Tag Archives: วิกฤตเศรษฐกิจ

จีนกับสหรัฐ ความขัดแย้งจักรวรรดินิยม เราไม่ควรเลือกข้าง

การเยือนเกาะไต้หวันเมื่อต้นเดือนสิงหาคมของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และนักการเมืองที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐ เป็นการตั้งใจที่จะยั่วยุท้าทายประเทศจีนท่ามกลางความขัดแย้งจักรวรรดินิยม

สำหรับเราชาวมาร์คซิสต์ คำว่า “จักรวรรดินิยม” ที่ เลนิน เคยนิยามว่าเป็น “ขั้นตอนสูงสุดของระบบทุนนิยม” ไม่ได้หมายถึงแค่ประเทศใดประเทศเดียว ทั้งๆ ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “จักรวรรดินิยมสหรัฐ” แต่จักรวรรดินิยมเป็น “ระบบ” คือเป็นระบบความขัดแย้งระหว่างรัฐทุนนิยมทั่วโลก โดยที่บางประเทศ ประเทศมหาอำนาจ จะมีอำนาจสูง และประเทศเล็กๆจะมีอำนาจน้อย อำนาจดังกล่าวมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทางทหารซึ่งนำไปสู่อำนาจทางการทูตด้วย

เรื่องเศรษฐกิจกับการทหารแยกออกจากกันไม่ได้ สิ่งที่ เลนิน เคยอธิบายไว้คือ เวลาทุนนิยมพัฒนา กลุ่มทุนใหญ่กับรัฐมักจะผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น เพราะกลุ่มทุนในประเทศหนึ่งๆ มักจะอาศัยอำนาจทางทหารและการเมืองของรัฐเพื่อปกป้องผลประโยชน์ และในขณะเดียวกันรัฐต้องอาศัยพลังทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนและการเก็บภาษีจากกลุ่มทุนดังกล่าวเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ สถานการณ์แบบนี้ยังดำรงอยู่ในโลกสมัยใหม่ ทั้งๆ ที่มีบริษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจทั่วโลก แต่จริงๆ แล้วบริษัทข้ามชาติยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยรัฐในการปกป้องผลประโยชน์เวลาทำธุรกิจข้ามพรมแดนท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างบริษัทต่างๆ มันไม่ใช่ว่าบริษัทข้ามชาติสามารถหนีพรมแดนรัฐชาติหรือรัฐชาติมีความสำคัญน้อยลง อย่างที่นักวิชาการบางคนเสนอ

จักรวรรดินิยมจึงเป็นระบบหรือเครือข่ายการแข่งขันกันทั่วโลกระหว่างรัฐ-ทุนประเทศหนึ่งกับรัฐ-ทุนอื่นๆ และจะออกมาในรูปแบบการพยายามเอาชนะคู่แข่งทางเศรษฐกิจและทหาร บางครั้งจึงเกิดสงคราม ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมระบบทุนนิยมเป็นต้นกำเนิดของสงครามเสมอ

มหาอำนาจในโลกปัจจุบัน มีสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรปในอียู จีน และรัสเซีย และมีประเทศมหาอำนาจย่อยๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละประเทศก็จะพยายามสร้างอำนาจต่อรองของตนเองในการแข่งขันทั่วโลก ชนชั้นนำอังกฤษยังฝันว่าอังกฤษเป็นมหาอำนาจ แต่แท้จริงถ้าอังกฤษจะมีอิทธิพลในโลกก็ต้องเกาะติดสหรัฐเหมือนลูกน้อง เราเห็นสภาพแบบนี้ในสงครามอิรัก และประเทศเจ้าอาณานิคมเก่าอื่นๆ เช่นฝรั่งเศสหรือฮอลแลนด์ก็ต้องรวมตัวกับเยอรมันในสหภาพยุโรป (อียู)ถึงจะมีอำนาจในเวทีโลกได้

หลายคนเข้าใจผิดว่าจักรวรรดินิยมมีแค่สหรัฐอเมริกา แต่จีนกับรัสเซียก็เป็นมหาอำนาจในระบบจักรวรรดินิยมด้วย และทั้งจีนกับรัสเซียเป็นประเทศทุนนิยมที่กดขี่ขูดรีดแรงงานของตน และสร้างกองทัพเพื่อข่มขู่ประเทศอื่นๆ ไม่ต่างจากสหรัฐ ดังนั้นเราชาวมาร์คซิสต์จะไม่มีวันเข้าข้างประเทศหรือชนชั้นปกครองของจีน หรือรัสเซีย โดยหลงคิดว่าการต้านสหรัฐโดยรัสเซียหรือจีนเป็นสิ่ง “ก้าวหน้า” มันไม่ใช่เลย คนที่คิดแบบนี้เป็นแค่คนที่ต้องการพึ่งนักเลงกลุ่มหนึ่งเพื่อต่อต้านนักเลงอีกกลุ่มเท่านั้น มันไม่นำไปสู่เสรีภาพหรือการปลดแอกแต่อย่างใด และมันเป็นการมองข้ามพลังของชนชั้นกรรมาชีพเพื่อไปเชียร์ชนชั้นปกครอง

กลับมาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนและเรื่องเกาะไต้หวัน เมื่อแนนซี เพโลซี ตั้งใจท้าทายจีนด้วยการเยือนเกาะไต้หวัน จีนก็โต้ตอบด้วยการประกาศว่าถ้าจีนอยากบุกยึดเกาะไต้หวัน จีนก็ทำได้เสมอ นอกจากนี้มีการสำแดงพลังกันทั้งสองฝ่ายด้วยการส่งเครื่องบินรบและเรือรบไปท้าทายอีกฝ่ายในเชิงสัญลักษณ์ และสหรัฐพยายามสร้างแนวร่วมทางทหารเพื่อต้านจีน (The Quad) ที่ประกอบไปด้วยออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น กับสหรัฐ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็น “นาโต้เอเชีย”

รัฐบาลสหรัฐเริ่มหันไปให้ความสนใจกับเอเชียอีกครั้งหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงตั้งแต่ยุคของโอบามา โอบามาเปลี่ยนนโยบายระหว่างประเทศโดยการหันไปทางตะวันออก และกำหนดให้ 60% ของกองกำลังทหารสหรัฐหันหน้าไปทางจีน

ถ้าเราเข้าใจนโยบายของสหรัฐตรงนี้เราจะเข้าใจได้ว่าในกรณีสงครามยูเครน สหรัฐกับนาโต้หนุนรัฐบาลยูเครนด้วยอาวุธ เพื่อทำลายหรือลดอำนาจของรัสเซีย โดยที่เป้าหมายหลักอยู่ที่การพิสูจน์ความเข้มแข็งของสหรัฐและนาโต้ให้จีนดู นั้นคือสิ่งที่สะท้อนว่าระบบจักรวรรดินิยมมันครอบคลุมโลกและเชื่อมโยงจุดต่างๆ เข้าด้วยกัน และความก้าวร้าวของสหรัฐทั้งในยุโรปและเอเชียตอนนี้ มาจากความกลัวของสหรัฐว่าอำนาจทางเศรษฐกิจกำลังลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น สหรัฐจึงพึ่งอำนาจทางทหารมากขึ้น

ในทศวรรษที่80 จีนเป็นเศรษฐกิจที่เล็กถ้าเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก คือแค่2%ของเศรษฐกิจโลก แต่การขยับสู่กลไกตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน นำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในอุตสาหกรรมส่งออก 60% เป็นทุนเอกชน แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ บ่อยครั้งเศรษฐีใหญ่ของจีนเป็นลูกหลานญาติพี่น้องของผู้ดำรงตำแหน่งสูงในพรรคคอมมิวนิสต์อีกด้วย ในปี 2011 ชนชั้นปกครองจีนแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาที่ประกอบไปด้วยเศรษฐีรวยที่สุด70คน ในขณะเดียวกันความเหลื่อมล้ำในสังคมก็พุ่งสูงขึ้น มันไม่ใช่ว่ากรรมาชีพจีนคุมการเมืองหรือรัฐแต่อย่างใด

การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเปิดโอกาสให้รัฐบาลขยายกำลังทหารและอาวุธอย่างรวดเร็วจ จาก20พันล้านดอลลาร์ในปี 1989 เป็น 266พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 แต่งบประมาณทางทหารของจีนเทียบเท่าแค่ 1/3ของงบประมาณสหรัฐ จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินแค่ 2 ลำ ในขณะที่สหรัฐมี 11 ลำ

ตอนนี้จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกและเป็นอำนาจทางทหารที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองด้วย เราจึงไม่แปลกใจที่ชนชั้นปกครองสหรัฐมองว่าจีนคือคู่แข่งหลักในเวทีโลกซึ่งเป็นเวทีจักรวรรดินิยม พร้อมกันนั้นสหรัฐและแนวร่วมก็เปิดศึกทางการทูตด้วยการวิจารณ์จีนในเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่นกรณีชาวอุยกูร์หรือกรณีฮ่องกง และทั้งๆ ที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนในสองกรณีนี้จริง แต่สหรัฐและประเทศตะวันตกไม่เคยจริงใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ดูได้จากการที่ตำรวจสหรัฐฆ่าคนผิวดำ หรือการที่สหรัฐปกป้องและสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอิสราเอลเป็นต้น

ถ้าดูกรณีไทย การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายประชาธิปไตยของพวกทหารเผด็จการ อาจถูกวิจารณ์อย่างอ่อนๆจากสหรัฐ แต่ล้วนแต่เป็นเรื่องนามธรรม เพราะรัฐบาลสหรัฐยังร่วมมือทางทหารกับไทย ส่วนเผด็จการจีนก็ไม่สนใจเรื่องแบบนี้ ทั้งจีนกับสหรัฐสนใจจะดึงรัฐบาลไทยมาเป็นพรรคพวกมากกว่าเรื่องอุดมการณ์

อย่างไรก็ตามในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ รัฐและกลุ่มทุนทั้งแข่งขันและร่วมมือกันพร้อมๆ กัน มาร์คซ์ เคยเขียนเรื่องความขัดแย้งดังกล่าวว่าพวกนายทุนเป็น “พี่น้องที่ตีกันอย่างต่อเนื่อง”

ในด้านเศรษฐกิจ ไต้หวันผูกพันกับจีนโดยที่ไต้หวันเป็นแหล่งผลิตชิปคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด และชิ้นส่วนดังกล่าวใช้ในการประกอบคอมพิวเตอร์ที่จีน เพื่อส่งออกให้ตะวันตกและส่วนอื่นของโลก และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของจีนไปสู่สหรัฐมีความสำคัญกับทั้งจีนและสหรัฐ ยิ่งกว่านั้นเงินรายได้ของจีนจากการส่งออกก็ถูกนำไปลงทุนในสหรัฐอีกด้วย นอกจากนี้ทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ขัดแย้งสำคัญระหว่างจีนกับสหรัฐ เป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญมากสำหรับเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่จีนกับสหรัฐผูกพันกันทางเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่ได้แปลว่าไม่มีความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และทหาร และไม่ได้แปลว่าจะไม่เกิดสงคราม ไม่ได้แปลว่าโลกไม่ได้เสี่ยงจากการปะทะกันทางอาวุธ เพราะถ้าเกิดสถานการณ์ที่เพิ่มความตึงเคลียดและทั้งสองฝ่ายไม่ยอมถอยโดยมองว่าอีกฝ่ายจะขยายอิทธิพลและท้าทายผลประโยชน์ของฝ่ายตัวเอง อย่างที่เราเห็นในกรณียูเครน ก็เกิดสงครามได้ และสงครามดังกล่าวเสี่ยงกับการขยายไปสู่สงครามนิวเคลียร์อีกด้วยเพราะจะเป็นสงครามระหว่างมหาอำนาจโดยตรง

มันไม่จบอยู่ที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความขัดแย้งเรื่องเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเล และรัฐบาลต่างๆ กำลังสะสมอาวุธอย่างเร่งด่วน เราเห็นว่าในไทยกองทัพเรือประกาศว่าจะต้องซื้อเรือดำน้ำเพื่อแข่งกับประเทศรอบข้าง

แล้วเรื่องไต้หวัน เราจะเข้าใจประเด็นการเมืองและหาจุดยืนอย่างไร?

