Tag Archives: อาชญากรรมรัฐ

ความจริงเรื่องการปราบปราม ๖ ตุลา และคำโกหกของไชยันต์ ไชยพร

ในเมื่อไชยันต์ไชยพร กล่าวหาเท็จว่านักศึกษาสมัย ๖ ตุลา ๒๕๑๙ จงใจชุมนุมในธรรมศาสตร์เพื่อให้โดนปราบ (โดยที่เขาอ้างถึง ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์) และยังมีการโกหกอีกว่าขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบันจงใจสร้างสถานการณ์ให้โดนปราบในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งไชยยันต์เสนอว่าทำไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมือง และเพื่อป้ายร้ายสถาบันกษัตริย์ เราควรกลับมาดูว่าอาชญากรรมรัฐ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เกิดขึ้นอย่างไร

การปราบปรามในวันที่ ๖ ตุลา กระทำเพื่ออะไร?

นักวิชาการคนแรกที่เสนอคำตอบเรื่องนี้คือ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยมีการอธิบายว่า “เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อมีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่าถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ” ใครมีเจตนาแบบนี้? ป๋วย อธิบายว่าเป็น “ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมือง ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยตนจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม”

ถึงแม้ว่าการปราบปรามในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย “ฝ่ายซ้าย” ในประเทศไทยดังที่ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” และเบเนดิก แอนเดอร์สัน อธิบายว่าสิ่งหนึ่งที่ฝ่ายขวา โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ต้องการคือการหยุดยั้งการประท้วงต่างๆ ของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ที่เขามองว่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฏีที่เสนอว่าพวกฝ่ายซ้ายทำเกินเหตุว่า “การปรับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมให้ดีขึ้น (เช่นการปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ) เกิดขึ้นท่ามกลางความวุ่นวาย แต่การกดดันให้นายจ้างหัวแข็งลงมาเจรจากับลูกจ้างทำได้อย่างไรถ้าไม่นัดหยุดงาน? การกดดันให้รัฐบาลออกมาแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่มีกับบริษัทเหมืองแร่ทำได้อย่างไรถ้าไม่ประท้วง? … ถ้ามองย้อนกลับไป รู้สึกว่าพวกเราทุกคนในยุคนั้นสายตาสั้นเวลาบ่นเรื่องความวุ่นวายเหล่านี้” (คำพูดของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มหาวิทยาลัย Georgetown, Washington 15/2/1977)

นอกจากความต้องการที่จะทำลายฝ่ายซ้ายโดยตรงแล้ว John Girling มองว่าผู้นำกองทัพส่วนใหญ่คิดว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามา ดังนั้นต้องลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยด้วยทุกวิธีทาง ในทำนองเดียวกัน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ เสน่ห์ จามริก มองว่าการปราบปรามครั้งนี้เป็นการหวังทำลายแนว “เสรีนิยม” และ “สังคมนิยม” ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ลงมือกระทำคือกลุ่ม “อนุรักษ์นิยม” ที่ยังคุมอำนาจรัฐอยู่และไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง

ในช่วง ๕ ธันวาคมปี ๒๕๑๙ กษัตริย์ภูมิพลได้แสดงความพึงพอใจกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา และอ้างว่ารัฐประหารเป็น “สิ่งจำเป็น” เพราะประเทศไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งตรงกับความเห็นของทหาร

กษัคริย์ภูมิพลเยี่ยมถนอมที่วัดบวรนิเวศน์

นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์นี้ นักวิชาการต่างประเทศส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของพระราชวังมีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น

This image has an empty alt attribute; its file name is 9vsc.jpg
กษัตริย์ภูมิพลมีบทบาทในการช่วยตำรวจ ตชด สร้างขบวนการลูกเสือชาวบ้าน

วชิราลงกรณ์ให้กำลังใจลูกเสือชาวบ้านในวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ที่ลานพระรูปทรงม้า

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตที่เกิดขึ้น เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย เราจึงต้องสรุปว่า ๖ ตุลา เป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไปเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้ายไทย ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่ามีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียวโดยชนชั้นปกครองไทย เราควรเข้าใจว่าส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีการสร้างกลุ่มพลังฝ่ายขวามาคานนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และฝ่ายซ้าย และมีการฉวยโอกาสตามสถานการณ์

สรุปแล้ว ไชยันต์ ไชยพร ยกเมฆโกหกเรื่อง ๖ ตุลา และป้ายสีขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบัน และที่น่าเกลียดที่สุดคือการพูดแบบนั้นของ ไชยันต์ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์เท็จเพื่อฟอกตัวเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เป็นอาชญากรรัฐ ซึ่งผลในรูปธรรมคือเชิดชูเผด็จการ และทำให้การสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยทำได้ยากขึ้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

“อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (๒๕๔๔) ISBN 9748858626  https://bit.ly/2dC7Fk2  และ  https://bit.ly/2cSml2g

ประยุทธ์เปื้อนเลือดมันไม่ออกง่ายๆ

ทั้งๆ ที่พวกเราเชียร์ความกล้าหาญของคนหนุ่มสาวในการต้านเผด็จการ แต่ในใจเราลึกๆ แล้ว หลายคนเข้าใจว่าประยุทธ์มือเปื้อนเลือดมันคงไม่ออกง่ายๆ ซึ่งแปลว่าเราต้องขยับการต่อสู้ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

ประยุทธ์กับแก๊งเผด็จการมันลงทุนในการครองอำนาจมากมายและยาวนาน มันมือเปื้อนเลือดจากการฆ่าเสื้อแดง มันยึดอำนาจผ่านการทำรัฐประหาร มันขู่ ขัง และฆ่าคนเห็นต่าง มันวางแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20  ปี มันออกแบบรัฐธรรมนูญเผด็จการ มันแต่งตั้งพวกของมันเป็นส.ว. และคุมศาล และหลังจากปกครองแบบเผด็จการโดยตรงมันก็โกงการเลือกเพื่อปกครองผ่านเผด็จการรัฐสภา ทั้งหมดนี้แปลว่ามันจะไม่ลงจากอำนาจง่ายๆ

ชนชั้นปกครองไทยแสดงตัวว่าพร้อมจะใช้ความรุนแรงกับประชาชนที่รักประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ทหารหรือตำรวจตชด.ยิงผู้ประท้วงที่ไร้อาวุธและทำทารุณกรรมในเหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภา 35, ตากใบในปาตานี, หรือการฆ่าเสื้อแดง และอย่าลืมว่ามีการวิสามัญฆาตกรรมอีกมากมาย รัฐไทยคือรัฐอาชญากร และประยุทธ์มีส่วนโดยตรงในการฆ่าเสื้อแดง และการอุ้มฆ่าผู้เห็นต่าง

ดังนั้นหลังจากที่ตำรวจสลายการประท้วงของคนหนุ่มสาวที่สยามเมื่อวันก่อน เรามีสิทธิ์ที่จะต้องโกรธแค้น แต่เราไม่ควรแปลกใจ

เราไม่ควรแปลกใจด้วยที่มีการสั่งปิดบริการรถไฟไฟฟ้าด้วย อย่าลืมว่าตอนเสื้อแดงประท้วง BTS มันหยุดวิ่งรถเพื่อให้ทหารสไนเปอร์ขึ้นรางและยิงเสื้อแดงตายที่วัดปทุม

พูดง่ายๆ ฝ่ายมันจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจของมัน

การขับไล่เผด็จการออกไป ต้องอาศัยการทำให้ชนชั้นปกครองอยู่ต่อแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีการทำให้เขาบริหารประเทศไม่ได้ และต้องทำให้ฝ่ายเขาเริ่มแตกแยกกันเอง พลังที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากไหน?

