Tag Archives: สตาลิน

60ปี หลังการปฏิวัติที่ฮังการี่ 1956

stalin

ในปี 1953 สตาลิน ผู้นำเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ของรัสเซียถึงแก่กรรม และการตายของผู้นำเผด็จการอย่าง สตาลิน มักนำไปสู่การทบทวนครั้งยิ่งใหญ่ของชนชั้นปกครอง ในรัสเซียสาเหตุสำคัญมาจากการที่ชนชั้นปกครองทราบดีว่าในสังคมทั่วไป มีความไม่พอใจสะสมอยู่ ซึ่งอาจระเบิดออกมาได้ นอกจากนี้ในแวดวงชนชั้นปกครองมีความเกรงกลัวว่า ใครสักคนหนึ่งจะชิงตำแหน่งและขึ้นมาเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จใหม่แทน สตาลิน อันนี้คือสาเหตุที่หัวหน้าตำรวจลับของ สตาลิน โดนประหารชีวิตหลังการประชุมแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1956 ในการประชุมครั้งที่ 20 ของพรรค เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ครุสชอฟ ตัดสินใจเปิดโปงความชั่วร้ายหลายอย่างของ สตาลิน เพื่อเพิ่มอิทธิพลและความั่นคงของตนเอง และคำปราศรัยครั้งนี้ มีผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก

arg-r-3_zps16df6e48

ในฮังการี่สถานการณ์ไปไกลจนถึงขั้นปฏิวัติ คนงานและนักศึกษาจำนวนมากเริ่มเดินขบวน และทำลายรูปปั้นสตาลินในเมืองบูดาเพช มีการพยายามยึดสถานีวิทยุ ซึ่งทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจติดอาวุธ คนงานจำนวนมากยึดปืนจากสมาคมเล่นปืนในโรงงาน และชักชวนให้ทหารเกณฑ์เปลี่ยนข้าง ในไม่ช้าเมืองต่างๆ ของฮังการี่อยู่ในมือของ “คณะกรรมการโรงงาน” และ “คณะกรรมการปฏิวัติ” ปิเตอร์ ฟไรเอร์ นักข่าวจากหนังสือพิมพ์พรรคคอมมิวนิสต์อังกฤษ ที่ไปสังเกตการณ์ รายงานว่า “สภาพไม่ต่างจากรัสเซียสมัยปฏิวัติ 1917 เพราะมีสภาคนงานที่เลือกตั้งจากสถานที่ทำงานทั่วประเทศ”

hungary-56

tumblr_nle1hdpuvw1upkgb8o1_400

szetlott_harckocsi_a_moricz_zsigmond_korteren

แต่การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการท้าทายอำนาจเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลินโดยชนชั้นกรรมาชีพ มันพิสูจน์ว่าการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้เป็นการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ตามที่ชาวมาร์คซิสต์เข้าใจแต่อย่างใด

รัฐบาลฮังการี่รีบแต่งตั้งผู้นำสายปฏิรูปชื่อ เนกี เพื่อพยายามแก้ปัญหา แต่รัสเซียส่งกองทัพพร้อมรถถังเข้ามาปราบการกบฏ มีการสู้รบกันอย่างหนัก โดยที่รัฐบาลแท้ของฮังการีกลายเป็น “คณะกรรมการกลางกรรมาชีพเมืองบูดาเพช” แต่ในที่สุดกองทัพรัสเซียได้ชัยชนะและประหารชีวิตแกนนำกรรมาชีพ 350 คน

russiantanks_budapest

ฝ่ายรัสเซียบอกว่าคนงานฮังการี่ที่ลุกฮือเป็นเพียง “สายลับ” ของตะวันตก และรัฐบาลตะวันตกโกหกว่าคนงานฮังการี่ต้องการ “ทุนนิยมประชาธิปไตยแบบตะวันตก” ในความเป็นจริง แกนนำคนงานฮังการี่ ใน “คณะกรรมการกลางกรรมาชีพเมืองบูดาเพช” ต้องการสังคมนิยมแท้ ที่ปราศจากเผด็จการแบบสตาลิน และมีการออกแถลงการณ์ต่อต้านการคืนอำนาจให้นายทุน เจ้าของที่ดิน และนายธนาคาร

การปฏิวัติฮังการี่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติของคนงานเพื่อสังคมนิยมแท้ เปิดโปงลักษณะจริงของเผด็จการสตาลิน และเปิดโปงการโกหกของฝ่ายตะวันตกที่พยายามเสนอว่า การต่อสู้ของคนงานเพื่อสังคมนิยม “ย่อมนำไปสู่เผด็จการสตาลิน” และทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็นพยายามปกปิดประวัติศาสตร์ฉากนี้  ในฮังการี่ การพูดถึงการปฏิวัติในแง่ดีกลายเป็นเรื่องผิดกฏหมายจนถึงปี 1989

จีน ต้นเหตุของการ “ปฏิวัติวัฒนธรรม” ในยุคเหมา

ใจ อึ๊งภากรณ์

การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนเริ่มขึ้นในปี 1966 เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มันเกิดขึ้นจากอะไร และเป็นการปฏิวัติจริงหรือ?