ในปี 1949 เหมาเจ๋อตุงนำการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไปสู่ชัยชนะ แต่การปฏิวัติครั้งนั้นไม่ใช่การปฏิวัติสังคมนิยมแต่อย่างใด เพราะไม่ได้นำโดยชนชั้นกรรมาชีพเลย นำโดยกองทัพแดงแทน มันเป็นการปฏิวัติ “ชาตินิยม” ที่ปลดแอกจีนจากอิทธิพลของญี่ปุ่นและตะวันตก และมันนำไปสู่การสร้างระบบ “ทุนนิยมโดยรัฐ”

เจียง ไคเชก กับ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์

หลังการปฏิวัติจีนพรรคก๊กมินตั๋ง (หรือ “กั๋วหมินต่าง”) ของเจียง ไคเชก คู่ขัดแย้งของพรรคคอมมิวนิสต์ ได้หนีไปอยู่บนเกาะไต้หวันและปกครองเกาะด้วยเผด็จการทหาร ตอนนั้นกองทัพจีนยังไม่เข้มแข็งพอที่จะยึดเกาะ และในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาก็เข้ามาหนุนเจียง ไคเชก แต่เวลาผ่านไปหลายสิบปี การต่อสู้ของกรรมาชีพและประชาชนในไต้หวันท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถล้มเผด็จการและขยายพื้นที่ประชาธิปไตยได้สำเร็จ และกรรมาชีพเริ่มมีสิทธิเสรีภาพพอๆ กับประเทศทุนนิยมตะวันตก

อย่างไรก็ตามเกาะไต้หวันและประชาชนกลายเป็นเหยื่อของความขัดแย้งระหว่างจีนที่อ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และสหรัฐที่ต่อต้านการขยายตัวของจีน แน่นอนประชาชนในไต้หวันเป็นคนเชื้อสายจีน แต่ถ้ารัฐบาลจีนเข้ามายึดเกาะ สิทธิเสรีภาพที่เคยได้มาจากการต่อสู้ของประชาชนก็จะถูกทำลายโดยเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคการเมืองกระแสหลักของไต้หวันแบ่งเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่มองว่าน่าจะค่อยๆ รวมชาติกับจีน และฝ่ายที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระ อย่างไรก็ตามทั้งสองพรรคนี้ไม่ได้ยึดถือประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพเป็นหลัก และที่สำคัญคือถ้าไต้หวันจะเป็นประเทศอิสระก็จะเป็นอิสรภาพจอมปลอมภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ

ทางออกสำหรับประชาชนและกรรมาชีพไต้หวันจากการเป็นเหยื่อของความขัดแย้งจักรวรรดินิยม คือกรรมาชีพและนักสังคมนิยมไต้หวันจะต้องสมานฉันท์กับกรรมาชีพบนแผ่นดินใหญ่จีนในการต่อสู้กับชนชั้นปกครองจีน เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ไม่ใช่ทุนนิยม โดยไม่หวังพึ่งสหรัฐอเมริกา ทุกวันนี้กรรมาชีพจีนอยู่ในสภาพความขัดแย้งทางชนชั้นกับรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่องในยุคปัจจุบัน

ท่ามกลางความขัดแย้งจักรวรรดินิยมระหว่างจีนกับสหรัฐ ฝ่ายซ้ายทั่วโลกมีจุดยืนที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็นสามจุดยืนคือ

  1. พวกที่แก้ตัวแทนจีน โดยอ้างว่าจีน “ก้าวหน้า” กว่าสหรัฐ อ้างว่าจีนยังเป็นสังคมนิยม และอ้างว่าจีนไม่ใช่จักรวรรดินิยม พวกนี้เป็นพวกที่ปิดหูปิดตาถึงลักษณะทุนนิยมของจีน การกดขี่ขูดรีดกรรมาชีพของชนชั้นปกครองจีน และการที่รัฐบาลจีนเบ่งอำนาจกับฮ่องกง ทิเบต ไต้หวัน ฝ่ายซ้ายพวกนี้เป็นพวกที่เลือกเข้าข้างโจรกลุ่มหนึ่งเพื่อต่อต้านโจรอีกกลุ่มหนึ่ง โดยลืมว่าพลังหลักที่จะผลักดันสังคมให้ก้าวหน้าและล้มทุนนิยมคือชนชั้นกรรมาชีพ จีนไม่เคยเป็นสังคมนิยม และเมื่อทุนนิยมโดยรัฐพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้ ก็มีการหันหน้าออก เน้นกลไกตลาด และใช้พลังทางเศรษฐกิจเพื่อบุกเข้าไปแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งอาศัยการขูดรีดแรงงานหนักขึ้น
  2. พวกฝ่ายซ้ายที่เชียร์ตะวันตก เพราะมองว่า “ไม่แย่เท่าจีน” พวกนี้มองแค่เปลือกภายนอกของระบบประชาธิปไตย และสภาพแรงงานในตะวันตกเท่านั้น ซึ่งแน่นอนการมีประชาธิปไตย สิทธิแรงงาน และรัฐสวัสดิการในบางประเทศ (ไม่ใช่สหรัฐ) เป็นเรื่องสำคัญที่จับต้องได้ แต่แค่นั้นไม่พอที่จะทำให้เรา “เลือกนาย” จากชนชั้นปกครองตะวันตก และเราต้องไม่ลืมด้วยว่าสหรัฐเป็นมหาอำนาจตะวันตกที่มีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนำไปสู่การก่อสงครามจักรวรรดินิยมโดยสหรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ซึ่งกองทัพดังกล่าว หรือแนวร่วมทหารของนาโต้ ไม่เคยมีประโยชน์อะไรเลยกับกรรมาชีพในตะวันตก ตรงกันข้ามมันนำไปสู่การเพิ่มงบประมาณทางทหารในขณะที่มีการตัดงบประมาณสาธารณสุขหรือรัฐสวัสดิการ และมันนำไปสู่การเกณฑ์กรรมาชีพไปล้มตายในสงครามเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน
  3. ฝ่ายซ้ายที่ยังไม่ลืมจุดยืนมาร์คซิสต์และจุดยืนสากลนิยม จะมองว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐเป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจจักรวรรดินิยม โดยที่จีนขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ในโลกปัจจุบัน นักมาร์คซิสต์มองว่ากรรมาชีพไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะฝ่าย “ของเรา” คือกรรมาชีพในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐ ยุโรป หรือไทย และชนชั้นกรรมาชีพโลกนี้มีพลังซ่อนเร้นที่จะล้มระบบทุนนิยมและระบบจักรวรรดินิยม

ในระบบจักรวรรดินิยมปัจจุบัน ในรอบ20ปีที่ผ่านมา แทนที่เราจะเห็นแค่สหรัฐเบ่งอำนาจกับประเทศเล็กๆ เราเห็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจโดยตรง ซึ่งเสี่ยงกับการเกิดสงครามใหญ่มากขึ้นอย่างน่ากลัว แต่ที่สำคัญคือความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจจักรวรรดินิยมมีต้นกำเนิดจากวิกฤตของระบบทุนนิยมที่มีหลายรูปแบบเช่น วิกฤตโลกร้อน วิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อ

เราชาวสังคมนิยมจะต้องขยันในการเปิดโปงและวิจารณ์ระบบทุนนิยมและระบบจักรวรรดินิยม ต้องเข้าใจและเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เพื่อปลุกระดมมวลชนให้เห็นภาพจริงและออกมาต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของกรรมาชีพทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านสงคราม การสนับสนุนการนัดหยุดงานเพื่อค่าจ้างเพิ่ม การประท้วงโลกร้อน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และในที่สุดการต่อสู้เพื่อล้มทุนนิยมและสร้างสังคมนิยม ภาระงานอันยิ่งใหญ่นี้ย่อมทำไม่ได้ถ้าเราไม่พยายามสร้างพรรคปฏิวัติ

ใจ อึ๊งภากรณ์

วิกฤตการเมืองกระแสหลักในยุโรป ไม่ใช่วิกฤตสำหรับมาร์คซิสต์

ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมโลกในปี 2008 การใช้มาตรการเสรีนิยมกลไกตลาดของรัฐบาลพรรคกระแสหลักในประเทศต่างๆ ของยุโรป นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองของพรรคกระแสหลักในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นพรรคนายทุนหรือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป เพราะทุกพรรคส่งเสริมการโยนภาระการแก้วิกฤตไปสู่ชนชั้นกรรมาชีพ ผลคือคนจำนวนมากเดือดร้อนจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมาก สิ่งที่เข้ามาเสริมอีกคือความไม่พอใจกับมาตรการต่างๆ ที่ไม่เพียงพอในการปกป้องประชาชนจากโควิด

ปรากฏการณ์นี้มีการตั้งชื่อว่าเป็น “การล่มสลายของการเมืองเสรีนิยมที่มีจุดยืนกลางๆ ระหว่างซ้ายกับขวา” เราต้องเน้นว่าแนว “เสรีนิยมกลางๆ” ดังกล่าว ที่ล่มสลายไป ไม่ใช่อะไรที่ก้าวหน้าแต่อย่างใด แต่เป็นแนวที่ถือผลประโยชน์กลุ่มทุนเป็นหลัก มีการใช้เงินรัฐอุ้มกลุ่มทุน แต่ตัดสวัสดิการและระดับค่าจ้าง เพื่อจ่ายหนี้รัฐ และมีการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน ซึ่งช่วยทำลายรัฐสวัสดิการ และเราต้องเน้นว่านโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยพรรคนายทุน และพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป ในทุกประเทศ เวลาเราพูดถึง “ฝ่ายซ้าย” เราไม่สามารถรวมพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูปในนั้น

แม้แต่ในประเทศที่พรรคกระแสหลักยังเป็นรัฐบาลอยู่ เช่นในเยอรมันกับอังกฤษ จะเห็นว่าคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของพรรคนายทุนบวกกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป ซึ่งเคยสูงถึง 80% กลับลดลงอย่างน่าใจหาย

มันมีสองกระแสใหม่ทางการเมืองที่เกิดขึ้นคือ กระแสฝ่ายซ้าย และกระแสฝ่ายขวาเหยียดเชื้อชาติ ทั้งสองกระแสนี้มาจากวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2008  ซึ่งทำให้คนจำนวนมากจนลงและตกงาน มันนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยกและห่างเหินจากการเมืองกระแสหลัก เพราะประชาชนจำนวนมากรู้สึกว่าพรรคการเมืองเก่าไม่สนใจที่จะเป็นตัวแทนของเขา ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อน และแถมซ้ำเติมด้วยนโยบายรัดเข็มขัด ตอนนี้ทั่วยุโรปจึงมีวิกฤตทางการเมืองที่ปะทะกับความชอบธรรมเก่าของพรรคกระแสหลัก

นักมาร์คซิสต์ทราบดีว่า เมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ที่นำไปสู่ความไม่พอใจในพรรคการเมืองกระแสหลัก ประชาชนจะไปทางขวาสุดขั้วก็ได้ หรือจะไปทางซ้ายแบบสังคมนิยมก้าวหน้าก็ได้ และมันไม่มีอะไรอัตโนมัติ ถ้าฝ่ายซ้ายไม่เคลื่อนไหวและปลุกระดม คนจำนวนมากจะไปฟังนักการเมืองขวาสุดขั้วแทน ซึ่งเราเห็นปรากฏการณ์แบบนี้ในหลายประเทศ ในกรีซและสเปน มีการขยายคะแนนนิยมของฝ่ายซ้ายสังคมนิยม ในฝรั่งเศส ออสเตรีย และฮังการี่ มีการขยายตัวของฝ่ายขวาฟาสซิสต์ และทั่วยุโรปทัศนะเหยียดคนต่างชาติกำลังปะทะกับทัศนะฝ่ายซ้ายที่พยายามสมานฉันท์กับคนทุกเชื้อชาติ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3x298t6 ]

วิกฤตในประเทศกรีซ นำไปสู่การเลือกพรรคฝ่ายซ้าย “ไซรีซา” ซึ่งสัญญาว่าจะต้านนโยบายรัดเข็มขัดที่ทำลายมาตรฐานชีวิตของประชาชน นโยบายนี้สั่งลงมาจากกลุ่มอำนาจในอียู คือธนาคารกลาง กรรมการบริหารอียู และไอเอ็มเอฟ เมื่อรัฐบาลไซรีซาจัดประชามติว่าจะรับหรือไม่รับนโยบายดังกล่าวของอียู ประชาชนจำนวนมากลงคะแนนเสียงไม่รับ แต่รัฐบาลกลับหักหลังประชาชน แล้วไปเจรจารับนโยบายรัดเข็มขัดแทน โดยใช้ข้ออ้างว่าโดนกดดันอย่างหนักจากกลุ่มทุนใหญ่ในอียูและรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งมีความจริงอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามพรรคไซรีซาไม่กล้าพากรีซออกจากสกุลเงินยูโรเพื่อลดอิทธิพลของอียู และไม่กล้าใช้พลังมวลชนเพื่อเปลี่ยนระบบ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3ntNBq8%5D

กรีซ

ความไม่พอใจต่อวิกฤตเศรษฐกิจและนโยบายรัดเข็มขัดในสเปน นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ของเยาวชนกลางเมือง เพราะอัตราว่างงานของคนหนุ่มสาวสูงมาก ในการเลือกตั้งต่อจากนั้นพรรคกระแสหลักเสียคะแนนเสียงมากจนไม่มีพรรคไหนสามารถตั้งรัฐบาลได้ จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ แต่ผลก็ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันพรรคฝ่ายซ้ายโพดามอส ที่เพิ่มคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งแรก กลับเสียคะแนนเล็กน้อย สาเหตุสำคัญคือการที่แกนนำพรรคมีพฤติกรรมสองจิตสองใจตลอดเวลาว่าจะผลักดันนโยบายก้าวหน้าหรือไม่ เช่นเรื่องการคัดค้านการรัดเข็มขัด หรือการรณรงค์ให้รัฐต่างๆ ในสเปนมีความอิสระมากขึ้น พรรคนี้เติบโตมาเพราะสะท้อนกระแสต้านนโยบายเสรีนิยม และสะท้อนความไม่พอใจของคนหนุ่มสาว

ในสถานการณ์วิกฤตหนัก ฝ่ายซ้ายในกรีซและสเปนถูกทดสอบอย่างหนัก และผลคือสอบตก เพราะในสเปนพรรคโพเดมอสในที่สุดไปเข้ารัฐบาลกับพรรคสังคมนิยมปฏิรูปและผลักดันแนวเสรีนิยมกลไกตลาด และในกรีซพรรคไซรีซาก็หักหลังประชาชนจนในที่สุดแพ้การเลือกตั้ง

ในกรณีฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เป็นผู้นำฝ่ายขวากระแสหลักที่สร้างพรรค “ใหม่”หลังจากการล่มสลายของพรรคนายทุนกับพรรคสังคมนิยมปฏิรูป มาครงมุ่งหน้าพยายามทำลายฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนผู้ทำงาน และทำลายสิทธิของสหภาพแรงงานจนเกิดการนัดหยุดงานทั่วประเทศกับการประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง รัฐบาลของเขาใช้นโยบายรัดเข็มขัดกับประชาชนธรรมดา แต่ตัว มาครง เองก็ใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อซื้อชุดกินข้าวหรูราคาเป็นแสน และสั่งสร้างสระว่ายน้ำในทำเนียบฤดูร้อน นอกจากนี้เขาพร้อมจะคบจับมือกับทรราชรอบโลก และใช้นโยบายเหยียดสีผิวเชื้อชาติ ซึ่งไปให้กำลังใจกับพรรคฟาสซิสต์ “รวมพลังชาติ” ของ เลอ แปน

Le Pen ในฝรั่งเศส

ในอิตาลี่วิกฤตทางการเมืองไม่ต่างจากที่อื่น เพียงแต่มีเรื่องการโกงกินคอร์รับชั่นเข้ามาเป็นปัจจัยเสริม ท่ามกลางการล่มสลายของพรรคกระแสหลัก ซึ่งเราต้องรวมพรรคคอมมิวนิสต์ในนั้นเพราะแปรไปเป็นพรรคเสรีนิยม พรรคใหม่ๆ เช่นพรรคห้าดาว และพรรคฟาสซิสต์ก็เพิ่มคะแนนเสียง

ในเยอรมัน รัฐบาลผสมระหว่างพรรคนายทุน CDU และพรรคสังคมประชาธิปไตย SPD เสียคะแนนเสียงอย่างต่อเนื่องจนแนวร่วมระหว่างสองพรรคนี้พัง ขณะนี้พรรค SPD สร้างแนวร่วมกับพรรคกรีนเพื่อตั้งรัฐบาล แต่พรรคฟาสซิสต์ก็ขยายฐานเสียง ส่วนพรรคฝ่ายซ้าย Die Linke ที่เคยเพิ่มคะแนนหลังวิกฤตปี2008 มีปัญหาเพราะคะแนนเสียงลดลงอันเนื่องมาจากการทำแนวร่วมกับพรรคกระแสหลักในรัฐต่างๆ และสนับสนุนนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด

ในอังกฤษกระแสที่เห็นชัดคือการขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคแรงงานของคอร์บิน ซึ่งในตอนแรกประชาชนจำนวนมากตื่นเต้นกับนโยบายซ้ายๆ ของเขาจนเกือบชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นพวก สส.ฝ่ายขวาในพรรคแรงงานกดดันให้เขาเปลี่ยนจุดยืนและเอียงไปทางขวา ซึ่งทำให้แพ้การเลือกตั้งในที่สุด [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3kQAZrq ]

ปรากฏการณ์ความรู้สึกแปลกแยกและห่างเหินจากการเมืองกระแสหลัก เห็นได้ชัดจากผลประชามติอังกฤษด้วย เพราะคนที่ลงคะแนนให้อังกฤษ “ออก” มีแนวโน้มจะยากจนและอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่อุตสาหกรรมเก่าถูกทำลาย มันมีกระแสเหยียดเชื้อชาติที่ถูกปลุกระดมโดยนักการเมืองฝ่ายขวาทั้งสองฝ่าย คือพวกที่สนับสนุนอียูและพวกที่อยากออก แต่สาเหตุหลักที่คนจำนวนมากโหวดออกก็เพราะทนไม่ไหวที่จะอยู่ต่อไปแบบเดิม

ข้อสรุปสำคัญสำหรับเราชาวมาร์คซิสต์ จากวิกฤตการเมืองในยุโรปคือ ถ้าพรรคฝ่ายซ้ายไปประนีประนอมกับนโยบายทุนนิยมกลไกตลาดเสรี อย่างเช่นในกรีซ สเปน เยอรมัน หรืออังกฤษ มันจะนำไปสู่ความหายนะ และถ้าไม่มีการสร้างขบวนการต้านการเหยียดเชื้อชาติสีผิว พวกฟาสซิสต์มีโอกาสโตได้ ตัวอย่างที่แย่ที่สุดคือกรณีฝรั่งเศส ซึ่งต่างจากอังกฤษที่มีขบวนการดังกล่าว

การสร้างพรรคสังคมนิยมปฏิวัติแนวมาร์คซิสต์ เป็นสิ่งที่ทำได้ในทุกประเทศและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้เราเผชิญหน้ากับสามวิกฤตที่มาจากลักษณะของระบบทุนนิยม คือวิกฤตโลกร้อน วิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตโควิด ซึ่งนักการเมืองกระแสสหลักไม่มีวันแก้ปัญหาที่เกิดจากสามวิกฤตนี้ได้ เพราะยึดติดกับกรอบของระบบทุนนิยม [อ่านเพิ่ม สามวิกฤตของทุนนิยม https://bit.ly/2XKQ69L ]

ทุกวันนี้กระแสการต่อสู้และความไม่พอใจของคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นในทุกที่ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/30EsGaG  ] และนี่คือสิ่งที่สร้างความหวังให้กับนักสังคมนิยมมาร์คซิสต์ โดยเฉพาะในเครือข่าย IST (International Socialist Tendency) เราไม่หดหู่เหมือนพวกที่หลงใหลในระบบการเลือกตั้ง หรือแนวเสรีนิยม เราเป็นนักปฏิวัติที่สู้เพื่อการปฏิรูปอย่างถึงที่สุด

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทำไมต้องมีการปฏิวัติสังคมนิยม -สามวิกฤตของทุนนิยมปัจจุบัน

ยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งสามวิกฤตที่มาจากลักษณะของระบบทุนนิยม ซึ่งทั้งสามวิกฤตมีผลซึ่งกันและกัน และท้าทายความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งโลก

1. วิกฤตที่หนึ่ง  วิกฤตโควิด

วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด กระทบคนทั้งโลก แต่ในขณะเดียวกันมันเปิดโปงความเหลื่อมล้ำในสังคมทุนนิยมของทุกประเทศ เพราะคนจน คนที่มีสีผิว คนที่มีเชื้อชาติเป็นคนส่วนน้อยของสังคม และแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มคนที่ล้มตายและยากลำบากจากโควิดมากที่สุด สาเหตุสำคัญก็เพราะเป็นคนที่ไม่สามารถกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานจากบ้านได้ ต้องออกไปเลี้ยงชีพทุกวันในงานสกปรกหรืองานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส นอกจากนี้สภาพที่อยู่อาศัยมักจะแออัด และในประเทศที่ไม่มีรัฐสวัสดิการจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขและวัคซีนไม่ได้เพราะยากจนเกินไปหรือตกงาน

คนที่ตกงาน เด็กๆ หรือวัยรุ่นที่ต้องขาดเรียน และคนที่ทำงานในระบบสาธารณสุข จะเสี่ยงต่อปัญหาจิตใจมากขึ้นเนื่องจากชีวิตที่เปลี่ยนไป

ในขณะเดียวกันพวกนายทุนเศรษฐีที่รวยที่สุดมีการเพิ่มทรัพย์สินมหาศาล และบริษัทยาขนาดใหญ่ก็คุมการผลิตวัคซีนภายใต้ความต้องการที่จะเพิ่มกำไรอย่างเดียว

เมื่อโควิดระบาด รัฐบาลอาจปิดเมือง ปิดงาน หรือปิดโรงเรียน แต่ในไม่ช้าแรงกดดันจากกลุ่มทุนจะบังคับให้รัฐบาลเปิดเสรีก่อนที่ภัยโควิดจะหมดไป ซึ่งทำให้โควิดระบาดรอบสองหรือสาม

แต่ที่สำคัญคือวิกฤตโควิดเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะระบบเกษตรแบบทุนนิยม และการพัฒนาของชนบทที่เชื่อมโยงโดยตรงกับเมือง แปลว่ามนุษย์รุกเข้าไปในธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สัมผัสกับสัตว์ป่ามากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งไวรัสที่สำคัญเพราะค้างคาวมีภูมิต้านทานไวรัสสูงและสามารถอยู่กับไวรัสหลายสิบชนิดได้

นอกจากนี้ ระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเลี้ยงหมูหรือไก่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ในคอกขนาดใหญ่ เปิดโอกาสให้ไวรัสกระโดดจากสัตว์ป่าไปสู่สัตว์เกษตร และต่อไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น

การเดินทางระหว่างชนบทกับเมือง และที่อยู่อาศัยแออัดในเมือง สำหรับคนที่ต้องไปหางานทำในเมืองก็เพิ่มการระบาดได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสใหม่ๆ มากขึ้น และองค์กรอนามัยโลกก็มองว่าโควิด 19 คงจะไม่ใช่ไวรัสร้ายแรงชนิดสุดท้ายที่ระบาดไปทั่วโลก

ถ้าไม่มีการปรับรูปแบบการเกษตร พัฒนาสภาพชีวิตมนุษย์ และการปกป้องธรรมชาติอย่างจริงจังปัญหานี้จะแก้ไม่ได้ แต่ภายใต้ทุนนิยม การแสวงหากำไรของกลุ่มทุนใหญ่กลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลต่างๆ และกลุ่มทุน

อ่านเพิ่ม: โควิด https://bit.ly/2UA37Cx  

ทุนนิยม กลไกตลาด กับปัญหาโควิด https://bit.ly/3aA9hrF

2. วิกฤตที่สอง วิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร

ก่อนที่โควิดจะระบาด ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกเข้าสู่สภาพถดถอยมาหลายสิบปีแล้ว สาเหตุคือแนวโน้มของระบบที่จะทำให้อัตรากำไรลดลง สืบเนื่องจากการลงทุนมากขึ้นในเครื่องจักรในอัตราที่เร็วกว่าและสูงกว่าการลงทุนในการจ้างกรรมาชีพ กลุ่มทุนต่างๆ โดนกดดันให้ทำเช่นนี้ เพราะการแข่งขันในระบบกลไกตลาดของทุนนิยม กลุ่มทุนไหนไม่ลงทุนแบบนี้ก็จะแข่งกับคู่แข่งไม่ได้ แต่ผลในภาพรวมคือทำให้เศรษฐกิจเสื่อมในระยะยาว และทุกวันนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะอ่อนแอตามด้วยวิกฤตเป็นระยะๆ และรัฐต่างๆ มักจะต้องอุ้มกลุ่มทุนและบริษัทต่างๆ เพื่อไม่ให้ล้มละลาย ซึ่งทำให้เราเห็น “บริษัทซอมบี้” มากมาย คือกึ่งเป็นกึ่งตาย และมีหนี้สินท่วมหัว รัฐเองก็มีหนี้สินเพิ่มจากการอุ้มบริษัทด้วย

พอโควิดระบาด สถานการณ์นี้ร้ายแรงขึ้นหลายเท่า คาดว่าตอนนี้ระบบทุนนิยมโลกเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่แย่กว่าช่วง 1930 เสียอีก คนเริ่มตกงานกันทั่วโลก และรัฐต่างๆ เข้ามาอุ้มกลุ่มทุนต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ช่วยพลเมืองอย่างเพียงพอ แถมมีการวางแผนที่จะตัดค่าแรงเงินเดือน และรัดเข็มขัดตัดระบบสาธารณสุขและสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีก

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ หรือประเทศในยุโรป แต่ลักษณะการเมืองฝ่ายขวายิ่งทำให้สภาพแย่ลงถ้ารัฐบาลปฏิเสธเรื่องโควิด หรือปฏิเสธที่จะใช้งบประมาณช่วยประชาชนในอัตราเพียงพอ ซึ่งต้องทำผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย และการตัดงบทหารหรืองบพวกอภิสิทธิ์ชน

อ่านเพิ่ม: วิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf

3. วิกฤตที่สาม วิกฤตโลกร้อน

วิกฤตโลกร้อนมีผลทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เกิดอากาศร้อนสุดขั้ว อากาศเย็นสุดขั้ว ไฟป่า พายุ น้ำท่วม ฝนแล้ง ฯลฯ อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ และมีส่วนในการผลิตฝุ่นละอองในอากาศด้วย มันจะทำให้การเกษตรล้มเหลวในบางพื้นที่ การประมงมีปัญหา ธรรมชาติและระบบนิเวศน์เสียหายมหาศาล ส่งผลให้ท้าทายสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก เพิ่มความยากจน เพิ่มความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเพิ่มจำนวนผู้ลี้ภัย

วิกฤตโลกร้อนเป็นวิกฤตที่มาจากระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทุนนิยม และทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ นายทุน และนักการเมืองส่วนใหญ่ทราบว่ามีปัญหานี้จริง แต่ระบบการแข่งขันในกลไกตลาดแปลว่ากลุ่มทุนใหญ่คิดแต่เรื่องการแสวงหากำไรเฉพาะหน้าโดยไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้เลย และถึงแม้ว่ามีการพูดกันว่าจะลดการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน แต่ในทางรูปธรรมยังไม่มีประเทศไหนที่ทำได้รวดเร็วพอที่จะห้ามวิกฤตนี้ได้

