Tag Archives: สถาบันกษัตริย์

ความจริงเรื่องการปราบปราม ๖ ตุลา และคำโกหกของไชยันต์ ไชยพร

ในเมื่อไชยันต์ไชยพร กล่าวหาเท็จว่านักศึกษาสมัย ๖ ตุลา ๒๕๑๙ จงใจชุมนุมในธรรมศาสตร์เพื่อให้โดนปราบ (โดยที่เขาอ้างถึง ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์) และยังมีการโกหกอีกว่าขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบันจงใจสร้างสถานการณ์ให้โดนปราบในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งไชยยันต์เสนอว่าทำไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมือง และเพื่อป้ายร้ายสถาบันกษัตริย์ เราควรกลับมาดูว่าอาชญากรรมรัฐ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เกิดขึ้นอย่างไร

การปราบปรามในวันที่ ๖ ตุลา กระทำเพื่ออะไร?

นักวิชาการคนแรกที่เสนอคำตอบเรื่องนี้คือ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยมีการอธิบายว่า “เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อมีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่าถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ” ใครมีเจตนาแบบนี้? ป๋วย อธิบายว่าเป็น “ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมือง ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยตนจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม”

ถึงแม้ว่าการปราบปรามในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย “ฝ่ายซ้าย” ในประเทศไทยดังที่ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” และเบเนดิก แอนเดอร์สัน อธิบายว่าสิ่งหนึ่งที่ฝ่ายขวา โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ต้องการคือการหยุดยั้งการประท้วงต่างๆ ของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ที่เขามองว่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฏีที่เสนอว่าพวกฝ่ายซ้ายทำเกินเหตุว่า “การปรับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมให้ดีขึ้น (เช่นการปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ) เกิดขึ้นท่ามกลางความวุ่นวาย แต่การกดดันให้นายจ้างหัวแข็งลงมาเจรจากับลูกจ้างทำได้อย่างไรถ้าไม่นัดหยุดงาน? การกดดันให้รัฐบาลออกมาแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่มีกับบริษัทเหมืองแร่ทำได้อย่างไรถ้าไม่ประท้วง? … ถ้ามองย้อนกลับไป รู้สึกว่าพวกเราทุกคนในยุคนั้นสายตาสั้นเวลาบ่นเรื่องความวุ่นวายเหล่านี้” (คำพูดของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มหาวิทยาลัย Georgetown, Washington 15/2/1977)

นอกจากความต้องการที่จะทำลายฝ่ายซ้ายโดยตรงแล้ว John Girling มองว่าผู้นำกองทัพส่วนใหญ่คิดว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามา ดังนั้นต้องลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยด้วยทุกวิธีทาง ในทำนองเดียวกัน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ เสน่ห์ จามริก มองว่าการปราบปรามครั้งนี้เป็นการหวังทำลายแนว “เสรีนิยม” และ “สังคมนิยม” ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ลงมือกระทำคือกลุ่ม “อนุรักษ์นิยม” ที่ยังคุมอำนาจรัฐอยู่และไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง

ในช่วง ๕ ธันวาคมปี ๒๕๑๙ กษัตริย์ภูมิพลได้แสดงความพึงพอใจกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา และอ้างว่ารัฐประหารเป็น “สิ่งจำเป็น” เพราะประเทศไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งตรงกับความเห็นของทหาร

กษัคริย์ภูมิพลเยี่ยมถนอมที่วัดบวรนิเวศน์

นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์นี้ นักวิชาการต่างประเทศส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของพระราชวังมีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น

This image has an empty alt attribute; its file name is 9vsc.jpg
กษัตริย์ภูมิพลมีบทบาทในการช่วยตำรวจ ตชด สร้างขบวนการลูกเสือชาวบ้าน

วชิราลงกรณ์ให้กำลังใจลูกเสือชาวบ้านในวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ที่ลานพระรูปทรงม้า

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตที่เกิดขึ้น เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย เราจึงต้องสรุปว่า ๖ ตุลา เป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไปเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้ายไทย ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่ามีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียวโดยชนชั้นปกครองไทย เราควรเข้าใจว่าส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีการสร้างกลุ่มพลังฝ่ายขวามาคานนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และฝ่ายซ้าย และมีการฉวยโอกาสตามสถานการณ์

สรุปแล้ว ไชยันต์ ไชยพร ยกเมฆโกหกเรื่อง ๖ ตุลา และป้ายสีขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบัน และที่น่าเกลียดที่สุดคือการพูดแบบนั้นของ ไชยันต์ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์เท็จเพื่อฟอกตัวเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เป็นอาชญากรรัฐ ซึ่งผลในรูปธรรมคือเชิดชูเผด็จการ และทำให้การสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยทำได้ยากขึ้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

“อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (๒๕๔๔) ISBN 9748858626  https://bit.ly/2dC7Fk2  และ  https://bit.ly/2cSml2g

สภาวะแปลกแยก กับการสร้างภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์

ในบทความที่อื่น ผมอธิบายว่าทำไมระบบศักดินาหมดสิ้นไปตั้งแต่การปฏิวัติระบบโดยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งนำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจและการสร้างชาติเป็นครั้งแรกภายใต้กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธราชย์ โดยที่รัฐไทยใหม่กลายเป็นรัฐทุนนิยม และภายในเวลาแค่ 60 ปีรูปแบบรัฐอันนี้ถูกปฏิวัติอีกทีโดยคณะราษฏร์ในปี ๒๔๗๕

หลัง ๒๔๗๕ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทน้อยมากในสังคมไทย จนถึงการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังจากนั้นสฤษดิ์ ผู้นำทหารและพลเรือนที่ตามมา และพรรคพวกที่นิยมเจ้า ก็ค่อยๆเชิดชูกษัตริย์มากขึ้นทุกวัน จนมีการสร้างภาพว่าเป็นเสมือนเทวดา

ถ้าเราศึกษาบทบาทสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษ สเปน สวีเดน ญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เราจะเห็นว่าในระบบทุนนิยมที่มีนายทุนเป็นใหญ่ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทในลักษณะลัทธิการเมืองอนุรักษ์นิยมที่รณรงค์ให้ประชาชนมองว่ามนุษย์บางคน “เกิดสูง” และคนส่วนใหญ่ “เกิดในฐานะต่ำ” คนที่เกิดสูงมีอภิสิทธิ์ที่จะกอบโกยทรัพย์สิน และมี “ความสามารถ” ในการปกครอง ส่วนพลเมืองส่วนใหญ่ควรจะเจียมตัวกับสภาพที่ด้อยกว่าและเชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถที่จะปกครองตนเอง นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์ถูกเสนอว่าเป็นตัวแทนของ “ชาติ” และพลเมืองทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ความเชื่อดังกล่าวเป็นเรื่องเท็จโดยสิ้นเชิง เพราะผลประโยชน์นายทุนหรือคนรวย ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์พลเมืองส่วนใหญ่เสมอ ตัวอย่างที่ดีคือนโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลมักอ้างว่าทำไป “เพื่อชาติ” แต่จริงๆ เป็นการรัดเข็มขัดคนส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มกำไรและผลประโยชน์ให้กับนายทุน

นักวิชาการส่วนใหญ่ในไทย มักมองข้ามบทบาทหน้าที่สำคัญอันนี้ของสถาบันกษัตริย์ในโลกทุนนิยมปัจจุบัน เพราะเชื่อนิยายว่า “สังคมไทยไม่เหมือนที่อื่น”

แต่การนำกษัตริย์กลับมาให้มีบทบาทสำคัญในไทยตั้งแต่ยุคสฤษดิ์ มีวัตถุประสงค์เดียวกับที่อื่น คือวัตถุประสงค์ในการรณรงค์แนวคิดอนุรักษ์นิยมอย่างที่ได้กล่าวถึงข้างบน ในช่วงแรกๆ กษัตริย์มีความสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์ที่ต่อต้านแนวคิดคอมมิวนิสต์ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ต่อมากษัตริย์มีความสำคัญในการให้ความชอบธรรมกับการปกครองของนายทุน เช่นในสมัยทักษิณ หรือการปกครองแบบเผด็จการทหาร ทหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอ้างว่าตนปกป้องกษัตริย์เวลายึดอำนาจ เพื่อปกปิดว่าจริงๆ แล้ว เขาทำรัฐประหารเพื่อผลประโยขน์ของตนเอง ซึ่งต่างจากรัฐบาลพลเรือน ที่สามารถอ้างความชอบธรรมจากนโยบายต่างๆ ที่เสนอกับประชาชนในการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ทหารไม่มีความชอบธรรมจากระบบประชาธิปไตยเลยจึงต้องอ้างกษัตริย์

จะเห็นได้ว่าการเชิดชูกษัตริย์ให้เหมือนเทวดา ไม่ได้แปลว่ากษัตริย์มีอำนาจจริง มันเป็นเพียงการเชิดชูลัทธิกษัตริย์เพื่อแช่แข็งความเหลื่อมล้ำในสังคม

พูดง่ายๆ สถาบันกษัตริย์ไทยไม่เคยมีอำนาจหลัง ๒๔๗๕ แต่มีบทบาทหน้าที่ในทางลัทธิความคิด เพื่อประโยชน์ของนายทุนและทหาร

การสร้างภาพลวงตาว่ากษัตริย์เป็นเทวดาที่มีอำนาจล้นฟ้า (และมันเป็นภาพลวงตาเพราะเราก็รู้กันว่าเทวดาไม่มีจริง) เป็นไปเพื่อทำให้พลเมืองเกรงกลัวและไม่กล้าท้าทายระบบชนชั้นที่ดำรงอยู่

ดังนั้นเวลาพวกผู้นำทหารปัจจุบันหมอบคลานต่อวชิราลงกรณ์ มันเป็นการเล่นละครเพื่อหลอกประชาชนว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ผู้มีอำนาจจริงกำลังหมอบคลานต่อผู้ที่ไม่มีอำนาจเลย (และวชิราลงกรณ์ไร้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำอีกด้วย ลองอ่านประวัติการศึกษาก็จะเห็นภาพ)

แล้วทำไมประชาชนจำนวนมากถึงเชื่อนิยายของชนชั้นปกครอง? ทำไมเขาครองใจคนจำนวนมากได้?

จริงๆ แล้วมันไม่ต่างจากคำถามว่าทำไมคนถึงเชื่อกันว่า “ตลาด” มีพลังหรือชีวิตของมันเองที่เราต้องจำนนต่อ ทั้งๆ ที่ตลาดเป็นแค่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น? หรือความเชื่อว่า “เงิน” มีค่าในตัวมันเองทั้งๆ ที่มันเป็นแค่ตัวแทนของมูลค่าจริงๆ ของสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากการทำงาน

มันเหมือนกับปัญหาว่าทำไมคนถึงลืมว่ามนุษย์สร้างพระพุทธรูปด้วยมือของตนเอง เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาและคำสอน แต่คนกลับหันมาเชื่อว่าพระพุทธรูปมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์วิเศษ?

ในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” มาร์คซ์เสนอว่าการขโมยผลงานของกรรมาชีพ โดยนายทุน ในระบบการผลิต ทำให้กรรมาชีพขาดความเป็นมนุษย์แท้ มีผลทำให้มนุษย์มองโลกในทางกลับหัวกลับหางคือ เงินกลายเป็นของจริง ในขณะที่การขูดรีดหายไปกับตา และมูลค่าหรือประโยชน์ในการใช้สอยกลายเป็นเพียงเรื่องข้างเคียง เพราะมูลค่าแลกเปลี่ยนถูกทำให้ดูสำคัญกว่า

