Tag Archives: ชนชั้นกรรมาชีพ

ประชุม COP 26 ล้มเหลวในการแก้ปัญหาโลกร้อน

ชื่อของการประชุมสหประชาชาติ COP26 บ่งบอกถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของการประชุมดังกล่าว เพราะประชุมกันมา 26 ครั้งแต่ไม่แก้ปัญหาโลกร้อนเลย ซึ่งเราเห็นชัดในรูปแบบไฟไหม้ป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุร้ายแรง และวิกฤตอากาศเสียจากฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีสองปีที่ผ่านมา

องค์กร IPCC ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศระดับโลก ได้ประกาศว่าปีนี้วิกฤตโลกร้อนถึงขั้นสูงสุด “ไฟแดง” เพราะในปี 2020 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2)ในบรรยากาศโลกสูงถึง 417 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) ซึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งสุดท้ายที่สูงถึงขนาดนี้คือก็เมื่อ 3 ล้านปีมาก่อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหาเช่นมีเทน ก๊าซ CO2 มาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย คาดว่าถ้าไม่มีการแก้ปัญหาจะมีผู้ลี้ภัยภูมิอากาศหลายล้านคน

ปัญหาโลกร้อนเชื่อมโยงกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองในเมืองใหญ่ๆ เพราะมาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนในระบบขนส่ง และไฟไหม้ป่าที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

ทั้งๆ ที่มีการประชุม COP มาเรื่อยๆ และทั้งๆ ที่รัฐบาลต่างๆ สัญญาแบบลมๆ แล้งๆ ว่าจะลดการผลิตก๊าซ CO2 ทุกปี แต่ทุกปีการผลิตก๊าซนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกพวกรัฐบาลและกลุ่มทุนพยายามปฏิเสธปัญหาโลกร้อนทั้งๆ ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเป็นความจริง ต่อมาก็มีการแย่งกันโทษประเทศอื่นๆ เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตน และล่าสุดก็มีการโกหกกันว่าจะใช้กลไกตลาดเสรีกับเทคโนโลจีใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งทำไม่ได้

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูด CO2  ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือเป้าหมาย “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิต CO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง การโกหกทุกคำ พูดไปเพื่อชะลอการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนอันเป็นที่มาของกำไรมหาศาลของกลุ่มทุน

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันนานแล้วว่าถ้าเราจะหลีกเลี่ยงวิกฤตภูมิอากาศร้ายแรง เราจะต้องจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 1.5 OC แต่ในปัจจุบันอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.1 OC และถ้าเราคำนวณผลของคำมั่นสัญญาของผู้นำโลกเรื่องเป้าหมายในการผลิตก๊าซเรือนกระจกในอนาคต อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 2.4 OC

ในเรื่องการเผาถ่านหิน การประชุมCOPแค่สรุปว่าจะลดการใช้ในอนาคต ไม่ใช่ว่าจะเลิกเผาถ่านหินแต่อย่างใด มีแค่สิบประเทศเท่านั้นที่จะเลิกเผาถ่านหิน และหลายประเทศกำลังขยายเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหิน สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มการใช้ถ่านหินจากปีที่แล้วถึง 22% ประเทศจีนก็จะเพิ่มการใช้ถ่านหินเช่นกัน นอกจากนี้การประชุมCOPไม่เอ่ยถึงปัญหาการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเลย

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่ผู้นำต่างๆ สัญญา ไม่เคยแปรไปเป็นความจริงในรูปธรรมเลย และทุกวันนี้ทั่วโลก บริษัทเชื้อเพลิงคาร์บอนได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลต่างๆ ถึง $11ล้านต่อนาที

ผลของการประชุม COP ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะคณะตัวแทนที่ใหญ่ที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือคณะของตัวแทนบริษัทน้ำมัน ก๊าซ กับถ่านหิน ซึ่งมีผู้แทนทั้งหมด 500 คน ในขณะที่ตัวแทนของคนจนในโลกที่สาม หรือตัวแทนของประชาชนที่จะเดือดร้อนที่สุด ไม่สามารถเข้าประชุมได้ สรุปแล้วมันเป็นการประชุมของนายทุนและรัฐบาลพรรคนายทุนเท่านั้น

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น แต่ในไทยกระแสต้านโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวที่ประท้วงเผด็จการ หรือในขบวนการสหภาพแรงงาน

เราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ เป็นชนชั้นเดียวที่มีพลังทางเศรษฐกิจพอที่จะสามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน แต่แค่การกดดันให้แก้ปัญหาภายในโครงสร้างทุนนิยมมันจะไม่พอ ต้องมีการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อล้มทุนนิยมและเปลี่ยนระบบ

แต่ท่ามกลางความล้มเหลวของการประชุมCOP พวกนักการเมืองกระแสหลักอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดีโอบามา หรือพวกเอ็นจีโอ มักจะเสนอว่าเราต้องรณรงค์แก้ปัญหาโลกร้อนภายในระบบทุนนิยมปัจจุบัน

เราไม่สามารถเชื่อมันได้ว่าระบบทุนนิยมปัจจุบัน จะหาทางออกแท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตร้ายแรงที่เผชิญหน้าเราทุกคนในโลก เรานิ่งนอนใจไม่ได้ แค่ดูวิกฤตโควิดที่นำไปสู่การล้มตายของประชาชนโลกประมาณ 5-15 ล้านคน หรือดูสงครามร้ายแรงที่เกิดจากระบบทุนนิยมซ้ำแล้วซ้ำอีกในร้อยปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นภาพ พวกนายทุนและนักการเมืองนายทุนไม่สนใจที่จะปกป้องอะไรนอกจากกำไรและผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าพลเมืองโลกเป็นล้านๆ จะล้มตายหรือเดือดร้อนแค่ไหน

ในไทยการที่ทหารครองอำนาจรัฐ และคุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่ารัฐบาลจะไม่มีทางเสนอนโยบายก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้เลย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็เพิ่งอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก 2 แห่งที่แม่เมาะ

สำนักข่าวBloombergรายงานว่ารัฐบาลไทยสัญญาว่าจะนำประเทศสู่การ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ภายในปี 2050 หรือ 2065 แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตพลังงานสูงถึง 67% และเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนเพื่อผลิตพลังงานอีก23% ในขณะที่แสงแดด ลม และพลังน้ำผลิตแค่ 10% ของพลังงานทั้งหมด

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำอันใหม่ที่เขื่อนสิรินธรที่พึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้า และอีก 16 โครงการคล้ายๆ กัน จะสามารถผลิตไฟฟ้าแค่ 2.7 gigawatts ดังนั้นต้องมีการขยายโครงการแบบนี้ทั่วประเทศในขณะที่เลิกเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนและปิดโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ก๊าซ ถ่านหิน หรือฟืน Biomass

เราสามารถลดการผลิต CO2 และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจัง ด้วยมาตรการรูปธรรม คือ

  1. หยุดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน คือ ก๊าซ ฟืน กับ ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าและหันมาใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับลมแทน และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนในครัวเรือน
  2. พัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟกับรถเมล์ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดกับลม ยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนตัว และลดการใช้เครื่องบิน
  3. ยกเลิกระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่ผลิตก๊าซเรือนกระจก
  4. สร้างงานจำนวนมากมาทดแทนงานเก่าในโรงงานไฟฟ้าและโรงงานประกอบรถยนต์ งานใหม่นี้ต้องช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก เช่นการสร้างและคุมโรงไฟฟ้าแบบใหม่ การลดความร้อนของตึกต่างๆ และการสร้างรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงกับรถเมล์ไฟฟ้า แต่เราไว้ใจบริษัทเอกชนไม่ได้ ต้องเป็นกิจกรรมของภาครัฐภายใต้การควบคุมของประชาชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

อำนาจของเผด็จการประยุทธ์ไม่ได้มาจากวชิราลงกรณ์แต่อย่างใด

อำนาจของเผด็จการประยุทธ์ไม่ได้มาจากวชิราลงกรณ์แต่อย่างใด คนที่เพ้อฝันคิดแบบนั้นเป็นคนที่ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย และไม่เข้าใจธาตุแท้ของกษัตริย์ไทย ความคิดแบบนี้จะปล่อยให้ทหารลอยนวล และไม่นำไปสู่การสู้กับเผด็จการตรงจุด

อำนาจของเผด็จการประยุทธ์มาจาก

1. การคุมกองกำลังทหารที่สามารถทำรัฐประหารได้

2. ฐานสนับสนุนเผด็จการประยุทธ์ในหมู่สลิ่มชนชั้นกลาง

การคุมกองกำลังทหารที่สามารถทำรัฐประหารได้

การคุมกองกำลังทหารเป็นการคุมอำนาจทางการเมืองที่สำคัญในประเทศไทย ซึ่งทำให้มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลหลายๆ ครั้ง ที่สำคัญสำหรับบทความนี้คือ บ่อยครั้งมีความขัดแย้งกันภายในกองทัพ เพื่อแย่งชิงอำนาจนี้ ซึ่งคงไม่เกิดถ้ากษัตริย์คุมกองทัพอย่างเบ็ดเสร็จ และที่สำคัญอีกคือมีกรณีที่มีการทำรัฐประหารที่สำเร็จและนำไปสู่การล้มรัฐบาลที่กษัตริย์เคยสนับสนุน ตัวอย่างคือการทำรัฐประหารล้มรัฐบาล “หอย” ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ภูมิพลเคยชื่นชม เพียงหนึ่งปีหลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙

ฐานสนับสนุนเผด็จการประยุทธ์ในหมู่สลิ่มชนชั้นกลาง

ก่อนหน้าที่ประยุทธ์จะทำรัฐประหารล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีมวลชนของพวกสลิ่มออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลบนท้องถนนมากมาย มวลชนฝ่ายขวาเหล่านี้ไม่สนับสนุนระบบประชาธิปไตย เกลียดทักษิณเพราะทักษิณทำแนวร่วมกับคนจนเพื่อสร้างฐานเสียงให้ตัวเอง และไม่พอใจการ “นิรโทษกรรมเหมาเข่ง” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่กษัตริย์รัชกาลที่ 9 ป่วยหนักและหมดสภาพที่จะทำอะไร และวชิราลงกรณ์ก็มัวแต่เสพสุขที่เยอรมัน

การทำรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ที่สามารถล้มรัฐบาลทักษิณ เกิดขึ้นหลังจากที่พวกเสื้อเหลืองและกลุ่มพันธมิตรกึ่งฟาสซิสต์ทำการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างต่อเนื่องหลายเดือน และพวกเหลืองเหล่านี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพวกเอ็นจีโออีกด้วย การทำรัฐประหารครั้งนี้ทำไม่ได้ถ้าไม่มีกระแสปฏิกิริยาของฝ่ายเหลืองในสังคม และย่อมทำไม่ได้ถ้าตอนนั้นทักษิณเตรียมตัวจัดมวลชนเพื่อต้านรัฐประหาร ซึ่งเขาไม่มีวันทำ