วิธีสำคัญในการลดปัญหาโลกร้อน คือการที่รัฐที่ควบคุมโดยคนธรรมดาตามหลักประชาธิปไตย จะต้องออกมาควบคุมหรือยึดกลุ่มทุนและระบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มทุนเกษตร เพื่อเปลี่ยนเป้าหมายในการผลิตจากการแสวงหากำไร ไปเป็นการตอบสนองทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันในลักษณะที่ปกป้องโลกธรรมชาติ ต้องมีการใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนรถส่วนตัว ต้องใช้รถไฟไฟฟ้าแทนเครื่องบิน ต้องมีการผลิตพลังงานจากแสงแดดและลมพร้อมกับยกเลิกการผลิตพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซ ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่เราไม่มีการเปลี่ยนระบบจากทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยม

อ่านเพิ่ม: สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

นักเคลื่อนไหวไทยควรร่วมต้านปัญหาโลกร้อน https://bit.ly/2ZWipnF

วิกฤตโลกร้อนทับถมซ้อนลงไปกับสภาพวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ และทั้งสามวิกฤตมาจากเนื้อแท้ของระบบทุนนิยม ถ้าเราไม่ร่วมกันเปลี่ยนระบบและโครงสร้างของสังคม มนุษย์ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในสภาพสังคมที่โหดร้ายป่าเถื่อนในอนาคตข้างหน้า

คำพูดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ว่าเราเผชิญหน้ากับสองทางเลือกคือ “สังคมนิยมหรือความป่าเถื่อน” ดูเหมือนจะตรงกับความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม สภาพย่ำแย่ของโลกปัจจุบันเป็นประกายไฟในการลุกขึ้นสู้ของคนทั่วโลก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ซึ่งเราเห็นใน ไทย ฮ่องกง อัฟริกา ยุโรป สหรัฐ และลาตินอเมริกา การต่อสู้ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือความหวังของเรา

อ่านเพิ่ม: การลุกฮือของมวลชนทั่วโลกในปี 2019 https://bit.ly/2OxpmVr

ใจ อึ๊งภากรณ์

โลกาภิวัตน์ทุนนิยมกับความแตกต่างระหว่างอัตราการตายจากโควิด19 ในประเทศต่างๆ ของโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทั้งๆ ที่เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์พยายามอ้างว่านโยบายรัฐบาลทำให้ไทย “เอาชนะ” โควิด19ได้ แต่ในความเป็นจริงอัตราการตายจากโควิดในไทย ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด สูงกว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเช่นเวียดนาม และในกรณีไทยและหลายๆ ประเทศ ที่อยู่นอกกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐ ผลกระทบของไวรัสโคโรน่าออกมาในรูปแบบวิกฤตชีวิตหรือวิกฤตทางสังคมของคนจนมากกว่าวิกฤตจากพิษทางชีววิทยาของตัวไวรัส และวิกฤตทางสังคมของคนจนมาจากนโยบายของรัฐบาลโดยตรงบวกกับผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์

total-covid-deaths-per-million

อัตราการตายจากโควิด19ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ค่อนข้างจะต่ำถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกเกือบทุกประเทศคือ อัตราการตายสะสมในวันที่ 24 พ.ค. 2020 ต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่ากับ 4.3 ในอินโดนีเซีย 7.3 ในฟิลิปปินส์ 3.2 ในมาเลเซีย 0.9 ในไทย และ 0 ในเวียดนาม เทียบกับ 525 ในอังกฤษ [ดู https://bit.ly/2Zvc0A0 ]

_111039738_gettyimages-1203060096

ถ้าเราจะเข้าใจสาเหตุเราต้องดูปัจจัยหลายอย่างด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่คลั่งชาติหรือฟังข้อโกหกของผู้นำรัฐบาลต่างๆ

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่ออัตราการตายสะสมคือ

  1. ความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์ในแง่ของการเคลื่อนไหวของคนและสินค้า ยุโรปตะวันตกกับสหรัฐมีความเชื่อมโยงสูงที่สุดในโลก ซึ่งดูได้จากเที่ยวบินที่เข้าออกจากประเทศ ปริมาณสินค้า และจำนวณนักท่องเที่ยวก่อนที่จะมีการปิดประเทศ เช่นฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก และสนามบินหลักๆ ของสหรัฐและอังกฤษมีเที่ยวบินต่างๆ สูงที่สุดในโลก ปัจจัยนี้ทำให้ไวรัสโคโรน่าสามารถเดินทางในร่างมนุษย์จากจีนได้ง่ายที่สุด
  2. สัดส่วนคนชราต่อประชากรทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราการตาย เพราะคนชราเสี่ยงกับการตายมากที่สุดเนื่องจากมีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคหัวใจและเส้นโลหิต หรือโรคระบบปอดและการหายใจ ปรากฏว่าประเทศตะวันตกมีอัตราคนชราต่อประชากรทั้งหมดสูงที่สุดในโลก และประชาชนในประเทศโลกที่สามหรือประเทศ “ใต้” ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย อัฟริกา หรือลาตินอเมริกา มีจำนวนประชากรในวัยเด็กและหนุ่มสาวสูง นี่คือสาเหตุสำคัญที่อัตราการตายในหลายประเทศของอัฟริกาและเอเชียค่อนข้างต่ำ และองค์กร WHO ก็ยืนยันสิ่งนี้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่าประเทศยากจนไม่มีวิกฤตสาธารณะสุข เพราะในบางประเทศเกือบจะไม่มีอุปกรณ์ทางแพทย์เลย และสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกผลักดันจากไอเอ็มเอฟหรือองค์กรสากลอื่นๆ นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ของจักรวรรดินิยม และความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการลงทุนจากกลุ่มทุนใหญ่ภายใต้เงื่อนไขของตลาดเสรี ทำให้มีการตัดงบสาธารณะสุขอีกด้วย
  3. ปริมาณประชากรที่น้ำหนักตัวสูงหรือมีความอ้วนจนเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การตายจากโควิด19 และปัจจัยนี้อาจช่วยอธิบายว่าทำไมอัตราการตายต่อประชากรหนึ่งล้านคนในญี่ปุ่นค่อนข้างต่ำคืออยู่ที่ 6.3 ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีสัดส่วนคนชราสูงและมีความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์พอๆ กับยุโรปตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกา ปริมาณคนอ้วนในญี่ปุ่นเกือบจะต่ำที่สุดในโลกคืออยู่ที่ 4.3 % เทียบกับ 36 % สำหรับสหรัฐ 28 % สำหรับอังกฤษ 24 % สำหรับสเปน 22 % สำหรับฝรั่งเศส และ 20 % สำหรับอิตาลี่ ในประเทศที่ยากจนกว่าปริมาณคนอ้วนมีน้อยมาก เช่น 2% ในเวียดนาม 4 % สำหรับอินเดีย และ 3.6% สำหรับบังกลาเทศ ส่วนไทยอยู่ที่ 10% (ตัวเลขจากCIAปี2020)

ความอ้วนเป็นปัญหาที่มักพบในหมู่คนจนในประเทศตะวันตก ซึ่งความยากจนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพิ่มอัตราการตายในสังคมตะวันตกทุกแห่งทีเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ แต่ความอ้วนมักจะเป็นปัญหาสำหรับคนชั้นกลางในประเทศยากจน

  1. นโยบายโง่ๆ ของรัฐบาลฝ่ายขวา ที่ไม่สนใจในการปกป้องประชาชน และเน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนที่ต้องการให้คนไปทำงานทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเสี่ยง เป็นอีกปัจจัยสำคัญ และได้นำไปสู่ตัวเลขการตายที่สูงกว่าปกติในสหรัฐ อังกฤษ สวีเดน และบราซิล ในกรณีสวีเดนทั้งๆ ที่พรรคการเมืองหลักในรัฐบาลเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตย แต่นโยบายที่ใช้เป็นนโยบายฝ่ายขวาที่ปฏิเสธการปิดประเทศ

ประเทศที่มีนโยบายเพื่อปกป้องประชาชนที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบสาธารณะสุขที่ไม่ขาดแคลน จะมีอัตราการตายต่ำกว่าประเทศที่ยกตัวอย่างมาข้างบน ตัวอย่างเช่นเยอรมันและเกาหลีใต้เป็นต้น

ในเม็กซิโกกรรมาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดชายแดนสหรัฐต้องนัดหยุดงานประท้วงเพราะถูกกลุ่มทุนสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐ และรัฐบาลเม็กซิโก กดดันให้กลับไปทำงานในสภาพที่ไม่มีความปลอดภัย ในโรงพยาบาลหลายแห่งของยุโรปตะวันตกมีการประท้วงของแพทย์พยาบาลเพราะรัฐบาลไม่แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันตัวจากโควิดอย่างทั่วถึง

การยกเลิกมาตรการกักตัวที่บ้านหรือยกเลิกการปิดเมืองในประเทศต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการ “เอาชนะ” โควิดแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเพื่อให้กรรมาชีพกลับไปทำงานเพื่อสร้างกำไรให้นายทุนต่างหาก โควิดจะอยู่กับสังคมมนุษย์ในทุกประเทศอีกนาน

 

วิกฤตทางสังคมหรือวิกฤตชีวิตสำหรับคนจนทั่วโลกร้ายแรงกว่าพิษของโควิดโดยตรง

ในระบบทุนนิยมที่ดำรงอยู่ในโลก (รวมถึงจีนและคิวบาด้วย) สภาพโครงสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล่ำทำให้เกิดวิกฤตร้ายแรงสำหรับคนจน ในประเทศตะวันตกคนจนและคนที่มีสีผิวดำๆ จะเป็นคนที่ตายมากที่สุด และกรรมาชีพจำนวนมากจะตกงาน ในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการคนเหล่านี้จะได้รับความช่วยเหลือระดับหนึ่งจากรัฐ แต่ย่อมไม่เพียงพอ ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรัฐสวัสดิการกรรมาชีพที่ตกงานจะถูกปลดออกจากระบบประกันสุขภาพจึงไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้โดยไม่ติดหนี้มหาศาล

ในประเทศต่างๆ ของ เอเชีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา คนจนจะประสบกับวิกฤตหนักทางสังคมและเศรษฐกิจอันมาจากนโยบายรัฐบาลในการปิดเมืองและปิดงานในขณะที่ไม่มีรัฐสวัสดิการอะไรเลย ในอินเดียคนงาน 40 ล้านคนจากหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศถูกปลดออกจากงานในเมืองใหญ่และต้องเดินเท้ากลับหมู่บ้านของตนท่ามกลางความอดอยากอย่างถึงที่สุด ส่วนใหญ่ต้องเดินเท้าในระยะทางหลายร้อยกิโล เพราะไม่มีระบบขนส่งมวลชน ถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐบาลอินเดียต่อประชาชน ในไทยเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์อ้างว่าจะช่วยคนจนที่ตกงาน แต่ระบบของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้คนอดอยากเป็นจำนวนมาก

Screen-Shot-2020-04-17-at-7.22.58-AM

ในประเทศเคนยา ในอัฟริกาตะวันออก มีการก่อจลาจลโดยคนจนในสลัมที่รัฐบาลกำลังสั่งให้รื้อ “เพื่อป้องกันสังคมจากโควิด” และในหลายประเทศของอัฟริกาความพยายามที่จะสั่งให้คนจนที่หาเช้ากินค่ำกักตัวอยู่บ้าน โดยไม่มีความช่วยเหลืออะไรเลยจากรัฐ นำไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งรัฐบาล ซึ่งเราเห็นบ้างในไทยด้วย แต่ที่อัฟริกามีการส่งทหารติดอาวุธไปยิงประชาชน ในไทยประยุทธ์ที่มือเปื้อนเลือดจากการฆ่าเสื่อแดงยังไม่กล้าทำแบบนี้

ขณะนี้โลกกำลังเดินเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรง ในสภาพเช่นนี้รัฐบาลและนายทุนต่างๆ จะพยายามให้กรรมาชีพและคนจนแบกรับภาระด้วยการตกงาน ถูกตัดค่าจ้าง และการรัดเข็มขัดลดงบประมาณที่เป็นการบริการประชาชน ในขณะเดียวกันพวกคนรวย นายทุน และพวกเผด็จการจะเสพสุขต่อไป บางคนอาจเพิ่มกำไรจากโควิดด้วยซ้ำ ถ้ากรรมาชีพและคนจนไม่รวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับศึกทางชนชั้นที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เรามีสิทธิ์ที่จะโดนเหยียบหัวฝังดินจนอดตาย

แต่ในหลายส่วนของโลก เช่นที่อัลจีเรีย ซุดาน ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ขบวนการประท้วงที่ต้องหยุดพักเพราะโควิด สามารถฟื้นตัวขึ้นมาอีกได้ และในประเทศอื่นการต่อสู้ใหม่ๆ อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องเข้าใจตอนนี้คือ การต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดที่รัฐบาลแจกให้เรา เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่อื่น

ถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปีนี้ครบรอบ 30 ปีหลังการพังลงมาของกำแพงเมืองเบอร์ลิน การสิ้นสุดของสงครามเย็น และการล้มละลายของพรรคคอมมิวนิสต์แนว “สตาลิน-เหมา” ในเกือบทุกประเทศของโลก

ในช่วงนั้นมีนักวิชาการและนักเขียนหลายคนที่มองว่า เราถึง “จุดจบแห่งประวัติศาสตร์” หรือถึง “จุดจบแห่งความขัดแย้ง” หรือถึง “จุดอวสานของรัฐชาติ” เพราะระบบทุนนิยมตลาดเสรีแบบโลกาภิวัตน์ได้สร้างเครือข่ายทุนและไฟแนนส์ไปทั่วโลก และสร้างความผูกขาดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) ผ่านการกดดันและบังคับให้รัฐบาลต่างๆ นำนโยบายกลไกตลาดเสรีมาใช้ ซึ่งนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเอกชน และการลดค่าใช้จ่ายรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนและคนทำงานธรรมดา

220px-Empire_(book)

นักเขียนฝ่ายซ้ายชื่อดัง สายอนาธิปไตย ที่เสนอว่ารัฐชาติกำลังจะหายไป และระบบจักรวรรดินิยมที่มีศูนย์กลางในประเทศใหญ่อย่างสหรัฐไม่มีแล้ว คืออันโตนิโอ เนกรี กับ ไมเคิล ฮาร์ท ซึ่งเขาเขียนไว้ในหนังสือ Empire ว่ายุคการแข่งขันระหว่างจักรวรรดินิยมสิ้นสุดลงหลังสงครามเย็น และเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ปลอดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

แต่พวกเราในกลุ่มและพรรคฝ่ายซ้ายสายมาร์คซิสต์มักจะมองต่างมุม และเสนอว่าจักรวรรดินิยมและความขัดแย้งระหว่างประเทศยังคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะไปเท่านั้น และสงครามกับความขัดแย้งระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่องตามที่เราคาดไว้

พอถึงปี 2008 ได้เกิดวิกฤตใหญ่ของระบบทุนนิยมกลไกตลาดเสรีที่ลามจากสหรัฐสู่ยุโรปและแพร่กระจายไปทั่วโลก วิกฤตนี้เกิดจากการลดลงของอัตรากำไร แต่นโยบายกลไกตลาดเสรีและการเคลื่อนย้ายทุนจากจุดต่างๆ ของโลกอย่างเสรี ยิ้งทำให้ผลกระทบร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ที่เคยเกิดขึ้นในไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ก็มีลักษณะคล้ายวิกฤตใหญ่ที่ตามมาสิบปีหลังจากนั้น

ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้งและวิกฤตปี 2008 ทำให้ความน่าเชื่อถือของนโยบายคลั่งกลไกตลาดเสรีลดลงอย่างมาก ในไทยรัฐบาลไทยรักไทยของทักษิณนำระบบเศรษฐกิจ “คู่ขนาน” มาใช้ผ่านการเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจของรัฐในระดับชุมชน เพื่อยกระดับคนจน ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่เสื้อเหลือง ทหาร และพวกอนุรักษ์นิยมที่คลั่งตลาดเสรี หลายคนในไทยทุกวันนี้ไม่เข้าใจว่าพวกเผด็จการทหารและประชาธิปัตย์เป็นพวกเสรีนิยมคลั่งกลไกตลาด ในขณะที่ทักษิณนิยมผสมการใช้รัฐกับกลไกตลาด

หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2008 การเคลื่อนย้ายทุนและการค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในสหรัฐและยุโรปหลัง 2008 เริ่มมีการตั้งคำถามอย่างจริงจังกับกลไกตลาดเสรีในหมู่นักเศรษฐศาสตร์และนักเคลื่อนไหว แต่รัฐบาลต่างๆ ยังหน้าด้านเดินหน้าต่อไป และโอนภาระในการแก้วิกฤตให้กับประชาชนธรรมดาผ่านนโยบายรัดเข็มขัดของพวกเสรีนิยม

ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นกลายเป็นเสียงสนับสนุนพวกขวาจัดในบางกรณี เช่นชัยชนะของดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ หรือการขึ้นมาของรัฐบาลขวาจัดในอิตาลี่เป็นต้น ในขณะเดียวกันพรรคการเมืองกระแสหลักของพวกเสรีนิยมเริ่มเข้าสู่วิกฤตหนักในหลายประเทศของยุโรป เช่นในเยอรมัน สแกนดิเนเวีย ฝรั่งเศส และสเปน

ในกรณีอื่นการวิจารณ์กลไกตลาดเสรีออกดอกออกผลในทางที่ก้าวหน้า เช่นในข้อเสนอเรื่อง The Green New Deal (“กรีน นิว ดีล”) ที่เสนอให้รัฐฝืนตลาดและเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ที่มาจากนโยบายรัดเข็มขัดและปัญหาที่มาจากสภาพโลกร้อนพร้อมๆ กัน มีการเสนอ “กรีน นิว ดีล” ในสหรัฐและแพร่ไปสู่คานาดาและอังกฤษผ่านนักการเมืองสายซ้ายปฏิรูป

Untitled

สถานการณ์หลังวิกฤต 2008 นำไปสู่ “สงครามทางการค้า” คู่อริใหญ่คือสหรัฐกับจีน เพราะจีนเริ่มท้าทายอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านการใช้นโยบายพัฒนาเทคโนโลจีที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด บริษัท หัวเว่ย (Huawei) เป็นตัวอย่างที่ดี

huawei_0

ในขณะเดียวกันเราทราบดีว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจผูกพันอย่างใกล้ชิดกับการใช้นโยบายทางทหารของรัฐต่างๆ ซึ่งชาวมาร์คซิสต์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “จักรวรรดินิยม” ดังนั้นความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐมีแง่ของความขัดแย้งทางทหารด้วย โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้

761fdce8-2e6d-11e9-80ef-0255f1ad860b_image_hires_092316

สำหรับคำถามว่าตอนนี้เราถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะทุนนิยมโลกยังมีลักษณะโลกาภิวัตน์ แต่ในขณะเดียวกันมี “กลุ่มอำนาจ” หลายกลุ่มในภูมิภาคต่างๆ เช่น อียู จีน สหรัฐ ซึ่งไปกดทับผลประโยชน์ของประเทศที่เล็กกว่าแต่อยากจะโตเท่าทันประเทศเจริญ เช่นอินเดียหรืออาเจนทีนาเป็นต้น

จุดยืนของมาร์คซิสต์คือ เราต้องคัดค้านแนวชาตินิยม หรือแนวที่จะพาเราไปสนับสนุนกลุ่มอำนาจหนึ่งในความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น และเราต้องเน้นความสมานฉันท์ในหมู่กรรมาชีพสากลเพื่อต่อสู้กับรัฐทุนนิยมในประเทศของเรา และระบบทุนนิยมทั่วโลก

[บทความนี้อาศัยเนื้อหาส่วนใหญ่จากการอภิปรายโดย Alex Callinicos หัวข้อ “Is this the end of globalisation?” ดูได้ที่นี่ https://bit.ly/2XMpE1S ]

การทำลายมาตรฐานการจ้างงานในเยอรมัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปัญหาความเสื่อมในคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมัน อธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับเยอรมันได้ มันอธิบาย “ความสำเร็จ” ในการส่งออกซึ่งสร้างกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มทุนเยอรมัน แต่เกิดขึ้นบนสันหลังกรรมาชีพ มันอธิบายว่าทำไมธนาคารต่างๆ ของเยอรมันพร้อมจะปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศที่ยากจนกว่าในยุโรป เช่นกรีซ เพื่อระบายสินค้าส่งออกของเยอรมัน มันอธิบายว่าทำไมหลังจากนั้น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 รัฐบาลเยอรมันเป็นหัวหอกในการบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดในกรีซ เพื่อเอาเงินกู้นั้นคืนมา ซึ่งทำให้ประชาชนกรีซต้องยากลำบาก และล่าสุดมันอธิบายว่าทำไมในสังคมเยอรมัน ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจกับพรรคกระแสหลัก และบางคนพร้อมจะเชื่อการเป่าหูที่เบี่ยงเบนประเด็นไปสู่การโทษผู้ลี้ภัย คนมุสลิม และคนต่างชาติที่ทำงานในเยอรมัน ซึ่งมีผลทำให้พรรคนาซีเยอรมันกลับมาได้คะแนนเสียงในรัฐสภาเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลก

AfD+hitler

ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้สงครามเย็น เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองซีก เยอรมันตะวันตกภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ ฝรั่งเศส กับอังกฤษ และเยอรมันตะวันออกภายใต้อิทธิพลรัสเซีย

ในสมัยนั้นการเมืองกระแสหลักในเยอรมันตะวันตกส่งเสริมให้รัฐมีบทบาทสูง มีการสร้างระบบรัฐสวัสดิการและระบบแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้ทุนนิยมขยายตัวและพัฒนาสังคมภายใต้สันติภาพทางชนชั้น รายได้และมาตรฐานการทำงานของกรรมาชีพเยอรมันก็ดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนั้นนายทุนก็สามารถเพิ่มกำไรและปริมาณการส่งออกได้ มันสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือกันระหว่างสหภาพแรงงานกับนายทุนจนผู้นำสหภาพเลิกสนใจการต่อสู้ผ่านการนัดหยุดงาน

แต่พอถึงปลายทศวรรษที่ 70 ระบบเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่วิกฤตทุนนิยมเรื้อรังท่ามกลางการลดลงของอัตรากำไร ดังนั้นทั่วโลกมีการรื้อฟื้นแนวเสรีนิยมกลไกตลาดและแนวคิดที่ต่อต้านบทบาทรัฐในเศรษฐกิจ เช่นการต่อต้านรัฐสวัสดิการ และการต่อต้านมาตรฐานการจ้างงานที่ดี ทั้งนี้เพื่อพยายามกู้อัตรากำไรให้นายทุน [ดู https://bit.ly/2tWNJ3V]ในยุคทศวรรษที่ 80 และ 90 เริ่มมีการตัดงบประมาณในรัฐสวัสดิการและการส่งเสริมการขายรัฐวิสาหกิจ อัตราการว่างงานค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่สภาพชีวิตของคนธรรมดาในเยอรมันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต

พร้อมกันนั้นระบบเผด็จการสตาลินก็ล่มสลายในรัสเซียกับยุโรปตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมันเป็นประเทศเดียวหลัง 1989 และทั้งๆ ที่การรวมประเทศทำให้รัฐเยอรมันต้องลงทุนมหาศาลในการพัฒนาเยอรมันตะวันออกให้มีมาตรฐานเท่ากับตะวันตก แต่กลุ่มทุนเยอรมันได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตสู่ภูมิภาคที่มีค่าจ้างต่ำในเยอรมันตะวันออกกับส่วนอื่นของอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ ดังนั้นกลุ่มทุนเยอรมันสามารถประคองอัตราการส่งออกได้ แต่อัตราการว่างงานในเยอรมันซีกตะวันออกสูงมาก เพราะอุตสาหกรรมเก่าจากยุคเผด็จการสตาลินล้มเหลว

Gerhardschroeder
แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์

พอถึงปี 2003 รัฐบาลแนวร่วมระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและพรรคกรีน ภายใต้นายกรัฐมนตรี แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ (Gerhard Schröder) หันหลังให้กับความคิดเดิมที่เน้นรัฐสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ที่ดี เพื่อรับแนวเสรีนิยมมาเต็มๆ และเปิดศึกกับขบวนการแรงงาน เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน การหักหลังชนชั้นกรรมาชีพและรับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดโดยพรรคสังคมนิยมปฏิรูปหรือพรรคแรงงานเกิดขึ้นทั่วยุโรป และมีการแก้ตัวโดยที่นักวิชาการหลายคน[1]โกหกว่าเป็น“แนวทางที่สาม” ระหว่างแนวที่เน้นรัฐกับแนวที่คลั่งตลาด ในความจริงมันเป็นการรับแนวคลั่งตลาดมาเต็มตัว ในอังกฤษรัฐบาลของ โทนี แบลร์ ที่อ้างว่าเป็น “พรรคแรงงานใหม่” ก็ส่งเสริมนโยบายแบบนี้เช่นกัน

ในเยอรมัน แกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ เสนอนโยบาย “วาระ2010” (Die Agenda 2010) มีการตัดสวัสดิการต่างๆ แบบถอนรากถอนโคน มีการทำลายกฏหมายที่ปกป้องความมั่นคงของการทำงานเพื่อให้นายจ้างสามารถไล่คนออกง่ายขึ้น และมีการนำระบบรับเหมาช่วงและการจ้างคนงานชั่วคราว มาใช้ในบริษัทต่างๆ ในหลายบริษัทเกือบครึ่งหนึ่งของคนงานเป็นคนงานชั่วคราวที่ไร้สิทธิ์และสวัสดิการที่ดี ในบางกรณีคนงานชั่วคราวได้รับค่าจ้างแค่ครึ่งหนึ่งของคนงานประจำ มีการลดการใช้ระบบเจรจาระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงานในกรรมการลูกจ้างของบริษัทต่างๆ ในปี 2014 แค่ 28% และ 15% ของบริษัทในซีกตะวันตกและตะวันออกได้รับค่าจ้างมาตรฐานที่มาจากการเจรจากับสหภาพแรงงาน นอกจากนี้คนงานจากประเทศอื่นในอียูที่เข้ามาทำงานเกือบจะไม่ได้สวัสดิการอะไรเลย คนงานที่แย่ที่สุดคือคนงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานในสถานที่ทำงาน

german-workers

ท่ามกลางการเปิดศึกกับกรรมาชีพของชนชั้นปกครองเยอรมัน ผู้นำสหภาพแรงงานหมูอ้วนหลายคนที่เคยชินกับการเจรจาแทนการนำการต่อสู้ ก็ยอมจำนนโดยปลอบใจตัวเองและสมาชิกสหภาพว่าอย่างน้อยก็สามารถรักษาผลประโยชน์อะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตามในหลายบริษัทก็มีกรณีที่สหภาพแรงงานพยายามต่อสู้เพื่อเพิ่มมาตรฐานการจ้างงานสำหรับคนงานชั่วคราวในระบบรับเหมาช่วง และคนงานที่มีรายได้ต่ำ เช่นการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน Verdi กับ NGG ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและระบบการศึกษา

GERMANY-US-UNIONS-RETAIL-STRIKE-IT-AMAZON

สรุปแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 90 กรรมาชีพเยอรมันได้ส่วนแบ่งของผลผลิตที่ตัวเองผลิตน้อยลง ทั้งๆ ที่ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนนายทุนได้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมเยอรมันเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในปี 2012 25% ของคนงานเยอรมันมีรายได้ต่ำกว่ารายได้ที่ถือว่าอยู่ในระดับยากจน และในหมู่ลูกหลานของคนชั้นกลาง มีกระแสความกลัวในเรื่องความมั่นคงในชีวิต

นี่คือรากฐานของการกลับมาของกระแสการเมืองฟาสซิสต์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุนและมีนโยบายที่เหมือนกัน

a53ee86f43e24999be6547d254e9230d_18
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของนายทุน

แม้แต่ “พรรคซ้าย” (Die Linke) ก็มีปัญหาในการครองใจคนที่ประสพความยากลำบาก เพราะไปเน้นเรื่องการเจรจาในรัฐสภาแทนที่จะนำการต่อสู้ของสหภาพแรงงานหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อคัดค้านนโยบายรัดเข็มขัดของพวกเสรีนิยมสุดขั้ว

dlinke
พรรคซ้าย

มันเปิดโอกาสให้พวกนาซีหรือฟาสซิสต์ในพรรค AfD (Alternative für Deutschland) สามารถเบี่ยงเบนความทุกข์ของประชาชนไปสู่การต่อต้านผู้ลี้ภัย คนต่างชาติ หรือคนมุสลิม ทั้งๆ ที่ความทุกข์ของประชาชนมาจากนโยบายเสรีนิยมที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน

1018316866
สส.พรรคนาซี

[อ่านเพิ่ม: Oliver Nachtwey (2018) “Germany’s Hidden Crisis. Social Decline in the Heart of Europe”. Verso Books.]