นักมาร์คซิสต์ จอร์ช ลูคักส์ และ คาร์ล มาร์คซ์ อธิบายว่ามนุษย์เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง เชื่อแบบกลับหัวกลับหาง ในกรณีที่มนุษย์ขาดความมั่นใจ มันไม่ใช่เรื่องความโง่หรือการมีหรือไม่มีการศึกษาแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องผลของอำนาจต่อความมั่นใจของเราต่างหาก อำนาจการกดขี่ขูดรีดของนายทุน เช่นการที่ทุกวันเราต้องยอมจำนนไปทำงานให้นายทุน หรือต้องก้มหัวให้อำนาจรัฐ มีผลในการกล่อมเกลาให้เรามองว่าตัวเราเองไร้ค่ากว่าพวก “ผู้ใหญ่” หรือนายทุน และชวนให้เรามองว่าเราไร้ความสามารถ เราเลยเชื่อพวกนั้นง่ายขึ้น ดังนั้นชนชั้นปกครองสามารถสร้างภาพลวงตา กลับหัวกลับหาง เรื่องอำนาจแท้ในสังคมไทยได้ เพื่อไม่ให้คนเห็นว่าอำนาจจริงอยู่ที่ทหารและนักธุรกิจ และภาพลวงตานี้ผลิตซ้ำด้วยกฏหมายเผด็จการ 112 ที่ปิดปากเราด้วย ซึ่งเป็นการซ้ำเติมความกลัวเพื่อทำลายความมั่นใจของเราอีก

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) คือแปลกแยกจากความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของเราทุกคน และแปลกแยกจากความจริง

แต่ ลูคักส์ เสนอว่าต่อว่าเมื่อเรารวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อออกมาต่อสู้กับเผด็จการ ความกล้าในการคิดเองและวิเคราะห์โลกเองก็จะเกิดขึ้น และเราจะเลิกเชื่อนิยายงมงายของชนชั้นปกครอง เราเริ่มเห็นสิ่งนี้หลังจากที่มีการประท้วงที่นำโดยคนหนุ่มสาวในหกเดือนที่ผ่านมา แต่พวกเราต้องเดินทางให้สุดทาง คือเปิดตาในเรื่องนิยายภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์

การเดินให้สุดทางในแง่ความคิดเป็นเรื่องสำคัญในรูปธรรม เพราะมันจะทำให้เราชัดเจนว่าศัตรูหลักของเราตอนนี้คือเผด็จการทหาร กษัตริย์เพียงแต่เป็นศัตรูของเราในลักษณะความคิด ทหารเป็นศัตรูหลักเพราะคุมอำนาจรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

การเปลี่ยนแปลงจากศักดินาสู่ทุนนิยมในไทย https://bit.ly/2ry7BvZ

อำนาจกษัตริย์ https://bit.ly/2GcCnzj

บทบาทแท้ของนายภูมิพล และสถาบันกษัตริย์ไทย นิยายและความจริง https://bit.ly/2BLf2Gy

ไทยควรเป็นสาธารณรัฐ https://bit.ly/30Ma32f

สัญญาณเตือนภัย

ขบวนการประชาธิปไตยที่นำโดยคนหนุ่มสาวได้สร้างความตื่นเต้นและความหวังล้นฟ้าสำหรับคนไทยเป็นล้านๆ และคนต่างประเทศที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมของตนเองทั่วโลก

แต่สัญญาณเตือนภัยเริ่มปรากฏขึ้นแล้ว ว่าจะมีการลดเพดานและจะจบลงด้วยการประนีประนอมแบบแย่ๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะนักเคลื่อนไหวและแกนนำต้องการให้จบแบบนั้น แต่จะเกิดขึ้นถ้าไม่มีการทบทวนและพัฒนาการต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลเผด็จการบริหารประเทศไม่ได้ เพราะการชุมนุมไปเรื่อยๆ ในรูปแบบเดิมๆ และรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ จะเอาชนะทหารไม่ได้

ภัยหลักตอนนี้คือการยอมปล่อยให้รัฐสภาจัดการเรื่องการปฏิรูปสังคม เพราะถ้าเราไม่ระวังรัฐสภาที่คุมโดยทหารจะยอมแค่ให้แก้บางมาตราในรัฐธรรมนูญเท่านั้น จะไม่มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน ประยุทธ์จะไม่ลาออก และจะไม่มีการปฏิรูปกษัตริย์

ขบวนการประชาธิปไตยปัจจุบันที่นำโดยคนหนุ่มสาวควรภูมิใจในผลงานในสามเดือนที่ผ่านมาเพราะมีการชุมนุมใหญ่ของคนจำนวนมากเป็นประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาข้อเรียกร้อง มีการแสดงความกล้าหาญที่จะวิจารณ์กษัตริย์ และมีการดึงเรื่องสิทธิทางเพศ และสิทธิของชาวมาเลย์มุสลิมในปาตานีเข้ามาเพื่อขยายแนวร่วม สิ่งเหล่านี้ขบวนการเสื้อแดงในอดีตไม่สามารถทำได้

และทั้งๆ ที่ขบวนการนี้นำโดยคนหนุ่มสาว ข้อเรียกร้องหลักของขบวนการเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ ไม่ใช่แค่คนหนุ่มสาวเท่านั้น ทุกคนเดือดร้อนและคนจำนวนมากต้องการให้สังคมเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการประนีประนอมหรือลดเพดานจะไม่มีวันแก้ปัญหาของสังคมได้ และไม่มีวันทำให้คนส่วนใหญ่พอใจ

มันถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันอย่างจริงจังเรื่องยุทธ์วิธีที่จะพัฒนาการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ

ปัญหาอันหนึ่งคือการใช้วิธี “ทุกคนเป็นแกนนำ” สามารถช่วยให้การต่อสู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งๆ ที่แกนนำหลายคนถูกจับก็จริง แต่ไม่นำไปสู่การสร้างโครงสร้างภายในขบวนการที่จะกำหนดแนวทางด้วยวิธีประชาธิปไตยได้ แน่นอนแกนนำไม่ได้หวังเป็นเผด็จการ แต่ถ้าไม่มีโครงสร้างเพื่อให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ แกนนำจะเป็นผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยปริยาย และจะไม่สามารถดึงคนรากหญ้ามาช่วยตัดสินแนวทางได้ นี่คือประสบการณ์จากขบวนการเคลื่อนไหว Podemos ที่อ้างว่าไม่มีแกนนำในสเปน

ขบวนการที่ไทยได้รับความคิดและความสมานฉันท์จากขบวนการฮ่องกง ซึ่งน่าจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องความสำคัญของการนัดหยุดงาน ซึ่งเป็นข้อสรุปสำคัญของหลายส่วนที่ฮ่องกง