หลังจากที่เผด็จการประยุทธ์ครองอำนาจมา 5 ปี มีการจัดการเลือกตั้งปลอมในปี 2562 ภายใต้กติกาที่ทหารร่างขึ้น ประเด็นสำคัญคือ 1. ทำไมต้องจัดการเลือกตั้งถ้าวชิราลงกรณ์ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ? แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ 2. มีประชาชนไทยหลายล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศที่ลงคะแนนสนับสนุนพรรคของประยุทธ์และพรรคร่วมรัฐบาลของเขา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจจากฐานเสียงในสังคมที่เผด็จการประยุทธ์ใช้เพื่อครองอำนาจ มันไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกษัตริย์

พอมาถึงช่วงนี้ วิกฤตโควิดและความไม่พอใจอื่นๆ ที่สะสมในสังคม เริ่มทำลายฐานสนับสนุนของประยุทธ์ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลบนท้องถนน

การทำความเข้าใจกับกระแสสังคม ฐานเสียงในกลุ่มและชนชั้นต่างๆ ของสังคม

ลัทธิคลั่ง “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” มีความสำคัญสำหรับทหารและชนชั้นนายทุนไทย ในการกล่อมเกลาประชาชนให้สนับสนุนสิ่งที่ชนชั้นปกครองเหล่านี้กระทำ แต่มันต่างโดยสิ้นเชิงกับ “อำนาจกษัตริย์” ซึ่งเป็นภาพลวงตา

การทำความเข้าใจกับกระแสสังคม ฐานเสียงในกลุ่มและชนชั้นต่างๆ ของสังคม เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราจะล้มเผด็จการได้ ที่สำคัญคือต้องมีการปลุกระดมกรรมาชีพคนทำงาน คือคนที่มีพลังทางเศรษฐกิจ ให้นัดหยุดงานเพื่อล้มเผด็จการ และสิ่งนี้เกิดได้ง่ายขึ้นถ้ามีการสร้างพรรคสังคมนิยม (ไม่ใช่สร้าง “สหภาพคนทำงาน”)

การทำความเข้าใจกับกระแสสังคม ฐานเสียงในกลุ่มและชนชั้นต่างๆ ของสังคม จะช่วยกำจัดการถูกครอบงำโดย “ทฤษฎีสมคบคิด” เกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

สภาวะแปลกแยก กับการสร้างภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์  https://bit.ly/3B3mwOk

นักเคลื่อนไหวควรปฏิเสธการถูกครอบงำโดย “ทฤษฎีสมคบคิด”   https://bit.ly/385NoRk

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

ข้อเสนอสำหรับการต่อสู้ http://bit.ly/2Y37gQ5  

ทำไมนักมาร์คซิสต์ต้องสร้างพรรค? http://bit.ly/365296t  

สหภาพแรงงานใช้แทนพรรคไม่ได้ https://bit.ly/2V2LBcJ

ถ้าจะไล่เผด็จการต้องปลุกระดมการนัดหยุดงาน

หลายคนคงหงุดหงิดกับการที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการปราบม็อบ วิธีโต้ตอบความรุนแรงของรัฐที่มีพลังจริงๆ และไม่ใช่แค่สะใจชั่วคราว คือการนัดหยุดงาน

การนัดหยุดงานเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจที่สามารถล้มเผด็จการทหารได้

หลายคนจะบ่นว่ากรรมาชีพไทย “จะเอาตัวรอดไม่ได้อยู่แล้ว จะหวังให้ออกมานัดหยุดงานได้อย่างไร?” หรือบางคนพูดว่า “ขบวนการแรงงานไทยอ่อนแอเกินไป” ที่จะเป็นหัวหอกในการต่อสู้

คำพุดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคำแก้ตัวของนักสหภาพแรงงานหรือนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่จะไม่จัดตั้งกรรมาชีพไทยในทางการเมือง ก็เลยสดวกสบายที่จะทำอะไรเดิมๆ เช่นการสอนให้คนงานแค่รู้จักกฏหมายแรงงานและรัฐสวัสดิการ แทนที่จะปลุกระดมทางการเมือง หรือบางคนอาจแค่พึงพอใจที่จะให้ “ผู้แทน” ของสหภาพแรงงานปราศรัยกับม็อบคนหนุ่มสาว โดยไม่สนใจที่จะมีการตั้งวงเพื่อร่วมกันคิดว่าจะสร้างกระแสนัดหยุดงานอย่างไร

กรรมาชีพพม่าไม่ได้สะดวกสบายกว่าที่ไทย แต่เขานัดหยุดงานได้เพราะเขาเข้าใจความสำคัญ

การปลุกระดมและเตรียมตัวนัดหยุดงาน

การที่จะลงมือเตรียมวางแผนการนัดหยุดงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันทำได้ ต้องเน้นการพูดคุยกับคนทำงานจำนวนมาก คนหนุ่มสาวไฟแรงที่นำการประท้วงควรจะจัดทีมเพื่อไปพูดคุยกับคนทำงาน อาจในสถานที่ทำงาน หรือในทางเข้าออกจากที่ทำงาน และต้องพยายามสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะกับแกนนำสหภาพแรงงานถ้าเขาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

ต้องมีการถกเถียงกับคนที่ยังไม่พร้อม หรือคนที่มีข้อกังวลมากมาย ข้อกังวลเป็นเรื่องจริงที่เราต้องเคารพ คือคนจะกังวลว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ กังวลว่าถ้าเขาออกมาคนอื่นจะออกมาด้วยหรือไม่ กังวลว่าถ้าสถานที่ทำงานเขาหยุดงานที่อื่นจะหยุดด้วยหรือไม่ หรือกังวลว่ามันผิดกฏหมาย ฯลฯ

การโต้ข้อกังวลต้องอาศัยความรู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยว เรามีเพื่อนร่วมงานที่พร้องจะร่วมมือกันจับมือกันและแสดงความสมานฉันท์ในการต่อสู้ การเน้นความปัจเจกย่อมทำให้การต่อสู้ล้มเหลว

แน่นอนการนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองย่อมผิดกฏหมาย แต่การชุมนุมไล่ประยุทธ์ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเผด็จการอยู่แล้ว แต่คนเป็นหมื่นเป็นแสนพร้อมจะฝ่าฝืนกฏหมายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ถ้าจะมีการนัดหยุดงานเพื่อไล่ประยุทธ์กับคณะเผด็จการ เพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต้องมีการคุยเรื่องเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก และขณะนี้เป็นโอกาสทองที่จะทำ เพราะกระแสกำลังขึ้นสูงและประชาชนก็เคารพชื่นชมในสิ่งที่คนหนุ่มสาวทำ

ถ้าเพื่อนๆ ของเราในพม่านัดหยุดงานทั่วไปได้ เราก็ทำได้ ประเด็นคือพวกเราจะทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อให้มันเกิดหรือไม่

ใจ อึ๊งภากรณ์

ข้อเสนอสำหรับการต่อสู้ http://bit.ly/2Y37gQ5

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

นักสังคมนิยมเชื่อว่าชนชั้นกรรมาชีพคือผู้ที่จะปลดแอกประเทศไทยได้

ชนชั้นกรรมาชีพคือใคร?

ชนชั้นกรรมาชีพตามนิยมของลัทธิมาร์คซ์ คือ ทุกคนที่ไร้ปัจจัยการผลิต ลูกจ้างนั้นเอง ลูกจ้างทุกคนที่ไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษถือว่าเป็นกรรมาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรโรงงาน พนักงานปกคอขาวในธนาคาร คนขับรถเมล์ คนขับรถไฟ พนักงานสายการบิน พนักงานโรงพยาบาล หรือครูบาอาจารย์ฯลฯ

หลายคนไม่เข้าใจคำว่า “ปัจจัยการผลิต” และคิดว่าคำนี้เหมือนคำว่า “ทรัพย์สมบัติ” แต่สองคำนี้ต่างกันมาก ปัจจัยการผลิตคือ โรงงาน ที่ดิน และบริษัทที่นำมาใช้ในการผลิตหรือในการแจกจ่ายผลผลิต ส่วนทรัพย์สมบัติอาจรวมถึงสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในการผลิต เช่น เสื้อผ้า เตียง โทรทัศน์ หรือตู้เย็น

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปลดแอกสังคมไม่ใช่เพราะชนชั้นนี้ถูกกดขี่หนักที่สุด หรือถูกขูดรีดหนักที่สุด บางครั้งการที่มนุษย์ถูกกดขี่อย่างหนักอาจทำให้ขาดความมั่นใจ และไม่มีความประสงค์ที่จะทำอะไรเลยนอกเหนือจากการแสวงหาวิธีเลี้ยงชีพเพื่อเอาตัวรอดเป็นวัน ๆ ไป

ชนชั้นกรรมาชีพไม่ได้สำคัญต่อการปลดแอกสังคมเพราะชนชั้นนี้มีจิตสำนึกสูงกว่าชนชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ ความจริงแล้วจิตสำนึกไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่มาจากประสบการณ์ในการต่อสู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กระทำอยู่ทุกวัน มาร์คซ์ เขียนถึงปัญหาการวมตัวของชนชั้นกรรมาชีพว่า ชนชั้นนี้ต้องพยายามสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นเพื่อให้แปรรูปเป็น “ชนชั้นเพื่อตัวเอง” การแปรรูปแบบนี้จะเริ่มด้วยการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อการแก้ปัญหาปากท้อง แต่จะหยุดอยู่แค่นั้นไม่ได้ ต้องมีการพัฒนาการเคลื่อนไหวในทางการเมืองด้วย ตรงนี้บทบาทของพรรคสังคมนิยมมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปลดแอกสังคมมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

(1)      ชนชั้นกรรมาชีพมีความสัมพันธ์พิเศษในระบบการผลิตและบริการของทุนนิยมเพราะทุนนิยมผลักดันให้ชนชั้นกรรมาชีพเข้ามาทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงานขนาดใหญ่ โดยที่งานของแต่ละคนต้องอาศัยพึ่งพางานของเพื่อนร่วมงานตลอด ตัวอย่าง เช่น พนักงานสร้างรถยนต์ในโรงงาน ไม่สามารถสร้างรถคันหนึ่งขึ้นมาตามลำพัง แต่ต้องอาศัยงานของคนอื่นจากแผนกอื่น ๆ ของโรงงาน หรือในโรงพยาบาล พนักงานคนหนึ่งไม่สามารถรักษาคนไข้ตามลำพังได้ ต้องอาศัยงานของคนในแผนกต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทำงานแบบนี้ช่วยส่งเสริมความคิดในเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม และการร่วมมือกัน