[1] เช่น Anthony Giddens และ Thomas Meyer ในกรณี Thomas Meyer องค์กร FES ในไทยเคยเชิญคนนี้มาเพื่อคุยกับนักสหภาพแรงงานไทยและชักชวนให้ชื่นชมแนวทางที่สามและสร้างพรรคแรงงานที่ยอมรับกลไกตลาดเสรี โดยมีการตีพิมพ์หนังสือ “อนาคตของสังคมประชาธิปไตย”

 

ทำไมฝ่ายขวาฟาสซิสต์ในยุโรปเพิ่มคะแนนเสียง

ใจ อึ๊งภากรณ์

[เพื่อความสะดวกในการอ่าน เชิญไปอ่านที่บล็อกโดยตรง]

ข่าวล่าสุดจากการเลือกตั้งในสวีเดนเมื่อต้นเดือนกันยายนรายงานว่าพรรค “ประชาธิปัตย์สวีเดน” ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวากึ่งฟาสซิสต์ที่มีต้นกำเนิดจากพวกนาซี สามารถเพิ่มคะแนนเสียง 4.7% เป็น 17.6% จนกลายเป็นพรรคอันดับที่สามของประเทศรองจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและพรรคสายกลาง

สื่อหลายแห่งและพรรคประชาธิปัตย์สวีเดนเอง อ้างว่าเป็นเพราะสวีเดนรับผู้ลี้ภัยมา “มากเกินไป” แต่สาเหตุสำคัญที่แท้จริง เป็นเพราะรัฐบาลจากพรรคกระแสหลักในอดีต ได้ใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดเพื่อค่อยๆ ทำลายรัฐสวัสดิการผ่านการรัดเข็มขัดและการเพิ่มบทบาทของบริษัทเอกชน มีการตัดอัตราภาษีที่เก็บจากบริษัท กลุ่มทุน และคนรวยอีกด้วย

การตัดสวัสดิการและการกดค่าแรงในสวีเดน เริ่มตั้งแต่วิกฤตการเงินในกลางทศวรรษที่ 90 และมาแรงหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008 ผลคือความเหลื่อมล้ำในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง [ดู https://bit.ly/2p0LVFD ]

พรรคกึ่งฟาสซิสต์ของสวีเดนโฆษณาว่าประชาชน “ต้อง” เลือกระหว่างรัฐสวัสดิการและการรับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ ซึ่งเป็นคำโกหกเหยีดเชื้อชาติสีผิว และเป็นการสร้างแพะรับบาปในรูปแบบคนต่างชาติ เพราะผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน ซึ่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศ และคุณภาพของรัฐสวัสดิการเพิ่มได้ถ้ามีรัฐบาลที่พร้อมจะเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจากกลุ่มทุนและคนรวย และพร้อมจะเลิกการใช้นโยบายเสรีนิยม

คะแนนเสียงของพรรคกระแสหลักสวีเดนลดลง ทั้งๆ ที่มีการลอกแบบจุดยืนบางอย่างที่คัดค้านผู้ลี้ภัยจากพรรคประชาธิปัตย์สวีเดน ในขณะเดียวกัน “พรรคซ้าย” ซึ่งเป็นพรรคอดีตคอมมิวนิสต์ สามารถเพิ่มคะแนนเสียงโดยไม่ยอมจำนนต่อนโยบายที่เหยียดเชื้อชาติ

ผลของการขยับไปทางขวาของพรรคกระแสหลัก นอกจากจะไม่ช่วยกู้คะแนนแล้ว ยังมีผลในการทำให้นโยบายของพวกฟาสซิสต์ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาประชาชนบางคน คำพูดเหยียดเชื้อชาติของ ดอนัลด์ ทรัมป์ และเงินสนับสนุนพวกฟาสซิสต์ในยุโรปที่มาจากพรรคพวกของทรัมป์ในสหรัฐ ก็มีส่วนช่วยด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นในสวีเดนไม่ต่างจากปรากฏการณ์ในประเทศอื่นๆ ของยุโรป คือพรรคกึ่งฟาสซิสต์ ที่ประกอบไปด้วยแกนนำที่เป็นนาซี แต่สร้างภาพปลอมว่า “เคารพประชาธิปไตย” สามารถเพิ่มคะแนนเสียง พรรคกระแสหลักทั้งซ้ายและขวาคะแนนลดลง ทั้งๆ ที่ขยับจุดยืนไปทางขวาและเริ่มโจมตีผู้ลี้ภัย จนจุดยืนของพวกฟาสซิสต์ค่อยๆ เป็นที่ยอมรับในประชาชนหลายส่วนส่วน

skynews-germany-chemnitz-hitler_4403794
ฟาสซิสต์ในเมืองChemnitz

ในรัฐสภาเยอรมันตอนนี้มี สส. ที่เป็นนาซี และในเมือง Chemnitz เมื่อเดือนที่แล้ว หลังข่าวการแทงกัน มีการอาละวาดของอันธพาลนาซีที่เดินขบวนและทำร้ายคนสีผิวที่อยู่ในเมือง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกต่อต้านโดยมวลชนที่คัดค้านฟาสซิสต์

Chemnitz-assembly091118
ต้านฟาสซิสต์ที่ Chemnitz

รัฐบาลอิตาลี่ตอนนี้ประกอบไปด้วย “พรรคห้าดาว” และ พรรคLega ซึ่งเป็นพรรคกึ่งฟาสซิสต์ และมีการกีดกันผู้ลี้ภัยที่กำลังจมน้ำในทะเลไม่ให้เข้าประเทศ พร้อมกันนั้นมีการส่งตำรวจไปปรามชาวโรมา (ยิปซี) และข่มขู่คนมุสลิมภายในประเทศ

_101876768_mediaitem101876767
Matteo Salvini ผู้นำพรรคกึ่งฟาสซิสต์ในอิตาลี่

รัฐบาลออสเตรียเป็นรัฐบาลพรรคแนวร่วมที่ประกอบไปด้วยพรรคฟาสซิสต์ (ชื่อพรรคเสรีภาพ!)

ในเดนมาร์ครัฐบาลปัจจุบันอาศัยเสียงสนับสนุนจาก “พรรคประชาชนเดนมาร์ค” ซึ่งเป็นพรรคกึ่งฟาสซิสต์ และผลคือประเทศเดนมาร์คใช้กฏหมายคนเข้าเมืองโหดที่สุดและกีดกันผู้ลี้ภัยอย่างรุนแรง

marine-le-pen-fn-really-may-day-paris
Le Pen ในฝรั่งเศส

ในฝรั่งเศส “พรรคแนวร่วมชาติ” ของ Marine Le Pen ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “รวมตัวกันเพื่อชาติ” เป็นพรรคนาซี และ นางLe Pen ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

jobbik
อันธพาลพรรค Jobbik ในฮังการี่

ในฮังการี่ พรรค Fidesz ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ใช้นโยบายเหยียดมุสลิมและผู้ลี้ภัยอย่างเปิดเผย และในรัฐสภาฮังการี่ยังมี พรรค Jobbik ซึ่งเป็นพรรคฟาสซิสต์อย่างเปิดเผยที่ได้ 19% ของคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง

ปัจจัยร่วมที่สำคัญซึ่งนำไปสู่สภาพแบบนี้ของการขึ้นมาของฝ่ายขวาสุดขั้วในยุโรปคือ ผลของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 และการใช้นโยบายเสรีนิยมรัดเข็มขัด ที่กดค่าแรงและทำลายสวัสดิการ ซึ่งนโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยพรรคกระแสหลักทั้งซ้ายและขวา บวกกับการพยายามเบี่ยงเบนประเด็นและสร้างแพะรับบาปในรูปแบบผู้ลี้ภัยหรือคนมุสลิม

ในขณะเดียวกันเราไม่ควรมองข้ามการเพิ่มคะแนนนิยมของฝ่ายซ้ายบางพรรคที่ปฏิเสธนโยบายรัดเข็มขัดและการกีดกันผู้ลี้ภัย เช่นพรรคแรงงานอังกฤษของ Jeremy Corbyn  พรรคของ Jean-Luc Mélenchon ในฝรั่งเศส หรือพรรคซ้ายในเยอรมัน

วิธีที่จะคัดค้านกระแสเหยียดสีผิวและการขึ้นมาของฟาสซิสต์คือ ต้องทำสองอย่างคือ หนึ่งสร้างแนวร่วมต้านการเหยียดสีผิวและฟาสซิสต์ เพื่อออกมาคัดค้านการเคลื่อนไหวของพวกนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการสร้างแนวร่วมแบบนี้ในอังกฤษ เยอรมัน กรีซ และออสเตรีย สอง สร้างขบวนการเคลื่อนไหวที่คัดค้านนโยบายเสรีนิยมกับการรัดเข็มขัด โดยเฉพาะในหมู่สหภาพแรงงาน

sutr080918_web
แนวร่วมต้านการเหยียดสีผิวในอังกฤษ

อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2OcScsD , https://bit.ly/2x7iyWm

 

10 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์

[เพื่อความสะดวกในการอ่าน เชิญไปอ่านที่บล็อกโดยตรง]

สิบปีผ่านไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบอย่างแรงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลก ซึ่งทุกวันนี้เรายังเห็นผลในรูปแบบวิกฤตการเมืองของพรรคกระแสหลัก และการขึ้นมาของพรรคฝ่ายขวาฟาสซิสต์

ในบทความนี้จะขอทบทวนสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 ธนาคารกลางสหรัฐพยายามจะหลีกเลี่ยงการชลอตัวของเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมให้กรรมาชีพกู้เงินในราคาถูกเพื่อซื้อบ้าน ในขณะที่มีการกดค่าแรง มันทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่คนจนไม่มีวันจ่ายหนี้นี้ได้ ทำให้คนจนเป็นหนี้ที่เรียกกันว่า “sub-prime” ต่อมามีการขายหนี้คนจนให้บริษัทไฟแนนส์และปั่นราคาหุ้น แต่เมื่อคนจนจ่ายหนี้ไม่ได้ ฟองสบู่การพนันนี้ก็แตก และเกิดวิกฤตในระบบธนาคาร จนธนาคารพี่น้องตระกูลเลห์แมน (Lehman Brothers) ล้มละลาย ธนาคารนี้เป็นธนาคารการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ4 และการล้มละลายครั้งนี้เปิดโปงปัญหาใหญ่ในระบบธนาคารในสหรัฐและยุโรป

ในยุโรปมีการปล่อยกู้ในรูปแบบคล้ายๆ สหรัฐ แต่เป็นการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารต่างๆ ในอียู เพื่อให้กับบริษัทต่างๆ และเมื่อเกิดวิกฤตธนาคาร ประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ และสเปนก็มีปัญหา

ก่อนหน้านั้นมีการปั่นหุ้นในบริษัทอินเตอร์เน็ด (dot com) เพื่อวัตถุประสงค์ในการพยุงอัตรากำไรชั่วคราวเช่นกัน ฟองสบู่นั้นก็แตกเหมือนกัน

ในปี 2008/2009 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดของโลก 11 ประเทศได้เข้าสู่วิกฤติอย่างแรง องค์กร OECD เสนอว่าในปีค.ศ. 2009 ประเทศที่พัฒนาแล้วประสบปัญหาการชลอตัวของเศรษฐกิจ 4.3% และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูง คนงานสหรัฐ  6 แสนกว่าคนต้องตกงานในเดือนเมษายน  และระบบอุตสาหกรรมสหรัฐกำลังชลอตัวลง 12.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในยุโรประบบการผลิตอุตสาหกรรมหดลง 18.4% และในญี่ปุ่นหดลงถึง 38%  จีนก็มีปัญหาด้วย

