Tag Archives: ปฏิกูลการเมือง

ตอบคำถามของไอ้ยุทธ์เรื่องประชาธิปไตย คำต่อคำ

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อไม่นานมานี้ หัวหน้าคณะเผด็จการ “ยุทธ์มือเปื้อนเลือด” ได้ตั้งคำถามปัญญาอ่อนกับประชาชน…. ผมจะพยายามตอบโดยไม่หวังอะไรเลยว่ามันจะเข้าใจ

(1) ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่?

ตอบ ในประการแรก ตอนนี้เรามีรัฐบาลที่ประกอบไปด้วยโจรใส่เครื่องแบบ นำโดยฆาตกร ที่ใช้อำนาจปืนในการล้มระบบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ มันยากที่จะเห็นรัฐบาลที่ไร้ธรรมาภิบาลมากกว่านี้ แต่ในเรื่อง “ธรรมาภิบาล” มันเป็นเรื่องจุดยืนทางการเมืองของแต่ละคน มันไม่ได้มี “ธรรมาภิบาล” ชุดเดียวที่หัวหน้าเผด็จการบ้าอำนาจหลงตนเองจะมีสิทธิ์กำหนดแต่ผู้เดียว

(2) หากไม่ได้จะทำอย่างไร?

ตอบ คนที่รักระบบประชาธิปไตย จะไว้ใจและเคารพประชาชนว่ามีวุฒิภาวะในการเลือกรัฐบาล พวกเราทั้งหลายไม่ได้โง่เหมือนนายทหารชั้นสูง ถ้าเราได้รัฐบาลที่เราไม่ชอบ เพราะคนส่วนใหญ่ไปเลือก เราสามารถรณรงค์เคลื่อนไหวให้เพื่อนพลเมืองเปลี่ยนใจได้ โดยใช้วิธีประชาธิปไตย เราไม่นิยมการโบกมือเรียกโจรให้เข้ามาปล้นบ้าน หรือดูถูกเพื่อนพลเมืองว่าโง่ อย่างที่พวกสลิ่มเคยทำ

(3) การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ และเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์และการปฏิรูปหรือไม่นั้นเป็นความคิดทีถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง?

ตอบ ในประการแรก ระบบไหนไม่มีการเลือกตั้ง ต้องถือว่าเป็นเผด็จการ ทุกวันนี้เรามีเผด็จการโดยที่ประชาชนไม่ได้เลือกที่จะมี แน่นอนการเลือกตั้งรัฐบาลคงไม่พอ ควรมีการเลือกประมุขของประเทศ และควรมีการเลือกผู้พิพากษา นายพล หัวหน้าบริษัท และตำแหน่งสาธารณะอื่นๆ ด้วยวิธีการประชาธิปไตย เพื่อให้อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเราจะได้ประมุขปัญญาอ่อนที่สนใจแต่เสพสุข ผู้พิพากษาลำเอียงที่ไม่เคยถูกตรวจสอบ นายพลบ้าอำนาจ และหัวหน้าบริษัทที่ไม่ใช่ผู้แทนของผู้ที่ทำงานผลิตมูลค่าอย่างแท้จริง

สำหรับการ “ปฏิรูป” การเมือง และยุทธศาสตร์ของประเทศชาตินั้น สิ่งที่แน่นอนคือคณะทหารเผด็จการชุดนี้ มีแผนสืบทอดอำนาจโดยการปฏิกูลการเมืองและหมุนนาฬิกากลับสู่ยุคมืด

ที่สำคัญคือ ในระบบประชาธิปไตย ทิศทางของการปฏิรูป ยุทธศาสตร์ทางการเมือง และผลประโยชน์ของชาติ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเสมอท่ามกลางความเห็นทางการเมืองที่หลากหลาย ไอ้ยุทธ์อาจไม่เข้าใจหลักพื้นฐานอันนี้ของประชาธิปไตยเลย ดังนั้นสมควรที่จะถูกเชิญไปปรับทัศนะคติและเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยจากประชาชน

(4) ท่านคิดว่า กลุ่มนักการเมือง ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีก เกิดปัญหาซ้ำอีก แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร

ตอบ ที่ชัดเจนคือคนที่สั่งฆ่าประชาชนนับร้อย เพื่อรักษาอำนาจของกองทัพ คนที่โกหกเป็นสันดาน คนที่ใช้อำนาจเถื่อนในการยึดรัฐบาล คนที่กอบโกยผลประโยชน์จากการนั่งในตำแหน่งหลังรัฐประหาร และคนที่ไม่เคยเคารพประชาธิปไตย… คือคนอย่างไอ้ยุทธ์ และพรรคพวกนั้นเอง ไม่ควรมีโอกาสใช้อำนาจเลย

ส่วนในเรื่องว่าถ้ามีนักการเมืองที่ทำผิดมาลงสมัครรับเลือกตั้งนั้น มันต้องขึ้นอยู่กับประชาชนเสียงส่วนใหญ่ ว่าเขามองว่า “ผิด” หรือไม่ และมันต้องขึ้นอยู่กับประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่จะเรียกร้องหรือไม่เรียกร้องให้คนเหล่านั้นลาออก หรืออย่างน้อยมันขึ้นอยู่กับประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่จะไม่ลงคะแนนเสียงให้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ไอ้ยุทธ์อาจซื่อบื้อไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตยเพราะเติบโตในวัฒนธรรมเผด็จการของทหาร ดังนั้นคนซื่อบื้อแบบนี้ไม่ควรอวดว่าตนเข้ามาแก้ปัญหาอะไรได้เลย แน่จริงถ้าอยากแก้ปัญหาก็ควรลงสมัครรับเลือกตั้ง…. แล้วจะรู้ว่าประชาชนคิดอย่างไรกับตัวเขา

ทำไมเราต้องคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “มีชัย”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ๒๕๕๙ นี้เป็นเอกสารอัปลักษณ์อย่างที่ฝ่ายประชาธิปไตยทำนายไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะอะไรที่คายออกมาจากปากหมาของเผด็จการย่อมเป็นประชาธิปไตยไม่ได้

แต่เมื่อเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๕๘ เมื่อปีที่แล้ว มัน “เนียนกว่า” ในการซ่อนความเลวทราม เพราะมีการตัดหมวดที่เคยชวนให้ขำแบบตลกร้าย ซึ่งเคยพูดถึงคุณสมบัติของผู้นำทางการเมืองที่เป็น “คนดี” และมีการยกเลิก“คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการบังคับปรองดองแห่งชาติ” ที่เคยถูกเสนอให้เป็น “คณะมหาอำนาจ” เพื่อควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคต แต่ไม่มีการยกเลิกแนวคิดนี้แต่อย่างไร เพราะเอาอำนาจในการควบคุมรัฐบาลไปฝากไว้ที่อื่นดังนี้

มีการคงไว้บทบาทและยืดวาระการทำงานของคณะทหารเผด็จการ คสช. ออกไปหลังการเลือกตั้งในมาตรา 263 โดยให้มีส่วนสำคัญในการกำหนด “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ที่ผูกพันกับ “นโยบายรัฐ” ในหมวดที่ 6

“ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” นี้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดและแช่แข็งนโยบายของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพื่อไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีเสรีภาพที่จะกำหนดนโยบายเองตามความต้องการของประชาชน นอกจากนี้มันเป็นการเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญจับผิด และถอดถอนนักการเมือง หรือ “วีโต้” นโยบายของรัฐบาลที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความเองว่า “ไม่ตรงกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ”

