Tag Archives: ร่างรัฐธรรมนูญ

โรคเรื้อรังแห่งการมองประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วน

ใจ อึ๊งภากรณ์

การมองประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วน โดยสนใจแต่สิ่งที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และละเลยภาพรวม เป็นโรคเรื้อรังของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ภาคประชาชน” ในสังคมไทยมานาน มันนำไปสู่การไม่เข้าใจต้นเหตุของปัญหาและวิธีการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย ต้องถือว่าเป็นแนวคิดที่นำไปสู่ความ “ปัญญาอ่อนทางการเมือง”[1]

วิธีคิดแบบนี้มีผลทำให้ เอ็นจีโอ และหลายองค์กรณ์ที่ใกล้ชิดกับเอ็นจีโอ ไม่เข้าใจว่าการสนับสนุนหรืออย่างน้อยการยอมรับรัฐประหาร นำไปสู่การเพิ่มปัญหาโดยรวมในสังคม

ตัวอย่างอันหนึ่งคือจุดยืนของบางกลุ่มที่เคยออกมาต่อต้านร่าง “รัฐธรรมนูญ” ของทหารโจร โดยเน้นแต่ปัญหาที่เชื่อว่าใกล้ตัวเองเท่านั้น

ในวันกรรมาชีพสากลปีที่แล้ว องค์กรที่เรียกตัวเองว่า “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” ออกมาเสนอ 8 เหตุผลที่กรรมาชีพควรคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ โดยเน้นแต่เรื่องปากท้องสำหรับกรรมาชีพ และที่แย่กว่านั้นคือไม่ได้เสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปากท้องทั้งหมดด้วย มันเป็นการบิดเบือนความจริงในภาพรวม ดูถูกกรรมาชีพ ว่าโง่เขลาไม่สนใจปัญหาภาพกว้างในสังคม และเป็นการมองว่ากรรมาชีพไม่มีวุฒิภาวะที่จะเข้าใจการเมืองภาพกว้างได้

ในวันแรงงานสากล “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” ควรจะเสนอเหตุผลในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยผสมเรื่องปากท้องและปัญหาโดยรวมสำหรับพลเมืองทุกคนในสังคม เช่นควรจะเน้นเรื่องการต่ออายุยืดเวลาของเผด็จการ การทำลายอำนาจประชาชนในการเลือกรัฐบาล การที่เผด็จการคัดค้านการใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์คนจน แล้วหลังจากนั้นควรลงมาพูดรายละเอียดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ สิทธิในการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน และการทำลายระบบบัตรทองกับการศึกษาฟรี นอกกจากนี้ควรพูดถึงผลกระทบของร่างรัฐธรรมนูญต่อศาสนา และเรื่องอื่นๆ อีกด้วย เช่นปัญหาที่ทหารก่อขึ้นมาในปาตานี เพราะการเสนอแบบนั้นเป็นการเสนอที่จะนำไปสู่การพัฒนาความเข้าใจทางการเมือง โดยการโยงภาพกว้างกับรายละเอียดประเด็นปัญหาปากท้อง

Untitled

ในขบวนการกรรมาชีพไทย มีหลายกลุ่มที่เข้าใจประเด็นปัญหาภาพรวมของสังคม และพยายามให้การศึกษาทางการเมืองกับเพื่อนๆ กรรมาชีพในเรื่องการเมืองภาพกว้าง กลุ่มเหล่านี้คัดค้านเผด็จการมานาน และมีส่วนร่วมในขบวนการประชาธิปไตย

แต่แถลงการณ์ของ “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” ละเลยกลุ่มแรงงานที่ก้าวหน้ามากเกินไป เพื่อวางตัวเสมอกับจุดยืนของพวกที่ล้าหลัง เช่นพวกนักสหภาพแรงงานที่จงใจไม่สนใจการเมือง โดยใช้สูตร “ปัญหาประเด็นเดียว” เดิมๆ เก่าๆ ที่ล้มเหลวจากคนที่เรียกตัวเองว่า “ภาคประชาชน” มันไม่นำไปสู่การขยับความคิด พูดง่ายๆ ในเรื่องนี้เขาควรจะเรียกตัวเองว่า “ขบวนการประชาธิปไตยเก่า” มันเป็นสูตรที่ เอ็นจีโอ ใช้มานาน คือมองว่าคนจนเป็นเหยื่อ และไปเน้นทำงานกับเหยื่อ แทนที่จะมองว่าคนจนปลดแอกตนเองได้และเน้นทำงานกับคนที่พร้อมจะสู้

ตัวอย่างอื่นๆ ของโรคเรื้อรังแห่งการมองประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วน เห็นได้จากแถลงการณ์ต่างๆ ของ คนที่สนใจปัญหาสุขภาพ ที่พูดถึงแต่การตัดสิทธิในการใช้บัตรทองแต่ไม่กล่าวถึงปัญหาการทำลายประชาธิปไตย หรือคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือผังเมือง ที่เอ่ยถึงปัญหาของตนเอง แต่ละเลยภาพกว้างของการที่เผด็จการครองเมือง

building_0224

ในแวดวงวิชาการก็มีแนวคิดคล้ายๆ กัน ดูได้จากการสัมมนาหรือการเขียนบทความ ที่แยกส่วนอ้างว่าพูดหรือเขียนจากมุมมองนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ หรือนักกฏหมาย แต่การแยกแบบนี้เป็นแนวคิด “อวิชชา”