นอกจากนี้แล้วเวลามีปัญหาที่ทำให้คนงานเดือดร้อนวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลมากที่สุด คือ การรวมกลุ่มเพื่อเจรจากับนายจ้างซึ่งอาจช่วยทำให้คนงานเห็นคุณค่าของความสามัคคีด้วย

(2)     ชนชั้นกรรมาชีพมีอำนาจซ่อนเร้นอยู่สูง เนื่องจากกรรมาชีพเป็นชนชั้หลักที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมาในใจกลางของระบบ เศรษฐกิจทุนนิยมต้องอาศัยการทำงานของชนชั้นกรรมาชีพตลอด นายทุนนายจ้างไม่สามารถทำงานแทนชนชั้นกรรมาชีพได้ เครื่องจักรหรือระบบคมนาคมต้องถูกควบคุมและสร้างขึ้นโดยกรรมาชีพ และต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมัน ทีมาจากการทำงานของคนงาน

ถ้าชนชั้นกรรมาชีพทุกคนหยุดงานพร้อม ๆ กันจะเกิดอะไรขึ้น ? ไฟฟ้าจะดับ น้ำจะไม่ไหล การคมนาคมสื่อสารทุกชนิดจะยุติลง ในสำนักงานต่าง ๆ แอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์จะดับ และการผลิตในโรงงานจะยุติลง

อำนาจซ่อนเร้นแบบนี้ของชนชั้นกรรมาชีพมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้กำลังทุกชนิดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพสามารถปลดแอกสังคมได้

(3)     ชนชั้นกรรมาชีพเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมสมัยใหม่ ในยุคที่มาร์คซ์กับเองเกิลส์เคลื่อนไหว ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกมีจำนวนน้อยมาก น้อยกว่าจำนวนคนงานทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันเสียอีก แต่ในยุคสมัยใหม่ชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของโลก แม้แต่ในประเทศไทยในปัจจุบันชนชั้นกรรมาชีพมีมากกว่าชนชั้นอื่น

การปลุกระดมและเตรียมตัวนัดหยุดงาน

การที่จะลงมือเตรียมวางแผนการนัดหยุดงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันทำได้ ต้องเน้นการพูดคุยกับคนทำงานจำนวนมาก คนหนุ่มสาวไฟแรงที่นำการประท้วงควรจะจัดทีมเพื่อไปพูดคุยกับคนทำงาน อาจในสถานที่ทำงาน หรือในทางเข้าออกจากที่ทำงาน และต้องพยายามสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะกับแกนนำสหภาพแรงงานถ้าเขาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

ต้องมีการถกเถียงกับคนที่ยังไม่พร้อม หรือคนที่มีข้อกังวลมากมาย ข้อกังวลเป็นเรื่องจริงที่เราต้องเคารพ คือคนจะกังวลว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ กังวลว่าถ้าเขาออกมาคนอื่นจะออกมาด้วยหรือไม่ กังวลว่าถ้าสถานที่ทำงานเขาหยุดงานที่อื่นจะหยุดด้วยหรือไม่ หรือกังวลว่ามันผิดกฏหมาย ฯลฯ

การโต้ข้อกังวลต้องอาศัยความรู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยว เรามีเพื่อนร่วมงานที่พร้องจะร่วมมือกันจับมือกันและแสดงความสมานฉันท์ในการต่อสู้ การเน้นความปัจเจกย่อมทำให้การต่อสู้ล้มเหลว

แน่นอนการนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองย่อมผิดกฏหมาย แต่การชุมนุมไล่ประยุทธ์ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเผด็จการอยู่แล้ว แต่คนเป็นหมื่นเป็นแสนพร้อมจะฝ่าฝืนกฏหมายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ถ้าจะมีการนัดหยุดงานเพื่อไล่ประยุทธ์กับคณะเผด็จการ เพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต้องมีการคุยเรื่องเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก และขณะนี้เป็นโอกาสทองที่จะทำ เพราะกระแสกำลังขึ้นสูงและประชาชนก็เคารพชื่นชมในสิ่งที่คนหนุ่มสาวทำ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าจะปลดแอกตนเอง ต้องสมานฉันท์กับแรงงานพม่า

คาร์ล มาร์คซ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าถ้ากรรมาชีพอังกฤษไม่เลิกดูถูกคนจากเกาะไอร์แลนด์ที่เข้ามาทำงานก่อสร้างในอังกฤษ เขาจะไม่มีวันปลดแอกตนเองได้

ในลักษณะเดียวกัน ตราบใดที่คนไทยดูถูกและรังเกียจแรงงานพม่า คนไทยไม่มีวันปลดแอกตนเองได้ เพราะอะไร?

ลัทธิชาตินิยมเป็นรากฐานความคิดว่า “เราแตกต่างจากคนพม่า” “คนไทยทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน” “เราต้องรักชาติ ศาสนา กษัตริย์” “เราภูมิใจในความเป็นไทย” ฯลฯ จนมีการยอมรับกันว่าต้องควบคุมการเข้าออกของเพื่อนมนุษย์จากประเทศเพื่อนบ้าน และสมควรแล้วที่จะโทษคนงานพม่าว่านำเชื้อโรคเข้ามาในไทย

แต่ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิที่ล่ามโซ่พวกเราเพื่อทำให้เราเป็นทาสของชนชั้นปกครอง ชนชั้นปกครองไทยเป็นพวกที่กดขี่ ขูดรีด เอารัดเอาเปรียบเรามาตลอด เป็นพวกที่สอนให้เราก้มหัวและคลานต่อคนข้างบน และเป็นพวกที่พร้อมจะใช้ความรุนแรงกับเราเมื่อเราเรียกร้องเสรีภาพกับประชาธิปไตย

เราไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับชนชั้นปกครองไทยแม้แต่นิดเดียว

แต่เรามีผลประโยชน์ร่วมกับกรรมาชีพที่ข้ามพรมแดนมาหางานทำ เพราะเขาไม่แตกต่างจากเราในการที่จะต้องกระตือรือร้นที่จะเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวภายใต้ระบบทุนนิยมที่สร้างปัญหาความยากลำบากให้ทุกคน เราเป็นพี่น้องกัน

ชนชั้นปกครองไทยเป็นศัตรูของเรา แต่ยังดูถูกเราด้วยการเรียกตัวมันเองเป็น “พ่อ” “แม่” หรือ “ลุง” ทั้งๆ ที่เรามีพ่อแม่หรือลุงของเราเองอยู่แล้ว

มันง่ายจังเลยที่เผด็จการประยุทธ์จะโทษแรงงานพม่าว่าสร้างวิกฤตโควิด เพราะมันเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่คนงานไทยจำนวนมากตกงานและขาดรายได้จากวิกฤตโควิดที่เริ่มเมื่อต้นปี๒๕๖๓ มันเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่รัฐบาลเผด็จการไม่ยอมลงทุนสร้างรัฐสวัสดิการให้กับเรา ในขณะที่เผด็จการใช้เงินภาษีของเราในการซื้ออาวุธหรือในการเลี้ยงปรสิตราชวงศ์ในวิถีชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย มันหน้าด้านอ้างว่าประเทศไม่มีเงินพอที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง

อย่าลืมว่าแรงงานกรรมาชีพ ทั้งไทยและพม่า เป็นผู้ทำงานสร้างมูลค่าในสังคม ไม่ใช่นายทุน กษัตริย์ หรือพวกขุนศึก

แรงงานข้ามชาติเข้ามาในไทยเพราะสังคมขาดกำลังงาน โดยเฉพาะในภาคที่มีงานอันตราย สกปรก และค่าจ้างต่ำ ทุกครั้งที่เราไปกินซีฟู๊ดเราควรระลึกถึงคนที่ทำงานเพื่อนำกุ้งปูปลามาถึงจานของเรา และควรระลึกต่อไปว่าสภาพความเป็นอยู่ของเขายากลำบากแค่ไหน ต้องจากบ้านเกิดมาอยู่ในชุมชนแออัดที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องโรคติดต่ออย่างโควิด

ชุมชนแออัด และการที่รัฐไทยและนายทุนไทยไม่บริการอะไรให้กับแรงงานข้ามชาติ คือสาเหตุที่มีการแพร่ไวรัส มันไม่ได้อยู่ที่เชื้อชาติของแรงงาน

การแบ่งแยกแรงงานพม่าออกจากแรงงานไทย ช่วยทำให้เขาขูดรีดและเอาเปรียบทั้งคนไทยและคนพม่าง่ายขึ้น ถ้าเรา ผู้ที่เป็นกรรมาชีพแรงงาน สามารถสามัคคีกันข้ามเชื้อชาติ เราจะพัฒนาความเป็นอยู่ของทุกคนได้ เพราะเราจะมีพลัง

การควบคุมแรงงานข้ามชาติไม่ได้ช่วยอะไรเรา มันเพียงแต่ช่วยให้นายจ้างกดค่าแรงของเขาและของเรา มันช่วยให้ตำรวจและทหารเก็บส่วย และมันช่วยให้รัฐบาลมีแพะรับบาปเพื่อไม่ให้เราโทษรัฐบาล ดังนั้นเราควรเปิดพรมแดน เสริมสร้างรัฐสวัสดิการสำหรับทุกคนที่ทำงานในไทย และรณรงค์ให้แรงงานทุกเชื้อชาติเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอย่างเสรี

รัฐบาลเผด็จการประยุทธ์กำลังพยายามล้างสมองเราในรูปแบบ “อย่าโทษเรา” “ไปโทษแรงงานพม่าโน้น” และเป็นที่น่าสลดใจที่คนไทยไม่น้อยไม่สามารถสลัดโซ่ตรวนความเป็นทาสออก และไปคล้อยตามชนชั้นปกครองในการด่าคนพม่า

สรุปแล้ว สำหรับคนที่อยากปลดแอกตนเอง อยากเห็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ มันมีสองขั้วความคิดในสังคม

ขั้วความคิดแรกเป็นแนวคิดที่มาจากชนชั้นปกครองและชวนให้เราจงรักภักดีต่อเขาภายใต้ลัทธิชาตินิยม ซึ่งในไทยรวมถึงลัทธิราชานิยมด้วย แนวคิดนี้ชวนให้เราหมอบคลานต่อเบื้องบน ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ นายพลมือเปื้อนเลือด หรือ “ท่านผู้ใหญ่” คนใด และมันชวนให้เรามองว่าเรามีผลประโยชน์ร่วมกับผู้ที่กดขี่ขูดรีดเรา “เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน” นี่คือที่มาของความคิดที่เหยียดเชื้อชาติอื่น มันเป็นแอกเพื่อควบคุมให้คนส่วนใหญ่เป็นไพร่เป็นทาส