ท่าทีของรัฐทุนนิยมหลักๆ  เช่นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในสกุลเงินยูโร คือใช้รัฐแทรกแซงตลาดเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน รวมถึงการนำธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนมาเป็นของรัฐทั้งทางอ้อมและทางตรง นโยบายดังกล่าวได้ทำลายความน่าเชื่อถือของลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดที่ปฏิเสธรัฐโดยสิ้นเชิง แต่เป้าหมายของการแทรกแซงตลาดโดยรัฐในครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อปกป้องงาน ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือที่อยู่อาศัยของคนธรรมดาแต่อย่างใด เป้าหมายคือการปกป้องระบบทุนนิยมและนายทุนใหญ่ในระบบการเงินต่างหาก

นอกจากนี้ในสหรัฐและยุโรป ธนาคารกลางใช้นโยบายพิมพ์เงินและลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยายามพยุงเศรษฐกิจ ในจีนรัฐบาลใช้รัฐวิสาหกิจพยุงเศรษฐกิจโดยการขยายโครงการสาธารณูปโภค

หลังจากนั้นรัฐบาลตะวันตกก็กอบโกยเงินคืนจากประชาชนด้วยนโยบายรัดเข็มขัด มีการตัดงบประมาณสาธารณสุข สวัสดิการ และการศึกษา มีการกดค่าแรง ลดคนงาน หรือขึ้นภาษีให้คนธรรมดา สรุปแล้วกรรมาชีพคนทำงานถูกบังคับให้อุ้มบริษัทใหญ่และนายทุนที่เล่นการพนันในตลาด ในยุโรปประชาชนกรีซเดือดร้อนมากที่สุด

นโยบายดังกล่าวนำไปสู่ความไม่พอใจและความสิ้นหวังในระบบกระแสหลัก และบวกกับผลของสงครามในส่วนต่างๆ ของโลก ที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผู้ลี้ภัย นำไปสู่การปลุกระดมลัทธิเหยียดสีผิวและเชื้อชาติที่เอื้อประโยชน์กับพรรคฟาสซิสต์ฝ่ายขวาและคนอย่างดอนัลด์ ทรัมป์

สำหรับนักมาร์คซิสต์อย่าง ไมเคิล โรเบิรตส์ [ดู https://thenextrecession.wordpress.com/ ] ปัญหาแท้จริงที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจเป็นประจำในระบบทุนนิยม คือปัญหาอัตรากำไร เพราะนายทุนทุกคนจะประเมินความคุ้มของการลงทุนที่ตัวเลขอัตรากำไรเสมอ อัตรากำไรมีแนวโน้มลดลงผ่านการแข่งกันลงทุนในเครื่องจักรมากกว่าการลงทุนในการจ้างงาน และมันนำไปสู่การชลอในการลงทุน หรือแสวงหาแหล่งลงทุนนอกภาคการผลิต เช่นในภาคอสังหาริมทรัพย์หรือการปั่นหุ้นเป็นต้น ซึ่งสภาพแบบนี้ทำให้เกิดฟองสบู่ในราคาหุ้น ราคาที่ดิน หรือราคาบ้าน คาร์ล มาร์คซ์ เคยอธิบายปัญหาพื้นฐานอันนี้ของทุนนิยมในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” [ดู https://bit.ly/2v6ndWf ]

โดยทั่วไปการฟื้นตัวของอัตรากำไรเกิดขึ้นได้ถ้ามีการทำลายทุน หรือมีการทำลายเครื่องจักรในวิกฤต หรือผ่านการทำสงคราม หรืออาจฟื้นตัวถ้ามีการขูดรีดแรงงานหนักขึ้น แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราวและความสำเร็จเฉพาะหน้าขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ที่จะทำลายทุนที่เป็นส่วนเกิน หรือความเป็นไปได้ที่จะขูดรีดแรงงานหนักขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันพิสูจน์ว่าระบบทุนนิยมและกลไกตลาดเป็นระบบที่ไร้ประสิทธิภาพ สิ้นเปลือง และไม่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ส่วนใหญ่

ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศสำคัญๆ ของโลกในยุคนี้ แสดงให้เราเห็นว่าอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากร (rate of GDP increase / head หรืออัตราการขยายตัวของมูลค่าที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศหาญด้วยจำนวนประชากร) ไม่ได้กลับสู่ระดับก่อนวิกฤตปี 2008 เลย นอกจากนี้ระดับการค้าขายทั่วโลกก็ซบเซาเมื่อเทียบกับก่อนปี 2008 และแนวโน้มอาจแย่ลงท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและยุโรป

แม้แต่การขยายตัวของจีนก็ช้าลง และความคาราคาซังของเศรษฐกิจโลกกับสงครามการค้า ทำให้ประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกาที่เคยอาศัยการส่งออกวัตถุดิบมีปัญหามากขึ้น ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกบวกกับการขึ้นดอกเบี้ยในสหรัฐ และปัญหาการเมืองในหลายประเทศ ก็เข้ามซ้ำเติม ทำให้มีการถอนทุนจากลาตินอเมริกา ตุรกี อินโดนีเซีย และอัฟริกาใต้ ในที่สุดอาจส่งผลต่อเกาหลีใต้และอินเดียอีกด้วย ซึ่งไทยคงหนีปัญหาไม่ได้

ปัจจุบันระดับหนี้สินของรัฐบาลและกลุ่มทุนในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าระดับหนี้ในเศรษฐกิจโลกเท่ากับ 217% ของผลผลิตมวลรวมทั้งหมดภายในประเทศต่างๆ ซึ่งสูงกว่าระดับหนี้ก่อนวิกฤตปี 2008 และบริษัทไฟแนนส์กับธนาคารก็ใหญ่ขึ้นและมีลักษณะผูกขาดมากขึ้น ถ้าในอนาคตธนาคารแห่งหนึ่งล้มละลายก็จะมีผลกระทบสูงกว่าคราวก่อน นอกจากนี้มีการซื้อขายหุ้นและหนี้ใน “ธนาคารเงา” ที่รัฐต่างๆ ควบคุมไม่ได้เพราะไม่ความโปร่งใส การเพิ่มขึ้นของราคาเงินดอลลาร์และการลดลงของราคาเงินในหลายประเทศของโลก ทำให้ประเทศที่มีหนี้สินเป็นดอลลาร์มีปัญหาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ตราบใดที่เรายังไม่ล้มทุนนิยมและนำระบบสังคมนิยมมาใช้แทน ชาวโลกก็จะต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเรื่อยๆ ซึ่งนำไปสู่สงครามและความปั่นป่วนทางการเมืองอีกด้วย

วิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกา

ใจ อึ๊งภากรณ์

[เพื่อความสะดวกในการอ่าน เชิญไปอ่านที่บล็อกโดยตรง]

วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองในหลายประเทศของลาตินอเมริกา เป็นปัญหาที่มาจากการพึ่งการส่งออกวัตถุดิบสู่ตลาดโลก

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมอธิบายสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจในเวเนสเวลา ซึ่งมีส่วนสำคัญมาจากการพึ่งการส่งออกของน้ำมันในช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำลงอันเนื่องมาจากวิกฤคเศรษฐกิจโลกปี 2008 [ดู https://bit.ly/2Pvrjk0 ] แต่ปัญหานี้ไม่ได้เกิดแค่ไหนเวเนสเวลา มันสร้างปัญหาให้กับอาเจนทีนา บราซิล และนิการากัวด้วย ซึ่งจะอธิบายต่อไป

ถ้าเราย้อนกลับไปสี่สิบกว่าปี นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายชาตินิยมซ้ายในประเทศกำลังพัฒนา มักจะชี้ให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในแถบ “ใต้” จะมีจุดอ่อนตรงที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกของวัตถุดิบสู่ตลาดโลกที่ควบคุมโดยประเทศพัฒนาในแถบ “เหนือ” ซึ่งผลก็คือความด้อยพัฒนาของการผลิตอุตสาหกรรมภายในประเทศ และการที่รัฐบาลในประเทศทางใต้ขาดอำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจ

ทางออกของที่พวกชาตินิยมซ้ายเสนอ คือการปิดประเทศระดับหนึ่ง เพื่อควบคุมการลงทุนและการแข่งขัน และเพื่อให้รัฐบาลส่งเสริมการผลิตภายในเพื่อทดแทนการนำเข้าของผลผลิตอุตสาหกรรมจากประเทศพัฒนา เป้าหมายคือการพัฒนาเศรษฐกิจให้หลากหลายมากขึ้น ลดการพึ่งพาการส่งออกของวัตถุดิบ และลดการถูกควบคุมโดยบริษัทข้ามชาติ ผู้นำและนักเศรษฐศาสตร์ในคิวบา เวเนสเวลา บราซิล และอาเจนทีนา มีความพยายามที่จำนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ และมีนักวิชาการหลายคนที่เสนอการวิเคราะห์ปัญหาและทางออกภายใต้สิ่งที่เรียกกันว่า “ทฤษฏีพึ่งพา”

ในไทยหลังวิกฤตต้มยำกุ้งก็มีนักเศรษฐศาสตร์ชาตินิยมซ้ายที่เสนอนโยบายคล้ายๆ กัน [เช่น กมล กมลตระกูล (๒๕๔๐) “IMF นักบุญหรือคนบาป” ส.พ.มิ่งมิตร, พิทยา ว่องกุล (๒๕๔๐) บรรณาธิการ “คำประกาศอิสรภาพจาก IMF” ส.ก.ว. และมูลนิธิภูมิปัญญา,เศรษฐสยาม (๒๕๔๑) “สหรัฐอเมริกา ยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้า” วิถีทรรศน์ชุดภูมิปัญญา 8]

ปัญหาคือการปิดประเทศเพื่อพัฒนาภายใน ภายใต้เงื่อนไขของทุนนิยมโลกในสมัยนี้ นำไปสู่การขาดการลงทุนและเทคโนโลจีสมัยใหม่ ถ้าจะทำกันจริงๆ ต้องมีการยึดปัจจัยการผลิตมาเป็นของกรรมาชีพ ปฏิวัติล้มทุนนิยม สร้างรัฐสังคมนิยม เริ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ และสร้างความสมานฉันท์กับประเทศอื่นๆที่ทำสิ่งเดียวกัน แต่แนวชาตินิยมซ้ายไม่ต้องการจะล้มระบบทุนนิยม เพราะทั้งๆที่อ้างความเป็นซ้าย แท้จริงแนวคิดหลักเป็นแนวชาตินิยมที่ตรงกับผลประโยชน์นายทุนชาติเท่านั้น สิ่งที่เขาต้องการคือการสร้างชาติที่อิสระจากจักรวรรษนิยมเท่านั้น มันตรงกับสิ่งที่ลัทธิเผด็จการ “สตาลิน-เหมา” ของพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆ เรียกว่าขั้นตอน “ประชาชาติประชาธิปไตย”

และการบิดเบือนสังคมนิยมภายใต้เผด็จการแนวสตาลิน ที่ใช้ระบบ “ทุนนิยมโดยรัฐ” ทำให้การต่อสู้เพื่อสังคมนิยมมีอุปสรรคมากมาย [ดู https://bit.ly/2uOffCh ]

การล่มสลายของเผด็จการ “ทุนนิยมโดยรัฐ” ในรัสเซีย กับยุโรปตะวันออก และการเปลี่ยนนโยบายของจีน เวียดนาม และคิวบา มาจากปัญหาเดียวกันของการปิดประเทศโดยพวกชาตินิยมซ้าย [เรื่องคิวบาดู https://bit.ly/2N7HyGf ]

ผลของความล้มเหลวของแนวชาตินิยมซ้าย ทำให้รัฐบาลต่างๆ ในลาตินอเมริกา หันไปรับนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกลไกตลาด ซึ่งแปลว่าต้องเปิดประเทศ รับการลงทุนและอิทธิพลจากบริษัทข้ามชาติ กดค่าแรงของประชาชน ขายรัฐวิสาหกิจ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงการลงทุนเข้ามา และยกเลิกความพยายามของรัฐที่จะควบคุมเศรษฐกิจ คือยอมจำนนต่อตลาดโลกนั้นเอง แม้แต่อดีตนักวิชาการทฤษฏีพึ่งพาอย่าง เฟอร์นานโด เฮนริก คาร์โดโซ พอขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีบราซิล ก็หันไปใช้นโยบายเสรีนิยมสุดขั้ว

ปัญหาหลักของนโยบายเสรีนิยมคือ ในทุกประเทศมันนำไปสู่การเพิ่มความเหลื่อมล้ำมหาศาล เพราะมันเป็นนโยบายที่อิงผลประโยชน์ของกลุ่มทุน นอกจากนี้มันหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคที่ประเทศในลาตินอเมริกาต้องพึ่งพาการส่งออกของวัตถุดิบ เช่นน้ำมันในกรณีเวเนสเวลาและบราซิล น้ำตาลในกรณีคิวบา แร่ธาตุในกรณีบราซิล และผลิตผลเกษตรในกรณีอเจนทีนาและนิการากัว ซึ่งราคาวัตถุดิบเหล่านี้ในตลาดโลกขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจทุนนิยมโลกที่ขยายตัวแล้วเข้าสู่วิกฤตเป็นประจำ โดยที่วิกฤตทุนนิยมดังกล่าวมีต้นเหตุจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรตามที่มาร์คซ์เคยวิเคราะห์นานแล้ว [ดู  https://bit.ly/2HZwn0y ]

