Tag Archives: อียู

วิกฤตการเมืองกระแสหลักในยุโรป ไม่ใช่วิกฤตสำหรับมาร์คซิสต์

ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมโลกในปี 2008 การใช้มาตรการเสรีนิยมกลไกตลาดของรัฐบาลพรรคกระแสหลักในประเทศต่างๆ ของยุโรป นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองของพรรคกระแสหลักในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นพรรคนายทุนหรือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป เพราะทุกพรรคส่งเสริมการโยนภาระการแก้วิกฤตไปสู่ชนชั้นกรรมาชีพ ผลคือคนจำนวนมากเดือดร้อนจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมาก สิ่งที่เข้ามาเสริมอีกคือความไม่พอใจกับมาตรการต่างๆ ที่ไม่เพียงพอในการปกป้องประชาชนจากโควิด

ปรากฏการณ์นี้มีการตั้งชื่อว่าเป็น “การล่มสลายของการเมืองเสรีนิยมที่มีจุดยืนกลางๆ ระหว่างซ้ายกับขวา” เราต้องเน้นว่าแนว “เสรีนิยมกลางๆ” ดังกล่าว ที่ล่มสลายไป ไม่ใช่อะไรที่ก้าวหน้าแต่อย่างใด แต่เป็นแนวที่ถือผลประโยชน์กลุ่มทุนเป็นหลัก มีการใช้เงินรัฐอุ้มกลุ่มทุน แต่ตัดสวัสดิการและระดับค่าจ้าง เพื่อจ่ายหนี้รัฐ และมีการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน ซึ่งช่วยทำลายรัฐสวัสดิการ และเราต้องเน้นว่านโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยพรรคนายทุน และพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป ในทุกประเทศ เวลาเราพูดถึง “ฝ่ายซ้าย” เราไม่สามารถรวมพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูปในนั้น

แม้แต่ในประเทศที่พรรคกระแสหลักยังเป็นรัฐบาลอยู่ เช่นในเยอรมันกับอังกฤษ จะเห็นว่าคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของพรรคนายทุนบวกกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิรูป ซึ่งเคยสูงถึง 80% กลับลดลงอย่างน่าใจหาย

มันมีสองกระแสใหม่ทางการเมืองที่เกิดขึ้นคือ กระแสฝ่ายซ้าย และกระแสฝ่ายขวาเหยียดเชื้อชาติ ทั้งสองกระแสนี้มาจากวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2008  ซึ่งทำให้คนจำนวนมากจนลงและตกงาน มันนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยกและห่างเหินจากการเมืองกระแสหลัก เพราะประชาชนจำนวนมากรู้สึกว่าพรรคการเมืองเก่าไม่สนใจที่จะเป็นตัวแทนของเขา ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อน และแถมซ้ำเติมด้วยนโยบายรัดเข็มขัด ตอนนี้ทั่วยุโรปจึงมีวิกฤตทางการเมืองที่ปะทะกับความชอบธรรมเก่าของพรรคกระแสหลัก

นักมาร์คซิสต์ทราบดีว่า เมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ที่นำไปสู่ความไม่พอใจในพรรคการเมืองกระแสหลัก ประชาชนจะไปทางขวาสุดขั้วก็ได้ หรือจะไปทางซ้ายแบบสังคมนิยมก้าวหน้าก็ได้ และมันไม่มีอะไรอัตโนมัติ ถ้าฝ่ายซ้ายไม่เคลื่อนไหวและปลุกระดม คนจำนวนมากจะไปฟังนักการเมืองขวาสุดขั้วแทน ซึ่งเราเห็นปรากฏการณ์แบบนี้ในหลายประเทศ ในกรีซและสเปน มีการขยายคะแนนนิยมของฝ่ายซ้ายสังคมนิยม ในฝรั่งเศส ออสเตรีย และฮังการี่ มีการขยายตัวของฝ่ายขวาฟาสซิสต์ และทั่วยุโรปทัศนะเหยียดคนต่างชาติกำลังปะทะกับทัศนะฝ่ายซ้ายที่พยายามสมานฉันท์กับคนทุกเชื้อชาติ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3x298t6 ]

