Tag Archives: รัฐประหารเพื่อคนรวย

12 ปีรัฐประหาร ๑๙ กันยา

ใจ อึ๊งภากรณ์

แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ประกอบไปด้วย ทหาร ข้าราชการชั้นสูง องค์มนตรี นักการเมืองฝ่ายค้าน (เช่นจากพรรคประชาธิปัตย์) พวกเจ้าพ่อทางการเมือง และพวกนายทุนใหญ่อย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล และนายธนาคารต่างๆ นอกจากนี้การทำรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการประทับตราเห็นชอบจากกษัตริย์ภูมิพล โดยที่นายภูมิพลไม่ใช่ผู้บงการ [ดู https://bit.ly/2MLmrFm ]

 

สิ่งที่แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยมนี้ไม่พอใจคือ การขึ้นมาเป็นรัฐบาลของไทยรักไทย ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมือง โดยที่ไทยรักไทยทำสัญญาทางสังคมกับประชาชนว่าจะมีนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นรูปธรรม เช่นนโยบาย “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” นโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” และนโยบายที่พักหนี้เกษตรกร ซึ่งรัฐบาลไทยรักไทยนำมาทำจริงๆ หลังจากที่ชนะการเลือกตั้ง เป้าหมายของไทยรักไทยคือการพัฒนาเศรษฐกิจกับสังคมไทย เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่มองว่าคนจนควรจะเป็น “ผู้ร่วมพัฒนา” โดยไม่มองว่าคนจนเป็น “ภาระ” หรือเป็น “คนโง่” สรุปแล้ว ไทยรักไทย สามารถทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับประชาชนส่วนใหญ่ และครองใจประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจน ผ่านนโยบายที่จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม พรรคไทยรักไทย ไม่ใช่พรรคสังคมนิยม เพราะเป็นพรรคของนายทุนใหญ่ และเป็นพรรคที่มองว่าทุนนิยมไทยจะได้ประโยชน์จากการดึงประชาชนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นทางเศรษฐกิจ

 

นโยบายเศรษฐกิจของ ไทยรักไทย คือนโยบาย “คู่ขนาน” (Dual Track) ที่ใช้เศรษฐศาสตร์แนวเคนส์ (Keynesianism) ในระดับรากหญ้า คือใช้งบประมาณของรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานในระดับหมู่บ้านหรือชุมชน และใช้นโยบายตลาดเสรี (Neo-liberalism) ในระดับชาติ เช่นการเซ็นสัญญาค้าเสรีและการพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ถึงแม้ว่าแนวเศรษฐกิจแบบนี้เคยมีการใช้ในประเทศอื่นในยุคต่างๆ และไม่ใช่อะไรที่ประดิษฐ์ใหม่ และเป็นนโยบายที่พยายามแก้ปัญหาจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวและธนาคารต่างๆ ไม่ยอมปล่อยกู้ นักวิชาการอนุรักษ์นิยมของไทยจำนวนมากไม่เข้าใจหรือจงใจไม่เข้าใจ และประกาศว่ารัฐบาลใช้แนวเศรษฐกิจ “ระบอบทักษิณ” (Taksinomics) เหมือนกับว่านายกทักษิณเป็นคนบ้าที่เสนอนโยบายเพ้อฝันแบบแปลกๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน

 

แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยม เคยชินมานานกับการมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผ่านเครือข่าย “ผู้มีอิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญ” เช่นทหาร องค์มนตรี เจ้าพ่อ และนายทุนใหญ่ หรือผ่านระบบการเลือกตั้งที่ใช้เงินซื้อเสียงอย่างเดียว โดยไม่มีการเสนอนโยบายอะไรเป็นรูปธรรม และไม่มีการให้ความสนใจกับคนจนแต่อย่างใด เช่นกรณีนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคชาติไทย เป็นต้น พวกนี้ไม่พอใจที่ทักษิณและไทยรักไทยมีอำนาจทางการเมืองผ่านสัญญาทางสังคมกับประชาชนส่วนใหญ่ เขาไม่พอใจที่รัฐบาลมีการนำกิจการใต้ดินหลายอย่างมาทำให้ถูกกฎหมาย เขาไม่พอใจที่มีการใช้งบประมาณรัฐเพื่อประโยชน์ประชาชน แทนที่จะทุ่มเทงบประมาณเพื่อทหาร พระราชวัง และคนชั้นสูงอย่างเดียว ดังนั้นเขาและนักวิชาการอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนเขา มักจะวิจารณ์นโยบายรัฐบาลว่า “ขาดวินัยทางการคลัง” ตามนิยามของพวกกลไกตลาดเสรีที่เกลียดชังสวัสดิการรัฐ แต่ในขณะเดียวกันเวลาพวกนี้มีอำนาจก่อนและหลังรัฐบาลทักษิณ เขาไม่เคยมองว่าการขึ้นงบประมาณทหาร “ขาดวินัยทางการคลัง” แต่อย่างใด

 

วัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชั้นปกครองไทย คือ “วัฒนธรรมคอกหมู” ที่มีการร่วมกันหรือพลัดกันกินผลประโยชน์ที่มาจากการขยันทำงานของประชาชนชั้นล่างล้านๆ คน พวกอำมาตย์อนุรักษ์นิยมเคยชินกับระบบนี้ เขาเคยชินกับรัฐบาลพรรคผสมที่อ่อนแอและมีการพลัดเปลี่ยนรัฐมนตรีเพื่อพลัดกันกิน พวกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เคยชินกับการใช้อิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญในการร่วมกินด้วย เพราะรัฐบาลอ่อนแอ เขาจึงไม่พอใจและเกรงกลัวเวลานายทุนใหญ่ที่เป็นนักการเมืองอย่าง ทักษิณ ชินวัตร สามารถครองใจประชาชนและเริ่มมีอำนาจสูงกว่าอภิสิทธิ์ชนคนอื่นๆ โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่า เวลาอำมาตย์ คนชั้นกลาง หรือพันธมิตรฯ พูดถึง “การคอร์รับชั่น”  “การผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์” “การมีผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “การใช้อำนาจเกินหน้าที่” ของทักษิณ เขาไม่ได้พูดถึงการเอารัดเอาเปรียบประชาชนธรรมดาที่มีมานาน หรือการที่ประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วมเท่าที่ควร หรือการโกงกินของนักการเมืองทุกพรรค หรือของทหารและคนในวัง เขาหมายถึงปัญหาเฉพาะหน้าของพวกอภิสิทธิ์ชนที่เริ่มถูกเขี่ยออกจากผลประโยชน์ในคอกหมูมากกว่า นี่คือสาเหตุที่เขาทำรัฐประหาร แล้วแก้รัฐธรรมนูญจากที่เคยเป็น เพื่อลดอำนาจของรัฐบาลและพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก เขาอยากหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุค “ประชาธิปไตยคอกหมู” ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๓๙ นั้นเอง

