห์แบบนี้ต้องอาศัยการถกเถียงภายในพรรคบนพื้นฐานประสบการการต่อสู้ พรรคต้องไม่ท่องคำภีร์ และต้องไม่ปฏิเสธทฤษฏี

อันโตนีโอ กรัมชี่ นักมาร์คซิสต์ชาวอิตาลี่ เคยเตือนว่าพรรคไม่สามารถ “ป้อนความรู้” ใส่สมองกรรมาชีพได้ แต่พรรคต้องเสนอประสบการณ์จากอดีตกับคนที่กำลังเปิดกว้างเพื่อแสวงหาทางออก การเปิดกว้างนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเขาอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้ ดังนั้นพรรคต้องร่วมสู้เคียงข้างกับมวลชนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้องประจำวัน หรือเรื่องการเมือง เช่นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นต้น

พรรคสังคมนิยมปฏิวัติมีรูปแบบสำคัญดังนี้ (1) พรรคต้องยึดถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนกับผู้ถูกกดขี่ทั้งปวงเป็นหลัก ไม่ใช่ไปเน้นค่านิยมของชนชั้นปกครอง เช่นเราต้องปฏิเสธเรื่องการรักชาติเป็นต้น (2) พรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาเป็นผู้ควบคุมพรรค ต้องอาศัยเงินทุนที่มาจากการเก็บค่าสมาชิกเท่านั้น เพื่อไม่ให้ใครควบคุมด้วยอำนาจเงิน (3) ในไทยพรรคควรเน้นการต่อสู้นอกรัฐสภาไปก่อน อาจต้องทำงานใต้ดินหรือกึ่งใต้ดินในระยะแรก และการสร้างฐานมวลชนท่ามกลางการเคลื่อนไหวของมวลชน เป็นวิธีต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้องประจำวัน โดยที่ไม่ต้องขึ้นกับเงื่อนไขหรือกติกาของเผด็จการ แต่นั้นไม่ได้แปลว่าเราจะละเลยการเมืองภาพกว้างได้ พรรคที่เน้นการทำงานในกรอบรัฐสภาเป็นหลัก ในไม่ช้าจะเผชิญหน้ากับกฏหมายเลือกตั้งและแรงดึงดูดจากวิธีการแบบรัฐสภา แรงดึงดูดนี้มีผลทำให้ผู้นำเน้นกลไกการหาเสียงและการประนีประนอมทางอุดมารณ์กับการเมืองกระแสหลักเสมอ แต่การล้มเผด็จการ และการสร้างสังคมนิยม ประชาธิปไตยและความเท่าเทียม จะต้องใช้วิธีการปฏิวัติโดยมวลชน บนพื้นฐานการเมืองสังคมนิยมมาร์คซิสต์

การปฏิวัติดังกล่าวจะมีรูปแบบที่มวลชนนัดหยุดงาน ยึดสถานที่ทำงานและท้องถนน ยึดอาวุธจากทหารหรือชักชวนให้ทหารชั้นล่างเปลี่ยนข้าง และเริ่มสร้างขั้วอำนาจใหม่ เพื่อกำจัดขั้วอำนาจของชนชั้นปกครองเก่า

 

หนึ่งปีอันธพาลครองเมือง

ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐบาลของ “ไอ้ยุทธ์มือเปื้อนเลือด” คือรัฐบาลอันธพาล ใครไม่เข้าใจตรงนี้ ใครคิดว่าทหารมัน “หวังดี” หรือใครที่คิดว่าพวกโสโครกเหล่านี้จะ “ปฏิรูป” ประเทศไทย เป็นคนโง่เขลาหรือคนที่จงใจไม่เข้าใจประชาธิปไตย

เอ็นจีโอกลุ่มไหน หรือนักวิชาการกลุ่มไหน ที่คลานเข้าไปร่วมในการปฏิกูลการเมืองครั้งใหญ่ของเผด็จการชุดนี้คือศัตรูของฝ่ายประชาธิปไตย เพราะจะมีส่วนร่วมในการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคมืด

กลุ่มการเมืองไหนที่สยบยอมต่อทหาร หรือบอกให้คนเสื้อแดงนิ่งเฉยและรอ เป็นศัตรูของฝ่ายประชาธิปไตยเช่นกัน ตรงนี้เราคงต้องรวมถึงนักการเมืองพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ แกนนำ นปช. และทักษิณด้วย

กลุ่มการเมืองไหน ไม่ว่าจะพรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้าไปร่วม “ปรองดอง” จอมปลอมกับทหาร แล้วเสนอให้เลื่อนวันเลือกตั้ง เพื่อให้เผด็จการอยู่ต่ออีกสองปี ภายใต้ข้ออ้างเท็จเรื่องการปฏิรูปการเมือง ก็เป็นศัตรูของประชาธิปไตย

จุดยืนของนักประชาธิปไตยต่อ “รัฐธรรมนวยทหารร่างใหม่” กระบวนการปฏิกูลการเมือง และการเลือกตั้งที่ปราศจากหลักการประชาธิปไตย ต้องมีจุดยืนเดียวคือคัดค้านและเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างเดียว เราอาจไม่ชนะในระยะเวลาอันใกล้ แต่จุดยืนอื่นจะนำไปสู่การลดพื้นที่เสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชนในระยะยาว

เผด็จการทหารปัจจุบันพร้อมจะใช้ความรุนแรงโหดร้ายเสมอ เราอย่าลืมว่าประยุทธ์และพรรคพวก รวมถึงแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เห็นชอบกับการยิงตายชาวเสื้อแดงมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2553 แถมเขายังข่มขู่พยานที่เห็นทหารก่ออาชญากรรมอีกด้วย

อย่าลืมว่าประยุทธ์และพรรคพวกนั่งเฉย อมยิ้มมองดูม็อบสุเทพที่ทำลายการเลือกตั้ง ในปี 57 โดยไม่ทำอะไร แล้วพอได้โอกาสก็ก่อรัฐประหารด้วยข้ออ้างเท็จ

อย่าลืมว่าประยุทธ์และพรรคพวกกำลังออกแบบระบบเผด็จการที่มีการเลือกตั้งปลอม เพื่อสืบทอดอำนาจของพวกมันต่อไปในอนาคต โดยอาศัยองค์กรเถื่อนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่อ้าง “คุณธรรม”

อย่าลืมว่าประยุทธ์และพรรคพวกมองว่าพลเมืองไทยส่วนใหญ่ “โง่” และ “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย” คนที่คิดแบบนี้เอาส่วนไหนของร่างกายไปคิด? คนที่คิดแบบนี้จะทำอะไรเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ได้อย่างไร?