การนำแต่ละประเด็นมาเรียงเข้าด้วยกัน เหมือนบัญชีหางว่าว ก็ยังไม่พอ และไม่ได้แก้ไขปัญหา เพราะต้องมีการอธิบายว่าแต่ละปัญหาเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเกี่ยวข้องกับภาพกว้างของระบบเศรษฐศาสตร์การเมืองและสังคมอย่างไรอีกด้วย

ปัญหาเรื่องนี้ผมและสหายฝ่ายซ้ายอื่นๆ ในไทย พยายามแก้ไขโดยการถกเถียงกับ เอ็นจีโอ โดยเฉพาะในงานสมัชชาสังคมไทยที่จัดที่ธรรมศาสตร์ในปี ๒๕๔๙ แต่ เอ็นจีโอ ส่วนใหญ่ไม่สนใจ ต้องการพูดคุยแต่ในประเด็นเดียวของตนเองต่อไป สาเหตุหนึ่งก็เพราะองค์กรเหล่านั้นเน้นการขอทุนภายใต้ปัญหาประเด็นเดียว

ต้นกำเนิดของแนวคิดแบบมองประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วน มาจากยุครุ่งเรืองของ เอ็นจีโอ และวิธีคิด “อนาธิปไตย” กับ “หลังสมัยใหม่” หรือ “โพสธโมเดิน” ซึ่งเกิดขึ้นหลังการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แนวสตาลินทั่วโลก เพราะนักเคลื่อนไหวหันหลังให้กับทฤษฏีที่พยายามอธิบายปัญหาภาพรวมของสังคม ที่เขาเรียกว่า “มหาวาทกรรม” พวกนี้หันหลังให้กับความพยายามที่จะล้มรัฐเผด็จการอีกด้วย และเขาเปลี่ยนไปเป็นนักเคลื่อนไหวประเด็นเดียวที่รับทุนมาเคลื่อนไหว และพร้อมจะล็อบบี้หรือเข้าไปคุยกับผู้มีอำนาจ ไม่ว่าผู้มีอำนาจนั้นจะดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้งหรือจากการทำรัฐประหาร ไม่สนใจแนวการเมืองของผู้มีอำนาจด้วย มันเป็นการปฏิเสธการเมืองและทฤษฏีการเมืองทั้งหมดไปเลย และมันเป็นแนวการทำงานที่อ่อนแอ

สรุปแล้วมันเป็นแนวคิดที่เชิดชูความโง่เขลาปัญญาอ่อนทางการเมือง เพราะจงใจไม่สนใจที่จะเข้าใจทฤษฏีการเมืองเลย แต่ที่สำคัญพอๆ กันคือ มันทำให้เราสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่จะล้มเผด็จการยากขึ้น

ผลที่เห็นชัดในรอบสิบปีที่ผ่านมาคือ เอ็นจีโอ ส่วนใหญ่ไปจับมือกับพวกเสื้อเหลือง คือกลุ่มคนที่ล้าหลังที่สุดในสังคมและพวกที่ต้องการปกป้องอภิสิทธิ์ของคนรวย เพื่อไล่ทักษิณ หลายกลุ่มสนับสนุนการทำรัฐประหารและยังมีบางกลุ่มที่สนับสนุนม็อบสุเทพอีกด้วย

ล่าสุดเอ็นจีโอบางส่วนก็ไปจับมือกับจอมเผด็จการประยุทธ์ เพื่อจัดกิจกรรมเรื่อง “ประชาสังคม และประชาธิปไตย” ฟังแล้วไม่รู้จะหัวเราะห์หรือร้องไห้

แกนนำนักเคลื่อนไหวแรงงานล้าหลัง จากสหภาพแรงงานรถไฟ ก็เคยไปจับมือกับทหารเผด็จการ แต่ตอนนี้โดนกัดจากทหารโดยนโยบายแปรรูปรถไฟให้เป็นเอกชน เอ็นจีโอหลายกลุ่มก็ผิดหวังอกหักในเรื่องการปฏิรูปการเมืองของทหารด้วย แต่ถ้าเขาสนใจศึกษาการเมืองมาแต่แรก เขาจะไม่อกหักแบบนี้

นักมาร์คซิสต์ใช้แนวคิด “วิภาษวิธี” ที่เริ่มจากจุดยืนที่มองว่า “ความจริงในโลกเข้าใจได้ต่อเมื่อเราดูภาพรวม” คือดูภาพรวมในมิติต่างๆ ของสังคม ภาพรวมในมิติสากลทั่วโลก และภาพรวมในเชิงประวัติศาสตร์อีกด้วย

และสำหรับนักมาร์คซิสต์ การสร้างพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพ ที่รวมคนหนุ่มสาวและนักศึกษาเข้าไปด้วย มีความสำคัญเพราะเป็นการรวมตัวกันของคนที่มีความคิดก้าวหน้าที่สุดในสังคม เพื่อชักชวนให้มวลชนเริ่มมองภาพรวมของปัญหาที่มาจากระบบทุนนิยมและสังคมชนชั้น พูดง่ายๆ พรรคมีหน้าที่ในการสร้างสะพานระหว่างจิตสำนึกแบบ “ปากท้อง” ไปสู่จิตสำนึกในเรื่องภาพรวมทางชนชั้น นั้นคือการเมือง “ใหม่” ในโลกปัจจุบันที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าเราจะแก้ไขโรคเรื้อรังแห่งการมองประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วน และเดินหน้าเพื่อล้มเผด็จการ เราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างพรรคการเมือง และการพัฒนาทฤษฏีทางการเมืองที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายเรา

[1] อ่านเพิ่มเรื่องนี้ที่ http://bit.ly/24tv63k หรือในหนังสือ “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย” http://bit.ly/1SGzRiw (อาจต้องเข้าสู่ระบบผ่านเฟสบุ๊คของท่าน)

อ่านเพิ่มเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม http://bit.ly/2cvlmCk

อย่าพึ่งยอมแพ้และหดหู่ เราต้องสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตย

ใจ อึ๊งภากรณ์

มันเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประชาชนจำนวนมากไปรับร่างรัฐธรรมนูญที่งอกจากกระบอกปืนอันนี้ เพราะมันแปลว่าเราต้องอยู่กับเผด็จการต่อไปอีกนาน ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่ และมันช่วยให้ความชอบธรรมกับเผด็จการอีกด้วย

ที่สำคัญคือ เราทราบดีว่า “ประชามติ” ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่ไร้เสรีภาพโดยสิ้นเชิง มันไม่ใช่ประชามติประชาธิปไตยแต่อย่างใด เพราะในรูปธรรมมีการสั่งห้ามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญในที่สาธารณะ  และมีการจับคุมนักเคลื่อนไหวที่อย่างต่อเนื่อง คณะทหารมีความหวังแต่แรกว่าถ้าขู่ประชาชนและพยายามปิดกั้นการแสดงออกหรือข้อถกเถียงต่างๆ ประชาชนจะขานรับการทำลายประชาธิปไตยที่บรรจุไว้ในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ประชามติครั้งนี้ไร้ความชอบธรรม ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องยอมรับผลแม้แต่นิดเดียว เรามีความชอบธรรมในการต่อต้านและวิจารณ์เผด็จการและรัฐธรรมนูญเผด็จการของมันต่อไป และสิ่งที่น่าทึ่งคือจำนวนคน 10 ล้านคน ที่กล้าออกมาลงคะแนนเสียงต้านเผด็จการในสถานการณ์แบบนี้ คนเหล่านี้ทั้ง 10 ล้านคน คือหน่ออ่อนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย

เราจะต้องเคลื่อนไหวต่อต้านคณะทหาร และอิทธิพลของเผด็จการต่อไป จนกว่าเราจะได้ประชาธิปไตยคืนมา ยิ่งกว่านั้นเราจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยออกไปให้กว้างกว่าแค่ยุคทักษิณหรือยุครัฐธรรมนูญปี ๔๐ โดยเฉพาะในเรื่องกฏหมาย 112 กฏหมายคอมพิวเตอร์ มาตรา 44 และแง่อื่นๆ ของความเป็นเผด็จการในไทยที่ตกข้างจากอดีต

อย่าลืมว่าประชาชนจำนวนหนึ่งลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเบื่อหน่ายกับสภาพสังคมเผด็จการ และต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ แต่คนกลุ่มนี้เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่เสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญทหารฉบับนี้

เราลืมไม่ได้ด้วยว่าสาเหตุหนึ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญเผด็จการผ่านในประชามติ ก็เพราะทักษิณ และ นปช. แช่แข็งขบวนการเสื้อแดงมานาน ขบวนการที่ถูกแช่แข็งย่อมอ่อนตัวลงและไร้ประสิทธิภาพ

ในประชามติครั้งนี้มีการจำกัดผู้มีสิทธิ์ออกเสียงนอกเขตเลือกตั้งด้วย ซึ่งทำให้คนที่ทำงานในจังหวัดอื่นเสียเปรียบ

นอกจากนี้จากประชาชนผู้มีสิทธิ์ทั่วประเทศ มีคนไปใช้เสียงแค่ 55% เท่านั้น ซึ่งแปลว่าประชาชนที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญทหารมีแค่ 31% ของประชาชนทั้งหมดของประเทศ

อย่าลืมด้วยว่าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในหลายจังหวัดคะแนนไม่รับชนะ และที่น่าสนใจคือใน “ปาตานี” ชาวมาเลย์มุสลิมก็ลงคะแนนไม่รับด้วย นี่คือสาเหตุสำคัญที่คนเสื้อแดงและคนที่รักประชาธิปไตยทุกคนทั่วประเทศควรจะสมานฉันท์กับชาวมาเลย์มุสลิมในปาตานี เราต้องเรียนรู้ปัญหาของเขา และควรเข้าใจว่าเรามีศัตรูร่วม ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะไม่มีเสรีภาพและความสงบ สมัยที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ชาวมาเลย์มุสลิมต้องใช้ชีวิตภายใต้เผด็จการสยาม

