Tag Archives: ศาลรัฐธรรมนูญ

เผด็จการหรือประชาธิปไตย เราพึ่งศาลไม่ได้

ไม่ว่าประเทศเราจะปกครองด้วยประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ตราบใดที่เราอยู่ในระบบชนชั้นของทุนนิยม เราพึ่งศาลไม่ได้

ในระบบเผด็จการของไทยปัจจุบัน ศาลจะทำตามแนวคิดของเผด็จการ เพื่อปกป้องเผด็จการเสมอ ในเรื่องนี้คนจำนวนมากเข้าใจมานานแล้ว แต่ปัญหาทั้งหมดของ “ความไม่เป็นกลาง” ของศาลไม่ได้มาจากที่มาของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นเท่านั้น แน่นอนในระบบเผด็จการมันชัดเจนมากว่าที่มาของศาลคือการแต่งตั้งจากพรรคพวกของเผด็จการ มันชัดเจนมาก

แต่ในระบบประชาธิปไตย ศาลซึ่งเป็นกลไกส่วนหนึ่งของรัฐทุนนิยม ศาลไม่ได้เป็นกลางอย่างที่แนวคิดเสรีนิยมชวนให้เราเชื่อ ลองไปคุยกับคนงานในสหภาพแรงงานเรื่องศาลแรงงานก็จะเห็นภาพ ศาลมักจะเข้าข้างนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ และที่มาของศาลในระบบประชาธิปไตยก็ยังเป็นปัญหาอีก เพราะศาลถูกแต่งตั้งมาจากคนที่เรียนสูงและใกล้ชิดกับชนชั้นปกครอง มีที่ไหนไหมที่ศาลถูกแต่งตั้งจากกรรมาชีพคนทำงานธรรมดา หรือเกษตรกรยากจน? ไม่มีเพราะในกระแสหลักมักมีการอ้างกันว่าต้องเรียนสูงและเข้าใจกฎหมาย แต่ในความจริงเรื่องความยุติธรรมเป็นสิ่งที่คนธรรมดาเข้าใจได้ และความยุติธรรมบ่อยครั้งไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกฎหมาย มันเกี่ยวกับการตัดสินว่าอะไรยุติธรรมอะไรไม่ยุติธรรมมากกว่า แต่ในระบบทุนนิยมกระแสหลักมักพยายามอ้างว่าความยุติธรรมมากจากการตีความเข้าใจกฎหมายหรือการตีความรัฐธรรมนูญ

นี่คือสาเหตุที่นักสังคมนิยมชื่นชมระบบลูกขุนที่คัดเลือกสามัญชนมาพิจารณาคดี แต่ถ้าเราจะมีความยุติธรรมแท้จริง และมีสิทธิเสรีภาพ เราต้องไปไกลกว่านี้ แม้การเลือกตั้งศาลในลักษณะที่ประชาชนถอดถอนได้ ซึ่งเป็นเรื่องดี ก็ยังไม่พอ

ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตก เรื่องสองมาตรฐานสำหรับคนรวยกับคนจนยังเป็นปัญหาอยู่อย่างต่อเนื่อง และสาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมของศาล มันมาจากอำนาจเงินในการจ้างทนายหรือการกดดันเบี่ยงเบนกฎหมาย หรือการที่สื่อกระแสหลักเข้าข้างคนมีอำนาจอีกด้วย

ถ้าการมีประชาธิปไตยในระบบทุนนิยมไม่เพียงพอที่จะสร้างความยุติธรรมได้ อะไรคือสิ่งสำคัญที่สร้างความยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพภายใต้ประชาธิปไตยทุนนิยม?