อย่าลืมว่าเผด็จการชุดนี้ขยันปราบฝ่ายประชาธิปไตย โดยการเรียกตัวนักเคลื่อนไหวเข้าไปขังและข่มขู่ในค่ายทหารอย่างต่อเนื่อง ยิ่งกว่านั้นมันพร้อมจะอุ้มนักประชาธิปไตยโดยไม่บอกใคร และที่แย่สุดคือการทรมานทางกายและใจผู้ถูกขังในขณะที่อยู่ในค่ายทหาร แน่นอนคงมีการเรียนวิธีการทรมานผู้ถูกขังจากการปฏิบัติการของทหารไทยในปาตานีและจากความทารุณของรัฐบาลอื่นๆ ทั่วโลก

อย่าลืมว่าไอ้พวกจัญไรที่คุมอำนาจอยู่ตอนนี้ พร้อมจะผลักดันเพื่อนมนุษย์ชาวโรฮิงญาออกไปตายกลางทะเลด้วยหัวใจเย็นชา ทหารบางนายมีส่วนในการค้ามนุษย์ และประยุทธ์กับพรรคพวกพร้อมจะกอดเผด็จการทหารพม่าที่มีส่วนสำคัญในการก่อความรุนแรงกับโรฮงญาแต่แรก

ในสังคมไทยภายใต้อำนาจอันธพาลปัจจุบันไม่มีสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรม นักประชาธิปไตยต้องขึ้นศาลทหาร สื่อที่มองต่างมุมกับเผด็จการก็ถูกปิด ทุกสาขาของการบริหารสังคมถูกควบคุมโดยทหาร และการเพิ่มอำนาจของทหารแบบนี้เปิดโอกาสให้มีการโกงกินมากขึ้น

และหลังจากการกระทำทุกอย่างที่โสโครกเลวทรามของแก๊งประยุทธ์ พวกมันก็จะออกมาโกหกอย่างหน้าด้านน่าไม่อาย ประยุทธ์บอกว่ามันเป็น “ทหารหัวใจประชาธิปไตย” โฆษกของมันบอกว่า “ไม่มีการอุ้มหรือทรมานใคร” แม่ทัพภาคที่หนึ่งบอกว่าการใช้ศาลทหารเป็นเรื่อง “ชอบธรรม” เพราะเป็น “ไปตามกฏหมาย” ทั้งๆ ที่กฏหมายที่มันใช้เป็นกฏหมายเถื่อนที่งอกจากกระบอกปืน

พอพวกนี้โกหกเสร็จ พอมันและลูกน้องมันขยันกอบโกยเงินแบบไม่ชอบธรรมคอร์รับชั่น หรือหลังจากที่มันแต่งตั้งญาติพี่น้องให้รับเงินสาธารณะ มันก็พูดเพ้อเจ้อว่ามันเป็น “คนดี” ที่มีศีลธรรม มันหน้าด้านสร้างองค์กรทรามที่อ้าง “คุณธรรม”  ในขณะที่มันไปไหว้อันธพาลห่มผ้าเหลืองที่เป็น “พระฟาสซิสต์” คนที่มีปัญญาคงอดสงสัยไม่ได้ว่าไอ้พวกเผด็จการนี้มันโง่แค่ไหนที่คิดว่าประชาชนจะไปเชื่อมัน

ที่เลวทรามอีกเรื่องคือการใช้และเชิดชูกฏหมายเถื่อน 112 ที่ใช้เป็นเครื่องมือปกป้องเผด็จการ ใครต้านเผด็จการทหารที่ทำความเลวในนามของกษัตริย์ ไม่ว่านายภูมิพลจะเห็นชอบหรือรู้เรื่องหรือไม่ ก็ถูกกล่าวหาว่า “ก่ออาชญากรรมร้าย” เพราะไปวิจารณ์เผด็จการหรือระบอบทหารที่ใช้กษัตริย์เป็นเครื่องมือ สรุปแล้วกฏหมายเถื่อน 112 นี้จะต้องไม่มีอีกต่อไปในประเทศไทยถ้าเราจะมีเสรีภาพ และกองทัพที่แทรกแซงการเมือง ระบบศาลเตี้ย ระบบองค์กรเถื่อนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และระบบกษัตริย์ จะต้องถูกยกเลิกอย่างถอนรากถอนโคนอีกด้วย

แต่อย่าไปหลงคิดว่าประชาธิปไตยและเสรีภาพจะกลับคืนสู่สังคมไทยโดยอัตโนมัติถ้าเราเพียงแต่รอ มันไม่มีทางเป็นไปได้ไม่ว่าใครจะตายหรือใครจะอยู่ สิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยมาจากการต่อสู้แบบที่มีการจัดตั้งทางการเมืองเพื่อประสานงานในการเตรียมตัว ฝึกฝน ศึกษา และลุกฮือ การนั่งเฉยรอจะไม่มีประโยชน์ เราต้องเริ่มจากการตัดสินใจที่จะสู้กับเผด็จการแบบมีปัญญา ในช่วงที่เราลุกฮือยาก เราต้องสร้างเครือข่าย ต้องสื่อสารกัน ต้องวางแผนและตั้งเป้าหมาย พอฝ่ายตรงข้ามมีจุดอ่อนเมื่อไรเราจะต้องเคลื่อนไหวอย่างมีพลัง ซึ่งแปลว่าต้องข้ามพ้นระดับการเคลื่อนไหวเชิงสัญญลักษณ์แบบปัจเจกและกระจัดกระจาย และต้องข้ามพ้นการบูชาทักษิณกับการรอและหวังว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยกับ นปช. จะนำเราไปสู่ประชาธิปไตย

นักสังคมนิยมกับการทำงานในสหภาพแรงงาน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมและร่วมกันปลดแอกตนเองจากอำนาจเผด็จการ เราต้องสนใจ “พลัง” ที่เราจะต้องใช้ในการเผชิญหน้ากับกองทัพ ตำรวจ นายทุน และส่วนอื่นๆ ของอำมาตย์

ที่แล้วมาในไทย จะมีการใช้สองวิธีการในการต่อสู้คือ การจับอาวุธในยุคพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.) และการเน้นมวลชนบนท้องถนนในช่วง ๑๔ ตุลา พฤษภา ๓๕ และในสมัยที่เสื้อแดงชุมนุม แต่ทั้งสองรูปแบบการต่อสู้นี้มีจุดอ่อนและนำไปสู่ความพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามการเน้นพลังมวลชนบนท้องถนน เป็นก้าวสำคัญที่เราคงต้องใช้ในอนาคต ส่วนการจับอาวุธนั้นมีปัญหามากเพราะฝ่ายตรงข้ามมีอาวุธมากกว่าเรา และมันเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่ดึงมวลชนจำนวนมากเข้ามาร่วมไม่ได้ ซึ่งเราจะเห็นปัญหานี้จากสมัย พคท. และในปัจจุบันเมื่อเราพิจารณากองกำลังในปาตานี

การอาศัยพลังมวลชนของเสื้อแดงสำคัญมาก แต่มีจุดอ่อนสองประการคือ 1.แกนนำมาจากฝ่ายทักษิณที่ต้องการประนีประนอมมากกว่าที่จะสู้ และ 2.ไม่มีการอาศัยพลังกรรมาชีพผู้ทำงานแต่อย่างใด

ชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงานมีพลังซ่อนเร้นมหาศาล เพราะมูลค่าทุกบาทที่ผลิตขึ้นในสังคมมากจากการทำงานของกรรมาชีพ และมันรวมไปถึงระบบขนส่ง ระบบธนาคาร การผลิตแจกจ่ายไฟฟ้า การบริการสาธารณะสุข และการบริการในระบบการศึกษาด้วย มันไม่ใช่แค่เรื่องการผลิตต่างๆ ในโรงงานเท่านั้น

หลายครั้งในประเทศอื่นมีการอาศัยพลังชนชั้นกรรมาชีพในการเปลี่ยนสังคม หรือแม้แต่ในการกดดันต่อสู้ทางการเมือง เช่นการปฏิวัติรัสเซีย การล้มมูบารักในอียิปต์ การสร้างรัฐสวัสดิการและประชาธิปไตยในยุโรป และการสร้างประชาธิปไตยในเกาหลีใต้

