Tag Archives: รัฐสวัสดิการ

เผด็จการไทยไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องประชาชนจากโควิด

รัฐบาลเผด็จการไทยไร้ประสิทธิภาพเพราะเน้นแต่กำไรกลุ่มทุนและผลประโยชน์ตนเอง ไม่ยอมใช้มาตรการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปกป้องการแพร่เชื้อ และไม่ยอมใช้งบประมาณรัฐเพื่อเป็นสวัสดิการที่เพียงพอสำหรับคนที่ควรจะพักงานและอยู่บ้าน ในขณะเดียวกันมีการทุ่มเทเงินให้ปรสิตชั้นสูงและกองทัพ และมีการจับมือกับพรรคพวกในการผลิตวัคซีนอีกด้วย และที่แย่สุดคือการนำวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนล้าช้ากว่าประเทศอื่นๆ และไม่ทำอย่างเป็นระบบ

อีกเรื่องที่เป็นอปสรรค์ในการจัดการกับโควิดในไทย คือการที่ประชาชนไว้ใจรัฐบาลไม่ได้ เพราะถูกจับว่าโกหกในอีดตอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกๆ เรื่อง

ในแง่หนึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลเผด็จการไทยไม่ค่อยต่างจากรัฐบาลในประเทศอื่นที่เน้นผลประโยชน์กลุ่มทุนและอภิสิทธ์ชน

ในอังกฤษรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมของนายทุนใหญ่ พยายามตลอดเวลาที่จะผลักให้คนกลับไปทำงานและเปิดโรงเรียนเพื่อให้คนที่มีลูกกลับไปทำงานได้ นายกรัฐมนตรี Boris Johnson เคยพูดว่า “ให้ศพมันกองไปเรื่อยๆ จะไม่ล็อคดาว์น” และผลคือมียอดคนตายสูงจากโควิดถึงแสนกว่าคน นับว่าอังกฤษมีสัดส่วนคนตายสูงกว่าหลายประเทศในโลก

แต่การที่รัฐบาลอังกฤษกลัวความไม่พอใจของประชาชน กดดันให้มีการสั่งซื้อวัคซีนล่วงหน้าเร็วกว่าหลายๆ ประเทศ แต่ในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนวิจารณ์ระบบการเมืองอย่างเปิดเผยไม่ได้ เช่นในไทย แรงกดดันแบบนี้จะอ่อนแอกว่า แถมในไทยพวกนายพลที่เป็นคณะเผด็จการ เช่นประยุทธ์ หลงตนเองคิดว่าการเป็นทหารทำให้เก่งทุกอย่างได้ ทั้งๆที่ตรงข้ามกับความจริง

สิ่งที่ตอนนี้เข้ามาช่วยประชาชนอังกฤษคือการที่มีระบบสาธารณสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสวัสดิการ พนักงานต่างๆ ในระบบสาธารณสุข (NHS) ได้วางแผนการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ จนตอนนี้ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งได้รับการฉีดยาอย่างน้อยเข็มแรก และคนจำนวนมากได้เข็มที่สองแล้วด้วย

แต่ในด้านลบการที่ประเทศพัฒนาในตะวันตก อย่างอังกฤษ สหรัฐ และประเทศอียู ปกป้องบริษัทยาและไม่ยอมยกเลิกสิทธิบัตรยา ทำให้มีการลงมือแจกจ่ายสูตรการทำวัคซีนให้ทุกประเทศอย่างทั่วถึงไม่ได้ และผลิตวัคซีนในราคาถูกไม่ได้ ทำให้ประชาชนในประเทศยากจนขาดแคลนวัคซีน นี่คือหน้าตาโหดร้ายของจักรวรรดินิยมในระบบทุนนิยม (ดูข่าวล่าสุดข้างล่าง)

อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ของจักรวรรดินิยมตรงข้ามกับผลประโยชน์ของกรรมาชีพคนทำงานในประเทศตะวันตก เพราะถ้าทุกคนทั่วโลกไม่ร่วมมือกันโดยไม่คำนึงถึงกำไรของกลุ่มทุน มันทำให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด เสี่ยงกับการระบาดรอบใหม่ๆ ของโควิดและการแปรพันธุ์ของไวรัส

อังกฤษฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกไปแล้ว 34.7 ล้านคน เกินครึ่งของประชากร ส่วนใหญ่ประชาชนได้วัคซีน AstraZeneca และตอนนี้ยอดคนตายจากโควิดในอังกฤษลดลงมาก ขณะนี้เหลือแค่4คนต่อวันเนื่องจากการใช้วัคซีน ซึ่งต่างจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่รัฐบาลล้าช้าในการฉีดวัคซีนให้ประชาชน ประเทศเหล่านั้นกำลังถึงขั้นวิกฤตจากการระบาดรอบสามของโควิด

3 วันหลังจากที่ผมได้รับการฉีด AstraZeneca เข็มที่สอง ผมไม่มีผลข้างเคียงอะไรเลย หลังเข็มแรกมีไข้อ่อนๆ

สำหรับเรื่องผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจาก AstraZeneca ในอังกฤษมีคนตายจากลิ่มเลือด 41 คน (เท่ากับสัดส่วน 1.2 คนจากประชาชน 1 ล้านคนที่ได้วัคซีน) ซึ่งถ้าเทียบกับยอดคนตายด้วยโควิด 127,500 คนตั้งแต่มีการระบาด จะเห็นว่าวัคซีนมีความเสี่ยงน้อยกว่าการติดเชื้อ แต่ตอนนี้อังกฤษประกาศว่าจะให้คนอายุต่ำกว่า40เลือกวัคซีนอื่นได้

สังคมไทยเต็มไปด้วยข้อมูลที่บิดเบือนเรื่องวัคซีน มีการวาดภาพวัคซีนร้ายแรงเกินเหตุ และประชาชนจำนวนมากยังไม่ได้รับวัคซีน สาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลเผด็จการไร้ประสิทธิภาพ และโกหกประชาชนเป็นประจำ พร้อมกับการที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและตรวจสอบรัฐบาล ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยไม่มีระบบสาธารณสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างรัฐสวัสดิการ

ส่วนวัคซีน “ซิโนวัค” ที่หลายคนเป็นห่วง วัคซีนนี้ใกล้จะได้รับการรับรองจาก EU และ องค์กรWHO และข้อมูลพิสูจน์ว่าสามารถป้องกันไม่ให้ตายจากโควิดหรือมีอาการรุนแรงถึง 90% แต่ในการป้องกันการติดเชื้อ และมีอาการอ่อนๆ วัคซีนนี้มีประสิทธืภาพ 50-60% ซึ่งถือว่าไม่เลว

ในเรื่องผลข้างเคียงจากวัคซีนที่อาจทำให้คนตาย ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอว่ามีคนตายจากวัคซีนซิโนวัคหรือไม่ แต่เรื่องนี้ยังสรุปกันยาก อาจมีข้อมูลใหม่เข้ามาในอนาคต แต่ประเด็นคือผู้นำทางการเมืองในไทยไม่มีการใช้วัคซีนนี้กับตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชน และการที่สังคมไทยเต็มไปด้วยข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งจะไม่ช่วยในการรณรงค์ให้คนรับวัคซีนอย่างเพียงพอ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ข่าวล่าสุด

รัฐบาลสหรัฐประกาศว่าอยากจะยกเลิกสิทธิบัตรยาสำหรับวัคซีนโควิดชั่วคราว และอียูอาจทำตามในอนาคต?

ถ้าจะปลดแอกตนเอง ต้องสมานฉันท์กับแรงงานพม่า

คาร์ล มาร์คซ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าถ้ากรรมาชีพอังกฤษไม่เลิกดูถูกคนจากเกาะไอร์แลนด์ที่เข้ามาทำงานก่อสร้างในอังกฤษ เขาจะไม่มีวันปลดแอกตนเองได้

ในลักษณะเดียวกัน ตราบใดที่คนไทยดูถูกและรังเกียจแรงงานพม่า คนไทยไม่มีวันปลดแอกตนเองได้ เพราะอะไร?

ลัทธิชาตินิยมเป็นรากฐานความคิดว่า “เราแตกต่างจากคนพม่า” “คนไทยทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน” “เราต้องรักชาติ ศาสนา กษัตริย์” “เราภูมิใจในความเป็นไทย” ฯลฯ จนมีการยอมรับกันว่าต้องควบคุมการเข้าออกของเพื่อนมนุษย์จากประเทศเพื่อนบ้าน และสมควรแล้วที่จะโทษคนงานพม่าว่านำเชื้อโรคเข้ามาในไทย

แต่ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิที่ล่ามโซ่พวกเราเพื่อทำให้เราเป็นทาสของชนชั้นปกครอง ชนชั้นปกครองไทยเป็นพวกที่กดขี่ ขูดรีด เอารัดเอาเปรียบเรามาตลอด เป็นพวกที่สอนให้เราก้มหัวและคลานต่อคนข้างบน และเป็นพวกที่พร้อมจะใช้ความรุนแรงกับเราเมื่อเราเรียกร้องเสรีภาพกับประชาธิปไตย

เราไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับชนชั้นปกครองไทยแม้แต่นิดเดียว

แต่เรามีผลประโยชน์ร่วมกับกรรมาชีพที่ข้ามพรมแดนมาหางานทำ เพราะเขาไม่แตกต่างจากเราในการที่จะต้องกระตือรือร้นที่จะเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวภายใต้ระบบทุนนิยมที่สร้างปัญหาความยากลำบากให้ทุกคน เราเป็นพี่น้องกัน

ชนชั้นปกครองไทยเป็นศัตรูของเรา แต่ยังดูถูกเราด้วยการเรียกตัวมันเองเป็น “พ่อ” “แม่” หรือ “ลุง” ทั้งๆ ที่เรามีพ่อแม่หรือลุงของเราเองอยู่แล้ว

มันง่ายจังเลยที่เผด็จการประยุทธ์จะโทษแรงงานพม่าว่าสร้างวิกฤตโควิด เพราะมันเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่คนงานไทยจำนวนมากตกงานและขาดรายได้จากวิกฤตโควิดที่เริ่มเมื่อต้นปี๒๕๖๓ มันเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่รัฐบาลเผด็จการไม่ยอมลงทุนสร้างรัฐสวัสดิการให้กับเรา ในขณะที่เผด็จการใช้เงินภาษีของเราในการซื้ออาวุธหรือในการเลี้ยงปรสิตราชวงศ์ในวิถีชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย มันหน้าด้านอ้างว่าประเทศไม่มีเงินพอที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง

อย่าลืมว่าแรงงานกรรมาชีพ ทั้งไทยและพม่า เป็นผู้ทำงานสร้างมูลค่าในสังคม ไม่ใช่นายทุน กษัตริย์ หรือพวกขุนศึก