ขั้วความคิดที่สองเป็นแนวคิดที่เกิดจากจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพและคนชั้นล่างทั่วไป มันไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ มันอาศัยอยู่ในสังคมได้เพราะมีนักสังคมนิยมและนักสิทธิมนุษยชนที่ทวนกระแสความคิดกระแสหลัก และเสนอแนวคิดประเภท “สามัคคีชนชั้นล่างข้ามเชื้อชาติ” ความคิดขั้วนี้จะปฏิเสธการรักชาติ แต่จะรักเพื่อนประชาชนแทน จะเสนอให้คนไทยธรรมดาสมานฉันท์กับคนเชื้อชาติอื่น และต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง เพื่อให้เราร่วมกันปลดแอกตนเองและสังคม

ใจ อึ๊งภากรณ์

การจัดตั้งกรรมาชีพไทยในทางการเมือง

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในอดีตแกนนำเสื้อแดงที่มีรากฐานการกำเนิดมาจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคนายทุน ไม่เคยเห็นความสำคัญของการขยายการจัดตั้งของขบวนการเสื้อแดงสู่ขบวนการแรงงานเลย และการจัดตั้งของนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายในขบวนการแรงงานอ่อนแอเกินไปที่จะทำให้สหภาพแรงงานต่างๆ เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยร่วมกับเสื้อแดง ถ้าจัดตั้งได้จะมีการสำแดงพลังทางเศรษฐกิจของแรงงาน ผ่านการนัดหยุดงาน และพิสูจน์ความสำคัญของแรงงานในการต่อสู้กับเผด็จการ สถานการณ์นี้เป็นจุดอ่อนสำคัญของเสื้อแดง และช่วยเปิดโอกาสให้รัฐบาลอภิสิทธิ์และทหารเข่นฆ่าประชาชนที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์เมื่อปี ๒๕๕๓ ในที่สุดมันเปิดโอกาสให้เผด็จการเข้ามาครองเมืองหลายปี

ถ้าเราเปรียบเทียบกับกรณีการประท้วงล้มเผด็จการมูบารักในอียิปต์ เมื่อต้นปี ๒๕๕๔ เราจะเห็นว่าก่อนหน้านั้นหลายปี ขบวนการฝ่ายซ้ายอียิปต์ทำงานใต้ดินเพื่อเสริมสร้างขบวนการสหภาพแรงงานที่อิสระจากรัฐ จนมีกระแสนัดหยุดงานครั้งใหญ่สี่ปีก่อนการประท้วงล้มมูบารัก  ต่อมาการออกมานัดหยุดงานของสหภาพคู่ขนานกับการประท้วงที่จตุรัสทาห์เรีย เป็นเงื่อนไขชี้ขาดที่ทำให้กองทัพอียิปต์ตัดสินใจเขี่ยมูบารักออกไปก่อนที่ประชาชนจะเขี่ยนายพลออกไปด้วยและทำการปฏิวัติสังคม แต่นั้นก็ยังไม่พอ เพราะในที่สุดทหารก็กลับมาครองเมืองอีกรอบ ซึ่งแสดงว่าฝ่ายซ้ายอียิปต์อ่อนแอเกินไปที่จะนำกรรมาชีพในการปฏิวัติล้มระบบ

การล้มเผด็จการของคนผิวขาวในอัฟริกาใต้ใช้พลังกรรมาชีพที่นัดหยุดงานเป็นกำลังหลัก การล้มเผด็จการคอมมิวนิสต์สายสตาลินในโปแลนด์ก็เช่นกัน

นอกจากกรรมาชีพไทยจะไม่มีการจัดตั้งโดยคนเสื้อแดงและไม่มีการนัดหยุดงานเพื่อล้มเผด็จการแล้ว สหภาพแรงงานไทยในรอบสามสิบปีที่ผ่านมา ไม่เคยพยายามตั้งพรรคการเมืองอิสระของกรรมาชีพและเกษตรกรเลย

เวลาที่นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวแรงงานพูดถึง “ความอ่อนแอ” ของขบวนการแรงงาน เขามักจะชี้ไปที่สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 3-4%  หรืออาจมีการพูดถึงการที่มีหลายสภาและสหภาพแรงงานซึ่ง “ขาดเอกภาพ” แต่ทั้งๆ ที่สองเรื่องนี้มีผลบ้างในการกำหนดความเข้มแข็งของแรงงาน มันไม่ใช่ประเด็นหลัก

ประเด็นหลักที่นำไปสู่ความอ่อนแอในขบวนการแรงงานคือ “การเมือง” เพราะการเมืองของขบวนการแรงงานเป็นเข็มทิศที่ชี้ทางไปสู่วิธีการจัดตั้ง และยุทธวิธีในการใช้พลังทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของแรงงาน ทั้งในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในอดีตนักสังคมนิยมในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เคยให้ความสำคัญในการจัดตั้งแรงงาน แต่หลังจากที่พรรคเริ่มหันไปเน้นการจับอาวุธในป่า การทำงานสายแรงงานถูกลดความสำคัญลง พอถึงยุค “ป่าแตก” และการล่มสลายของ พคท. ปัญญาชนและนักเคลื่อนไหวที่มีส่วนในการจัดตั้งแรงงานลดน้อยลงจนเกือบจะไม่เหลือ และ เอ็นจีโอ ก็เข้ามาแทนที่

กลุ่ม “พี่เลี้ยง” เอ็นจีโอ ที่เข้าไป “ช่วย” แรงงานมีแนวโน้มจะเสนอให้คนงานทำตามกฎหมายนายทุนในระบบ “แรงงานสัมพันธ์” และไม่คิดต่อสู้ทางชนชั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่ดีคือองค์กร ACILS/Solidarity Center ซึ่งได้รับทุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อ “พัฒนาแรงงาน” องค์กรนี้ไม่เคยสนับสนุนการนัดหยุดงานเลย ทั้งๆ ที่การนัดหยุดงานเป็นวิธีหลักในการต่อสู้ของแรงงาน อีกองค์กรหนึ่งที่ให้เงินสหภาพแรงงาน คือ มูลนิธิ Friedrich Ebert Stiftung (FES.) ของเยอรมัน แนวคิดของ FES. จะเน้นการแยกบทบาทระหว่างสหภาพแรงงาน ที่เขามองว่าควรต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้อง กับพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภา จุดยืนนี้สอดคล้องกับกฏหมายของชนขั้นปกครองไทยที่มองว่าสหภาพแรงงานไม่ควรยุ่งการเมือง ในรูปธรรมผลของแนวคิดแบบนี้คือ ไม่มีการจัดตั้งทางการเมืองในขบวนการแรงงาน และสหภาพแรงงานจะไม่ออกมานัดหยุดงานในประเด็นการเมืองเลย

นอกจากนี้ เอ็นจีโอ มักเน้นการทำงานกับกลุ่มคนงานที่พ่ายแพ้ไปแล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าเป็นงานสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นต้องทำ แต่ไม่มีผลในการพัฒนาความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานเลย และที่สำคัญประสบการณ์จากทั่วโลกพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์กร เอ็นจีโอ ไม่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานเท่ากับพรรคการเมืองของฝ่ายซ้าย  เพราะพรรคฝ่ายซ้ายสามารถประสานและเสริมพลังของขบวนการแรงงานในด้านความคิดทางการเมือง เพื่อให้นักสหภาพนำตนเองแทนที่จะพึ่ง “พี่เลี้ยง” และพึ่งเงินจากภายนอก และในกรณีที่สหภาพแรงงานเข้มแข็งจริง จะไม่มีการพึ่งพา เอ็นจีโอ เลย เช่นในเกาหลีใต้ ขบวนการแรงงานเข้มแข็งจนองค์กร เอ็นจีโอ มักจะเป็นฝ่ายมาขอพลังความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงาน K.C.T.U.

SKOREA-LABOUR-MAYDAY

ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้นำสภาแรงงานระดับชาติแล้ว องค์กรสภาแรงงานสากลต่างๆ เริ่มพยายามเข้ามาจัดตั้งแรงงานในประเทศไทยมากขึ้น การที่สภาสากลช่วยให้คนงานไทยตั้งสหภาพแรงงานในสถานที่ทำงานที่ไม่มีสหภาพแรงงาน เป็นเรื่องดี แต่ในทางการเมืองสภาแรงงานสากลเหล่านี้จะไม่ส่งเสริมการนัดหยุดงานเพื่อเป้าหมายทางการเมืองเลย และจะไม่มีผลอะไรเลยในการปกป้องผู้นำสหภาพแรงงานในไทยที่ถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะสภาแรงงานสากลทุกแห่งนำโดยเจ้าหน้าที่ “แรงงานข้าราชการ” ที่ห่างเหินจากขบวนการแรงงานจริงในทุกประเทศ เราจะเห็นว่าในประเทศที่มีสหภาพแรงงานเข้มแข็ง อย่างเช่นในยุโรปตะวันตก หรือเกาหลีใต้ สภาแรงงานสากลเกือบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย

somsak2

ในอดีตความอ่อนแอทางการเมืองของขบวนการแรงงานไทย เปิดช่องให้คนอย่าง สมศักดิ์ โกศัยสุข นำการเมืองปฏิกิริยาของพันธมิตรเสื้อเหลือง เข้ามาในบางส่วนของขบวนการแรงงาน เช่นในรัฐวิสาหกิจรถไฟ และไฟฟ้า และในบางส่วนของย่านอุตสาหกรรมเอกชนในภาคตะวันออกใกล้เมืองระยองเป็นต้น แต่แนวคิดเสื้อเหลืองของสมศักดิ์ ขัดกับผลประโยชน์พื้นฐานของกรรมาชีพไทยโดยสิ้นเชิง เพราะพาคนไปต่อสู้เพื่อสนับสนุนเผด็จการ แทนที่จะสู้เพื่อผลประโยชน์คนจน

นักสังคมนิยมควรเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกรรมาชีพและสหภาพแรงงาน ไม่ใช่เป็นปัญญาชนในหอคอยงาช้าง เราควรทำงานในสถานที่ทำงานต่างๆ และปลุกระดมจากภายใน ในระยะแรกเราอาจต้องทำงานจากภายนอก แต่ในช่วงนั้นต้องเน้นการสร้างนักสังคมนิยมที่เป็นกรรมาชีพ เพื่อให้เขาทำงานในสหภาพและสถานที่ทำงานของเขาเอง

cihzjudj5hpnxj92grjmitbujspbiiaoll

แน่นอนนักสังคมนิยมจะต้องมีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน และต้องมีส่วนในการสนับสนุนการประท้วงเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาปากท้อง เช่นเรื่องค่าจ้าง โบนัส และสภาพการจ้างอื่นๆ แต่ถ้าทำแค่นั้น เราก็เป็นแค่ “นักสหภาพแรงงาน” และผู้ที่เป็นแค่ “นักสหภาพแรงงาน” จะมองว่าองค์กรจัดตั้งหลักคือสหภาพแรงงาน ไม่ใช่พรรคซ้ายสังคมนิยม และเราจะก้าวข้ามปัญหาภายในรั้วสถานที่ทำงานเพื่อไปสนใจสังคมภายนอกไม่ได้