ดังนั้นนักสังคมนิยมจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการนำทางการเมือง ด้วยการสร้างพรรคที่อิสระจากนายทุนและชนชั้นสูง และการอาศัยพลังของชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน มันแปลว่านักสังคมนิยมต้องทำงานในสหภาพแรงงานทั่วประเทศ เพราะสหภาพแรงงานเป็นส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพ

อย่างไรก็ตามเวลานักสังคมนิยมทำงานในสหภาพแรงงาน มันไม่ควรจะเป็นในรูปแบบการ “ลงไปช่วยคนงาน” เพราะนั้นคือวิธีการของ เอ็นจีโอ ที่มองว่าตนเองเป็น “พี่เลี้ยง” ที่จะช่วยคนงาน “ที่อ่อนแอและน่าสงสาร”

นักสังคมนิยมควรเป็นส่วนหนึ่งของกรรมาชีพและสหภาพแรงงาน เราควรทำงานในสถานที่ทำงานต่างๆ และปลุกระดมจากภายใน ในระยะแรกเราอาจต้องทำงานจากภายนอก แต่ในช่วงนั้นต้องเน้นการสร้างนักสังคมนิยมที่เป็นกรรมาชีพ เพื่อให้เขาทำงานในสหภาพและสถานที่ทำงานของเขาเอง

แน่นอนนักสังคมนิยมจะต้องมีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน และต้องมีส่วนในการสนับสนุนการประท้วงเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาปากท้อง เช่นเรื่องค่าจ้าง โบนัส และสภาพการจ้างอื่นๆ แต่ถ้าทำแค่นั้น เราก็เป็นแค่ “นักสหภาพแรงงาน” และผู้ที่เป็นแค่ “นักสหภาพแรงงาน” จะมองว่าองค์กรจัดตั้งหลักคือสหภาพแรงงาน ไม่ใช่พรรคซ้ายสังคมนิยม และเราจะก้าวข้ามปัญหาภายในรั้วสถานที่ทำงานเพื่อไปสนใจสังคมภายนอกไม่ได้

เมื่อนักสหภาพแรงงานใช้แนวคิดที่เน้นแต่องค์กรสหภาพ ซึ่งเรียกว่า “ลัทธิสหภาพ” มันจะต้องมีการประนีประนอมกับสมาชิกทุกคนในสถานที่ทำงาน ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงจะมีจุดยืนและแนวคิดที่หลากหลาย บางคนจะอนุรักษ์นิยมรับแนวคิดนายทุนและชนชั้นปกครอง บางคนอาจอยากต่อรองต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้อง และอีกส่วนหนึ่งอาจอยากเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้น ถ้าเราสู้แบบ “ลัทธิสหภาพ” เราจะต้องประนีประนอมกับทั้งสามส่วน ซึ่งแปลว่าการนำของเราจะไม่ก้าวหน้า ไม่เลยขอบเขตของสังคมปัจจุบันแต่อย่างใด

ดังนั้นเวลานักสังคมนิยมทำงานในสหภาพแรงงาน เราต้องเน้นการปลุกระดมทางการเมืองเสมอ และต้องเน้นการพยายามดึงสมาชิกสหภาพที่ก้าวหน้าที่สุด เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคซ้าย พร้อมๆ กับการต่อสู้เรื่องปากท้อง

การปลุกระดมทางการเมืองแปลว่าต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อของพรรค และผ่านกลุ่มศึกษาของพรรค ซึ่งต่างจากกลุ่มศึกษาของสหภาพที่เน้นแต่เรื่องปากท้อง การศึกษาทางการเมืองของพรรคต้องครอบคลุมการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ ต้องเรียนบทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทยและทั่วโลก ต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์ ต้องศึกษาธาตุแท้ของชนชั้นและของรัฐ

การศึกษาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในไทย เพราะในสมัย พคท. ก็มีการเน้นการศึกษาแบบนั้น ไม่ว่าผมอาจมีข้อถกเถียงกับแนวการเมืองของ พคท. มากน้อยแค่ไหน แต่มันเป็นการศึกษาทางการเมืองเพื่อจัดตั้งพรรค ซึ่งหลังการล่มสลายของ พคท. นักปฏิบัติการต่างๆ พากันหันหลังให้เรื่องนี้ เพื่อทำงานแบบพี่เลี้ยงในรูปแบบ เอ็นจีโอ ที่ปฏิเสธเรื่องการเมืองเพื่อเน้นประเด็นปากท้องอย่างเดียว นี่คือที่มาของความอ่อนแอของขบวนการแรงงานไทยในปัจจุบัน และมันเป็นผลทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอไปด้วย นี่คือสิ่งที่เราต้องลงมือแก้ไข

ปัญหาใหญ่ขององค์กรเสรีไทยในยุโรป

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ องค์กรเสรีไทยในยุโรป ถูกทดสอบและไม่ผ่าน เพราะประยุทธ์มือเปื้อนเลือดหัวหน้าคณะเผด็จการไทยมาร่วมประชุมที่อิตาลี่ แต่องค์กรเสรีไทยในอียูหรือในยุโรป ไม่ว่าจะมีชื่อหรูแค่ไหน ไม่ยอมส่งทีมไปประท้วงต่อต้านประยุทธ์

ผมเคยเขียนบทความต้อนรับการก่อตั้งองค์กรเสรีไทยเมื่อหลายเดือนก่อน พร้อมอธิบายว่าคนเสื้อแดงจำนวนมากตั้งความหวังกับองค์กรนี้ในเมื่อการนำจาก นปช. และทักษิณ-เพื่อไทย หมดสิ้นไป ในขณะเดียวกันผมเคยเสนอว่าองค์กรเสรีไทยควรมีจุดยืนเพื่อสร้างประชาธิปไตยในไทย รวมถึงการต่อต้านกฏหมาย 112 ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ องค์กรเสรีไทยต้องทำการจัดตั้งคนไทยในประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดตั้งใต้ดิน

อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามคำแถลง คำสัมภาษณ์ และกิจกรรมขององค์กรเสรีไทย ก็พบว่าแกนนำองค์กรนี้เน้นเรื่องการล็อบบี้รัฐบาลต่างประเทศเท่านั้น และไม่ใส่ใจในการจัดตั้งคนไทยในประเทศไทยเพื่อล้มเผด็จการ

การล็อบบี้รัฐบาลต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ผมเองและเพื่อนๆคนไทยในยุโรปหลายคน ก็ได้ติดต่อกับสส.ในประเทศที่ตนพักอยู่ เพื่อกดดันรัฐบาลในยุโรปให้ลดความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารไทย และเราทำสิ่งเหล่านี้เอง ไม่ได้ทำผ่านองค์กรเสรีไทย สส.หลายคนก็ยืนยันกับเราว่ารัฐบาลในยุโรปกังวลถึงความเป็นเผด็จการของไทย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องชี้ขาดคือการจัดตั้งคนไทยภายในประเทศไทย ถ้าเผด็จการประยุทธ์และผลพวงโสโครกทั้งหลายของเขาจะถูกล้ม คนไทยในประเทศไทยต้องออกมาล้มผ่านการจัดตั้งใต้ดินและบนดิน เราจะไปหวังรัฐบาลมหาอำนาจที่ชอบตอแหลไม่ได้