ในอดีตสมัย 14 ตุลา 2516 มีการนัดหยุดงานมหาศาลในต้นเดือนตุลาคม มีการเคลื่อนไหวของเกษตรกร มีการขยายจำนวนคนที่ชื่นชมพรรคคอมมิวนิสต์ และในที่สุดนักเรียนนักศึกษาและประชาชนคนทำงานก็ออกมา 5 แสนคนกลางถนน มีการสู้กับทหารที่ใช้อาวุธและกระสุนจริงเข่นฆ่าประชาชน และในที่สุดทรราชก็ต้องออกจากประเทศไป

ในสมัยพฤษภา 35 มีการจลาจลเกิดขึ้นหลายวันหลังจากที่ทหารไล่ฆ่าประชาชน จนในที่สุดทรราชต้องลาออก

การรวมตัวกันของพวกเราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม จนมากันเป็นแสนในเดือนกันยายน และในวันที่ 14 ตุลาคม และความก้าวหน้ากล้าหาญของนักเรียนนักศึกษา แสดงว่าพลังการต่อสู้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นเต้น แต่พอมาถึงจุดนี้การใช้เฟลชม็อบเล่น “วิ่งไล่กัน” หรือเล่น “ซ่อนหา” ในกรุงเทพฯ ซึ่งอาศัยความกล้าหาญและความอดทน มันไม่พอที่จะล้มทรราชประยุทธ์

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการประท้วง “ดาวกระจาย” ในวันนี้ (17 ต.ค.) พิสูจน์ว่ากระแสต่อสู้และความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูงในหมู่ประชาชนจำนวนมาก ไม่ใช่แค่คนหนุ่มสาวเท่านั้น เราต้องใช้โอกาสนี้ในการยกระดับการต่อสู้

เราถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เพราะเราจะต้องรักษาโมเมนตัมหรือการเพิ่มพลังที่ขยับไปข้างหน้าให้มันเพิ่มขึ้นอีก ถ้าไม่เช่นนั้นขบวนการเราจะถอยหลัง ดังนั้นต้องมีการต่อสู้ในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้น การพักรบชั่วคราวเพื่อหารือกันและนัดวันประท้วงใหม่ในเดือนข้างหน้าไม่เสียหายอะไรถ้านำไปสู่การประท้วงที่เพิ่มพลัง

แน่นอนผมไม่อยากเห็นการจลาจลที่ทำให้ฝ่ายเราเสียเลือดเนื้อ ทั้งๆ ที่วันก่อนประยุทธ์มันขู่ฆ่าพวกเราไปแล้ว นี่คือสาเหตุที่ผมเสนอว่าเราต้องหาทางปิดสถานที่ทำงานเพื่อให้มีผลทางเศรษฐกิจกับรัฐบาล การหาทางให้คนทำงานนัดหยุดงานประท้วงเผด็จการเป็นวิธีสำคัญที่จะนำไปสู่สิ่งนี้ [ดูรายละเอียดขั้นตอนการสร้างกระแสนัดหยุดงานที่ผมเสนอในบทความก่อนหน้านี้ https://bit.ly/31eJMcX ] แต่อย่างน้อยที่สุดผู้ใหญ่ที่พ้นวัยนักเรียนนักศึกษาแล้วจะต้องออกมาเคลื่อนไหวในจำนวนมากขึ้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

การอุ้ม วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ – ประยุทธ์ต้องรับผิดชอบ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ไม่ว่าจะมีการสั่งฆ่าโดยตรง หรือมีการเปิดไฟเขียวให้คนอื่นฆ่า ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องเป็นผู้ที่ถืออำนาจในยุคนั้นๆ ความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องเดียวกับความผิดที่มาจากการสั่งการโดยตรงทั้งๆ ที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนใดคนหนึ่งอาจสั่งการไปด้วย ปัญหาที่มักพบคือพิสูจน์คำสั่งโดยตรงยาก แต่ประเด็นคือคนที่มีอำนาจเพราะมีตำแหน่งต้องรับผิดชอบ เพราะผู้บริหารองค์กรหรือประเทศมีอำนาจ และต้องรับผิดชอบต่ออำนาจที่สังคมมอบให้หรือที่เขายึดมาจากสังคมผ่านการทำรัฐประหาร

ในแง่นี้ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับแก๊ง คสช. ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสหาย สุรชัย, ภูชนะ กับ กาสะลอง

และประยุทธ์ จันทร์โอชา กับแก๊ง คสช. ต้องรับผิดชอบต่อการหายตัวไปของ ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ (ลุงสนามหลวง), สยาม ธีรวุฒิ และกฤษณะ ทัพไทย ซึ่งเราคงต้องสรุปว่าทหารของ คสช. อุ้มฆ่าสามคนนี้

และล่าสุดแก๊งเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ต้องรับผิดชอบกับการอุ้มตัววันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

563000006013201

 

10 ปีหลังการสังหารเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตย โดยอนุพงษ์ เผ่าจินดา, ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ ฆาตกรแก๊งนี้ยังลอยนวล

16 ปีหลังเหตุสังหารประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ ทหารตำรวจและทักษิณ ชินวัตร ยังลอยนวล

27 ปีหลังการสังหารผู้รักประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภา ๓๕ ฆาตกรทหารยังลอยนวล

44 ปีหลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ฆาตกรทหารและตำรวจยังลอยนวล และฆาตกรหลายคนคงตายไปแล้ว

ตั้งแต่กบฏผู้มีบุญในอีสาน ที่เกิดขึ้นเพื่อต้านการกดขี่ที่มาพร้อมกับการสร้างรัฐไทยสมัยใหม่ในยุครัชกาลที่๕ ชนชั้นปกครองไทยมือเปื้อนเลือดจาก “อาชญากรรมรัฐ” ซ้ำแล้วซ้ำอีก และไม่มีเคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดที่ถูกลงโทษ วัฒนธรรมการลอยนวลของอาชญากรระดับสูงในสังคมไทยจึงถูกผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีการอุ้มฆ่านักสิทธิมนุษยชน เช่นทนายสมชาย หรือนักเคลื่อนไหวไทยในประเทศลาวและเขมร เราต้องเข้าใจว่ารัฐบาลเผด็จการทรราชในไทยและทั่วโลก มักจะออกมาโกหกว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมแบบนี้เป็นธรรมดา และวิธีการที่พวกนี้ใช้มักจะไม่เหลือหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้เราสืบค้นได้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่ารัฐบาลเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนในการก่ออาชญากรรม

เผด็จการทหารไทยมีประวัติในการเกี่ยวข้องกับการอุ้มฆ่าคนที่เห็นต่างหรือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ “โกตี๋” กับ “ดีเจซุนโฮ” ที่อยู่ในประเทศลาว เป็นตัวอย่างที่ดีของการถูกอุ้มฆ่า กองทัพไทยใช้กองกำลังลับ เพื่อฆาตกรรมวิสามัญคนมาเลย์มุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลไทยในปาตานี และใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้กองทัพไทยมีประวัติในการข้ามพรมแดนเข้าไปในประเทศลาวเพื่อไปใช้อาวุธแบบลับๆ ร่วมกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม มันชวนให้เราคิดว่าการข้ามพรมแดนไปฝั่งลาว-เขมรของทหารไทยเป็นเรื่องธรรมดา

