Tag Archives: นัดหยุดงาน

มาร์คซิสต์กับ “ความรุนแรง”

เมื่อพูดถึง “ความรุนแรง” สิ่งแรกที่นักมาร์คซิสต์ต้องย้ำเสมอคือ ความรุนแรงของพวกที่กดขี่เรา (เช่น รัฐ ทหาร ตำรวจ ศาล) ไม่เหมือนความรุนแรงของคนที่ถูกกดขี่ปราบปราม ในเรื่องนี้พวก “สันติวิธี” แบบหอคอยงาช้างมักจะละเลยเสมอด้วยคำพูดในเชิง “ขอให้ทุกฝ่ายปฏิเสธความรุนแรง”

คำพูดแบบนั้นเรามักได้ยินในเรื่องความขัดแย้งในปาตานี หรือการชุมนุมของประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย สิ่งที่พวกสันติวิธีแบบหอคอยงาช้างมองข้ามเสมอคือ ฝ่ายรัฐมีกองกำลังติดอาวุธและพร้อมที่จะใช้อาวุธเหล่านั้นเสมอ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต การที่เขาถืออาวุธไว้ปราบประชาชนเป็นการประกาศตั้งแต่แรกว่ารัฐพร้อมจะใช้ความรุนแรงเสมอ ดังนั้นข้อเรียกร้องว่า “ขอให้ทุกฝ่ายปฏิเสธความรุนแรง” ไม่มีผลกับรัฐ แต่กลับกลายเป็นคำวิจารณ์คนที่ถูกกดขี่ปราบปรามที่พยายามป้องกันตัวเท่านั้น

คนที่อยู่ในไทยที่นั่งอยู่บ้านไม่ทำอะไร แต่วิจารณ์ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย หรือประกาศว่า “เป็นห่วงน้องๆ” ที่ออกมาชุมนุม เป็นพวกมือถือสากปากถือศีล เพราะถ้าเขาไม่อยากเห็นความรุนแรงเขาจะต้องมาร่วมชุมนุม ในหลายๆ กรณีมวลชนยิ่งมากเท่าไร รัฐยิ่งไม่กล้าปราบ

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์การกดขี่ชาวมาเลย์มุสลิมที่ปาตานี เราจะเห็นว่าขบวนการติดอาวุธสู้กับรัฐไทย เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐไทยใช้ความรุนแรงเสมอ เช่นหลังจากที่หะยีสุหลงถูกรัฐไทยอุ้มฆ่าในปี ๒๔๙๗  โดยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ หรือหลังจากการลงมือฆ่าชาวมาเลย์มุสลิมไร้อาวุธที่ตากใบในปี ๒๕๔๗ โดยรัฐบาลทักษิณ

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์การจับอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เราจะเข้าใจว่าการจับอาวุธเป็นปฏิกิริยาต่อการที่รัฐไทยเข้ามาปราบปรามด้วยความรุนแรง เช่นการจับขังหรือการฆ่าเป็นต้น

ในปัจจุบัน เมื่อเราพิจารณาการเคลื่อนไหวของ กลุ่มเยาวชนปลดแอก คณะราษฏร์ หรือ REDEM ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไร้อาวุธ เราจะเห็นว่ากลุ่มคนที่เตรียมอาวุธมาทำร้ายคนอื่นคือตำรวจกับทหาร และอันธพาลของฝ่ายคลั่งเจ้า การที่ตำรวจและทหารสลายการชุมนุมของผู้ที่ต้องการประชาธิปไตยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการฉีดน้ำใส่สารเคมี การใช้ก๊าซน้ำตา การใช้กระสุนยาง หรือการใช้กระสุนจริง (อันหลังนี้โดยเฉพาะในกรณีเสื้อแดง) ถือว่าเป็นการจงใจใช้ความรุนแรงของฝ่ายรัฐ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ฝ่ายรัฐปกครองด้วยอำนาจเผด็จการที่มาจากการใช้ความรุนแรงในการทำรัฐประหารแต่แรก

การที่แกนนำผู้ชุมนุมหลายๆ คนถูกรัฐจับกุมและขังในคุกด้วยกฏหมายเถื่อน112 ถือว่าเป็นการใช้ความรุนแรงโดยรัฐเพื่อปิดปากประชาชนและห้ามไม่ให้มีการแสดงออกอย่างเสรี อย่าลืมว่าคนที่กำลังโดน 112 แค่ใช้คำพูดในการเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความชอบธรรมสูงตามหลักประชาธิปไตย เขาไม่ได้ใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด ไม่เหมือนนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดประยุทธ์ที่เคยสั่งฆ่าเสื้อแดง และต้องรับผิดชอบกับการอุ้มฆ่าผู้เห็นต่างในยุคนี้

ดังนั้นถ้าฝ่ายผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยพยายามป้องกันตัวหรือโกรธแค้นขึ้นมา และใช้ความรุนแรงโต้ตอบตำรวจหรือทหารมันเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เข้าใจได้ และมาร์คซิสต์จะไม่มีวันวิจารณ์ เราจะพุ่งเป้าการวิจารณ์ไปที่รัฐบาลเผด็จการกับตำรวจทหาร

ในกรณีที่ผู้ชุมนุมชาวอเมริกันลุกขึ้นมาประท้วงในขบวนการ “Black Lives Matter” และไปเผาโรงพักที่ส่งตำรวจออกไปฆ่าคนผิวดำ เราจะไม่มีวันวิจารณ์

แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าภายในขบวนการเคลื่อนไหว มวลชนจะไม่มีการถกเถียงกันเรื่องความฉลาดในการใช้ความรุนแรงหรือวิธีการที่จะไม่ทำให้การเคลื่อนไหวเสียการเมือง

ในเรื่องการใช้ความรุนแรงเราพูดแค่นี้ไม่ได้ มีอีกสองประเด็นสำคัญที่เราต้องพิจารณา

ประเด็นแรกคือยุทธวิธีการจับอาวุธ ที่เคยใช้โดยพรรคคอมมิวนิสต์ หรือที่ BRN ใช้ในปาตานีตอนนี้ ไม่สามารถเอาชนะรัฐไทยได้ เพราะกองกำลังของรัฐไทยมีอาวุธและจำนวนคนมากกว่า ยิ่งกว่านั้นการใช้แนวจับอาวุธมีผลทำให้มวลชนคนธรรมดาไม่มีบทบาทอะไรเลย และไม่มีส่วนในการกำหนดแนวทางต่อสู้เคลื่อนไหว เพราะพวกจับอาวุธย่อมปิดลับเสมอ มาร์คซิสต์มองว่าถ้าเราจะล้มเผด็จการหรือเปลี่ยนสังคม เราต้องอาศัยขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชน ซึ่งไม่ได้แปลว่าเมื่อใกล้ชนะแล้วมวลชนจะไม่ติดอาวุธเพื่อป้องกันตัวจากฝ่ายรัฐเก่าที่พร้อมจะฆ่าคนจำนวนมากในการรักษาอำนาจอันไม่ชอบธรรม แต่ในกรณีนั้นแนวทางจะเน้นมวลชนเหนือการจับอาวุธ

ถ้าจะเปรียบเทียบแนวจับอาวุธกับแนวมวลชน เรามีบทเรียนสำคัญจาก Arab Spring เพราะในกรณีอียิปต์ หรือตูนิเซีย มีการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ล้มผู้นำเผด็จการได้ แต่ในกรณีซิเรีย การใช้แนวจับอาวุธนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ล้มผู้นำเผด็จการไม่ได้ และแถมเปิดช่องให้ประเทศอื่นๆ เข้ามาร่วมในสงคราม จนสังคมซิเรียพังทะลาย

ประเด็นที่สองคือเรื่องการปก้องกันตัวจากความรุนแรงของฝ่ายรัฐ มาร์คซิสต์จะมองว่าถ้าเราสู้ด้วยอาวุธชนิดเดียวกับที่ผู้กดขี่เราใช้ จะไม่ได้ผลเท่าไร แต่ถ้าเราใช้พลังของมวลชนในการนัดหยุดงาน มันเป็นอาวุธที่ฝ่ายรัฐมีความลำบากมากในการปราบหรือโต้ตอบ เพราะกรรมาชีพผู้ทำงานมีความสำคัญอย่างยิ่งกับเศรษฐกิจ การนัดหยุดงานจึงเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจที่มีพลัง และสามารถใช้ล้มเผด็จการได้

อ่านเพิ่ม

ถ้าจะไล่เผด็จการทหารต้องปลุกระดมการนัดหยุดงาน http://bit.ly/2Oh1mJz

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

มาร์คซิสต์ กับการต่อสู้ในยุคคนหนุ่มสาว http://bit.ly/3iBPzAO

แนวคิดมาร์คซิสต์คืออะไร https://bit.ly/3s5eu42

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าจะไล่เผด็จการต้องปลุกระดมการนัดหยุดงาน