สิ่งที่น่าสลดใจที่สุดคือ แม้แต่การล็อบบี้รัฐบาลต่างประเทศ ที่องค์กรเสรีไทยอ้างว่าเป็นงานหลัก เสรีไทยก็ไม่ทำ เพราะไม่มีการจัดส่งทีมคนไทยไปประท้วงประยุทธ์ที่อิตาลี่เลย ผมเข้าใจว่าคนไทยหลายคน รวมถึงผมเอง ต้องทำงานเลี้ยงชีพและลางานไม่ได้ นอกจากนี้ไม่มีทุนสำรองเพื่อการเดินทาง แต่แกนนำเสรีไทยและคนที่เป็นตัวตั้งตัวตีในองค์กรเสื้อแดงยุโรปอีกจำนวนหนึ่ง มีเวลาและเงินทุน ดังนั้นต้องสรุปว่าเลือกที่จะไม่ไปประท้วงประยุทธ์ด้วยเหตุผลเล่นพรรคเล่นพวกตามลักษณะคนคับแคบทางจิตใจและการเมือง

เลิกเถิด ความคับแคบและการเล่นพรรคเล่นพวก เพราะสิ่งที่เราต้องการมากกว่าสิ่งอื่นใด คือการสร้างแนวร่วมต้านเผด็จการไทยที่ไม่กีดกันใครและยอมรับความหลากหลายทางความคิด มันยังไม่สายเกินไปที่จะทำสิ่งเหล่านี้ และมันไม่สายเกินไปที่องค์กรเสรีไทยจะปรับตัว ถ้าเป็นองค์กรจริงและไม่ใช่องค์กรผีที่มีแต่ชื่อ ไม่แน่การปรับตัวหันหน้าเข้าหากันอาจทำให้องค์กรเสรีไทยกลายเป็นองค์กรมวลชนที่นำการต่อสู้ในไทยได้ ผมหวังว่าจะเป็นเช่นนั้นแต่ชักเริ่มกังวล

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องอาศัยการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ

ใจ อึ๊งภากรณ์ องค์กรเลี้ยวซ้าย

คณะทหารเผด็จการต้องการสร้างความกลัว เพราะความกลัวนำไปสู่อัมพาต อัมพาตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และอัมพาตในการเคลื่อนไหว

แต่เรายอมเป็นอัมพาตไม่ได้!! เราจะต้องก้าวพ้นความกลัว

การก้าวพ้นความกลัวไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำอะไรโง่ๆ และไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีความกลัวอยู่ในใจ แต่เราต้องหาทางบริหารความกลัวที่มีอยู่โดยปกติ เพื่อไม่ให้เราอัมพาต และเพื่อไม่ให้เราต้องยอมแพ้ เพราะถ้าเรายอมแพ้ สังคมไทยจะถอยหลังสู่ยุคมืด การเสียสละของวีรชนประชาธิปไตยตั้งแต่ ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันก็จะเปล่าประโยชน์ และลูกหลานคนรุ่นต่อไป จะต้องเติบโตภายใต้ระบบทาสทางความคิด

สถานการณ์ปัจจุบันหมายความว่ามีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรทำเด็ดขาด คือนั่งอยู่บ้านคนเดียวหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรทัศน์ มันจะนำไปสู่ความหดหู่และความกลัว เราต้องออกจากบ้านทุกวันเพื่อไปนัดคุยกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในวงเล็กๆ เงียบๆ ดื่มกาแฟ และคุยอย่างเป็นระบบ คือคุยกับคนเดิมทุกวันอย่างต่อเนื่อง คุยเพื่อแลกข่าว แต่ไม่ใช่ข่าวลือ คุยเพื่อร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ คุยเพื่อศึกษาบทเรียนจากอดีตและจากประเทศอื่น และที่สำคัญคือ

(1)ต้องคุยเพื่อวางแผนการต่อสู้แบบปิดลับ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการในที่สาธารณะแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน และการคุยกันตอนนี้ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรบ้างในอนาคตที่ใหญ่กว่าการออกมาประท้วงเชิงสัญญลักษณ์

(2)ต้องคุยเพื่อเลือกตัวแทนที่จะไปคุยกับกลุ่มเล็กๆ อื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งในประเด็นนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสาร นี่คือ “ก.ข.ค.” ของการจัดตั้งและต่อสู้ใต้ดิน

การต่อสู้ครั้งนี้จะใช้เวลา แต่เรามีเวลา เราคือคนส่วนใหญ่ และเราคืออนาคต พวกทหาร พวกอำมาตย์ และพวกต้านประชาธิปไตย คือคนส่วนน้อยที่ไม่มีอนาคตต่างหาก

จัดขบวนเป็นระบบ

การต่อสู้รอบนี้คงใช้เวลา แต่เราต้องสู้อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย ที่สำคัญคือต้องพยายามขยายกระแส ไปสู่ทุกภาคส่วน ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

แต่เราต้องฉลาดในการต่อสู้ ต้องเข้าใจยุทธวธีที่มีประสิทธิภาพ เพราะแค่การใช้ “อารมณ์” คงอยู่ได้ไม่นาน

การต่อสู้แบบนำตนเอง นัดเอง มาเอง มีความสำคัญยิ่งในสถานการณ์ที่ผ่านมา เพราะมันเป็นการแสดงจุดยืนนำตนเอง ไม่พึ่งทักษิณด้วย เพราะทักษิณไม่มีความคิดจะสู้แบบที่จะถอนรากถอนโคนอำนาจทหารหรืออำมาตย์เลย เขาต้องการแค่กดดันให้เขาสามารถกลับมามีบทบาทเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เราจะสู้แบบ นำตนเอง นัดเอง มาเอง ไม่ได้ มันค่อยๆ ลดพลังลง ดังนั้นเราต้องหาทางทำงานร่วมกันในรูปแบบองค์กร ประสานการเคลื่อนไหวและต่อสู้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ในขณะที่คงไว้แกนนำหลากหลาย หลายหัว เพราะจะรักษาความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร และทำให้ปราบยากขึ้น ที่สำคัญคือควรมีการนัดคุยกันระหว่างตัวแทนกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อถกเถียงทำความเข้าใจกับภาพรวมทางการเมือง เพื่อกำหนดแนวทางการต่อสู้ ต้องเชิญกลุ่มอื่นๆ มาร่วมมากขึ้นตลอด ไม่มีการกีดกันใคร โดยมีกติกาง่ายๆ ในการประชุม เพื่อไม่ให้ใครครอบงำ

เราต้องทำงานเป็นระบบเหมือนฝ่ายตรงข้าม ที่ทหารทำงานร่วมกับองค์กรอิสระ ศาล ม็อบนกหวีด พรรคปชป.กันเป็นอย่างดี

เราต้องให้ความสำคัญในการเชิญกลุ่มสหภาพแรงงานแดงและสหภาพแรงงานที่รักประชาธิปไตยมาร่วม สหภาพแรงงานดังกล่าวต้องพยายามทำความเข้าใจกับสมาชิกว่าทำไมเราต้องสู้แบบ “การเมือง” กับอำนาจเผด็จการ และในอนาคน ถ้าสร้างกระแสได้ เราควรพิจารณาการนัดหยุดงาน แต่ต้องทำงานการเมืองพื้นฐานก่อนอย่างเร่งด่วน

ในอนาคต มันไม่เห็นทางที่คณะรัฐประหารจะใช้ในการแก้ปัญหาสังคม ในการลดความขัดแย้ง ตามที่เขาอ้าง มันจะแก้ได้ยังไง คนจะทนกับสภาพเผด็จการเช่นนี้ได้นานแค่ไหน? ในเมื่อคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่ได้สนับสนุนทหารและพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด อย่าให้สื่อมวลชนภายใต้ตีนทหารกล่อมให้เราหดหู่ เราต้องมีช่องทางสือแนวคิดระหว่างกันเอง การพบกันเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ การใช้โซเชียลมีเดียก็สำคัญ แต่ต้องทำหลายอย่าง ไม่ใช่แค่พึ่งอินเตอร์เน็ตเพราะเขาปิดวิธีการแบบนี้ได้