คำตอบคือ คนธรรมดาต้องสร้างความยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพเอง โดยเฉพาะคนธรรมดาที่จัดตั้งในขบวนการกรรมาชีพ สหภาพแรงงาน ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และพรรคการเมืองของกรรมาชีพ นี่คือพลังที่ใช้ขยายพื้นที่ประชาธิปไตยได้ภายใต้ข้อจำกัดของประชาธิปไตยทุนนิยม และเป็นพลังที่สร้างกระแสความคิดจากล่างสู่บน เพื่อคานกับกระแสความคิดของชนชั้นปกครอง

ชนชั้นปกครองและนักวิชาการของชนชั้นปกครองมักจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะมันไปขัดกับกติกาที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเอง

ตัวอย่างที่ดีและชัดเจนในยุคนี้ตัวอย่างหนึ่ง คือคดีที่ตำรวจผิวขาวสหรัฐถูกดำเนินคดีในศาลอันเนื่องมาจากการจงใจใช้ความรุนแรงกับคนผิวดำจนคนอย่าง George Floyd ต้องเสียชีวิต

เหตุการณ์ฆ่าและใช้ความรุนแรงโดยตำรวจผิวขาวกับคนผิวดำในสหรัฐและในหลายประเทศของยุโรป เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน และมาจากการเหยียดสีผิวในองค์กรของรัฐ โดยเฉพาะตำรวจ และที่แล้วมาเกือบจะไม่มีตำรวจคนไหนเลยโดนดำเนินคดีทั้งๆ ที่มันน่าจะผิดกฎหมาย

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปที่ทำให้ตำรวจสหรัฐต้องขึ้นศาลและถูกจำคุก คือขบวนการ Black Lives Matter (ชีวิตคนผิวดำสำคัญ) ที่ระเบิดขึ้นบนท้องถนนและประกอบไปด้วยคนผิวดำและคนผิวขาว โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ที่เรียกร้องความยุติธรรม นี่คือสิ่งที่กดดันรัฐให้ต้องดำเนินคดี และกดดันศาลให้ต้องจำคุกตำรวจ

เวลามีการสำแดงพลังของคนธรรมดา ส่วนต่างๆ ของรัฐทุนนิยม อันประกอบไปด้วยคุกศาลตำรวจทหาร มักจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมชั่วคราวเพื่อตามกระแสในสังคม แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราวตราบใดที่เราไม่โค่นล้ม ล้มล้างระบอบการปกครองทางชนชั้นของทุนนิยม

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปฏิรูปกษัตริย์ไม่ได้เพราะมันจะล้มล้างระบบเผด็จการทหารที่ใช้กษัตริย์

คำตัดสินของศาลว่าการเรียกร้องให้ปฏิรูปกษัตริย์เป็นการ “ล้มล้างระบบการปกครอง” พิสูจน์ 3 อย่างว่า

สิ่งศักดิ์สิทธิ์??????
  1. สถาบันกษัตริย์ปฏิรูปไม่ได้ ต้องยกเลิกอย่างเดียว 112ก็ต้องยกเลิกเช่นกันเพราะแก้ไม่ได้
  2. ระบบการปกครองไทยในปัจจุบันเป็นระบบเผด็จการทหาร/นายทุน ที่ใช้กษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรม ชนชั้นปกครองจึงสร้างภาพเท็จว่ากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปฏิรูปไม่ได้ แต่มันไม่ได้พิสูจน์ว่าไทยปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่อย่างใด สถาบันกษัตริย์มีไว้เพื่อค้ำจุนเผด็จการทหารที่มาจากรัฐประหาร หรือเผด็จการนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ข้อจำกัดของประชาธิปไตยทุนนิยม กษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ที่แช่แข็งความเหลื่อมล้ำในระบบทุนนิยม
  3. ศาล ตำรวจ คุก เป็นเพียงเครื่องมือรับใช้เผด็จการ มันไม่เกี่ยวอะไรกับความยุติธรรมหรือความสงบสุขของพลเมืองแต่อย่างใด