หลายคนคงหงุดหงิดกับการที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการปราบม็อบ วิธีโต้ตอบความรุนแรงของรัฐที่มีพลังจริงๆ และไม่ใช่แค่สะใจชั่วคราว คือการนัดหยุดงาน

การนัดหยุดงานเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจที่สามารถล้มเผด็จการทหารได้

หลายคนจะบ่นว่ากรรมาชีพไทย “จะเอาตัวรอดไม่ได้อยู่แล้ว จะหวังให้ออกมานัดหยุดงานได้อย่างไร?” หรือบางคนพูดว่า “ขบวนการแรงงานไทยอ่อนแอเกินไป” ที่จะเป็นหัวหอกในการต่อสู้

คำพุดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคำแก้ตัวของนักสหภาพแรงงานหรือนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่จะไม่จัดตั้งกรรมาชีพไทยในทางการเมือง ก็เลยสดวกสบายที่จะทำอะไรเดิมๆ เช่นการสอนให้คนงานแค่รู้จักกฏหมายแรงงานและรัฐสวัสดิการ แทนที่จะปลุกระดมทางการเมือง หรือบางคนอาจแค่พึงพอใจที่จะให้ “ผู้แทน” ของสหภาพแรงงานปราศรัยกับม็อบคนหนุ่มสาว โดยไม่สนใจที่จะมีการตั้งวงเพื่อร่วมกันคิดว่าจะสร้างกระแสนัดหยุดงานอย่างไร

กรรมาชีพพม่าไม่ได้สะดวกสบายกว่าที่ไทย แต่เขานัดหยุดงานได้เพราะเขาเข้าใจความสำคัญ

การปลุกระดมและเตรียมตัวนัดหยุดงาน

การที่จะลงมือเตรียมวางแผนการนัดหยุดงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันทำได้ ต้องเน้นการพูดคุยกับคนทำงานจำนวนมาก คนหนุ่มสาวไฟแรงที่นำการประท้วงควรจะจัดทีมเพื่อไปพูดคุยกับคนทำงาน อาจในสถานที่ทำงาน หรือในทางเข้าออกจากที่ทำงาน และต้องพยายามสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะกับแกนนำสหภาพแรงงานถ้าเขาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

ต้องมีการถกเถียงกับคนที่ยังไม่พร้อม หรือคนที่มีข้อกังวลมากมาย ข้อกังวลเป็นเรื่องจริงที่เราต้องเคารพ คือคนจะกังวลว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ กังวลว่าถ้าเขาออกมาคนอื่นจะออกมาด้วยหรือไม่ กังวลว่าถ้าสถานที่ทำงานเขาหยุดงานที่อื่นจะหยุดด้วยหรือไม่ หรือกังวลว่ามันผิดกฏหมาย ฯลฯ

การโต้ข้อกังวลต้องอาศัยความรู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยว เรามีเพื่อนร่วมงานที่พร้องจะร่วมมือกันจับมือกันและแสดงความสมานฉันท์ในการต่อสู้ การเน้นความปัจเจกย่อมทำให้การต่อสู้ล้มเหลว

แน่นอนการนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองย่อมผิดกฏหมาย แต่การชุมนุมไล่ประยุทธ์ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเผด็จการอยู่แล้ว แต่คนเป็นหมื่นเป็นแสนพร้อมจะฝ่าฝืนกฏหมายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ถ้าจะมีการนัดหยุดงานเพื่อไล่ประยุทธ์กับคณะเผด็จการ เพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต้องมีการคุยเรื่องเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก และขณะนี้เป็นโอกาสทองที่จะทำ เพราะกระแสกำลังขึ้นสูงและประชาชนก็เคารพชื่นชมในสิ่งที่คนหนุ่มสาวทำ

ถ้าเพื่อนๆ ของเราในพม่านัดหยุดงานทั่วไปได้ เราก็ทำได้ ประเด็นคือพวกเราจะทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อให้มันเกิดหรือไม่

ใจ อึ๊งภากรณ์

ข้อเสนอสำหรับการต่อสู้ http://bit.ly/2Y37gQ5

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

ไทย-พม่า ข้อแก้ตัวเหลวไหลของคนไทยบางคน

ข้อแก้ตัวว่าไทยมีกษัตริย์ที่คุมเผด็จการ จึงล้มเผด็จการยาก

เวลาเรามองเปรียบเทียบการต่อสู้กับเผด็จทหารระหว่างไทยกับพม่า เราจะพบว่าความเชื่อในนิยายว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์มีอำนาจล้นฟ้าและควบคุมเผด็จการประยุทธ์ กลายเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนตาบอด วิเคราะห์อะไรอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ได้ และที่แย่กว่านั้นกลายเป็นข้อแก้ตัวสำหรับบางคนที่จะไม่สู้กับเผด็จการไทย และไม่สนใจที่จะคิดถึงวิธีการจัดตั้งมวลชนในการต่อสู้ดังกล่าว

เราจึงได้ยินคนบางคนพูดว่าประชาชนพม่าสามารถสู้กับเผด็จการพม่าได้ง่ายกว่า “เพราะไม่มีกษัตริย์”

คำพูดนี้เหลวไหลที่สุด และดูถูกเพื่อนๆในพม่าอย่างถึงที่สุดด้วย เพราะเผด็จการพม่ามีประวัติในการปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยในลักษณะที่โหดร้ายยิ่งกว่าของไทย มีการยิงกระสุนใส่มวลชนมือเปล่าจนล้มตายเป็นพันๆ หลายครั้ง และมีการล้างเผ่าพันธุ์ในกรณีชาวโรฮิงญาอีกด้วย

ที่สำคัญคือฝ่ายประชาธิปไตยในพม่ามีการจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ เพื่อต่อสู้ต่อไปหลังจากที่มีการปราบปรามโดยทหาร

เรื่องอำนาจกษัตริย์ไทย เป็นเรื่องเท็จตั้งแต่แรก และที่แย่กว่านั้นมันเป็นนิยายที่ชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะทหาร พยายามใช้ในการหลอกและกล่อมเกลาให้คนไทยไม่กล้าสู้อย่างถึงที่สุด เราโชคดีที่บ่อยครั้งมวลชนไทยไม่เชื่อ

แต่ที่สำคัญคือ คนที่เสนอว่ากษัตริย์ไทยมีอำนาจเหนือทหาร ไม่ว่าจะเป็นักวิชาการหรือประชาชนธรรมดา กำลังช่วยทหารในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อความเท็จที่พยุงลัทธิกษัตริย์

และเป็นที่น่าเสียดายที่คนที่หมกมุ่นในเรื่องกษัตริย์และราชวงศ์ เช่นในเพจ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” มักจะไม่มีข้อเสนอใดๆ อย่างเป็นรูปธรรม ในการขยายการต่อสู้และเพิ่มอำนาจของการเคลื่อนไหว เพราะเขาดูเหมือนสดวกสบายที่จะแค่ซุบซิบ

สรุปแล้วแนวที่เน้นอำนาจกษัตริย์เป็นแนวที่ “เข้าทาง” เผด็จการทหารไทย

ในโลกแห่งความเป็นจริงความโหดร้ายของเผด็จการทหารไทยและพม่า ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการที่มีหรือไม่มีกษัตริย์

ข้อแตกต่างระหว่างเผด็จการไทยกับพม่าคือเผด็จการไทยใช้กษัตริย์เป็นหนึ่งในข้ออ้างเพื่อปราบฝ่ายตรงข้าม แต่เผด็จการทหารพม่าก็มีข้ออ้างเช่นกัน คือเรื่องความมั่นคงของชาติและศาสนา ซึ่งฝ่ายไทยก็ใช้ด้วย

คนไทยที่ยังไม่ตาสว่างเรื่องนี้ควรจะรีบออกจากกะลา เพื่อร่วมล้มเผด็จการประยุทธ์!!