แรงงานข้ามชาติเข้ามาในไทยเพราะสังคมขาดกำลังงาน โดยเฉพาะในภาคที่มีงานอันตราย สกปรก และค่าจ้างต่ำ ทุกครั้งที่เราไปกินซีฟู๊ดเราควรระลึกถึงคนที่ทำงานเพื่อนำกุ้งปูปลามาถึงจานของเรา และควรระลึกต่อไปว่าสภาพความเป็นอยู่ของเขายากลำบากแค่ไหน ต้องจากบ้านเกิดมาอยู่ในชุมชนแออัดที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องโรคติดต่ออย่างโควิด

ชุมชนแออัด และการที่รัฐไทยและนายทุนไทยไม่บริการอะไรให้กับแรงงานข้ามชาติ คือสาเหตุที่มีการแพร่ไวรัส มันไม่ได้อยู่ที่เชื้อชาติของแรงงาน

การแบ่งแยกแรงงานพม่าออกจากแรงงานไทย ช่วยทำให้เขาขูดรีดและเอาเปรียบทั้งคนไทยและคนพม่าง่ายขึ้น ถ้าเรา ผู้ที่เป็นกรรมาชีพแรงงาน สามารถสามัคคีกันข้ามเชื้อชาติ เราจะพัฒนาความเป็นอยู่ของทุกคนได้ เพราะเราจะมีพลัง

การควบคุมแรงงานข้ามชาติไม่ได้ช่วยอะไรเรา มันเพียงแต่ช่วยให้นายจ้างกดค่าแรงของเขาและของเรา มันช่วยให้ตำรวจและทหารเก็บส่วย และมันช่วยให้รัฐบาลมีแพะรับบาปเพื่อไม่ให้เราโทษรัฐบาล ดังนั้นเราควรเปิดพรมแดน เสริมสร้างรัฐสวัสดิการสำหรับทุกคนที่ทำงานในไทย และรณรงค์ให้แรงงานทุกเชื้อชาติเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอย่างเสรี

รัฐบาลเผด็จการประยุทธ์กำลังพยายามล้างสมองเราในรูปแบบ “อย่าโทษเรา” “ไปโทษแรงงานพม่าโน้น” และเป็นที่น่าสลดใจที่คนไทยไม่น้อยไม่สามารถสลัดโซ่ตรวนความเป็นทาสออก และไปคล้อยตามชนชั้นปกครองในการด่าคนพม่า

สรุปแล้ว สำหรับคนที่อยากปลดแอกตนเอง อยากเห็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ มันมีสองขั้วความคิดในสังคม

ขั้วความคิดแรกเป็นแนวคิดที่มาจากชนชั้นปกครองและชวนให้เราจงรักภักดีต่อเขาภายใต้ลัทธิชาตินิยม ซึ่งในไทยรวมถึงลัทธิราชานิยมด้วย แนวคิดนี้ชวนให้เราหมอบคลานต่อเบื้องบน ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ นายพลมือเปื้อนเลือด หรือ “ท่านผู้ใหญ่” คนใด และมันชวนให้เรามองว่าเรามีผลประโยชน์ร่วมกับผู้ที่กดขี่ขูดรีดเรา “เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน” นี่คือที่มาของความคิดที่เหยียดเชื้อชาติอื่น มันเป็นแอกเพื่อควบคุมให้คนส่วนใหญ่เป็นไพร่เป็นทาส

ขั้วความคิดที่สองเป็นแนวคิดที่เกิดจากจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพและคนชั้นล่างทั่วไป มันไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ มันอาศัยอยู่ในสังคมได้เพราะมีนักสังคมนิยมและนักสิทธิมนุษยชนที่ทวนกระแสความคิดกระแสหลัก และเสนอแนวคิดประเภท “สามัคคีชนชั้นล่างข้ามเชื้อชาติ” ความคิดขั้วนี้จะปฏิเสธการรักชาติ แต่จะรักเพื่อนประชาชนแทน จะเสนอให้คนไทยธรรมดาสมานฉันท์กับคนเชื้อชาติอื่น และต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง เพื่อให้เราร่วมกันปลดแอกตนเองและสังคม

ใจ อึ๊งภากรณ์

โลกาภิวัตน์ทุนนิยมกับความแตกต่างระหว่างอัตราการตายจากโควิด19 ในประเทศต่างๆ ของโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทั้งๆ ที่เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์พยายามอ้างว่านโยบายรัฐบาลทำให้ไทย “เอาชนะ” โควิด19ได้ แต่ในความเป็นจริงอัตราการตายจากโควิดในไทย ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด สูงกว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเช่นเวียดนาม และในกรณีไทยและหลายๆ ประเทศ ที่อยู่นอกกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐ ผลกระทบของไวรัสโคโรน่าออกมาในรูปแบบวิกฤตชีวิตหรือวิกฤตทางสังคมของคนจนมากกว่าวิกฤตจากพิษทางชีววิทยาของตัวไวรัส และวิกฤตทางสังคมของคนจนมาจากนโยบายของรัฐบาลโดยตรงบวกกับผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์

total-covid-deaths-per-million

อัตราการตายจากโควิด19ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ค่อนข้างจะต่ำถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกเกือบทุกประเทศคือ อัตราการตายสะสมในวันที่ 24 พ.ค. 2020 ต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่ากับ 4.3 ในอินโดนีเซีย 7.3 ในฟิลิปปินส์ 3.2 ในมาเลเซีย 0.9 ในไทย และ 0 ในเวียดนาม เทียบกับ 525 ในอังกฤษ [ดู https://bit.ly/2Zvc0A0 ]

_111039738_gettyimages-1203060096

ถ้าเราจะเข้าใจสาเหตุเราต้องดูปัจจัยหลายอย่างด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่คลั่งชาติหรือฟังข้อโกหกของผู้นำรัฐบาลต่างๆ

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่ออัตราการตายสะสมคือ

  1. ความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์ในแง่ของการเคลื่อนไหวของคนและสินค้า ยุโรปตะวันตกกับสหรัฐมีความเชื่อมโยงสูงที่สุดในโลก ซึ่งดูได้จากเที่ยวบินที่เข้าออกจากประเทศ ปริมาณสินค้า และจำนวณนักท่องเที่ยวก่อนที่จะมีการปิดประเทศ เช่นฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก และสนามบินหลักๆ ของสหรัฐและอังกฤษมีเที่ยวบินต่างๆ สูงที่สุดในโลก ปัจจัยนี้ทำให้ไวรัสโคโรน่าสามารถเดินทางในร่างมนุษย์จากจีนได้ง่ายที่สุด
  2. สัดส่วนคนชราต่อประชากรทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราการตาย เพราะคนชราเสี่ยงกับการตายมากที่สุดเนื่องจากมีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคหัวใจและเส้นโลหิต หรือโรคระบบปอดและการหายใจ ปรากฏว่าประเทศตะวันตกมีอัตราคนชราต่อประชากรทั้งหมดสูงที่สุดในโลก และประชาชนในประเทศโลกที่สามหรือประเทศ “ใต้” ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย อัฟริกา หรือลาตินอเมริกา มีจำนวนประชากรในวัยเด็กและหนุ่มสาวสูง นี่คือสาเหตุสำคัญที่อัตราการตายในหลายประเทศของอัฟริกาและเอเชียค่อนข้างต่ำ และองค์กร WHO ก็ยืนยันสิ่งนี้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่าประเทศยากจนไม่มีวิกฤตสาธารณะสุข เพราะในบางประเทศเกือบจะไม่มีอุปกรณ์ทางแพทย์เลย และสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกผลักดันจากไอเอ็มเอฟหรือองค์กรสากลอื่นๆ นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ของจักรวรรดินิยม และความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการลงทุนจากกลุ่มทุนใหญ่ภายใต้เงื่อนไขของตลาดเสรี ทำให้มีการตัดงบสาธารณะสุขอีกด้วย
  3. ปริมาณประชากรที่น้ำหนักตัวสูงหรือมีความอ้วนจนเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การตายจากโควิด19 และปัจจัยนี้อาจช่วยอธิบายว่าทำไมอัตราการตายต่อประชากรหนึ่งล้านคนในญี่ปุ่นค่อนข้างต่ำคืออยู่ที่ 6.3 ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีสัดส่วนคนชราสูงและมีความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์พอๆ กับยุโรปตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกา ปริมาณคนอ้วนในญี่ปุ่นเกือบจะต่ำที่สุดในโลกคืออยู่ที่ 4.3 % เทียบกับ 36 % สำหรับสหรัฐ 28 % สำหรับอังกฤษ 24 % สำหรับสเปน 22 % สำหรับฝรั่งเศส และ 20 % สำหรับอิตาลี่ ในประเทศที่ยากจนกว่าปริมาณคนอ้วนมีน้อยมาก เช่น 2% ในเวียดนาม 4 % สำหรับอินเดีย และ 3.6% สำหรับบังกลาเทศ ส่วนไทยอยู่ที่ 10% (ตัวเลขจากCIAปี2020)

ความอ้วนเป็นปัญหาที่มักพบในหมู่คนจนในประเทศตะวันตก ซึ่งความยากจนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพิ่มอัตราการตายในสังคมตะวันตกทุกแห่งทีเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ แต่ความอ้วนมักจะเป็นปัญหาสำหรับคนชั้นกลางในประเทศยากจน

  1. นโยบายโง่ๆ ของรัฐบาลฝ่ายขวา ที่ไม่สนใจในการปกป้องประชาชน และเน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนที่ต้องการให้คนไปทำงานทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเสี่ยง เป็นอีกปัจจัยสำคัญ และได้นำไปสู่ตัวเลขการตายที่สูงกว่าปกติในสหรัฐ อังกฤษ สวีเดน และบราซิล ในกรณีสวีเดนทั้งๆ ที่พรรคการเมืองหลักในรัฐบาลเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตย แต่นโยบายที่ใช้เป็นนโยบายฝ่ายขวาที่ปฏิเสธการปิดประเทศ

ประเทศที่มีนโยบายเพื่อปกป้องประชาชนที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบสาธารณะสุขที่ไม่ขาดแคลน จะมีอัตราการตายต่ำกว่าประเทศที่ยกตัวอย่างมาข้างบน ตัวอย่างเช่นเยอรมันและเกาหลีใต้เป็นต้น

ในเม็กซิโกกรรมาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดชายแดนสหรัฐต้องนัดหยุดงานประท้วงเพราะถูกกลุ่มทุนสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐ และรัฐบาลเม็กซิโก กดดันให้กลับไปทำงานในสภาพที่ไม่มีความปลอดภัย ในโรงพยาบาลหลายแห่งของยุโรปตะวันตกมีการประท้วงของแพทย์พยาบาลเพราะรัฐบาลไม่แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันตัวจากโควิดอย่างทั่วถึง

การยกเลิกมาตรการกักตัวที่บ้านหรือยกเลิกการปิดเมืองในประเทศต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการ “เอาชนะ” โควิดแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเพื่อให้กรรมาชีพกลับไปทำงานเพื่อสร้างกำไรให้นายทุนต่างหาก โควิดจะอยู่กับสังคมมนุษย์ในทุกประเทศอีกนาน

 