ทุกวันนี้มีนักสหภาพแรงงานเข้าร่วมชุมนุมกับคนหนุ่มสาว และกระแสความชื่นชมในขบวนการประชาธิปไตยยังสูงอยู่ ดังนั้นคนหนุ่มสาวและนักสหภาพแรงงานก้าวหน้าควรลงมือเดินเข้าไปหาคนทำงานในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน สำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานที่ทำงานอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อพูดคุยกับคนทำงานในเรื่องการใช้พลังทางเศรษฐกิจที่มาจากการนัดหยุดงานเพื่อหนุนการชุมนุมของคนหนุ่มสาว

แน่นอน จะมีคนที่ออกมาพูดว่าการนัดหยุดงาน “ทำไม่ได้” หรือ “คนงานไทยไม่มีวันนัดหยุดงาน” หรือ “คนงานกำลังจะเอาตัวรอดไม่ได้” แต่พวกนี้จะเป็นคนที่ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย และปิดหูปิดตาถึงการพัฒนาทางความคิดที่เกิดขึ้นในรอบสามสี่เดือนที่ผ่านมาในไทย ยิ่งกว่านั้นผู้เขียนขอท้าคนที่พูดแบบนี้ว่า “ถ้าไม่เห็นด้วยกับการพยายามสร้างกระแสการนัดหยุดงาน ท่านมีข้อเสนออื่นอะไรที่เป็นรูปธรรมที่จะทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้?” “ท่านมีข้อเสนออะไรที่จะนำไปสู่ชัยชนะของขบวนการ?”

ใจ อึ๊งภากรณ์

ระวังพวกที่จะพาเราหลงทางจากเป้าหมายข้อเรียกร้อง 3+10

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในไทยควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้พวกประนีประนอมพาเราไปหลงทาง เบี่ยงเบน ไปจากเป้าหมายข้อเรียกร้อง “3+10”

อันนี้เป็นปัญหาปกติในกระบวนการต่อสู้ เราเคยเจอในกรณีการล้มเผด็จการทหารช่วง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ที่ฝ่ายชนชั้นปกครองเชิญนายภูมิพลออกมาเพื่อแต่งตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตประธานศาลฎีกา เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และนำไปสู่การตั้ง “สภาสนามม้า” [ดู https://bit.ly/3ggYMLW ] มันเป็นวิธีที่ชนชั้นปกครองไทยสามารถกู้สถานการณ์ไม่ให้ลามไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างแท้จริงตามที่คนจำนวนมากต้องการ โดยเฉพาะนักศึกษา กรรมาชีพ และพลเมืองที่สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในที่สุดมันเปิดโอกาสให้ชนชั้นปกครองฝ่ายอนุรักษ์นิยมตั้งตัวใหม่และกลับมาในช่วง ๖ ตุลา ๒๕๑๙

a3_0

ทั้งในสถานการณ์สากลและไทย เมื่อมีการลุกฮือล้มเผด็จการ มักจะมีกลุ่มคนที่เสนอให้ประนีประนอม พวกนี้ส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกชนชั้นปกครองเก่า อีกส่วนเป็นพวกนักการเมืองและนักวิชาการกระแสหลักที่ต้องการแค่ปฏิรูประบบ เป้าหมายของสองกลุ่มนี้คือเพื่อปกป้องโครงสร้างอำนาจเดิม

เรื่องแบบนี้มันเกิดที่ ซูดาน เลบานอน อียิปต์ ฮ่องกง และที่อื่นๆ มันเป็นความขัดแย้งระหว่างพวกที่อยากเปลี่ยนระบบให้น้อยที่สุดพร้อมปกป้องอำนาจเดิม กับพวกที่ต้องการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน

ข้อเรียก 3 ข้อของ “คณะประชาชนปลดแอก” เป็นข้อเรียกร้องที่ต้องการล้มเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ ล้มรัฐธรรมนูญทหาร และยุติการคุกคามประชาชนโดยทหาร มันจะไม่ประสบความสำเร็จจนกว่าประยุทธ์กับคณะทหารออกไปจากการเมืองไทย

ดังนั้นเราควรระมัดระวังคนที่เสนอให้แค่ “แก้” รัฐธรรมนูญทหาร เพราะมันจะเป็นการเสนอกระบวนการที่ใช้เวลานาน และเปิดช่องให้เผด็จการของประยุทธ์อยู่ต่อไป ถ้าเผด็จการประยุทธ์อยู่ต่อได้แบบนี้ ฝ่ายประนีประนอมหวังว่ากระแสการลุกฮือจะลดลง และนี่คืออันตรายสำหรับฝ่ายเรา

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังที่หยุดนิ่ง อยู่กับที่ มักจะถอยหลังในไม่ช้า

เราต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ใช่ไปแก้รัฐธรรมนูญเผด็จการ

ข้อเรียกร้อง 10 ข้อให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็เช่นกัน ถ้าปล่อยให้พวกประนีประนอมเดินเรื่อง โดยเฉพาะพรรคการเมืองอย่าง “เพื่อไทย” กับ “ก้าวไกล” รับรองมันจะถูกผลักออกไปจากวาระทางการเมืองอย่างแน่นอน

FB_IMG_1597581301917

ในความเป็นจริงข้อเรียกร้อง 10 ข้อเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จะไม่ประสบความสำเร็จตราบใดที่เผด็จการประยุทธ์หรือเผด็จการทหารอื่นๆ ยังคุมอำนาจอยู่ เพราะทหารคือผู้ที่มีอำนาจในสังคมไทย และเป็นผู้ที่ใช้กษัตริย์เป็นเครื่องมือของเขาเองเสมอ

ดังนั้นเราต้องคงไว้เป้าหมายข้อเรียกร้อง “3+10” ทั้งหมดพร้อมๆ กัน

ในความเห็นผม จริงๆ แล้วประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ คือยกเลิกสถาบันกษัตริย์ไปเลย เพราะสถาบันกษัตริย์ไทยมันปฏิรูปให้ดีขึ้นไม่ได้ และลัทธิกษัตริย์นิยมเป็นอุปสรรคต่อสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมมาตลอด

[อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2Qf5yHB  https://bit.ly/2Qk0eCS  https://bit.ly/2QfI2dh และ หนังสือ “ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ที่เขียนหลังรัฐประหาร๑๙กันยา๒๕๔๙ https://bit.ly/3gStOLd ]

เราจะคงไว้เป้าหมาย “3+10” อย่างไร?