 

ความไม่พอใจของแนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยม ที่ก่อตัวขึ้นมาเพื่อทำลายรัฐบาลไทยรักไทย ไม่สามารถนำไปสู่การคัดค้าน ไทยรักไทย ด้วยวิธีประชาธิปไตยได้ เพราะถ้าจะทำอย่างนั้นสำเร็จ พวกนี้จะต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาที่เสนอประโยชน์กับคนจนมากกว่าที่ ไทยรักไทย เคยเสนออีก คือต้องเสนอให้เพิ่มสวัสดิการและเร่งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มงบประมาณรัฐและการเก็บภาษีจากคนรวย นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยม เกลียดชังอย่างถึงที่สุด ดังนั้นเขาจึงหันมาเกลียดชังอำนาจการลงคะแนนเสียงของพลเมืองส่วนใหญ่ และตัดสินใจว่ามีทางเดียวเท่านั้นที่จะจัดการกับรัฐบาล ไทยรักไทย คือต้องทำรัฐประหาร

 

แต่รัฐประหารไม่ใช่สิ่งที่ทหารจะทำได้ง่ายๆ เพราะสังคมไทยพัฒนาไปไกลและมีกลุ่มต่างๆ ที่ตื่นตัวและมีพลังในสังคมมากมาย การทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา จะต้องอาศัยการทำแนวร่วมกับคนชั้นกลาง นักวิชาการ“เสรีนิยมรถถัง” และพวกเอ็นจีโอ ที่อ้างว่าเป็น “ภาคประชาชน” นี่คือสาเหตุสำคัญที่การทำรัฐประหาร ๑๙ กันยาต้องอาศัยการร่วมมือกับขบวนการฝ่ายขวา “ฟาสซิสต์” ที่เรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ซึ่งประกอบไปด้วยนักธุรกิจสื่อคลั่งเจ้า นักเคลื่อนไหวพุทธแบบขวาตกขอบ ผู้นำแรงงาน และนักเอ็นจีโอ คือ สนธิ ลิ้มทองกุล, จำลอง ศรีเมือง, สมศักดิ์ โกศัยสุข, พิภพ ธงไชย และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

 

รัฐบาล ไทยรักไทย และนายกทักษิณไม่ได้เป็นเทวดา รัฐบาลนี้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในสงครามปราบยาเสพติด ที่คาดว่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นศาล ถูกเจ้าหน้าที่รัฐฆ่าตายเกือบสามพันคน  นอกจากนี้การฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ตากใบ และ กรือแซะ ในภาคใต้ เป็นการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนเช่นกัน

 

นอกจากนี้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดของไทยรักไทย เช่นการเซ็นสัญญาค้าเสรีที่เพิ่มราคายาสำหรับประชาชน เป็นการทำลายประโยชน์ของระบบสามสิบบาทรักษาทุกโรค และเพิ่มภาระให้รัฐเพื่อผลประโยชน์บริษัทยาข้ามชาติ และการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน เป็นนโยบายที่ขัดกับประโยชน์คนจน เพราะทำให้ประชาชนตกงาน คุณภาพการทำงานแย่ลง และเปลี่ยนรัฐวิสาหกิจไปเป็นบริษัทเอกชนที่สนใจแต่กำไรแทนการบริการและพัฒนาสังคม

19 กย

     อย่างไรก็ตาม ในระบบประชาธิปไตย ถ้าเรามีรัฐบาลที่เราไม่เห็นด้วย เราจะต้องใช้กระบวนการประชาธิปไตยในการคัดค้าน ผู้เขียนไม่เคยลงคะแนนเสียงให้ ไทยรักไทย (หรือพรรคฝ่ายค้าน) และผู้เขียนเคยประท้วงและคัดค้านรัฐบาลทักษิณในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้กลไกตลาดเสรี แต่การเปลี่ยนรัฐบาลตามกติกาประชาธิปไตยต้องไม่อาศัยรัฐประหารโดยกลุ่มคนที่ไม่เคารพประชาธิปไตย ไม่เคยสนใจสิทธิมนุษยชน และไม่เคยสนใจผลประโยชน์ของคนจน

Ji

 

อ่านเพิ่ม https://bit.ly/24tv63k

BookCover1

การทำรัฐประหารซ้ำๆ ตั้งแต่ 19 กันยา ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่พัฒนา

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยทางด้านเศรษฐกิจของบริษัททุนภัทรได้รายงานว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาทางด้านโครงสร้าง ซึ่งทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในอัตราปัจจุบัน ไม่สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ให้ดีขึ้นได้

ปัจจัยสำคัญที่เป็นปัญหาทางด้านโครงสร้างนี้คือ (1)ความเหยื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวย ซึ่งหมายความว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรจากการขยายเศรษฐกิจในสิบปีที่ผ่านมา (2)การที่นายทุนไทยไม่ลงทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตผ่านการจ้างงานที่มีคุณภาพมากขึ้นและอัตราค่าแรงที่สูงขึ้น และผ่านการลงทุนในเทคโนโลจีสมัยใหม่ เพราะนายทุนไทยอาศัยแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน (3)ภาคเกษตรในส่วนที่มีผู้ผลิตรายย่อย ขาดประสิทธิภาพที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร มีแต่ภาคเกษตรภายใต้ทุนใหญ่เท่านั้นที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง

ใครที่ติดตามปัญหาเศรษฐกิจของไทยก่อนและหลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี๒๕๔๐ คงจะเข้าใจดีว่าสาเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจนี้มาจากปัญหาคล้ายๆ กัน

และใครที่ติดตามนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทย และรัฐบาลเพื่อไทย คงจะจำได้ดีว่ารัฐบาลเหล่านี้พยายามจะแก้ไขปัญหาโครงสร้างดังกล่าว รัฐบาลไทยรักไทยพยายามจะใช้งบประมาณรัฐในการสร้างงานในชนบท และลดความเหลื่อมล้ำ มีกองทุนหมู่บ้าน การพักชำระหนี้ให้เกษตรกร และนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค นอกจากนี้มีการพยายามลงทุนในการพัฒนาฝีมือดิจีตอลสำหรับคนรุ่นใหม่ในโรงเรียน ส่วนรัฐบาลเพื่อไทยก็มีโครงการประกันราคาข้าว มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และมีการพยายามพัฒนาโครงสร้างระบบคมนาคมให้ทันสมัย

นักการเมืองของพรรคไทยรักไทยอธิบายว่านโยบายดังกล่าวเป็นนโยบาย “คู่ขนาน” ที่ผสมแนวเคนส์ในการใช้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และแนวเสรีนิยมกลไกตลาดในระดับที่ไทยต้องแข่งขันในตลาดโลก

แต่พวกหัวอนุรักษ์นิยม ชนชั้นกลาง พรรคประชาธิปัตย์ และทหารเผด็จการ มองว่านโยบายดังกล่าวเป็นการ “ซื้อเสียงผ่านประชานิยม” หรือเป็นการ “สิ้นเปลืองงบประมาณของชาติ” คือเป็นการกระทำที่นำไปสู่การ “ขาดวินัยทางการคลัง” ดังนั้นหลังจากที่ทหารทำรัฐประหาร ก็มีการพยายามยกเลิกหลายส่วนของนโยบายดังกล่าวผ่านลัทธิคลั่งกลไกตลาดเสรีของพวกเผด็จการ และทุกวันนี้ก็มีการพยายามออกแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ ภายใต้ “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” เพื่อห้ามไม่ให้รัฐบาลในอนาคตแก้ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจเรื้อรังที่ยังเป็นปัญหาอยู่ มีการห้ามไม่ให้รัฐบาลในอนาคตใช้นโยบายที่เพิ่มงบประมาณรัฐเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

สำหรับพวกอนุรักษ์นิยมเหล่านี้การใช้งบประมาณรัฐในการซื้ออาวุธหรือในการจ่ายเงินมหาศาลให้ชนชั้นนำ เป็นการใช้ทรัพยากรของชาติอย่าง “ถูกวิธี”

ผลของสองรัฐประหารทหารและรัฐประหารศาลเตี้ยรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา นอกจากจะนำไปสู่การทำลายประชาธิปไตยในระยะยาวและต่ออายุอำนาจทหารแล้ว ยังเป็นการการหมุนนาฬิกากลับสู่ยุคที่ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

ดังนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่าการแทรกแซงการเมืองและเศรษฐกิจโดยทหาร เป็นการกระทำที่เน้นผลประโยชน์ของคนรวยและชนชั้นกลาง และทำลายผลประโยชน์ของคนทำงานธรรมดาในเมืองและในชนบท

แต่เราต้องเข้าใจอีกว่านโยบายการแก้ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยรักไทย และเพื่อไทย มันไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง เพราะมีการปฏิเสธที่จะสร้างรัฐสวัสดิการ ผ่านการเก็บภาษีระดับสูงจากคนรวย [อ่านเพิ่มเรื่องรัฐสวัสดิการ http://bit.ly/2xryfF7 ]

ยิ่งกว่านั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จะไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแข่งขันในตลาดโลก และแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร ที่เป็นโรคเรื้อรังของระบบทุนนิยม [อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2v6ndWf ]

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเน้นกลไกตลาดเสรีอย่างเดียว และการปฏิเสธที่จะใช้งบประมาณรัฐในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนจน ตามแนวความคิดเผด็จการทหารและพรรคประชาธิปัตย์ มันเป็นนโยบายที่ยิ่งแย่กว่า

ทำไมเผด็จการ “เพื่อคนรวย” ชุดนี้ ชอบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในเมื่อเผด็จการทหารของประยุทธ์ต้องการจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และพูดจาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อปรามคนจน และในขณะที่พรรคพวกของมันกอบโกยความร่ำรวยจากการปล้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทย เราควรกลับมาทบทวนเรื่อง “ภาษีก้าวหน้า” (Progressive Taxation) กับ “ภาษีล้าหลัง” (Regressive Taxation) อีกครั้ง

“ภาษีก้าวหน้า” คือภาษีคือภาษีที่คนรวยจ่ายมากเพราะสามารถจ่ายได้ และคนจนจ่ายน้อยหรือไม่จ่ายเลย เพราะเกือบจะไม่มีรายได้เพียงพออยู่แล้ว มันเป็นภาษีที่เป็นธรรมและช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคม

ส่วน “ภาษีล้าหลัง” คือภาษีประเภท “ทำนาบนหลังประชาชนคนจน” โดยที่คนรวยและผู้มีอำนาจ บังคับเก็บจากคนจน ในขณะที่มีการลดการเก็บภาษีจากคนรวย เป้าหมายก็เพื่อผลประโยชน์ของนายทุน คนชั้นสูง ผู้มีอำนาจเช่นนายพลระดับสูง และแม้แต่ชนชั้นกลาง