วิกฤตทางสังคมหรือวิกฤตชีวิตสำหรับคนจนทั่วโลกร้ายแรงกว่าพิษของโควิดโดยตรง

ในระบบทุนนิยมที่ดำรงอยู่ในโลก (รวมถึงจีนและคิวบาด้วย) สภาพโครงสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล่ำทำให้เกิดวิกฤตร้ายแรงสำหรับคนจน ในประเทศตะวันตกคนจนและคนที่มีสีผิวดำๆ จะเป็นคนที่ตายมากที่สุด และกรรมาชีพจำนวนมากจะตกงาน ในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการคนเหล่านี้จะได้รับความช่วยเหลือระดับหนึ่งจากรัฐ แต่ย่อมไม่เพียงพอ ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรัฐสวัสดิการกรรมาชีพที่ตกงานจะถูกปลดออกจากระบบประกันสุขภาพจึงไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้โดยไม่ติดหนี้มหาศาล

ในประเทศต่างๆ ของ เอเชีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา คนจนจะประสบกับวิกฤตหนักทางสังคมและเศรษฐกิจอันมาจากนโยบายรัฐบาลในการปิดเมืองและปิดงานในขณะที่ไม่มีรัฐสวัสดิการอะไรเลย ในอินเดียคนงาน 40 ล้านคนจากหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศถูกปลดออกจากงานในเมืองใหญ่และต้องเดินเท้ากลับหมู่บ้านของตนท่ามกลางความอดอยากอย่างถึงที่สุด ส่วนใหญ่ต้องเดินเท้าในระยะทางหลายร้อยกิโล เพราะไม่มีระบบขนส่งมวลชน ถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐบาลอินเดียต่อประชาชน ในไทยเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์อ้างว่าจะช่วยคนจนที่ตกงาน แต่ระบบของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้คนอดอยากเป็นจำนวนมาก

Screen-Shot-2020-04-17-at-7.22.58-AM

ในประเทศเคนยา ในอัฟริกาตะวันออก มีการก่อจลาจลโดยคนจนในสลัมที่รัฐบาลกำลังสั่งให้รื้อ “เพื่อป้องกันสังคมจากโควิด” และในหลายประเทศของอัฟริกาความพยายามที่จะสั่งให้คนจนที่หาเช้ากินค่ำกักตัวอยู่บ้าน โดยไม่มีความช่วยเหลืออะไรเลยจากรัฐ นำไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งรัฐบาล ซึ่งเราเห็นบ้างในไทยด้วย แต่ที่อัฟริกามีการส่งทหารติดอาวุธไปยิงประชาชน ในไทยประยุทธ์ที่มือเปื้อนเลือดจากการฆ่าเสื่อแดงยังไม่กล้าทำแบบนี้

ขณะนี้โลกกำลังเดินเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรง ในสภาพเช่นนี้รัฐบาลและนายทุนต่างๆ จะพยายามให้กรรมาชีพและคนจนแบกรับภาระด้วยการตกงาน ถูกตัดค่าจ้าง และการรัดเข็มขัดลดงบประมาณที่เป็นการบริการประชาชน ในขณะเดียวกันพวกคนรวย นายทุน และพวกเผด็จการจะเสพสุขต่อไป บางคนอาจเพิ่มกำไรจากโควิดด้วยซ้ำ ถ้ากรรมาชีพและคนจนไม่รวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับศึกทางชนชั้นที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เรามีสิทธิ์ที่จะโดนเหยียบหัวฝังดินจนอดตาย

แต่ในหลายส่วนของโลก เช่นที่อัลจีเรีย ซุดาน ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ขบวนการประท้วงที่ต้องหยุดพักเพราะโควิด สามารถฟื้นตัวขึ้นมาอีกได้ และในประเทศอื่นการต่อสู้ใหม่ๆ อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องเข้าใจตอนนี้คือ การต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดที่รัฐบาลแจกให้เรา เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่อื่น

คนไทยอาจเสี่ยงภัยจากความยากจนมากกว่าจากโควิด19?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ผมไม่อยากจะรีบสรุปอะไรเร็วเกินไปเรื่องการระบาดของไวรัสโควิดในขณะที่วิกฤตมันยังไม่จบ แต่ถ้าดูตัวเลขจากไทยจะเห็นว่าค่อนข้างจะต่ำถ้าเทียบกัยยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา

total-covid-deaths-per-million

สาเหตุที่ตัวเลขโควิดไทยค่อนข้างจะต่ำในขณะนี้ (และหวังว่าคงไม่พุ่งสูงในอนาคต ซึ่งเป็นไปได้) ไม่ใช่เพราะประสิทธิภาพของรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์แต่อย่างใด ไม่ใช่เพราะอะไรที่ดีเลิศเกี่ยวกับสังคมไทย และไม่ใช่เพราะไทยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรอยู่เบื้องสูงเลย เพราะตัวเลขโควิดไทยไม่ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านเท่าไร และตัวเลขของเวียดนามดีกว่าไทยอีก

total-deaths-covid-19

ถ้าเราดูตัวเลขการเสียชีวิตจากโควิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปรเป็นสัดส่วนต่อประชากรหนึ่งล้านคน จะเห็นว่าฟิลิปปินส์สูงสุดคือ 6 รองลงมาก็คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ 3 และไทยอยู่ที่ 0.8 ซึ่งพอๆกับบังคลาเทศในเอเชียใต้ แต่ต่ำสุดคือเวียดนาม ถ้าเทียบกับตัวเลขอังกฤษที่สูงถึง 598 ดูเหมือนอยู่คนละโลกกัน [ดู https://bit.ly/2KWTPdV ]

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคุณภาพในสหรัฐกับอังกฤษได้รายงานว่าการระบาดของโควิดไม่ได้ลดลงเมื่อมีอากาศร้อนเหมือนไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ในออสเตรเลียมีการระบาดมากพอสมควรทั้งๆ ที่อากาศร้อนแห้ง แต่ตัวเลขจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เราต้องสงสัยว่าอากาศร้อนกับชื้น บวกกับชีวิตที่ใช้นอกบ้าน และการที่แสงแดดแรงและมีรังสี UV มันช่วยลดการระบาดของโควิดหรือไม่? ตัวเลขการระบาดหรือตายในอัฟริกาอาจเหมือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือมาตรการเด็ดขาดในการปิดเมือง การตรวจโรค และการติดตามดูว่าผู้ป่วยสัมผัสกับใคร อย่างที่เวียดนามทำ มีผลสำคัญในการลดอัตราการตาย ดังนั้นการยกเลิกมาตรการแบบนี้ไม่ใช่คำตอบในการปกป้องพลเมือง

อีกสิ่งหนึ่งที่อาจเป็นประเด็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือสัดส่วนคนชราในประชากร ซึ่งต่ำกว่ายุโรปหรือสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกันสัดส่วนคนจนที่มีสุขภาพไม่ดีน่าจะสูงกว่าประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตามในอีกแง่หนึ่งการที่คนในเอเชียอยู่กับเชื้อโรคมากกว่าคนในตะวันตกมีผลทำให้มีภูมิต้านทานหรือวิถีชีวิตที่เน้นการล้างมือหรือไม่?

นอกจากนี้เราต้องระวังตัวเลขจากรัฐบาลต่างๆ ที่อยากจะปกปิดความจริงและไม่ย่อมตรวจเชื้อในหมู่ประชากรทั่วไปด้วย

ไม่ว่าการระบาดของโควิดจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เห็นชัดในกรณีไทยคือ มาตรการในการเยียวยาคนจนหรือกรรมาชีพที่ตกงานที่เดือดร้อนอันเนื่องมาจากการสั่งปิดสถานที่ทำงานต่างๆ ของรัฐบาลประยุทธ์ ไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง เพราะไม่เพียงพอและไม่แก้ปัญหา ดูได้จากภาพคนจนที่เสี่ยงติดเชื้อจากการเข้าคิวรับอาหารหรือเงินจากเอกชนและมูลนิธิต่างๆ

Screen-Shot-2020-04-17-at-7.22.58-AM

UPDATE_TEMPLATE-20202-3-1

ในขณะนี้มันดูเหมือนภัยหลักสำหรับคนธรรมดาในไทยคือความยากจนและการตกงาน ซึ่งอาจเป็นภัยร้ายแรงกว่าโควิดเสียอีก

วิกฤตโควิดเหมือนแสงไฟที่ส่องให้เห็นลักษณะสังคมและปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ความเหลื่อมล้ำในไทยมาจากการที่เราไม่มีรัฐสวัสดิการ และสหภาพแรงงานของเราอ่อนแอเกินไปที่จะพัฒนาผลประโยชน์ของคนทำงาน และปัญหานี้ร้ายแรงมากขึ้นเพราะเราขาดประชาธิปไตย

ในสภาพเช่นนี้เราเห็นคนรวยและอภิสิทธิ์ชนเสพสุขในขณะที่คนส่วนใหญ่เดือดร้อน ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน ทหารเผด็จการยังหน้าด้านคิดจะซื้ออาวุธ และบางคนสั่งอาหารทางอากาศมากินที่ยุโรปหรือบินไปบินมาอย่างสบาย

อย่าลืมว่าตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา 14 ปีที่แล้ว ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ชนชั้นกลางและทหาร ได้ร่วมกันทำลายประชาธิปไตยในประเทศเรา เพราะไม่พอใจกับรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทักษิณมีข้อเสียหลายอย่างและได้ก่ออาชญากรรมในปาตานีและสงครามยาเสพติด แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลนี้กำลังเดินหน้าเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของคนธรรมดา ผ่านนโยบายระบบสุขภาพถ้วนหน้า นโยบายสร้างงาน นโยบายลดหนี้ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ และนโยบายพัฒนาระบบการศึกษา ซึ่งแนวร่วมระหว่างรัฐบาลทักษิณกับกรรมาชีพและชาวนานี้สร้างความไม่พอใจกับพวกปฏิกิริยาเป็นอย่างมาก นี่คือสาเหตุที่เราจมอยู่ภายใต้เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ในปัจจุบัน

ในอนาคตอันใกล้ ทั่วโลกจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงพอๆ กับวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และไทยจะหลีกเลี่ยงผลไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราไม่รวมตัวกันสู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อโค่นเผด็จการ คนไทยธรรมดาจะเดือดร้อนมากขึ้นอีกหลายเท่า

โรคระบาด ทุนนิยม กับกลไกตลาด ทำไมสังคมนิยมแก้ปัญหาได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในขณะที่ประชาชนทั่วโลกล้มตายเป็นหมื่นและป่วยเป็นแสนจากไข้หวัดโคโรนา มีนายทุนบางคนที่หน้าด้านคว้าประโยชน์จากโรคระบาดนี้ ตัวอย่างเช่น Bill Ackman นายทุนเฮดจ์ฟันด์ที่พนันในตลาดหุ้นและรวยขึ้น $2.6 พันล้าน ส่วน Jeff Bezos เจ้าของบริษัทอเมซอน สามารถกอบโกย $5.3 พันล้านจากการขายหุ้นในบริษัทของตนเอง

ท่ามกลางวิกฤตโควิดในออสเตรเลียมีการเลิกจ้างพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน 600 คนเพราะมีการยกเลิกผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวกับโควิด

ท่ามกลางวิกฤตโควิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คนทำงานธรรมดาเป็นล้านกำลังจะถูกยกเลิกประกันสุขภาพเพราะตกงานจากโควิด อันนี้ไม่รวมประชาชนเป็นล้านที่ไม่มีประกันแต่แรก นอกจากนี้บริษัทประกันเอกชนมีความเชื่องช้าในการอนุญาตทุกขั้นตอนของการรักษาคนไข้โควิดแย่ยิ่งกว่าระบบราชการเสียอีก

นี่คือใบหน้าแท้ของระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่เป็นภัยต่อประชาชนทั่วโลก

ในรอบสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักทั่วโลก ชอบสอนเราอย่างต่อเนื่องว่า “กลไกตลาดเป็นสิ่งที่สร้างประสิทธิภาพในสังคม และตอบสนองมนุษย์ได้ดีกว่าการวางแผนแบบสังคมนิยม” แต่วิกฤตโควิดเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เปิดโปงว่ากลไกตลาดเสรีของทุนนิยมไร้ประสิทธิภาพสำหรับประชาชนส่วนใหญ่โดยสิ้นเชิง (ดู เสรีนิยม กลไกตลาด และรัฐ https://bit.ly/2tWNJ3V )

ในเรื่องวัคซีน กลไกตลาดเสรีและการที่บริษัทยาขนาดใหญ่เป็นของเอกชนที่แสวงหากำไรอย่างเดียว แปลว่าไม่มีการพยายามพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสชนิดต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะลดเวลาที่จะผลิตวัคซีนต้านโคโรนาอย่างมาก สาเหตุคือตราบใดที่ไม่มีการระบาดทั่วโลกมันไม่มีกำไรในการพัฒนาวัคซีนไว้ล่วงหน้า และยิ่งกว่านั้นเมื่อมีการผลิตวัคซีนได้ คนที่ยากจนที่สุดในประเทศที่จนที่สุดของโลกจะไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ แม้แต่ในสหรัฐนักการเมืองบางคนออกมาพูดโดยไร้ความละอายว่าคนจนในสหรัฐอาจเข้าไม่ถึงวัคซีนเมื่อมีการผลิตเสร็จแล้ว

เราต้องบอกนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักว่าทฤษฏี “อุปสงค์คานอุปทาน พ่อมึงสิ!!!”

ในประเทศพัฒนาอย่างอิตาลี่และสเปน ที่มียอดคนเสียชีวิตสูงมากในเดือนมีนาคม นโยบายรัดเข็มขัดของนักการเมืองที่ชื่นชมตลาดเสรี นำไปสู่การทำลายระบบสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ในอังกฤษก็เช่นกัน สาเหตุหลักมาจากการที่นักการเมืองโยนภาระหนี้เอกชนและรัฐ ที่มาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี2008 ลงบนสันหลังกรรมาชีพ ทั้งในแง่ของการตัดค่าจ้างและการตัดการบริการทางสังคม และวิกฤษเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นแต่แรกจากระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยม (ดูบทความเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf )

Covid crash

หลังจากที่เกิดการระบาดของโควิด และมีการปิดประเทศและสถานที่ทำงาน คาดว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ร้ายแรงกว่าปี 2008 อีก

ในประเทศยากจนของโลก ประชาชนยากจนเพราะองค์กรอย่างเช่นไอเอ็มเอฟ บังคับให้รัฐบาลรัดเข็มขัดและรีดไถประชาชน เพื่อจ่ายหนี้ให้ธนาคารต่างๆ ในตะวันตก คาดว่ามีการโอนเงินและทรัพยากรไปสู่ประเทศพัฒนาอย่างมาก และทุกอย่างที่ทำไป ทำโดยอ้างความชอบธรรมจากแนวกลไกตลาดเสรี ยิ่งกว่านั้นประเทศยากจนที่สุดมักจะถูกละเลยจากการลงทุนในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้ยิ่งยากจนลง และถ้าแค่นี้ไม่พอ ระบบชนชั้นที่ดำรงอยู่ทั่วโลกแปลว่าพวกนักการเมือง คนใหญ่คนโต และนายทุนพื้นเมืองในประเทศเหล่านั้น ใช้อำนาจกอบโกยทรัพยากรมาเป็นของตนเองในขณะที่คนจนกำลังจะตาย

PRI_147654490
บางคนเสพสุข

1402467731-pic0-o
บางคนติดคุก

 

33-10-728x410
ภาพจากบทความในมติชน

แม้แต่ในไทย คนใหญ่คนโตเสพสุขกับเมียน้อยและคนใช้ในโรงแรมห้าดาวราคาแพง และพวกทหารก็พยายามกอบโกยเงินทองต่อไปและพยายามซื้ออาวุธ ในขณะที่คนธรรมดามีวิกฤต มันพิสูจน์ว่าประชาชนต้องลุกขึ้นโค่นล้มพวกปรสิตเหล่านี้ให้หมดไป

เราเรียกพวกข้างบนว่าเป็น “ปรสิต” ได้ เพราะเมื่อเกิดวิกฤตโควิด เราเห็นชัดว่าพวกนี้ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับสังคมเลย คนที่ทำประโยชน์จริงในสังคมคือ พยาบาล หมอ พนักงานขนส่ง คนทำความสะอาด พนักงานในร้านค้าที่ขายของจำเป็น และชาวไร่ชาวนาที่ผลิตอาหารให้เรากิน ฯลฯ กรรมาชีพกับเกษตรกรนั้นเอง

6004723_031120-kgo-health-care-workers-coronavirus-img_Image_00-00-47,17

house-keeper1

ในสมัยก่อนเวลาเราชาวมาร์คซิสต์เสนอว่ากรรมาชีพสร้างทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ (ดู ทฤษฏีมูลค่าแรงงาน https://bit.ly/2zozGbS ) พวกกระแสหลักจะชอบสอนเราว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องไปกราบไหว้นายทุนและเครื่องจักรแทน แต่ตอนนี้เราเห็นว่านายทุนและเครื่องจักร และชนชั้นปกครองไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับเราเลย กรรมาชีพต่างหากที่สร้างโลก

ตัวอย่างของความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลทหารที่เป็นเผด็จการรัฐสภาไทยปัจจุบัน เห็นได้จากการที่มาตรการต่างๆ เช่นการแจกเงินให้คนจน หรือการปิดสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น รัฐบาลประยุทธ์กระทำไปด้วยความโง่เขลาอย่างถึงที่สุด เพราะนอกจากเงินที่แจกไป ไม่พอและไม่ทั่วถึงทุกคนแล้ว มาตรการแบบนี้นำไปสู่การแย่งกันเข้าคิวแบบแออัด เพื่อลงทะเบียนหรือขึ้นรถกลับต่างจังหวัด ซึ่งจะนำไปสู่การระบาดของโควิดมากขึ้น ทั้งนี้เพราะไม่มีการวางแผนอะไรเลยเพื่อปกป้องประชาชน

QATYrz-1

dFQROr7oWzulq5FZUErgPS6GRV0vjJAaHUkkRyA2rDXFtleUJhUHEseCQzOZAAqjNZQ

และอย่าลืมว่าเมื่อวิกฤตโควิดจบลง ชนชั้นปกครองทั่วโลกจะพยายามไถเงินจากเราเพื่ออุดหนี้รัฐบาล แทนที่จะเก็บภาษีจากกลุ่มทุนและคนรวย

บทเรียนสำคัญคือ ในเมื่อพวกนั้นไม่สนใจปกป้องเรา เราต้องรวมตัวกันเพื่อปกป้องเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง โดยใช้ขบวนการเคลื่อนไหวในสังคมกับชุมชน และสหภาพแรงงาน

ที่มาของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด

ไวรัสโคโรน่าที่ระบาดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้มีชื่อทางการว่า “severe acute respiratory syndrome coronavirus 2” (SARS-CoV-2) และไข้หวัดที่ติดจากไวรัสนี้เรียกว่า โควิด19 หรือ coronavirus disease (COVID-19)

ไวรัสโคโรน่ามีตามธรรมชาติในสัตว์อย่างเช่นค้างคาว แต่สามารถกระโดดไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้นเมื่อระบบเกษตรอุตสาหกรรมของทุนนิยมตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก ในจีนเริ่มมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเลี้ยงและจับสัตว์ป่า เพื่อนำมาขายในตลาดสดมากขึ้น ถ้าตลาดสดขายค้างคาวตัวเป็นๆ ขี้ข้างคาวที่เต็มไปด้วยไวรัสจะสัมผัสกับอาหารอื่นและมนุษย์ได้ แต่มันไม่ใช่แค่ปัญหาของจีน

ก่อนหน้านี้ไข้หวัดนก และไข้หวัดหมู ซึ่งเกิดจากไวรัสอีกประเภท ได้ระบาดบ่อยขึ้นในประเทศตะวันตก เพราะมีการเลี้ยงไก่และหมูในลักษณะอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเชื้อชั้นดี

ในกรณีไข้หวัดซาร์ ( SARS – severe acute respiratory syndrome) และ ไข้หวัดเมอร์ส (MERS – Middle East respiratory syndrome ) ซึ่งเคยระบาดจนเป็นข่าว มันเป็นไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรน่าเช่นเดียวกับโควิด ไข้หวัดซาร์ แพร่สู่มนุษย์ผ่านแมวป่าในตลาดที่ติดเชื้อจากค้างคาว และไวรัสเมอร์ส ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาวแล้วติดอูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ตอนนี้ในตะวันออกกลางมีการเลี้ยงอูฐแบบอุตสาหกรรมเช่นกัน

การที่ระบบเกษตรอุตสาหกรรมขยายเข้าไปสู่แหล่งธรรมชาติ ยิ่งทำให้สัตว์ป่าเข้ามาสัมผัสมนุษย์มากขึ้น เช่นในกรณีโรคอีโบลา การขยายสวนสวนปาล์มในอัฟริกา ทำให้ค้างคาวเข้ามาอาศัยในต้นปาล์มจนมนุษย์ได้รับเชื้อไวรัสอีโบลา

เราจะเห็นได้ว่าระบบทุนนิยมตลาดเสรีที่ทำให้มีการขยายของระบบเกษตรอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนโลกเสี่ยงกับโรคระบาดร้ายแรงมากขึ้น

ปัจจัยอื่นของทุนนิยมที่ทำให้โรคระบาดร้ายแรงเกิดขึ้น

แต่ไหนแต่ไร การขยายตัวของระบบทุนนิยมไปทั่วโลก ภายใต้กลไกตลาดเสรีและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ทำให้เกิดสภาพเมืองขนาดยักษ์ที่เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองกรรมาชีพจำนวนมาก สภาพแออัดของเมืองต่างๆ เช่นในจีน อินเดีย ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ทำให้เชื้อไวรัสสามารถกระโดดระหว่างคนจำนวนมาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสภาพที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำที่ดำรงอยู่ทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญของการแพร่ระบาดของโรค