ข้อแก้ตัวเพื่อไม่ลงมือจัดตั้งกรรมาชีพไทยให้ร่วมและเป็นหัวหอกในการต่อสู้กับเผด็จการไทย

หลายคนจะบ่นว่ากรรมาชีพไทย “จะเอาตัวรอดไม่ได้อยู่แล้ว จะหวังให้ออกมานัดหยุดงานได้อย่างไร?” หรือบางคนพูดว่า “ขบวนการแรงงานไทยอ่อนแอเกินไป” ที่จะเป็นหัวหอกในการต่อสู้

คำพุดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคำแก้ตัวของนักสหภาพแรงงานหรือนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่จะไม่จัดตั้งกรรมาชีพไทยในทางการเมือง ก็เลยสดวกสบายที่จะทำอะไรเดิมๆ เช่นการสอนให้คนงานแค่รู้จักกฏหมายแรงงานและรัฐสวัสดิการ แทนที่จะปลุกระดมทางการเมือง หรือบางคนอาจแค่พึงพอใจที่จะให้ “ผู้แทน” ของสหภาพแรงงานปราศรัยกับม็อบคนหนุ่มสาว โดยไม่สนใจที่จะมีการตั้งวงเพื่อร่วมกันคิดว่าจะสร้างกระแสนัดหยุดงานอย่างไร

ครูพม่า ภาพจาก Myanmar Now

แต่การออกมาต่อสู้ของกรรมาชีพพม่า ท้าทายแนวคิดอนุรักษ์นิยมต่อพลังกรรมาชีพของนักสหภาพแรงงานและนักเคลื่อนไหวไทย

พนักงานรถไฟ

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาในพม่ามีการออกมาประท้วงอย่างเป็นระบบของ พยาบาล หมอ ครู ข้าราชการ เจ้าหน้าทีธนาคารชาติ พนักงานรถไฟ และคนงานเหมืองแร่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการจัดตั้งกรรมาชีพกลุ่มต่างๆ และที่สำคัญคือนักเคลื่อนไหวพม่าเข้าใจเรื่องพลังที่มาจากการนัดหยุดงาน เข้าใจมาตั้งแต่การลุกฮือ 8-8-88 ด้วย

คนงานเหมืองแร่ ภาพจาก irrawaddy

เห็นแล้วน่าปลื้มที่สุด แต่ในขณะเดียวกันละอายใจเพราะที่ไทยไม่มีแนวคิดแบบนี้ และขณะนี้ดูเหมือนคณะราษฏร์ไม่มียุทธศาสตร์ที่จะสร้างกระแสนัดหยุดงาน ทั้งๆ ที่แกนนำจำนวนมากโดนกฏหมาย 112 พร้อมกันนั้นพรรคที่เรียกตัวเองว่า “ก้าวไกล” แต่ก้าวไม่พ้นกรอบเดิมๆ จะยังคงไว้การจำคุกพลเมืองภายใต้ม.112

คนไทยที่ยังไม่ตาสว่างเรื่องกรรมาชีพควรจะรีบออกจากกะลา เพื่อช่วยสร้างกระแสนัดหยุดงานและร่วมล้มเผด็จการประยุทธ์!!

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

ข้อเสนอสำหรับการต่อสู้ http://bit.ly/2Y37gQ5

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

การมองว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่างเป็นการช่วยให้ทหารลอยนวล  https://bit.ly/2XIe6el อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj

ข้อเสนอสำหรับการเดินหน้าในการต่อสู้

ทุกวันนี้ขบวนการปลดแอกที่นำโดยคนหนุ่มสาวถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ คงจะมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงยุทธศาสตร์ยุทธวิธีเป็นธรรมดา ซึ่งแน่นอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ผมจึงมีข้อเสนอบางประการในฐานะนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม

ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับนักเคลื่อนไหวไทย คือจะปกป้องแกนนำที่ติดคุกและโดนคดี 112 เพราะถ้าไม่มีการพัฒนาพลังในการประท้วงคงจะทำไม่ได้

โครงสร้างของขบวนการและการนำ

ผู้เขียนเข้าใจว่าแกนนำขบวนการของคนหนุ่มสาวต้องการหลีกเลี่ยงการนำแบบเผด็จการของ “ผู้ใหญ่” ที่สั่งจากเบื้องบนลงมา ในอดีตขบวนการเสื้อแดงมีลักษณะบางอย่างแบบนี้ ดังนั้นการเน้นการนำแบบรากหญ้าเป็นเรื่องดี

ในขณะเดียวกันการปฏิเสธ “การนำ” และโครงสร้างของขบวนการก็มีปัญหา

ในกรณีฮ่องกง ปี 2019 ไม่มีการพึ่งนักการเมือง และไม่มีการเน้นแกนนำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะพูดกันว่าไม่มีแกนนำแต่ในรูปธรรม ท่ามกลางการเคลื่อนไหว ก็มีคนนำอยู่ดี ปัญหาคือไม่มีโครงสร้างที่จะเลือกผู้นำ ตรวจสอบแกนนำ หรือเลือกแนวทางด้วยกระบวนการประชาธิปไตย บางครั้งมีการถกเถียงกันในโซเชียลมีเดีย แต่ไม่มีการสรุปและไม่สามารถมีการลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดอะไรได้

การปฏิเสธโครงสร้างประชาธิปไตยในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในไทยและฮ่องกงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับเป้าหมายการต่อสู้ มันแปลว่าแกนนำในรูปธรรมที่มีอยู่ไม่สามารถดึงมวลชนเข้ามาช่วยกำหนดแนวทางได้

การปฏิเสธโครงสร้างประชาธิปไตยในขบวนการแปลว่าในอนาคต เมื่อการประท้วงเลิกไป จะไม่มีโครงสร้างหรือสถาบันการเมืองของประชาชนเหลืออยู่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่อไป

ประชาธิปไตยผ่านการจัด “สภาปลดแอก” เพื่อการแลกเปลี่ยน

การจัด “สภาปลดแอก” เป็นประจำ เพื่อให้นักเคลื่อนไหวมาพบกันและถกเถียงเรื่องแนวทางหรือเลือกแกนนำ เป็นวิธีที่จะนำกระบวนการประชาธิปไตยเข้ามาในขณะที่รักษาการนำแบบรากหญ้า

ในการต่อสู้ของม็อบเสื้อกั๊กเหลืองในฝรั่งเศสที่เน้นแนว “ทุกคนเป็นแกนนำ” ในที่สุดมีการสรุปว่าการชุมนุมอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการสร้าง “สภามวลชน” เพื่อกำหนดแนวทางและสร้างความสามัคคี และที่สำคัญคือประสานการต่อสู้ระหว่างเมืองต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถดึงผู้แทนจากสหภาพแรงงานเข้ามาร่วมได้อีกด้วย

หันหน้าสู่กรรมาชีพคนทำงาน

การนัดหยุดงานของประชาชนผู้ทำงานหรือกรรมาชีพ เป็นการใช้พลังทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ และพลังนี้สามารถล้มเผด็จการทหารได้

การที่จะลงมือเตรียมวางแผนการนัดหยุดงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันทำได้ ต้องเน้นการพูดคุยกับคนทำงานจำนวนมาก คนหนุ่มสาวไฟแรงที่นำการประท้วงควรจะจัดทีมเพื่อไปพูดคุยกับคนทำงาน อาจในสถานที่ทำงาน หรือในทางเข้าออกจากที่ทำงาน และต้องพยายามสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะกับแกนนำสหภาพแรงงานถ้าเขาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

เวลาเราพูดถึงประชาชนผู้ทำงานหรือกรรมาชีพ เราไม่ได้หมายถึงแค่คนทำงานในโรงงานเท่านั้น เพราะกรรมาชีพสมัยใหม่จะรวมถึงทุกคนที่เป็นลูกจ้าง เช่นในธนาคาร โรงพยาบาล ห้างร้าน ระบบคมนาคม และในรัฐวิสาหกิจ

[อ่านเพิ่ม – ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU ]

เตรียมพรรค

นักเคลื่อนไหวไทยที่เห็นด้วยกับแนวสังคมนิยมควรจะให้ความสำคัญกับการสร้าง “เตรียมพรรค” โดยมีเป้าหมายในการสร้างพรรคสังคมนิยมในอนาคต

ความสำคัญของการมีพรรคคือจะเป็นจุดรวมของนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ที่จะสามารถถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่องการวิเคราะห์สังคม และการกำหนดแนวทางต่อสู้เพื่อสังคมนิยม

นอกจากนี้พรรคมีความสำคัญในการเชื่อมโยงประเด็นปากท้องหลายๆ ประเด็น ให้เข้ากับความเข้าใจทางการเมืองในภาพกว้าง

พรรคที่มีสมาชิกหลายคนที่เข้าใจตรงกันและเคลื่อนไหวในแนวทางเดียวกัน จะมีพลังมากกว่าปัจเจกมหาศาล

คนที่สนใจสร้างพรรคฝ่ายซ้ายของคนชั้นล่างหรือพรรคสังคมนิยม ไม่ควรจะไปตั้งเป้าในการสร้างพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้อิทธิพลของเผด็จการ หรือภายใต้กรอบ “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ตัวอย่างของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงการมีบทบาทนอกรัฐสภาของพรรค เช่นในการจัดตั้งกรรมาชีพ คนหนุ่มสาว หรือเกษตรกร อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวทางในการจับอาวุธของ พคท. หรือการที่ พคท. ไม่มีประชาธิปไตยภายใน

อ่านเพิ่ม:

มาร์คซิสต์ กับการต่อสู้ในยุคคนหนุ่มสาว http://bit.ly/3iBPzAO

สังคมนิยมคือเสรีภาพที่แท้จริง https://bit.ly/3pSFUZ4

รัฐกับการปฏิวัติ https://bit.ly/3rM2pjN

ใจ อึ๊งภากรณ์

โรซา ลัคแซมเบอร์ค นักปฏิวัติสังคมนิยม

ในวันที่ 15 มกราคม 1919 ท่ามกลางการปราบปรามการลุกฮือของกรรมาชีพ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ถูกฆ่าทิ้งโดยทหารฝ่ายขวาภายใต้คำสั่งของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคปฏิรูปที่ต้องการปกป้องระบบทุนนิยม หลังจากนั้นมีการโยนศพของทั้งสองคนลงคลอง และพวกชนชั้นกลางก็เฉลิมฉลองด้วยความดีใจและความป่าเถื่อนตามเคย