วิกฤตในประเทศกรีซ นำไปสู่การเลือกพรรคฝ่ายซ้าย “ไซรีซา” ซึ่งสัญญาว่าจะต้านนโยบายรัดเข็มขัดที่ทำลายมาตรฐานชีวิตของประชาชน นโยบายนี้สั่งลงมาจากกลุ่มอำนาจในอียู คือธนาคารกลาง กรรมการบริหารอียู และไอเอ็มเอฟ เมื่อรัฐบาลไซรีซาจัดประชามติว่าจะรับหรือไม่รับนโยบายดังกล่าวของอียู ประชาชนจำนวนมากลงคะแนนเสียงไม่รับ แต่รัฐบาลกลับหักหลังประชาชน แล้วไปเจรจารับนโยบายรัดเข็มขัดแทน โดยใช้ข้ออ้างว่าโดนกดดันอย่างหนักจากกลุ่มทุนใหญ่ในอียูและรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งมีความจริงอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามพรรคไซรีซาไม่กล้าพากรีซออกจากสกุลเงินยูโรเพื่อลดอิทธิพลของอียู และไม่กล้าใช้พลังมวลชนเพื่อเปลี่ยนระบบ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3ntNBq8%5D

กรีซ

ความไม่พอใจต่อวิกฤตเศรษฐกิจและนโยบายรัดเข็มขัดในสเปน นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ของเยาวชนกลางเมือง เพราะอัตราว่างงานของคนหนุ่มสาวสูงมาก ในการเลือกตั้งต่อจากนั้นพรรคกระแสหลักเสียคะแนนเสียงมากจนไม่มีพรรคไหนสามารถตั้งรัฐบาลได้ จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ แต่ผลก็ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันพรรคฝ่ายซ้ายโพดามอส ที่เพิ่มคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งแรก กลับเสียคะแนนเล็กน้อย สาเหตุสำคัญคือการที่แกนนำพรรคมีพฤติกรรมสองจิตสองใจตลอดเวลาว่าจะผลักดันนโยบายก้าวหน้าหรือไม่ เช่นเรื่องการคัดค้านการรัดเข็มขัด หรือการรณรงค์ให้รัฐต่างๆ ในสเปนมีความอิสระมากขึ้น พรรคนี้เติบโตมาเพราะสะท้อนกระแสต้านนโยบายเสรีนิยม และสะท้อนความไม่พอใจของคนหนุ่มสาว

ในสถานการณ์วิกฤตหนัก ฝ่ายซ้ายในกรีซและสเปนถูกทดสอบอย่างหนัก และผลคือสอบตก เพราะในสเปนพรรคโพเดมอสในที่สุดไปเข้ารัฐบาลกับพรรคสังคมนิยมปฏิรูปและผลักดันแนวเสรีนิยมกลไกตลาด และในกรีซพรรคไซรีซาก็หักหลังประชาชนจนในที่สุดแพ้การเลือกตั้ง

ในกรณีฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เป็นผู้นำฝ่ายขวากระแสหลักที่สร้างพรรค “ใหม่”หลังจากการล่มสลายของพรรคนายทุนกับพรรคสังคมนิยมปฏิรูป มาครงมุ่งหน้าพยายามทำลายฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนผู้ทำงาน และทำลายสิทธิของสหภาพแรงงานจนเกิดการนัดหยุดงานทั่วประเทศกับการประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง รัฐบาลของเขาใช้นโยบายรัดเข็มขัดกับประชาชนธรรมดา แต่ตัว มาครง เองก็ใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อซื้อชุดกินข้าวหรูราคาเป็นแสน และสั่งสร้างสระว่ายน้ำในทำเนียบฤดูร้อน นอกจากนี้เขาพร้อมจะคบจับมือกับทรราชรอบโลก และใช้นโยบายเหยียดสีผิวเชื้อชาติ ซึ่งไปให้กำลังใจกับพรรคฟาสซิสต์ “รวมพลังชาติ” ของ เลอ แปน