โดยทั่วไปแล้ว พวกที่ใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberal) ที่คลั่งกลไกตลาดแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ซึ่งมักจะเป็นพวกฝ่ายขวาทางการเมือง มักจะนิยมการเก็บภาษีล้าหลัง ตัวอย่างที่เห็นชัดในยุคนี้คือรัฐบาลฝ่ายขวาในสหรัฐและยุโรป ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สามารถเพิ่มทรัพย์สินให้กับนายทุนและคนรวย ในขณะที่กดค่าแรงและรายได้ของประชาชนผู้ทำงาน นโยบาย “รัดเข็มขัด” ของพวกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเข็มขัดที่ใช้รัดประชาชน มักจะไม่ใช้กับคนรวย การพยายามทำลายความเข็มแข็งของสหภาพแรงงานมีความสำคัญอีกด้วย เพราะพวกเสรีนิยมไม่ต้องการให้คนทำงานมีพลังต่อรอง

นอกจากนี้นโยบายเสรีนิยมใหม่ มักจะไปด้วยกันกับการทำลายสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วย เพราะการบังคับให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจแย่ลง มักต้องอาศัยอำนาจเผด็จการ ตัวอย่างที่ดีคือวิธีการที่กลุ่มอำนาจในสหภาพยุโรป บังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดกับประเทศกรีซ ทั้งๆ ที่ประชาชนลงคะแนนเสียงคัดค้านมาตลอด หรือการที่เผด็จการทหารไทยทำรัฐประหารสองครั้งในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา การทำรัฐประหาร และการทำลายการเลือกตั้งของพวกทหาร ฝ่ายขวา และสลิ่มชนชั้นกลางไทย กระทำไปเพื่อทำลายนโยบายเศรษฐกิจ “คู่ขนาน” ของรัฐบาลทักษิณ ที่ผสมการใช้รัฐช่วยคนจน และการใช้กลไกตลาด พวกเผด็จการทำลายอำนาจทางการเมืองของทักษิณด้วยวิธีประชาธิปไตยไม่ได้ เขาต้องใช้รัฐประหาร

ทั้งๆ ที่รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลของนายทุนที่ไม่นิยมการเก็บภาษีก้าวหน้า และไม่ได้ใช้นโยบายสังคมนิยมประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่เมื่อเทียบกับรัฐบาลทหารปัจจุบัน หรือรัฐบาลอภิสิทธ์ที่มีทหารหนุนหลัง เราจะเห็นว่าเผด็จการไทยไม่สนใจการพัฒนาสภาพคนจนอย่างที่รัฐบาลทักษิณสนใจ และเราจะเห็นว่าในรอบ 11 ปีที่ผ่านมาในรัฐธรรมนูญต่างๆ ของทหาร มีการเชิดชูกลไกตลาดเสรีสุดขั้ว และการห้ามปรามไม่ให้รัฐใช้นบายช่วยคนจน ที่พวกนั้นเรียกกันว่า “ประชานิยม” ยิ่งกว่านั้นมีการส่งเสริม “ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง” ร่วมไปด้วย “ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง” นี้เป็นข้อเสนอของกษัตริย์ผู้เป็นคนรวยที่สุดในประเทศ ว่าคนจนต้องเจียมตัวในความจน มันเป็นข้อเสนอให้แช่แข็งความเหลื่อมล้ำ และมันถูกบังคับใช้โดยทหารผ่านการมีกฏหมาย 112 ซึ่งทำให้คนไม่กล้าวิจารณ์ นอกจากนี้เผด็จการทหารก็หน้าด้านใช้เงินของประชาชนในการซื้ออาวุธที่ไม่จำเป็น ในขณะที่ด่าคนจนว่า “ขี้เกียจ”

แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat) จะมีมุมมองต่อภาษีต่างจากพวกคลั่งกลไกตลาด คือมีการมองว่าควรเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวยและกลุ่มทุน เพื่อยกระดับประชาชนขึ้น และพัฒนาสังคมให้ทันสมัย และอีกเป้าหมายหนึ่งคือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

ระบบการเก็บภาษีแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นระบบภาษีที่เก็บในลักษณะ ”ก้าวหน้า” และภาษีก้าวหน้าเป็นภาษีที่เก็บโดยตรง (Direct Taxation) เก็บจากคนรวยและบริษัท ในอัตราสูง บางครั้งมีการเก็บจากคนรวยในอัตราสูงเป็นพิเศษ (Super Tax) ตัวอย่างภาษีทางตรงคือภาษีรายได้ ภาษีจากการขายหุ้น ภาษีมรดก ภาษีจากกำไรบริษัท ภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินเป็นต้น ในอดีตหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ อจารย์ปรีดีเคยเสนอให้ไทยมีภาษีอัตราสูงเป็นพิเศษที่เก็บจากคนรวย แต่พวกอำมาตย์คัดค้านอย่างรุนแรง

ฝ่ายขวาเสรีนิยมจะมองว่ารัฐควรมีบทบาทน้อยในการช่วยคนจน และไม่ควรสร้างภาระให้เอกชนจากการเก็บภาษี สำนักคิดนี้มองว่านักธุรกิจและคนรวยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเขาควรมีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นแค่ข้ออ้างที่ให้ความชอบธรรมกับความโลภของคนรวย เพราะผู้ที่สร้างมูลค่าจริงในโลกนี้คือกรรมาชีพคนทำงานธรรมดา พวกเสรีนิยมมองว่าเขาควรมีโอกาสแสวงหากำไรหรือรายได้สูงสุดโดยไม่มีการจำกัด ถ้าจะเก็บภาษีก็ควรลดภาระให้กับคนรวยและเพิ่มภาระให้คนจนแทน สำนักเสรีนิยมจึงสนับสนุนการเก็บภาษี “ล้าหลัง” ในรูปแบบ “ภาษีทางอ้อม” (Indirect Taxation) ซึ่งเป็นภาษีที่คนจนจ่ายโดยอาจไม่รู้ตัว เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ที่เราจ่ายทุกครั้งที่ซื้อของ หรือภาษีสุรา/บุหรี่ ซึ่งทำให้คนจนรับภาระสูงกว่าคนรวย และที่สำคัญคือเกือบ 70% ของรายได้ภาษีของรัฐไทยมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีทางอ้อมอื่นๆ