13903326_1263016940383579_3770634799600694759_n

การไม่รับผลประชามติของพวกเรา ไม่เหมือนกรณีสลิ่ม มันต่างโดยสิ้นเชิงกับการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทย หรือพรรคไทยรักไทยเคยชนะในอดีต เพราะการเลือกตั้งที่นำไปสู่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคไทยรักไทย มันไม่ได้จัดภายใต้เงาเผด็จการ และมันสะท้อนความเห็นของประชาชนอย่างโปร่งใส ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง มันร่างโดยสมุนของทหาร มันงอกออกมาจากกระบอกปืน มันเป็นรัฐธรรมนูญเถื่อน และมันออกแบบเพื่อให้เผด็จการคุมอำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ในแง่หนึ่งผลของประชามติก็สะท้อนความเห็นของคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับเผด็จการ หรืออย่างน้อยยอมจำนนต่อเผด็จการ ซึ่งแปลว่าเรามีงานหนักในการรณรงค์เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตย เราต้องยอมรับความจริงตรงนี้ก่อนที่เราจะสู้ต่อไป อย่างไรก็ตามความจริงอีกอันหนึ่งที่เราไม่ควรลืมคือ คนมักเปลี่ยนความคิดได้เสมอ และท่ามกลางการต่อสู้ หรือท่ามกลางวิกฤตคนจะเปลี่ยนความคิดอย่างรวดเร็ว

หน้าที่ของผู้รักประชาธิปไตยทุกคน คือการรณรงค์ต่อไปเพื่อสิทธิเสรีภาพ โดยมองว่าทุกคนที่คัดค้านรัฐธรรมนูญทหารอย่างจริงใจเป็นแนวร่วมของเรา ตรงนี้ขอยกเว้นคนตอแหลอย่างอภิสิทธิ์

เราต้องเอาใจใส่ในวิธีการมากกว่าที่ผ่านมา เราต้องให้ความสำคัญกับการระดมมวลชน จัดตั้งมวลชน และสร้างเครือข่ายเพื่อต่อสู้ร่วมกัน ต้องมีการต่อสายระหว่างคนเสื้อแดง นักศึกษารุ่นใหม่ คนที่เคลื่อนไหวในสหภาพแรงงาน ชาวบ้านที่ออกมาปกป้องสิทธิชุมชน และคนอื่นๆ ที่เกลียดชังเผด็จการ เราไม่ควรและไม่ต้องไปรอให้ “ผู้ใหญ่” ที่ไหนเขาเปิดไฟเขียวให้ เพราะไม่ว่าจะเป็นทักษิณ แกนนำเสื้อแดง หรือพรรคเพื่อไทย เขาคงไม่ออกมาปลุกระดมประชาชน เราต้องร่วมกันทำเอง

คราวนี้เราต้องไม่ไปหลงใหลในนักการเมืองแบบทักษิณ ทักษิณไม่เคยปลุกระดมให้มวลชนออกมาต้านเผด็จการ ดังนั้นเราต้องสร้างความมั่นใจว่าประชาชนทำเองได้ แต่ถ้าเราไม่สร้างองค์กร ไม่สร้างพรรค ไม่สร้างเครือข่ายมวลชน เราจะไม่มีวันนำตนเองอย่างมีพลัง ที่สำคัญคือเราต้องรู้จักสามัคคีกับคนที่อาจเห็นต่างแต่มีจุดร่วมในการเกลียดชังเผด็จการ การเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเรา เป็นพฤติกรรมของเด็กๆ ที่ต้องเลิก

ถ้าเรามัวแต่เคลื่อนไหวในกลุ่มเล็กๆ ในเชิงสัญลักษณ์ โอกาสที่จะล้มเผด็จการจะยิ่งยืดออกไปนานในอนาคต

อย่าลืมว่าคนไทยเคยล้มเผด็จการมาหลายรอบ และคนไทยจำนวนมากมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมประชาธิปไตย แน่นอนเราทุกคนก็เคยพบอุปสรรคในการต่อสู้ ต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อเดินหน้าสองก้าว

อย่าพึ่งยอมแพ้และหดหู่ เราต้องสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตย เผด็จการจงพินาศ ประชาชนจงเจริญ!

รัฐ “อธรรมนูญ” ทหาร

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าดูภาพรวมของความพยายามร่างรัฐอธรรมนูญเผด็จการของแก๊งไอ้ยุทธ์ มันบ่งบอกถึงความสามารถแบบมือ “สมัครเล่น” ของพวกสมุนขี้ข้าเผด็จการที่ถูกจ้างมาเพื่อเขียน และมันบ่งบอกถึงความไร้ปัญญาของทหาร เพราะสิ่งที่พวกนี้คายออกมาแล้วอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงเอกสารคุณภาพต่ำที่ย้ำอคติของตนเองต่อประชาธิปไตย มันไม่ใช่เอกสารสำคัญของผู้มีวุฒิภาวะสำหรับการกำหนดกติกาการบริหารสังคมแต่อย่างใด

ร่างแรกของพวกนี้อ่านเหมือนตำราอนุบาลที่พูดบ่อยๆ ถึง “คนดี” ร่างที่สองมีการเปลี่ยนท่าทีแต่ในหลายแง่แย่กว่าเดิม

ขอยืมการ์ตูนของคุณเซีย ซึ่งหมายความว่าเราไม่ควรเดาว่าคุณเซียเห็นด้วยกับบทความนี้แต่อย่างใด
ขอยืมการ์ตูนของคุณเซีย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณเซียเห็นด้วยกับบทความนี้แต่อย่างใด