495E72401F6942B59E755B13168BCD1E

นอกจากที่อยู่อาศัยแล้ว ภายใต้ระบบทุนนิยม นักการเมืองกระแสหลักและเผด็จการต่างๆ ทั่วโลก มองว่าการใช้เงินรัฐเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ สำคัญน้อยกว่าการอุ้มกำไรกลุ่มทุน ค่าใช้จ่ายทางทหาร หรือค่าใช้จ่ายสำหรับอภิสิทธิ์ชน ดังนั้นระบบสาธารณสุขทั่วโลกไม่พร้อมที่จะรับมือกับวิกฤตโควิด

อีกปัจจัยหนึ่งของทุนนิยมที่ทำให้โรคระบาดแรงขึ้นคือลัทธิทางการเมืองแบบล้าหลังอนุรักษ์นิยม ที่มองว่าชีวิตคนธรรมดาไร้ค่าเมื่อเทียบกับชีวิตของชนชั้นปกครอง ในแง่หนึ่งเราเห็นจากความรุนแรงที่รัฐบาลต่างๆ ใช้เพื่อควบคุมคนจน เช่นการฉีกน้ำผสมคลอรีนใส่คนงานจากต่างจังหวัดในอินเดีย เหมือนกับเป็นผักเป็นปลา หรือการใช้ความรุนแรงเพื่อควบคุมประชาชนในอัฟริกาทางใต้

safe_image

ในอังกฤษนักการเมืองล้าหลังบางคนมองว่าถ้าคนแก่ตายจากโควิดก็จะเป็นประโยชน์เพราะลดภาระต่อสังคม

ในอดีตลัทธิการเมืองแบบอนุรัษ์นิยมที่ชวนให้คนเกลียดชังเกย์ นำไปสู่การเพิกเฉยของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกต่อการระบดของเอดส์ ซึ่งทำให้โรคนี้ร้ายแรงขึ้นสำหรับทั้งชายและหญิง

แนวความคิดลัทธิอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นความคิดทางการเมืองที่ออกแบบเพื่อให้ปกป้องระบบทุนนิยมด้วยการสร้างค่านิยมต่างๆ (ดูการกดขี่ทางเพศ https://bit.ly/2QQr5VX )

สังคมนิยมคือทางออก

เราจะเห็นว่าระบบทุนนิยมพาเราไปสู่วิกฤตร้ายแรงเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตโลกร้อน และระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดแก้วิกฤตเหล่านี้ไม่ได้เลย ตรงกันข้าม ระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดสร้างปัญหาแต่แรก

คาร์ล มาร์คซ์ เคยเขียนไว้ในหนังสือว่าด้วยทุนเล่ม3 ว่า “อุปสรรค์หลักของระบบทุนนิยมคือทุน” พูดง่ายๆ กลไกภายในของระบบทุนนิยมขัดแย้งกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของมนุษย์ในระยะยาว (ดู ว่าด้วยทุน https://bit.ly/2iWRQtY )

การรื้อถอนปฏิวัติระบบทุนนิยมเพื่อสร้างสังคมนิยมเท่านั้นที่จะสร้างความอยู่ดีกินดีให้พลเมืองทั่วโลกและยับยั้งภัยจากการระบาดของโรคร้ายแรง ภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยจากสงครามจักรวรรดินิยม และภัยจากวิกฤตโลกร้อน

สังคมนิยมที่พูดถึงนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกับระบบเผด็จการในเกาหลีเหนือ หรือระบบเผด็จการ “ทุนนิยมโดยรัฐ”ที่เคยมีในจีน รัสเซีย หรือคิวบา ก่อนที่ประเทศเหล่านี้เปลี่ยนไปใช้แนวกลไกตลาด (ดู ปัญหาของลัทธิสตาลินในขบวนการคอมมิวนิสต์สากลและผลกระทบต่อพรรคไทย https://bit.ly/2Mj3bSy  และ  สังคมนิยมในทัศนะของมาร์คซ์ https://bit.ly/2zoAiy5 )

สังคมนิยมคือระบบที่พลเมืองทั่วไปร่วมกันบริหารสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่

ก่อนที่จะถึงจุดนั้นเราต้องมีข้อเรียกร้องระยะสั้นให้รัฐหันมาใช้ทรัพยากรและมาตรการต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับคนชั้นล่างเพื่อปกป้องประชาชนจากโควิด (ดู https://bit.ly/2UA37Cx ) และเราต้องต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ เพราะรัฐบาลนี้ไร้ความสามารถในการปกป้องประชาชน

ข้อเรียกร้องระยะกลางควรจะเป็นเรื่องการสร้างรัฐสวัสดิการที่ครบวงจรผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าและการตัดงบประมาณทหาร

แต่ในระยะยาวต้องมีการวางแผนสังคม เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ สร้างงานภายใต้มาตรฐานที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคนและลดชั่วโมงการทำงาน ยึดบริษัทเอกชนทุกแห่งมาเป็นของส่วนรวมภายใต้การบริหารของกรรมาชีพเอง ยกเลิกระบบเกษตรอุตสาหกรรม ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน ฯลฯ ซึ่งถ้าจะเป็นจริงได้ต้องมีขบวนการปฏิวัติที่เชื่อมโยงพรรคปฏิวัติกับมวลชนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

Against Dictatorship

เราจะเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ถ้าเรามัวแต่หมอบคลาน

หลังวิกฤตโควิด เราจะยอมเดินกลับไปสู่สังคมเก่าเดิมๆ เหมือนถูกจูงแบบวัวกับควายจริงหรือ?

นักสหภาพแรงงานกับไวรัสโคโรน่า

ใจ อึ๊งภากรณ์

ไวรัสโคโรน่าที่ระบาดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้มีชื่อทางการว่า “severe acute respiratory syndrome coronavirus 2” (SARS-CoV-2) และไข้หวัดที่ติดจากไวรัสนี้เรียกว่า coronavirus disease (COVID-19) [ดู https://bit.ly/38swwC6 ]

nn_mal_coronavirus_spreads_to_US_200121_1920x1080.focal-760x428

SARS-CoV-2 เป็นไวรัสพันธุ์ใหม่ที่พึ่งเริ่มแพร่หลายระหว่างมนุษย์ เดิมมาจากสัตว์ป่าที่นำมาขายร่วมกับเนื้อสัตว์อื่นๆ ในตลาดสดที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน โคโรน่าไวรัสเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัตว์ และจะไม่ลามไปถึงมนุษย์ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่นเมื่อมีการแปรพันธุ์ในสัตว์ป่าแล้วถูกขายแบบผิดกฏหมายในตลาดสด นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าค้างคาวอาจมีส่วนสำคัญในกรณีไวรัสชนิดนี้ แต่อาจมีสัตว์ชนิดอื่นที่รับเชื้อจากค้างคาวและมาแพร่ให้มนุษย์อีกที

ไข้หวัดซาร์ ( SARS – severe acute respiratory syndrome) และ ไข้หวัดเมอร์ส (MERS – Middle East respiratory syndrome ) ซึ่งเคยระบาดจนเป็นข่าว เป็นไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรน่าเช่นกัน  ไข้หวัดซาร์ แพร่สู่มนุษย์ผ่านแมวป่าที่ติดเชื้อจากค้างคาว และไวรัสเมอร์ส ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาวแล้วติดอูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ

คาดว่าอัตราการตายจากการป่วยเป็น COVID-19 อยู่ที่ประมาณ 2% ของผู้ป่วย ซึ่งสองเท่าอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ผู้ที่เสี่ยงตายมากที่สุดคือคนที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวานและมีอายุสูง ในบางกรณีคนที่อายุไม่มากอาจตายจากการที่เขามีระบบต้านทานเชื้อที่แรงเกินไป ดูเหมือนเด็กไม่ค่อยติด

อัตราการตายจากไข้หวัดซาร์สูงกว่าคือ 10% ของผู้ป่วย และไข้หวัดเมอร์สสูงถึง 30% แต่ COVID-19 แพร่ระบาดง่ายกว่า

เราไม่ควรจะกลัวเกินเหตุจนเตรียมตัวไม่ได้ ที่สำคัญคือควรเลือกอ่านสื่อที่ไว้ใจได้และมีคุณภาพ แทนที่จะตกใจกับข่าวปลอมในโซเชียล์มีเดีย คาดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหนักกว่าหวัดธรรมดา แต่ถ้าใครมีอาการหนักในแง่ของการหายใจด้วยความยากลำบาก และคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นคนอายุสูง จะต้องเข้าโรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในการหายใจ

191217-hand-washing-stock-cs-906a_f4b26951f71188739ce7617acf4cb093.fit-760w

วิธีป้องกันการระบาดของไข้หวัดคือการรักษาความสะอาด ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเวลาถึงที่ทำงาน กลับบ้าน หรือก่อนกินอะไร ควรปิดปากเวลาไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชูหรือกระดาษชำระ ใช้กระดาษแล้วควรทิ้งทันที ก่อนล้างมือไม่ควรเอานิ้วแตะปาก ตา หรือจมูก พยายามไม่เข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย การใส่หน้ากากจะช่วยบ้างแต่ป้องกันจริงๆ ไม่ได้

เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ไม่มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อไวรัส สิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดในการฆ่าไวรัสคือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราตามธรรมชาติ และการกินยาลดไข้ธรรมดา อย่างไรก็ตามถ้าเป็นไข้หวัดแล้วเกิดโรคแทรกเช่นปอดอักเสบที่มาจากเชื้อบักเตรี ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์