  1. อย่าไปฝากความหวังอะไรทั้งสิ้นกับ “ผู้ใหญ่” ในวงวิชาการ หรือนักการเมืองจากพรรคกระแสหลัก อย่าให้เขาออกแบบวิธีปฏิรูปสังคมไทย
  2. พวกเรา โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวหนุ่มสาว จะต้องรีบคุยกันเพื่อหาจุดร่วมว่าต้องการเห็นสังคมไทยแบบไหน ต้องการรัฐธรรมนูญแบบไหน และต้องการให้มีสถาบันกษัตริย์หรือไม่ พูดง่ายๆ ควรมีสมัชชาใหญ่ของคณะปลดแอกประชาชนและพันธมิตรอื่นๆ เพื่อเอา “เนื้อ” มาใส่โครงกระดูกของข้อเรียกร้อง “3+10” และคุยกันว่าจะเดินหน้าอย่างไร
  3. ไม่ควรหยุดการเคลื่อนไหวเพื่อส่งต่อเรื่องให้คนอื่น และควรมีความพยายามที่จะขยายมวลชนไปสู่นักสหภาพแรงงาน เกษตรกร และคนธรรมดากลุ่มอื่นๆ ควรมีการคุยกันว่าคนที่อยู่ในสถานที่ทำงานสามารถประท้วงได้อย่างไร เช่นการนัดหยุดงาน
  4. เราต้องเรียกร้องให้ยุติคดีของเพื่อนเราทุกคนที่ถูกหมายเรียกหมายจับทันที

อย่ายอมประนีประนอมเพื่อรักษาระบบที่ทำลายสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม!!

เดินหน้าต่อไปถึงเส้นชัย!!

ใจ อึ๊งภากรณ์

ต้องยอมรับครับว่าเมื่อเห็นภาพนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาประท้วงเผด็จการวันนี้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผมน้ำตาไหลด้วยความดีใจ พวกเรารอวันนี้มานาน

FB_IMG_1597581477208

ผมไม่อยากจะ “แนะนำ” อะไรมากกับ “คณะประชาชนปลดแอก” เพราะเขาพิสูจน์ไปแล้วว่าเขาจัดการประท้วงที่ประสบความสำเร็จสุดยอด แต่ผมมีความหวังว่าการต่อสู้จะไม่จบแค่นี้ ผมหวังว่าจะมีการขยายมวลชน โดยเฉพาะในหมู่นักสหภาพแรงงาน และผมหวังว่าจะมีการชุมนุมอีก และถ้าเป็นไปได้มีการเดินออกจากสถานที่ทำงานด้วย และที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าคือผมหวังว่าจะมีการเรียกร้องขีดเส้นตายให้ยกเลิกทุกข้อหาที่รัฐไปยัดให้แกนนำขบวนการชุมนุมทุกคน

FB_IMG_1597582400786

ในความจริงเพื่อนๆทุกคนที่รักประชาธิปไตยคงทราบว่าเราหยุดตอนนี้ไม่ได้ และการต่อสู้วันนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นที่งดงาม

FB_IMG_1597581301917

ในเรื่องการ “ปฏิรูป” สถาบันกษัตริย์ ผมเข้าใจว่าทำไมนักเคลื่อนไหวที่กล้าพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะจะอ้างตลอดว่า “ไม่ได้หวังจะโค่นล้มสถาบัน” แต่ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การพูดแบบนี้ถือว่ายังอยู่ในกรอบที่เผด็จการทหารและพวกอนุรักษ์นิยมวางไว้และใช้เพื่อกดขี่คนในสังคม ถ้าเราจะมีเสรีภาพและประชาธิปไตยแท้จริงเราต้องสามารถเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์โดยไม่ต้องมาแก้ตัวแบบนี้ ยิ่งกว่านั้นเราต้องสามารถเสนอให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ไปเลยถ้าเรามีความคิดแบบนั้น

เพื่อนๆ ผู้รักประชาธิปไตยครับ กรุณาอย่าหยุดจนกว่าเผด็จการทหารหมดไปจากสังคมไทยและเรามีเสรีภาพในการแสดงออกเต็มที่

และเพื่อนๆ ที่อยากไปไกลกว่านั้น คืออยากสร้างสังคมที่เท่าเทียมและไร้ชนชั้น กรุณาอย่าหยุดจนกว่าเราจะสามารถสร้างสังคมนิยมในประเทศไทย

 

การชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เป็นก้าวสำคัญ แต่หยุดไม่ได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

การชุมนุมใหญ่ที่ธรรมศาตร์ในวันที่ 10 สิงหาคม มีข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่สำคัญคือ ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้ ยกเลิกการรวบทรัพย์สินภายใต้วชิราลงกรณ์และเพิ่มความโปร่งใสในเรื่องเงิน ลดงบประมาณที่จัดสรรให้กษัตริย์ ยกเลิก “ราชการในพระองค์” ยกเลิกอำนาจกษัตริย์ในการแสดงความเห็นทางการเมือง ยกเลิกการเชิดชูกษัตริย์เกินเหตุเพียงด้านเดียว ยกเลิกการที่กษัตริย์จะรับรองรัฐประหาร และเปิดกระบวนการที่จะสืบความจริงเกี่ยวกับผู้เห็นต่างที่ถูกอุ้มฆ่า

117361552_10158431778723965_6127601580717401228_o

ถือได้ว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญในการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตยในสังคมไทย และทุกคนที่รักเสรีภาพควรจะสนับสนุน

แต่ยังมีประเด็นสำคัญที่เราต้องพิจารณาในการต่อสู้ต่อไปคือ เราจะสร้างพลังที่ยิ่งใหญ่เพียงพอที่จะกดดันรัฐบาลทหารให้ยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?

สิ่งแรกที่ต้องพูดคือการต่อสู้อยู่ในขั้นตอนริเริ่ม หยุดไม่ได้ ต้องขยายขบวนการเคลื่อนไหวไปสู่ประชาชนผู้ทำงานเป็นหมื่นเป็นแสน ซึ่งการก่อตั้ง “คณะประชาชนปลดแอก” เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่จุดนี้ และแน่นอนมันไม่เกิดขึ้นเอง พวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นไหนหรือทำงานที่ไหนต้องร่วมกันช่วยสร้าง

และที่สำคัญคือเราไม่ควรลดความสำคัญของข้อเรียกร้องให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน ให้ยุบสภา และเลิกคุกคามประชาชนผู้รักเสรีภาพ ซึ่งหมายความว่าเราต้องเคลื่อนไหวต่อเพื่อให้รัฐบาลเผด็จการลาออก

ทุกคนคงเข้าใจดีว่าการล้มเผด็จการไม่ใช่เรื่องเล็ก แค่การรณรงค์ให้ไม่รับปริญญา ซึ่งเป็นการประท้วงปัจเจกเชิญสัญลักษณ์ อาจช่วยในการรณรงค์หรือขยายจิตสำนึก แต่มันล้มเผด็จการไม่ได้

Lebanon-Beirut-August-8-2020-e1596964569861
เบรูต เลบานอน

ในขณะที่ผู้คนกำลังชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ เราเห็นรูปธรรมของม็อบที่ล้มรัฐบาลสำเร็จในเมืองเบรูต ประเทศเลบานอน มีผู้ชุมนุมออกมาเป็นแสนจากทุกส่วนของสังคม การประท้วงแบบนี้เคยเกิดที่ไทยในช่วง ๑๔ ตุลา และพฤษภา ๓๕ และเคยเกิดในประเทศอื่นๆ หลายประเทศ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เราต้องร่วมกันคิดว่าเราจะสร้างขบวนการอันยิ่งใหญ่แบบนี้ได้อย่างไร และเราไม่ควรลืมว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเผด็จการรัฐสภาปัจจุบัน เพราะคนส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงต้านพรรคทหาร ดังนั้นมันมีกระแสที่จะช่วยเรา

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่พลเมืองที่ออกมาประท้วงจะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน และคนจำนวนมากจะอยู่ในสภาพการพัฒนาความคิดความเข้าใจท่ามกลางการต่อสู้ และมันเป็นเรื่องธรรมดาที่องค์กรต่างๆ นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และนักวิชาการ จะพยายามเสนอแนวคิดที่ตนเองมองว่ามีน้ำหนักมากที่สุด บางทีเพื่อเสริมการต่อสู้ บางทีเพื่อยับยั้งการต่อสู้ นั้นคือสาเหตุที่การตั้งพรรคฝ่ายซ้ายเป็นเรื่องสำคัญ

รัฐบาลเถื่อน

สิ่งหนึ่งที่ผมมองว่าพลเมืองที่ออกมาสู้ต้องเข้าใจคือเรื่องศูนย์กลางอำนาจ ในความเห็นผมสมาชิกของขบวนการประชาธิปไตยไม่ควรประเมินอำนาจของวชิราลงกรณ์สูงเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีการเบี่ยงเบนเป้าหมายจากคณะทหารเผด็จการ และมันมีผลต่อยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายเราใช้

ผมเขียนเรื่องข้อจำกัดของอำนาจกษัตริย์ไว้หลายที่ เช่น “การมองว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่างเป็นการช่วยให้ทหารลอยนวล”  https://bit.ly/2XIe6el  และ“ว่าด้วยวชิราลงกรณ์” https://bit.ly/31ernxt

อีกเรื่องที่ผมคิดว่าทุกคนควรทำความเข้าใจ คือประเด็นว่าทำไมชนชั้นปกครองในหลายประเทศทั่วโลก นิยมให้คงไว้สถาบันกษัตริย์ เพราะในมุมมองผม การคงไว้สถาบัยกษัตริย์ในรูปแบบตะวันตกภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นผลเสียกับฝ่ายเรา เพราะเป็นเครื่องมือในการเสนอลัทธิอภิสิทธิ์ชนว่าคนเราเกิดสูงและเกิดต่ำและบางคนมีสิทธิ์จะเป็นผู้นำในขณะที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้ตาม มันออกแบบมาเพื่อแช่แข็งความเหลื่อมล้ำในสังคม ดังนั้นทุกคนที่รักสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมควรนิยมการยกเลิกระบบกษัตริย์เพื่อให้มีสาธารณรัฐ [ดู “ไทยควรเป็นสาธารณรัฐ” https://bit.ly/30Ma32f ]

แต่ระบบสาธารณรัฐภายใต้ทุนนิยม ไม่พอที่จะนำไปสู่เสรีภาพและความเท่าเทียมอย่างแท้จริง แค่ดูสถานการณ์ในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือเวียดนาม ก็จะเห็นภาพชัดเจน พูดง่ายๆ เราต้องคิดต่อไปถึงเรื่อง “รัฐ” ภายใต้ระบบทุนนิยม และความสำคัญในการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อล้มรัฐของนายทุนผู้เป็นชนชั้นปกครองในโลกสมัยใหม่ [ดู “รัฐกับการปฏิวัติ” https://bit.ly/2PEQK4K ]

เมื่อเราคิดถึงเรื่อง “รัฐ” และ “ชนชั้น” เราจะเข้าใจว่า “ข้าราชการ” ชั้นผู้ใหญ่ ศาล และ ตำรวจ ไม่เคยรับใช้ประชาชนในโลกสมัยใหม่ การคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นโดยไม่ล้มรัฐของนายทุนและสร้างรัฐใหม่ของประชาชนผู้ทำงานเป็นการเพ้อฝัน และแน่นอนเสรีภาพและประชาธิปไตยสมบูรณ์ต้องอาศัยกระบวนการปฏิวัติด้วยพลังมวลชน แทนที่จะไปฝากความหวังไว้ที่รัฐสภา

 

ทนาย อานนท์ นำพา พูดในสิ่งที่ทุกคนควรพูด แต่เผด็จการทหารเป็นศัตรูหลัก

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทนายอานนท์ นำพา ยืนขึ้นพูดในสิ่งที่ทุกคนควรจะพูดและนำมาถกเถียงกันในสังคมไทย และวิธีที่ดีที่สุดที่จะแสดงความสมานฉันท์กับคุณอานนท์คือพวกเราทุกคนต้องร่วมกันพูดทั่วสังคม เพราะถ้าคนออกมาพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะเป็นพันๆ แสนๆ การที่รัฐจะเล่นงานคุณอานนท์จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น

Untitled-4

ผมเข้าใจว่าทำไมทนายอานนท์พูดในลักษณะที่ “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” เพราะเขาอยู่ในไทย แต่ผมเดาว่ามันจะไม่ช่วยอะไร เพราะฝ่ายทหารและพวกคลั่งเจ้า และแม้แต่พวกเราเอง ก็จะตีความไปอีกแบบหนึ่งอยู่ดี

แต่สิ่งที่ทนายอานนท์ควรหลีกเลี่ยงในอนาคตคือการใช้คำเหยียดเชื้อชาติอย่าง “ฝรั่งมังค่า” เพื่อ “พิสูจน์” ว่าตนเองรักชาติ ในยุคนี้ที่มีการประท้วงการเหยียดสีผิว Black Lives Matter คนที่รักเสรีภาพควรจะมีจิตสำนึกในเรื่องนี้

ตราบใดที่คนไทยไม่เคารพคนที่มีสีผิวหรือเชื้อชาติอื่น คนไทยจะไม่สามารถปลดแอกตนเองจากเผด็จการที่ครองอำนาจและใช้ลัทธิชาตินิยมกับกษัตริย์นิยมเพื่อกดขี่เรา

ผมสนับสนุนเสรีภาพในการพูดของอานนท์ นำพา โดยไม่มีเงื่อนไข และผมคารวะความกล้าหาญของเขาในการออกมาพูดเรื่องกษัตริย์ และในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

2019-05-04T072632Z-948315276-RC1EE0951570-RTRMADP-3-THAILAND-KING-CORONATION

แต่นั้นไม่ได้แปลว่าผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองของเขาทั้งหมด

ในความเห็นผม อานนท์ นำพา พูดเกินเหตุในเรื่อง “พระราชอำนาจ” โดยเฉพาะในการคุมทหาร และสังคมไทยไม่ได้ถูกหมุนนาฬิกากลับไปสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่อย่างใด สังคมไทยถูกลากกลับไปสู่ระบบเผด็จการทหารต่างหาก แต่เป็นเผด็จการทหารภายใต้ภาพลวงตาแห่งการเลือกตั้งและรัฐสภา

ทหารที่ทำรัฐประหารก่อนที่วัชิราลงกรณ์จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ไม่ได้รับคำสั่งอะไรจากกษัตริย์ และพวกเขาไม่โง่พอที่จะยกอำนาจทหาร หรืออำนาจในการคุมกองทัพ ให้คนปัญญาอ่อนเพี้ยนๆ อย่างวชิราลงกรณ์

และพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้โดนยุบเพราะมีสส.คนหนึ่งไปวิจารณ์พระราชอำนาจ แต่โดนยุบเพราะเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพในการดึงคะแนนเสียงประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มาค้านเผด็จการทหาร

แน่นอน พวกทหารชั้นสูงในยุคนี้เป็นพวกที่สนับสนุนเจ้าอย่างสุดขั้ว และนี่คือสาเหตุที่เขาอยากลบล้างประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ๒๔๗๕ แต่เขาอวยเจ้าเพื่อใช้เจ้าเป็นเครื่องมือของตนเอง และพร้อมจะเอาใจวชิราลงกรณ์ในเรื่องเงินทองและสิทธิส่วนตัวของเขา เพื่อที่จะใช้กษัตริย์เป็นเครื่องมือต่อไป

[ถ้าใครสนใจก็สามารถอ่านการวิเคราะห์ของผม:

การมองว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่างเป็นการช่วยให้ทหารลอยนวล  https://bit.ly/2XIe6el

และว่าด้วยวชิราลงกรณ์ https://bit.ly/31ernxt ]

คุณูปการของอานนท์ นำพา และสิ่งที่เขาออกมาพูด คือเป็นการให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ ทั้งๆ ที่อานนท์ไม่ได้พูดว่าเป็นเป้าหมายของเขา

17880152_10154927047036154_3616575511584400172_o

ถ้าเราสามารถลด “ความศักดิ์สิทธิ์” ของสถาบันกษัตริย์ลง และวัชิราลงกรณ์ดูเหมือนจะทำงานหนักเสียเองตรงนี้ เราจะช่วยลดอำนาจของทหารฝ่ายคลั่งเจ้า แต่อย่าลืมว่าเผด็จการทหารไทยสมัยจอมพลป. ก็สามารถครองอำนาจได้โดยไม่ใช้ลัทธิกษัตริย์

46398d1788a446259c92282a67db5141

เราทุกคนต้องชื่นชมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนหนุ่มสาวในยุคนี้ และนำข้อเรียกร้องของเขามาเป็นของเรา และมันเป็นเรื่องที่ดียิ่งที่มีการขยายองค์กรไปเป็น “คณะประชาชนปลดแอก” การต่อสู้ยุคนี้ต้องก้าวไปไกลกว่าการต่อสู้ของเสื้อแดงและการล้มเผด็จการไทยในอดีต

[ดู คนหนุ่มสาวควรอัดฉีดความกล้าหาญสู่ขบวนการแรงงานและผู้รักประชาธิปไตยทั่วไป    https://bit.ly/3jBKXKV ]

ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในบริบทสังคมไทยประโยคนี้เป็นประโยคที่ขัดแย้งในตัวเอง เพราะทหารและพวกอภิสิทธิ์ชนกับนายทุนใช้สถาบันกษัตริย์ในการเบี่ยงเบนประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง

ในประเทศตะวันตกการมีสถาบันกษัตริย์มีไว้เพื่อเน้น “ธรรมชาติ” ของระบบชนชั้นที่กดทับประชาชน แต่การต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยโดยชนชั้นกรรมาชีพทำให้ชนชั้นปกครองในตะวันตกไม่สามารถทำให้กษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตยเหมือนในไทย

สถาบันกษัตริย์ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้นสำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ในไทยหรือในโลก ตรงกันข้ามมันเป็นปรสิตใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อการเสพสุขของบุคคลที่ไม่เคยทำงาน ยิ่งกว่านั้นในไทยมันเป็นเครื่องมือราคาแพงเพื่อข่มพลเมืองให้เกรงกลัวการต่อต้านเผด็จการ อภิสิทธิ์ชน หรือนายทุน เพราะกลุ่มคนที่ปกครองเราโดยไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งที่แท้จริง เช่นรัฐบาลปัจจุบัน หรือนายทุน มักจะต้องเกาะติดกับสถาบันกษัตริย์เพื่อให้ความชอบธรรมกับตนเองในการใช้อำนาจ

2019-05-04T072632Z-948315276-RC1EE0951570-RTRMADP-3-THAILAND-KING-CORONATION

ที่ตลกร้ายคือการสืบทอดตำแหน่งกษัตริย์ผ่านสายเลือด ทำให้ไทยมีประมุขปัญญาอ่อนโหดร้ายอย่างวชิราลงกรณ์ และชนชั้นปกครองเรามักชักชวนให้เรากราบไหว้ตัวปัญญาอ่อนนี้ในขณะที่พวกเขาเองเอบดูถูกสมเพศวชิราลงกรณ์ลับหลังเรา

จริงๆ แล้วราชวงศ์อังกฤษและในยุโรปก็มีตัวเหี้ยๆ พอๆ กับของไทย โดยเฉพาะสามีและลูกชายของราชินีอังกฤษ แต่สังคมด่าเขาได้

ใครๆ รู้ว่าวชิราลงกรณ์เป็นคนที่ไม่สมควรที่จะมีบทบาทอะไรในลักษณะการเป็นประมุข การเชิดชูส่งเสริมวชิราลงกรณ์ว่าเป็น “อัจฉริยะมนุษย์” อย่างที่ชนชั้นนำเคยทำในกรณีนายภูมิพล ทำไม่ได้เลย

อย่างไรก็ตามชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะทหารคลั่งเจ้าที่เป็นฝ่ายขวาตกขอบ กำลังพยายามทำให้ความจงรักภักดีต่อ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข” เป็นเครื่องมือบังคับให้เราก้มหัวให้ทหารเผด็จการ เหมือนที่เขาใช้ลัทธิชาตินิยมและมักกล่าวหาคนที่รักประชาธิปไตยว่าเป็นพวก “ชังชาติ” การพยายามทำลายพรรคอนาคตใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี

สถาบันกษัตริย์ไม่ใช่สิ่งเดียวกับบุคคลที่เป็นกษัตริย์ แต่ในเวลาเดียวกันมันผูกพันกันอย่างใกล้ชิด เรื่องนี้อาจสร้างปัญญาให้กับทหารคลั่งเจ้าขวาตกขอบ เพราะเนื่องจากเขากลัวการล้มอำนาจทหารโดยประชาชน เขากำลังพยายามส่งเสริมฐานะของสถาบันกษัตริย์ในลักษณะของสถาบัน ในขณะที่เขาอยากให้เราลืมความเลวทรามของวชิราลงกรณ์ มันมีความขัดแย้งในตัว

img_20200127_184610_1-696x511

49449713792_049f54baa7_b

ความพยายามใช้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข” เป็นเครื่องมือบังคับให้เราก้มหัวให้ทหารเผด็จการ เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการพยายามลบประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ด้วยการรื้อถอนอนุสาวรีย์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ๒๔๗๕

วิธีที่จะสู้กับแนวทางของพวกทหารคลั่งเจ้าขวาตกขอบ และทหารเผด็จการทั่วไป คือการปกป้องรักษาประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ในไทยรวมถึง ๒๔๗๕ และการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เรื่องอนุสาวรีย์อาจเป็นเรื่องรอง ถ้าเรารักษาประวัติศาสตร์ของฝ่ายเราได้ แต่เราก็ต้องพยายามต่อต้านการรื้อทิ้งอนุสาวรีย์อย่างหลักสี่หรือหมุดคณะราษฎร

การรักษาประวัติศาสตร์ของฝ่ายเราทำได้ด้วยประสิทธิภาพ ถ้าเราสร้างพรรคการเมืองของคนชั้นล่างและกรรมาชีพที่เน้นการศึกษาทางการเมือง อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์ไทยเคยทำ เพราะถ้าแค่รักษาประวัติศาสตร์ในแวดวงมหาวิทยาลัยมันจะไม่แพรากระจายสู่คนธรรมดา

Against Dictatorship

อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำอย่างต่อเนื่องคือการสร้างขบวนการมวลชนเพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยและไล่ทหารออกจากระบบการเมือง ต้องให้ความสำคัญกับกรรมาชีพมากกว่าชนชั้นกลาง และถึงแม้ว่าในสังคมเปิดกว้างคนส่วนใหญ่ไม่สามารถแสดงจุดยืนสนับสนุนระบอบสาธารณรัฐได้ แต่เราควรพูดถึงเรื่องนี้ในวงเล็กๆ เสมอ และที่สำคัญคือต้องรณรงค์ต่อต้านการใช้กฏหมาย112 หรือต่อต้านการพยายามใช้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข” เป็นเครื่องวัด “ความเป็นไทย” นอกจากนี้เราไม่ควรรีบไปแสดงความจงรักภักดีต่อระบบกษัตริย์ถ้าไม่จำเป็น เราต้องพยายามรักษาจุดยืนประชาธิปไตยในสถานการณ์ลำบาก

เราต้องพยายามพูดในที่สาธารณะว่าระบอบประชาธิปไตยมีหลานรูปแบบที่มีความชอบธรรม และทหาร ศาล หรือรัฐบาลปัจจุบัน ไม่มีความชอบธรรมในการผูกขาดว่าเราควรใช้ระบอบไหน