ที่เห็นชัดคือประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง และเราไม่สามารถพึ่งพรรคการเมืองกระแสหลักได้ในขณะนี้ ดังนั้นเราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชน เพื่อขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในสังคมของเรา

ทหารคลั่งที่โคราชสะท้อนสังคมป่วยภายใต้เผด็จการทหาร

ใจ อึ๊งภากรณ์

เหตุการณ์น่าสลดใจที่ทหารคลั่งฆ่าประชาชนไป 30 ศพที่โคราช สะท้อนสังคมไทยที่ป่วยภายใต้เผด็จการทหาร

dFQROr7oWzulq5FZYjcKI40nk1L2FIGhSvJVTYMEvyXfQnGXspwvgknsx13i4oG1OGF

นอกจากสภาพจิตใจของนายทหารคนนั้น ซึ่งสำคัญ แต่อธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมไทยที่นำไปสู่เหตุการณ์นี้

ขณะนี้สังคมเราถูกปกครองโดยทหารเผด็จการที่ใช้อาวุธเพื่อยึดอำนาจและเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้งเพื่อขยายเวลาปกครองต่อไปในระบบเผด็จการรัฐสภา สถานการณ์แบบนี้สร้างวัฒนธรรมที่มองว่าการที่ทหารใช้กำลังในการคุมระบบการเมืองเป็นเรื่องปกติ แต่ทหารไม่ได้คุมแค่การเมืองในระดับเบื้องบน มันเข้ามาแทรกแซงสังคมในระดับรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง ในหลายกรณีทหารเข้ามาคุมสังคมแทนตำรวจ ทหารไปเยี่ยมนักประชาธิปไตยถึงบ้านเพื่อข่มขู่และจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในสังคมเราปัจจุบันแค่การแต่งชุดทหารและถือปืนกลายเป็นสิ่งที่ให้ “ความชอบธรรม” กับพฤติกรรมเยี่ยงโจร

dead in temple

เราทราบดีว่าในหลายปีที่ผ่านมา ทหารคลั่งภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชา ได้กราดยิงประชาชนผู้ไร้อาวุธที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง กรณีเสื้อแดงในปี ๒๕๕๓ กรณี พฤษภา ๓๕ กรณี ๖ ตุลา และ ๑๔ ตุลา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน และทหารมีประวัติในการสังหารวิสามัญชาวมาเลย์มุสลิมในปาตานี และฆ่าผู้เห็นต่างที่ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน

Thai army soldier stands guard over handcuffed detainees during an operation to evict anti-government "red shirt" protesters from their encampment in Bangkok

ภายในกองทัพเองมีการสร้างวัฒนธรรมความรุนแรงด้วยการซ้อมเด็กๆ ทหารเกณฑ์ จนตายไปหลายราย

เหตุการณ์เหล่านี้สร้าง “วัฒนธรรมอาชญากรลอยนวล” สำหรับกองทัพ และประยุทธ์ก็เป็นตัวดี เพราะมีส่วนในการสังหารเสื้อแดง

วัฒนธรรมอาชญากรลอยนวลในกองทัพ ทำให้ทหารเดินไปเดินมาในสังคมเหมือนมาเฟียที่ไม่กลัวใคร

B6FtNKtgSqRqbnNsU1cE4HgGWYX7hIdjDDpKzDTHjYTktg9zIsS1QmTYpedg1OnUSMcYn

วัฒนธรรมความรุนแรงต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เด็ก ในงานวันเด็กทหารมักจะนำอาวุธสงครามออกมาให้เด็ก “เล่น” อาวุธที่ทหารคลั่งใช้ฆ่าประชาชนที่โคราชคงเป็น “ของเล่น” ที่ทหารออกมาโชว์ให้เด็กดู วัฒนธรรมนี้ทำให้เด็กผู้ชายบางคนอยากเป็นทหาร เพื่อจะได้มีโอกาสเดินกร่างทำตัวเป็นใหญ่ในสังคม มันไม่ใช่เรื่องของการเป็นวีรชนที่ปกป้องประเทศ เพราะทหารไทยไม่เคยปกป้องประเทศ และไม่ใช่วีรชน ทหารไทยทำตัวเป็นโจรมาเฟียข่มขู่และฆ่าประชาชนมากกว่า

และการเป็นมาเฟียก็หมายความว่ากองทัพเข้ามามีผลประโยขน์ทางธุรกิจมากมาย นายทหารคลั่งที่โคราชอาจโกรธแค้นเพราะโดนผู้บังคับบัญชาโกงในธุรกิจ

ปัจจัยสุดท้ายที่คงมีผลกับเหตุการณ์น่าสลดใจที่โคราช เป็นเรื่องของการขาดความยุติธรรมและความมั่นคงในชีวิตสำหรับคนธรรมดาที่ยากจน อันนี้เป็นสาเหตุที่คนธรรมดาอาจมองว่าในเมื่อพึ่งความยุติธรรมจากรัฐไม่ได้ ก็ต้องไป “จัดการ” ปัญหาเองด้วยท่าทีแบบโจร ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสังคมโลกที่ประชาชนครอบครองปืนในระดับสูง

ด้วยเหตุนี้ เวลาเราพิจารณาเหตุการณ์ที่โคราช ผู้ที่ต้องรับผิดชอบรายใหญ่คือแก๊งทหารที่ครองเมืองทุกวันนี้ และตัวสำคัญที่สุดที่ต้องรับผิดชอบคือประยุทธ์ จันทร์โอชา

bloody prayut

 

๖ ตุลา ถึง เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ ภาพความป่าเถื่อนของชนชั้นปกครองไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

จาก กรณี “ถังแดง” ในสมัยสงครามเย็น ผ่านเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ถึงการกราดยิงเสื้อแดง การจงใจฆ่าชาวมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ และการอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร  สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ สหายภูชนะ สหายกาสะลอง และบิลลี่ ชนชั้นปกครองไทยมือเปื้อนเลือดจาก “อาชญากรรมรัฐ” ซ้ำแล้วซ้ำอีกและเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะสังคมไทยมีวัฒนธรรมลอยนวลของอาชญากรระดับสูงมานาน

ยิ่งกว่านั้นทุกวันนี้เราถูกปกครองโดยรัฐบาลที่มีอาชญากรประยุทธ์เป็นหัวหน้าอีกด้วย

bloody prayut

การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้ายที่ธรรมศาสตร์ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นผลพวงของการลุกฮือล้มเผด็จการในวันที่ ๑๔ ตุลา สามปีก่อนหน้านั้น และรากฐานการลุกฮือของนักศึกษา กรรมาชีพ และเกษตรกรสมัยนั้น มาจากความเหลื่อมล้ำทางอำนาจการเมืองกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็งไว้ภายใต้เผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส คือไม่มีการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย ไม่มีการปรับค่าจ้าง ไม่มีการพัฒนาสภาพการจ้างงาน และไม่มีการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็ขยายตัว นั้นคือสาเหตุที่มวลชนในสมัย ๖ ตุลา ชื่นชมแนวสังคมนิยมในหลากหลายรูปแบบ เพราะสังคมนิยมคือแนวคิดที่ต้องการล้มเผด็จการขุนศึกและนายทุน และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำพร้อมๆ กัน