การปลุกระดมทางการเมืองแปลว่าต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อของพรรค และผ่านกลุ่มศึกษาของพรรค ซึ่งต่างจากกลุ่มศึกษาของสหภาพที่เน้นแต่เรื่องปากท้องหรือกฏหมายแรงงาน การศึกษาทางการเมืองของพรรคต้องครอบคลุมการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ ต้องเรียนบทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทยและทั่วโลก ต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์ ต้องศึกษาธาตุแท้ของชนชั้นและของรัฐ เราต้องสนใจศิลปะวัฒนธรรม ต้องสนใจวิทยาศาสตร์ และเราต้องพร้อมที่จะร่วมกันค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาทุกเรื่องในชีวิตมนุษย์

การศึกษาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในไทย เพราะในสมัย พคท. ก็มีการเน้นการศึกษาแบบนั้น ไม่ว่าเราอาจมีข้อถกเถียงกับแนวการเมืองของ พคท. มากน้อยแค่ไหน แต่มันเป็นการศึกษาทางการเมืองเพื่อจัดตั้งพรรค ซึ่งหลังการล่มสลายของ พคท. นักปฏิบัติการต่างๆ พากันหันหลังให้เรื่องนี้ เพื่อทำงานแบบพี่เลี้ยงในรูปแบบ เอ็นจีโอ ที่ปฏิเสธเรื่องการเมืองเพื่อเน้นประเด็นปากท้องอย่างเดียว นี่คือที่มาของความอ่อนแอของขบวนการแรงงานไทยในปัจจุบัน และมันเป็นผลทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอไปด้วย นี่คือสิ่งที่เราต้องลงมือแก้ไข

[อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2MBfQzc ]

 

ปัญหาลัทธิสหภาพในขบวนการแรงงานไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในประวัติศาสตร์ของขบวนการแรงงานสากล แนว “ลัทธิสหภาพ” (Syndicalism) จะเน้นการเคลื่อนไหวผ่านองค์กรสหภาพแรงงานอย่างเดียว แนวนี้มีรูปแบบหลากหลายที่ซับซ้อน พวกที่มองว่าควรเคลื่อนไหวในเรื่องปากท้องอย่างเดียวและไม่กล่าวถึงการเมือง คือพวกลัทธิสหภาพฝ่ายขวา ซึ่งในไทยได้รับอิทธิพลพอสมควรจากการปกครองของเผด็จการทหาร ที่พยายามห้ามไม่ให้สหภาพแรงงานสนใจเรื่องการเมือง

แต่ในขณะเดียวกันมีลัทธิสหภาพฝ่ายซ้าย ซึ่งอาจเป็นฝ่ายซ้ายปฏิวัติด้วย พวกนี้มองว่าการเมืองกับเศรษฐกิจปากท้องแยกออกจากกันไม่ได้ และเขาอาจต้องการปฏิวัติล้มทุนนิยม อย่างไรก็ตามเขาจะต่างจากแนวมาร์คซิสต์ของ มาร์คซ์ เองเกิลส์ เลนิน ตรอดสกี้ โรซา ลัคแซมเบอร์ค และกรัมชี่ ตรงที่เขาไม่เห็นด้วยกับการสร้างพรรคปฏิวัติ ดังนั้นแทนที่จะสร้างพรรคเขามองว่าสหภาพแรงงานเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อสังคมนิยมได้ นี่คือการเมืองของนักเคลื่อนไหวสหภาพแรงงานฝ่ายซ้ายในไทยส่วนใหญ่

ขบวนการแรงงานไทยขาดนักเคลื่อนไหวสังคมนิยมที่จะทำงานเป็นระบบ ในบางแห่งมีนักต่อสู้ที่อยากเห็นแรงงานสู้จริง แต่นักสู้แรงงานเหล่านี้เลือกใช้ “ลัทธิสหภาพฝ่ายซ้ายปฏิวัติ” เขาจะส่งเสริมการนัดหยุดงาน และการจัดตั้งกลุ่มย่านข้ามรั้วโรงงาน แต่จะไม่เห็นด้วยกับการนำ “การเมืองภาพกว้าง” ที่ “ไม่เกี่ยวกับแรงงาน” เข้าสู่ขบวนการแรงงาน เช่นเรื่องสิทธิสตรี สิทธิคนรักเพศเดียวกันหรือคนข้ามเพศ ปัญหาภาคใต้ ปัญหาโลกร้อน ปัญหาในระบบการศึกษา หรือประเด็นการเมืองสากลปัจจุบัน หรือแม้แต่วิธีการตั้งพรรคการเมืองที่อิสระจากนายทุนเป็นต้น

ประสบการณ์จากขบวนการแรงงานและขบวนการสังคมนิยมทั่วโลกในอดีตและปัจจุบัน สอนให้เราเข้าใจปัญหาของการใช้สหภาพแรงงานเป็นองค์กรต่อสู้อย่างเดียว โดยไม่สร้างพรรค คือในประการแรกเขาไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนงาน เช่นนักศึกษา คนกลุ่มน้อย หรือคนที่อยากรณรงค์เรื่อง 112 เป็นต้น มันนำไปสู่การเน้นประเด็นการเมืองปากท้องอย่างเดียวด้วย ทั้งๆ ที่ในนามธรรมอาจกล่าวถึง “เลนิน” หรือโจมตีระบบทุนนิยม

ในประการที่สององค์กรสหภาพแรงงานต้องการรับทุกคนในสถานที่ทำงานเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งแน่นอนรวมถึงคนที่มีความคิดฝ่ายขวาตามชนชั้นปกครองและคนที่ยังขี้เกียจคิดอีกด้วย และแกนนำของสหภาพจะต้องปกป้องความสามัคคีภายในสหภาพระดับหนึ่ง เพราะกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้งและหลุดจากตำแหน่งในสหภาพ จึงไม่สามารถถกเถียงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมาได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ทำงานภายในสหภาพ

ในประการที่สาม ถ้านักลัทธิสหภาพแบบนี้แพ้การเลือกตั้ง หรือถูกเลิกจ้างเขาอาจจะไม่มีองค์กรเหลือเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาด้วยเวลาคนงานไม่มีความมั่นใจในการต่อสู้ หรือไม่ยอมนัดหยุดงานในช่วงหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางการเมืองลดลง ไม่เหมือนพรรคปฏิวัติที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะการจัดกลุ่มศึกษาและการรณรงค์ในเรื่องต่างๆ

ในประการสุดท้ายสหภาพแรงงานไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อรองกับนายจ้างในระบบทุนนิยม ไม่สามารถประสานการทำงานระหว่างทุกซีกทุกส่วนของสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อยึดอำนาจรัฐ

ปัญหาการพึ่งพรรคนายทุนของพวกลัทธิสหภาพ

ผลสำคัญอันหนึ่งของการใช้ลัทธิสหภาพแทนการสร้างพรรค คือการไปพึ่งพรรคนายทุนอย่างพรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคไทยรักไทยในอดีต แต่แรงงานไม่ควรหลงเลือก “นายใหม่” แบบนี้

99569

ในแวดวงนักสหภาพแรงงานมักจะมีการตั้งคำถามกันว่า “จะอยู่อย่างเป็นทาส หรือจะร่วมกันต่อสู้?” การที่แรงงานไม่สร้างพรรคของกรรมาชีพเอง และคอยเดินตามก้นพรรคนายทุน ไม่ว่าจะเป็นพรรคนายทุนหน้าเก่าอย่างไทยรักไทย/เพื่อไทย หรือพรรคนายทุนหน้าใหม่อย่างอนาคตใหม่ แปลว่ากรรมาชีพจะอยู่อย่างเป็นทาสและเป็นแค่ “กบเลือกนาย” ตลอด  แรงงานต้องมีศักดิ์ศรีมากกว่านั้น

แนวสังคมนิยมมาร์คซิสต์กับขบวนการแรงงานไทย

นักสังคมนิยมควรเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกรรมาชีพและสหภาพแรงงาน เราควรทำงานในสถานที่ทำงานต่างๆ และปลุกระดมจากภายในและภายนอก

พรรคกรรมาชีพ

ในทุกสหภาพแรงงานจะมีคนสามกลุ่มใหญ่ๆ ถ้าแบ่งตามแนวความคิด กลุ่มแรกเป็นพวกที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมและหมอบคลานต่อนายทุนกับผู้มีอำนาจ กลุ่มที่สองเป็นพวกที่มีความคิดกบฏอยากต่อสู้กับนายจ้างและความไม่เป็นธรรม อาจมีความคิดสังคมนิยม หรืออย่างน้อยต้องการประชาธิปไตยแท้ และกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ จะมีความคิดที่ผสมแนวจากทั้งสองขั้วหรืออาจยังไม่มีโอกาสที่จะคิดอะไรมาก หน้าที่ของนักสังคมนิยมคือการพยายามดึงกลุ่มตรงกลางที่ประกอบไปด้วยคนส่วนใหญ่ ให้เปลี่ยนความคิดมาเป็นฝ่ายซ้าย

ถ้าจะชักชวนและดึงกรรมาชีพส่วนใหญ่ให้เห็นด้วยกับฝ่ายซ้าย มันต้องมีการจัดตั้งในองค์กรทางการเมือง พรรคกรรมาชีพสังคมนิยมนั้นเอง

0cf37-gramsci

นักปฏิวัติมาร์คซิสต์อิตาลี่ชื่อ อันโตนิโอ กรัมชี่ เคยอธิบายว่านักปฏิบัติการของพรรคสังคมนิยมไม่สามารถชักชวนให้คนงานมาเป็นฝ่ายซ้าย ถ้ามัวแต่ป้อนทฤษฏีและแนวคิดเหมือนการป้อนอาหารให้เด็ก มันต้องมีการเคลื่อนไหวคนถึงจะเริ่มตาสว่าง ดังนั้นนักสังคมนิยมจะต้องร่วมต่อสู้เคลื่อนไหว และพูดถึงทฤษฏีทางการเมืองที่ช่วยอธิยายแนวทางในการต่อสู้อย่างเป็นรูปธรรมเสมอ