ในระยะสั้น ทหารอาจจะสร้างภาพว่าคุมสังคมได้ด้วยกระบอกปืน แต่ภายใต้ภาพหลอกลวงนี้ประชาชนโกรธแค้นและไม่ยอมรับทหาร

ในระยะยาว ทหารจะไม่สามารถแบกความต้องการที่หนักหนาซับซ้อนของประชาชนได้ ความต้องการ ข้อเรียกร้องของทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร และฝ่ายคัดค้าน จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ ที่มีความขัดแย้งกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดทั่วไปในทุกสังคม

และสุดท้าย เราไม่ควรลืมเพื่อน ต้องรณรงค์ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองโดยไว ไม่ใช่ปล่อยให้ถูกลืมและเป็นเหยื่อของการเจรจา อย่างที่พรรคเพื่อไทยเคยทำ

เราต้องจัดตั้งลับ เรียนรู้จากข้อดีข้อเสียของ พคท.

ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจะต้องทำงานปิดลับใต้ดิน เพื่อคานอำนาจมืดของทหารที่คอยคุกคามเราตลอด มันไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยต้องสู้แบบปิดลับมานาน ครั้งสุดท้ายก็หลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษายุทธวิธีการเคลื่อนไหวใต้ดิน พวกเราควรทบทวนแนวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นกับจุดด้อย

พคท. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการจัดตั้งมวลชน เพราะมวลชนที่กระจัดกระจายแบบ “ต่างคนต่างทำ” อาจกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวในตอนต้น แต่พอไปสักพักก็หมดกำลังใจ หมดแรง ท่ามกลางความกลัว

การจัดตั้งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงไปทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้ พคท. ต่อสู้ไปได้นาน ทั้งๆ ที่มีการพยายามปราบปรามอย่างหนักจากฝ่ายชนชั้นปกครองไทย นอกจากนี้การจัดตั้งหมายความว่าทุกคนมี “ความเข้าใจร่วมกัน” ว่าสังคมมีลักษณะแบบไหน และก้าวต่อไปในการต่อสู้ควรจะเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ พคท. มีทฤษฏีที่วิเคราะห์สังคมและนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันของสมาชิก เรื่องนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะขณะที่ฝ่ายทหารเผด็จการกำลังสร้างกระแสความกลัว ขณะที่ผู้ปฏิบัติการบางคนถูกจับไป ขณะที่แกนนำเก่ายอมจำนนและสร้างความสับสนในมวลชน เราต้องรักษาความมั่นใจ เราต้องรักษาปัญญาที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ และเราต้องมีแผนสู้

พคท. เข้าใจการทำงานปิดลับที่อาศัยกลุ่มเล็กๆ ที่ประสานงานกันทั่วประเทศ และนอกประเทศ ผ่านตัวแทนหรือที่สหายเก่าเรียกกันว่า “จัดตั้ง” หรือแกนนำของกลุ่มเล็กๆ นั้นเอง นี่คือวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการปราบปรามองค์กร

แต่การจัดตั้งของพคท. มีข้อบกพร่องใหญ่คือ การจัดตั้งของเขาเป็นรูปแบบเผด็จการ สหายนำสั่งลงมาและลูกพรรคต้องทำตาม ต้องเห็นด้วย คิดเองไม่ได้ ไม่มีประชาธิปไตยภายใน ในแง่หนึ่งพอพูดแบบนี้ก็ทำให้เรานึกได้ว่า พคท. เป็นเงาสะท้อนกลับสังคมเผด็จการ แต่ถ้าเราจะสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย เราใช้วิธีการของเผด็จการไม่ได้

ดังนั้นการจัดตั้งรูปแบบใหม่ที่เราต้องใช้คือ การจัดตั้งกลุ่มเล็กๆ ที่ถกเถียงประเด็นอย่างเสรี เรียนรู้และศึกษาสภาพสังคมด้วยกัน และส่งผู้แทนไปประสานกับผู้แทนของกลุ่มอื่นๆ มันเป็นการจัดตั้งแบบรากหญ้า หรือแบบล่างสู่บน ซึ่งมีลักษณะประชาธิปไตย

การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวสำคัญเพราะ เป็นวิธีที่จะประมวลประสบการณ์การต่อสู้ของทุกคนในโลกจริง แทนที่จะทำงานภายใต้ความคิดของคนคนเดียวหรือแกนนำไม่กี่คน มันเป็นวิธีที่เราจะทดสอบการวิเคราะห์สังคมและแนวสู้ในโลกจริง เพื่อปรับปรุงตลอดเวลา ไม่ใช่ทำงานแบบท่องสูตร

ในขณะเดียวกันเราต้องเข้าใจว่า การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวแบบที่เราจะสร้าง ไม่ได้หมายความว่า “ต่างคนต่างเคลื่อนไหว” แบบเสรี 100% เพราะนั้นจะนำไปสู่การปฏิบัติแบบกระจัดกระจาย ซึ่งจะไม่มีพลังเมื่อเผชิญหน้ากับเผด็จการรวมศูนย์ของฝ่ายอำมาตย์ เราต้องมีวินัยในตัวเราเองที่จะทำตามมติเสียงส่วนใหญ่เสมอ เราจะมาเสพสุขกับความเป็นเสรีชนไม่ได้ถ้าเราจะโค่นเผด็จการ

พคท. เข้าใจเสมอว่าเราต้องขยายมวลชนและขยายความคิดไปสู่คนจำนวนมาก เราก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้เช่นกัน ไม่ใช่แค่พอใจในการกระทำของกลุ่มเล็กๆ อย่าลืมว่าเพื่อนๆ พลเมืองไทยเป็นล้านๆ ไม่พอใจกับการเหยียบย่ำสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยโดยทหารหรือม็อบพรรคประชาธิปัตย์ พลเมืองเหล่านี้คือแนวร่วมสำคัญของเรา

พคท. มีจุดอ่อนสำคัญอีกสองจุดคือ (1) การเลือกวิธีจับอาวุธ แทนที่จะเน้นการขับเคลื่อนมวลชน ซึ่งรวมถึงการนัดหยุดงานของคนทำงานด้วย และ(2) เลือกสมรภูมิชนบท แบบ “ป่าล้อมเมือง”

เราคงเรียนรู้ไปแล้ว จากประวัติศาสตร์ พคท. ว่าการจับอาวุธคงเป็นวิธีที่จะรบกับทหารที่มีอาวุธและรถถังครบมือไม่ได้ แต่จุดอ่อนของทหารคือ เวลาเขาจะบริหารบ้านเมือง เขาใช้ปืนอย่างเดียวไม่ได้ และใช้ตลอดไปไม่ได้อีกด้วย ในที่สุดเขาต้องการอาศัยการร่วมมือจากเรา เราจึงต้องหาทางไม่ร่วมมือ ต้องหาทางประท้วงเมื่อโอกาสเหมาะ