อารัมภบทของร่างมีชัย ในสามหน้าแรก เต็มไปด้วยคำโกหกบิดเบือนหลอกลวงที่ออกแบบเพื่อให้ความชอบธรรมแก่คณะทหารโจรที่ปล้นสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยของประชาชนผ่านการทำรัฐประหาร ผู้ร่างหน้าด้านเขียนไว้ว่ารัฐอธรรมนูญนี้จะแก้ปัญหาการที่นักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง “เข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองแล้วใช้อำนาจตามอำเภอใจ” มันตลกร้าย เพราะพวกมันเองเป็นกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับประชาธิปไตยและใช้กำลังในการเข้ามาเพื่อใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งเราเห็นทุกวันในการที่ประยุทธ์มือเปื้อนเลือดใช้มาตรา44 ในเกือบทุกเรื่อง อารัมภบทนี้มีการพูดถึงประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” ซึ่งประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าเป็นคำพูดของเผด็จการและตรงข้ามกับประชาธิปไตย นอกจากนี้มีการโกหกว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความเห็น แต่ความจริงที่ทุกคนรับทราบคือทหารเข้าไปปิดกั้นการประชุมเสวนาพูดคุยถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องประวัติศาสตร์ก็มีการบิดเบือนว่ารัชกาลที่ 7 ยกประชาธิปไตยมาให้คนไทย ทั้งๆ ที่คณะราษฎร์ต้องปฏิวัติล้มการใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ในปี ๒๔๗๕ เพื่อเปิดโอกาสให้เรามีประชาธิปไตย

รัฐอธรรมนูญที่มีอารัมภบทแบบนี้ จะนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร?

ที่น่าสนใจคือในอารัมภบทนี้ เผด็จการทหารดูเหมือนเขียนบทสคริปให้กษัตริย์ประกาศยินดีชื่นชมผลงานระยำของประยุทธิ์ ซึ่งชวนให้สงใสว่าใครเป็นเจ้านายที่แท้จริง

หลังจากอารัมภบทแล้ว มาตรา 5 เขียนถึงอำนาจพิเศษที่จะเข้ามาควบคุมรัฐบาลและรัฐสภาในยามผิดปกติที่คนอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเสียงข้างมากในกลุ่มคนที่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาลนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด

ร่างฉบับนี้ไม่ต่างจากร่างก่อนในการเปิดโอกาสให้คนนอกที่ไม่ใช่ สส. เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในบางสถานการณ์ เช่นตามมาตรา 5 หรือหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามมาตรา 272 ซึ่งตรงนี้อ่านเพิ่มได้ที่ http://ilaw.or.th/node/4068

ถ้าหลังการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดมีนายกรัฐมนตรีทหารหรือคนของทหาร มันก็เป็นโอกาสสำหรับการยืดเวลาปกครองของเผด็จการได้

ในเรื่องศาสนา รัฐอธรรมนูญนี้ตัดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก ตัดเรื่องห้ามลิดรอนสิทธิเพราะเหตุการนับถือศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง “ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” ซึ่งเปิดโอกาสให้กดขี่ศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธนิกายที่ทหารไม่เห็นด้วย ….อ่านเพิ่มได้ที่ http://ilaw.or.th/node/4080

ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ทำลายมาตรฐานการบริการพลเมืองโดยรัฐในหลายแง่ ตามนโยบายคลั่งกลไกตลาดเสรีของพวกอำมาตย์

ในเรื่องสาธารณสุข ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ ในมาตรา 47 ระบุแค่ว่าบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการทำลายนโยบายประกันสุขภาพเดิมที่เคยพูดถึงสิทธิการรักษาพยาบาลถ้วนหน้าอย่างเท่าเทียมกัน มันเป็นการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคที่คนจนต้องขอความช่วยเหลือผ่านการพิสูจน์ความยากจน

ในเรื่องการศึกษา ซึ่งมีคนออกมาวิจารณ์กันมากมาย เช่น พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท

(ดู http://prachatai.com/journal/2016/04/65029)

เราจะเห็นว่ามาตรา 54 ระบุว่ารัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาฟรีเป็นเวลาเพียงสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์เรียนฟรีในระดับ ม.ปลาย

โครงสร้างการคำนวณจำนวน สส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ มีการออกแบบเพื่อให้ประโยชน์กับพรรคขนาดกลาง (พรรคประชาธิปัตย์นั้นเอง) ซึ่งไม่ต่างจากร่างรัฐอธรรมนูญก่อนหน้านี้

วุฒิสภาในร่างรัฐอธรรมนูญนี้มาจากการแต่งตั้งโดยทหารเผด็จการทั้ง 200 คน และมีอายุการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือนานกว่าสภาผู้แทนราษฏร 1 ปี ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้แทนของประชาชน ซึ่งแย่กว่าร่างฉบับก่อนที่เคยให้มีการเลือกตั้งบ้าง

การแก้รัฐอธรรมนูญนี้ในรูปธรรมทำได้ยากมาก เพราะต้องอาศัยเสียงข้างมากของ สส.500คน และ สว.แต่งตั้ง200คน รวมกัน นอกจากนี้ต้องอาศัยคะแนนเสียง 20% ของพรรคฝ่ายค้าน และ1/3 ของสว. อีกด้วย

ตอนท้าย หมวด16 ว่าด้วยการปฏิกูลการเมือง มีการดูถูกประชาชนว่าไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตย ในขณะที่ผู้จงใจไม่เข้าใจประชาธิปไตยที่แท้จริงคือทหาร อำมาตย์ คนที่ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ และฝูงชนชั้นกลาง

บทเฉพาะกาลท้ายรัฐอธรรมนูญเป็นการไล่ยาว เพื่อให้ความชอบธรรมกับทหารเผด็จการที่ก่อรัฐประหาร และเพื่อวางรากฐานในการสืบทอดอำนาจต่อไปหลังการเลือกตั้ง

13012612_10153875391656622_3103444526393804048_n

เราควรรณรงค์คัดค้านและคว่ำร่างรัฐอธรรมนูญฉบับมีชัยอันนี้ นอกจากมันเป็นเอกสารที่ทำลายประชาธิปไตยและเสรีภาพแล้ว การลงคะแนน “ไม่รับ”ในประชามติ เป็นโอกาสที่จะตบหน้าทหารเผด็จการด้วย

อย่างไรก็ตามในกรณีที่มันผ่านประชามติที่จัดภายใต้การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก และภายใต้การใช้อำนาจข่มขู่ของเผด็จการ เราควรจะต่อสู้ต่อไปให้มันถูกล้มในที่สุด ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยครั้งนี้ ซึ่งคงใช้เวลา เราควรมีเป้าหมายที่จะทำลายอำนาจเผด็จการของอาชญากรทหารและแนวร่วมอำมาตย์ของมัน ในระยะสั้นการเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญปี ๔๐ กลับมาใช้ชั่วคราวอาจเป็นทางออกที่ดี

ทำไมเราต้องคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “มีชัย”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ๒๕๕๙ นี้เป็นเอกสารอัปลักษณ์อย่างที่ฝ่ายประชาธิปไตยทำนายไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะอะไรที่คายออกมาจากปากหมาของเผด็จการย่อมเป็นประชาธิปไตยไม่ได้

แต่เมื่อเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๕๘ เมื่อปีที่แล้ว มัน “เนียนกว่า” ในการซ่อนความเลวทราม เพราะมีการตัดหมวดที่เคยชวนให้ขำแบบตลกร้าย ซึ่งเคยพูดถึงคุณสมบัติของผู้นำทางการเมืองที่เป็น “คนดี” และมีการยกเลิก“คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการบังคับปรองดองแห่งชาติ” ที่เคยถูกเสนอให้เป็น “คณะมหาอำนาจ” เพื่อควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคต แต่ไม่มีการยกเลิกแนวคิดนี้แต่อย่างไร เพราะเอาอำนาจในการควบคุมรัฐบาลไปฝากไว้ที่อื่นดังนี้

มีการคงไว้บทบาทและยืดวาระการทำงานของคณะทหารเผด็จการ คสช. ออกไปหลังการเลือกตั้งในมาตรา 263 โดยให้มีส่วนสำคัญในการกำหนด “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ที่ผูกพันกับ “นโยบายรัฐ” ในหมวดที่ 6

“ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” นี้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดและแช่แข็งนโยบายของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพื่อไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีเสรีภาพที่จะกำหนดนโยบายเองตามความต้องการของประชาชน นอกจากนี้มันเป็นการเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญจับผิด และถอดถอนนักการเมือง หรือ “วีโต้” นโยบายของรัฐบาลที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความเองว่า “ไม่ตรงกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ”

นอกจากนี้มีการยืดเวลาการดำรงอยู่ขององค์กร “ปฏิกูลการเมือง” ที่แต่งตั้งโดยเผด็จการ ให้ยาวออกไปหลังการเลือกตั้ง โดยอ้างว่ายังต้อง “ปฏิรูป” อีกหลายเรื่อง มีการให้บทบาททหารหัวทึบ คสช. ในการ “ปฏิรูป”การศึกษา ซึ่งชวนให้เราสงสารเด็กไทยในอนาคตที่ต้องเติบโตภายใต้แนวคิดของคนอย่างประยุทธ์

มีการย้ายข้อความที่เคยดำรงอยู่ใน “มาตรา 7” ของรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งเคยถูกอ้างโดยพวกอนุรักษ์นิยมว่าให้อำนาจกับกษัตริย์ในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีทักษิณและแต่งตั้งนายกคนใหม่ มาอยู่ในหมวดของศาลรัฐธรรมนูญมาตรา 207 ซึ่งเป็นการให้อำนาจล้นฟ้าให้กับศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นอำนาจที่ลอยอยู่เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญนี้สร้างอำนาจเพิ่มให้กับศาลรัฐธรรมนูญ และต่ออายุ คสช. และองค์กรลูกของ คสช. เพื่อควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคต

เราคงไม่แปลกใจที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พูดว่า “รัฐบาลของประชาชนจะมีสถานะเพียงนกเขาในกรง ที่โก่งคอขันได้ แต่ไร้อิสรภาพ”

ในร่างขยะฉบับนี้การที่นายกรัฐมนตรีสามารถเป็น “คนนอก” ที่ไม่ใช่ สส. ถูกซ่อนไว้ในมาตรา 83 และ154