นอกจากนี้มีการยืดเวลาการดำรงอยู่ขององค์กร “ปฏิกูลการเมือง” ที่แต่งตั้งโดยเผด็จการ ให้ยาวออกไปหลังการเลือกตั้ง โดยอ้างว่ายังต้อง “ปฏิรูป” อีกหลายเรื่อง มีการให้บทบาททหารหัวทึบ คสช. ในการ “ปฏิรูป”การศึกษา ซึ่งชวนให้เราสงสารเด็กไทยในอนาคตที่ต้องเติบโตภายใต้แนวคิดของคนอย่างประยุทธ์

มีการย้ายข้อความที่เคยดำรงอยู่ใน “มาตรา 7” ของรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งเคยถูกอ้างโดยพวกอนุรักษ์นิยมว่าให้อำนาจกับกษัตริย์ในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีทักษิณและแต่งตั้งนายกคนใหม่ มาอยู่ในหมวดของศาลรัฐธรรมนูญมาตรา 207 ซึ่งเป็นการให้อำนาจล้นฟ้าให้กับศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นอำนาจที่ลอยอยู่เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญนี้สร้างอำนาจเพิ่มให้กับศาลรัฐธรรมนูญ และต่ออายุ คสช. และองค์กรลูกของ คสช. เพื่อควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคต

เราคงไม่แปลกใจที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พูดว่า “รัฐบาลของประชาชนจะมีสถานะเพียงนกเขาในกรง ที่โก่งคอขันได้ แต่ไร้อิสรภาพ”

ในร่างขยะฉบับนี้การที่นายกรัฐมนตรีสามารถเป็น “คนนอก” ที่ไม่ใช่ สส. ถูกซ่อนไว้ในมาตรา 83 และ154

แน่นอนในมาตรา 270 มีการฟอกตัวและให้ความชอบธรรมจอมปลอม ให้กับคณะทหารโจรมือเปื้อนเลือดที่ปล้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญ และละเมิดชีวิตนักประชาธิปไตยในขณะที่กอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตัวเองและพรรคพวก

ในมาตรา 259 มีการยืดวันเลือกตั้งออกไปจนกว่าจะร่างกฏหมายลูกต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการยืดเวลาของรัฐบาลเผด็จการออกไปอีก

คราวนี้ไม่มีการเสนอวิธีการเลือกตั้งปลอมให้กับสมาชิกวุฒิสภา คือให้ทั้ง 200 คนมาจากการลากตั้ง โดยให้นักเลียเผด็จการมานั่งเลือกกันเองจากพรรคพวกเดียวกัน และวุฒิสภานี้จะมีอำนาจในการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลในอนาคต คนที่จะเป็นวุฒิสมาชิกต้องไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง แต่การเป็นอดีตทหารไม่เป็นอุปสรรคเลยแต่อย่างใด

ร่างกระดาษชำระ “ฉบับมีชัย” นี้ ยังคงไว้เนื้อหาสาระจากร่างฉบับปีที่แล้ว มีการสนับสนุนนโยบายคลั่งตลาด และมีเรื่องการห้ามไม่ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ช่วยคนจน ภายใต้คำขวัญของ “การรักษาวินัยทางการคลัง” และเรื่องความ “พอเพียง” และยังถูกออกแบบให้จำกัดไม่ให้ทักษิณกลับมาเป็นนายกด้วยมาตรการต่างๆ เช่นการจำกัดวาระนายกรัฐมนตรีไม่ให้มากกว่า 8 ปี

ถ้าเทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ แล้วจะเห็นว่ามีการลดความสำคัญของสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นมาตรา 25 ซึ่งเป็นมาตราแรกในหมวดสิทธิเสรีภาพ ระบุว่าสิทธิเสรีภาพถูกจำกัดได้ในกรณีที่เป็น “ภัยต่อความมั่นคง” ซึ่งเป็นข้ออ้างครอบจักรวาลประจำของเผด็จการ และมาตรา 44 จำกัดสิทธิในการชุมนุมในกรณีที่เป็น “ภัยต่อความมั่นคง” เช่นกัน ในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ จะจำกัดสิทธิในการชุมนุมในกรณีสงครามหรือภาวะฉุกเฉินเท่านั้น นอกจากนี้ร่างขยะใหม่นี้ลดความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะรัฐธรรมนูญปี ๔๐ เปิดช่องให้พลเมืองทวงสิทธิ ความเป็นธรรม และการบริการให้กับตนเอง เช่นในกรณีคนพิการ คนชรา หรือกรณีการบริการสาธารณสุขและการศึกษา แต่ในร่าง “มีชัย” มีการใช้ถ้อยคำที่ชวนให้มองว่าเป็นเรื่องที่รัฐต้อง “อุปถัมภ์” ให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง นอกจากนี้มีการลดความสำคัญของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐

ถ้าเรารักประชาธิปไตย ท่าทีของเราต่อร่างรัฐธรรมนูญนี้มีท่าทีเดียวคือ “ไม่รับ”

การปฏิรูปที่แท้จริงจะมาจากไหน?

ใจ อึ๊งภากรณ์

หลังจากที่มีการฉีกทิ้งกระดาษเช็ดก้นราคาแพงที่เรียกว่า “ร่างรัฐธรรมนูญ” และหลังจากที่ “สภาปฏิกูลแห่งชาติ” (สปช.) หรือ “คณะเลี้ยงเหลือบไรปัญญาอ่อนเพื่อนฝูงเผด็จการ” จบวาระการทำงานลงไปพร้อมกับล่องเรือเจ้าพระยาเพื่อฉลองเงินเดือนที่โกงมาจากประชาชน พวกเผด็จการก็ “เช็คบิล” เรากว่า 785 ล้านบาท นี่คือผลงานในรูปธรรมของพวก “คนดี”

แต่รับรองว่าจะไม่มีศาลเตี้ยจัญไรหรือพวกอ้างต่อต้านการคอร์รับชั่น ออกมาสั่งให้ประยุทธ์ขึ้นศาลติดคุกในฐานะโกงกินและเปลืองงบประมาณรัฐ พูดง่ายๆ ใครถือปืนก็ทำงานชุ่ยๆ ได้ ทำเสร็จก็สาวได้สาวเอาเข้ากระเป๋าตัวเอง

องค์กร “ไอลอร์” (iLaw) เปิดเผยว่า หลักคิด สปช. มีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ผุดข้อเสนอชนิด “ครอบจักรวาล” 505 ข้อ เป็น “เบี้ยหัวแตก” ปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีอะไรใหม่ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน เน้นขยายระบบราชการ เสนอตั้งหน่วยงานใหม่มากกว่า 100 หน่วยงาน และเสนอร่างกฎหมายใหม่นับร้อย จะใช้ระยะเวลายาวนานถึงปี พ.ศ. 2575 นอกจากนี้ สปช. ใช้หลักคิดที่คาดหวังเชื่อมั่นใน “คนดี” ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง

สรุปแล้วการทำงานของ สปช. คล้ายๆ กับเด็กอนุบาลนั่งคุยกันถึงความฝัน แต่แตกต่างกันมหาศาลในเรื่องค่าใช้จ่าย

ท่ามกลางความอื้อฉาวของเผด็จการครั้งนี้ หลายคนพูดว่าถ้าจะมีการปฏิรูปการเมืองหรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ “ประชาชนต้องมีส่วนร่วม” ซึ่งก็จริง แต่ปัญหาคือพวกปฏิกูล และพวกที่นิยมเผด็จการก็พูดแบบนี้เช่นกัน ดังนั้นในรูปธรรมเราต้องนิยาม “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ให้ชัดเจน