ในเรื่องสมรภูมิ นักประชาธิปไตยคงเข้าใจกันแล้วว่าสมรภูมิหลักคือในเมืองต่างๆ ตามที่เราเห็นคนออกมาประท้วงรัฐประหารเมื่อไม่นานมานี้ เราทำงานปิดลับในเมืองง่ายกว่าในชนบทด้วย เพราะในเมืองมีชุมชนแออัด

ถึงแม้ว่าเราจำใจต้องทำงานปิดลับตอนนี้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าเราต้องรู้จักปรับตัว ถ้าโอกาสหรือช่องว่างเกิดขึ้น เราต้องสามารถเปลี่ยนวิธีทำงานไปเป็นการทำงานแบบเปิดเผยอย่างรวดเร็ว ในอดีตหลายองค์กรที่เคยชินกับการทำงานปิดลับ จะปรับตัวเพื่อทำงานแบบเปิดเผยไม่ทัน ตรงนี้นักปฏิวัติรัสเซียชื่อ เลนิน เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของนักต่อสู้ที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อเข้ากับสถานการณ์เสมอ แต่เวลาเลนินปรับตัว เขาไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนหรือุดมการณ์แต่อย่างใด การปรับตัวต่างจากการฉวยโอกาสทิ้งอุดมการณ์เดิมโดยสิ้นเชิง มันเป็นคนละเรื่องกัน 

หวังพึ่งทักษิณ เพื่อไทย หรือ นปช. ไม่ได้ ดังนั้นเราต้องพึ่งตนเอง

ในเมื่อคนอย่างทักษิณ สามารถครองใจประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ และในเมื่อคนอย่างประยุทธ์ ไม่สามารถครองใจใคร นอกจากสลิ่มและพวกประจบสอพลอล้างลิ้นคอยเลีย แถมยังทำตัวน่าสมเพชเป็นที่อับอายขายหน้าสังคมสากลเพราะหลงตัวเองคิดว่าเป็น สฤษดิ์ กลับชาติมาเกิด ทักษิณได้เปรียบประยุทธ์และทหารเผด็จการแบบขาดลอย

ดังนั้นถ้าทักษิณ มีความประสงค์และมีวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำ เขาสามารถออกประกาศให้ประชาชนเสื้อแดงและคนอื่นที่ชื่นชมไทยรักไทยและเพื่อไทย เตรียมพร้อมจัดตั้ง สร้างเครือข่าย วางแผน ที่จะล้มเผด็จการทหารและสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยได้  แต่ทักษิณไม่มีวันทำ

ทักษิณ ไม่มีวันทำ เพราะทักษิณกลัวการลุกฮือของประชาชนมากกว่าที่จะกลัวว่าสังคมไทยจะถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของเผด็จการทหาร เรื่องนี้ชัดเจนมานาน ตั้งแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่นำไปสู่การตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะทักษิณมัวแต่ชักชวนให้พรรคพวกปรองดองกับทหาร แต่การปรองดองกับทหารทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ใจและในที่สุดนำไปสู่รัฐประหารของประยุทธ์

พลเมืองผู้รักประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเชื่อนิยายหลอกเด็ก ว่าทักษิณ หรือ ใครก็ตาม จะมาปลดแอกสังคมและสร้างประชาธิปไตยให้เราทุกคน เราต้องพึ่งตนเอง และเราต้องพึ่งตนเองในขณะที่แกนนำรากหญ้าหลายคนถูกคุกคามจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว

กาลเวลาและสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ตกและฟ้าดินมืดมน ในไม่ช้าเช้ารุ่งก็จะตามมา แต่ในช่วงตกมืดเราหลับนอนไม่ได้ เราต้องขยันสร้างกลุ่ม เชื่อมกับกลุ่มอื่นและสร้างเครือข่าย เพื่อลุกขึ้นสู้โค่นเผด็จการและสร้างประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้

การสร้างกลุ่มและเครือข่ายน่าจะอาศัยจุดยืนง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยได้  เช่น ปฏิเสธรัฐธรรมนูญปี 50 และการปฏิกูลสังคมที่จะเกิดขึ้นภายใต้เผด็จการประยุทธ์

เราน่าจะมีจุดร่วมว่า สส. และ สว. ทุกคนจะต้องมาจากการเลือกตั้ง  ต้องยุบศาลรัฐธรรมนูญ กกต.และองค์กรอิสระทั้งหมด  ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน เน้นการพัฒนาสถานภาพของพลเมืองทุกคนผ่านการพัฒนารายได้ของคนระดับล่าง ส่งเสริมนโยบายที่พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และ นำทหารมือเปื้อนเลือดที่ก่อรัฐประหารมาลงโทษ

พวกเราควรจะจับกลุ่มกันเพื่อรวมตัวกันภายใต้นโยบายง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยแบบนี้

แล้วเราควรจะออกไปขยายเครือข่ายของคนที่เห็นตรงกับเรา ควรมีการตั้งสภากาแฟในทุกชุมชนเพื่อคุยเรื่องอนาคตประชาธิปไตยไทย ซึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของเครือข่ายที่จะลุกขึ้นมาสู้ จนล้มเผด็จการ

เราอาจไปทำบุญร่วมกันที่วัด แล้วถือโอกาสคุยการเมือง

เราควรพัฒนาความรู้โดยจัดกลุ่มศึกษาเล็กๆ ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ทฤษฎีการเมือง และวิธีการต่อสู้กับเผด็จการ

ในไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อทหารเริ่มหมดสภาพในการครองสังคม จะเกิดช่องโหว่และโอกาสในการเคลื่อนไหว และเมื่อนั้นเครือข่ายทั่วประเทศของเราจะต้องขยับตัวออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่สร้างกลุ่มและเครือข่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าเราจะทำไม่ได้

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

การแจกใบปลิวลับๆ ในสถานที่สาธารณะ โดยกลุ่มใต้ดินที่คัดค้านเผด็จการ ควรอาศัยหลักการดังนี้คือการเลือกเนื้อหา ควรคิดว่าต้องการสื่ออะไรให้ใคร อยากให้ผู้รักประชาธิปไตยทำอะไรเป็นรูปธรรม หรืออยากแจ้งอะไรเพื่อทราบ ที่สำคัญคือเลือกเรื่องสำคัญมาเรื่องเดียวก็พอ คราวต่อไปเสนออีกเรื่อง ใบปลิวไม่ใช่หนังสือ และไม่ใช่แถลงการณ์ยาว

หลีกเลี่ยงคำหยาบถ้าไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงข้อความ 112 แสดงตัวว่าเป็นองค์กรที่มีวุฒิภาวะ

การออกแบบจัดหน้า ต้องมีหัวข้อใหญ่ เห็นและเข้าใจทันที อาจมีหนึ่งรูปภาพ เนื้อหาไม่ควรยาว ใช้เวลาอ่านไม่เกิน 1 นาที ทำใบปลิวขนาด A5 คือครึ่งหน้ากระดาษ และควรใช้โลโก้เดียวตลอด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น เช่นโลโก้ชูสามนิ้วเป็นต้น

ก่อนไปถ่ายเอกสาร ต้องสำรวจแหล่งที่ปลอดภัย อาจถ่ายคนละนิดแล้วมารวมกัน

ก่อนที่จะกระจายใบปลิว ควรสำรวจสถานที่ต่างๆ ก่อน สำรวจว่ากระจายแล้วจะหลบไปอย่างไร เส้นทางใด ฯลฯ