แน่นอนในมาตรา 270 มีการฟอกตัวและให้ความชอบธรรมจอมปลอม ให้กับคณะทหารโจรมือเปื้อนเลือดที่ปล้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญ และละเมิดชีวิตนักประชาธิปไตยในขณะที่กอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตัวเองและพรรคพวก

ในมาตรา 259 มีการยืดวันเลือกตั้งออกไปจนกว่าจะร่างกฏหมายลูกต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการยืดเวลาของรัฐบาลเผด็จการออกไปอีก

คราวนี้ไม่มีการเสนอวิธีการเลือกตั้งปลอมให้กับสมาชิกวุฒิสภา คือให้ทั้ง 200 คนมาจากการลากตั้ง โดยให้นักเลียเผด็จการมานั่งเลือกกันเองจากพรรคพวกเดียวกัน และวุฒิสภานี้จะมีอำนาจในการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลในอนาคต คนที่จะเป็นวุฒิสมาชิกต้องไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง แต่การเป็นอดีตทหารไม่เป็นอุปสรรคเลยแต่อย่างใด

ร่างกระดาษชำระ “ฉบับมีชัย” นี้ ยังคงไว้เนื้อหาสาระจากร่างฉบับปีที่แล้ว มีการสนับสนุนนโยบายคลั่งตลาด และมีเรื่องการห้ามไม่ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ช่วยคนจน ภายใต้คำขวัญของ “การรักษาวินัยทางการคลัง” และเรื่องความ “พอเพียง” และยังถูกออกแบบให้จำกัดไม่ให้ทักษิณกลับมาเป็นนายกด้วยมาตรการต่างๆ เช่นการจำกัดวาระนายกรัฐมนตรีไม่ให้มากกว่า 8 ปี

ถ้าเทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ แล้วจะเห็นว่ามีการลดความสำคัญของสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นมาตรา 25 ซึ่งเป็นมาตราแรกในหมวดสิทธิเสรีภาพ ระบุว่าสิทธิเสรีภาพถูกจำกัดได้ในกรณีที่เป็น “ภัยต่อความมั่นคง” ซึ่งเป็นข้ออ้างครอบจักรวาลประจำของเผด็จการ และมาตรา 44 จำกัดสิทธิในการชุมนุมในกรณีที่เป็น “ภัยต่อความมั่นคง” เช่นกัน ในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ จะจำกัดสิทธิในการชุมนุมในกรณีสงครามหรือภาวะฉุกเฉินเท่านั้น นอกจากนี้ร่างขยะใหม่นี้ลดความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะรัฐธรรมนูญปี ๔๐ เปิดช่องให้พลเมืองทวงสิทธิ ความเป็นธรรม และการบริการให้กับตนเอง เช่นในกรณีคนพิการ คนชรา หรือกรณีการบริการสาธารณสุขและการศึกษา แต่ในร่าง “มีชัย” มีการใช้ถ้อยคำที่ชวนให้มองว่าเป็นเรื่องที่รัฐต้อง “อุปถัมภ์” ให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง นอกจากนี้มีการลดความสำคัญของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐

ถ้าเรารักประชาธิปไตย ท่าทีของเราต่อร่างรัฐธรรมนูญนี้มีท่าทีเดียวคือ “ไม่รับ”

ร่างรัฐธรรมนูญโจร ล้าหลัง ดูถูกประชาชน และสืบทอดอำนาจเผด็จการ

ใจ อึ๊งภากรณ์

มันเป็นเรื่องน่าเบื่ออย่างยิ่งที่หลายคน รวมถึงผมเอง ต้องเสียเวลาอ่านเศษขยะที่นักวิชาการรับจ้างเช่นบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และเห็บไรสมุนเผด็จการคนอื่น เขียนออกมาแล้วอ้างว่าเป็น “ร่างรัฐธรรมนูญ” เพราะพวกเรานักประชาธิปไตยทุกคนก็รู้อยู่ในใจแล้วว่าคงไม่มีอะไรดีออกมาจากกระบวนการปฏิกูลการเมืองหลังรัฐประหาร อย่างไรก็ตามเราต้องทนอ่านเพื่อวิจารณ์รายละเอียดของมัน

ในภาพกว้างร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ต่างจากร่างแรกที่พวกนี้คายออกมาหลายเดือนก่อน เพราะมันเต็มไปด้วยเนื้อหาวิชา “หน้าที่พลเมือง” ระดับอนุบาลแบบไทยๆ ที่มองว่าประชาชนเป็นเด็กที่ต้องถูกสั่งสอนให้เชื่อฟังและจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา กษัตริย์ ทุกคนที่เรียนในโรงเรียนไทยอย่างที่ผมเคยเรียนก็คงนึกภาพออกทันที

แทนที่จะเน้นสิทธิเสรีภาพของพลเมือง รัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยและการรักษาระบบชนชั้นแบบที่พลเมืองส่วนใหญ่อยู่ใต้ตีนทหาร กษัตริย์ และอำมาตย์อื่นๆ มันเป็นระบบชนชั้นที่ประยุทธ์มือเปื้อนเลือดโกหกว่า “ไม่มี”