Le Pen ในฝรั่งเศส

ในอิตาลี่วิกฤตทางการเมืองไม่ต่างจากที่อื่น เพียงแต่มีเรื่องการโกงกินคอร์รับชั่นเข้ามาเป็นปัจจัยเสริม ท่ามกลางการล่มสลายของพรรคกระแสหลัก ซึ่งเราต้องรวมพรรคคอมมิวนิสต์ในนั้นเพราะแปรไปเป็นพรรคเสรีนิยม พรรคใหม่ๆ เช่นพรรคห้าดาว และพรรคฟาสซิสต์ก็เพิ่มคะแนนเสียง

ในเยอรมัน รัฐบาลผสมระหว่างพรรคนายทุน CDU และพรรคสังคมประชาธิปไตย SPD เสียคะแนนเสียงอย่างต่อเนื่องจนแนวร่วมระหว่างสองพรรคนี้พัง ขณะนี้พรรค SPD สร้างแนวร่วมกับพรรคกรีนเพื่อตั้งรัฐบาล แต่พรรคฟาสซิสต์ก็ขยายฐานเสียง ส่วนพรรคฝ่ายซ้าย Die Linke ที่เคยเพิ่มคะแนนหลังวิกฤตปี2008 มีปัญหาเพราะคะแนนเสียงลดลงอันเนื่องมาจากการทำแนวร่วมกับพรรคกระแสหลักในรัฐต่างๆ และสนับสนุนนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด

ในอังกฤษกระแสที่เห็นชัดคือการขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคแรงงานของคอร์บิน ซึ่งในตอนแรกประชาชนจำนวนมากตื่นเต้นกับนโยบายซ้ายๆ ของเขาจนเกือบชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นพวก สส.ฝ่ายขวาในพรรคแรงงานกดดันให้เขาเปลี่ยนจุดยืนและเอียงไปทางขวา ซึ่งทำให้แพ้การเลือกตั้งในที่สุด [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/3kQAZrq ]

ปรากฏการณ์ความรู้สึกแปลกแยกและห่างเหินจากการเมืองกระแสหลัก เห็นได้ชัดจากผลประชามติอังกฤษด้วย เพราะคนที่ลงคะแนนให้อังกฤษ “ออก” มีแนวโน้มจะยากจนและอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่อุตสาหกรรมเก่าถูกทำลาย มันมีกระแสเหยียดเชื้อชาติที่ถูกปลุกระดมโดยนักการเมืองฝ่ายขวาทั้งสองฝ่าย คือพวกที่สนับสนุนอียูและพวกที่อยากออก แต่สาเหตุหลักที่คนจำนวนมากโหวดออกก็เพราะทนไม่ไหวที่จะอยู่ต่อไปแบบเดิม

ข้อสรุปสำคัญสำหรับเราชาวมาร์คซิสต์ จากวิกฤตการเมืองในยุโรปคือ ถ้าพรรคฝ่ายซ้ายไปประนีประนอมกับนโยบายทุนนิยมกลไกตลาดเสรี อย่างเช่นในกรีซ สเปน เยอรมัน หรืออังกฤษ มันจะนำไปสู่ความหายนะ และถ้าไม่มีการสร้างขบวนการต้านการเหยียดเชื้อชาติสีผิว พวกฟาสซิสต์มีโอกาสโตได้ ตัวอย่างที่แย่ที่สุดคือกรณีฝรั่งเศส ซึ่งต่างจากอังกฤษที่มีขบวนการดังกล่าว