ภาพของประเทศจีนในทศวรรษ 1950 และ1960 ที่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์พยายามวาด เป็นภาพของประเทศที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของเกษตรกรรายย่อยที่พึงพอใจกับสังคมใหม่ แต่นั้นก็เป็นภาพจอมปลอมที่มองข้ามความยากจนของเกษตรกร และความลำบากของชีวิตคนธรรมดา ทั้งในเมืองและชนบท

นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อยึดอำนาจได้ คือนโยบายที่คงไว้โครงสร้างเก่าบางส่วน เช่นการคงไว้เจ้าหน้าที่รัฐเก่าของพรรคก๊กมินตั๋ง และการยึดอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ถูกก๊กมินตั๋งยึดมาเป็นของรัฐ โดยจ่ายเงินปันผลให้นายทุนเดิม ซึ่งแปลว่าใน “จีนแดง” ยังมีเศรษฐี นโยบายดังกล่าว เป็นแนวที่เราเรียกว่า “แนวทุนนิยมโดยรัฐตามแม่บทสตาลิน” มันทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้บ้าง แต่ถ้าจีนจะพัฒนาให้ทันตะวันตกหรือรัสเซียต้องมีมาตรการอื่น

ในปี 1958 เหมาเจ๋อตุง สามารถผลักดันนโยบาย “ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่” เพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมจีน ทั้งๆ ที่ เติ้งเสี่ยวผิง และหลิวเซ่าฉี คัดค้าน นโยบายก้าวกระโดดนี้อาศัยการยึดที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย และบังคับให้ย้ายไปทำงานในโรงงาน หรือบังคับให้ไปทำนารวม ในสองปีแรกดูเหมือนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 30% แต่ในปี 1960 ความจริงก็ปรากฏออกมา เพราะคุณภาพการผลิตในโรงงานต่างๆ แย่มาก และการบังคับทำนารวม ทำให้เกษตรกรไม่พอใจและผลผลิตลดลง จนมีคนอดอาหารตายหลายล้านคน สรุปแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่าน “พลังจิตใจ” ของ เหมาเจ๋อตุง ในการ “ก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่”  ไม่สามารถแก้ปัญหาที่มาจากความล้าหลังทางวัตถุของจีน ซึ่งเป็นมรดกจากจักรวรรดินิยมก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะยึดอำนาจ

แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์เขี่ย เหมา ออกไปและหันมาขยายเศรษฐกิจด้วยความระมัดระวัง แต่ผลแย่กว่าเดิม ในปี 1966 เหมาเจ๋อตุง หลินเปียว และเชียงชิง(ภรรยาเหมา) สามารถยึดอำนาจใหม่ผ่านการประกาศ “ปฏิวัติวัฒนธรรมโดยชนชั้นกรรมาชีพ” แต่การรณรงค์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่การปฏิวัติ และไม่ได้ทำโดยกรรมาชีพเลย มันเป็นการพยายามกำจัดคู่แข่งของ เหมา ในแกนนำพรรคต่างหาก โดยใช้ข้ออ้างว่าพวกนี้ยังมีความคิดแบบวัฒนธรรมเก่าๆ มีการผลัก เติ้งเสี่ยวผิง และหลิวเซ่าฉี ออกไป และใช้หนุ่มสาวในกอง “การ์ดแดง” เพื่อกลั่นแกล้งเจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างโหดร้ายทารุน เช่น ครู นักเขียน นักข่าว และนักแสดง โดยเฉพาะคนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อ “ท่านประธานเหมา” แต่ที่น่าสนใจคือ เหมา ออกคำสั่งว่าการ์ดแดงจะต้องไม่ไปยุ่งกับอำนาจกองทัพหรือตำรวจ

mao-newsweek05.16

     ในแง่หนึ่ง เหมา สามารถฉวยโอกาสใช้ความไม่พอใจที่คนหนุ่มสาว กรรมาชีพ และคนระดับล่าง มีต่อพวกข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มเสพสุขในขณะที่คนอื่นยากลำบาก บางส่วนของกระแสนี้พยายามค้นหาทางที่จะกลับสู่ “สังคมนิยมแท้” และคนเหล่านั้นสามารถส่งต่อมรดกไปสู่กระแส “กำแพงประชาธิปไตย” ในทศวรรษ 1970

red-guards_2487403b

     เหมา และพรรคพวกปลุกกระแส “การ์ดแดง” ขึ้นมาแล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมมันได้ เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังการ์ดแดงที่เป็นคู่แข่งกัน จน เหมา ต้องสั่งให้กองทัพเข้าไปจัดการปราบปราม ในที่สุดมีการส่งคนหนุ่มสาวจำนวนมากไปลงโทษในชนบทด้วยการทำงานหนัก

z030b_1

     ในยุคนั้นฝ่ายซ้ายส่วนหนึ่งทั่วโลก ปลื้มกับการปฏิวัติวัฒนธรรมและหนังสือปกแดงของ เหมาเจ๋อตุง และมีการอ้างประโยคไร้สาระ ที่มาจากความคิดเหมาในหนังสือปกแดง ยังกับว่ามันเป็นคัมภีร์อันยิ่งใหญ่ ที่แนะแนวการต่อสู้สำหรับนักสังคมนิยม แต่ในความเป็นจริง ในปี 1972 ขณะที่สหรัฐกำลังถล่มเวียดนาม เหมาเจ๋อตุง ก็ต้อนรับประธานาธบดี นิกสัน สู่ประเทศจีน

ในปี 1977 หนึ่งปีหลังจากที่เหมาเสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิง นำกลไกตลาดเข้ามาใช้ในจีนด้วยความกระตือรือร้นยิ่ง และทุกวันนี้จีนเป็นเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใช้ระบบทุนนิยมกลไกตลาด จีนภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ไม่เคยเป็นสังคมนิยมเลย