พรรคกรรมาชีพที่ควรจะถูกสร้างขึ่นในไทยตอนนี้ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? ในประการแรกมันควรจะเป็นพรรคสังคมนิยมที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานในชนชั้นกรรมาชีพ แต่ในขณะเดียวกันบ่อยครั้งต้องอาศัยคนหนุ่มสาวที่เป็นนักศึกษาไฟแรง หรือ “เตรียมกรรมาชีพ” นั้นเอง เพราะคนหนุ่มสาวแบบนี้มีเวลาที่จะศึกษาและอ่าน และไม่เหนื่อยเกินไปจากการทำงานหนัก ควรมีปัญญาชนเข้าร่วมด้วย แต่ที่สำคัญคือต้องมีการสร้างกรรมาชีพให้นำตนเอง ที่คิดเอง เป็นปัญญาชนกรรมาชีพ และช่วยสอนคนอื่นได้ และสมาชิกส่วนใหญ่ควรจะเป็นคนทำงานที่เคลื่อนไหวในสหภาพแรงงานของตนเอง

แน่นอนพรรคจะต้องอิสระจากอิทธิพลของชนชั้นที่มีอำนาจในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นจะต้องอิสระจากนายทุนและมีจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของคนชั้นกรรมาชีพ พรรคจึงก็ต้องมีจุดยืนต้านนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกลไกตลาด นโยบายที่นำไปสู่การกดค่าแรง หรือแนวคิดชาตินิยมที่มองว่าเราต้องสามัคคีกับนายทุนและทหารเป็นต้น

ความชัดเจนของจุดยืนพรรค ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดความบริสุทธิ์ แต่มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการขยายความคิดและปลุกระดมในหมู่มวลชนภายนอกพรรค จุดยืนของพรรคต้องมาจากการถกเถียงกันอย่างเสรีภายในพรรค โดยไม่มีใครที่เป็นอภิสิทธิ์ชน แต่พอถกเถียงกันแล้ว เมื่อมีการลงมติ ลูกพรรคควรจะทำตามมติเสียงส่วนใหญ่

พรรคจะต้องผสมผสานสองยุทธศาสตร์เข้าด้วยกันคือ ต้องร่วมต่อสู้เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องปากท้อง เข้ากับเรื่องการเมืองภาพกว้าง

[อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2MBfQzc ]

 

หุ่นยนต์จะทำให้เกิดระบบการผลิตที่ไร้คนงานหรือไม่?

ใจ อึ๊งภากรณ์

สมัยนี้มักมีบางคนที่เสนอว่าในยุคเทคโนโลจีหุ่นยนต์ การผลิตต่างๆ จะไม่อาศัยคนงานอีกต่อไป และกรรมาชีพจะถูกปลดออกจากงานจนสูญพันธุ์หรืออ่อนแอ คนอีกส่วนหนึ่งเสนอว่าในสภาพเช่นนี้มนุษย์ทุกคนจะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในการไปทำงานหรือการทำงานบ้าน

ข้อเสนอเหล่านี้ ซึ่งกลายป็นกระแสในสื่อมวลชน ล้วนแต่เป็นการพูดเกินเหตุ

AIMan

ในประการแรกมันเป็นการพูดเกินเหตุเพราะการนำเทคโนโลจีสมัยใหม่เข้ามาในระบบการผลิตของทุนนิยม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในขั้นตอนแรกมีการนำพลังงานน้ำ และไอน้ำเข้ามาในการทอผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมที่เมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลจีแบบนี้นำไปสู่การทำลายอาชีพของ “ช่างฝีมือ” ที่ทอผ้าด้วยมือที่บ้าน จนเกิดขบวนการทุบเครื่องจักร Luddites แต่ในที่สุดเทคโนโลจีใหม่ๆ ก็เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

02Insider-Rudy-1-facebookJumbo
ระบบ “เหล็กร้อน”

ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งเคยเป็นอาชีพแรกของผม ตอนที่ผมทำงานในปี 1978 การพิมพ์วารสารวิชาการยังใช้ระบบ “เหล็กร้อน” หรือ “ตัวพิมพ์แบบร้อน” คือคนจัดหน้าจะใช้เครื่องคล้ายๆ เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งเชื่อมกับระบบหลอมโลหะที่ผลิตแม่พิมพ์ แต่ในเวลาไม่กี่ปีมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และการถ่ายรูปมาสร้างแม่พิมพ์สมัยใหม่ ในยุคนั้นคนงานในออฟฟิสส่วนใหญ่จะใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำโต๊ะอย่างที่มีในปัจจุบัน

Open-plan-Phil-Whitehouse-Flickr-2017020604562217

ในอดีตการทำงานต่างๆ ในออฟฟิส โรงพยาบาล หรือสถานที่การศึกษามักจะใช้ปากกากับกระดาษ แต่ตอนนี้แม้แต่งานในโรงพยาบาลของพยาบาลมักจะเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ที่เข็นไปหาคนไข้

ประเด็นสำคัญคือ การวิวัฒนาการของเทคโนโลจีสมัยใหม่ ที่เปลี่ยนลักษณะการทำงาน และลดจำนวนคนงานหรือเพิ่มผลผลิตในหลายสาขา ตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม มันต่างจากการนำหุ่นยนต์เข้ามาหรือไม่ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพที่เทียบเท่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมจริงหรือ? ผมว่าไม่ใช่ เพราะมันก็แค่ต่อยอดเทคโนโลจีคอมพิวเตอร์เพื่อยกระดับขึ้นอีกขั้นเท่านั้น

00chinaford6-superJumbo

ในประการที่สองนายทุนผลิตอะไรไม่ได้ถ้าไม่มีคนงาน หุ่นยนต์ทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีคนงานคอยคุม และคนงานต้องสร้างและซ่อมหุ่นยนต์เหล่านี้ แน่นอนมันเป็นโอกาสที่นายจ้างจะลดคนงานและผลิตสินค้าเร็วขึ้นในปริมาณสูงขึ้น แต่มันยังต้องมีการผลิตไฟฟ้า ขนส่งเครื่องหุ่นยนต์ไปสู่โรงงาน และก่อสร้างโรงงาน

นอกจากนี้งานในภาคบริการ เช่นโรงพยาบาล สถานที่การศึกษา ร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร หรือระบบไฟแนนส์กับธนาคาร ก็ยังต้องอาศัยมนุษย์

ที่สำคัญคือการลดจำนวนคนงานในสถานที่ต่างๆ เป็นสิ่งที่จะทำให้คนงานแต่ละคนมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างสูงขึ้น เพราะถ้ามีการจัดตั้งโดยสหภาพแรงงาน คนงานแค่สิบคนอาจทำให้ระบบการผลิตยุติได้ผ่านการนัดหยุดงาน

นอกจากนี้ถ้ามีการลดปริมาณงานที่คนต้องทำลง อันเนื่องจากการใช้หุ่นยนต์ จนทุกคนในสังคมไม่ต้องทำงานเต็มเวลาอีกต่อไป กรรมาชีพและสหภาพแรงงานต้องเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ตัดชั่วโมงการทำงานให้ทุกคนโดยไม่ตัดค่าจ้างเลย เพราะนายทุนไม่มีวันอาสาที่จะทำอย่างนี้ นายทุนจะพึงพอใจที่จะจ้างคนงานน้อยลงและให้ที่เหลือตกงานและยากจน ดังนั้นมันอาจเป็นเวทีใหม่สำหรับการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อแย่งผลผลิตและมูลค่าในสังคม และในกรณีไทยชัวโมงการทำงานสูงเกินไปอยู่แล้ว นอกจากนี้รายได้ของคนธรรมดาต่ำเกินไป มันต้องมีการต่อสู้ที่นำโดยพรรคสังคมนิยมเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์จากคนข้างบนที่เป็นคนส่วนน้อย 1%

ในประการที่สาม การตัดจำนวนคนงานและการลงทุนเพิ่มในหุ่นยนต์จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ดีขึ้น แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราว เพราะในระยะยาวเมื่อบริษัทคู่แข่งลงทุนในเทคโนโลจีแบบเดียวกัน มันจะมีผลทำให้อัตรากำไรลดลง เนื่องจากกำไรมาจากความแตกต่างระหว่างค่าจ้างกับราคาสินค้า กำไรมาจากการขูดรีดแรงงาน หุ่นยนต์สร้างกำไรไม่ได้ มันได้แต่ช่วยคนงานให้ทำงานในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออัตรากำไรลดลงเศรษฐกิจก็จะเวียนเข้าสู่วิกฤตอีก เพราะนายทุนจะลังเลใจในการลงทุนและอาจสร้างภาวะฟองสบู่อีกด้วย เหมือนกับที่เกิดเป็นประจำในระบบทุนนิยมอยู่แล้ว

 

ทำไมเครื่องจักรสร้างกำไรไม่ได้

สำหรับคนที่ไม่เชื่อว่าเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์สร้างกำไรไม่ได้ จะขออธิบายเพิ่มโดยอาศัยทฤษฏีมูลค่าแรงงานของมาร์คซ์…. (อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2zozGbS )

มูลค่าทั้งปวงในโลกมาจากการทำงานของมนุษย์ในการแปรทรัพยากรธรรมชาติเป็นผลผลิตหรือสินค้า มูลค่าของสินค้าจะสะท้อนเวลาหรือปริมาณการทำงานของมนุษย์ในการผลิตสินค้าดังกล่าว นี่คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าสินค้าอย่างปากกาแลกเปลี่ยนกับสินค้าอย่างหนังสือในปริมาณแค่ไหน

ราคาของเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่นายทุนลงทุนซื้อ จะสะท้อนปริมาณแรงงานที่ใช้ในการผลิตเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ และปริมาณแรงงานในอดีตที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือที่ใช้ประกอบการผลิต เวลานายทุนใช้เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ในการผลิตสินค้า ราคาของเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์จะค่อยๆ ถูกระบายไปในราคาของสินค้าและผู้ซื้อสินค้าจะจ่าย เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่นายทุนซื้อ สร้างกำไรหรือทำให้นายทุนขาดทุนไม่ได้

แต่เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์สามารถช่วยให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสำคัญสำหรับการแข่งขันในระบบตลาด

กำไรมาจากข้อแตกต่างระหว่างราคาขายของสินค้ากับเงินค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้าง หลังหักค่าวัตถุดิบรวมถึงสัดส่วนของราคาเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ นี่คือ “มูลค่าส่วนเกิน” ที่น่ายทุนขูดรีดมาจากแรงงาน