การสร้างพรรคสังคมนิยมปฏิวัติแนวมาร์คซิสต์ เป็นสิ่งที่ทำได้ในทุกประเทศและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้เราเผชิญหน้ากับสามวิกฤตที่มาจากลักษณะของระบบทุนนิยม คือวิกฤตโลกร้อน วิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตโควิด ซึ่งนักการเมืองกระแสสหลักไม่มีวันแก้ปัญหาที่เกิดจากสามวิกฤตนี้ได้ เพราะยึดติดกับกรอบของระบบทุนนิยม [อ่านเพิ่ม สามวิกฤตของทุนนิยม https://bit.ly/2XKQ69L ]

ทุกวันนี้กระแสการต่อสู้และความไม่พอใจของคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นในทุกที่ [อ่านเพิ่ม https://bit.ly/30EsGaG  ] และนี่คือสิ่งที่สร้างความหวังให้กับนักสังคมนิยมมาร์คซิสต์ โดยเฉพาะในเครือข่าย IST (International Socialist Tendency) เราไม่หดหู่เหมือนพวกที่หลงใหลในระบบการเลือกตั้ง หรือแนวเสรีนิยม เราเป็นนักปฏิวัติที่สู้เพื่อการปฏิรูปอย่างถึงที่สุด

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทำไมพรรคแรงงานอังกฤษแพ้การเลือกตั้ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

คำอธิบายเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งที่อังกฤษของพวกกระแสหลักหรือบุคคลที่ขี้เกียจวิเคราะห์การเมืองอย่างเป็นระบบ จะไม่อธิบายความจริงเกี่ยวกับสังคมอังกฤษเลย การพูดว่าประชาชนยังชื่นชมกับแนวการเมืองอนุรักษ์นิยม หรือการเสนอว่ากรรมาชีพงมงาย หรือการเสนอว่าพรรคแรงงานกับ เจเรมี คอร์บิน “ซ้ายเกินไป” เป็นการวิเคราะห์ผิวเผินที่ไม่ตรงกับโลกจริงแต่อย่างใด

นโยบายที่พรรคแรงงานเสนอภายใต้ ‎เจเรมี คอร์บิน เป็นนโยบายที่ก้าวหน้าที่สุดในรอบสี่สิบปี มีการเสนอว่าต้องลงทุนเพิ่มในระบบรักษาพยาบาล หลังจากที่ถูกตัดภายใต้นโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม มีการเสนอให้ตัดค่าโดยสารรถไฟ แก้ปัญหาคนไร้บ้าน แก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม มีการเสนอให้นำสาธารณูปโภคกลับมาเป็นของรัฐเพื่อลดค่าน้ำค่าไฟและเพื่อควบคุมปัญหาโลกร้อน มีการเสนอให้สร้างงานในขณะที่ลดการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน มีการเสนอให้เก็บภาษีเพิ่มจากคนส่วนน้อยที่เป็นคนรวย และนโยบายดังกล่าวโดยรวมแล้วเป็นที่ถูกใจของประชาชนเพราะเป็นนโยบายที่สร้างประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่

เราทราบว่านโยบายดังกล่าวเป็นที่นิยมของคนจำนวนมากเพราะพรรคแรงงานได้คะแนนเสียงทั้งหมด 10.3 ล้านเสียง และเขตเลือกตั้งส่วนใหญ่ตามเมืองใหญ่ๆ ที่มีกรรมาชีพมากมาย เช่น London, Liverpool, Manchester, Birmingham และ Bristol ล้วนแต่เป็น “เขตแดง” ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราทราบกัน พรรคอนุรักษ์นิยมได้คะแนนทั้งหมด 13.9 ล้านเสียง และได้ที่นั่งมากขึ้นจนได้เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา

ทำไมพรรคแรงงานแพ้?