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงท่ามกลางการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 กระแสปฏิวัติในประเทศต่างๆ ของยุโรปพุ่งสูง มีการเดินขบวนของทหารเรือติดอาวุธร่วมกับคนงานท่าเรือที่เมือง เคียล์ ประเทศเยอรมันหลังจากนั้นมีการตั้งกรรมการทหาร ในเมือง บเรเมน, แฮนโนเวอร์, โคโลน, ไลป์ซิก, ดเรสเดน และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย ทหารชั้นล่างกับคนงานยึดเมือง มิวนิค และมีการประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียดของแคว้น บาวาเรีย ซึ่งอยู่ได้หลายเดือน ส่วนในเมืองหลวง เบอร์ลิน ทหารชั้นล่างติดอาวุธร่วมกับกรรมาชีพถือธงแดงในการเดินขบวน และนักสังคมนิยมอย่าง คาร์ล ลีบนิค ปรากฏตัวที่ระเบียงพระราชวังเพื่อประกาศว่ามีการก่อตั้ง “สาธารณรัฐสังคมนิยม” และเริ่มกระบวนการ “ปฏิวัติโลก” ซึ่งทำให้พระเจ้าไคเซอร์ต้องหนีออกนอกประเทศทันที

พวกสังคมนิยมเยอรมันส่วนใหญ่สองจิตสองใจเรื่องการปฏิวัติ คือแกว่งไปแกว่งมาระหว่างการปฏิวัติกับการปฏิรูประบบเดิม มีแค่ “กลุ่มสันนิบาตสบาร์ตาคัส” ของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค เท่านั้นที่ชัดเจนว่าต้องปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้พึ่งแยกตัวออกจากพวกพรรคสังคมนิยมปฏิรูปก่อนหน้านี้ไม่นาน จึงไม่ได้มีการจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ ในที่สุดไม่เข้มแข็งพอที่จะนำการปฏิวัติได้

ในปลายเดือนธันวาคม 1918 รัฐมนตรีมหาดไทย นอสก์ จากพรรคสังคมนิยม ตัดสินใจสร้างกองกำลังทหารรับจ้าง “ไฟรคอพส์” ที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมคลั่งชาติ เพื่อตระเวนไปทั่วเยอรมันและปราบปรามทำลายขบวนการแรงงานและนักสังคมนิยมปฏิวัติ บางหน่วยของกองกำลังนี้เริ่มใช้ธงสวัสติกะ ซึ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์นาซีภายใต้ฮิตเลอร์

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมันชื่อ เอเบอร์ด จากพรรคสังคมนิยมปฏิรูป วิ่งไปจับมือทันทีกับพวกนายพลเก่า เพื่อ “สร้างความสงบเรียบร้อย” และการสร้างความสงบเรียบร้อยสำหรับระบบทุนนิยมแปลว่าต้องจัดการกับนักปฏิวัติ อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ซึ่งมีฐานสนับสนุนในมวลชนทหารระดับล่างและกรรมาชีพของเมือง เบอร์ลิน

ผลงานสำคัญของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ที่เราควรศึกษาคือเรื่อง “ปฏิรูปหรือปฏิวัติ” ที่อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมต้องอาศัยการปฏิวัติแทนที่จะตั้งความหวังกับการปฏิรูป และเรื่อง “การนัดหยุดงานทั่วไป” ที่เสนอความสำคัญของการนัดหยุดงาน พร้อมกับอธิบายว่า “การเมืองภาพกว้าง” กับเรื่อง “ปากท้อง” เชื่อมโยงกันอย่างไร บทความเรื่องการนัดหยุดงานทั่วไปสำคัญสำหรับนักเคลื่อนไหวกรรมาชีพไทย เพราะมีการเน้นเรื่องปากท้องเหนือการเมืองภาพกว้างมานานเกินไป

โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค

ทุกวันนี้ท่ามกลางวิกฤตทุนนิยมสามวิกฤต คือวิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการลดลงของอัตรากำไร และวิกฤตโลกร้อน คำพูดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ว่าเราเผชิญหน้ากับสองทางเลือกคือ “สังคมนิยมหรือความป่าเถื่อน” ดูเหมือนมีพลังอย่างยิ่ง และอย่าลืมด้วยว่าเผด็จการทหารที่เรามีอยู่ในไทยตอนนี้ มีรากฐานมาจากสภาพการเมืองหลังวิกฤตต้มยำกุ้งและความพยายามที่จะปฏิรูประบบโดยทักษิณและไทยรักไทย

อ่านเพิ่ม: แนวความคิดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค https://bit.ly/2DtwQWo

ต้นกำเนิดเผด็จการประยุทธ์ https://bit.ly/3stTEeQ

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักสังคมนิยมเชื่อว่าชนชั้นกรรมาชีพคือผู้ที่จะปลดแอกประเทศไทยได้

ชนชั้นกรรมาชีพคือใคร?

ชนชั้นกรรมาชีพตามนิยมของลัทธิมาร์คซ์ คือ ทุกคนที่ไร้ปัจจัยการผลิต ลูกจ้างนั้นเอง ลูกจ้างทุกคนที่ไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษถือว่าเป็นกรรมาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรโรงงาน พนักงานปกคอขาวในธนาคาร คนขับรถเมล์ คนขับรถไฟ พนักงานสายการบิน พนักงานโรงพยาบาล หรือครูบาอาจารย์ฯลฯ

หลายคนไม่เข้าใจคำว่า “ปัจจัยการผลิต” และคิดว่าคำนี้เหมือนคำว่า “ทรัพย์สมบัติ” แต่สองคำนี้ต่างกันมาก ปัจจัยการผลิตคือ โรงงาน ที่ดิน และบริษัทที่นำมาใช้ในการผลิตหรือในการแจกจ่ายผลผลิต ส่วนทรัพย์สมบัติอาจรวมถึงสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในการผลิต เช่น เสื้อผ้า เตียง โทรทัศน์ หรือตู้เย็น

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปลดแอกสังคมไม่ใช่เพราะชนชั้นนี้ถูกกดขี่หนักที่สุด หรือถูกขูดรีดหนักที่สุด บางครั้งการที่มนุษย์ถูกกดขี่อย่างหนักอาจทำให้ขาดความมั่นใจ และไม่มีความประสงค์ที่จะทำอะไรเลยนอกเหนือจากการแสวงหาวิธีเลี้ยงชีพเพื่อเอาตัวรอดเป็นวัน ๆ ไป

ชนชั้นกรรมาชีพไม่ได้สำคัญต่อการปลดแอกสังคมเพราะชนชั้นนี้มีจิตสำนึกสูงกว่าชนชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ ความจริงแล้วจิตสำนึกไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่มาจากประสบการณ์ในการต่อสู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กระทำอยู่ทุกวัน มาร์คซ์ เขียนถึงปัญหาการวมตัวของชนชั้นกรรมาชีพว่า ชนชั้นนี้ต้องพยายามสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นเพื่อให้แปรรูปเป็น “ชนชั้นเพื่อตัวเอง” การแปรรูปแบบนี้จะเริ่มด้วยการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อการแก้ปัญหาปากท้อง แต่จะหยุดอยู่แค่นั้นไม่ได้ ต้องมีการพัฒนาการเคลื่อนไหวในทางการเมืองด้วย ตรงนี้บทบาทของพรรคสังคมนิยมมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปลดแอกสังคมมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

(1)      ชนชั้นกรรมาชีพมีความสัมพันธ์พิเศษในระบบการผลิตและบริการของทุนนิยมเพราะทุนนิยมผลักดันให้ชนชั้นกรรมาชีพเข้ามาทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงานขนาดใหญ่ โดยที่งานของแต่ละคนต้องอาศัยพึ่งพางานของเพื่อนร่วมงานตลอด ตัวอย่าง เช่น พนักงานสร้างรถยนต์ในโรงงาน ไม่สามารถสร้างรถคันหนึ่งขึ้นมาตามลำพัง แต่ต้องอาศัยงานของคนอื่นจากแผนกอื่น ๆ ของโรงงาน หรือในโรงพยาบาล พนักงานคนหนึ่งไม่สามารถรักษาคนไข้ตามลำพังได้ ต้องอาศัยงานของคนในแผนกต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทำงานแบบนี้ช่วยส่งเสริมความคิดในเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม และการร่วมมือกัน