เราควรปฏิเสธ “การมีส่วนร่วม” ในนิยามทหารเผด็จการที่ชอบเชิญพวกสายอาชีพต่างๆ เช่นนักวิชาการรับจ้าง ผู้ทรงคุณวุฒิขายตัว นายทุน และเพื่อนทหาร มาตั้งวงเพื่อเลือกผู้แทนกันเอง

เราควรปฏิเสธ “การมีส่วนร่วม” ในนิยามของม็อบสุเทพ ที่เสนอว่าม็อบของมันคือ “มวลมหาประชาชน” หรือมูลหมาประชาชนก็ว่าได้

และเราควรปฏิเสธ “การมีส่วนร่วม” ในนิยามของเอ็นจีโอ เพราะเอ็นจีโอชอบเสนอตัวเองว่าเป็น “ผู้แทนประชาสังคม” ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีใครเลือกมาผ่านกลไกการเลือกตั้ง และอย่าลืมอีกว่าเอ็นจีโอใน สปช. ออกเสียงรับรัฐธรรมนูญโจรด้วย

การมีส่วนร่วมของประชาชนบังคับผ่านการเขียนกติกาไม่ได้ ร่างไว้ในกฏหมายไม่ได้ และไม่เคยงอกมาจากคณะกรรมการใด เพราะการมีส่วนร่วมจริง มาจากการที่พลเมืองจำนวนเป็นล้านๆ สมัครใจที่จะเคลื่อนไหวในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สร้างจาก “รากหญ้า”

ในลักษณะเดียวกัน สิทธิเสรีภาพ และการขยายพื้นที่ประชาธิปไตย ไม่ได้เกิดจากการเขียนรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเขียนกี่ร้อยล้านฉบับ และที่สำคัญคือ ถ้าเรายกอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญให้กับผู้ทรงคุณวุฒิคนที่รับใช้เผด็จการชนชั้นปกครอง และจำกัดบทบาทของพลเมืองไว้แค่ในเรื่องการ “เสนอ” บางสิ่งบางอย่างเท่านั้น รัฐธรรมนูญก็จะเป็นของอำมาตย์เสมอ

สิทธิเสรีภาพ และการขยายพื้นที่ประชาธิปไตย มาจากการต่อสู้โดยมวลชนที่ปะทะกับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง ปะทะไปเพื่อผลักดันให้ฝ่ายตรงข้ามถอย และเมื่อได้ชัยชนะระดับหนึ่งก็อาจสามารถเขียนอะไรไว้เป็น “มาตรฐานเสรภาพ” เหมือนเวลาน้ำทะเลขึ้นสูงและทิ้งหอยหรือเศษไม้ไว้ตรงจุดสูงสุดที่น้ำขึ้น แต่พอเขียนไว้เป็นมาตรฐานดังกล่าว ก็ต้องมีการปกป้องตลอดเวลาผ่านการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่เช่นนั้นมันจะถูกชนชั้นปกครองทำลาย ซึ่งบทเรียนจากทั่วโลกพิสูจน์ว่า สหภาพแรงงาน และองค์กรทางการเมืองของกรรมาชีพและเกษตรกร มีบทบาทสำคัญในการรักษาความเข้มแข็งของขบวนการตรงนี้

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สร้างจากรากหญ้า จะเป็นเวทีแห่งการถกเถียง เพือรับข้อเสนอหลากหลายและแสวงหาแนวทางที่เหมาะที่สุด และถ้าองค์กรทางการเมืองไหนจะมามีบทบาทนำ ก็ต้องสามารถสร้างความชอบธรรม และครองใจคนส่วนใหญ่ในขบวนการ ผ่านกลไกการถกเถียงและการลงคะแนนเสียง ตามกติกาประชาธิปไตย

จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญที่ดีควรเขียนไว้ให้น้อยที่สุด เพราะเสรีภาพมาจากรูปธรรมของการเคลื่อนไหว ควรมีการกระจายอำนาจสู่สภาชุมชนในเรื่องที่เหมาะสม ไม่ใช่สั่งการทุกอย่างมาจากส่วนกลาง ซึ่งแปลว่าควรเปิดโอกาสให้ประชาชนในภาคต่างๆ รวมถึงปาตานี สามารถปกครองตนเอง

ในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระดับชาติ การสร้างรัฐสวัสดิการในรูปธรรม ที่มีลักษณะ “ถ้วนหน้า ครบวงจร พร้อมเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย” จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สรุปแล้วถ้าเราจะมีการปฏิรูประบบการเมือง เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยและเพิ่มสิทธิเสรีภาพ เราจะต้องเน้นการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชน และหันหลังให้กับการหา “ผู้ทรงคุณวุฒิ” มาร่างกระดาษเช็ดก้นราคาแพงอีกฉบับ

ร่างรัฐธรรมนูญโจร ล้าหลัง ดูถูกประชาชน และสืบทอดอำนาจเผด็จการ

ใจ อึ๊งภากรณ์

มันเป็นเรื่องน่าเบื่ออย่างยิ่งที่หลายคน รวมถึงผมเอง ต้องเสียเวลาอ่านเศษขยะที่นักวิชาการรับจ้างเช่นบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และเห็บไรสมุนเผด็จการคนอื่น เขียนออกมาแล้วอ้างว่าเป็น “ร่างรัฐธรรมนูญ” เพราะพวกเรานักประชาธิปไตยทุกคนก็รู้อยู่ในใจแล้วว่าคงไม่มีอะไรดีออกมาจากกระบวนการปฏิกูลการเมืองหลังรัฐประหาร อย่างไรก็ตามเราต้องทนอ่านเพื่อวิจารณ์รายละเอียดของมัน

ในภาพกว้างร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ต่างจากร่างแรกที่พวกนี้คายออกมาหลายเดือนก่อน เพราะมันเต็มไปด้วยเนื้อหาวิชา “หน้าที่พลเมือง” ระดับอนุบาลแบบไทยๆ ที่มองว่าประชาชนเป็นเด็กที่ต้องถูกสั่งสอนให้เชื่อฟังและจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา กษัตริย์ ทุกคนที่เรียนในโรงเรียนไทยอย่างที่ผมเคยเรียนก็คงนึกภาพออกทันที

แทนที่จะเน้นสิทธิเสรีภาพของพลเมือง รัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยและการรักษาระบบชนชั้นแบบที่พลเมืองส่วนใหญ่อยู่ใต้ตีนทหาร กษัตริย์ และอำมาตย์อื่นๆ มันเป็นระบบชนชั้นที่ประยุทธ์มือเปื้อนเลือดโกหกว่า “ไม่มี”

มันมีหมวดชวนให้ขำแบบตลกร้าย ที่พูดถึงคุณสมบัติของผู้นำทางการเมืองที่เป็น “คนดี” อย่าลืมว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้เกิดขึ้นจากการกระทำของโจรฆาตกรที่ปล้นอำนาจจากประชาชน และฆ่า จำคุก และทรมานคนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และพวกนั้นทำสิ่งชั่วๆเหล่านี้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ตนเอง ของแถมในช่วงท้ายๆ คือมาตรา 285 เพื่อฟอกตัวทหารมือเปื้อนเลือด พร้อมกับมีการอิงรัฐธรรมนูญ ฉบับ “ชั่ว”…คราว ที่ทหารเบ่งออกมาหลังรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว

ในทางเศรษฐกิจ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ค่อยต่างจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ในแง่ที่มันเป็นรัฐธรรมนูญที่เชิดชูกลไกตลาดเสรีแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ภายใต้ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรา87) ดังนั้นมันจะกล่าวถึงการใช้กลไกตลาดในระบบสาธารณสุข แทนที่จะใช้ระบบที่ตอบสนองความต้องการของพลเมืองไม่ว่าจะจนหรือรวย มันกล่าวซ้ำๆ เรื่อง “วินัยทางการคลัง” แต่แน่นอนค่าใช้จ่ายมหาศาลทางทหาร หรือสำหรับราชวงศ์ คง “ไม่เป็นภัย” ต่อวินัยทางการคลัง เพราะมันไม่ใช่งบประมาณที่เป็นประโยชน์สำหรับคนจน ดังนั้นมาตรา 189 และส่วนอื่นของรัฐธรรมนูญห้ามสิ่งที่สลิ่มชอบเรียกว่า “นโยบายประชานิยม” เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะที่จะตัดสินใจเองว่าอะไรเป็นประโยชน์กับตนเอง ต้องให้ผู้รู้หรือคนที่มีตำแหน่งสูงตัดสินใจให้ อย่างไรก็ตามประชาชนจะมีโอกาส “เล่น” การมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นผ่าน “สมัชชาพลเมือง” เหมือนของเล่นที่ชื่อว่า “ดูสิตธานี” สมัยรัชกาลที่๖

แน่นอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบเพื่อกีดกันนักการเมืองที่มีชื่อแบบ “ท.ช.” หรือ “ย.ช.” โดยมีมาตรการทางกฏหมายเพื่อให้ความชอบธรรม รูปแบบของการกีดกันนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างนี้ โดยอ้างถึงกฏหมาย มีในสิงคโปร์และพม่า

รัฐสภาจะมี สส.เขต 300 คน และสส.บัญชีรายชื่อระดับชาติอีก 150-170 คน โดยปรับจำนวน สส.บัญชีรายชื่อขึ้นหรือลง เพื่อให้สะท้อนคะแนนเสียงของแต่ละพรรค แต่รัฐสภาจะมีอำนาจจำกัดมาก และนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีการห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งติดต่อกันมากกว่า 8 ปี ซึ่งคงจะลดภาระของทหารในการทำรัฐประหารในอนาคต

อำนาจในการเห็นชอบกับสิ่งที่รัฐสภาหรือรัฐบาลทำจะถูกควบคุมโดยสององค์กรคือ

  1. วุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งตามจังหวัดต่างๆ 77 คน บวกกับสมาชิกลากตั้งโดยอำมาตย์อีก 123 คน และวุฒิสภานี้จะมีอำนาจแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ กกต. และองค์กร “ไม่อิสระ” อื่นๆ ที่เคยใช้อำนาจเหนือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในอดีต ถ้าสส.ในรัฐสภาเห็นชอบกับการแก้รัฐธรรมนูญ จะต้องคลานไปขออนุญาตจากวุฒิสภา และการแก้รัฐธรรมนูญให้ชาวปาตานีปกครองตนเอง หรือให้ไทยเป็นสาธารณรัฐย่อมทำไม่ได้
  2. มาตรา 259 เป็นต้นไป กำหนดให้มี “คณะทหารมหาอำนาจ” ที่เรียกยาวๆ และน่าเบื่อว่า “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิกูลและการบังคับปรองดองแห่งชาติหมา” คณะทหารมหาอำนาจนี้เป็นรัฐบาล “รุ่นพี่” ที่จะคอยควบคุมทุกอย่างที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกระทำ และถ้านึกไม่พอใจอะไรก็สามารถก่อ “รัฐประหารตามรัฐธรรมนูญ” ได้เสมอ ถึงแม้ว่า “คณะทหารมหาอำนาจ” จะอยู่ได้แค่ 5 ปีในช่วงแรก แต่ก็ต่ออายุได้อีกด้วย

แค่การตั้ง “คณะทหารมหาอำนาจ” นี้ก็พอที่จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญโจรฉบับนี้สวนทางโดยสิ้นเชิงกับประชาธิปไตย และเป็นเรื่องดีที่หลายคนออกมาวิจารณ์แล้ว

แต่พวกปฏิกูล เช่นวิษณุ เครืองาม ยังหน้าด้านเสนออีกว่าพลเมืองไทย “ไม่มีสิทธิ์” ในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญนี้ ในขณะเดียวกัน วิษณุไม่ละอายที่จะชมรัฐธรรมนูญนี้ผ่านสื่อมวลชน… คงเป็นเพราะเราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ แต่บางคนมีสิทธิเสรีภาพมากกว่าคนอื่น!!

ทำไมเราต้องคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญทหารปี58 “งาช้างไม่เคยงอกออกจากปากหมา”

ใจ อึ๊งภากรณ์

โดยรวมแล้วร่างรัฐธรรมนูญ “ฉบับโจรผู้ก่อรัฐประหาร” ฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญล้าหลังที่คลั่งจารีตนิยม คลั่งเจ้า และลดความสำคัญของสิทธิเสรีภาพประชาชน มีการเน้นการปลูกฝังให้พลเมืองยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยแบบ “ไทยๆ” อันมีกษัตริย์เป็นประมุข คือเน้นการล้างสมองกดดันให้พลเมืองคลานต่ออำมาตย์ ในขณะเดียวกัน การพูดว่าต้องปลูกฝังค่านิยมประชาธิปไตย โดยคนที่ทำลายประชาธิปไตยมาซ้ำแล้วซ้ำอีกก็เป็นความหน้าด้านที่เหลือเชื่อ และแน่นอนรัฐธรรมนูญฉบับโจรอันนี้ก็จบลงด้วยมาตราที่มีวัตถุประสงค์ที่จะฟอกตัวทหารเผด็จการที่เคยล้มล้างประชาธิปไตยตามเคย

ความตอแหลหน้าด้านของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับโจรอันนี้ เห็นได้ชัดอีกในการพูดถึง “ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี” ในภาค2 และแน่นอน “คนดี” ย่อมเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” ตามลัทธิฝ่ายขวาจากยุคสงครามเย็น แต่ที่สำคัญคือ “คนดี” ในนิยามของรัฐธรรมนูญโจรฉบับนี้ ย่อมรวมถึงคนที่ฆ่าและสั่งฆ่าประชาชนบริสุทธิ์ที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ เพราะการฆ่าประชาชนไม่ถือว่าเป็นความชั่วแต่อย่างใด

ในการบังคับ “ความดี” ตามนิยามโจรเผด็จการมือเปื้อนเลือดชุดนี้ จะทำโดยสร้างสิ่งที่เขาเรียกว่า “สมมัชาคุณธรรมแห่งชาติ” ขึ้นมาเพื่อควบคุม คัดออก และลงโทษ นักการเมืองที่มองต่างมุมกับทหารและชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยม องค์กรนี้ ซึ่งไม่มีที่มาจากประชาธิปไตยเลย จะมีอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของพลเมืองไทย มันจะเป็นแหล่งซ่องสุมของพวกโสโครกทางการเมืองที่จะชี้ถูกชี้ผิดด้วยอำนาจเถื่อน