ท่าทีของนักสหภาพแรงงานต่อปัญหาไข้หวัดโคโรน่า

  1. สหภาพแรงงานควรเรียกร้องให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าอย่างตรงไปตรงมา ข้อมูลต้องมีมาตรฐานวิทยาศาสตร์และเข้าใจง่าย เพื่อให้คนป้องกันตัวได้ นอกจากนี้รัฐบาลควรเปิดศูนย์รับสายโทรศัพท์พิเศษ เพื่อให้ประชาชนปรึกษาเจ้าหน้าที่อนามัยได้ รัฐบาลต้องออกมาอธิบายว่าได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับไข้หวัดอย่างไร เช่นรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการในโรงพยาบาลต่างๆ อุปกรณ์สำหรับตรวจพันธุ์ไวรัส อุปกรณ์สำหรับการป้องกันเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล อุปกรณ์สำหรับการรักษาคนไข้และห้องพิเศษตามที่ต่างๆ และโครงการการอบรมเจ้าหน้าที่
  2. สหภาพแรงงานพนักงานสาธารณสุขต้องเรียกร้องให้โรงพยาบาลทุกแห่งมี “พี พี อี” (PPE) ซึ่งประกอบไปด้วยหน้ากากที่ปิดหน้าทั้งหมด หน้ากากปิดจมูก เสื้อคลุมยาว และถุงมือ เพราะแค่หน้ากากอนามัยธรรมดาใช้ทำอะไรไม่ได้    c9c722d89862494da86212e6863e5578_18
  3. เราต้องไม่มีอคติต่อเพื่อนแรงงานข้ามชาติ แรงงานไทยที่กลับจากที่อื่น หรือนักท่องเที่ยว เราต้องต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติที่แบ่งแยกขบวนการแรงงานและชนชั้นกรรมาชีพ และเบียงเบนประเด็นจากการที่รัฐบาลไม่ทำหน้าที่ปกป้องประชาชน
  4. ถ้ามีวิกฤตการระบาดของไข้หวัด รัฐบาลควรออกประกาศให้โรงพยาบาลทุกแห่งรับคนป่วยด้วยไข้หวัดในขั้นตอนแรกโดยไม่เลือกปฏิบัติกับคนที่ถือบัตรทองหรือไม่มีเงินจ่าย และมาตรการนี้ควรใช้กับโรงพยาบาลเอกชนและรัฐทั้งหมด
  5. สหภาพแรงงานต้องเรียกร้องกับนายจ้างและรัฐบาล ว่าถ้าใครที่มีไข้และอาการของไข้หวัดเขาไม่ควรกังวลว่าจะถูกตัดค่าจ้างถ้าไม่ไปทำงาน รัฐบาลต้องมีการปกป้องคนป่วย เพื่อไม่ให้คนป่วยจำใจไปทำงานแล้วแพร่เชื้อ เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับคนทำงานธรรมดา
  6. มาตรการเผด็จการเช่นการปิดเมืองมักไม่มีผลเท่าไร เพราะไม่มีที่ไหนที่ทำได้อย่างจริงจัง และประชาชนในเมืองทุกแห่งต้องได้รับอาหารและของใช้ประจำวัน บ่อยครั้งการใช้มาตรการแบบนี้กระทำไปเพื่อให้รัฐบาล “ดูดี” เพราะสร้างภาพความเข้มงวด วิธีที่ดีกว่าคือการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ ความโปร่งใสของรัฐบาล และการให้ข้อมูลกับประชาชน พลเมืองจะได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันลดความร้ายแรงของโรคและการระบาด ฉนั้นเราควรรณรงค์ให้มีการสร้างบรรยากาศที่ชักชวนให้คนป่วยไม่ต้องกลัวหรือหลบหนี เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดี

ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้การระบาดของโรคภัยไข้เจ็บหนักขึ้น และคนที่เป็นเหยื่อมักจะเป็นคนจนและคนทำงานธรรมดา สภาพบ้านที่อยู่อาศัยที่แออัด การจำกัดงบประมาณในระบบสาธารณสุขเพื่อเพิ่มงบทหารและงบสำหรับคนชั้นสูง และการที่บริษัทยาข้ามชาติไม่ยอมลงทุนล่วงหน้าในวัคซีนเพราะคิดแต่เรื่องกำไร ล้วนแต่เป็นปัญหาที่มาจากระบบทุนนิยม

Medical business or prices concept. Making money in pharmaceutical industry or high medical expenses. Also drug dealing, dealer or trade. Dollar sign written with pills spilled from a medicine bottle.

ในระยะยาว เราต้องต่อสู้เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการและความเท่าเทียม สู้เพื่อระบบสังคมนิยม ซึ่งแน่นอนต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ไม่สามารถปกป้องพลเมืองจากภัยไข้หวัดหรือภัยจากฝุ่นละอองเพราะมีแนวคิดคับแคบอนุรักษ์นิยมแบบทหาร ชอบแต่จะสั่งแต่คิดอะไรใหม่ๆไม่เป็น และไม่ไว้ใจประชาชน ดังนั้นนักสหภาพแรงงานต้องเข้าร่วมกับขบวนการไล่ประยุทธ์

 

ไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น (WN-CoV) กับท่าทีของนักสังคมนิยม

ใจ อึ๊งภากรณ์

ไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น (WN-CoV) เป็นไวรัสพันธุ์ใหม่ที่พึ่งเริ่มแพร่หลายระหว่างมนุษย์ เดิมมาจากสัตว์ป่าที่นำมาขายร่วมกับเนื้อสัตว์อื่นๆ ในตลาดสดที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ลักษณะของไวรัสใหม่นี้ การระบาด และความร้ายแรง ยังไม่ชัดเจน แต่เราไม่ควรจะกลัวเกินเหตุ ที่สำคัญคือควรเลือกอ่านสื่อที่ไว้ใจได้และมีคุณภาพ แทนที่จะตกใจกับข่าวปลอมในโซเชียล์มีเดีย

โคโรน่าไวรัสเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัตว์ และจะไม่ลามไปถึงมนุษย์ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่นเมื่อมีการแปรพันธุ์ในสัตว์ป่าแล้วถูกขายแบบผิดกฏหมายในตลาดสด นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าค้างคาวมีส่วนสำคัญในกรณีไวรัสชนิดนี้

nn_mal_coronavirus_spreads_to_US_200121_1920x1080.focal-760x428

ไข้หวัดซาร์ ( SARS – severe acute respiratory syndrome) และ ไข้หวัดเมอร์ส (MERS – Middle East respiratory syndrome ) ซึ่งเคยระบาดจนเป็นข่าว เป็นไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรน่าเช่นกัน

ไข้หวัดซาร์ แพร่สู่มนุษย์ผ่านแมวป่าที่ติดเชื้อจากค้างคาว และไวรัสเมอร์ส ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาวแล้วติดอูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ

นอกจากนี้โคโรน่าไวรัสพันธุ์อื่นในมนุษย์ทำให้เป็นหวัดธรรมดาที่ไม่ร้ายแรง

191217-hand-washing-stock-cs-906a_f4b26951f71188739ce7617acf4cb093.fit-760w

วิธีป้องกันการระบาดของไข้หวัดคือการรักษาความสะอาด ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ควรปิดปากเวลาไอหรือจาม และพยายามไม่เข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย การใส่หน้ากากจะช่วย

200122213126-coronavirus-fears-markets-02-exlarge-169

เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ไม่มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อไวรัส สิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดในการฆ่าไวรัสคือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราตามธรรมชาติ และการกินยาลดไข้ธรรมดา อย่างไรก็ตามถ้าเป็นไข้หวัดแล้วเกิดโรคแทรกเช่นปอดอักเสบ ที่มาจากเชื้อบักเตรี ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ นอกจากนี้ถ้าใครมีอาการหนักในแง่ของการหายใจด้วยความยากลำบาก และคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นคนอายุสูง จะต้องเข้าโรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในการหายใจ

tdy_sat_jmf_coronavirus_200125_1920x1080.focal-760x428

คนที่มีอาการไม่ร้ายแรง ควรหลีกเลี่ยงการไปหาหมอหรือเข้าโรงพยาบาลถ้าเป็นไปได้ เพราะจะทำให้วิกฤตโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในชุมชน และถ้าป่วยไม่ควรใช้ระบบขนส่งมวลชน

ท่าทีของนักสังคมนิยมต่อปัญหาไข้หวัด

  1. เราควรเรียกร้องให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น ข้อมูลต้องมีมาตรฐานวิทยาศาสตร์และเข้าใจง่าย เพื่อให้คนป้องกันตัวได้ นอกจากนี้รัฐบาลควรเปิดศูนย์รับสายโทรศัพท์พิเศษ เพื่อให้ประชาชนปรึกษาเจ้าหน้าที่อนามัยได้Mental-health-helpline
  2. เราไม่ควรมองนักท่องเที่ยวจีนด้วยอคติ หรือการเหยียดเชื้อชาติ
  3. เราควรเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาอธิบายว่าได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับไข้หวัดอย่างไร เช่นรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการในโรงพยาบาลต่างๆ อุปกรณ์สำหรับตรวจพันธุ์ไวรัส อุปกรณ์สำหรับการป้องกันเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล อุปกรณ์สำหรับการรักษาคนไข้และห้องพิเศษตามที่ต่างๆ โครงการการอบรมเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์เพื่อให้ประชาชนป้องกันตนเอง เช่นหน้ากากและสิ่งจำเป็นสำหรับการล้างมือ
  4. ถ้ามีวิกฤตการระบาดของไข้หวัด รัฐบาลควรออกประกาศให้โรงพยาบาลทุกแห่งรับคนป่วยด้วยไข้หวัดในขั้นตอนแรกโดยไม่เลือกปฏิบัติกับคนที่ถื่อบัตรทองหรือไม่มีเงินจ่าย และมาตรการนี้ควรใช้กับโรงพยาบาลเอกชนและรัฐ
  5. มาตรการการปิดเมืองมักไม่มีผล เพราะไม่มีที่ไหนที่ทำได้อย่างจริงจัง และประชาชนในเมืองทุกแห่งต้องได้รับอาหารและของใช้ประจำวัน มันเป็นการใช้มาตรการเผด็จการที่แค่เพิ่มความหวาดกลัว บ่อยครั้งมาตรการแบบนี้กระทำไปเพื่อให้รัฐบาล “ดูดี” เพราะสร้างภาพความเข้มงวด แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ลดความร้ายแรงของโรคแต่อย่างใด การปิดเมืองต่างๆ ในจีนไม่ได้ทำให้โรคหยุดระบาด วิธีที่ดีกว่าคือการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ ความโปร่งใสของรัฐบาล และการให้ข้อมูลกับประชาชน พลเมืองจะได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันลดความร้ายแรงของโรคและการระบาด บางคนที่ติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้ออาจไม่มีไข้ ดังนั้นการวัดไข้ที่ด่านต่างๆ จะมีประสิทธิภาพจำกัด ฉนั้นเราควรรณรงค์ให้มีการสร้างบรรยากาศที่ชักชวนให้คนป่วยไม่ต้องกลัวหรือหลบหนี เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดี
  6. ใครที่มีไข้และอาการของไข้หวัดไม่ควรกังวลว่าจะถูกตัดค่าจ้างถ้าไม่ไปทำงาน รัฐบาลต้องมีการปกป้องคนป่วย เพื่อไม่ให้คนป่วยจำใจไปทำงานแล้วแพร่เชื้อ

ในระยะยาว เราต้องต่อสู้เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการและความเท่าเทียม ซึ่งแน่นอนต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ไม่สามารถปกป้องพลเมืองจากภัยไข้หวัดหรือภัยจากฝุ่นละอองเพราะมีแนวคิดคับแคบอนุรักษ์นิยมแบบทหาร ชอบแต่จะสั่งแต่คิดอะไรใหม่ๆไม่เป็น และไม่ไว้ใจประชาชน

 

7 เหตุผลที่ประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

rotten
เราต้องการให้ประมุข “หมาเน่า” เป็นสัญลักษณ์ของสังคมไทยหรือ?

thaiking-728x486ก
วชิราลงกรณ์ทำลายภาพลักษณ์ของสังคมไทย

พวกแก๊งเผด็จการทหาร ที่อ้างว่าตนจะปกป้องระบบกษัตริย์ด้วยชีวิต เช่นนายประยุทธ์ นายเหรียญทอง นายประวิตร และนายอภิรัชต์ กำลังปกป้องประมุข “หมาเน่า” ที่มีพฤติกรรมเลวทราม แล้วพวกนี้ยังหน้าด้านอ้างว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็น “ศูนย์รวมดวงใจของประชาชน” และเป็น “สัญลักษณ์ของชาติไทย” เราจะยอมได้อย่างไร?