นอกจากนี้แล้วเวลามีปัญหาที่ทำให้คนงานเดือดร้อนวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลมากที่สุด คือ การรวมกลุ่มเพื่อเจรจากับนายจ้างซึ่งอาจช่วยทำให้คนงานเห็นคุณค่าของความสามัคคีด้วย

(2)     ชนชั้นกรรมาชีพมีอำนาจซ่อนเร้นอยู่สูง เนื่องจากกรรมาชีพเป็นชนชั้หลักที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมาในใจกลางของระบบ เศรษฐกิจทุนนิยมต้องอาศัยการทำงานของชนชั้นกรรมาชีพตลอด นายทุนนายจ้างไม่สามารถทำงานแทนชนชั้นกรรมาชีพได้ เครื่องจักรหรือระบบคมนาคมต้องถูกควบคุมและสร้างขึ้นโดยกรรมาชีพ และต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมัน ทีมาจากการทำงานของคนงาน

ถ้าชนชั้นกรรมาชีพทุกคนหยุดงานพร้อม ๆ กันจะเกิดอะไรขึ้น ? ไฟฟ้าจะดับ น้ำจะไม่ไหล การคมนาคมสื่อสารทุกชนิดจะยุติลง ในสำนักงานต่าง ๆ แอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์จะดับ และการผลิตในโรงงานจะยุติลง

อำนาจซ่อนเร้นแบบนี้ของชนชั้นกรรมาชีพมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้กำลังทุกชนิดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพสามารถปลดแอกสังคมได้

(3)     ชนชั้นกรรมาชีพเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมสมัยใหม่ ในยุคที่มาร์คซ์กับเองเกิลส์เคลื่อนไหว ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกมีจำนวนน้อยมาก น้อยกว่าจำนวนคนงานทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันเสียอีก แต่ในยุคสมัยใหม่ชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของโลก แม้แต่ในประเทศไทยในปัจจุบันชนชั้นกรรมาชีพมีมากกว่าชนชั้นอื่น

การปลุกระดมและเตรียมตัวนัดหยุดงาน

การที่จะลงมือเตรียมวางแผนการนัดหยุดงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันทำได้ ต้องเน้นการพูดคุยกับคนทำงานจำนวนมาก คนหนุ่มสาวไฟแรงที่นำการประท้วงควรจะจัดทีมเพื่อไปพูดคุยกับคนทำงาน อาจในสถานที่ทำงาน หรือในทางเข้าออกจากที่ทำงาน และต้องพยายามสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะกับแกนนำสหภาพแรงงานถ้าเขาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

ต้องมีการถกเถียงกับคนที่ยังไม่พร้อม หรือคนที่มีข้อกังวลมากมาย ข้อกังวลเป็นเรื่องจริงที่เราต้องเคารพ คือคนจะกังวลว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ กังวลว่าถ้าเขาออกมาคนอื่นจะออกมาด้วยหรือไม่ กังวลว่าถ้าสถานที่ทำงานเขาหยุดงานที่อื่นจะหยุดด้วยหรือไม่ หรือกังวลว่ามันผิดกฏหมาย ฯลฯ

การโต้ข้อกังวลต้องอาศัยความรู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยว เรามีเพื่อนร่วมงานที่พร้องจะร่วมมือกันจับมือกันและแสดงความสมานฉันท์ในการต่อสู้ การเน้นความปัจเจกย่อมทำให้การต่อสู้ล้มเหลว

แน่นอนการนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองย่อมผิดกฏหมาย แต่การชุมนุมไล่ประยุทธ์ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเผด็จการอยู่แล้ว แต่คนเป็นหมื่นเป็นแสนพร้อมจะฝ่าฝืนกฏหมายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ถ้าจะมีการนัดหยุดงานเพื่อไล่ประยุทธ์กับคณะเผด็จการ เพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต้องมีการคุยเรื่องเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก และขณะนี้เป็นโอกาสทองที่จะทำ เพราะกระแสกำลังขึ้นสูงและประชาชนก็เคารพชื่นชมในสิ่งที่คนหนุ่มสาวทำ

ใจ อึ๊งภากรณ์

จากฮ่องกงถึงไทย – สรุปบทเรียนการต่อสู้ – แนะนำหนังสือ “กบฎในฮ่องกง” ของ อาว ลองยู

หลายคนคงทราบดีว่าการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในไทย ได้รับอิทธิพลพอสมควรจากการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในฮ่องกง ดังนั้นเราควรจะศึกษาข้อสรุปสำคัญๆ จากหนังสือ“กบฏในฮ่องกง” ซึ่งเขียนโดยนักสังคมนิยมและนักสิทธิแรงงานชาวฮ่องกงชื่อ อาว ลองยู

บทสรุปสำคัญที่จะขอยกมาพิจารณาคือเรื่องการสร้าง “สภามวลชน” และพรรคการเมือง กับการสร้างกระแสนัดหยุดงาน

ขบวนการคณะราษฏร์ในไทยปัจจุบันยืนอยู่บนไหล่ของคนเสื้อแดงรุ่นพี่ที่เคยออกมาต่อสู้ก่อนหน้านี้ ในลักษณะเดียวกันขบวนการในฮ่องกงในปี 2019 ยืนอยู่บนไหล่ของ “ขบวนการร่ม” จากปี 2014

“ขบวนการร่ม” เกิดจากการปะทะทางความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่ที่มีทัศนะและความหวังทางสังคมการเมืองที่ต่างจากคนรุ่นก่อน และความพยายามของเผด็จการจีนที่จะควบคุมและปราบปรามผู้เห็นต่างในฮ่องกง สิ่งนี้เริ่มปรากฏตัวในการประท้วงปี 2012

ในปี 2014 พรรคการเมืองและนักเคลื่อนไหวรุ่นวัยกลางคน เช่น กลุ่มนักวิชาการและนักบวช 3 คน Benny Tai, Chan Kin-man, Chu Yiu-ming เสนอให้ยึดจุดต่างๆ กลางเมือง “ด้วยความรักและสันติภาพ”  แต่นักบวช 3 คนนี้ และนักการเมืองเสรีนิยม Pan-democrats ที่เคยวิจารณ์รัฐบาลฮ่องกง ไม่ยืนหยัดในการต่อสู้ ไม่ทำอะไรเป็นรูปธรรม และในที่สุดก็หมดความน่าเชื่อถือ

ดังนั้นมีการขึ้นมานำของคนรุ่นใหม่ในสมาพันธ์นักศึกษาฮ่องกง HKFS และองค์กรนักศึกษา Scholarism ซึ่งทำให้การต่อสู้พัฒนาสูงขึ้นในเชิงคุณภาพและปริมาณ และนำไปสู่การยึดถนนในใจกลางเมืองเมื่อกรกฏาคม 2014 พร้อมกันนั้นมีการบอยคอตการเรียนหนึ่งสัปดาห์ในเดือนกันยายน

เมื่อการบอยคอตการเรียนเกิดขึ้น สหภาพแรงงานและกลุ่มประชาสังคม 25 องค์กรได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนนักศึกษา และโจมตีระบบการเมืองของชนชั้นนำที่กดขี่และปรามข้อเรียกร้องของคนรากหญ้าที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้มีการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย และการริเริ่มมาตรการควบคุมชั่วโมงการทำงานพร้อมกับนำระบบบำนาญถ้วนหน้ามาใช้

ในปีนั้นสมาพันธ์สหภาพแรงงานฮ่องกง (HKCTU) ประกาศนัดหยุดงานทั่วไป แต่คนออกมาน้อย ถือว่าล้มเหลว มีแค่สหภาพเครื่องดื่มและสหภาพแรงงานครูที่นัดหยุดงาน และก่อนหน้านั้นสหภาพนักสังคมสงเคราะห์ได้หยุดงานไปครั้งหนึ่ง

การประท้วงในปี 2019 เริ่มจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามชาติ ซึ่งทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวฟื้นตัวขึ้นอีก จากปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเมษายน มีการปลุกระดมและให้การศึกษากับประชาชน ซึ่งมีผลทำให้คนออกมาเป็นแสน ในวันที่ 9 มิถุนายน คนออกมา 1 ล้าน และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ชุมนุมอายุต่ำกว่า 29 ปี นักเรียนมัธยมมีบทบาทสำคัญ

ท่ามกลางการชุมนุมมีการขยายข้อเรียกร้องจากการยกเลิกกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามชาติ ไปสู่การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งเสรี ยกเลิกคดีสำหรับผู้ชุมนุมที่ถูกจับ และเลิกเรียกผู้ชุมนุมว่าเป็น “ผู้ก่อจลาจล” นอกจากนี้มีการเรียกร้องให้ตั้งกรรมการสอบสวนพฤติกรรมของตำรวจในการสลายการชุมนุม

ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของการเคลื่อนไหวปี 2019 และบทสรุปสำหรับไทย