หลายแห่งมีกล้องวงจรปิด เราคงต้องหาทางปิดหน้า แบบดูธรรมชาติ

การกระจายใบปลิวมีหลายรูปแบบ เช่นทิ้งจากที่สูงลงมาบนพื้นที่ที่มีคนเดินไปเดินมา ภายในหรือภายนอกตึก อาจแอบวางบนเก้าอี้ หรือในห้องน้ำ อาจกระจายในมหาวิทยาลัย อาจกระจายตามชุมชน หรือวางบนกระจกรถ ฯลฯ คิดสร้างสรรค์เอง

กระจายเสร็จแต่ละครั้งไม่ควรมีเหลือติดตัว ไม่ควรมีเหลือที่บ้าน ต้นฉบับไม่ควรอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

ถ้าทักษิณมีภาวะในการนำ

ใจ  อึ๊งภากรณ์

ในเมื่อคนอย่างทักษิณ สามารถครองใจประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ และในเมื่อคนอย่างประยุทธ์ ไม่สามารถครองใจใคร นอกจากสลิ่มและพวกประจบสอพลอล้างลิ้นคอยเลีย แถมยังทำตัวน่าสมเพชเป็นที่อับอายขายหน้าสังคมสากลเพราะหลงตัวเองคิดว่าเป็นสฤษดิ์ กลับชาติมาเกิด ทักษิณ ได้เปรียบประยุทธ์และทหารเผด็จการแบบขาดลอย

ดังนั้นถ้าทักษิณ มีความประสงค์และมีวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำ เขาสามารถออกประกาศให้ประชาชนเสื้อแดงและคนอื่นที่ชื่นชมไทยรักไทยและเพื่อไทย เตรียมพร้อมจัดตั้ง สร้างเครือข่าย วางแผน ที่จะล้มเผด็จการทหารและสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยได้  แต่ทักษิณ ไม่มีวันทำ

ทักษิณ ไม่มีวันทำ เพราะทักษิณกลัวการลุกฮือของประชาชนมากกว่าที่จะกลัวว่าสังคมไทยจะถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของเผด็จการทหาร เรื่องนี้ชัดเจนมานาน ตั้งแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่นำไปสู่การตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะทักษิณมัวแต่ชักชวนให้พรรคพวกปรองดองกับทหาร แต่การปรองดองกับทหารทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ใจและในที่สุดนำไปสู่รัฐประหารของประยุทธ์

พลเมืองผู้รักประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเชื่อนิยายหลอกเด็ก ว่าทักษิณ หรือ ใครก็ตามจะมาปลดแอกสังคมและสร้างประชาธิปไตยให้เราทุกคน เราต้องพึ่งตนเอง และเราต้องพึ่งตนเองในขณะที่แกนนำรากหญ้าหลายคนถูกคุกคามจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว

กาลเวลาและสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ตกและฟ้าดินมืดมน ในไม่ช้าเช้ารุ่งก็จะตามมา แต่ในช่วงตกมืดเราหลับนอนไม่ได้ เราต้องขยันสร้างกลุ่ม เชื่อมกับกลุ่มอื่นและสร้างเครือข่าย เพื่อลุกขึ้นสู้โค่นเผด็จการและสร้างประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้

การสร้างกลุ่มและเครือข่ายน่าจะอาศัยจุดยืนง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยได้  เช่น ปฏิเสธรัฐธรรมนูญปี 50 และการปฏิกูลสังคมที่จะเกิดขึ้นภายใต้เผด็จการประยุทธ์   สส. และ สว. ทุกคนจะต้องมาจากการเลือกตั้ง  ยุบศาลรัฐธรรมนูญ กกต.และองค์กรอิสระทั้งหมด  ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน เน้นการพัฒนาสถานภาพของพลเมืองทุกคนผ่านการพัฒนารายได้ของคนระดับล่าง ส่งเสริมนโยบายที่พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และ นำทหารมือเปื้อนเลือดที่ก่อรัฐประหารมาลงโทษ

พวกเราควรจะจับกลุ่มกันเพื่อรวมตัวกันภายใต้นโยบายง่ายๆ ที่สร้างความสามัคคีในมวลชนประชาธิปไตยแบบนี้ แล้วเราควรจะออกไปขยายเครือข่ายของคนที่เห็นตรงกับเรา ควรมีการตั้งสภากาแฟในทุกชุมชนเพื่อคุยเรื่องอนาคตประชาธิปไตยไทย ซึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของเครือข่ายที่จะลุกขึ้นมาสู้ จนล้มเผด็จการ

ในไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อทหารเริ่มหมดสภาพในการครองสังคม จะเกิดช่องโหว่และโอกาสในการเคลื่อนไหว และเมื่อนั้นเครือข่ายทั่วประเทศของเราจะต้องขยับตัวออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่สร้างกลุ่มและเครือข่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าเราจะทำไม่ได้

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

แจกใบปลิวโดยกลุ่มใต้ดิน

การแจกใบปลิวลับๆ ในสถานที่สาธารณะ โดยกลุ่มใต้ดินที่คัดค้านเผด็จการ ควรอาศัยหลักการดังนี้คือ

leaflets3

การเลือกเนื้อหา ควรคิดว่าต้องการสื่ออะไรให้ใคร อยากให้ผู้รักประชาธิปไตยทำอะไรเป็นรูปธรรม หรืออยากแจ้งอะไรเพื่อทราบ ที่สำคัญคือเลือกเรื่องสำคัญมาเรื่องเดียวก็พอ คราวต่อไปเสนออีกเรื่อง ใบปลิวไม่ใช่หนังสือ และไม่ใช่แถลงการณ์ยาว

หลีกเลี่ยงคำหยาบถ้าไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงข้อความ 112 แสดงตัวว่าเป็นองค์กรที่มีวุฒิภาวะ

การออกแบบจัดหน้า ต้องมีหัวข้อใหญ่ เห็นและเข้าใจทันที อาจมีหนึ่งรูปภาพ เนื้อหาไม่ควรยาว ใช้เวลาอ่านไม่เกิน 1 นาที ทำใบปลิวขนาด A5 คือครึ่งหน้ากระดาษ และควรใช้โลโก้เดียวตลอด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น เช่นโลโก้ชูสามนิ้วเป็นต้น

ก่อนไปถ่ายเอกสาร ต้องสำรวจแหล่งที่ปลอดภัย อาจถ่ายคนละนิดแล้วมารวมกัน

ก่อนที่จะกระจายใบปลิว ควรสำรวจสถานที่ต่างๆ ก่อน สำรวจว่ากระจายแล้วจะหลบไปอย่างไร เส้นทางใด ฯลฯ

leaflets4

หลายแห่งมีกล้องวงจรปิด เราคงต้องหาทางปิดหน้า แบบดูธรรมชาติ

การกระจายใบปลิวมีหลายรูปแบบ เช่นทิ้งจากที่สูงลงมาบนพื้นที่ที่มีคนเดินไปเดินมา ภายในหรือภายนอกตึก อาจแอบวางบนเก้าอี้ หรือในห้องน้ำ อาจกระจายในมหาวิทยาลัย อาจกระจายตามชุมชน หรือวางบนกระจกรถ ฯลฯ คิดสร้างสรรค์เอง

กระจายเสร็จแต่ละครั้งไม่ควรมีเหลือติดตัว ไม่ควรมีเหลือที่บ้าน ต้นฉบับไม่ควรอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

เราต้องจัดตั้งลับ เรียนรู้จากข้อดีข้อเสียของ พคท.

เราต้องจัดตั้งลับ เรียนรู้จากข้อดีข้อเสียของ พคท.