Defend Monarchy
แก๊งปกป้องประมุข “หมาเเน่า”

ถ้าประเทศไทยไม่มีกษัตริย์ สังคมจะดีขึ้นเพราะ

  1. เราจะประหยัดงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาพัฒนาชีวิตประชาชนทุกคนได้ เพราะเรายกเลิกสถาบันที่ราคาแพงแต่ไม่มีประโยชน์สำหรับประชาชน เราสามารถนำทุนต่างๆ จากทรัพย์สินกษัตริย์มาใช้สร้างความมั่นคงในชีวิตสำหรับพลเมืองทุกคน ผ่านการสร้างรัฐสวัสดิการ และการพัฒนาโรงเรียนและสถานพยาบาล อย่าลืมว่าทรัพย์สินทั้งหมดนี้กษัตริย์และชนชั้นปกครองไทยเคยปล้นมาจากการทำงานของประชาชนในอดีต เพราะพวกราชวงศ์ไม่เคยทำงานเลย
  2. ทหารจะไม่สามารถนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นหน้ากากบังหน้าเพื่อทำลายประชาธิปไตย เพราะทุกครั้งที่ทหารปล้นสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยไปจากเราผ่านรัฐประหาร มันอ้างเสมอว่ามันทำ “เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์” และทุกครั้งที่ทหารทำรัฐประหารพวกนายพลมักจะกอบโกยทรัพยากรที่เป็นของประชาชนทุกคนเข้ากระเป๋าตนเอง การยกเลิกกษัตริย์ต้องทำควบคู่กับการลดบทบาททหารในการเมืองและการตัดงบทหารเพื่อนำมาพัฒนาชีวิตของประชาชนทุกคนอีกด้วย
  3. เราจะเริ่มสร้างมาตรฐานในระบบประชาธิปไตย และในระบบยุติธรรมได้ เพราะเราสามารถสร้างวัฒนธรรมการเป็นพลเมืองที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีการหมอบคลานให้ใครต่อไป อย่าลืมว่าวัตถุประสงค์สำคัญของการคงไว้สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศคือการกล่อมเกลาให้คนหลงเชื่อว่าบางคน “เกิดสูง” และควรมีอภิสิทธิ์ ในขณะที่พลเมืองทั้งชาติ “เกิดมาต่ำ”
  4. เราจะมีเสรีภาพในการใช้ปัญญากับการแสดงออก และร่วมกันคิดเพื่อสร้างสังคมใหม่ เพราะจะต้องยกเลิกกฏหมายแบบ 112 ที่ปิดปากประชาชน ในสังคมใหม่ผู้แทนต้องมาจากการเลือกตั้ง และผู้ที่ถือตำแหน่งสาธารณะ ต้องถูกวิจารณ์ตรวจสอบได้เสมอ
  5. ภาพลักษณ์ของสังคมไทยจะดีขึ้น ดูเป็นประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เคารพเพื่อนมนุษย์ แทนที่เราจะมีประมุขแบบวชิราลงกรณ์ที่โลภมาก เห็นแก่ตัว และมีพฤติกรรมเลวทรามต่อคนอื่น โดยเฉพาะสตรี ซึ่งทำให้สังคมไทยกลายเป็นอะไรที่น่าขายหน้าในสายตาคนทั่วโลก นอกจากนี้ประชาชนจะไม่ยากลำบากจากการที่รถติดเนื่องจากขบวนเสด็จ
  6. เราสามารถนำวังต่างๆ มาเป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์สำหรับคนจน เช่นทำเป็นบ้านพักคนชรา หรือสถานที่ตากอากาศราคาถูกสำหรับคนทั่วไปเป็นต้น

thaiking-728x486ก
วชิราลงกรณ์ทำลายภาพลักษณ์ของสังคมไทย

แต่แค่การพูดหรือเขียนว่า “ประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ” จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่เกิดโดยอัตโนมัติเหมือนดินฟ้าอากาศ มันต้องอาศัยการจัดตั้งทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของมวลชนเสมอ เราต้องร่วมกันสร้างกระแสเพื่อให้ไทยเป็นประชาธิปไตยแท้ เราต้องหนุนกระแสที่กำลังขยายตัวในหมู่คนที่ต้องการให้ไทยเป็นสาธารณรัฐ

คนที่มัวแต่หมอบคลานต่อผู้ใหญ่ จะคิดว่าผู้ใหญ่ในสังคมสูงส่งใหญ่โตเหลือเกิน แต่พอเราลุกขึ้นยืนเราจะมั่นใจว่าไม่มีใครดีกว่าหรือสูงเรา และประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน!

อย่างไรก็ตาม การศึกษาประเทศอื่นทั่วโลก เช่นฝรั่งเศสหรือสหรัฐ พิสูจน์ว่าการที่ไทยจะเป็นสาธารณรัฐ เพียงแต่เป็นขั้นตอนหนึ่งในการสร้างประชาธิปไตยแท้ เพราะเราต้องสู้ต่อไปเพื่อยกเลิกความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และปัญหาต่างๆ ของระบบทุนนิยม เช่นการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือสงครามหรือการเกิดปัญหาโลกร้อน และการที่ระบบนี้เป็นเผด็จการของนายทุนในเรื่องเศรษฐกิจ เพราะประชาธิปไตยแท้คือระบบสังคมนิยม

[อ่านเพิ่มว่าทำไมเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่เคยมีในรัสเซียหรือจีนไม่ใช่สังคมนิยม….สังคมนิยมในทัศนะของมาร์คซ์ https://bit.ly/2zoAiy5 ]

 

การทำลายมาตรฐานการจ้างงานในเยอรมัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปัญหาความเสื่อมในคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมัน อธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับเยอรมันได้ มันอธิบาย “ความสำเร็จ” ในการส่งออกซึ่งสร้างกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มทุนเยอรมัน แต่เกิดขึ้นบนสันหลังกรรมาชีพ มันอธิบายว่าทำไมธนาคารต่างๆ ของเยอรมันพร้อมจะปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศที่ยากจนกว่าในยุโรป เช่นกรีซ เพื่อระบายสินค้าส่งออกของเยอรมัน มันอธิบายว่าทำไมหลังจากนั้น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 รัฐบาลเยอรมันเป็นหัวหอกในการบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดในกรีซ เพื่อเอาเงินกู้นั้นคืนมา ซึ่งทำให้ประชาชนกรีซต้องยากลำบาก และล่าสุดมันอธิบายว่าทำไมในสังคมเยอรมัน ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจกับพรรคกระแสหลัก และบางคนพร้อมจะเชื่อการเป่าหูที่เบี่ยงเบนประเด็นไปสู่การโทษผู้ลี้ภัย คนมุสลิม และคนต่างชาติที่ทำงานในเยอรมัน ซึ่งมีผลทำให้พรรคนาซีเยอรมันกลับมาได้คะแนนเสียงในรัฐสภาเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลก

AfD+hitler

ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้สงครามเย็น เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองซีก เยอรมันตะวันตกภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ ฝรั่งเศส กับอังกฤษ และเยอรมันตะวันออกภายใต้อิทธิพลรัสเซีย

ในสมัยนั้นการเมืองกระแสหลักในเยอรมันตะวันตกส่งเสริมให้รัฐมีบทบาทสูง มีการสร้างระบบรัฐสวัสดิการและระบบแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้ทุนนิยมขยายตัวและพัฒนาสังคมภายใต้สันติภาพทางชนชั้น รายได้และมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมันก็ดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนั้นนายทุนก็สามารถเพิ่มกำไรและปริมาณการส่งออกได้ มันสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือกันระหว่างสหภาพแรงงานกับนายทุนจนผู้นำสหภาพเลิกสนใจการต่อสู้ผ่านการนัดหยุดงาน

แต่พอถึงปลายทศวรรษที่ 70 ระบบเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่วิกฤตทุนนิยมเรื้อรังท่ามกลางการลดลงของอัตรากำไร ดังนั้นทั่วโลกมีการรื้อฟื้นแนวเสรีนิยมกลไกตลาดและแนวคิดที่ต่อต้านบทบาทรัฐในเศรษฐกิจ เช่นการต่อต้านรัฐสวัสดิการ และการต่อต้านมาตรฐานการจ้างงานที่ดี ทั้งนี้เพื่อพยายามกู้อัตรากำไรให้นายทุน [ดู https://bit.ly/2tWNJ3V]ในยุคทศวรรษที่ 80 และ 90 เริ่มมีการตัดงบประมาณในรัฐสวัสดิการและการส่งเสริมการขายรัฐวิสาหกิจ อัตราการว่างงานค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่สภาพชีวิตของคนธรรมดาในเยอรมันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต

พร้อมกันนั้นระบบเผด็จการสตาลินก็ล่มสลายในรัสเซียกับยุโรปตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมันเป็นประเทศเดียวหลัง 1989 และทั้งๆ ที่การรวมประเทศทำให้รัฐเยอรมันต้องลงทุนมหาศาลในการพัฒนาเยอรมันตะวันออกให้มีมาตรฐานเท่ากับตะวันตก แต่กลุ่มทุนเยอรมันได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตสู่ภูมิภาคที่มีค่าจ้างต่ำในเยอรมันตะวันออกกับส่วนอื่นของอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ ดังนั้นกลุ่มทุนเยอรมันสามารถประคองอัตราการส่งออกได้ แต่อัตราการว่างงานในเยอรมันซีกตะวันออกสูงมาก เพราะอุตสาหกรรมเก่าจากยุคเผด็จการสตาลินล้มเหลว

Gerhardschroeder
แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์

พอถึงปี 2003 รัฐบาลแนวร่วมระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและพรรคกรีน ภายใต้นายกรัฐมนตรี แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ (Gerhard Schröder) หันหลังให้กับความคิดเดิมที่เน้นรัฐสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ที่ดี เพื่อรับแนวเสรีนิยมมาเต็มๆ และเปิดศึกกับขบวนการแรงงาน เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน การหักหลังชนชั้นกรรมาชีพและรับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดโดยพรรคสังคมนิยมปฏิรูปหรือพรรคแรงงานเกิดขึ้นทั่วยุโรป และมีการแก้ตัวโดยที่นักวิชาการหลายคน[1]โกหกว่าเป็น“แนวทางที่สาม” ระหว่างแนวที่เน้นรัฐกับแนวที่คลั่งตลาด ในความจริงมันเป็นการรับแนวคลั่งตลาดมาเต็มตัว ในอังกฤษรัฐบาลของ โทนี แบลร์ ที่อ้างว่าเป็น “พรรคแรงงานใหม่” ก็ส่งเสริมนโยบายแบบนี้เช่นกัน