ดังนั้นกำไรมาจากการ “ขูดรีด” การทำงานของลูกจ้าง ไม่ได้มาจากเครื่องจักรซึ่งทำอะไรเองไม่ได้ถ้าไม่มีมนุษย์ นี่คือสาเหตุที่นายจ้างและรัฐของนายทุนพยายามกีดกันการนัดหยุดงาน การนัดหยุดงานทำให้การผลิตยุติและนายทุนจะไม่ได้กำไร

ส่วนเรื่องปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการลดลงของอัตรากำไรเนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรที่สูงขึ้น เชิญอ่านที่นี่ https://bit.ly/2v6ndWf

 

สรุปแล้ว ในยุคเทคโนโลจีหุ่นยนต์ การผลิตต่างๆ จะไม่นำไปสู่สภาพที่ไร้คนงาน และการสูญพันธุ์หรือความอ่อนแอของกรรมาชีพ อย่างไรก็ตามสหภาพแรงงานควรจะต่อสู้กับนายทุน เพื่อให้ผลของเทคโนโลจีใหม่ ที่ลดจำนวนคนงาน มีผลดีกับประชาชนในการลดชั่วโมงการทำงานอย่างถ้วนหน้าพร้อมกับการรักษารายได้ที่ดี

สภาพกรรมาชีพในสหรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

กรรมาชีพในสหรัฐอเมริกาไม่ได้สูญพันธ์หรือไร้อำนาจต่อรองอย่างที่นักวิชาการและสื่อกระแสหลักเสนอ แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยม ที่มีมาตั้งแต่กำเนิดของระบบนี้ รูปแบบและสภาพการทำงานได้เปลี่ยนไป

ในสหรัฐอเมริกากรรมาชีพทั้งหมดนับเป็นสัดส่วน 63% ของประชากร โดยที่ชนชั้นกลางมีประมาณ 36% และนายทุนใหญ่ 1%

โดยทั่วไปสถานที่ทำงานใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากการที่กลุ่มทุนในอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งรวมกันเป็นบริษัทที่โตขึ้น สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่มีการนำระบบรับเหมาช่วงเข้ามาสำหรับหลายกิจกรรมที่เชื่อมกับการผลิต เพราะระบบรับเหมาช่วงทำให้เกิดบริษัทยักษ์ใหญ่เฉพาะทางอีกด้วย

ในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนคนงานลดลง แต่สาเหตุหลักไม่ใช่เพราะกลุ่มทุนย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีค่าจ้างต่ำอย่างที่ประธานาธิบดีทรัมป์และคนอื่นชอบอ้าง สาเหตุหลักมาจากการที่นายทุนผลักดันการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งทำให้ลดคนงานแต่เพิ่มผลผลิต ซึ่งมีผลทำให้การขูดรีดแรงงานหนักขึ้น สภาพการทำงานแย่ลง และกำไรของนายทุนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันความหนาแน่นของทุนที่ใช้ลงทุนในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งจะเพิ่มขึ้น

us-auto-workers-on-line

วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มอัตราการขูดรีดมีหลายวิธี แต่ที่สำคัญคือการผลิตรูปแบบใหม่ที่ตัดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองออก ผ่านระบบที่เรียกว่าการผลิต “ลีน” (Lean Production) เช่นการเปลี่ยนกะทำงานในบริษัทประกอบรถยนต์ “จีเอ็ม” ที่เปลี่ยนกะทำงานจากวันละ 8 ชม. 5 วันต่อสัปดาห์ (จันทร์ถึงศุกร์) ไปเป็นการทำงานวันละ 10 ชม. 4 วันต่อสัปดาห์ โดยนับวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันธรรมดาและไม่จ่ายค่าโอที

การเปลี่ยนกะทำงานแบบนี้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้นายทุน และมีการปรับเปลี่ยนกะทำงานในภาคบริการเช่นในโรงพยาบาลอีกด้วย

พร้อมกันนั้นจะมีระบบสอดแนมตรวจสอบการทำงานของคนงานทุกคน โดยใช้เทคโนโลจี “ไอที” สมัยใหม่ ซึ่งหมายความว่าคนงานจะพักผ่อนลำบากและถูกติดตามตลอดเวลา ซึ่งวิธีการนี้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบการขนส่ง และแม้แต่ในโรงพยาบาล

Nurses

ในกรณีโรงพยาบาล เวลาพยาบาลใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้ หัวหน้างานสามารถดูว่าดูแลคนไข้กี่คนในระยะเวลาเท่าไร หรือสำหรับคนทำงานแอดมินในโรงพยาบาล หัวหน้างานสามารถตรวจสอบว่ารับโทรศัพท์บ่อยแค่ไหนหรือทำงานอื่นเร็วแค่ไหน ในกรณีคนทำงานในโกดัง จะมีระบบตรวจสอบว่าเคลื่อนย้ายสินค้ากี่ชิ้นในเวลาเท่าไร

การเปลี่ยนแปลงของสภาพการทำงานแบบนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของกรรมาชีพแย่ลงและเพิ่มความเครียด

อีกวิธีที่นายทุนใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคือระบบ “ทันเวลาพอดี” (Just In Time) คือในโรงงานต่างๆ จะลดต้นทุนโดยที่ไม่ต้องลงทุนเก็บชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตนานเกินไป ชิ้นส่วนจะถูกส่งมาให้ทันการผลิตในช่วงสั้นๆ และในโกดังที่ป้อนการผลิตในโรงงานต่างๆ หรือป้อนห้างร้าน จะมีระบบ “เข้าออกในวันเดียวกัน” (Cross-Docking) คือรถบรรทุกจะส่งของให้โกดัง และโกดังจะส่งต่อสู่เป้าหมายปลายทางในวันเดียวกัน

ระบบนี้มีผลทำให้กรรมาชีพมีพลังต่อรองสูงขึ้น เพราะถ้าส่วนหนึ่งนัดหยุดงาน ระบบการผลิต หรือการค้าขายจะหยุดทันทีเพราะไม่มีชิ้นส่วนหรือสินค้าสำรอง มันทำให้เราเห็นว่าในยุคนี้มี “สายประกอบการ” ทั้งภายในสถานประกอบการ และภายนอกที่เชื่อมกับระบบโกดังและการขนส่งอีกด้วย นอกจากนี้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนงานน้อยลง คนงานแต่ละคนมีความสำคัญและอำนาจต่อรองสูงขึ้น

ภาคอุตสาหกรรมแยกไม่ออกจากภาคบริการ เพราะพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในขณะที่คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมลดลง คนงานในภาค “โลจิสติก” (logistics) เพิ่มขึ้น เช่นคนงานในโกดัง และคนงานขนส่งสินค้า คาดว่าทั่วประเทศคนงานในภาคนี้มีถึง 4 ล้านคน

workers-compensation-logistics-warehouse

ในชานเมืองใหญ่ๆ เช่นเมือง Chicago, Los Angeles หรือ New York มี “กลุ่มโลจิสติก” ขนาดใหญ่ที่เชื่อมกับโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทขายของทางอินเตอร์เน็ด และห้างร้านขนาดใหญ่ และที่เมือง Chicago กลุ่มโลจิสติกมีการจ้างคนงานสองแสนคนในโกดัง ตัวเลขนี้ไม่รวมคนที่ขับรถขนส่งสินค้า

xpo_equipment_on-road-city1

นอกจากโลจิสติกแล้ว ภาคบริการประกอบไปด้วยคนทำงานในสถานการศึกษา ธนาคารกับไฟแนนส์ การขนส่งมวลชน และโรงพยาบาล คาดว่าลูกจ้างในโรงพยาบาลมีถึง 4.4 ล้านคน และที่สำคัญคือภาคบริการนี้ไม่สามารถย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นได้เนื่องจากลักษณะงานบวกกับความเข้มข้นของการลงทุน

e5c7613e79b239ed68390596044f9745

ลักษณะของงานในภาคบริการ มักจะเป็นงานที่จ่ายค่าจ้างต่ำและโอกาสที่จะเลื่อนขั้นสำหรับลูกจ้างจะมีน้อย นอกจากนี้มีการใช้คนงานในลักษณะยืดหยุ่น คือส่วนหนึ่งไม่ได้มีชั่วโมงการทำงานที่เต็มเวลาหรือมั่นคง ซึ่งบ่อยครั้งคนงานจะเป็นคนอายุน้อยที่พึ่งจบการศึกษา หรืออาจเป็นสตรีที่ต้องการงานไม่เต็มเวลาเพื่อเลี้ยงลูก แต่ทั้งๆ ที่มีการประโคมข่าวว่า “ในยุคนี้งานประจำกำลังหายไปหมด” ตัวเลขจริงชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนการทำงานแบบที่ไร้ความมั่นคง (Precarious Work) ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าไร คือคงอยู่ที่ 15% ของกำลังงานทั้งหมดในช่วง10ปีระหว่าง1995-2005 แต่จำนวนคนงานทั้งหมดเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้คนงานที่ไร้ความมั่นคง และคนงานที่มีงานประจำเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กัน

ในภาพรวมมันไม่ได้มีส่วนหนึ่งของประชาชนที่ขาดความมั่นคงตลอดไป แต่คนงานทุกคนอาจมีประสบการณ์ของการทำงานที่ขาดความมั่นคงในช่วงหนึ่งของชีวิต และเนื่องจากสหรัฐไม่มีรัฐสวัสดิการ ประชาชนสูงอายุหลังเกษีณ เป็นผู้ที่ขาดความมั่นคงมากพอสมควร

38591-full

ความเหลื่อมล้ำในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1980 คือคน 10% ที่รวยที่สุดเพิ่มส่วนแบ่งทรัพย์สินจาก 30% ในปี1970 เป็น 50% ในปี2005 ความเหลื่อมล้ำนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงาน คือถ้าวัดสัดส่วน “กำไรต่อค่าจ้าง” จะเห็นว่าเพิ่มจาก 21 ในปี 1975 เป็น 36 ในปี 2011 ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการขูดรีดส่วนเกินจากกรรมาชีพโดยนายทุน

6.6.16portsphoto

สำหรับโอกาสที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานและส่งเสริมการต่อสู้ทางชนชั้น การมีสถานที่ทำงานที่ใหญ่ขึ้น และมีการลงทุนสูงขึ้น และลักษณะของระบบโลจิสติก เป็นโอกาสทอง เพราะทำให้ก่อตั้งสหภาพแรงงานง่ายขึ้นและคนงานมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น แต่เงื่อนไขทางวัตถุแบบนี้ไม่พอที่จะทำให้เพิ่มการต่อสู้ทางชนชั้นได้ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กันคืองานการจัดตั้งภายในสหภาพแรงงานในระดับรากหญ้า พร้อมกับการจัดตั้งทางการเมืองที่อิสระจากพรรคเดโมแครต ในอดีตผู้นำแรงงานระดับสูงไม่ยอมนำการต่อสู้และมัวแต่ไปตีสนิทกับนักการเมืองพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของนายทุนอย่างชัดเจน และถ้าเราเข้าใจว่า ทรัมป์ ไม่ได้ชนะเพราะได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของกรรมาชีพ แต่ชนะเพราะกรรมาชีพจำนวนมากไม่ยอมออกมาลงคะแนนเสียงเลยในวันเลือกตั้ง เพราะเบื่อหน่ายกับสองพรรคใหญ่และสภาพความเหลื่อมล้ำในสังคม เราจะเห็นว่าในยุคนี้นักเคลื่อนไหวมีโอกาสที่จะก่อตั้งพรรคสังคมนิยมหรือพรรคแรงงานเพื่อจัดตั้งคนงานในสถานที่ทำงานให้ออกมาต่อสู้