นักเคลื่อนไหวหลายคนเสนอว่า “เราไปไกลเกินไปที่จะย้อนกลับไปเป็นสูญ” ถ้าเราจะทำให้เป็นจริง และเราควรทำให้เป็นจริง เราต้องมุ่งหน้าสู้กับเผด็จการทหาร และมุ่งหน้ายกเลิกสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราทำได้ถ้าเราพร้อมจะจัดตั้งการเคลื่อนไหวให้เข้มแข็ง

เราต้องสร้างขบวนการประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วยมวลชนจำนวนมากและมีความสามัคคีระหว่างกลุ่มต่างๆ และเราต้องมีองค์กรทางการเมือง -พรรค- ที่พร้อมจะปลุกระดมพลเมือง โดยเฉพาะกรรมาชีพคนทำงานที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ

การสร้างขบวนการดังกล่าวควรเริ่มด้วยการจัดสมัชชาใหญ่เพื่อถกแนวทางและเป้าหมายในหมู่คนจำนวนมาก และคนที่มีอายุมากกว่าคนหนุ่มสาวที่นำการต่อสู้ ต้องลงมาสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง ไม่ใช่นั่งเอ็นดูเยาวชนแต่ไม่ทำอะไร

อ่านเพิ่ม

อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj

เลนินกับเรื่องอำนาจ https://bit.ly/3h2DROi

ความเลวของวชิราลงกรณ์ https://bit.ly/2Lptg4d

ไทยควรเป็นสาธารณรัฐ https://bit.ly/30Ma32f   และ  https://bit.ly/2Lk2WJ9

ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ https://bit.ly/2JBhqDU

ทำไมนักมาร์คซิสต์ต้องสร้างพรรค?http://bit.ly/365296t

ศาลเตี้ยออกฤทธิ์เผด็จการอีกครั้ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

การที่ศาล(เตี้ย)รัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งโดยเผด็จการประยุทธ์ สั่งปลด ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด มันเป็นแค่อีกตัวอย่างหนึ่งของกลไกต่างๆ ที่เผด็จการทหารสร้างขึ้นเพื่อต่อยอดอำนาจของทหารในระบบ “ประชาธิปไตยครึ่งใบภายใต้ผู้นำเผด็จการ” หรือระบอบ “เผด็จการรัฐสภา”

Dt-n4cyVYAA7HNH

เมื่อสองอาทิตย์ก่อน iLaw รายงานถึง 10 สาเหตุที่ประยุทธ์ไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งได้ [ดู https://prachatai.com/journal/2019/11/85125 ] มีการกล่าวถึงการที่ประยุทธ์ไม่ใช่สส. การที่เผด็จการประยุทธ์คุมอำนาจตลอดเวลาที่มีการเลือกตั้ง การที่ทหารเขียนกติกาเอง การที่ทหารแต่งตั้งศาลและกกต. และการสร้างอุปสรรค์ทั้งหลายให้กับพรรคฝ่ายค้าน ยิ่งกว่านั้นในที่สุดพรรคทหารได้คะแนนเสียงและที่นั่งน้อยกว่าพรรคที่ต้านทหารอีกด้วย

นอกจากนี้ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าทหารกำลังข่มขู่ผู้เห็นต่างด้วยวิธีผิดกฏหมาย [ดู https://prachatai.com/journal/2019/11/85172 ] แต่ในยุค “เผด็จการรัฐสภา” ทหารทำอะไรก็ได้ไม่ต้องสนใจกฏหมาย

คำถามสำคัญที่พวกเราจะต้องชูขึ้นมาคือ ทำไมฝ่ายประชาธิปไตยถึงอ่อนแอ?