ในเยอรมัน แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ เสนอนโยบาย “วาระ2010” (Die Agenda 2010) มีการตัดสวัสดิการต่างๆ แบบถอนรากถอนโคน มีการทำลายกฏหมายที่ปกป้องความมั่นคงของการทำงานเพื่อให้นายจ้างสามารถไล่คนออกง่ายขึ้น และมีการนำระบบรับเหมาช่วงและการจ้างคนงานชั่วคราว มาใช้ในบริษัทต่างๆ ในหลายบริษัทเกือบครึ่งหนึ่งของคนงานเป็นคนงานชั่วคราวที่ไร้สิทธิ์และสวัสดิการที่ดี ในบางกรณีคนงานชั่วคราวได้รับค่าจ้างแค่ครึ่งหนึ่งของคนงานประจำ มีการลดการใช้ระบบเจรจาระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงานในกรรมการลูกจ้างของบริษัทต่างๆ ในปี 2014 แค่ 28% และ 15% ของบริษัทในซีกตะวันตกและตะวันออกได้รับค่าจ้างมาตรฐานที่มาจากการเจรจากับสหภาพแรงงาน นอกจากนี้คนงานจากประเทศอื่นในอียูที่เข้ามาทำงานเกือบจะไม่ได้สวัสดิการอะไรเลย คนงานที่แย่ที่สุดคือคนงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานในสถานที่ทำงาน

german-workers

ท่ามกลางการเปิดศึกกับกรรมาชีพของชนชั้นปกครองเยอรมัน ผู้นำสหภาพแรงงานหมูอ้วนหลายคนที่เคยชินกับการเจรจาแทนการนำการต่อสู้ ก็ยอมจำนนโดยปลอบใจตัวเองและสมาชิกสหภาพว่าอย่างน้อยก็สามารถรักษาผลประโยชน์อะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตามในหลายบริษัทก็มีกรณีที่สหภาพแรงงานพยายามต่อสู้เพื่อเพิ่มมาตรฐานการจ้างงานสำหรับคนงานชั่วคราวในระบบรับเหมาช่วง และคนงานที่มีรายได้ต่ำ เช่นการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน Verdi กับ NGG ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและระบบการศึกษา

GERMANY-US-UNIONS-RETAIL-STRIKE-IT-AMAZON

สรุปแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 90 กรรมาชีพเยอรมันได้ส่วนแบ่งของผลผลิตที่ตัวเองผลิตน้อยลง ทั้งๆ ที่ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนนายทุนได้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมเยอรมันเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในปี 2012 25% ของคนงานเยอรมันมีรายได้ต่ำกว่ารายได้ที่ถือว่าอยู่ในระดับยากจน และในหมู่ลูกหลานของคนชั้นกลาง มีกระแสความกลัวในเรื่องความมั่นคงในชีวิต

นี่คือรากฐานของการกลับมาของกระแสการเมืองฟาสซิสต์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุนและมีนโยบายที่เหมือนกัน

a53ee86f43e24999be6547d254e9230d_18
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุน

แม้แต่ “พรรคซ้าย” (Die Linke) ก็มีปัญหาในการครองใจคนที่ประสพความยากลำบาก เพราะไปเน้นเรื่องการเจรจาในรัฐสภาแทนที่จะนำการต่อสู้ของสหภาพแรงงานหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อคัดค้านนโยบายรัดเข็มขัดของพวกเสรีนิยมสุดขั้ว

dlinke
พรรคซ้าย

มันเปิดโอกาสให้พวกนาซีหรือฟาสซิสต์ในพรรค AfD (Alternative für Deutschland) สามารถเบี่ยงเบนความทุกข์ของประชาชนไปสู่การต่อต้านผู้ลี้ภัย คนต่างชาติ หรือคนมุสลิม ทั้งๆ ที่ความทุกข์ของประชาชนมาจากนโยบายเสรีนิยมที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน

1018316866
สส.พรรคนาซี

[อ่านเพิ่ม: Oliver Nachtwey (2018) “Germany’s Hidden Crisis. Social Decline in the Heart of Europe”. Verso Books.]

[1] เช่น Anthony Giddens และ Thomas Meyer ในกรณี Thomas Meyer องค์กร FES ในไทยเคยเชิญคนนี้มาเพื่อคุยกับนักสหภาพแรงงานไทยและชักชวนให้ชื่นชมแนวทางที่สามและสร้างพรรคแรงงานที่ยอมรับกลไกตลาดเสรี โดยมีการตีพิมพ์หนังสือ “อนาคตของสังคมประชาธิปไตย”

 

พรรคอนาคตใหม่ร้อนตัว ใจ อึ๊งภากรณ์ ตอบคำโต้แย้งของ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

 

 มีหลายคนออกมาโต้บทความของผม “แรงงานไม่ควรหลงเลือกนายใหม่ในรูปแบบพรรคอนาคตใหม่” [ดู https://bit.ly/2yJp3Q0 ] ผมจะไม่ขอโต้ตอบ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ที่ไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับชนชั้นในโลกทุนนิยมสมัยใหม่หรือแม้แต่พรรคแรงงานอังกฤษภายใต้ เจเรมี คอร์บิน และจะไม่ขอโต้กับ จิตรา คชเดช ที่หดหู่จนยอมจำนนด้วยคำพูดว่าในไทย “การรวมตัวของคนงานมันยาก แค่จัดตั้งสหภาพแรงงาน ผลประโยชน์ใกล้ตัวที่สุดจับต้องได้ ยังยากเลย นับประสาอะไรจะตั้งพรรคการเมืองกรรมกร มันยิ่งยากกว่าหลายเท่า” สองคนนี้ได้แต่กระแนะกระแหนแบบไร้สาระ

แต่จะขอโต้ตอบ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี เพราะการโต้แย้งของเขามีสาระ ทั้งๆ ที่เต็มไปด้วยช่องโหว่

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อ้างว่าพรรคอนาคตใหม่มีนโยบายสร้างรัฐสวัสดิการ แต่ในเว็บไซต์ของพรรค [ดู https://bit.ly/2ESdyvi ]  มีการเขียนเพียงแต่ว่า “พรรคอนาคตใหม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่การสร้างรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้า ครบวงจร”

คำสำคัญในประโยคนี้คือ “ผลักดัน” และ “เดินหน้าสู่” พูดง่ายๆ มันเป็นแค่ความหวังหรือความฝันสำหรับอนาคต แต่ถ้าพรรคมีนโยบายที่จะสร้างรัฐสวัสดิการจริง จะต้องเขียนไว้ว่าพรรค “จะลงมือสร้างรัฐสวัสดิการ” โดยอธิบายว่าจะมีรายละเอียดอะไรบ้างอย่างเป็นรูปธรรม และจะสร้างภายในอายุของรัฐบาลหรือรัฐสภา คือภายใน4ปี หรือไม่ ในกรณีรัฐบาลอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีการระบุอย่างชัดเจนว่าจะมีสวัสดิการอะไรบ้าง และเริ่มใช้งานเมื่อไร ในกรณีรัฐบาลไทยรักไทยก็มีนโยบายชัดเจนและเป็นรูปธรรมว่าจะเริ่มโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเมื่อไรและจะมีหน้าตาอย่างไร

ในเว็บไซต์ของพรรคอนาคตใหม่เขียนไว้อีกว่า “พรรคจึงเร่งปรับให้ค่าใช้จ่ายการศึกษาหลังการศึกษาภาคบังคับอยู่ในอัตราที่เหมาะสมต่อการเข้าถึงของประชาชนทั่วไปและสร้างกลไกการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับปัจเจกชนในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย” คือไม่เรียนฟรีอย่างถ้วนหน้านั้นเอง แต่หลายประเทศในยุโรปมีการเรียนฟรีในระบบรัฐสวัสดิการ

มีการเขียนต่อว่าจะ “ขยายสิทธิและพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ใกล้เคียงกับสวัสดิการของกลุ่มข้าราชการและมุ่งหวังให้คนไทยได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลที่ไม่มีค่าใช้จ่าย” และ “ผู้มีความต้องการด้านการรักษาในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องรักษาต่อเนื่อง จะถูกคำนึงในฐานะสิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์มากกว่าต้นทุนค่าใช้จ่าย” พูดง่ายๆ คือยังมีระบบสองมาตรฐาน และแค่หวังว่าจะฟรี ไม่ยืนยันว่าจะฟรี

แต่ในระบบรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า การรักษาพยาบาลต้องมีมาตรฐานเหมือนกันหมดและฟรีสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมีโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องรักษาต่อเนื่องหรือไม่

ในเรื่องภาษี การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือในอัตราสูงจากคนรวยและกลุ่มทุน เป็นเรื่องสำคัญ แต่พรรคอนาคตใหม่เขียนไว้แค่ว่า “ลดความเหลื่อมล้ำผ่านมาตรการภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีมรดก ภาษีการถือครองที่ดินปริมาณสูง” ไม่มีการพูดถึงภาษีรายได้ของคนรวยและภาษีที่เก็บจากธุรกิจกลุ่มทุนที่ควรเก็บในอัตราสูง

สรุปแล้วในรูปธรรมนโยบายพรรคอนาคตใหม่ยังไปไม่ถึงรัฐสวัสดิการ และมันตรงกับที่ผมเขียนในบทความของผมว่าพรรคอนาคตใหม่ “ไม่มีข้อเสนอให้เก็บภาษีในอัตราสูงจากเศรษฐีหรือกลุ่มทุน… ไม่มีข้อเสนอเป็นรูปธรรมว่าจะสร้างรัฐสวัสดิการ”

นอกจากนี้ในเรื่องแนวคิด Negative Income Tax หรือเงินคืนภาษีให้คนรายได้น้อยกว่า 100,000บาทต่อปี เงินที่จะให้คนจนมาจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งแปลว่ากลุ่มทุนหรือธุรกิจไม่ต้องเพิ่มค่าจ้าง ตรงนี้ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ไม่สามารถเถียงได้เลย

 

ในเรื่องกฏหมายแรงงาน ในบทความของผม ผมเขียนไว้ว่า “พรรคอนาคตใหม่ไม่มีข้อเสนอให้รื้อถอนกฏหมายแรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน และร่างกฏหมายแรงงานใหม่ที่ให้อำนาจกับสหภาพ” ซึ่งผมยืนยันว่าเป็นจริง ส่วน ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี แค่ชี้ไปที่นโยบายพรรคว่าจะ “รับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วย เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งสิทธิในการรวมตัวกันและการเจรจาต่อรอง” ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวไม่ได้ทำให้อุปสรรคในการนัดหยุดงานหายไป หรือเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับสหภาพแรงงานให้เท่ากับอำนาจทุนในรูปธรรมแต่อย่างใด เพราะอนุสัญญาดังกล่าวเป็นแค่นามธรรมที่ไม่ลงรายละเอียดเลย และไม่ห้ามไม่ให้นายทุนปิดงานอีกด้วย

และเรายังไม่พูดถึงการที่พรรคอนาคตใหม่ไม่เสนอให้ยกเลิก 112 ไม่เสนอให้สตรีมีสิทธิทำแท้งเสรี และไม่เสนอให้ชาวปาตานีสามารถกำหนดอนาคตตนเองโดยไม่ต้องพิจารณาความมั่นคงของชาติ