ใจ อึ๊งภากรณ์

ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจะต้องทำงานปิดลับใต้ดิน เพื่อคานอำนาจมืดของทหารที่คอยคุกคามเราตลอด แต่สำหรับคนรุ่นผม มันไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยต้องสู้แบบปิดลับมานาน ครั้งสุดท้ายก็หลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙

hammer-and-sickle-md

     เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษายุทธวิธีการเคลื่อนไหวใต้ดิน พวกเราควรทบทวนแนวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นกับจุดด้อย

พคท. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการจัดตั้งมวลชน เพราะมวลชนที่กระจัดกระจายแบบ “ต่างคนต่างทำ” อาจกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวในตอนต้น แต่พอไปสักพักก็หมดกำลังใจ หมดแรง

การจัดตั้งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงไปทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้ พคท. ต่อสู้ไปได้นาน ทั้งๆ ที่มีการพยายามปราบปรามอย่างหนักจากฝ่ายชนชั้นปกครองไทย นอกจากนี้การจัดตั้งหมายความว่าทุกคนมี “ความเข้าใจร่วมกัน” ว่าสังคมมีลักษณะแบบไหน และก้าวต่อไปในการต่อสู้ควรจะเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ พคท. มีทฤษฏีที่วิเคราะห์สังคมและนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันของสมาชิก เรื่องนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะขณะที่ฝ่ายทหารเผด็จการกำลังสร้างกระแสความกลัว ขณะที่ผู้ปฏิบัติการบางคนถูกจับไป ขณะที่แกนนำเก่ายอมจำนนและสร้างความสับสนในมวลชน เราต้องรักษาความมั่นใจ เราต้องรักษาปัญญาที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ และเราต้องมีแผนสู้

พคท. เข้าใจการทำงานปิดลับที่อาศัยกลุ่มเล็กๆ ที่ประสานงานกันทั่วประเทศ และนอกประเทศ ผ่านตัวแทนหรือที่สหายเก่าเรียกกันว่า “จัดตั้ง” หรือแกนนำของกลุ่มเล็กๆ นั้นเอง นี่คือวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการปราบปรามองค์กร

แต่การจัดตั้งของพคท. มีข้อบกพร่องใหญ่คือ การจัดตั้งของเขาเป็นรูปแบบเผด็จการ สหายนำสั่งลงมาและลูกพรรคต้องทำตาม ต้องเห็นด้วย คิดเองไม่ได้ ไม่มีประชาธิปไตยภายใน ในแง่หนึ่งพอพูดแบบนี้ก็ทำให้เรานึกได้ว่า พคท. เป็นเงาสะท้อนกลับสังคมเผด็จการ แต่ถ้าเราจะสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย เราใช้วิธีการของเผด็จการไม่ได้

ดังนั้นการจัดตั้งรูปแบบใหม่ที่เราต้องใช้คือ การจัดตั้งกลุ่มเล็กๆ ที่ถกเถียงประเด็นอย่างเสรี เรียนรู้และศึกษาสภาพสังคมด้วยกัน และส่งผู้แทนไปประสานกับผู้แทนของกลุ่มอื่นๆ มันเป็นการจัดตั้งแบบรากหญ้า หรือแบบล่างสู่บน ซึ่งมีลักษณะประชาธิปไตย

การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวสำคัญเพราะ เป็นวิธีที่จะประมวลประสบการณ์การต่อสู้ของทุกคนในโลกจริง แทนที่จะทำงานภายใต้ความคิดของคนคนเดียวหรือแกนนำไม่กี่คน มันเป็นวิธีที่เราจะทดสอบการวิเคราะห์สังคมและแนวสู้ในโลกจริง เพื่อปรับปรุงตลอดเวลา ไม่ใช่ทำงานแบบท่องสูตร

ในขณะเดียวกันเราต้องเข้าใจว่า การมีประชาธิปไตยในองค์กรเคลื่อนไหวแบบที่เราจะสร้าง ไม่ได้หมายความว่า “ต่างคนต่างเคลื่อนไหว” แบบเสรี 100% เพราะนั้นจะนำไปสู่การปฏิบัติแบบกระจัดกระจาย ซึ่งจะไม่มีพลังเมื่อเผชิญหน้ากับเผด็จการรวมศูนย์ของฝ่ายอำมาตย์ เราต้องมีวินัยในตัวเราเองที่จะทำตามมติเสียงส่วนใหญ่เสมอ เราจะมาเสพสุขกับความเป็นเสรีชนไม่ได้ถ้าเราจะโค่นเผด็จการ

พคท. เข้าใจเสมอว่าเราต้องขยายมวลชนและขยายความคิดไปสู่คนจำนวนมาก เราก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้เช่นกัน ไม่ใช่แค่พอใจในการกระทำของกลุ่มเล็กๆ อย่าลืมว่าเพื่อนๆ พลเมืองไทยเป็นล้านๆ ไม่พอใจกับการเหยียบย่ำสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยโดยทหารหรือม็อบพรรคประชาธิปัตย์ พลเมืองเหล่านี้คือแนวร่วมสำคัญของเรา

พคท. มีจุดอ่อนสำคัญอีกสองจุดคือ (1) การเลือกวิธีจับอาวุธ แทนที่จะเน้นการขับเคลื่อนมวลชน ซึ่งรวมถึงการนัดหยุดงานของคนทำงานด้วย และ(2) เลือกสมรภูมิชนบท แบบ “ป่าล้อมเมือง”

เราคงเรียนรู้ไปแล้ว จากประวัติศาสตร์ พคท. ว่าการจับอาวุธคงเป็นวิธีที่จะรบกับทหารที่มีอาวุธและรถถังครบมือไม่ได้ แต่จุดอ่อนของทหารคือ เวลาเขาจะบริหารบ้านเมือง เขาใช้ปืนอย่างเดียวไม่ได้ และใช้ตลอดไปไม่ได้อีกด้วย ในที่สุดเขาต้องการอาศัยการร่วมมือจากเรา เราจึงต้องหาทางไม่ร่วมมือ ต้องหาทางประท้วงเมื่อโอกาสเหมาะ

ในเรื่องสมรภูมิ นักประชาธิปไตยคงเข้าใจกันแล้วว่าสมรภูมิหลักคือในเมืองต่างๆ ตามที่เราเห็นคนออกมาประท้วงรัฐประหารเมื่อไม่นานมานี้ เราทำงานปิดลับในเมืองง่ายกว่าในชนบทด้วย เพราะในเมืองมีชุมชนแออัด

ถึงแม้ว่าเราจำใจต้องทำงานปิดลับตอนนี้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าเราต้องรู้จักปรับตัว ถ้าโอกาสหรือช่องว่างเกิดขึ้น เราต้องสามารถเปลี่ยนวิธีทำงานไปเป็นการทำงานแบบเปิดเผยอย่างรวดเร็ว ในอดีตหลายองค์กรที่เคยชินกับการทำงานปิดลับ จะปรับตัวเพื่อทำงานแบบเปิดเผยไม่ทัน ตรงนี้นักปฏิวัติรัสเซียชื่อ เลนิน เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของนักต่อสู้ที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อเข้ากับสถานการณ์เสมอ แต่เวลาเลนินปรับตัว เขาไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนหรือุดมการณ์แต่อย่างใด การปรับตัวต่างจากการทิ้งอุดมการณ์เดิมโดยสิ้นเชิง มันเป็นคนละเรื่องกัน

ประชาชนจงเจริญ!