มันมีหมวดชวนให้ขำแบบตลกร้าย ที่พูดถึงคุณสมบัติของผู้นำทางการเมืองที่เป็น “คนดี” อย่าลืมว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้เกิดขึ้นจากการกระทำของโจรฆาตกรที่ปล้นอำนาจจากประชาชน และฆ่า จำคุก และทรมานคนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และพวกนั้นทำสิ่งชั่วๆเหล่านี้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ตนเอง ของแถมในช่วงท้ายๆ คือมาตรา 285 เพื่อฟอกตัวทหารมือเปื้อนเลือด พร้อมกับมีการอิงรัฐธรรมนูญ ฉบับ “ชั่ว”…คราว ที่ทหารเบ่งออกมาหลังรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว

ในทางเศรษฐกิจ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ค่อยต่างจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ในแง่ที่มันเป็นรัฐธรรมนูญที่เชิดชูกลไกตลาดเสรีแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ภายใต้ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรา87) ดังนั้นมันจะกล่าวถึงการใช้กลไกตลาดในระบบสาธารณสุข แทนที่จะใช้ระบบที่ตอบสนองความต้องการของพลเมืองไม่ว่าจะจนหรือรวย มันกล่าวซ้ำๆ เรื่อง “วินัยทางการคลัง” แต่แน่นอนค่าใช้จ่ายมหาศาลทางทหาร หรือสำหรับราชวงศ์ คง “ไม่เป็นภัย” ต่อวินัยทางการคลัง เพราะมันไม่ใช่งบประมาณที่เป็นประโยชน์สำหรับคนจน ดังนั้นมาตรา 189 และส่วนอื่นของรัฐธรรมนูญห้ามสิ่งที่สลิ่มชอบเรียกว่า “นโยบายประชานิยม” เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะที่จะตัดสินใจเองว่าอะไรเป็นประโยชน์กับตนเอง ต้องให้ผู้รู้หรือคนที่มีตำแหน่งสูงตัดสินใจให้ อย่างไรก็ตามประชาชนจะมีโอกาส “เล่น” การมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นผ่าน “สมัชชาพลเมือง” เหมือนของเล่นที่ชื่อว่า “ดูสิตธานี” สมัยรัชกาลที่๖

แน่นอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบเพื่อกีดกันนักการเมืองที่มีชื่อแบบ “ท.ช.” หรือ “ย.ช.” โดยมีมาตรการทางกฏหมายเพื่อให้ความชอบธรรม รูปแบบของการกีดกันนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างนี้ โดยอ้างถึงกฏหมาย มีในสิงคโปร์และพม่า

รัฐสภาจะมี สส.เขต 300 คน และสส.บัญชีรายชื่อระดับชาติอีก 150-170 คน โดยปรับจำนวน สส.บัญชีรายชื่อขึ้นหรือลง เพื่อให้สะท้อนคะแนนเสียงของแต่ละพรรค แต่รัฐสภาจะมีอำนาจจำกัดมาก และนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีการห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งติดต่อกันมากกว่า 8 ปี ซึ่งคงจะลดภาระของทหารในการทำรัฐประหารในอนาคต

อำนาจในการเห็นชอบกับสิ่งที่รัฐสภาหรือรัฐบาลทำจะถูกควบคุมโดยสององค์กรคือ

  1. วุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งตามจังหวัดต่างๆ 77 คน บวกกับสมาชิกลากตั้งโดยอำมาตย์อีก 123 คน และวุฒิสภานี้จะมีอำนาจแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ กกต. และองค์กร “ไม่อิสระ” อื่นๆ ที่เคยใช้อำนาจเหนือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในอดีต ถ้าสส.ในรัฐสภาเห็นชอบกับการแก้รัฐธรรมนูญ จะต้องคลานไปขออนุญาตจากวุฒิสภา และการแก้รัฐธรรมนูญให้ชาวปาตานีปกครองตนเอง หรือให้ไทยเป็นสาธารณรัฐย่อมทำไม่ได้
  2. มาตรา 259 เป็นต้นไป กำหนดให้มี “คณะทหารมหาอำนาจ” ที่เรียกยาวๆ และน่าเบื่อว่า “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิกูลและการบังคับปรองดองแห่งชาติหมา” คณะทหารมหาอำนาจนี้เป็นรัฐบาล “รุ่นพี่” ที่จะคอยควบคุมทุกอย่างที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกระทำ และถ้านึกไม่พอใจอะไรก็สามารถก่อ “รัฐประหารตามรัฐธรรมนูญ” ได้เสมอ ถึงแม้ว่า “คณะทหารมหาอำนาจ” จะอยู่ได้แค่ 5 ปีในช่วงแรก แต่ก็ต่ออายุได้อีกด้วย

แค่การตั้ง “คณะทหารมหาอำนาจ” นี้ก็พอที่จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญโจรฉบับนี้สวนทางโดยสิ้นเชิงกับประชาธิปไตย และเป็นเรื่องดีที่หลายคนออกมาวิจารณ์แล้ว

แต่พวกปฏิกูล เช่นวิษณุ เครืองาม ยังหน้าด้านเสนออีกว่าพลเมืองไทย “ไม่มีสิทธิ์” ในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญนี้ ในขณะเดียวกัน วิษณุไม่ละอายที่จะชมรัฐธรรมนูญนี้ผ่านสื่อมวลชน… คงเป็นเพราะเราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ แต่บางคนมีสิทธิเสรีภาพมากกว่าคนอื่น!!