ในการเลือกตั้งอังกฤษปีนี้พรรคแรงงานแพ้เพราะถ้าเปรียบเทียบกับปี 2017 พรรคแรงงานไม่ยอมเคารพผลของประชามติเรื่องการออกจากอียูและเอียงไปในทางอยู่ต่อในอียู ยิ่งกว่านั้นพรรคหันมาเสนอว่าต้องมีประชามติรอบใหม่ ซึ่งเป็นการเอนไปทางขวาเพื่อเอาใจชนชั้นกลาง

uk-divide-2

คนที่อยู่ในเขตทางเหนือและตะวันออกของอิงแลนด์ ที่อาศัยในชุมชนกรรมาชีพที่อุตสาหกรรมโดนทำลาย รู้สึกโดนทอดทิ้งโดยอียูและรัฐบาลกลางของอังกฤษมานาน ในปี 2016 เขาจึงทุ่มเทคะแนนเพื่อออกจากอียู

ในการเลือกตั้งปี 2017 เขายังเชื่อว่านโยบายซ้ายของ คอร์บิน จะปรับปรุงชีวิตของเขาได้ เพราะพรรคแรงงานยืนยันว่าจะเคารพผลประชามติที่จะออกจากอียู แต่เมื่อพรรคแรงงานในการเลือกตั้งปีนี้ไม่ยอมเคารพความไม่พอใจของเขากับอียู และดูเหมือนจะเอาใจคนชั้นกลางทางใต้มากกว่าที่จะฟังปัญหาของเขาในการเลือกตั้งรอบนี้ เขาเริ่มหมดความเชื่อมั่นในนโยบายของพรรคแรงงาน และคนจำนวนหนึ่ง คือประมาณ 10% ของคนที่เคยลงให้พรรคแรงงาน จึงผิดหวังอย่างหนักและหันไปลงคะแนนให้พรรค Brexit กับพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งคนที่เปลี่ยนข้างในเขตต่างๆ ทางเหนือและตะวันออกมีจำนวนเพียงพอที่จะทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมชนะ แต่เราควรเข้าใจด้วยว่าพวกนี้ให้จอห์นสัน”ยืม”เสียงของเขาชั่วคราวเท่านั้นเพื่อให้อังกฤษออกจากอียู

อีกปัญหาหนึ่งของพรรคแรงงาน ถ้าเทียบกับปี 2017 คือวิธีหาเสียงของคอร์บิน เพราะในปี 2017 มีการชุมนุมใหญ่ตามเมืองต่างๆ และคอร์บินก็มาปราศัยให้คนจำนวนมาก มันสร้างกระแสและความตื่นเต้น แต่ปีนี้พรรคตัดสินใจที่จะหาเสียงในกรอบกระแสหลักแทน

Jeremy-Corbyn-12.12.2019

การที่ฝ่ายขวาในพรรคแรงงานเอง โจมตีคอร์บินอย่างต่อเนื่องโดยไม่แคร์ว่าพรรคจะแพ้หรือชนะการเลือกตั้ง ก็เป็นประเด็น การกล่าวหาเท็จว่าคอร์บินเกลียดยิวเพราะสนับสนุนชาวปาเลสไตน์เป็นตัวอย่างที่ดี และการที่ทีมของคอร์บินไม่ยอมรุกสู้ตีคำกล่าวหากลับไปก็เป็นปัญหา

แน่นอนสื่อกระแสหลักก็รุมโจมตีพรรคแรงงาน แต่นั้นเป็นเรื่องปกติและเกิดในปี 2017 มันจึงไม่อธิบายอะไรมากนัก ในแง่หนึ่งการที่คนจะเชื่อสื่อของนายทุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในตนเอง และความมั่นใจนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับการต่อสู้และการนัดหยุดงานในสังคม ปัญหาคือระดับการนัดหยุดงานในอังกฤษช่วงนี้ค่อนข้างต่ำ

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สื่อกระแสหลักแห่งหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่า บอริส จอห์นสัน อาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของสหราชอาณาจักร เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในการเมืองสกอตแลนด์ ต่างจากอิงแลนด์มากพอสมควร