ในรายละเอียดรัฐธรรมนูญฉบับโจรมีหลายมาตราที่เลวร้ายและขัดต่อประชาธิปไตย

มาตรา 172 ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก สส. คือเป็น “คนนอก” ได้ เรื่องนี้เป็นการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนที่ประชาชนต้องลุกฮือเสียเลือดเนื้อเพื่อล้มเผด็จการในช่วงพฤษภาคม ๒๕๓๕

หมวดที่เกี่ยวกับการเลือก สส. เข้ารัฐสภา มีความสลับซับซ้อนผิดปกติ ทั้งนี้เพื่อออกแบบระบบเลือกตั้งที่เพิ่มจำนวน สส. บัญชีรายชื่อให้กับพรรคการเมืองเล็กที่มีเสียงข้างน้อยและชนะเขตเลือกตั้งน้อย พร้อมกันนั้นก็จงใจลดจำนวน สส. บัญชีรายชื่อของพรรคที่ชนะในเขตต่างๆ ทั่วประเทศมากที่สุด มันเป็นความพยายามที่จะลดอิทธิพลของพรรคการเมืองอย่างไทยรักไทยหรือเพื่อไทย และทำให้พรรคที่ประชาชนนิยมน้อย มีอิทธิพลมากขึ้นในรัฐสภา มันไม่ใช่ระบบที่จะทำให้รัฐสภาสะท้อนความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองแต่ละพรรคแต่อย่างใด และมันไม่ใช่ “ระบบเยอรมัน” ตามที่มีการแอบอ้างด้วย

มาตรา 111 ข้อ 15 ระบุว่าผู้ที่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง มันชัดเจนว่าข้อนี้มีไว้กีดกันนักการเมืองฝ่ายไทยรักไทยหรือเพื่อไทย โดยไม่แตะนักการเมืองมือเปื้อนเลือด หรือนักการเมืองที่ทำลายการเลือกตั้งและโบกมือให้ทหารทำรัฐประหาร ซึ่งล้วนแต่มาจากพรรคประชาธิปัตย์

ในหมวดเกี่ยวกับวุฒิสภา จะไม่มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกตามระบบประชาธิปไตยเลย คือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ฝ่ายอำมาตย์คัดเลือกมาจังหวัดละ 10 คน เพื่อให้ “ไพร่” มาลงคะแนนเสียงให้ และที่เหลือก็ลากตั้งโดยตรง

มาตรา 30 ระบุว่าสิทธิที่พลเมืองพึงได้รับผ่านการบริการโดยรัฐ เช่นการศึกษา สวัสดิการ ระบบสาธารณะสุข ฯลฯ ซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ รัฐสามารถใช้ข้ออ้างว่า “ไม่มีเงินพอ” เพื่อปฏิเสธได้ตามใจชอบ

มาตรา 205 เปิดโอกาสให้พวกศาลเตี้ยและสมุนเผด็จการ เอาผิดกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ใช้นโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนได้ เช่นการเอาผิดยิ่งลักษณ์เรื่องโครงการจำนำข้าว

ตอนที่ 4 มีการรวมผู้ตรวจการแผ่นดินและองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนเป็นองค์กรเดียวกัน

มีบางคนเข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญนี้เปิดโอกาสให้พิจารณาลูกสาวกษัตริย์ให้ขึ้นครองได้เป็นครั้งแรก แต่นั้นไม่ใช่ความจริง เพราะรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็ระบุไว้เช่นกัน และมันเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งรัชทายาทไว้ล่วงหน้า

แน่นอนเราคงไม่แปลกใจที่รัฐธรรมนูญโจรฉบับนี้พูดเกี่ยวกับกษัตริย์จนน่ารำคาญชวนให้หลับ และแน่นอนมีการ “ห้าม” ไม่ให้ใครแก้รัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกกษัตริย์และก่อตั้งระบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดของฝ่ายรักประชาธิปไตยคือ ในอนาคตเมื่อถึงโอกาสเหมาะ เราต้องลุกฮือล้มเผด็จการทหารและลูกหลานของเผด็จการ พร้อมกับการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญโจรฉบับนี้

เราลบผลพวงรัฐประหารด้วยการนำรัฐธรรมนูญปี๔๐กลับมาใช้ไม่ได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

การทำรัฐประหารรอบสองโดยประยุทธ์มือเปื้อนเลือด และการ “ปฏิกูล” การเมืองโดยศัตรูของประชาธิปไตยที่คลานเข้าไปรับใช้เผด็จการ เป็นการทำลายประชาธิปไตยไทยครั้งยิ่งใหญ่ มันแก้ไขไม่ได้โดยการ “รอโอกาสในอนาคตให้ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม” อย่างที่เสื้อแดงหลายคนและ “เสรีไทย” เสนอ

แนวร่วมระหว่าง ทหารเผด็จการ องค์มนตรี ข้าราชการชั้นสูง และนายทุนใหญ่บางส่วน ที่เกาะอาศัยสถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือ ถือว่าเป็น “แนวร่วมนรก” ที่กำลังวางแผนจะคุมระบบการเมืองไทยไปอีกนานภายใต้ระบบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ ถ้าเราจะมีเสรีภาพเราต้องโค่นแนวร่วมเผด็จการนี้แบบถอนรากถอนโคน ซึ่งแปลว่าต้องกำจัดอำนาจทหารและยกเลิกสถาบันกษัตริย์ที่พร้อมจะถูกใช้เพื่อประโยชน์เผด็จการมาตลอด

ถ้าเราไม่โค่นแนวร่วมนรก ที่ทำลายประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของพลเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่แก้ปัญหา และที่สำคัญคือการแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ มันอยู่ที่พลังมวลชน

วิกฤตการเมืองประชาธิปไตยครั้งนี้ เป็นการทดสอบนักการเมืองฝ่าย “ทักษิณ-เพื่อไทย” ครั้งยิ่งใหญ่อีกด้วย ทดสอบแล้วก็สอบตก เพราะไม่ยอมนำการต่อสู้ คอยแต่จะประนีประนอมกับทหารภายใต้ข้ออ้างต่างๆ นาๆ แต่สาเหตุจริงที่พวกทักษิณและนปช.ไม่ยอมต่อสู้ ไม่ใช่เพราะกลัวสงครามกลางเมืองและการนองเลือด หรือเพราะ “สู้ไม่ได้” แต่เป็นเพราะเขาไม่ต้องการล้มอำมาตย์แบบถอนรากถอนโคนต่างหาก มันอธิบายได้ง่ายเพราะทักษิณและพรรคพวกก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำมาตย์ด้วย เพียงแต่ว่าเขาทะเลาะกัน เสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยและอยากมีศักดิ์ศรีและเสรีภาพควรเข้าใจตรงนี้

พวกเราชาว “สังคมนิยมปฏิวัติ” ไม่ต้องการสงครามนองเลือดหรอก เราไม่เห็นด้วยกับคนที่พูดด้วยความง่ายดายว่าควร “จับอาวุธสู้” เพราะการต่อสู้แบบนั้นมันไม่มีวันชนะ สงครามกลางเมืองอันโหดร้ายในซิเรียเป็นคำเตือนที่ดี เราส่งเสริมการเคลื่อนไหวของมวลชนแทน แต่ต้องฉลาดในการเคลื่อนไหว ต้องรู้ว่าพลังของคนชั้นล่างอยู่ที่ไหน ไม่ใช่ไปนั่งแช่กลางถนนจนฝ่ายตรงข้ามปราบปราม บทเรียนจากทั่วโลกในยุคต่างๆ สอนให้เรารู้ว่า “คนทำงาน” มีพลังอันยิ่งใหญ่ถ้ารวมตัวกันได้ การนัดหยุดงานเป็นอาวุธสำคัญของมวลชน แต่ก่อนที่เราจะใช้ได้ต้องมีการจัดตั้งทางการเมือง ซึ่งใช้เวลา