ถ้าดูผิวเผินเราอาจคิดว่าภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่คนรวยจ่ายมาก เพราะคนรวยซื้อของมากกว่าคนจน แต่ในความเป็นจริง เมื่อตรวจสอบดูว่าคนจนกับคนรวยจ่ายภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนเท่าไรของรายได้และทรัพย์สิน จะพบว่าคนจนจ่ายสัดส่วนมากกว่าคนรวย

การเก็บภาษีจากคนจนไม่ใช่สิ่งใหม่ ในยุคก่อนทุนนิยมมีการเก็บส่วยจากไพร่และบังคับให้ทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทนเลย และทุกวันนี้รัฐไทยยังเก็บภาษีส่วนใหญ่ในรูปแบบ “ทำนาบนหลังคนจน”

จะเห็นได้ว่าถ้าจะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมไทย ต้องมีการปฏิรูประบบภาษี เพื่อเน้นภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า ในขณะเดียวกันควรมีการยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีทางอ้อมอื่นๆ นอกจากการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าแล้ว การตัดงบประมาณทหารและงบประมาณของพวกในวัง จะมีผลดีในการส่งเสริมประชาธิปไตย และการสร้างรัฐสวัสดิการอีกด้วย

ถ้าเราเข้าใจระบบภาษีในมุมมองของฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย เราจะเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลเผด็จการของประยุทธ์อยากจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ไม่มีการเพิ่มการเก็บภาษีรายได้จากคนรวย นายทุน นายพล หรือพวกกาฝากในราชวงศ์ นั้นคือสาเหตุที่รัฐประหารสองสามรอบที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อไม่นานมานี้ ล้วนแต่เป็น “รัฐประหารเพื่อคนรวย”

สิบปีหลัง ๑๙ กันยา เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

ใจ อึ๊งภากรณ์

สิบปีที่แล้วพวกทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยมได้ริเริ่มกระบวนการในการทำลายประชาธิปไตยไทย ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา เราต้องประสบวิกฤตทางการเมืองอันเนื่องมาจากการทำรัฐประหารของทหารกับศาลซ้ำแล้วซ้ำอีก รวมถึงการก่อความรุนแรงโดยม็อบคนชั้นกลางและพวกอันธพาลจัดตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำลายการเลือกตั้งและสนับสนุนการก่อรัฐประหารดังกล่าว นอกจากทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยมแล้ว นักเคลื่อนไหวเอ็นจีโอ และนักวิชาการเสรีนิยมฝ่ายขวาก็มีส่วนในการสนับสนุนรัฐประหารและการทำลายประชาธิปไตยอีกด้วย

ji

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาพวกที่ต้านประชาธิปไตยได้เข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอย่างเลือดเย็น โดยพวกฆาตรกรของฝ่ายรัฐลอยนวลเสมอ ในขณะเดียวกันคุกไทยมีนักโทษทางการเมืองในจำนวนที่เราไม่เคยเห็นตั้งแต่การยุติของสงครามเย็น พร้อมกันนั้นในต่างประเทศก็มีคนไทยที่เป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองจำนวนหนึ่งอย่างที่ไม่เคยมีมานาน กลไกสำคัญอันหนึ่งที่ใช้ในการปราบฝ่ายซ้ายและเสื้อแดงคือกฏหมายเถื่อน 112 ที่ปกป้องผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะและการกระทำทุกอย่างของทหารเผด็จการ

somyot-prueksakasemsuk

ต้นกำเนิดของวิกฤตการเมืองไทยครั้งนี้คือวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี ๒๕๔๐ ซึ่งเปิดโปงปัญหาพื้นฐานในสังคมไทย คือการที่สภาพการดำรงอยู่ “ทางวัตถุ” หรือ “ทางเศรษฐกิจสังคม” ของประชาชนส่วนใหญ่ ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับโครงสร้างส่วนบนของสังคมไทยที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แค่ห้าปีก่อนหน้านั้นมีการลุกฮือที่ประสบความสำเร็จในการล้มเผด็จการทหาร แต่การเมืองยังวนเวียนอยู่ในสภาพเดิมๆ

ในหลายปีก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่อย่างที่ควร เพราะผลประโยชน์เกือบทั้งหมดตกอยู่ในมือของชนชั้นนำและนายทุนไม่กี่คน ส่วนชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยเช่นกัน ก็ได้ประโยชน์บ้าง สรุปแล้วหลายแง่ของสังคมไทยถูกแช่แข็งในความล้าหลัง

ในขณะเดียวกันวิถีชีวิตของประชาชนทั่วประเทศเปลี่ยนไป คนที่เลี้ยงชีพในภาคเกษตรลดลงอย่างรวดเร็ว และคนที่เป็นลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและการบริการก็เพิ่มขึ้น แม้แต่คนที่อยู่ในภาคเกษตรของชนบทก็ต้องเสริมรายได้ด้วยการทำงานในกิจกรรมนอกภาคเกษตรในชุมชนตนเองด้วย

สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนมากพอสมควร โดยเฉพาะเวลาเราพิจารณาว่าคนที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายขึ้นไป ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคนร่นใหม่เริ่มเข้าสู่วัยของการเป็นผู้ใหญ่ แต่ความไม่พอใจดังกล่าวไม่ได้ถูกแสดงออกเพราะหลายคนขาดความมั่นใจ และมองไม่ออกว่าจะแก้สถานการณ์ในรูปธรรมอย่างไร

ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และเรามีรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีภาพว่ามาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมกับการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ประชาชนเริ่มมีความหวังว่าสภาพสังคมจะดีขึ้น มันเป็นประกายไฟที่จุดให้คนจำนวนมากตื่นตัวทางการเมืองภายใต้ความหวังและทางออกที่พอมองเห็นได้