สำหรับเวเนสเวลา บราซิล และอาเจนทีนา การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ในต้นทศวรรษ 2000 นำไปสู่ราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงและดึงเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ให้ขยายตัว

ในเวเนสเวลา กับ บราซิล มีการนำกำไรจากการส่งออกมาพัฒนาสถานะความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่โดยที่ไม่มีความพยายามที่จะเปลี่ยนระบบทุนนิยมแต่อย่างใด [ดูบทความสัปดาห์ที่แล้ว]

lulada

ในบราซิล รัฐบาลของประธานาธิบดีลูลาจากพรรคแรงงาน เลือกใช้นโยบายเสรีนิยมต่อไปจากรัฐบาลก่อนเพื่อเอาใจนายทุน แต่ในขณะเดียวกันจำเป็นที่จะต้องรักษาฐานเสียงจากคนจนและกรรมาชีพ ดังนั้นมีความพยายามที่จะนำทฤษฏีเศรษฐกิจ “เสรีนิยมพัฒนา” (Developmental Neo-Liberalism) มาใช้ หลักสำคัญคือการใช้รัฐเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อกับการขยายกำไรของทุนเอกชนภายในประเทศภายใต้กลไกตลาด แต่ในขณะเดียวกันมีการยกระดับความเป็นอยู่ของคนจนผ่านโครงการของรัฐ นโยบายนี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของคนจำนวนมากในบราซิล โดยรัฐบาลจงใจไม่แตะหรือลดผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเลย แต่ความสำเร็จของนโยบายเศรษฐกิจนี้ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตและวัตถุดิบที่อยู่ในระดับสูงในตลาดโลก ซึ่งแปลว่าทุกอย่างพังทะลายเมื่อทุนนิยมโลกเข้าสู่วิกฤตในปี 2008 และมีการลดลงของราคาวัตถุดิบ สภาพเช่นนี้นำไปสู่วิกฤตทางการเมือง การตัดโครงการต่างๆ ที่ช่วยคนจน และการหายไปของเสียงสนับสนุนรัฐบาล ผลคือ “รัฐประหารโดยวุฒิสภาและตุลาการ” ที่ล้มรัฐบาลพรรคแรงงานของประธานาธิบดี เดลมา รุสเซฟ ในปี 2016

หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลฝ่ายขวาที่เข้ามาใหม่มีการหันมาใช้นโยบายรัดเข็มขัดที่โจมตีสถานะของคนจนและกรรมาชีพ [ดู https://bit.ly/2NDhLmw ]

ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในบราซิล และอดีตประธานาธิบดีลูลาจากพรรคแรงงานก็ลงสมัครอีกครั้ง แต่ตุลาการหาข้ออ้างเรื่องการคอรับชั่นมากีดกันไม่ให้เขาลงสมัคร ขณะนี้(ต้นเดือนกันยายน) โพล์ดูเหมือนจะเสนอว่าผู้สมัครฝ่ายขวากึ่งฟาสซิสต์ที่สนับสนุนเผด็จการทหารโหดร้ายกำลังนำ แต่เขาพึ่งถูกทำร้ายต้องเข้าโรงพยาบาล สรุปแล้วสถานการณ์ทางการเมืองในบราซิลปั่นป่วนมาก

ในแง่หนึ่งเราควรจะเปรียบเทียบนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยกับทฤษฏี “เสรีนิยมพัฒนา” เพราะไทยรักไทยพยายามฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ผ่านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อกับการขยายกำไรของทุนเอกชนพร้อมกับความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของคนธรรมดา คือใช้ “เศรษฐกิจคู่ขนาน”แทนเสรีนิยมสุดขั้ว แต่มันมีข้อแตกต่างตรงที่ไทยไม่ได้พึ่งการส่งออกของวัตถุดิบแบบบราซิล และไทยรักไทยไม่ได้เป็นพรรคฝ่ายซ้าย [ดู https://bit.ly/2PYRDnr ]

ในอาเจนทีนา เศรษฐกิจออกจากวิกฤตที่เกิดในปี 1998 และเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วระหว่าง 2001 กับ 2008 แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดจากการส่งออกผลผลิตเกษตรที่ราคาสูงในตลาดโลก อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่วิกฤตในปี 2008 อาเจนทีนาก็เริ่มมีปัญหาอีก และในที่สุดรัฐบาลฝ่ายขวาของประธานาธิบดีแมครี ต้องไปกราบเท้าองค์กร ไอเอ็มเอฟ เมื่อไม่นานมานี้เอง

A woman holds a sign that reads "No to the IMF" during a protest outside the Congress in Buenos Aires
ประชาชนต้านไอเอ็มเอฟในอเจนทีนา

ในนิการากัว อดีตนักปฏิวัติพรรคซานดินิสตา ประธานาธิบดี แดเนียล ออร์เตกา กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการเมืองที่มาจากการต่อต้านอย่างแรงจากประชาชน สาเหตุหลักของการต่อต้านครั้งนี้ ซึ่งนำไปสู่การที่ประชาชนถูกยิงตายเกือบ 300 คน คือนโยบายรัดเข็มขัดตัดสวัสดิการของรัฐบาลท่ามกลางปัญหาราคาผลผลิตส่งออก ออร์เตกาเคยนำการปฏิวัติล้มเผด็จการโซโมซาในปี 1979 แต่การปลุกสงครามต่อต้านรัฐบาลใหม่ในยุคนั้นโดยสหรัฐ ทำให้เศรษฐกิจพังจนพรรคซานดินิสตาต้องแพ้การเลือกตั้งในปี 1990 ต่อมาในปี 2006 ออร์เตกาชนะการเลือกตั้งและกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ใน16ปีที่ผ่านไปก่อนหน้านั้นเขาเปลี่ยนจุดยืนทางการเมืองโดยสิ้นเชิง คือสร้างความสัมพันธ์กับทุนภายในประเทศกับนักการเมืองคอร์รับชั่น และทำตัวเป็นเผด็จการหลังชนะการเลือกตั้ง อดีตนักปฏิวัติซานดินิสตาหลายคนจึงรับไม่ได้และตัดสินใจแยกทางกัน

image
ฝ่ายค้านประท้วงที่นิการากัว

สรุปแล้วสิ่งที่เราควรจะเข้าใจคือ วิกฤตการเมืองในลาตินอเมริกาไม่ใช่วิกฤตที่เกิดจากนโยบายสังคมนิยมแต่อย่างใด ตราบใดที่ไม่มีการต่อต้านและล้มทุนนิยมรัฐบาลที่อ้างว่าเป็นซ้ายไม่สามารถหลุดพ้นจากวิกฤตทุนนิยมที่เกิดเป็นประจำได้ และรัฐบาลฝ่ายขวาก็จะพยายามแก้วิกฤตเศรษฐกิจบนสันหลังประชาชนผู้ทำงานเสมอ

อุปสรรคในการขยายตัวของจีน

[ท่านใดที่อ่านผ่าน Facebook อาจอ่านได้ง่ายขึ้นถ้าเข้าไปอ่านในบล็อก ]

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในอัตราเฉลี่ยปีละ 10% ทำให้จีนกลายเป็นประเทศส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเศรษฐิจจีนโตเป็นอันดับสองของโลก แต่การขยายตัวดังกล่าวไม่ได้เกิดจากพลวัตของกลไกตลาดเสรีอย่างที่ทฤษฏีเสรีนิยมมักจะทำนาย แต่มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐต่างหาก ทั้งในส่วนของรัฐวิสาหกิจและนโยบายของรัฐที่ควบคุมและกำกับธุรกิจเอกชน

135591304_14710448465461n

ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤต 2008-9 33% มาจากการขยายตัวของจีน และตั้งแต่ปี 1978 จำนวนกรรมาชีพจีนก็เพิ่มขึ้น 5 แสนล้านคน ซึ่งชนชั้นนี้มีพลังซ่อนเร้นที่จะท้าทายเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์

ในแผนเศรษฐกิจ “สร้างในจีน 2025” มีการพยายามพัฒนาเทคโนโลจีสมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดึงนักวิทยาศาสตร์ชั้นดีจากทั่วโลก เมื่อสิบปีก่อนจีนไม่มีรถไฟความเร็วสูง แต่ตอนนี้มีเส้นทางรถไฟสำหรับรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดในโลก แต่รัฐบาลสหรัฐกำลังพยายามสร้างอุสรรคกับการพัฒนาเทคโนโลจีของจีน โดยห้ามไม่ให้บริษัทอเมริการร่วมมือด้วย

1017225341

ทุนนิยมจีนไม่สามารถหลุดพ้นจากข้อจำกัดและปัญหาของระบบทุนนิยมอย่างที่คาร์ล มาร์คซ์เคยอธิบายในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” กลุ่มทุนรัฐของจีนต้องแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดทั่วโลก ซึ่งแปลว่าต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้นำจีนได้จัดการให้มีการลงทุนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ ถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกอัตราการลงทุนเท่ากับเพียง 20% ของผลผลิต แต่การลงทุนที่ขยายตัวเรื่อยๆ มีผลในการเพิ่มการลงทุนในเครื่องจักรในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในการจ้างงาน และเนื่องจากกำไรมาจากการจ้างงาน ผลคืออัตรากำไรต่อการลงทุนมีแนวโน้มจะลงลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ทำให้จีนเสี่ยงกับวิกฤตเศรษฐกิจ ในหลายส่วนของเศรษฐกิจจีน เช่นในการพัฒนาสาธารณูปโภคหรือการขนส่ง ประสิทธิภาพในการผลิตและผลกำไรจะต่ำ รัฐวิสาหกิจจีนได้รับ 33% ของการลงทุนทั้งหมด แต่มีส่วนในการผลิตแค่ 10% ของมูลค่าทั้งหมดของชาติ

รัฐวิสาหกิจยังมีความสำคัญสำหรับรัฐบาลในการเป็นฐานเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์ในหมู่ผู้บริหาร และในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและการขนส่ง ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจมีความสำคัญในการรักษาไม่ให้คนงานตกงานในภูมิภาคที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอีกด้วย

กลุ่มทุนใหญ่ของจีนส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งนับเป็น 80% ของมูลค่าทั้งหมดในตลาดหุ้น และภายใต้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง บริษัทเอกชน IT ขนาดใหญ่ เช่น Tencent กับ Ali Baba ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ และถูกบังคับให้ลงทุนในรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้กิจกรรม “กึ่งธนาคาร” หรือ “ธนาคารเงา” ของบริษัทเอกชนถูกควบคุม เพื่อไม่ให้ระบบธนาคารล้มเหลวและเพื่อพยายามลดปริมาณทุนจีนที่ไหลออกนอกประเทศ ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามชักชวนให้ทุนเอกชนลงทุนในระบบขนส่งระหว่างจีนกับตลาดในทวีปต่างๆ ของโลกอีกด้วย

แต่เนื่องจากอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์มีลักษณะกระจายสู่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น ประสิทธิภาพของรัฐบาลกลางจึงมีข้อจำกัด

ระบบธนาคารของจีนมีปัญหาเรื้อรัง และการที่รัฐบาลจีนใช้การลงทุนของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโลก 2008-9 สร้างความเสี่ยงสำหรับอนาคต เพราะระดับหนี้ของกลุ่มทุนจีนสูงมาก คืออยู่ในระดับ 160% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในระบบไฟแนนส์ระดับหนี้สูงกว่านี้อีก และประมาณหนึ่งในสามของหนี้ เป็นหนี้เสีย ปรากฏการณ์ฟองสบู่กำลังเกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

ชนชั้นปกครองจีนต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่มาตรการที่เขาใช้มาในอดีตทำให้อัตราหนี้พุ่งสูง และการเพิ่มเงินกู้เพื่อการลงทุนมีผลในการขยายการผลิตและเพิ่มกำไรน้อยลงทุกวัน นอกจากนี้เสถียรภาพของเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ที่ครองประเทศมานานเป็นแหล่งเพาะโรคระบาดแห่งการคอร์รับชั่น ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถกำจัดได้ทั้งๆ ที่ประกาศเป็นนโยบายสำคัญ

ในขณะเดียวกันแหล่งแรงงานราคาถูกในชนบทเริ่มหายไปเนื่องจากถูกดึงเข้าไปในเมืองหมดแล้ว ในสถานการณ์การขาดแรงงาน ชนชั้นกรรมาชีพเริ่มเข้าใจอำนาจต่อรองของตนเองที่เพิ่มขึ้น เราเห็นการนัดหยุดงานเพื่มขึ้นในอตสาหกรรมรถยนต์ และล่าสุดครู กับ คนขับรถบรรทุกทั่วประเทศก็มีการประท้วงหยุดงาน

22889682_1502271242.6035

นอกจากปัญหาเศรษฐกิจภายในแล้ว “สงครามการค้า” และความตึงเครียดทางทหาร ระหว่างจีนกับสหรัฐ ก็เพิ่มความเสี่ยง

ถ้าในอนาคตพรรคคอมมิวนิสต์ไม่สามารถจะประกันฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประชาชน การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอาจระเบิดขึ้นอีก เพราะข้อตกลงกับประชาชนในรูปแบบ “การแลกสภาพไร้ประชาธิปไตยกับการพัฒนาประเทศ” กำลังจะถูกท้าทาย นี่คือสาเหตุที่เราเห็นรัฐบาลพยายามใช้มาตรการเผด็จการมากขึ้น โดยเฉพาะในสื่อและภายในพรรค

[บทความนี้อาศัยเนื้อหาจากบทความของ Adrian Budd ในวารสาร Socialist Review]