สันติวิธีหรือความรุนแรง

ขบวนการเคลื่อนไหวในปี 2019 มีการแบ่งพวกกันระหว่างคนที่เน้นสันติวิธีกับคนที่พร้อมจะใช้ความรุนแรง พวก “กล้าหาญ” เป็นพวกที่พร้อมจะใช้ความรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องมีการปิดลับ แต่การปิดลับแปลว่าไม่สามารถมีแถลงการณ์อย่างเปิดเผยได้ การถกเถียงแนวทางอย่างกว้างขวางทำไม่ได้เลย มวลชนธรรมดาจึงตรวจสอบพวก “กล้าหาญ” ไม่ได้ และตำรวจลับสามารถแทรกเข้าไปเป็นสายลับและผู้ก่อกวนได้ง่าย ในรูปธรรมวิธีการแบบนี้ลดบทบาทของมวลชน และในหลายกรณีทำให้เสียการเมืองอีกด้วยเมื่อมีการทำลายสถานที่ต่างๆ

การนัดหยุดงาน

การนัดหยุดงานเป็นวิธีต่อสู้ทีมีพลัง แต่ต้องค่อยๆ สร้างกระแส ในวันที 5 สิงหาคม 2019 มีการนัดหยุดงานทั่วไปของคนงานหลายแสนซึ่งประสพความสำเร็จมาก คนงานท่าอากาศยานและพนักงานสายการบินเป็นหัวหอก และมีนักสหภาพแรงงานของคนที่ทำงานในธนาคารและไฟแนนส์ ข้าราชการ พนักงานร้านค้า และภาคอาหารและเครื่องดื่มเข้าร่วม นอกจากนี้มีการชุมนุมของคนหนุ่มสาวและการบอยคอตการเรียน การนัดหยุดงานและการประท้วงครั้งนี้สามารถกดดันให้รัฐบาลฮ่องกงต้องยอมถอนกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามชาติ

แต่ต่อมาระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม รัฐบาลจีนกดดันให้มีการปราบปรามนักสหภาพแรงงานในบริษัทสายการบินที่หยุดงานและเป็นหัวหอกการประท้วง ซึ่งทำให้กระแสหยุดงานลดลง

หลังจากที่มีการปราบสหภาพแรงงานสายการบิน มีคนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งที่อารมณ์ร้อน เสนอว่าต้องไปปิดระบบคมนาคมและถนน เพื่อบังคับไม่ให้คนเข้าทำงาน ซึ่งมีผลในแง่ลบในระยะยาว เพราะสร้างความไม่พอใจ และไม่สามารถสร้างกระแสนัดหยุดงานเองในขบวนการแรงงานได้ นักสหภาพแรงงานวิจารณ์พวกหนุ่มสาวที่ใช้วิธีนี้โดยอธิบายว่าการนัดหยุดงานไม่เหมือนการปรุง “เส้นหมี่สำเร็จรูป” ที่แค่เติมน้ำร้อนก็พอ คือต้องมีการสร้างกระแสผ่านการถกเถียงแลกเปลี่ยนและการฝึกฝน

ดังนั้นมีกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่เป็นกรรมาชีพหนุ่มสาวจากสำนักงานต่างๆ เริ่มกิจกรรม “กินข้าวกลางเมือง” ทุกวันศุกร์ ซึ่งกลายเป็นการประท้วงของคนงานคอปกขาวหลายพันคน ที่ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงและกลับเข้าไปทำงานหลังจากนั้น

นักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้ในที่สุดสามารถสร้าง “ขบวนการสหภาพแรงงานใหม่” ซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพแรงงานในหลายอาชีพและสายงาน เช่นข้าราชการ พนักงานเทคโนโลจี พนักงานในระบบสาธารณสุข พนักงานบริษัทไฟแนนส์ พนักงานบัญชี พนักงานในบาร์ และพนักงานในอุตสาหกรรมดนตรี เป็นต้น

จำนวนนักเคลื่อนไหวที่เข้าใจความสำคัญของพลังกรรมาชีพและการนัดหยุดงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเสนอให้ตั้งสหภาพแรงงานใหม่ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้นำล้าหลังที่ไม่ยอมลงมือทำอะไรอย่างจริงจัง ในปลายเดือนธันวาคมมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานใหม่ 40 แห่ง เช่นสหภาพแรงงานในโรงพยาบาล (HAEA) และที่อื่นๆ เพื่อเตรียมสู้ในระยะยาว และในเดือนมกราคม 2020 สหภาพแรงงานโรงพยาบาลสามารถดึงพนักงาน 7 พันคนออกมานัดหยุดงาน 5 วัน

การสร้างกระแสก้าวหน้าในขบวนการแรงงานฮ่องกงแบบนี้ มีผลในการกู้กระแสการต่อสู้ของมวลชนที่ซบเซาลงให้กลับคืนมาได้ แต่ในช่วงนั้นพอดี วิกฤตโควิดก็เข้ามาแช่แข็งการต่อสู้

ยุทธวิธี “เหมือนน้ำ” และ “ไม่มีเวที”

ศัพท์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมที่น่าสนใจคือ “เหมือนน้ำ” ซึ่งหมายถึงแฟลชม็อบที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และมีการกล่าวถึงการ “ไม่มีเวที” ซึ่งแปลว่าไม่มีผู้นำ

การประท้วงในปี 2019 ต่างจาก “ขบวนการร่ม” เมื่อห้าปีก่อนตรงที่ไม่มีการพึ่งนักการเมือง และไม่มีการเน้นแกนนำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะพูดกันว่าไม่มีแกนนำแต่ในรูปธรรม ท่ามกลางการเคลื่อนไหว ก็มีคนนำอยู่ดี ปัญหาคือไม่มีโครงสร้างที่จะเลือกผู้นำด้วยกระบวนการประชาธิปไตย เพราะมีการปฏิเสธโครงสร้าง และปฏิเสธการสร้างพรรค ในการชุมนุมแต่ละครั้ง ไม่มีความพยายามที่จะสร้าง “สภามวลชน” เพื่อให้ผู้ชุมนุมแลกเปลี่ยนถกเถียงประเด็นปัญหาการเมืองและยุทธศาสตร์ยุทธวิธีเลย บางครั้งมีการถกเถียงกันในโซเชียลมีเดีย แต่ไม่มีการสรุปและไม่สามารถมีการลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดอะไรได้ ซึ่งนำไปสู่สภาพที่กลุ่มต่างๆ ทำอะไรเองในรูปแบบหลากหลาย นี่คือข้ออ่อนของการ “ไม่มีเวที”

ในการต่อสู้ของม็อบเสื้อกั๊กเหลืองในฝรั่งเศสที่เน้น “ทุกคนเป็นแกนนำ” มีการสรุปว่าการชุมนุมอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการสร้าง “สภามวลชน” เพื่อกำหนดแนวทางและสร้างความสามัคคี และที่สำคัญคือประสานการต่อสู้ระหว่างเมืองต่างๆ ได้ นอกจากนี้สามารถดึงสหภาพแรงงานเข้ามาร่วมอีกด้วย

การปฏิเสธโครงสร้างประชาธิปไตยในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในไทยและฮ่องกงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับเป้าหมายการต่อสู้ มันแปลว่าแกนนำในรูปธรรมที่มีอยู่ไม่สามารถดึงมวลชนเข้ามาช่วยกำหนดแนวทางได้

การปฏิเสธโครงสร้างประชาธิปไตยในขบวนการฮ่องกงแปลว่าในอนาคต เมื่อการประท้วงเลิกไป จะไม่มีโครงสร้างหรือสถาบันการเมืองของประชาชนเหลืออยู่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหญ่ของขบวนการคนหนุ่มสาวในไทยตอนนี้ อย่างน้อยในฮ่องกงยังมีขบวนการสหภาพแรงงานใหม่ที่ใช้วิธีประชาธิปไตยในการเลือกผู้นำและกำหนดการต่อสู้ ซึ่งจะคงอยู่ต่อไปในวันข้างหน้า

ขบวนการคณะราษฏร์ที่นำโดยคนหนุ่มสาว ควรจะพยายามตั้งพรรคการเมืองแบบรากหญ้าขึ้นมา แทนที่จะไปยกให้พรรคก้าวไกลทำให้แทน เพราะพรรคก้าวไกลตามขบวนการปัจจุบันไม่ทัน ไม่อยากขยายเพดานการต่อสู้ โดยเฉพาะในเรื่องกษัตริย์กับ 112 และในที่สุดจะหาทางประนีประนอมกับทหาร

ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับนักเคลื่อนไหวฮ่องกงกับไทย คือจะปกป้องแกนนำที่ติดคุกและโดนคดีอย่างไร ถ้าไม่มีการพัฒนาพลังในการประท้วงคงจะทำไม่ได้

[Au Loong-Yu “Hong Kong in Revolt. The protest movement and the future of China.” Pluto Press 2020.]

ใจ อึ๊งภากรณ์

แกนนำโดน 112 แล้วจะยังเล่นสนุกกันต่อหรือ?

การเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์และสวยงามมีความสำคัญระดับหนึ่งในการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เป็ดพลาสติก หรือการเต้นรำร้องเพลงตามลำพัง ไม่มีพลังเพียงพอที่จะเอาชนะทหารเผด็จการได้ และสำหรับปัญหาเฉพาะหน้าที่เร่งด่วน มันไม่สามารถกดดันให้รัฐยกเลิกคดีการเมืองต่างๆ รวมถึง 112 ที่แกนนำของเรากำลังโดนอยู่ทุกวันนี้

เป็ดยางหรือเป็ดพลาสติกไม่มีพลังที่จะล้มเผด็จการได้

อย่าลืมว่ารัฐบาลเผด็จการของประยุทธ์ ประกอบไปด้วยคนมือเบื้อนเลือดที่เคยสั่งให้มีการยิงเสื้อแดงที่ไร้อาวุธตายกลางกรุงเทพฯ ประกอบไปด้วยคนที่ส่งทหารไปอุ้มฆ่าผู้เห็นต่างในประเทศเพื่อนบ้าน และประกอบไปด้วยคนที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อสืบทอดอำนาจต่อไปหลังรัฐประหาร มันไม่ใช่เกมเด็กเล่น

แกนนำของขบวนการประชาธิปไตยปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับหลากหลายข้อหาจากรัฐ แต่ละคดีจะใช้เวลานานหลายๆ เดือน หลายคนโดนขังมาแล้ว รัฐบาลประยุทธ์ก็เพิ่มข้อหาตลอดเวลาและหนักขึ้นเรื่อยๆ เพราะเผด็จการต้องการให้เรากลัวมันและกลัวที่จะรักษาเพดานข้อเรียกร้อง หรือกลัวที่จะวิจารณ์กษัตริย์

ถ้าเราไม่ยกระดับการต่อสู้ของขบวนการ ในที่สุดการออกมาประท้วงบนท้องถนนจะอ่อนตัวลง และนอกจากเราจะไม่ประสพความสำเร็จในข้อเรียกร้องหลักสามข้อแล้ว จะมีการทอดทิ้งแกนนำที่ต้องขึ้นศาลหลายๆ ครั้งในเดือนปีข้างหน้าอีกด้วย

อย่าไปนึกว่าศาลเตี้ยใต้ตีนเผด็จการจะมีจิตสำนึกประชาธิปไตยพอที่จะยกเลิกคดีต่างๆ อย่าไปฝันว่าฝ่ายรัฐบาลจะยอมประนีประนอมถ้าไม่ถูกกดดันด้วยพลังประชาชนที่เข้มข้นกว่านี้ และอย่าไปฝันว่าพรรคก้าวไกลหรือพรรคเพื่อไทยจะออกมาปกป้องคนที่โดน 112 หรือกดดันให้ทหารยอมรับสามข้อเรียกร้องเลย ทั้งหมดนั้นเป็นความฝันที่ไร้สาระทั้งสิ้น

อย่าไปหวังพึ่งคนอย่าง สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือหวังว่าองค์กรหรือรัฐบาลต่างประเทศจะมาช่วย มันเป็นความฝันเช่นกัน และอย่าไปคิดว่าคนที่ชอบวิจารณ์ด่ากษัตริย์เพื่อความสนุกสนานแต่ไม่มีข้อเสนออะไรเป็นรูปธรรมเพื่อชัยชนะจะมีประโยชน์

แต่เราต้องไม่ลืมว่าคนไทยเองมีพลังพอที่จะล้มเผด็จการได้ และเคยล้มในอดีต ประเด็นคือจะใช้วิธีการอะไร

ถ้าเราทอดทิ้งแกนนำที่มีความกล้าหาญในการยกเพดานข้อเรียกร้องแบบนี้ ในอนาคตใครจะกล้าออกมา?

ผู้เขียนได้แต่หวังว่าแกนนำของขบวนการในหลายๆ ส่วน จะนั่งคุยกันอย่างจริงจังว่าจะยกระดับการเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างไร

ขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบันอาจเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากการต่อสู้ที่ฮ่องกง อย่างเช่นการจัดตั้งม็อบหรือการใช้เป็ดพลาสติก แต่มันมีบทเรียนอื่นที่ไม่ได้นำมาใช้ โดยเฉพาะการนัดหยุดงานและการเคลื่อนไหวในสหภาพแรงงาน ที่อ่องกงมีการนัดหยุดงานของพนักงานสายการบินที่ปิดประเทศ มีการนัดหยุดงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และมีการพยายามสร้างสหภาพแรงงานใหม่เป็นต้น ที่ประเทศเบลารุสมีการนัดหยุดงานของพนักงานโรงงานต่างๆ ที่ประเทศซูดานมีการนัดหยุดงานที่กดดันเผด็จการทหาร และล่าสุดที่อินเดียมีการนัดหยุดงานของคนงาน 250 ล้านคนเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่พึ่งผ่านมา

นัดหยุดงานที่อินเดีย

การนัดหยุดงานของคนงานในออฟฟิศ ในธนาคาร ในระบบขนส่ง ในโรงพยาบาล และในโรงงาน จะมีพลังเพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลเผด็จการบริหารประเทศไม่ได้และต้องยอมมาเจรจา แต่อย่าไปหวังว่าปีกแรงงานของพรรคก้าวไกล หรือพวก “อดีต” ที่อ้างว่าเป็น “ภาคประชาชน” หรือพวกเอ็นจีโอที่หากินกับแรงงาน หรือผู้นำแรงงานหมูอ้วน จะลงมือสร้างความเป็นไปได้ของการนัดหยุดงาน เพราะแต่ละฝ่ายคงจะเอาข้ออ้างต่างๆ นาๆ ออกมาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำอะไร

มันจึงตกอยู่กับนักเคลื่อนไหวรากหญ้าของคณะราษฏร์ นักศึกษา คนหนุ่มสาว และนักต่อสู้รากหญ้ารุ่นใหม่ของสหภาพแรงงาน ที่จะลงพื้นที่ต่างๆ ถกเถียงแลกเปลี่ยน และอธิบายว่าทำไมถึงเวลาแล้วที่จะมีการนัดหยุดงานเพื่อประชาธิปไตย เรื่องมันจะได้จบที่คนรุ่นนี้สักที

ใจ อึ๊งภากรณ์

สัญญาณเตือนภัย

ขบวนการประชาธิปไตยที่นำโดยคนหนุ่มสาวได้สร้างความตื่นเต้นและความหวังล้นฟ้าสำหรับคนไทยเป็นล้านๆ และคนต่างประเทศที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมของตนเองทั่วโลก

แต่สัญญาณเตือนภัยเริ่มปรากฏขึ้นแล้ว ว่าจะมีการลดเพดานและจะจบลงด้วยการประนีประนอมแบบแย่ๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะนักเคลื่อนไหวและแกนนำต้องการให้จบแบบนั้น แต่จะเกิดขึ้นถ้าไม่มีการทบทวนและพัฒนาการต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลเผด็จการบริหารประเทศไม่ได้ เพราะการชุมนุมไปเรื่อยๆ ในรูปแบบเดิมๆ และรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ จะเอาชนะทหารไม่ได้

ภัยหลักตอนนี้คือการยอมปล่อยให้รัฐสภาจัดการเรื่องการปฏิรูปสังคม เพราะถ้าเราไม่ระวังรัฐสภาที่คุมโดยทหารจะยอมแค่ให้แก้บางมาตราในรัฐธรรมนูญเท่านั้น จะไม่มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน ประยุทธ์จะไม่ลาออก และจะไม่มีการปฏิรูปกษัตริย์

ขบวนการประชาธิปไตยปัจจุบันที่นำโดยคนหนุ่มสาวควรภูมิใจในผลงานในสามเดือนที่ผ่านมาเพราะมีการชุมนุมใหญ่ของคนจำนวนมากเป็นประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาข้อเรียกร้อง มีการแสดงความกล้าหาญที่จะวิจารณ์กษัตริย์ และมีการดึงเรื่องสิทธิทางเพศ และสิทธิของชาวมาเลย์มุสลิมในปาตานีเข้ามาเพื่อขยายแนวร่วม สิ่งเหล่านี้ขบวนการเสื้อแดงในอดีตไม่สามารถทำได้

และทั้งๆ ที่ขบวนการนี้นำโดยคนหนุ่มสาว ข้อเรียกร้องหลักของขบวนการเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ ไม่ใช่แค่คนหนุ่มสาวเท่านั้น ทุกคนเดือดร้อนและคนจำนวนมากต้องการให้สังคมเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการประนีประนอมหรือลดเพดานจะไม่มีวันแก้ปัญหาของสังคมได้ และไม่มีวันทำให้คนส่วนใหญ่พอใจ

มันถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันอย่างจริงจังเรื่องยุทธ์วิธีที่จะพัฒนาการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ

ปัญหาอันหนึ่งคือการใช้วิธี “ทุกคนเป็นแกนนำ” สามารถช่วยให้การต่อสู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งๆ ที่แกนนำหลายคนถูกจับก็จริง แต่ไม่นำไปสู่การสร้างโครงสร้างภายในขบวนการที่จะกำหนดแนวทางด้วยวิธีประชาธิปไตยได้ แน่นอนแกนนำไม่ได้หวังเป็นเผด็จการ แต่ถ้าไม่มีโครงสร้างเพื่อให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ แกนนำจะเป็นผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยปริยาย และจะไม่สามารถดึงคนรากหญ้ามาช่วยตัดสินแนวทางได้ นี่คือประสบการณ์จากขบวนการเคลื่อนไหว Podemos ที่อ้างว่าไม่มีแกนนำในสเปน

ขบวนการที่ไทยได้รับความคิดและความสมานฉันท์จากขบวนการฮ่องกง ซึ่งน่าจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องความสำคัญของการนัดหยุดงาน ซึ่งเป็นข้อสรุปสำคัญของหลายส่วนที่ฮ่องกง

ทุกวันนี้มีนักสหภาพแรงงานเข้าร่วมชุมนุมกับคนหนุ่มสาว และกระแสความชื่นชมในขบวนการประชาธิปไตยยังสูงอยู่ ดังนั้นคนหนุ่มสาวและนักสหภาพแรงงานก้าวหน้าควรลงมือเดินเข้าไปหาคนทำงานในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน สำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานที่ทำงานอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อพูดคุยกับคนทำงานในเรื่องการใช้พลังทางเศรษฐกิจที่มาจากการนัดหยุดงานเพื่อหนุนการชุมนุมของคนหนุ่มสาว

แน่นอน จะมีคนที่ออกมาพูดว่าการนัดหยุดงาน “ทำไม่ได้” หรือ “คนงานไทยไม่มีวันนัดหยุดงาน” หรือ “คนงานกำลังจะเอาตัวรอดไม่ได้” แต่พวกนี้จะเป็นคนที่ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย และปิดหูปิดตาถึงการพัฒนาทางความคิดที่เกิดขึ้นในรอบสามสี่เดือนที่ผ่านมาในไทย ยิ่งกว่านั้นผู้เขียนขอท้าคนที่พูดแบบนี้ว่า “ถ้าไม่เห็นด้วยกับการพยายามสร้างกระแสการนัดหยุดงาน ท่านมีข้อเสนออื่นอะไรที่เป็นรูปธรรมที่จะทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้?” “ท่านมีข้อเสนออะไรที่จะนำไปสู่ชัยชนะของขบวนการ?”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ผู้ประท้วงไม่ควรฝากความหวังไว้ที่รัฐสภา

ถ้าเป้าหมายในใจของผู้ประท้วงคือแค่การกดดันให้รัฐสภาพิจารณาสามข้อเรียกร้องหลักของคณะราษฏร หรือส่งลูกและฝากความหวังไว้กับพรรคก้าวไกลหรือพรรคเพื่อไทย เรื่องจะจบลงด้วยการประนีประนอมที่แย่ที่สุด

ในเมื่อผู้รักประชาธิปไตยออกมาแสดงพลังเป็นแสนๆ และฝ่าการปราบปรามของตำรวจ มันจะเป็นการพลาดโอกาสที่น่าเศร้าใจ

อย่าให้ใครมาบอกเราว่า “เราทำได้แค่นี้” หรือ “ต้องใจเย็นปฏิรูปไปทีละก้าว” เพราะการปฏิรูปไปทีละก้าวอาจทำให้มีการถอยหลังทีละก้าวได้ง่าย

เราพอจะเดากันได้ว่าถ้ามีการพิจารณาสามข้อเรียกร้องในสภา มีแค่ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับรัฐรรมนูญที่พวกนั้นจะยอมพิจารณา และคงจะเป็นการ “แก้” รัฐธรรมนูญในบางจุดเท่านั้น ไม่ใช่การร่างใหม่โดยประชาชนรากหญ้า

ในบทความก่อนหน้านี้ผมพยายามเสนอว่าประยุทธ์คงไม่ลาออกง่ายๆ เพราะพวกโจรเผด็จการมันลงทุนไว้เยอะ เช่นเรื่องการแต่งตั้งส.ว.และโกงการเลือกตั้งฯลฯ ถ้าประยุทธ์จะลาออกมันจะเป็นการยอมแพ้โดยสิ้นเชิง และเสียหน้ามากมาย ถ้าจะทำให้เป็นจริงต้องมีการยกระดับการต่อสู้ไปสู่พลังเศรษฐกิจผ่านการนัดหยุดงานเพื่อทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้ หรืออีกทางหนึ่งคือการก่อจลาจลซึ่งไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเพราะจะมีการเสียเลือดเนื้อมากมาย

ชลบุรี

การนัดหยุดงานเป็นไปได้เพราะนักสหภาพแรงงานบางส่วนออกมาร่วมการประท้วงแล้วที่รังสิตกับชลบุรี การนัดหยุดงานเป็นไปได้เพราะนักเรียนนักศึกษาที่นำการประท้วงได้รับความชื่นชมในสายตาประชาชนเป็นล้านๆ แต่ถ้าจะให้เกิดขึ้น นักเรียนนักศึกษาจะต้องจับมือกับนักสหภาพแรงงานที่ก้าวหน้า และวางแผนเพื่อไปเยี่ยมพูดคุยถกเถียงกับคนทำงานตามสถานที่ทำงานหลายๆ แห่ง และไม่ใช่แค่โรงงาน ควรคุยกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย พนักงานในสำนักงาน และคนที่ทำงานในระบบคมนาคม สรุปแล้วมันต้องมีการลงทุนลงแรงในการทำให้การนัดหยุดงานเกิดขึ้นจริง พลังที่จะล้มเผด็จการไม่ได้เกิดขึ้นเองแบบง่ายๆ

ส่วนเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สำหรับพวกเรามันเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมากมาย และหลายคนมองว่าเป็นข้อเสนออ่อนๆ ที่ไม่ใช่การล้มเจ้า แต่สำหรับทหารมันเป็นเรื่องใหญ่มากและยอมยาก เพราะทหารใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือมา 50 ปีกว่าแล้ว สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทหารเชิดชูเพื่อใช้ในการให้ความชอบธรรมกับระบบเผด็จการ การสร้างกษัตรย์ให้ดูเหมือนมีอำนาจดุจพระเจ้า เป็นวิธีสร้างความกลัวในหมู่ประชาชน ดังนั้นถ้าเขายอมถอยในเรื่องนี้ ทหารจะหมดความชอบธรรมในการแทรกแซงการเมือง ด้วยเหตุนี้เราต้องย้อนกลับมาดูวิธีที่จะกดดันแก๊งประยุทธ์ให้ยอมแพ้ อย่างที่เขียนไว้ข้างบน

การสร้างภาพของทหารที่มีอำนาจเหนือวชิราลงกรณ์

กษัตรย์ไทยไม่มีอำนาจในตัวเอง ทั้ง ร.9 และ ร.10 เป็นคนอ่อนแอทางการเมือง ร.10 อาจทำตัวเหมือนนักเลงกระจอกในเรื่องชีวิตส่วนตัวของเขา แต่เขาสั่งการทหารไม่ได้ สาเหตุที่คนเชื่ออย่างผิดๆ ว่ากษัตริย์มีอำนาจ ก็เพราะทหารและชนชั้นนำไทย รวมถึงทักษิณด้วย ได้เชิดชูกษัตริย์มานานและสร้างขึ้นมาให้ดูเหมือนมีอำนาจล้นฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้เรากลัวที่จะตั้งคำถามกับระบบชนชั้นที่กดทับเรา และยอมจำนนต่อแนวคิดว่า “บางคนเกิดสูง บางคนเกิดต่ำ” สาเหตุที่คนจำนวนมากยอมรับความคิดแบบนี้ไม่ใช่เพราะความโง่ แต่เป็นเพราะขาดความมั่นใจที่จะคิดทวนกระแสของชนชั้นปกครอง และการขาดความมั่นใจแบบนี้มักจะหายไปเมื่อมีการเคลื่อนไหวประท้วงของมวลชน นักมาร์คซิสต์เรียกการมองปรากฏการณ์ในโลกแบบ “กลับหัวกลับหาง” ว่าเป็นอาการของสภาพแปลกแยก Alienation และเราแก้ได้ด้วยการต่อสู้ นี่คือสิ่งที่เราเห็นกับตาในไทย ตอนนี้ร.10 ไมใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป แต่คนที่ตาสว่างควรจะตาสว่างเพิ่มขึ้นและเข้าใจว่าศัตรูหลักของเราคือทหารกับพรรคพวกที่สร้างความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ขึ้นมาแต่แรก

ถ้าจะขอให้จบที่รุ่นนี้ ต้องมีการยกระดับการต่อสู้ ไม่ใช่ส่งลูกให้นักการเมืองในรัฐสภา

ใจ อึ๊งภากรณ์