คนจำนวนมากในยุคนี้กำลังมองขึ้นข้างบน มองหาฟ้า เพื่อหา “ผู้ใหญ่” ที่จะมาปลดแอกเรา ไม่ว่าจะเป็น ทักษิณ เพื่อไทย เจ้าฟ้าชาย สหประชาชาติ หรือแม้แต่การตายของนายภูมิพล แต่คนที่มองขึ้นฟ้าตลอด จะมองไม่เห็นทาง และจะเหยียบขี้บนทางเดินเท้าท่ามกลางการฝันถึงอัศวินม้าขาว

“เลี้ยวซ้ายปฏิวัติ” จะไม่เสนอตัวเป็น “อัศวินม้าขาว” ตัวใหม่เด็ดขาด เราจะไม่โกหกปกปิดถึงความยากลำบากในการต่อสู้ แต่เราจะพยายามเสนอแนวทางการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะต้องอาศัยความกระตือรือร้น การจัดตั้งทางการเมือง การศึกษาการเมือง และการทำงานลับใต้ดิน เราเป็นเพียงโคมไฟเล็กๆ ที่จุดประกาย มันจะกลายเป็นกองไฟใหญ่ที่ลุกฮือทั่วประเทศได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองจำนวนมากค่อยๆ นำไปปฏิบัติ นำไปถกเถียง และนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทางลัดสู่เสรีภาพไม่เคยมี

อย่าโกหกตนเองอีกต่อไปเลย เสรีภาพของเราจะไม่มาจากการกระทำจากข้างบน มันจะไม่มาโดยอัตโนมัติถ้าเราแค่ใจเย็นรอ มันต้องมาจากการขยันทำงานทางการเมือง และการจัดตั้งของเราเองในชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย

“การปฏิวัติ” เป็นกระบวนการ สังคมที่เท่าเทียมหรือ “สังคมนิยม” ที่เต็มไปด้วยประชาธิปไตย เป็นเป้าหมาย และเราต้องพร้อมจะจับมือและร่วมมือกับคนที่อยากได้ประชาธิปไตยทุกคน ไม่ว่าเขาจะมีมุมมองทางการเมืองอย่างไร แต่เราไม่จำเป็นต้องลดหรือ “เบาลง” แนวการเมืองของเราเพื่อความสามัคคีจอมปลอม

ในเดือนต่อๆ ไป จะมีการพยายามเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อให้เพื่อนมิตรสหายนำไปคิด ภายใต้ความหวังว่าวันหนึ่งเราจะปฏิวัติสังคมได้ นี่คือสิ่งที่นักต่อสู้ในต่างประเทศขอมอบให้ท่านในปีใหม่นี้ เราทำแทนท่านไม่ได้ เราต้องสู้ร่วมกัน

ข้อดีของระบบการเมืองแบบเยอรมัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในช่วงนี้มีการพูดถึงระบบการเมืองแบบเยอรมัน ว่ามีข้อดีหลายประการซึ่งควรนำมาใช้ในไทย

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หนึ่งในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เสนอ “โมเดลการเลือกตั้งแบบเยอรมัน” โดยระบุว่าวิธีการเลือกตั้งแบบเยอรมัน จะทำให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนมีค่า เพราะจำนวนผู้แทนของแต่ละพรรคการเมืองจะสอดคล้องกับเสียงประชาชน และในเวลาเดียวกัน สุจิต บุญบงการ ก็ออกมายืนยันข้อดีของรูปแบบการเลือกตั้งแบบเยอรมัน ในการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ผมไม่เคยสนับสนุนจุดยืนเลียทหารของสองนักวิชาการเหล่านี้ แต่ในเรื่องข้อดีของระบบการเมืองเยอรมัน ผมเห็นด้วยทั้งๆ ที่ นครินทร์ และ สุจิต คงจะชมไม่เต็มปากอย่างแน่นอน

ในประการแรก เยอรมันเป็นสาธารณรัฐ แบบ “สหรัฐ” คือรัฐต่างๆ ของเยอรมันมีสภาของตนเองที่มาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจของตนเอง พร้อมๆ กับการมีรัฐบาลและรัฐสภาส่วนกลางด้วย ตอนนี้ไทยเป็นรัฐรวมศูนย์ที่ฝ่ายเผด็จการยืนยันว่า “แบ่งแยกไม่ได้”

การแบ่งไทยหรือสยามออกเป็นหลายรัฐจะเพิ่มอำนาจการกำหนดอนาคตตนเองของประชาชน เช่นใน ปาตานี ลานนา หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในการเลือกตั้งเยอรมันมีบัตรลงคะแนนสองบัตรคือ บัตรเลือก สส. เขต และอีกบัตรเพื่อเลือกนักการเมืองจากรายชื่อของแต่ละพรรคหรือ “พาร์ตีลิสต์” ดังนั้นจำนวน สส. ในสภาจะสอดคล้องกับการนิยมของประชาชน นอกจากนี้ในเยอรมันไม่มีการปิดกั้นการตั้งพรรคสังคมนิยมหรือพรรคซ้ายแต่อย่างใด

เยอรมันมีระบบประธานาธิบดีที่เป็นประมุขแต่ไม่ค่อยมีอำนาจ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยสภาส่วนกลางและสภารัฐท้องถิ่น ส่วนผู้นำประเทศที่แท้จริงคือนายกรัฐมนตรี หรือ “ชานเซเลอร์”

ในเยอรมันไม่มีองค์กรอิสระที่จะมาลดเสียงประชาชน ไม่มีกรรมการที่ถูกแต่งตั้ง ที่จะมากำหนดว่าพรรคการเมืองใช้นโยบายอะไรได้หรือไม่ได้ และไม่มีการระบุว่ารัฐบาลต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบไหน

ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันคือรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือน ขณะนี้เป็นสตรีด้วย ไม่มีใครสนใจชื่อนายพลคนใดเพราะนายพลไม่มีอำนาจ ยิ่งกว่านั้นเวลามีการตั้งกองทัพใหม่ขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังจากที่เผด็จการฮิตเลอร์จบลง มีการกลั่นกรองนายพลที่ยึดแนวประชาธิปไตยเท่านั้น เพื่อดำรงตำแหน่งในกองทัพ เมื่อทหารใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ก็ต้องสาบานว่าจะ “ปกป้องประชาธิปไตยเสรีภาพของประชาชน และรัฐธรรมนูญ” และในยุคนี้มีการยกเลิกการเกณฑ์ทหารพร้อมกับการลดกองกำลังลง ประเทศไทยควรตามอย่างแบบนี้ทุกประการอย่างแคร่งครัด

ในเยอรมันไม่มีกฏหมายที่ปิดปากประชาชน ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ และผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะทุกคนถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ประเทศไทยควรตามอย่างโดยการยกเลิกกฏหมาย 112