เพราะการที่เผด็จการประยุทธ์สามารถสืบทอดอำนาจด้วยกลไกและองค์กรต่างๆ ของมัน ไม่ได้เป็นเรื่องชี้ขาดว่าสังคมเราจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และนิยายหลอกเด็กว่ากษัตริย์ปัญญาอ่อนวชิราลงกรณ์มีอำนาจล้นฟ้า เพียงแต่เป็นการเบี่ยงเบนประเด็นในการต่อสู้ เพื่อเป็นคำแก้ตัวสำหรับคนที่หมดแนวทางในการต่อสู้ [ดู https://bit.ly/2GcCnzj ]

เรื่องชี้ขาดที่ทำให้เผด็จการประยุทธ์ยังคงดำรงอยู่ได้ คือความอ่อนแอของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยนอกรัฐสภา

ความอ่อนแอนี้ไม่ได้มาจากการปราบปรามของฝ่ายเผด็จการเป็นหลัก แต่มาจากการที่แกนนำทางการเมืองของพรรคต่างๆ ที่ต้านทหาร ไม่ต้องการสนับสนุนและสร้างขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าว เช่นการที่ทักษิณแช่แข็งขบวนการเสื้อแดงเพื่อหวังประนีประนอมกับฝ่ายทหาร และการที่พรรคอนาคตใหม่ไม่เคยสนใจที่จะทำอะไรนอกจากการเล่นละครในรัฐสภาหรือการพูดถึงกฏหมายและรัฐธรรมนูญ

สิ่งเหล่านี้สำคัญเพราะมันมีผลในการลดความมั่นใจของคนธรรมดาที่จะเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวที่ผมพูดถึงไม่ใช่การออกรบแบบหัวชนฝาเพื่อพลีชีพ แต่มันเป็นการสร้างเครือข่ายและเคลื่อนไหวของมวลชนแบบที่ใช้สติปัญญา

การที่ธนาธรตอนนี้มีแค่สถานภาพของพลเมืองนอกรัฐสภา เป็นโอกาสทองที่เขาจะเริ่มสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

75239188-c826-496f-8fd6-1d593349dff2

แต่ธนาธรจะทำหรือไม่? เพราะเขาเป็นแค่นักการเมืองนักธุรกิจที่เคยสนับสนุนการเคลื่อนไหวในอดีต ในฐานะนักธุรกิจเขาเน้นผลประโยชน์กลุ่มทุนเหนือผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานและกรรมาชีพ และพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้รณรงค์เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบหรือครบวงจร เขาแค่แสดงความจริงใจในการต้านทหารเผด็จการ

ผู้เขียนหวังว่าธนาธรจะเปลี่ยนใจและหันมารณรงค์สร้างขบวนการเคลื่อนไหวที่มีพลัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไปรอหรือตั้งความหวังว่าเขาจะทำไม่ได้ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีมวลชนต้องสร้างจากล่างสู่บน โดยพลเมืองรากหญ้าที่เป็นกรรมาชีพและเกษตรกร อย่างที่เขาทำกันในขณะนี้ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก [ดู https://bit.ly/2OxpmVr ]

อ่านเพิ่ม การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย https://bit.ly/2BYxAyd

 

เบื้องหลังรัฐประหารในตุรกี – ประวัติการเมืองตุรกี

ใจ อึ๊งภากรณ์

พลเมืองเกือบทั้งหมดในจำนวน75 ล้านของตุรกีนับถือศาสนาอิสลาม แต่ในโลกปัจจุบันที่มีการปลุกระดมให้เหยียดชาวมุสลิมทั่วโลก หลายคนจะมองข้ามความจริงว่าชาวมุสลิมก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เป็นกรรมาชีพ เป็นนักสหภาพแรงงาน เป็นเกษตรกร หรือเป็นนายทุน และความเชื่อในศาสนา หรือจุดยืนทางการเมือง มีความหลากหลาย ซึ่งไม่ต่างจากการที่คนไทยจำนวนมากเป็นชาวพุทธที่มีสถานะและความเชื่อหรือจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกันไป

ในอดีตตุรกีเป็นส่วนสำคัญของอาณาจักรออตโตมันที่เคยยิ่งใหญ่ แต่ในศตวรรษที่ยี่สิบ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาณาจักรนี้ล้าหลังและพังสลาย การก่อตั้งประเทศตุรกีสมัยใหม่ในปี 1923 โดยกลุ่มทหารหนุ่มภายใต้การนำของ เคมาล อตาเติร์ก เป็นความพยายามที่จะทำให้ตุรกีเป็นประเทศตะวันตก เผด็จการของ อตาเติร์ก สร้างคำจำกัดความใหม่ของการเป็น “ชาวเติร์ก” คือต้องมีทัศนะแบบตะวันตก ต้องมีเชื้อสายเติร์ก และต้องจงรักภักดีต่อรัฐที่ไม่อิงศาสนา คำจำกัดความนี้แปลว่าในรูปธรรม ชาวเคิร์ด ซึ่งเป็นชนชาติใหญ่ในตุรกี คนที่นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี และแม้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่นับถือและปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสนาอิสลามนิกายซุนนี กลายเป็นคนนอกกรอบ หรือ “ไม่ถูกสเป็ค” ของการเป็นพลเมืองตุรกีในความหมายของทหาร มีแต่พวกคนชั้นกลางและกลุ่มนายทหารหนุ่มที่ชื่นชมวัฒนธรรมฝรั่งเศสเท่านั้นที่เป็น “ชาวเติร์กแท้”

ataturk-3

เผด็จการทหารของ เคมาล อตาเติร์ก มีการบังคับ “ปฏิรูป” วิถีชีวิตของประชาชน เช่นการห้ามผู้หญิงโพกฮิญาบ ห้ามไม่ให้ผู้ชายใส่หมวดเฟส ห้ามไม่ให้เล่นดนตรีพื้นเมืองผ่านสถานีวิทยุ เปลี่ยนระบบการเขียนให้ไปใช้อักษรโรมัน และปิดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิม

บรรยากาศแบบนี้สร้างวัฒนธรรมในหมู่ชนชั้นนำและชนชั้นกลาง ที่มองว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่รับอิทธิพลตะวันตกมาใช้ เป็นคน “ล้าหลัง” โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ในชนบทที่เป็นเกษตรกรรายย่อย และมีการกีดกันไม่ให้พลเมืองเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการปกครอง นอกจากนี้มีการปราบปรามกดขี่ชาวเคิร์ด

ทุกวันนี้ หลายสิบปีหลังจากที่ อตาเติร์ก เสียชีวิตไป กองทัพตุรกียังมองว่าการวิจารณ์ เคมาล อตาเติร์ก และลัทธิ “เคมาลิสต์” เป็นอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งทัศนะแบบนี้ไม่ต่างจากการที่กองทัพไทยคลั่งในการใช้กฏหมาย 112

กลุ่มก้อนของชนชั้นนำที่คุมอำนาจรัฐตุรกีประกอบไปด้วยนายทหารและข้าราชการ รวมถึงตุลาการ ที่ยึดติดกับแนวลัทธิเคมาลิสต์

ในทศวรรษ 1970 ฝ่ายซ้ายในตุรกีมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพรรคสังคมนิยมแนวปฏิรูป หรือพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ฝ่ายซ้ายทั้งหมดยอมรับเงื่อนไขของลัทธิเคมาลิสต์ และมองว่ามีความ “ก้าวหน้า” ซึ่งแปลว่าค่อนข้างจะมีทัศนะแย่ๆ ต่อคนจนจำนวนมากที่มีวิถีชีวิตแบบเดิม ในยุคนั้นมีการปะทะกันระหว่างฝ่ายซ้ายกับพวกฟาสซิสต์ ซึ่งกลายเป็นโอกาสทองของทหารที่จะเข้ามาทำรัฐปรหารและทำลายประชาธิปไตย ในรอบหกสิบปีที่ผ่านมาทหารตุรกีทำรัฐประหารเพื่อแทรกแซงทางการเมืองสี่ครั้ง ในปี 1960 1971 1980 และ 1995 และมีการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง และบางทีก็ปราบนักการเมืองกระแสหลักอีกด้วย