สกอตแลนด์เป็นประเทศเล็กในส่วนเหนือของสหราชอาณาจักร มีประชากรแค่ 5.4 ล้านคน เมือเทียบกับ 66.4 ล้านคนทั่วอังกฤษ และในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสกอตแลนด์ไม่ได้สนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยม แต่บ่อยครั้งถูกบังคับให้อยู่ในประเทศที่มีรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม หลังจากที่มีการกระจายอำนาจบางส่วนไปสู่รัฐสภาสกอตแลนด์เราจะเห็นนโยบายทางสังคมที่เน้นความยุติธรรมเท่าเทียมมากกว่าในอิงแลนด์ แต่อำนาจของรัฐสภาสกอตแนด์มีจำกัด จึงเกิดกระแสให้มีประชามติให้แยกดินแดนขึ้นในปี 2014 ฝ่ายที่อยากแยกดินแดนแพ้ 44.7% ต่อ 55.3% ซึ่งถือว่าสูสีกัน

การที่อิงแลนด์ลงคะแนนส่วนใหญ่ที่จะออกจากอียูในขณะที่สกอตแลนด์ลงคะแนนให้อยู่ต่อ บวกกับการที่รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมตั้งรัฐบาลมาอีกหลายรอบ ทำให้พรรคชาตินิยมกอตแลนด์ (SNP) ชนะเกือบทุกที่นั่งในสกอตแลนด์ในการเลือกตั้งรอบนี้ และผลการเลือกตั้งให้ความชอบธรรมกับการเรียกร้องให้จัดประชาตืรอบที่สอง เพื่อแยกประเทศ แต่ทั้งพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคแรงงานสกอตแลนด์คัดค้านการแยกดินแดน

ถ้าประชาชนสกอตแลนด์สามารถแยกประเทศได้ มันจะเป็นเรื่องดี เพราะมันจะทำให้สหราชอาณาจักรในฐานะจักรวรรดินิยมเก่า ที่เกาะติดสหรัฐอเมริกาและร่วมก่อสงครามกับสหรัฐ หมดพลังไป และในการเลือกตั้งปีนี้พรรคในไอร์แลนด์เหนือที่ต้องการออกจากสหราชอาณาจักรและรวมประเทศกับไอร์แลนด์ใต้ได้ที่นั่งมากที่สุดเป็นครั้งแรก

การพังทลายของสหราชอาณาจักร ถ้าเกิดขึ้นจริง จะสร้างวิกฤตให้ชนชั้นปกครองอังกฤษและรัฐบาลจอห์นสันเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะเกิดอีกรอบในอนาคต และการที่พรรคอนุรักษ์นิยมไม่สามารถให้อะไรที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ สร้างวิกฤตให้กับรัฐบาลจอห์นสันได้ แต่มันมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องมีการยกระดับการต่อสู้นอกรัฐสภา โดยเฉพาะการนัดหยุดงานและการลงถนนของคนที่ประท้วงปัญหาโลกร้อน สิ่งเหล่านี้เราเห็นในฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ

ในภาพรวมเราจะเห็นว่าอังกฤษอยู่ในสภาพวิกฤตการเมืองมาตั้งแต่ปี 2010 เพราะผลของนโยบายรัดเข็มขัดที่ตามหลังวิกฤตเศรษฐกิจ มันทำลายเสถียรภาพของระบบการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง และวิกฤตการเมืองนี้มีลักษณะเดียวกับวิกฤตการเมืองที่ทำให้คนลุกฮือสู้ในหลายประเทศของโลก เพียงแต่มันออกมาในลักษณะที่แตกต่างกันเท่านั้น

(อ่านเพิ่มเรื่องการลุกฮือของมวลชนทั่วโลก 2019 https://bit.ly/2OxpmVr )

ดอนัลด์ ทรัมป์ กำลังทำอะไร?