120126_155008_01

ทุกครั้งที่ประชาชนไทยต้องการเดินหน้าเพื่อพัฒนาสังคมไทย ชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมก็พร้อมจะใช้ความรุนแรงในการปิดกั้นสร้างอุปสรรค์ และชนชั้นกลางที่ได้อภิสิทธิ์ในสังคม ก็พร้อมที่จะสนับสนุนเผด็จการเสมอ ในกรณี ๖ตุลา พวกนี้ก่อม็อบเพื่อฆ่านักศึกษาและฝ่ายซ้าย และในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาก็มีการก่อม็อบสลิ่มเพื่อทำลายประชาธิปไตยเช่นกัน

วิกฤตการเมืองและสภาพไร้ประชาธิปไตยภายใต้ “เผด็จการรัฐสภา” ของประยุทธ์ในปัจจุบัน มาจากการที่ชนชั้นปกครองซีกอนุรักษ์นิยมพร้อมจะใช้ความรุนแรงเพื่อขัดขวางความเจริญของสังคมและการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงานและเกษตรกรรายย่อย

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องชนชั้น และใครที่ปฏิเสธความสำคัญของชนชั้นในสังคมปัจจุบัน ไม่มีวันเสนอทางออกจากปัญหานี้ได้

ประเด็นคือเราจะกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลของอาชญากรรัฐอย่างไร?

จะพึ่งศาลและระบบยุติธรรมหรือ? ระบบตุลาการไทยถูกออกแบบเพื่อมีหน้าที่รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐฝ่ายเดียว ไม่มีบทบาทในการสร้างความยุติธรรมหรือสิทธิเสรีภาพของพลเมืองแต่อย่างใด เราเห็นตัวอย่างมากมายในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมาของการใช้ศาลเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองของทหารเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือการเลือกยุบพรรคการเมืองบางพรรค

จะอาศัยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือ? เราทราบดีว่าพวกเผด็จการพร้อมจะละเมิดรัฐธรรมนูญเสมอ และพร้อมจะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเมื่อทำรัฐประหาร นอกจากนี้การแก้รัฐธรรมนูญในยุคนี้เป็นไปไม่ได้ถ้าเราเล่นตามกติกาทหาร เพราะวุฒิสภาและศาลคอยปกป้องผลประโยชน์ของทหารตลอด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง รากฐานปัญหาอยู่ที่การมองว่าคนไทย ไม่ใช่ “พลเมือง” ที่เท่าเทียมกัน แนวความคิดว่าบางคน “สูง” บางคน “ต่ำ” ถูกผลิตซ้ำโดยพฤติกรรมของทหาร นักการเมือง และนายทุน ทหารระดับนายพลจึงมองว่าตนเองสามารถเข่นฆ่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยได้ตามอำเภอใจ นอกจากนี้การเรียกทหารระดับสูงในสื่อว่า “บิ๊ก” และการใช้คำว่า “ท่าน” นำหน้าพวกอาชญากรรัฐ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมหมอบคลาน

สภาพเช่นนี้แก้ไขได้ด้วยวิธีเดียว นั้นคือการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกรัฐสภา ที่ประกอบไปด้วยคนหนุ่มสาว นักสหภาพแรงงาน และกลุ่มเกษตรกร มันต้องเป็นขบวนการของคนชั้นล่างที่นำกันเอง เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนมันเป็นการละเมิดสิทธิของคนทำงานและคนจนเสมอ พวก “ผู้ใหญ่” หรือชนชั้นกลางที่มีเส้น ไม่ได้มีประสบการณ์ของการถูกลิเมิดสิทธิและการถูกเอารัดเอาเปรียบแบบนี้

ในประเทศต่างๆ ของยุโรป ในเกาหลีใต้ ในญี่ปุ่น และในหลายประเทศของลาตินอเมริกา การกำจัดวัฒนธรรมการลอยนวลหลังอาชญากรรมรัฐ และการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน มาจากการต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยโดยขบวนการเคลื่อนไหวแบบนี้ที่อาศัยพลังทางเศรษฐกิจของสหภาพแรงงาน ดังนั้นตราบใดที่เราไม่เน้นการต่อสู้ทางชนชั้นของมวลชนแบบนี้ เราจะไม่สามารถกำจัดวัฒนธรรมลอยนวล และเราจะไม่สามารถขยายพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนได้

อ่านเพิ่ม

มาร์คซิสต์วิเคราะห์ปัญหาสังคมไทย https://bit.ly/3112djA

เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙  https://bit.ly/2cSml2g

 

เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ไม่ได้เกิดจากคำสั่งของคนเดียว

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๙ จะเห็นว่ายุคนั้นเป็นยุคตงามขัดแย้งอย่างหนักในสงครามเย็น มีการปะทะกันทางอุดมการณ์ระหว่างฝ่ายซ้ายที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม และฝ่ายขวาที่เป็นทั้งสมาชิกของชนชั้นปกครองและผู้ที่สนับสนุนชนชั้นนี้

ถ้าเราพิจารณาบรรยากาศการปะทะกันระหว่างซ้ายกับขวา เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย เราจึงต้องสรุปว่า ๖ ตุลา เป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เกือบทุกคนในชนชั้นปกครองไทยได้มีส่วนในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดในเวลาหลายเดือนก่อนที่จะเกิดเหตุ ไม่ว่าจะผ่านการปลุกระดม ตั้งกองกำลังนอกระบบ หรือการวางแผนทำรัฐประหาร

อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไปเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้ายไทย ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่ามีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียว และมีการพยายามก่อเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อฉวยโอกาสในการปราบปรามฝ่ายซ้าย

นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์นี้ นักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์มีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น

คนส่วนใหญ่ในแวดวงชนชั้นปกครองในยุคนั้นเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ความรุนแรงและการปฏิบัตินอกกรอบของระบบประชาธิปไตยในการสกัดกั้นขบวนการ “สังคมนิยม” ซึ่งในสายตาของเขารวมถึงคนที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยด้วย ดังนั้นเกือบทุกส่วนของชนชั้นนำเห็นชอบกับการตั้งองค์กรลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล และกลุ่มนอกระบบอื่นๆ ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และบางส่วนอาจคาดไม่ถึงว่าจะเกิดอะไรขึ้นในที่สุด

เมื่อระยะเวลาผ่านไป “กลุ่มนอกระบบ” บางกลุ่มกลายเป็นเครื่องมือเฉพาะของซีกหนึ่งของชนชั้นนำเท่านั้น และสิ่งนี้ก่อให้เกิดความแตกแยกแย่งชิงผลประโยชน์กันในหมู่ชนชั้นปกครองเอง ผู้ที่วางแผนก่อรัฐประหารในวันที่ ๖ ตุลา แต่ถูก“คณะปฏิรูปการปกครอง” ตัดหน้าชิงทำรัฐประหารก่อน คือฝ่ายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับกลุ่มนอกระบบทั้งหลาย