490-254

turkey-military-ta_3298590b

ต้นกำเนิดของพรรคมุสลิมของประธานาธิบดี เออร์โดกัน ที่ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า “พรรคความยุติธรรมและความเจริญ” (AKP) มาจากทศวรรษ 1960 แต่ในช่วงนั้นโดนปราบปรามอย่างหนักโดยทหาร และถูกยุบโดยศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญตุรกีถูกใช้เป็นเครื่องมือของทหารเพื่อปรามพรรคมุสลิมมาตลอด ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ในไทย

ในยุคแรกคะแนนเสียงของพรรคจะน้อย ไม่เกิน 10% แต่ในปี 1995 พรรคนี้เริ่มได้รับชัยชนะ และประธาเอร์บาแคน ผู้นำพรรคมุสลิมก็ขึ้นมาเป็นประธานาธิดี พรรคชนะเสียงส่วนใหญ่ในเมืองหลักๆ และฐานสนับสนุนของพรรคในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพมาจากนโยบายที่พยายามลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มันไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับประเด็นศาสนาเลย พรรคมุสลิมสามารถเข้ามาแทนที่บทบาทของฝ่ายซ้ายที่ถูกปราบปรามและเสื่อมเอง อย่างไรก็ตามในปี 1995 กองทัพก็นำรถถังออกมาขู่รัฐบาลจนรัฐบาลต้องลาออก

หลังจากนั้น เออร์โดกัน แยกตัวออกจากพรรคเก่าและก่อตั้ง “พรรคความยุติธรรมและความเจริญ” (AKP) และในปี 2002 ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกในแวดวงทหารและ “สลิ่ม” ชนชั้นกลางของตุรกี ในขณะที่คะแนนเสียงส่วนใหญ่ที่สนับสนุนพรรค AKP มาจากกรรมาชีพในเมืองและย่านคนจนในทุกส่วนของประเทศ ต่อมาพรรคก็ชนะการเลือกตั้งอีกสองรอบในปี 2007 และ 2011 แต่ในปี 2015 คะแนนเสียงลดลงจนต้องทำแนวร่วมชั่วคราวกับพรรคชาวเคิร์ด

ทั้งๆ ที่พรรค AKP มีรากกำเนิดจากพรรคมุสลิม แต่ถ้าเราจะเข้าใจว่ามันเป็นพรรคแบบไหน เราควรมองว่ามันเป็นพรรคกระแสหลักของฝ่ายทุนที่เริ่มใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดมากขึ้น เสียงสนับสนุนของพรรคมาจากการที่เศรษฐกิจตุรกีขยายตัวอย่างรวดเร็วตลอดเวลาที่พรรคมีอำนาจ ซึ่งอาจเป็นความโชคดีที่มาจากสถานการณ์ในโลกภายนอกมากกว่าการใช้นโยบายที่ดีของรัฐบาล แต่ประเด็นสำคัญคือพลเมืองจำนวนมากมองว่าพรรคนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการปลดแอกประชาชนจากเผด็จการลัทธิ “เคมาลิสต์”

แต่ประสบการณ์ภายใต้พรรค AKP ก็ไม่ได้เต็มไปด้วยเสรีภาพ เพราะ เออร์โดกัน ก็คลั่งกดขี่ปราบปรามชาวเคิร์ด เยาวชนผู้เห็นต่าง นักสหภาพแรงงาน หรือนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย และทุกวันนี้สภาพเศรษฐกิจเริ่มแย่ลงท่ามกลางสงครามในตะวันออกกลาง

160715212318-23-turkey-coup-0725-exlarge-169

นั้นคือสาเหตุที่พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพปฏิวัติของตุรกี (DSİP) ประกาศจุดยืนระดมมวลชนเพื่อต้านทหารที่พยายามก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกรกฏาคม แต่ประกาศชัดเจนด้วยว่าในการเคลื่อนไหวมวลชนต้องคัดค้านมาตรการเผด็จการของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วย ไม่ใช่ไปตั้งความหวังกับรัฐบาล