ใจ อึ๊งภากรณ์

[เพื่อความสะดวกในการอ่าน เชิญไปอ่านที่บล็อกโดยตรง]

หลายคนอาจมองว่า ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำ “สติเสีย” เพราะมักจะมีการกลับคำเสมอ พร้อมจะโกหกแบบหน้าด้าน และนโยบายของเขาดูเหมือนไม่มีการวางแผนล่วงหน้า จึงขัดแย้งในตัวเอง หรือไร้เหตุผลทางปัญญา แต่คนที่มองแบบนี้ประเมิน ทรัมป์ ต่ำเกินไป

แน่นอน ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐที่เลวร้ายที่สุดคนหนึ่ง เพราะต่อต้านสิทธิสตรี อวดว่าตนเองละเมิดผู้หญิงหลายคน และในขณะนี้กำลังหาทางที่จะยกเลิกสิทธิทำแท้งในสหรัฐผ่านการแต่งตั้งผู้พิพากษาอนุรักษ์นิยมปฏิกิริยาสุดขั้ว ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ทรัมป์ เป็นคนที่เหยียดคนที่ไม่ใช่คนผิวขาวชาวอเมริกัน เขาพูดจาดูถูกคนจากประเทศอื่น เช่นชาวเม็กซิโก ว่าเป็นพวก “ขี้ขโมย” ที่นำอาชญากรรมเข้าประเทศ เขาดูถูกคนพื้นเมืองอเมริกัน และคัดค้านคนที่อพยพเข้ามาจากประเทศอื่นทั้งๆ ที่พ่อแม่ของ ทรัมป์ เองไม่ได้เกิดที่สหรัฐ นอกจากนี้ ทรัมป์ พร้อมจะอุดหนุนทุนใหญ่ของสหรัฐ เช่นทุนพลังงานหรือการเกษตร โดยการปิดหูปิดตาถึงปัญหาโลกร้อนและการที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลายจากมลพิษ และถ้าแค่นี้ไม่พอ ทรัมป์ เป็นคนที่พร้อมจะก่อให้เกิดสงครามทั่วโลก เช่นในตะวันออกกลาง โดยไม่ห่วงใยเพื่อนมนุษย์

ทรัมป์ ชอบอ้างว่าเป็นมิตรของคนทำงานธรรมดาในสหรัฐที่ต้องยากลำบาก แต่ในรูปธรรมนโยบายของเขาหนุนแต่ทุนใหญ่และคนรวยในขณะที่ทำลายความมั่นคงของคนธรรมดา เช่นนโยบายการลดภาษีให้กลุ่มทุน หรือการพยายามทำลายระบบสาธารณสุขสำหรับประชาชน

ในการเดินทางมายุโรปเมื่อเดือนที่แล้ว เราเห็นความพยายามของ ทรัมป์ ที่จะเปิดศึกกับนักการเมืองและพรรคการเมืองกระแสหลักแบบเสรีนิยม โดยเฉพาะ อังเกลา แมร์เคิล ในเยอรมัน และ ทะรีซา เมย์ ในอังกฤษ เป้าหมายของ ทรัมป์ คือการสร้างความปั่นป่วน ทำลายพรรคกระแสหลัก และลดอิทธิพลของ อียู (สหภาพยุโรป)

ทรัมป์ เชื่อว่าองค์กรที่สหรัฐเคยสร้างและสนับสนุนในอดีต เช่น อียู นาโต้ (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ) และองค์กรการค้าระหว่างประเทศ (WTO) ทำให้สหรัฐเสียเปรียบ เขาไม่พอใจที่ เยอรมัน มีดุลการค้ากับสหรัฐสูง และไม่ยอมเพิ่มงบประมาณทางทหาร โดยที่ ทรัมป์ เชื่อว่าประเทศต่างๆ ใน อียู อาศัย “ร่ม” ทางทหารของสหรัฐ โดยไม่ยอมจ่าย