พรรคชาติไทย (เช่น ประมาณ อดิเรกสาร และชาติชาย ชุณหะวัณ) ซีกขวาของพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นธรรมนูญ เทียนเงิน กับ สมัคร สุนทรเวช) และนายทหารที่ใกล้ชิดกับอดีตเผด็จการจอมพลถนอม-จอมพลประภาส ได้วางแผนก่อเรื่องเพื่อเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารมาตั้งแต่กลางปี ๒๕๑๙ และการนำจอมพลประภาส และจอมพลถนอมกลับเข้ามาในเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผนนี้ แต่กลุ่มที่ยึดอำนาจจริงๆ ในบ่ายวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ภายใต้ชื่อของ “คณะปฏิรูปการปกครอง” ไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน เป็นกลุ่มของนายทหารที่ไม่เห็นด้วยกับเครือข่าย ถนอม-ประภาส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งสองกลุ่มมัส่วนในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด

ถึงแม้ว่าการปราบปรามในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย “ฝ่ายซ้าย” ในประเทศไทยดังที่ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายขวา โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ต้องการคือการหยุดยั้งการประท้วงต่างๆ ของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ที่เขามองว่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

นอกจากความต้องการที่จะทำลายฝ่ายซ้ายโดยตรงแล้ว ผู้นำกองทัพส่วนใหญ่คิดว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามา ดังนั้นต้องลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยด้วยทุกวิธีทาง

เป็นเรื่องดีที่มีการศึกษาเรื่อง ๖ ตุลา แต่ประเด็นหลักสำหรับยุคปัจจุบันคือ เราจะทำอย่างไรเพื่อยุติอาชญากรรมของรัฐไทยที่กระทำอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคนี้

6 Oct

อ่านเพิ่ม “อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (๒๕๔๔) ISBN 9748858626  https://bit.ly/2dC7Fk2 และ  https://bit.ly/2cSml2g

อย่าฝันเลยว่าเราจะแก้รัฐธรรมนูญ สร้างประชาธิปไตย หรือสร้างความยุติธรรม ถ้าไม่มีขบวนการมวลชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทุกวันนี้เราเห็นกระบวนการของ “รัฐประหารยาว” ที่ประยุทธ์และแก๊งโจรเริ่มลงมือทำตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ การร่วมมือกับสลิ่ม ม็อบสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อล้มการเลือก ตั้งเปิดประตูให้มีการทำรัฐประหารโดยประยุทธ์ แต่การทำลายประชาธิปไตยครั้งนั้นมันเป็นเพียงการต่อยอดสิ่งที่ทหารเผด็จการ ศาลเตี้ย และพวกสลิ่มเสื้อเหลือง รวมถึงเอ็นจีโอ ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา และ “รัฐประหารยาว” ครั้งนี้ไม่ได้จบลงด้วยการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ เพราะมีการวางกติกาการเลือกตั้ง และสร้างสถาบันของเผด็จการเพิ่มขึ้นให้มีลักษณะถาวร เช่นการแต่งตั้งวุฒิสภากับศาล การออกกฏหมายเพื่อโกงการเลือกตั้ง และการประกาศใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ๒๐ ปี

ทั้งหมดนี้ทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเพียงแต่เป็นการเล่นละครของเผด็จการ จะมีหรือไม่มีรัฐบาลใหม่ก็ไม่สำคัญเพราะ คสช. ก็ยังอยู่และปฏิบัติเหมือนเดิม แถมจอมเผด็จการประยุทธ์ก็ออกมาขู่ว่าถ้าไม่พอใจเมื่อไร มันพร้อมจะนำรถถังออกมาเพื่อล้มประดานอีก

423027

จริงๆ แล้วเราไม่ต้องอธิบายให้ใครฟังว่าสภาพการเมืองไทยแย่แค่ไหน เพราะมันเห็นชัด นอกจากการที่แก๊งประยุทธ์ยังครองอำนาจเหมือนเดิมแล้ว เราเห็นจากการทำร้ายคนอย่างจ่านิว หรือการเข่นฆ่าหรือไล่ขู่ฆ่าคนอย่างอาจารย์สุรชัยและผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อบ้าน

คนที่มองไม่ออกว่านี่คือเผด็จการ เป็นคนที่เลือกจะไม่มอง เพราะชื่นชมเผด็จการอยู่แล้ว

แต่ประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยเข้าใจดีว่าเรายังอยู่ภายใต้เผด็จการ ทั้งๆ ที่บางคนเคยปิดหูปิดตาถึงความจริงและเคยฝันว่าการเลือกตั้งจะนำประชาธิปไตยกลับมา

ประเด็นที่เราควรจะคุยกันอย่างจริงจังคือเราจะทำอย่างไร อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในแผ่นดินแทนคณะทหาร

เวลาเราพิจารณาเส้นทางต่อสู้ เราควรจะคำนึงถึงวิธีการที่ฝ่ายเผด็จการทำลายประชาธิปไตยมาตั้งแต่การชุมนุมของเสื้อเหลืองและการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา

สิ่งที่ชัดเจนคือการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และการทำลายรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ไม่ได้ทำผ่านรัฐสภา หรือผ่านการใช้กลไกของกฏหมาย หรือกติกาของระบบประชาธิปไตยแต่อย่างใด

ดังนั้นการลบผลพวงของเผด็จการจะอาศัยการใช้ระบบรัฐสภาหรือกฏหมายหรือกติกาที่ฝ่ายเผด็จการออกแบบมาใช้ได้อย่างไร?

มีนักกิจกรรมและนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยไม่น้อย ที่มองว่าเราขาดประชาธิปไตย เสรีภาพ หรือความยุติธรรม แต่พูดเป็นนามธรรมอย่างเดียวว่าจะต้อง “แก้รัฐธรรมนูญ” หรือ “ปฏิรูปกองทัพ” โดยที่ไม่เสนอวิธีการอย่างชัดเจนที่ตรงกับโลกจริง

แล้วจะทำได้อย่างไรถ้าแค่อาศัยสส. ในรัฐสภา และกติกาของเผด็จการ?

คำตอบคือทำไม่ได้ ใครๆ ที่เคยฝันว่าการเลือกตั้งภายใต้กติกาเผด็จการจะเปลี่ยนอะไร ควรจะยอมรับได้แล้วว่ามันถึงทางตันในการใช้รัฐสภาหรือกฏหมายกติกาโจรมาล้มเผด็จการ ควรจะมีการสรุปกันแล้วว่าต้องสร้างพลังนอกรัฐสภาของมวลชนจำนวนมาก

บางคนพูดถึง “ภาคประชาชน” แต่เราต้องชัดเจนว่า “ภาคประชาชน” คือใครและคืออะไร เพราะที่แล้วมาพวกเอ็นจีโอที่เคยช่วยโบกมือเรียกเผด็จการก็ชอบเรียกตัวเองว่า “ภาคประชาชน”

ควรจะพูดให้ชัดว่าต้องมีการลงมือสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยที่มีมวลชน ตัวอย่างที่ดีในอดีตคือขบวนการเลื้อแดง แต่รอบนี้เราต้องสร้างให้ดีกว่าและไปไกลกว่าเสื้อแดง คือต้องอิสระจากพรรคการเมืองกระแสหลักประเภทที่ต้องการประนีประนอมหรือคอยชะลอการต่อสู้ และต้องเชื่อมโยงกับขบวนการแรงงานและคนรุ่นใหม่ มันควรมีหน้าตาคล้ายๆ ขบวนการประท้วงที่ฮ่องกง (ดูภาพ)