ทักษิณ ชินวัตร กับไทยรักไทย เข้าใจ และพร้อมจะฉวยโอกาสทองในการสร้างการเมืองแบบใหม่บนพื้นฐานโยบายที่เป็นรูปธรรม เพื่อครองใจประชาชน แทนระบบอุปถัมภ์และการซื้อเสียงแบบเดิม นโยบายของไทยรักไทย โดยเฉพาะ “30บาทรักษาทุกโรค” และกองทุนหมู่บ้าน ถูกออกแบบเพื่อทำให้สังคมไทยทันสมัยมากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนใหญ่เพิ่มกำไรผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยทั่วไปในสังคม ทักษิณเรียกนโยบายดังกล่าวว่า นโยบายคู่ขนาน คือผสมการลงทุนจากรัฐกับการใช้กลไกตลาดเสรี แต่ศัตรูของไทยรักไทยมักเรียกนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ว่าเป็น “ประชานิยม” เหมือนกับว่าเป็นคำด่า พวกนี้เกลียดชังการใช้รัฐเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เพราะเขานิยมกลไกตลาดเสรีสุดขั้วแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ที่ให้ประโยชน์กับเขามานาน นอกจากนี้พวกนี้เกลียดชังคนส่วนใหญ่และมองว่าเราเป็น “คนโง่” ที่ไว้ใจไม่ได้และตัดสินใจอะไรเองไม่ได้

สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่พวกทหาร สลิ่ม และอำมาตย์อนุรักษ์นิยม เริ่มไม่พอใจรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ทั้งๆที่เคยชื่นชมในยุคแรก คือการที่ไทยรักไทยสามารถครองใจประชาชนผ่านนโยบายและสามารถผูกขาดอำนาจจากการชนะการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย พวกนั้นไม่พร้อมหรือไม่สามารถที่จะแข่งทางการเมืองกับไทยรักไทยในระบบการเลือกตั้งได้ เขาจึงหันมาชื่นชมเผด็จการแทน

วิกฤตการเมืองปัจจุบันไม่ได้เกิดจาก “ปัญหาการเปลี่ยนรัชกาล” แต่อย่างใด เพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นคนอ่อนแอมาตลอด ไม่มีอำนาจ และถูกใช้โดยทหารและอำมาตย์ รวมถึงนักการเมืองอย่างทักษิณอีกด้วย ปัจจุบันขณะที่กษัตริย์ภูมิพลป่วยมานานและหมดสภาพในการแสดงออกอะไรมากมาย ก็ไม่มีสุญญากาศทางการเมืองแต่อย่างใด และทุกส่วนของชนชั้นนำมองว่าเจ้าฟ้าชายจะขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไป ยิ่งกว่านั้นเจ้าฟ้าชายจะเป็นคนที่อ่อนแอและถูกใช้ยิ่งกว่าพ่อด้วยซ้ำ เพราะไม่สนใจการเมืองเลย และชนชั้นนำไทยก็ไม่เคารพเท่าไร ดังนั้นการเน้นเรื่อง “ปัญหาการเปลี่ยนรัชกาล” เป็นการเบี่ยงเบนปัญหา และมองสังคมไทยจากมุมองชนชั้นบนเท่านั้น  (ดู http://bit.ly/2cnQepl )

การที่ประยุทธ์ทำรัฐประหารครั้งล่าสุด เปิดให้เราเห็นว่าอำนาจสำคัญที่สุดในการทำลายประชาธิปไตยคือกองทัพ ไม่ใช่กษัตริย์ เพราะกษัตริย์เพียงแต่มีหน้าที่ในการให้ความชอบธรรมกับสิ่งแย่ๆ ที่ทหารทำเท่านั้น แต่อำนาจเผด็จการของทหาร ไม่ใช่ในลักษณะ “รัฐพันลึก” เพราะกองทัพไทยและพวกอำมาตย์แตกแยกกันเสมอและแข่งกันเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ดังนั้นมีการทำแนวร่วมและเปลี่ยนขั้วกันเป็นประจำ ทฤษฏีรัฐพันลึกเป็นอีกทฤษฏีหนึ่งที่เน้นแต่เบื้องบน เราต้องพิจารณาภาพรวมและการต่อสู้ของประชาชนธรรมดาที่ต้องการประชาธิปไตยและพร้อมจะสู้เสมอ (ดู http://bit.ly/2a1eP01 )

พอมาถึงจุดนี้เราควรทบทวนสถานการณ์ เราต้องไม่ไปหลงใหลในนักการเมืองแบบทักษิณว่าจะสู้เพื่อประชาธิปไตย ทักษิณมีส่วนในการแช่แข็งเสื้อแดง และเขาเป็นนักการเมืองของฝ่ายทุนที่พร้อมจะก่ออาชญากรรมในปาตานีหรือในสงครามยาเสพติด ตรงนี้เขาไม่ต่างจากทหารหรือพรรคประชาธิปัตย์

ข้อเสนอของนักประชาธิปไตยอย่าง อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่าเราควรหาทางข้ามพ้นความขัดแย้งในหมู่ประชาชนสองฝ่ายของสังคมไทย เพื่อหาฉันทามติในการกำหนดรูปแบบการเมืองที่ไม่ใช่เผด็จการทหาร เป็นข้อเสนอที่จะไม่สร้างประชาธิปไตยจริงในรูปธรรม เพราะความขัดแย้งทางการเมืองมักดำรงอยู่ในทุกสังคมของโลก และความขัดแย้งดังกล่าว มีรากฐานจากผลประโยชน์ที่ต่างกันทางชนชั้น ทั้งๆ ที่ประเด็นต่างๆ อาจถูกบิดเบือนไปหรือไม่ชัดเจนขาวกับดำ การหาฉันทามติระหว่างคนที่รักประชาธิปไตยในไทยกับพวกสลิ่ม นอกจากจะเป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้แล้ว ยังเป็นข้อเสนอที่จะจบลงโดยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประนีประนอมในที่สุด ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องเป็นฝ่ายประนีประนอม เราจะได้แค่ประชาธิปไตยครึ่งใบ

2551-10-02_%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a5

ทั้งๆ ที่ อ. สมศักดิ์ เป็นคนจริงใจในการต้านเผด็จการ แต่ความคิดแบบนี้มาจากการที่เขา และคนที่คิดเหมือนเขา ไม่มีความมั่นใจในพลังของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือขบวนการกรรมาชีพ เขาจึงไม่มีส่วนในการทำงานเพื่อจัดตั้งมวลชน และต้องหันมาแสวงหาสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นทางลัด แต่มวลชนผู้รักประชาธิปไตยเป็นพลังชี้ขาดในการผลักดันความก้าวหน้าเสมอ