ในเยอรมันมีหลายกฏหมายที่พยายามปกป้องเสรีภาพประชาชนจากการสอดแนมของรัฐ

ในเยอรมันมีระบบรัฐสวัสดิการสำหรับประชาชนทุกคน ซึ่งในไทยยังไม่มี

เมื่อเรากลับมาพิจารณาความเห็นของนักวิชาการตอแหลที่ปฏิกูลประเทศให้ทหารเผด็จการ เราจะเห็นว่าคนอย่าง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ สุจิต บุญบงการ กำลังโกหกว่าชื่นชมระบบแบบเยอรมันในขณะที่ต้องการทำลายเสียงประชาชนด้วยการลดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีการพูดถึงส่วนดีๆ อื่นของระบบเยอรมันเลย คือตั้งใจเลือกมาแค่ส่วนเล็กๆ

สุจิต เองมองว่าควรลดอิทธิพลของพรรคการเมือง เพราะจะได้ลดอิทธิพลพรรคที่มีนโยบายดีๆ สำหรับคนจน เขาต้องการกลับไปสู่ระบบ “เลือกคนดี” ซึ่งเป็นเพียงการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ระบบอุปถัมภ์นั้นเอง ในอดีตบทความวิชาการของ สุจิต บุญบงการ เคยวิจารณ์ประชาชนว่าตกอยู่ในระบบอุปถัมภ์และวิจารณ์สถาบันทางการเมือง เช่นพรรคการเมือง ว่าขาดเสถียรภาพ นับว่าเป็นการกลับคำเพื่อให้ความชอบธรรมกับรัฐประหารรอบนี้อย่างหน้าไม่อายเลย

เมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้ออกมาสนับสนุนการห้ามกิจกรรมทางการเมืองเกี่ยวกับ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ที่ธรรมศาสตร์ โดยอ้างว่าในอดีตเป็นเวทีเพื่อสร้างความแตกแยก คือเขามองว่าการคิดเห็นต่างเป็นเรื่องผิด นครินทร์ เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราว่า “องค์พระประมุขของรัฐ คอยเชื่อมต่อไม่ให้การรัฐประหารต่างๆ นั้น ไม่ทำให้บ้านทั้งหลังมันแตกร้าว อย่างน้อยที่สุด ประมุขของรัฐเป็นตัวเชื่อม เป็นสถาบันที่ทำให้เราเห็นความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยของไทย” นอกจากนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เคยวิจารณ์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ว่าบิดเบือนพูดไม่หมด เวลาเขียนถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ในหนังสือ “พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เราโชคดีจังที่มีคนดีแบบนักวิชาการสองคนนี้ ที่มากอบกู้ระบบประชาธิปไตยไทย

เราต้องใช้การเมืองฝ่ายซ้ายเพื่อลบผลพวงของเผด็จการและรัฐประหาร

ใจ อึ๊งภากรณ์

การทำลายประชาธิปไตยในระยะยาวของพวกล้าหลังที่กำลังอ้างว่า “ปฏิรูปการเมือง” ภายใต้อำนาจมืดของเผด็จการทหาร เป็นการรุกสู้สองด้านคือ ด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้การรุกสู้ทำลายประชาธิปไตยและความเท่าเทียมนี้ เริ่มมาตั้งแต่รัฐประหารรอบที่แล้วในปี ๒๕๔๙

ความไม่พอใจของพวกทหารและอภิสิทธิ์ชนอนุรักษ์นิยม มาจากแนวร่วมทางการเมืองที่ทักษิณกับพรรคไทยรักไทยเคยสร้างกับพลเมืองส่วนใหญ่ แนวร่วมนี้สร้างบนพื้นฐานการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมหลายอย่างที่เป็นประโยชน์กับคนระดับล่าง เช่นนโยบายสาธารณะสุขถ้วนหน้า นโยบายสร้างงานในชนบท หรือนโยบายพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวนาด้วยการประกันราคาข้าวเป็นต้น และเมื่อประชาชนเห็นชอบกับนโยบายดังกล่าวก็มีการแห่กันไปเลือกพรรคการเมืองของทักษิณ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ประชาธิปไตยแบบใหม่สำหรับไทย

ฝ่ายอนุรักษ์นิยมในอดีตเคยชินกับระบบประชาธิปไตยรัฐสภาที่มีการเลือกตั้งบนพื้นฐานระบบอุปถัมภ์ โดยไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม และย่อมนำไปสู่รัฐบาลผสมจากหลายพรรคเสมอ การที่มีรัฐบาลผสมจากหลายพรรค ซึ่งบ่อยครั้งขาดเสถียรภาพ เป็นประโยชน์ต่อนักการเมืองระบบอุปถัมภ์ เพราะมันเป็นระบบที่ “ผลัดกันเป็นรัฐมนตรีและแบ่งกันกิน” ไม่มีนักการเมืองคนใดที่มีอำนาจเหนือกลุ่มการเมืองอื่น และที่สำคัญคือมีช่องว่างที่เอื้อกับการใช้อำนาจและอิทธิพลนอกระบบของทหารและข้าราชการชั้นสูงที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกด้วย แต่เมื่อมีนักการเมืองคนไหนดูท่าทางจะใหญ่เกินไป ก็มีการโค่นล้มด้วยวิธีการต่างๆ เช่นในกรณี ชาติชาย ชุณหะวัณ

หลังจากชัยชนะของทักษิณและพรรคไทยรักไทย อภิสิทธิ์ชนอนุรักษ์นิยมเริ่มค่อยๆ กังวลและไม่พอใจที่พรรคของทักษิณผูกขาดอำนาจทางการเมืองประชาธิปไตย โดยครองใจประชาชนที่เลือกพรรคไทยรักไทยอย่างเสรีและด้วยจิตสำนึก พวกนายพลและข้าราชการชั้นสูงที่เคยชินกับอำนาจนอกระบบ เริ่มพบว่าอำนาจของตนเองลดลง นักการเมืองแบบเก่า เช่นในพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่สามารถแข่งแนวกับพรรคของทักษิณได้ เพราะยึดติดกับการต่อต้านนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนจน ซึ่งเห็นชัดหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง นอกจากนี้ชนชั้นกลางที่เคยเสพสุขในสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ก็เริ่มไม่พอใจมากขึ้นที่รัฐบาลทักษิณเน้นการใช้งบประมาณรัฐในการพัฒนาชีวิตของคนธรรมดา เพื่อดึงคนส่วนใหญ่เข้ามา “ร่วมพัฒนาประเทศ” และทำให้สังคมมีความทันสมัย

ท้ายสุดพวกนักวิชาการฝ่ายขวาที่คลั่งกลไกตลาดเสรีแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” โกรธแค้นกับการที่รัฐบาลทักษิณใช้นโยบายเศรษฐกิจผสมระหว่างตลาดเสรีกับการใช้งบประมาณรัฐในการสร้างงานและพัฒนาประเทศ พวกนี้ชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจแบบ “ปล่อยวาง” คือปล่อยให้กลุ่มทุนและคนรวยกอบโกย และปล่อยให่คนจนอดอยาก

แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าทักษิณและไทยรักไทยมีวาระและผลประโยชน์ของตนเอง เขาไม่ใช่พวกสังคมนิยมที่ยึดผลประโยชน์คนทำงานเป็นหลัก ดังนั้นเขาให้ความสำคัญกับเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและกำไรให้กลุ่มทุนใหญ่ ปฏิเสธการสร้างรัฐสวัสดิการแบบครบวงจรบนพื้นฐานการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวยและบริษัทใหญ่ และพร้อมจะใช้ความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษชนของประชาชนอีกด้วย กรณีปาตานีหรือสงครามยาเสพติดเป็นตัวอย่างที่ดี

ถ้าเราเข้าใจต้นเหตุความไม่พอใจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เราจะเข้าใจว่าตอนนี้พวกสัตว์เลื้อยคลานที่เข้าไปในสภาปฏิกูลกำลังทำอะไรกันอยู่ภายใต้คำโกหกว่าจะ “ปฏิรูป”

ในด้านการเมืองพวกล้าหลังเหล่านี้วางแผนจะลดอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และอำนาจของประชาชนที่จะเลือกแนวทางสำหรับตนเอง เขาเริ่มทำตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญเผด็จการปี ๒๕๕๐ แต่กำลังเร่งเครื่องทำให้เข้มข้นมากขึ้น วิธีการที่ใช้ในการหมุนนาฬิกากลับของพวกนี้ คือการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่กีดกันไม่ให้พรรคการเมืองไหนมีเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาภายใต้คำโกหกเรื่อง “เผด็จการรัฐสภา” ความหวังคือการกลับสู่ระบบ “ผลัดกันเป็นรัฐมนตรีและแบ่งกันกิน” ที่มาจากการเมืองอุปถัมภ์  นอกจากนี้จะมีการเพิ่มอำนาจองค์กร “ไม่เคยอิสระ” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อกดทับเสียงประชาชนและนโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา พูดง่ายๆ พวกอภิสิทธ์ชนและทหารต้องการมีอำนาจนอกระบบเหนือกลไกประชาธิปไตย เพราะเขามองว่าพลเมืองส่วนใหญ่ไม่ควรมีอำนาจอธิปไตย

ในด้านเศรษฐกิจ พวกคลั่งกลไกตลาดเสรีต้องการทำลายระบบสาธารณะสุขถ้วนหน้าด้วยการบังคบให้ประชาชน “ร่วมจ่าย” จะมีการวางแผนกดค่าแรงและหาทางทำลายมาตรฐานการจ้างงาน จะมีการเสนอให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากคนจนมากขึ้น และจะมีการสร้างภาพว่าปรับระบบภาษีให้มีความเป็นธรรม แต่ในรูปธรรมไม่แตะเศรษฐีใหญ่กับนายทุนเลย นอกจากนี้จะมีการหาทางพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและการคมนาคมในราคาถูก โดยพยายามไม่ใช้งบประมาณรัฐมากเกินไป เพราะงบประมาณรัฐควรแจกให้กองทัพและคนข้างบนแทน ตามความเชื่อของพวกคลั่งกลไกตลาดเหล่านี้ การเน้นภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศจะไม่นำไปสู่การบริการประชาชนที่มีคุณภาพ

จะเห็นว่าในการปลดแอกประเทศไทยจากเผด็จการอภิสิทธ์ชนนี้ เราต้องรณรงค์ทั้งประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจของคนชั้นล่าง ของกรรมาชีพผู้ทำงานและเกษตรกรรายย่อย เราต้องเพิ่มสิทธิทางการเมืองและที่ยืนสำหรับคนชั้นล่างหรือคนธรรมดา และเราต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจด้วยการดึงเศรษฐีและนายทุนลงมา ไม่ใช่แค่เรียกร้องประชาธิปไตยแบบลอยๆ หรือหวังกลับไปสู่ยุคทักษิณ นี่คือความสำคัญของการเมือง “ฝ่ายซ้าย” หรือการเมือง “สังคมนิยม” นั้นเอง

ประยุทธ์ไปเยี่ยมเพื่อนแท้ที่พม่าเพราะที่อื่นต่างรังเกียจ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่เป็นประชาธิปไตย รังเกียจและไม่อยากคบหัวหน้าเผด็จการไทย ประยุทธ์จึงจำเป็นต้องไปสร้างภาพน่าสมเพชว่าเป็น “รัฐบุรุษสากล” โดยการไปเยือนต่างประเทศได้ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลเพื่อนแท้ของเผด็จการมือเปื้อนเลือดประยุทธ์มีน้อยเหลือเกิน อันดับหนึ่งคือพม่า

การที่ผู้นำไปเยือนประเทศอื่น ส่วนใหญ่เป็นการสร้างภาพที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ดีเท่านั้น บางครั้งผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งอาจพาทีมผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนไปด้วย แต่เผด็จการไทยตอนนี้ทั้งขาดความชอบธรรมและขาดความสามารถ

Members-of-Burmas-militar-006

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความใกล้ชิดระหว่างประยุทธ์กับเผด็จการทหารพม่า มาจากการที่ทั้งสองฝ่ายอยากออกแบบระบบ “ประชาธิปไตยจอมปลอม” ที่มีการเลือกตั้งแต่ไม่มีสิทธิเสรีภาพจริง คือไม่ว่าพรรคไหนจะชนะการเลือกตั้ง อำนาจแท้ยังอยู่ในมือทหาร แถมอาจมีการกีดกันไม่ให้นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชมสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ศาสตร์มารนี้ทหารพม่าชำนาญมาก ประยุทธ์ก็คงอยากไปแลกเปลี่ยนหาความรู้

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่ความเห็นส่วนตัวผม แต่เป็นความเห็นของสื่อต่างประเทศมากมาย รวมถึงหนังสือพิมพ์ชั้นนำ “ไฟแนนเชียลไทมส์” ของนักลงทุนอังกฤษด้วย และเป็นความเห็นของสำนักข่าวรอยเตอร์อีกด้วย

สื่อต่างประเทศมองว่า ไม่ว่าประยุทธ์จะเซ็นข้อตกลงอะไรกับเผด็จการพม่า มันก็เป็นแค่นามธรรมที่ขาดรายละเอียด เพราะการสร้างภาพเป็นเรื่องหลัก

อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นจุดร่วมของเผด็จการทหารไทย กับเผด็จการทหารพม่า คือเขาไม่แคร์เหี้ยอะไรกับพลเมืองของตนเอง ทหารพม่าอาจตั้งคำถามกับการที่ตำรวจไทยทำให้แรงงานพม่าเป็นแพะรับบาปในกรณีอาชญากรรมที่เกาะเต่า แต่มันเป็นแค่คำถามตามพิธีกรรมเท่านั้น เผด็จการทหารพม่าไม่สนใจปัญหาพลเมืองพม่าพอที่จะกระจายรายได้และสร้างงานให้เขา เพื่อนบ้านพม่าจึงต้องข้ามมาฝั่งไทยเพื่อหางานเลี้ยงครอบครัว ในขณะเดียวกันพวกนายพลพม่าก็เสพสุขใช้จ่ายตามวิถีชีวิตเศรษฐี

ส่วนรัฐบาลประยุทธ์ก็พ้อมจะทำให้คนงานพม่าเป็นแพะรับบาป ขับไล้คนงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านออกไป และปล้นสิทธิเสรีภาพจากพลเมืองไทย พร้อมกับทำลายระบบสาธารณะสุขและรายได้ของแรงงานไทย

มิตรภาพระหว่างคนไทยกับคนพม่า หรือกับพลเมืองประเทศเพื่อนบ้านย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่น่ายกย่อง แต่มิตรภาพระหว่างทรราชไทยกับพม่าเป็นอุปสรรค์ต่อการสร้างสิทธืเสรีภาพประชาธิปไตยในไทยและในพม่า

ประเด็นสำคัญคือ พลเมืองไทยที่รักประชาธิปไตยจำนวนมากคงเข้าใจสิ่งที่ผมเขียนอยู่แล้ว แต่จะมีสื่อหรือองค์กรทางการเมืองไทยสักกี่แห่งที่กล้าพูดความจริงง่ายๆ แบบนี้