5aca2cf0dda4c817528b458c

การเปิดศึกทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐกับจีนและอียู มาจากแนวคิดเดียวกันที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มทุนสหรัฐ แต่มันเป็นยุทธศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเสี่ยง และคุมยาก เพราะประสบการณ์จากอดีต สมัยวิกฤตเศรษฐกิจโลก 1930 ชี้ให้เห็นว่าการปิดกั้นทางการค้าของทุกฝ่ายทำให้เศรษฐกิจของทุกประเทศได้รับผลเสีย และนายทุนสหรัฐที่ได้รับผลกระทบจากการโต้ตอบของจีนและอียูในสมัยนี้ ก็คงไม่พอใจอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นทั้งสหรัฐ อียู และจีน ผูกพันกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องการลงทุนและการถือหุ้นในบริษัทข้ามชาติต่างๆ และตลาดจีนมีความสำคัญกับสหรัฐไม่น้อย ดังนั้นการปิดประเทศโดย ทรัมป์ คงทำไม่ได้

อีกสาเหตุสำคัญที่ ทรัมป์ โจมตีพรรคเสรีนิยมกระแสหลัก ก็เพราะเขามีเป้าหมายร่วมกับพรรคฝ่ายขวากึ่งฟาสซิสต์ในยุโรป ที่จะผลักดันการเมืองโลกไปทางขวา ซึ่งเขามองว่าจะเป็นประโยชน์กับฐานเสียงตนเองในสหรัฐ

ดังนั้นเราเห็น ทรัมป์ พูดจาด่าผู้ลี้ภัยและคนที่อพยพหนีความยากจนมาสู่ยุโรป ในลักษณะที่ไม่ต่างเลยจากพวกฟาสซิสต์ที่อยู่ในรัฐบาล อิตาลี่ ออสเตรีย และฮังการี่ ในขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็พูดจาสนับสนุนกลุ่มขวาจัดในสหรัฐด้วย อย่างไรก็ตามเราต้องเข้าใจว่า ทรัมป์ ไม่ใช่ ฟาสซิสต์ แต่เพียงแต่ต้องการที่จะส่งเสริมการเมืองฝ่ายขวา

FRANCE-US-POLITICS-FN-PARTY-CONGRESS
สตีฟ แบนนอน กับหัวหน้าพรรคฟาสซิสต์ฝรั่งเศส

ที่น่ากังวลคือ สตีฟ แบนนอน อดีตที่ปรึกษาคนโปรดของ ทรัมป์ ได้ตั้งองค์กรใหม่ขึ้นในยุโรป เพื่อให้ทุนอุดหนุนกลุ่มฟาสซิสต์ต่างๆ ในทุกประเทศของยุโรป

US-POLITICS-TRUMP-STAFF

จะเห็นได้ว่าการมีประธานาธิบดีสหรัฐ ที่สนับสนุนพวกฟาสซิสต์ในยุโรปและสหรัฐ ในบรรยากาศทางการเมืองที่ตึงเครียดเพราะผลของนโยบายรัดเข็มขัดสร้างความไม่พอใจทั่วไปในหมู่ประชาชนจำนวนมาก เป็นสิ่งที่อันตรายยิ่ง และเสี่ยงกับการเพิ่มกระแสเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ กับกระแสฟาสซิสต์โดยทั่วไป

การเน้นแนวคิดเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว เป็นวิธีหนึ่งที่ชนชั้นปกครองใช้ในการเบี่ยงเบนประเด็นความไม่พอใจของประชาชนต่อนโยบายรัดเข็มขัดที่เริ่มหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ฝ่ายซ้ายและผู้รักความเป็นธรรมในหลายประเทศจะต้องออกมารับมือ วิธีรับมือคือการต่อต้านพวกฟาสซืสต์ และการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อระงับนโยบายรัดเข็มขัด เช่นด้วยการนัดหยุดงานและเรียกร้องค่าจ้างสวัสดิการเพิ่ม เพราะถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายแบบนี้ ยุโรปและสหรัฐจะเข้าสู่ยุคมืด

20180715_135530

[บทความนี้อาศัยข้อมูลจากบทความของ Alex Callinicos ในหนังสือพิมพ์ Socialist Worker]