20100328_02_27

เราต้องสร้างความมั่นใจว่าประชาชนสู้เองได้ แต่ถ้าเราไม่สร้างองค์กร ไม่สร้างพรรค ไม่สร้างเครือข่ายมวลชน เราจะไม่มีวันนำตนเองอย่างมีพลัง ที่สำคัญคือเราต้องรู้จักสามัคคีกับคนที่อาจเห็นต่างแต่มีจุดร่วมในการเกลียดเผด็จการและพฤติกรรมของสลิ่ม การเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเรา เป็นพฤติกรรมของเด็กๆ ที่ต้องเลิก และถ้าเรามัวแต่เคลื่อนไหวในกลุ่มเล็กๆ ในเชิงสัญลักษณ์ โอกาสที่จะล้มเผด็จการจะยิ่งยืดออกไปนานในอนาคต

อย่าลืมว่าคนไทยเคยล้มเผด็จการมาหลายรอบ และคนไทยจำนวนมากมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมประชาธิปไตย แน่นอนเราทุกคนก็เคยพบอุปสรรคในการต่อสู้ บ่อยครั้งเช่นหลังผลประชามติ เราต้องยอมรับว่าต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อเดินหน้าสองก้าว และเพื่อชัยชนะของประชาชนชั้นล่าง

อ่านเพิ่ม http://bit.ly/1VTFyio

และบทความภาษาอังกฤษล่าสุดที่เขียนเพื่อเสนอในงาน “เสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน” ที่กรุงปารีส 19/9/2016 ดูได้ที่นี่: http://bit.ly/2bSpoF2  or http://bit.ly/2cmZkAa

รัฐบาลเผด็จการทหารคลั่งกลไกตลาดเสรี กดค่าจ้างขั้นต่ำ “รัฐประหารเพื่อคนรวย”รอบสอง

 

ใจ อึ๊งภากรณ์

หลังรัฐประหารรอบแรกในปี ๒๕๔๙ ผมเขียนหนังสือภาษาอังกฤษชื่อ “รัฐประหารเพื่อคนรวย” โดยอธิบายว่ารัฐบาลทหารในครั้งนั้นขยันผลักดันนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมกลไกตลาด  พร้อมกันนั้นมีการอ้างความชอบธรรมจากลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงของนายภูมิพลอีกด้วย มันเป็นความพยายามที่จะหมุนนาฬิกากลับจากยุคทักษิณในหลายๆ แง่

รัฐมนตรีคลังในสมัยนั้นคือ ปรีดิยาธร เทวกุล ซึ่งพยายามตัดงบประมาณสาธารณสุข กดค่าแรงขั้นต่ำ และนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ในขณะเดียวกันมีการเพิ่มงบประมาณทหารมหาศาล

หลังรัฐประหารรอบสองของประยุทธ์มือเปื้อนเลือด ก็มีการใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดเช่นกัน โดย ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ามาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ รัฐบาลเผด็จการชุดนี้เริ่มเสนอว่าประชาชนจะต้อง “ร่วมจ่าย” ในการรักษาพยาบาล มีการกดค่าแรงโดยยกเลิกนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ และนำระบบ “ค่าแรงลอยตัว” ที่กำหนดโดยนายทุนและข้าราชการในแต่ละจังหวัดเข้ามาแทน นอกจากนี้มีการผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพิ่มขึ้น

จะเห็นว่านโยบายของรัฐบาลทหารหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา และนโยบายเผด็จการประยุทธ์ ล้วนแต่ใช้แนวเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว นโยบายนี้คัดค้านการใช้รัฐและงบประมาณรัฐในการพัฒนาสภาพชีวิตของคนจน โดยที่พวกนี้ด่าอย่างไร้สาระว่าเป็นนโยบาย “ประชานิยม” ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสาธารณสุขถ้วนหน้า การจำนำข้าว หรือกองทุนหมู่บ้าน และมีการต่อต้านการกู้เงินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย นอกจากทหารแล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็ชื่นชมกลไกตลาดเสรีสุดขั้วเช่นกัน

ในรัฐธรรมนูญทหารปี ๒๕๕๐ และร่างรัฐธรรมนูญล่าสุด มีการส่งเสริมลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงแบบบ้าคลั่งจนน่ารำคาญ แต่ในรูปธรรมมันไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจจริง เพราะไม่มีมาตรการเศรษฐกิจอะไรที่จับต้องได้ และเศรษฐีคนรวยทั้งหลายที่เป็นผู้ส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ ทหาร หรือข้าราชการชั้นสูง ไม่เคยรู้จักพอเอง เราจึงต้องสรุปว่ามันเป็นลัทธิการเมืองมากกว่าอะไรอื่น มันคัดค้านการกระจายรายได้ และแช่แข็งความเหลื่อมล้ำโดยเรียกร้องให้คนจนปรับตัวกับความยากจน ซึ่งที่น่าสนใจคือมันเป็นลัทธิที่เข้ากับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดได้ดีเพราะมองว่ารัฐควร “ปล่อยวาง” ไม่ช่วยพลเมืองและไม่แก้ความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณสมบัติพิเศษคือ อ้างว่ามาจากปากกษัตริย์ภูมิพล ดังนั้น “ต้องเป็นมหาความคิดของเทวดา” และเราวิจารณ์ไม่ได้ เพราะถ้าวิจารณ์จะโดน 112 อย่างที่ผมเคยโดนหลังจากที่เขียนหนังสือ “รัฐประหารเพื่อคนรวย” ที่วิจารณ์รัฐประหาร ๑๙ กันยา