[ข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความนี้มาจากหนังสือ “On New Terrain. How Capital is Reshaping the Battleground of Class War. โดย Kim Moody – Haymarket Books, Chicago 2017. ]

frontcover-f_large-2fb8dd7e1e725035417e691ea490dc17

การทำลายมาตรฐานการจ้างงานในเยอรมัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปัญหาความเสื่อมในคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมัน อธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับเยอรมันได้ มันอธิบาย “ความสำเร็จ” ในการส่งออกซึ่งสร้างกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มทุนเยอรมัน แต่เกิดขึ้นบนสันหลังกรรมาชีพ มันอธิบายว่าทำไมธนาคารต่างๆ ของเยอรมันพร้อมจะปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศที่ยากจนกว่าในยุโรป เช่นกรีซ เพื่อระบายสินค้าส่งออกของเยอรมัน มันอธิบายว่าทำไมหลังจากนั้น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 รัฐบาลเยอรมันเป็นหัวหอกในการบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดในกรีซ เพื่อเอาเงินกู้นั้นคืนมา ซึ่งทำให้ประชาชนกรีซต้องยากลำบาก และล่าสุดมันอธิบายว่าทำไมในสังคมเยอรมัน ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจกับพรรคกระแสหลัก และบางคนพร้อมจะเชื่อการเป่าหูที่เบี่ยงเบนประเด็นไปสู่การโทษผู้ลี้ภัย คนมุสลิม และคนต่างชาติที่ทำงานในเยอรมัน ซึ่งมีผลทำให้พรรคนาซีเยอรมันกลับมาได้คะแนนเสียงในรัฐสภาเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลก

AfD+hitler

ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้สงครามเย็น เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองซีก เยอรมันตะวันตกภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ ฝรั่งเศส กับอังกฤษ และเยอรมันตะวันออกภายใต้อิทธิพลรัสเซีย

ในสมัยนั้นการเมืองกระแสหลักในเยอรมันตะวันตกส่งเสริมให้รัฐมีบทบาทสูง มีการสร้างระบบรัฐสวัสดิการและระบบแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้ทุนนิยมขยายตัวและพัฒนาสังคมภายใต้สันติภาพทางชนชั้น รายได้และมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมันก็ดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนั้นนายทุนก็สามารถเพิ่มกำไรและปริมาณการส่งออกได้ มันสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือกันระหว่างสหภาพแรงงานกับนายทุนจนผู้นำสหภาพเลิกสนใจการต่อสู้ผ่านการนัดหยุดงาน

แต่พอถึงปลายทศวรรษที่ 70 ระบบเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่วิกฤตทุนนิยมเรื้อรังท่ามกลางการลดลงของอัตรากำไร ดังนั้นทั่วโลกมีการรื้อฟื้นแนวเสรีนิยมกลไกตลาดและแนวคิดที่ต่อต้านบทบาทรัฐในเศรษฐกิจ เช่นการต่อต้านรัฐสวัสดิการ และการต่อต้านมาตรฐานการจ้างงานที่ดี ทั้งนี้เพื่อพยายามกู้อัตรากำไรให้นายทุน [ดู https://bit.ly/2tWNJ3V]ในยุคทศวรรษที่ 80 และ 90 เริ่มมีการตัดงบประมาณในรัฐสวัสดิการและการส่งเสริมการขายรัฐวิสาหกิจ อัตราการว่างงานค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่สภาพชีวิตของคนธรรมดาในเยอรมันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต

พร้อมกันนั้นระบบเผด็จการสตาลินก็ล่มสลายในรัสเซียกับยุโรปตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมันเป็นประเทศเดียวหลัง 1989 และทั้งๆ ที่การรวมประเทศทำให้รัฐเยอรมันต้องลงทุนมหาศาลในการพัฒนาเยอรมันตะวันออกให้มีมาตรฐานเท่ากับตะวันตก แต่กลุ่มทุนเยอรมันได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตสู่ภูมิภาคที่มีค่าจ้างต่ำในเยอรมันตะวันออกกับส่วนอื่นของอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ ดังนั้นกลุ่มทุนเยอรมันสามารถประคองอัตราการส่งออกได้ แต่อัตราการว่างงานในเยอรมันซีกตะวันออกสูงมาก เพราะอุตสาหกรรมเก่าจากยุคเผด็จการสตาลินล้มเหลว

Gerhardschroeder
แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์

พอถึงปี 2003 รัฐบาลแนวร่วมระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและพรรคกรีน ภายใต้นายกรัฐมนตรี แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ (Gerhard Schröder) หันหลังให้กับความคิดเดิมที่เน้นรัฐสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ที่ดี เพื่อรับแนวเสรีนิยมมาเต็มๆ และเปิดศึกกับขบวนการแรงงาน เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน การหักหลังชนชั้นกรรมาชีพและรับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดโดยพรรคสังคมนิยมปฏิรูปหรือพรรคแรงงานเกิดขึ้นทั่วยุโรป และมีการแก้ตัวโดยที่นักวิชาการหลายคน[1]โกหกว่าเป็น“แนวทางที่สาม” ระหว่างแนวที่เน้นรัฐกับแนวที่คลั่งตลาด ในความจริงมันเป็นการรับแนวคลั่งตลาดมาเต็มตัว ในอังกฤษรัฐบาลของ โทนี แบลร์ ที่อ้างว่าเป็น “พรรคแรงงานใหม่” ก็ส่งเสริมนโยบายแบบนี้เช่นกัน

ในเยอรมัน แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ เสนอนโยบาย “วาระ2010” (Die Agenda 2010) มีการตัดสวัสดิการต่างๆ แบบถอนรากถอนโคน มีการทำลายกฏหมายที่ปกป้องความมั่นคงของการทำงานเพื่อให้นายจ้างสามารถไล่คนออกง่ายขึ้น และมีการนำระบบรับเหมาช่วงและการจ้างคนงานชั่วคราว มาใช้ในบริษัทต่างๆ ในหลายบริษัทเกือบครึ่งหนึ่งของคนงานเป็นคนงานชั่วคราวที่ไร้สิทธิ์และสวัสดิการที่ดี ในบางกรณีคนงานชั่วคราวได้รับค่าจ้างแค่ครึ่งหนึ่งของคนงานประจำ มีการลดการใช้ระบบเจรจาระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงานในกรรมการลูกจ้างของบริษัทต่างๆ ในปี 2014 แค่ 28% และ 15% ของบริษัทในซีกตะวันตกและตะวันออกได้รับค่าจ้างมาตรฐานที่มาจากการเจรจากับสหภาพแรงงาน นอกจากนี้คนงานจากประเทศอื่นในอียูที่เข้ามาทำงานเกือบจะไม่ได้สวัสดิการอะไรเลย คนงานที่แย่ที่สุดคือคนงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานในสถานที่ทำงาน

german-workers

ท่ามกลางการเปิดศึกกับกรรมาชีพของชนชั้นปกครองเยอรมัน ผู้นำสหภาพแรงงานหมูอ้วนหลายคนที่เคยชินกับการเจรจาแทนการนำการต่อสู้ ก็ยอมจำนนโดยปลอบใจตัวเองและสมาชิกสหภาพว่าอย่างน้อยก็สามารถรักษาผลประโยชน์อะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตามในหลายบริษัทก็มีกรณีที่สหภาพแรงงานพยายามต่อสู้เพื่อเพิ่มมาตรฐานการจ้างงานสำหรับคนงานชั่วคราวในระบบรับเหมาช่วง และคนงานที่มีรายได้ต่ำ เช่นการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน Verdi กับ NGG ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและระบบการศึกษา

GERMANY-US-UNIONS-RETAIL-STRIKE-IT-AMAZON

สรุปแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 90 กรรมาชีพเยอรมันได้ส่วนแบ่งของผลผลิตที่ตัวเองผลิตน้อยลง ทั้งๆ ที่ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนนายทุนได้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมเยอรมันเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในปี 2012 25% ของคนงานเยอรมันมีรายได้ต่ำกว่ารายได้ที่ถือว่าอยู่ในระดับยากจน และในหมู่ลูกหลานของคนชั้นกลาง มีกระแสความกลัวในเรื่องความมั่นคงในชีวิต

นี่คือรากฐานของการกลับมาของกระแสการเมืองฟาสซิสต์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุนและมีนโยบายที่เหมือนกัน

a53ee86f43e24999be6547d254e9230d_18
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุน

แม้แต่ “พรรคซ้าย” (Die Linke) ก็มีปัญหาในการครองใจคนที่ประสพความยากลำบาก เพราะไปเน้นเรื่องการเจรจาในรัฐสภาแทนที่จะนำการต่อสู้ของสหภาพแรงงานหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อคัดค้านนโยบายรัดเข็มขัดของพวกเสรีนิยมสุดขั้ว

dlinke
พรรคซ้าย

มันเปิดโอกาสให้พวกนาซีหรือฟาสซิสต์ในพรรค AfD (Alternative für Deutschland) สามารถเบี่ยงเบนความทุกข์ของประชาชนไปสู่การต่อต้านผู้ลี้ภัย คนต่างชาติ หรือคนมุสลิม ทั้งๆ ที่ความทุกข์ของประชาชนมาจากนโยบายเสรีนิยมที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน

1018316866
สส.พรรคนาซี

[อ่านเพิ่ม: Oliver Nachtwey (2018) “Germany’s Hidden Crisis. Social Decline in the Heart of Europe”. Verso Books.]

[1] เช่น Anthony Giddens และ Thomas Meyer ในกรณี Thomas Meyer องค์กร FES ในไทยเคยเชิญคนนี้มาเพื่อคุยกับนักสหภาพแรงงานไทยและชักชวนให้ชื่นชมแนวทางที่สามและสร้างพรรคแรงงานที่ยอมรับกลไกตลาดเสรี โดยมีการตีพิมพ์หนังสือ “อนาคตของสังคมประชาธิปไตย”