8c28952358d6402da804eb83814f4f27_18

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบนี้มันไม่เกิดขึ้นเอง มันไม่เกิดขึ้นจากความหวังของผม มันไม่เกิดขึ้นจากบทความที่พวกเราเขียน และมันไม่เกิดจากคำประกาศหรือการถกเถียงในโซเชียลมีเดีย มันต้องมีคนตัวจริงคุยกับคนตัวจริงต่อหน้าต่อตา มันต้องมีการประชุม และมันต้องมีการจัดตั้ง

อ่านเพิ่ม “เราจะสู้อย่างไร?” https://bit.ly/2RQWYP4

ฆาตกรทหาร ลอยนวลมาตลอด

ใจ อึ๊งภากรณ์

9 ปีหลังการสังหารเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตย โดยอนุพงษ์ เผ่าจินดา, ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ ฆาตกรแก๊งนี้ยังลอยนวล

15 ปีหลังเหตุสังหารประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ ทหารตำรวจและทักษิณ ชินวัตร ยังลอยนวล

26 ปีหลังการสังหารผู้รักประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภา ๓๕ ฆาตกรทหารยังลอยนวล

43 ปีหลังเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ฆาตกรทหารและตำรวจยังลอยนวล และฆาตกรหลายคนคงตายไปแล้ว

ตั้งแต่กบฏผู้มีบุญในอีสาน ที่เกิดขึ้นเพื่อต้านการกดขี่ที่มาพร้อมกับการสร้างรัฐไทยสมัยใหม่ในยุครัชกาลที่๕ ชนชั้นปกครองไทยมือเปื้อนเลือดจาก “อาชญากรรมรัฐ” ซ้ำแล้วซ้ำอีก และไม่มีเคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดที่ถูกลงโทษ วัฒนธรรมการลอยนวลของอาชญากรระดับสูงในสังคมไทยจึงถูกผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะมีการสั่งฆ่าโดยตรง หรือมีการเปิดไฟเขียวให้คนอื่นฆ่า ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องเป็นผู้ที่ถืออำนาจในยุคนั้นๆ ความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องเดียวกับความผิดที่มาจากการสั่งการโดยตรงทั้งๆ ที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนใดคนหนึ่งอาจสั่งการไปด้วย ปัญหาที่มักพบคือพิสูจน์คำสั่งโดยตรงยาก แต่ประเด็นคือคนที่มีอำนาจเพราะมีตำแหน่งต้องรับผิดชอบ เพราะผู้บริหารองค์กรหรือประเทศมีอำนาจ และต้องรับผิดชอบต่ออำนาจที่สังคมมอบให้หรือที่เขายึดมาจากสังคมผ่านการทำรัฐประหาร

ในแง่นี้ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับแก๊ง คสช. ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสหาย สุรชัย, ภูชนะ กับ กาสะลอง

_107009966_44481289_775709012771367_386115618585182208_n

และประยุทธ์ จันทร์โอชา กับแก๊ง คสช. ต้องรับผิดชอบต่อการหายตัวไปของ ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ (ลุงสนามหลวง), สยาม ธีรวุฒิ และกฤษณะ ทัพไทย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป เราคงต้องสรุปว่าทหารของ คสช. อุ้มฆ่าสามคนนี้

ในกรณีการอุ้มฆ่านักสิทธิมนุษยชน เช่นทนายสมชาย หรือนักเคลื่อนไหวไทยในประเทศลาว เราต้องเข้าใจว่ารัฐบาลเผด็จการทรราชในไทยและทั่วโลก มักจะออกมาโกหกว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมแบบนี้เป็นธรรมดา และวิธีการที่พวกนี้ใช้มักจะไม่เหลือหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้เราสืบค้นได้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่ารัฐบาลเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนในการก่ออาชญากรรม

เผด็จการทหารไทยมีประวัติในการเกี่ยวข้องกับการอุ้มฆ่าคนที่เห็นต่างหรือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ “โกตี๋” กับ “ดีเจซุนโฮ” ที่อยู่ในประเทศลาว เป็นตัวอย่างที่ดีของการถูกอุ้มฆ่า กองทัพไทยใช้กองกำลังลับ เพื่อฆาตกรรมวิสามัญคนมาเลย์มุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลไทยในปาตานี และใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้กองทัพไทยมีประวัติในการข้ามพรมแดนเข้าไปในประเทศลาวเพื่อไปใช้อาวุธแบบลับๆ ร่วมกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม มันชวนให้เราคิดว่าการข้ามพรมแดนไปฝั่งลาวของทหารไทยเป็นเรื่องธรรมดา

ชูชีพ
ลุงสนามหลวง

สยาม
สยาม ธีรวุฒิ

นอกจากนี้ในกรณีของ ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ (ลุงสนามหวง), สยาม ธีรวุฒิ และกฤษณะ ทัพไทย และกรณีการส่งตัวคุณประพันธ์ จำเลยคดีสหพันธรัฐไท กลับไทย เราต้องประณามรัฐบาลเวียดนามและมาเลเซีย ที่ไม่มีหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐานเลย และร่วมมือกับอาชญกรเผด็จการไทย

ส่วนกรณีวงดนตรีไฟเย็นที่โดนเผด็จการทหารไทยคุกคาม เราต้องคอยติดตามดูแลสถานภาพของเขาตลอด จนกว่าเขาจะได้โอกาสเดินทางไปลี้ภัยในตะวันตก

safe_image

ที่เห็นชัดคือประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง และเราไม่สามารถพึ่งพรรคการเมืองกระแสหลักได้ในขณะนี้ ดังนั้นเราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของมวลชน เพื่อขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในสังคมของเรา

ทหารกับองค์กร ‘ภาคประชาชน’ ไทยไม่สามารถสร้างสันติภาพในปาตานีได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

หลังข่าวการสังหารพระในวัดรัตนานุภาพนราธิวาส เราเห็นภาพของประชาชนหลายส่วนในสังคมไทยที่ออกมาประณามและแสดงความไม่พอใจ จริงอยู่การฆ่าคนไม่ใช่เรื่องดี แต่คนเหล่านี้มักจะรับแนวคิดชาตินิยมจากรัฐไทยมาเต็มตัว โดยไม่ลองคิดลึกๆ ว่าปัญหาในปาตานีมันเกิดจากอะไร

patanipeace

แน่นอนทหารก็ออกมาพูดก้าวร้าวเหมือนเดิม โดยไม่ค่อยมีใครวิจารณ์ทหาร แต่ทหารไทยคือส่วนสำคัญของปัญหา ทหารไทยคือ “โจรใต้” ตัวจริง และเป็นโจรที่ปล้นประชาธิปไตยจากพลเมืองไทยอีกด้วย

041026_thai_riots_hmed_6a.grid-6x2
อาชญากรรมรัฐไทยที่ตากใบ

ในหลายปีที่ผ่านมา ปาตานี ซึ่งเคยถูกยึดและแบ่งระหว่างรัฐไทยกับอังกฤษ กลายเป็นสมรภูมิสงครามระหว่างรัฐไทยหรือกองกำลังทหารไทย กับขบวนการที่ต้องการปลดแอกปาตานี สงครามและความรุนแรงที่เกิดขึ้นมันมีประวัติ มันมีที่มาที่ไป

rtxxz90-1-960x576

ที่มาที่ไปสำคัญคือพฤติกรรมของรัฐไทยในการครอบครองพื้นที่เหมือนเป็นเมืองขึ้น และการปราบปรามอิสรภาพกับวัฒนธรรมของชาวมาเลย์มุสลิม คนมาเลย์มุสลิมอาศัยอยู่ในปาตานีมาก่อนกำเนิดของประเทศไทยอีก [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2b5aCYI]

พูดง่ายๆ สงครามและความรุนแรงในปาตานีมาจากการที่รัฐไทยไม่ให้ความยุติธรรมกับชาวมาเลย์มุสลิม และการที่รัฐไทยพร้อมจะใช้ความรุนแรงในการปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง และกีดกันเสรีภาพของประชาชน

ยิ่งกว่านั้น หลังจากที่ทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐในไทย การเจรจาสันติภาพไม่มีความคืบหน้าเลย สาเหตุสำคัญคือทหารต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามยอมจำนนอย่างเดียว และไม่สนใจความไม่พอใจของชาวมาเลย์มุสลิมที่มีมานาน ทหารไม่มีความต้องการที่จะสร้างสันติภาพหรือแก้ปัญหา ต้องการแต่จะปราบหรือเอาชนะอย่างเดียว นี่คือปัญหาใหญ่ของการใช้วิธี “ทหารนำการเมือง” ในปัจจุบัน

เวลาพิจารณาเหตุการณ์ที่วัดรัตนานุภาพ สิ่งหนึ่งที่แย่สุดคือจุดยืนขององค์กรที่อ้างว่าเป็น “ภาคประชาชนไทย” เพราะมีการออกแถลงการณ์ที่เรียกร้องให้ “รัฐไทยดำเนินการกับผู้ที่มีส่วนในการสังหารพระสงฆ์” แถลงการณ์นี้ออกมาในนามของหลายองค์กรและบุคคล เช่น เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นต้น

ในเมื่อสงครามในปาตานีมันเกิดจากความชั่วร้ายของรัฐไทย การเรียกร้องให้รัฐไทยและทหารไทย “ดำเนินการ” กับผู้ก่อการ เท่ากับเป็นการเลือกข้างสนับสนุนรัฐไทยและทหารไทยอย่างชัดเจน และมันจะส่งสัญญาณถึงผู้ที่ต่อต้านการกดขี่ของรัฐไทยว่า “ภาคประชาชนไทย” คือศัตรูที่ต่อต้านเสรีภาพสำหรับชาวมาเลย์มุสลิม นั้นคือเจตนาขององค์กรดังกล่าวหรือไม่ผู้เขียนไม่ทราบ แต่อย่าลืมว่าในอดีตองค์กรเอ็นจีโอไทยหลายองค์กรเคยร่วมในการโบกมือเรียกให้ทหารทำรัฐประหารล้มรัฐบาลประชาธิปไตย

ลองนึกภาพดูก็ได้ คนมาเลย์มุสลิมเสียชีวิตจากมือของรัฐไทยจำนวนมาก เช่นในกรณีตากใบ ถ้าเกิดมีองค์กรออกแถลงการณ์ว่ากองกำลังที่ต้านรัฐไทยควร “ดำเนินการกับทหาร ตำรวจ และนักการเมืองที่มีส่วนในการฆ่าคน” กระแสสังคมจะว่ายังไง? ถ้าคนรับคำพูดแบบนี้ไม่ได้ แต่รับถ้อยคำของเอ็นจีโอได้ ก็แสดงว่ารัฐไทยกับทหารไทยน่าไว้ใจกว่าฝ่ายตรงข้าม?

คนที่ศึกษาปัญหาปาตานีหลายคนพยายามอธิบายว่าการโจมตีวัดของฝ่ายต้านรัฐไทย อาจเป็นการโต้ตอบการที่โต๊ะอิหม่ามสามคนถูกสังหารในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และในเดือนมกราคมมีความพยายามที่จะลอบสังหารโต๊ะอิหม่ามอีกหนึ่งครั้ง นอกจากนี้มีข่าวว่ารัฐไทยใช้การฆาตกรรมวิสามัญผู้นำองค์กรบีอาร์เอ็นที่นราธิวาสเมื่อไม่นานมานี้ เราทราบดีว่าทหารไทยใช้กองกำลังลับในการฆ่าวิสามัญโต๊ะอิหม่ามหรือนักเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกับทหารแต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าทำอะไรผิด

ท่ามกลางความโง่เขลาและการเลือกข้างฝ่ายทหารขององค์กร “ภาคประชาชน” เราโชคดีที่มีนักเขียนสองคนออกมาอธิบายว่าเรื่องการฆ่าพระสงฆ์ มันซับซ้อนกว่าการฆ่าผู้บริสุทธิ์ อย่างป่าเถื่อนอย่างที่พวกคลั่งชาติกับคลั่งศาสนาพุทธพยายามเสนอ ทั้งๆ ที่ตัวบุคคลที่โดนฆ่าอาจถือว่า “บริสุทธิ์” ได้

image

สุรพศ ทวีศักดิ์ อธิบายว่าการที่ศาสนาพุทธผูกพันกับรัฐไทยมาตลอดในปาตานี เช่นการจัดโครงการ  “พระสงฆ์นำชัยคุ้มภัยใต้” ซึ่งมีทหารติดอาวุธเข้าไปบวชในวัด หรือการที่ทหารไทยจัดกองกำลังในวัดและเดินไปกับพระในขณะที่บิณฑบาต สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสถาบันของศาสนาพุทธ และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ใกล้ชิดกับรัฐไทยจนอาจถือได้ว่าเป็นพวกเดียวกัน สุรพศ ทวีศักดิ์ เสนอมานานแล้วว่าศาสนาพุทธควรจะแยกออกจากรัฐ และเตือนว่าการนำศาสนามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องที่อันตรายมาก [ดู https://bit.ly/2RRkMG3 ]

gettyimages-80314673-612x612

ชาญณรงค์ บุญหนุน ตั้งข้อสังเกตว่าคนที่ชอบถามว่า “ฆ่าพระทำไม” มักจะไม่สนใจคำตอบ แต่สนใจที่จะโกรธเคืองจนอาจเสียสติได้ ชาญณรงค์ อธิบายว่าคณะสงฆ์ไทยในแง่ของสถาบัน ไม่เคยแยกตัวออกจากผู้มีอำนาจรัฐ ไม่เคยออกมาวิจารณ์พฤติกรรมเลวๆ ของรัฐ และมีความใกล้ชิดกับทหารในพื้นที่ปาตานี [ดู https://bit.ly/2WryRIX ]

5057316a-ddc1-4424-bd35-417362d7a1ff

หลังเหตุการณ์ที่วัดรัตนานุภาพไม่กี่วัน กองกำลังไทยได้ถือโอกาสบุกเข้าไปในโรงเรียนปอเนาะในปาตานี และจับคุมเยาวชนจำนวนหนึ่งด้วยวิธีการป่าเถื่อน เช่นการใช้ตาข่ายพันตัวในลักษณะที่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยที่ทางทหารอ้างว่าคนที่โดนจับเป็นคนเขมรที่เข้ามาในไทยผิดกฏหมายและกำลังฝึกฝนเพื่อสู้รบกับรัฐไทย แต่คนในพื้นที่ไม่เชื่อคำอธิบายของทหาร และมองว่าพวกเยาวชนที่ถูกจับ ซึ่งดูเหมือนจะอายุน้อย เพียงแต่ออกกำลังกายหลังเรียนมาทั้งวัน การที่ทหารไทยปล่อยเยาวชนส่วนใหญ่หลังถูกจับ และแค่คุมคนที่เป็นพลเมืองกัมพูชาในเรื่องการเข้าเมืองผิดกฏหมายเพื่อส่งกลับ แสดงว่าไม่มีหลักฐานะอะไรเกี่ยวกับการฝึกสู้รบแต่อย่างใด [ดู https://bit.ly/2GkLTCb ]

เราควรรู้ว่าคนสัญชาติเขมรที่เข้ามาในแหลมมาลายูมักจะเป็นคนเชื้อสาย “จาม” ที่เคยก่อตั้งอาณาจักร “จามปา” ในเขตรเขมรกับเวียดนามยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์เราทราบว่าคนจามเดินทางไปมาติดต่อกับคนในปาตานี มาเลเซีย กับอินโดนีเซียมานาน เพราะเขาพูดภาษามาเลย์และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งสื่อไทยไม่ได้อธิบายตรงนี้เลย และเราต้องไม่ลืมอีกว่าทหารไทยมีประวัติในการบุกเข้าไปข่มขู่คนที่โรงเรียนปอเนาะอย่างต่อเนื่อง และ “คนเขมร” เป็นแพะรับบาปของพวกชาตินิยมไทยมานานอีกด้วย

50860310_2260274137519799_281745503815729152_n

50832950_2260274160853130_672270138258489344_n

ถ้าเราสนใจที่จะสร้างสันติภาพจริงๆ ในปาตานี เราต้องสร้างความยุติธรรมให้กับชาวมาเลย์มุสลิมก่อน เราต้องเปิดใจยอมรับว่าประชาชนในพื้นที่ควรมีเสรีภาพที่จะร่วมกันกำหนดอนาคตของตนเอง โดยไม่มีการแทรกแซงจากรัฐไทย และการเลือกที่จะแยกตัวออกจากประเทศไทยก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เขามีสิทธิ์จะเลือก แต่ถ้าจะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ต้องมีการแยกศาสนาออกจากรัฐ ถอนทหารและกองกำลังอื่นๆ ของรัฐไทยออกจากปาตานี และต้องแก้ปัญหาโดยการเมืองที่ไม่มีททหารเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

มีพรรคการเมืองไหนบ้างที่สนใจการสร้างสันติภาพในปาตานีแบบนี้?

 

อ่านเพิ่ม https://bit.ly/2zEwG9k  https://bit.ly/2UsUeaL  https://bit.ly/1Ue789J

การจัดการกับอาชญกรรมรัฐไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในวันที่ ๑๔ ตุลาคมปีนี้ พรรคสามัญชน แถลงว่า “ต้องมีการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ผ่านมาทั้งหมด” โดยมีการเสนอว่า

  1. สนับสนุนกระบวนการค้นหาความจริงอย่างรอบด้าน
  2. จัดทำโครงการรำลึกและการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐอย่างเป็นระบบ
  3. ชดเชยผู้เสียหายจากความรุนแรง
  4. ต้องไม่มีการลอยนวลพ้นผิด จะต้องมีการสอบสวน ลงโทษ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยรัฐ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

43950273_1942694965809987_568145699913334784_n

ทั้งๆ ที่ผมสนับสนุนทั้งสี่ข้อนี้ มันมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ ในเกือบทุกเรื่องตอนนี้ มันมีการค้นหาความจริงโดยขบวนการประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว เช่นกรณีเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เป็นต้น [ดู https://bit.ly/2cSml2g ] และผู้ก่อความรุนแรงรายใหญ่ตายไปหมดแล้ว ส่วนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖, พฤษภาคม ๒๕๓๕, การเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ, การฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด และการเข่นฆ่าเสื้อแดง เราล้วนแต่ทราบข้อมูลว่าใครสั่งการและใครควรรับผิดชอบ มันไม่มีอะไรลึกลับ มันไม่มีประวัติศาสตร์ที่ต้องชำระ

col01210959p1

สำหรับ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ผู้นำเผด็จการที่สั่งฆ่าประชาชนตายไปแล้วสองคน แต่ ณรงค์ กิตติขจร ทรราชคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบกับการฆ่าประชาชน ยังมีชีวิตอยู่ เขาควรจะถูกนำมาขึ้นศาล

200px-ณรงค์_กิตติขจร

ณรงค์-กิตติขจร-1
ณรงค์ กิตติขจร

นอกจาก ณรงค์ กิตติขจร แล้ว สุจินดา คราประยูร ผู้สั่งการในการฆ่าประชาชนในพฤษภา ๓๕ ก็ควรจะกลายเป็นผู้ต้องหาด้วย ในกรณีการเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ และการฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด ทักษิณ ชินวัตร จะต้องถูกนำมาขึ้นศาล

hqdefault
สุจินดา คราประยูร

A-0208
ทักษิณ ชินวัตร

และล่าสุดในคดีเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดง อนุพงษ์ เผ่าจินดา, ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ควรจะถูกนำมาขึ้นศาลเช่นกัน

ฆาตกร

แล้วทำไมไม่กล้าพูดกันตรงๆ ? แน่นอนมันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่อย่างน้อยต้องมีการเปิดประเด็นเรื่องนี้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นเป้าหมาย

ปัญหาคือการพูดถึงการ “ชำระประวัติศาสตร์” สามารถถูกใช้เป็นคำพูดที่ดูดี อยู่เคียงข้างความยุติธรรมและประชาธิปไตย แต่ในรูปธรรมกลายเป็นข้ออ้างในการชะลอการลงมือจัดการกับอาชญากร

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพรรรคสามัญชน มันเกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ด้วย เพราะถ้าจะลบผลพวงของรัฐประหารและเผด็จการทหาร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการนำผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาล ซึ่งคงต้องรวมไปถึงคนที่ก่อรัฐประหารด้วย ดังนั้นคงต้องเพิ่มชื่อ สนธิ บุญยรัตกลิน เข้าไปอีกหนึ่งคน

และประเด็นที่ตามมาคือจะนำอำนาจอะไรมาทำ? จะใช้อำนาจอะไรยกเลิกรัฐธรรมนูญทหารและยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี? มันมีอำนาจเดียวที่ชี้ขาดในเรื่องนี้ คืออำนาจของขบวนการมวลชนนอกรัฐสภา

เรื่องแบบนี้พรรคการเมืองที่พูดในลักษณะก้าวหน้าควรจะอธิบายให้ชัดเจนในเรื่อง “อำนาจ” และควรจะพูดว่าพร้อมจะสร้างขบวนการมวลชนหรือไม่ และถ้าไม่พร้อมจะสร้างขบวนการมวลชน คิดว่ายังทำในสิ่งที่ต้องการทำได้หรือไม่ ไม่ใช่พูดว่าจะใช้รัฐสภาจัดการกับผลพวงของเผด็จการโดยไม่คุยเรื่องอุปสรรค์ เพราะถ้าไม่พูดให้ชัดเจน หรือถ้าแอบอยู่หลังคำประกาศว่าจะชำระประวัติศาสตร์ นโยบายต่างๆ ที่ฟังดูดี ก็แค่เป็นคำพูดที่ดูสวยงามแต่ไร้รูปธรรมโดยสิ้นเชิง