ส่วนนโยบายของไทยรักไทยเป็นนโยบาย “คู่ขนาน” ที่ใช้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าตามแนวเคนส์ (Keynes) กระตุ้นในระดับหมู่บ้านและชุมชนภายในประเทศ พร้อมกันนั้นมีการใช้แนวกลไกตลาดเสรีในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายของไทยรักไทยนี้ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่มาจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี ๒๕๔๐ และประสบความสำเร็จผ่านการ “นำคนจนมาเป็นผู้ร่วมพัฒนา” แต่เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเมืองของนายทุนเป็นหลัก

บทเรียนสำคัญจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งรอบที่แล้วคือ การที่ไทยอาศัยค่าแรงในระดับต่ำ เพื่อผลิตสินค้าส่งออก หมดประสิทธิภาพไปนานแล้ว เพราะแข่งกับประเทศอื่นที่ค่าแรงต่ำกว่าไม่ได้ นี่คือสาเหตุที่สินค้าส่งออกของไทยตกต่ำ และมันเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไทยขาดแคลนแรงงานและมีการต่อสู้เพื่อเพิ่มค่าแรงพร้อมๆ กัน นอกจากนี้เมื่อเกิดวิกฤตปี ๒๕๔๐ กำลังซื้อภายในประเทศไม่เพียงพอที่จะพยุงเศรษฐกิจและทดแทนการส่งออกได้ เพราะโดยรวมค่าแรงของคนไทยยังต่ำเกินไป รัฐบาลไทยรักไทยเข้าใจตรงนี้และพยายามพัฒนาระดับเทคโนโลจีและรายได้ของประชาชนด้วยนโยบาย “คู่ขนาน”

แต่เราต้องเน้นและเข้าใจว่าไทยรักไทยไม่ใช่รัฐบาลสังคมนิยมหรือแม้แต่รัฐบาลของคนจนหรือกรรมาชีพคนทำงาน สิ่งที่เขาทำเขาทำไปเพื่อประโยชน์กลุ่มทุน แต่มันเอื้อประโยชน์ให้คนจนไปด้วย

นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ทั้งสายเสรีนิยมกลไกตลาด และแนวเคนส์ ไม่กล้ายอมรับว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นมาจากข้อบกพร่องในตัวมันเองของกลไกตลาดระบบทุนนิยม โดยเฉพาะแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจฟองสบู่เพราะนายทุนไม่ยอมลงทุนในการผลิตจริง และหันไปปั่นหุ้นหรือเล่นการพนันกับอสังหาริมทรัพย์ ในระยะยาวแม้แต่แนวเคนส์ที่อาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในตัวของระบบทุนนิยมได้ ซึ่งเห็นชัดจากกรณีญีปุ่นและจีนทุกวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไม่กล้าศึกษาทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายซ้าย ที่อธิบายวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมมาตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์

พอถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบล่าสุด ที่เริ่มเมื่อ 7 ปีก่อน การนำเข้าสินค้าของชาติตะวันตก และการนำเข้าสินค้าของจีน เริ่มตกต่ำลง ซึ่งมีผลกระทบกับการส่งออกของไทย มันไม่เกี่ยวอะไรทั้งสิ้นกับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อย่างที่พรรคพวกของประยุทธ์อ้าง

ข้อมูลเศรษฐกิจจากประเทศ “เริ่มพัฒนา” หลายๆ ประเทศ ฉายภาพว่าการส่งออกและการนำเข้า หรือการค้าขายระหว่างประเทศนั้นเอง ตกต่ำลงในรอบปีที่ผ่านมา และมันไม่เกี่ยวอะไรเลยกับระดับค่าแรง (ดูภาพ)

การค้าตกต่ำในหลายประเทศ (ภาพจาก Financial Times)
การค้าตกต่ำในหลายประเทศ (ภาพจาก Financial Times)

ยิ่งกว่านั้น 300 บาทต่อวันไม่เคยเพียงพอสำหรับการมีชีวิตที่ดีของคนทำงาน แต่พวกเศรษฐีคนรวยและนายพลที่มีรายได้และทรัพย์สินมหาศาลชอบสอนเราว่าค่าแรงเรา “สูงเกินไป” ถ้าจะกดค่าแรงตอนนี้เพื่อแข่งกับประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ก็เท่ากับการลากเศรษฐกิจไทยกลับไปเป็นประเทศด้อยพัฒนาขั้นต่ำนั้นเอง

การกดค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลทหารชุดนี้จะไม่แก้ปัญหาการส่งออกของไทย จะไม่ช่วยเพิ่มการลงทุน จะไม่พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทำงาน และจะไม่กระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกที่ลดลง แต่มันจะช่วยกลุ่มทุนไทยล้าหลังที่ไม่ยอมลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิต ส่วนกลุ่มทุนจากต่างประเทศที่ใช้เทคโนโลจีสูง เช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ มักจ่ายค่าแรงสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว

การมีค่าแรงสูงและคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ได้ทำให้การส่งออกหรือการลงทุนลดลง เพราะประเทศที่เจริญที่มีค่าแรงสูงและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าไทย จะได้รับการลงทุนจากกลุ่มทุนใหญ่มากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา และการค้าระหว่างประเทศพัฒนากันเองก็อยู่ในระดับสูงกว่าด้วย ประเด็นคือรัฐบาลและนายทุนไทยพร้อมจะพัฒนาคุณภาพการผลิตหรือไม่ และการพัฒนาถ้าเกิดขึ้นจริง จะเป็นประโยชน์ต่อพลเมืองส่วนใหญ่ หรือแค่เป็นประโยชน์กับคนรวย

ที่แย่ที่สุดคือ “ปากหมาประยุทธ์” ออกมาโกหกปลุกระดมให้กรรมาชีพแตกแยกกันระหว่างคนงานไทยกับแรงงานเพื่อนบ้าน โดยการพูดว่าค่าแรง 300 บาทให้ประโยชน์กับแรงงานจากเพื่อนบ้านเท่านั้น

เราต้องคัดค้านการเหยียดเชื้อชาติของเผด็จการแบบนี้ และกลุ่มแรงงานต่างๆ ควรสมานฉันท์สามัคคีกันข้ามเชื้อชาติ เพื่อต่อสู้ให้ขึ้นค่าแรงและสร้างสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย