Tag Archives: โควิด 19

เผด็จการไทยไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องประชาชนจากโควิด

รัฐบาลเผด็จการไทยไร้ประสิทธิภาพเพราะเน้นแต่กำไรกลุ่มทุนและผลประโยชน์ตนเอง ไม่ยอมใช้มาตรการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปกป้องการแพร่เชื้อ และไม่ยอมใช้งบประมาณรัฐเพื่อเป็นสวัสดิการที่เพียงพอสำหรับคนที่ควรจะพักงานและอยู่บ้าน ในขณะเดียวกันมีการทุ่มเทเงินให้ปรสิตชั้นสูงและกองทัพ และมีการจับมือกับพรรคพวกในการผลิตวัคซีนอีกด้วย และที่แย่สุดคือการนำวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนล้าช้ากว่าประเทศอื่นๆ และไม่ทำอย่างเป็นระบบ

อีกเรื่องที่เป็นอปสรรค์ในการจัดการกับโควิดในไทย คือการที่ประชาชนไว้ใจรัฐบาลไม่ได้ เพราะถูกจับว่าโกหกในอีดตอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกๆ เรื่อง

ในแง่หนึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลเผด็จการไทยไม่ค่อยต่างจากรัฐบาลในประเทศอื่นที่เน้นผลประโยชน์กลุ่มทุนและอภิสิทธ์ชน

ในอังกฤษรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมของนายทุนใหญ่ พยายามตลอดเวลาที่จะผลักให้คนกลับไปทำงานและเปิดโรงเรียนเพื่อให้คนที่มีลูกกลับไปทำงานได้ นายกรัฐมนตรี Boris Johnson เคยพูดว่า “ให้ศพมันกองไปเรื่อยๆ จะไม่ล็อคดาว์น” และผลคือมียอดคนตายสูงจากโควิดถึงแสนกว่าคน นับว่าอังกฤษมีสัดส่วนคนตายสูงกว่าหลายประเทศในโลก

แต่การที่รัฐบาลอังกฤษกลัวความไม่พอใจของประชาชน กดดันให้มีการสั่งซื้อวัคซีนล่วงหน้าเร็วกว่าหลายๆ ประเทศ แต่ในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนวิจารณ์ระบบการเมืองอย่างเปิดเผยไม่ได้ เช่นในไทย แรงกดดันแบบนี้จะอ่อนแอกว่า แถมในไทยพวกนายพลที่เป็นคณะเผด็จการ เช่นประยุทธ์ หลงตนเองคิดว่าการเป็นทหารทำให้เก่งทุกอย่างได้ ทั้งๆที่ตรงข้ามกับความจริง

สิ่งที่ตอนนี้เข้ามาช่วยประชาชนอังกฤษคือการที่มีระบบสาธารณสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสวัสดิการ พนักงานต่างๆ ในระบบสาธารณสุข (NHS) ได้วางแผนการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ จนตอนนี้ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งได้รับการฉีดยาอย่างน้อยเข็มแรก และคนจำนวนมากได้เข็มที่สองแล้วด้วย

แต่ในด้านลบการที่ประเทศพัฒนาในตะวันตก อย่างอังกฤษ สหรัฐ และประเทศอียู ปกป้องบริษัทยาและไม่ยอมยกเลิกสิทธิบัตรยา ทำให้มีการลงมือแจกจ่ายสูตรการทำวัคซีนให้ทุกประเทศอย่างทั่วถึงไม่ได้ และผลิตวัคซีนในราคาถูกไม่ได้ ทำให้ประชาชนในประเทศยากจนขาดแคลนวัคซีน นี่คือหน้าตาโหดร้ายของจักรวรรดินิยมในระบบทุนนิยม (ดูข่าวล่าสุดข้างล่าง)

อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ของจักรวรรดินิยมตรงข้ามกับผลประโยชน์ของกรรมาชีพคนทำงานในประเทศตะวันตก เพราะถ้าทุกคนทั่วโลกไม่ร่วมมือกันโดยไม่คำนึงถึงกำไรของกลุ่มทุน มันทำให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด เสี่ยงกับการระบาดรอบใหม่ๆ ของโควิดและการแปรพันธุ์ของไวรัส

อังกฤษฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกไปแล้ว 34.7 ล้านคน เกินครึ่งของประชากร ส่วนใหญ่ประชาชนได้วัคซีน AstraZeneca และตอนนี้ยอดคนตายจากโควิดในอังกฤษลดลงมาก ขณะนี้เหลือแค่4คนต่อวันเนื่องจากการใช้วัคซีน ซึ่งต่างจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่รัฐบาลล้าช้าในการฉีดวัคซีนให้ประชาชน ประเทศเหล่านั้นกำลังถึงขั้นวิกฤตจากการระบาดรอบสามของโควิด

3 วันหลังจากที่ผมได้รับการฉีด AstraZeneca เข็มที่สอง ผมไม่มีผลข้างเคียงอะไรเลย หลังเข็มแรกมีไข้อ่อนๆ

สำหรับเรื่องผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจาก AstraZeneca ในอังกฤษมีคนตายจากลิ่มเลือด 41 คน (เท่ากับสัดส่วน 1.2 คนจากประชาชน 1 ล้านคนที่ได้วัคซีน) ซึ่งถ้าเทียบกับยอดคนตายด้วยโควิด 127,500 คนตั้งแต่มีการระบาด จะเห็นว่าวัคซีนมีความเสี่ยงน้อยกว่าการติดเชื้อ แต่ตอนนี้อังกฤษประกาศว่าจะให้คนอายุต่ำกว่า40เลือกวัคซีนอื่นได้

สังคมไทยเต็มไปด้วยข้อมูลที่บิดเบือนเรื่องวัคซีน มีการวาดภาพวัคซีนร้ายแรงเกินเหตุ และประชาชนจำนวนมากยังไม่ได้รับวัคซีน สาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลเผด็จการไร้ประสิทธิภาพ และโกหกประชาชนเป็นประจำ พร้อมกับการที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและตรวจสอบรัฐบาล ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยไม่มีระบบสาธารณสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างรัฐสวัสดิการ

ส่วนวัคซีน “ซิโนวัค” ที่หลายคนเป็นห่วง วัคซีนนี้ใกล้จะได้รับการรับรองจาก EU และ องค์กรWHO และข้อมูลพิสูจน์ว่าสามารถป้องกันไม่ให้ตายจากโควิดหรือมีอาการรุนแรงถึง 90% แต่ในการป้องกันการติดเชื้อ และมีอาการอ่อนๆ วัคซีนนี้มีประสิทธืภาพ 50-60% ซึ่งถือว่าไม่เลว

ในเรื่องผลข้างเคียงจากวัคซีนที่อาจทำให้คนตาย ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอว่ามีคนตายจากวัคซีนซิโนวัคหรือไม่ แต่เรื่องนี้ยังสรุปกันยาก อาจมีข้อมูลใหม่เข้ามาในอนาคต แต่ประเด็นคือผู้นำทางการเมืองในไทยไม่มีการใช้วัคซีนนี้กับตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชน และการที่สังคมไทยเต็มไปด้วยข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งจะไม่ช่วยในการรณรงค์ให้คนรับวัคซีนอย่างเพียงพอ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ข่าวล่าสุด

รัฐบาลสหรัฐประกาศว่าอยากจะยกเลิกสิทธิบัตรยาสำหรับวัคซีนโควิดชั่วคราว และอียูอาจทำตามในอนาคต?

ทำไมต้องมีการปฏิวัติสังคมนิยม -สามวิกฤตของทุนนิยมปัจจุบัน

ยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งสามวิกฤตที่มาจากลักษณะของระบบทุนนิยม ซึ่งทั้งสามวิกฤตมีผลซึ่งกันและกัน และท้าทายความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งโลก

1. วิกฤตที่หนึ่ง  วิกฤตโควิด

วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด กระทบคนทั้งโลก แต่ในขณะเดียวกันมันเปิดโปงความเหลื่อมล้ำในสังคมทุนนิยมของทุกประเทศ เพราะคนจน คนที่มีสีผิว คนที่มีเชื้อชาติเป็นคนส่วนน้อยของสังคม และแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มคนที่ล้มตายและยากลำบากจากโควิดมากที่สุด สาเหตุสำคัญก็เพราะเป็นคนที่ไม่สามารถกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานจากบ้านได้ ต้องออกไปเลี้ยงชีพทุกวันในงานสกปรกหรืองานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส นอกจากนี้สภาพที่อยู่อาศัยมักจะแออัด และในประเทศที่ไม่มีรัฐสวัสดิการจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขและวัคซีนไม่ได้เพราะยากจนเกินไปหรือตกงาน

คนที่ตกงาน เด็กๆ หรือวัยรุ่นที่ต้องขาดเรียน และคนที่ทำงานในระบบสาธารณสุข จะเสี่ยงต่อปัญหาจิตใจมากขึ้นเนื่องจากชีวิตที่เปลี่ยนไป

ในขณะเดียวกันพวกนายทุนเศรษฐีที่รวยที่สุดมีการเพิ่มทรัพย์สินมหาศาล และบริษัทยาขนาดใหญ่ก็คุมการผลิตวัคซีนภายใต้ความต้องการที่จะเพิ่มกำไรอย่างเดียว

เมื่อโควิดระบาด รัฐบาลอาจปิดเมือง ปิดงาน หรือปิดโรงเรียน แต่ในไม่ช้าแรงกดดันจากกลุ่มทุนจะบังคับให้รัฐบาลเปิดเสรีก่อนที่ภัยโควิดจะหมดไป ซึ่งทำให้โควิดระบาดรอบสองหรือสาม

แต่ที่สำคัญคือวิกฤตโควิดเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะระบบเกษตรแบบทุนนิยม และการพัฒนาของชนบทที่เชื่อมโยงโดยตรงกับเมือง แปลว่ามนุษย์รุกเข้าไปในธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สัมผัสกับสัตว์ป่ามากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งไวรัสที่สำคัญเพราะค้างคาวมีภูมิต้านทานไวรัสสูงและสามารถอยู่กับไวรัสหลายสิบชนิดได้

นอกจากนี้ ระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเลี้ยงหมูหรือไก่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ในคอกขนาดใหญ่ เปิดโอกาสให้ไวรัสกระโดดจากสัตว์ป่าไปสู่สัตว์เกษตร และต่อไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น

การเดินทางระหว่างชนบทกับเมือง และที่อยู่อาศัยแออัดในเมือง สำหรับคนที่ต้องไปหางานทำในเมืองก็เพิ่มการระบาดได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสใหม่ๆ มากขึ้น และองค์กรอนามัยโลกก็มองว่าโควิด 19 คงจะไม่ใช่ไวรัสร้ายแรงชนิดสุดท้ายที่ระบาดไปทั่วโลก

ถ้าไม่มีการปรับรูปแบบการเกษตร พัฒนาสภาพชีวิตมนุษย์ และการปกป้องธรรมชาติอย่างจริงจังปัญหานี้จะแก้ไม่ได้ แต่ภายใต้ทุนนิยม การแสวงหากำไรของกลุ่มทุนใหญ่กลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลต่างๆ และกลุ่มทุน

อ่านเพิ่ม: โควิด https://bit.ly/2UA37Cx  

ทุนนิยม กลไกตลาด กับปัญหาโควิด https://bit.ly/3aA9hrF

2. วิกฤตที่สอง วิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร

ก่อนที่โควิดจะระบาด ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกเข้าสู่สภาพถดถอยมาหลายสิบปีแล้ว สาเหตุคือแนวโน้มของระบบที่จะทำให้อัตรากำไรลดลง สืบเนื่องจากการลงทุนมากขึ้นในเครื่องจักรในอัตราที่เร็วกว่าและสูงกว่าการลงทุนในการจ้างกรรมาชีพ กลุ่มทุนต่างๆ โดนกดดันให้ทำเช่นนี้ เพราะการแข่งขันในระบบกลไกตลาดของทุนนิยม กลุ่มทุนไหนไม่ลงทุนแบบนี้ก็จะแข่งกับคู่แข่งไม่ได้ แต่ผลในภาพรวมคือทำให้เศรษฐกิจเสื่อมในระยะยาว และทุกวันนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะอ่อนแอตามด้วยวิกฤตเป็นระยะๆ และรัฐต่างๆ มักจะต้องอุ้มกลุ่มทุนและบริษัทต่างๆ เพื่อไม่ให้ล้มละลาย ซึ่งทำให้เราเห็น “บริษัทซอมบี้” มากมาย คือกึ่งเป็นกึ่งตาย และมีหนี้สินท่วมหัว รัฐเองก็มีหนี้สินเพิ่มจากการอุ้มบริษัทด้วย

พอโควิดระบาด สถานการณ์นี้ร้ายแรงขึ้นหลายเท่า คาดว่าตอนนี้ระบบทุนนิยมโลกเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่แย่กว่าช่วง 1930 เสียอีก คนเริ่มตกงานกันทั่วโลก และรัฐต่างๆ เข้ามาอุ้มกลุ่มทุนต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ช่วยพลเมืองอย่างเพียงพอ แถมมีการวางแผนที่จะตัดค่าแรงเงินเดือน และรัดเข็มขัดตัดระบบสาธารณสุขและสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีก

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ หรือประเทศในยุโรป แต่ลักษณะการเมืองฝ่ายขวายิ่งทำให้สภาพแย่ลงถ้ารัฐบาลปฏิเสธเรื่องโควิด หรือปฏิเสธที่จะใช้งบประมาณช่วยประชาชนในอัตราเพียงพอ ซึ่งต้องทำผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย และการตัดงบทหารหรืองบพวกอภิสิทธิ์ชน

อ่านเพิ่ม: วิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf

3. วิกฤตที่สาม วิกฤตโลกร้อน

วิกฤตโลกร้อนมีผลทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เกิดอากาศร้อนสุดขั้ว อากาศเย็นสุดขั้ว ไฟป่า พายุ น้ำท่วม ฝนแล้ง ฯลฯ อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ และมีส่วนในการผลิตฝุ่นละอองในอากาศด้วย มันจะทำให้การเกษตรล้มเหลวในบางพื้นที่ การประมงมีปัญหา ธรรมชาติและระบบนิเวศน์เสียหายมหาศาล ส่งผลให้ท้าทายสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก เพิ่มความยากจน เพิ่มความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเพิ่มจำนวนผู้ลี้ภัย

วิกฤตโลกร้อนเป็นวิกฤตที่มาจากระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทุนนิยม และทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ นายทุน และนักการเมืองส่วนใหญ่ทราบว่ามีปัญหานี้จริง แต่ระบบการแข่งขันในกลไกตลาดแปลว่ากลุ่มทุนใหญ่คิดแต่เรื่องการแสวงหากำไรเฉพาะหน้าโดยไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้เลย และถึงแม้ว่ามีการพูดกันว่าจะลดการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน แต่ในทางรูปธรรมยังไม่มีประเทศไหนที่ทำได้รวดเร็วพอที่จะห้ามวิกฤตนี้ได้

วิธีสำคัญในการลดปัญหาโลกร้อน คือการที่รัฐที่ควบคุมโดยคนธรรมดาตามหลักประชาธิปไตย จะต้องออกมาควบคุมหรือยึดกลุ่มทุนและระบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มทุนเกษตร เพื่อเปลี่ยนเป้าหมายในการผลิตจากการแสวงหากำไร ไปเป็นการตอบสนองทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันในลักษณะที่ปกป้องโลกธรรมชาติ ต้องมีการใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนรถส่วนตัว ต้องใช้รถไฟไฟฟ้าแทนเครื่องบิน ต้องมีการผลิตพลังงานจากแสงแดดและลมพร้อมกับยกเลิกการผลิตพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซ ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่เราไม่มีการเปลี่ยนระบบจากทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยม

อ่านเพิ่ม: สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

นักเคลื่อนไหวไทยควรร่วมต้านปัญหาโลกร้อน https://bit.ly/2ZWipnF

วิกฤตโลกร้อนทับถมซ้อนลงไปกับสภาพวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ และทั้งสามวิกฤตมาจากเนื้อแท้ของระบบทุนนิยม ถ้าเราไม่ร่วมกันเปลี่ยนระบบและโครงสร้างของสังคม มนุษย์ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในสภาพสังคมที่โหดร้ายป่าเถื่อนในอนาคตข้างหน้า

คำพูดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ว่าเราเผชิญหน้ากับสองทางเลือกคือ “สังคมนิยมหรือความป่าเถื่อน” ดูเหมือนจะตรงกับความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม สภาพย่ำแย่ของโลกปัจจุบันเป็นประกายไฟในการลุกขึ้นสู้ของคนทั่วโลก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ซึ่งเราเห็นใน ไทย ฮ่องกง อัฟริกา ยุโรป สหรัฐ และลาตินอเมริกา การต่อสู้ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือความหวังของเรา

อ่านเพิ่ม: การลุกฮือของมวลชนทั่วโลกในปี 2019 https://bit.ly/2OxpmVr

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าจะปลดแอกตนเอง ต้องสมานฉันท์กับแรงงานพม่า

คาร์ล มาร์คซ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าถ้ากรรมาชีพอังกฤษไม่เลิกดูถูกคนจากเกาะไอร์แลนด์ที่เข้ามาทำงานก่อสร้างในอังกฤษ เขาจะไม่มีวันปลดแอกตนเองได้

ในลักษณะเดียวกัน ตราบใดที่คนไทยดูถูกและรังเกียจแรงงานพม่า คนไทยไม่มีวันปลดแอกตนเองได้ เพราะอะไร?

ลัทธิชาตินิยมเป็นรากฐานความคิดว่า “เราแตกต่างจากคนพม่า” “คนไทยทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน” “เราต้องรักชาติ ศาสนา กษัตริย์” “เราภูมิใจในความเป็นไทย” ฯลฯ จนมีการยอมรับกันว่าต้องควบคุมการเข้าออกของเพื่อนมนุษย์จากประเทศเพื่อนบ้าน และสมควรแล้วที่จะโทษคนงานพม่าว่านำเชื้อโรคเข้ามาในไทย

แต่ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิที่ล่ามโซ่พวกเราเพื่อทำให้เราเป็นทาสของชนชั้นปกครอง ชนชั้นปกครองไทยเป็นพวกที่กดขี่ ขูดรีด เอารัดเอาเปรียบเรามาตลอด เป็นพวกที่สอนให้เราก้มหัวและคลานต่อคนข้างบน และเป็นพวกที่พร้อมจะใช้ความรุนแรงกับเราเมื่อเราเรียกร้องเสรีภาพกับประชาธิปไตย

เราไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับชนชั้นปกครองไทยแม้แต่นิดเดียว

แต่เรามีผลประโยชน์ร่วมกับกรรมาชีพที่ข้ามพรมแดนมาหางานทำ เพราะเขาไม่แตกต่างจากเราในการที่จะต้องกระตือรือร้นที่จะเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวภายใต้ระบบทุนนิยมที่สร้างปัญหาความยากลำบากให้ทุกคน เราเป็นพี่น้องกัน

ชนชั้นปกครองไทยเป็นศัตรูของเรา แต่ยังดูถูกเราด้วยการเรียกตัวมันเองเป็น “พ่อ” “แม่” หรือ “ลุง” ทั้งๆ ที่เรามีพ่อแม่หรือลุงของเราเองอยู่แล้ว

มันง่ายจังเลยที่เผด็จการประยุทธ์จะโทษแรงงานพม่าว่าสร้างวิกฤตโควิด เพราะมันเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่คนงานไทยจำนวนมากตกงานและขาดรายได้จากวิกฤตโควิดที่เริ่มเมื่อต้นปี๒๕๖๓ มันเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่รัฐบาลเผด็จการไม่ยอมลงทุนสร้างรัฐสวัสดิการให้กับเรา ในขณะที่เผด็จการใช้เงินภาษีของเราในการซื้ออาวุธหรือในการเลี้ยงปรสิตราชวงศ์ในวิถีชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย มันหน้าด้านอ้างว่าประเทศไม่มีเงินพอที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง

อย่าลืมว่าแรงงานกรรมาชีพ ทั้งไทยและพม่า เป็นผู้ทำงานสร้างมูลค่าในสังคม ไม่ใช่นายทุน กษัตริย์ หรือพวกขุนศึก

แรงงานข้ามชาติเข้ามาในไทยเพราะสังคมขาดกำลังงาน โดยเฉพาะในภาคที่มีงานอันตราย สกปรก และค่าจ้างต่ำ ทุกครั้งที่เราไปกินซีฟู๊ดเราควรระลึกถึงคนที่ทำงานเพื่อนำกุ้งปูปลามาถึงจานของเรา และควรระลึกต่อไปว่าสภาพความเป็นอยู่ของเขายากลำบากแค่ไหน ต้องจากบ้านเกิดมาอยู่ในชุมชนแออัดที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องโรคติดต่ออย่างโควิด

ชุมชนแออัด และการที่รัฐไทยและนายทุนไทยไม่บริการอะไรให้กับแรงงานข้ามชาติ คือสาเหตุที่มีการแพร่ไวรัส มันไม่ได้อยู่ที่เชื้อชาติของแรงงาน

การแบ่งแยกแรงงานพม่าออกจากแรงงานไทย ช่วยทำให้เขาขูดรีดและเอาเปรียบทั้งคนไทยและคนพม่าง่ายขึ้น ถ้าเรา ผู้ที่เป็นกรรมาชีพแรงงาน สามารถสามัคคีกันข้ามเชื้อชาติ เราจะพัฒนาความเป็นอยู่ของทุกคนได้ เพราะเราจะมีพลัง

การควบคุมแรงงานข้ามชาติไม่ได้ช่วยอะไรเรา มันเพียงแต่ช่วยให้นายจ้างกดค่าแรงของเขาและของเรา มันช่วยให้ตำรวจและทหารเก็บส่วย และมันช่วยให้รัฐบาลมีแพะรับบาปเพื่อไม่ให้เราโทษรัฐบาล ดังนั้นเราควรเปิดพรมแดน เสริมสร้างรัฐสวัสดิการสำหรับทุกคนที่ทำงานในไทย และรณรงค์ให้แรงงานทุกเชื้อชาติเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอย่างเสรี

รัฐบาลเผด็จการประยุทธ์กำลังพยายามล้างสมองเราในรูปแบบ “อย่าโทษเรา” “ไปโทษแรงงานพม่าโน้น” และเป็นที่น่าสลดใจที่คนไทยไม่น้อยไม่สามารถสลัดโซ่ตรวนความเป็นทาสออก และไปคล้อยตามชนชั้นปกครองในการด่าคนพม่า

สรุปแล้ว สำหรับคนที่อยากปลดแอกตนเอง อยากเห็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ มันมีสองขั้วความคิดในสังคม

ขั้วความคิดแรกเป็นแนวคิดที่มาจากชนชั้นปกครองและชวนให้เราจงรักภักดีต่อเขาภายใต้ลัทธิชาตินิยม ซึ่งในไทยรวมถึงลัทธิราชานิยมด้วย แนวคิดนี้ชวนให้เราหมอบคลานต่อเบื้องบน ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ นายพลมือเปื้อนเลือด หรือ “ท่านผู้ใหญ่” คนใด และมันชวนให้เรามองว่าเรามีผลประโยชน์ร่วมกับผู้ที่กดขี่ขูดรีดเรา “เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน” นี่คือที่มาของความคิดที่เหยียดเชื้อชาติอื่น มันเป็นแอกเพื่อควบคุมให้คนส่วนใหญ่เป็นไพร่เป็นทาส

ขั้วความคิดที่สองเป็นแนวคิดที่เกิดจากจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพและคนชั้นล่างทั่วไป มันไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ มันอาศัยอยู่ในสังคมได้เพราะมีนักสังคมนิยมและนักสิทธิมนุษยชนที่ทวนกระแสความคิดกระแสหลัก และเสนอแนวคิดประเภท “สามัคคีชนชั้นล่างข้ามเชื้อชาติ” ความคิดขั้วนี้จะปฏิเสธการรักชาติ แต่จะรักเพื่อนประชาชนแทน จะเสนอให้คนไทยธรรมดาสมานฉันท์กับคนเชื้อชาติอื่น และต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง เพื่อให้เราร่วมกันปลดแอกตนเองและสังคม

ใจ อึ๊งภากรณ์

โลกาภิวัตน์ทุนนิยมกับความแตกต่างระหว่างอัตราการตายจากโควิด19 ในประเทศต่างๆ ของโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทั้งๆ ที่เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์พยายามอ้างว่านโยบายรัฐบาลทำให้ไทย “เอาชนะ” โควิด19ได้ แต่ในความเป็นจริงอัตราการตายจากโควิดในไทย ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด สูงกว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเช่นเวียดนาม และในกรณีไทยและหลายๆ ประเทศ ที่อยู่นอกกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐ ผลกระทบของไวรัสโคโรน่าออกมาในรูปแบบวิกฤตชีวิตหรือวิกฤตทางสังคมของคนจนมากกว่าวิกฤตจากพิษทางชีววิทยาของตัวไวรัส และวิกฤตทางสังคมของคนจนมาจากนโยบายของรัฐบาลโดยตรงบวกกับผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์

total-covid-deaths-per-million

อัตราการตายจากโควิด19ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ค่อนข้างจะต่ำถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกเกือบทุกประเทศคือ อัตราการตายสะสมในวันที่ 24 พ.ค. 2020 ต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่ากับ 4.3 ในอินโดนีเซีย 7.3 ในฟิลิปปินส์ 3.2 ในมาเลเซีย 0.9 ในไทย และ 0 ในเวียดนาม เทียบกับ 525 ในอังกฤษ [ดู https://bit.ly/2Zvc0A0 ]

_111039738_gettyimages-1203060096

ถ้าเราจะเข้าใจสาเหตุเราต้องดูปัจจัยหลายอย่างด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่คลั่งชาติหรือฟังข้อโกหกของผู้นำรัฐบาลต่างๆ

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่ออัตราการตายสะสมคือ

  1. ความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์ในแง่ของการเคลื่อนไหวของคนและสินค้า ยุโรปตะวันตกกับสหรัฐมีความเชื่อมโยงสูงที่สุดในโลก ซึ่งดูได้จากเที่ยวบินที่เข้าออกจากประเทศ ปริมาณสินค้า และจำนวณนักท่องเที่ยวก่อนที่จะมีการปิดประเทศ เช่นฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก และสนามบินหลักๆ ของสหรัฐและอังกฤษมีเที่ยวบินต่างๆ สูงที่สุดในโลก ปัจจัยนี้ทำให้ไวรัสโคโรน่าสามารถเดินทางในร่างมนุษย์จากจีนได้ง่ายที่สุด
  2. สัดส่วนคนชราต่อประชากรทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราการตาย เพราะคนชราเสี่ยงกับการตายมากที่สุดเนื่องจากมีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคหัวใจและเส้นโลหิต หรือโรคระบบปอดและการหายใจ ปรากฏว่าประเทศตะวันตกมีอัตราคนชราต่อประชากรทั้งหมดสูงที่สุดในโลก และประชาชนในประเทศโลกที่สามหรือประเทศ “ใต้” ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย อัฟริกา หรือลาตินอเมริกา มีจำนวนประชากรในวัยเด็กและหนุ่มสาวสูง นี่คือสาเหตุสำคัญที่อัตราการตายในหลายประเทศของอัฟริกาและเอเชียค่อนข้างต่ำ และองค์กร WHO ก็ยืนยันสิ่งนี้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่าประเทศยากจนไม่มีวิกฤตสาธารณะสุข เพราะในบางประเทศเกือบจะไม่มีอุปกรณ์ทางแพทย์เลย และสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกผลักดันจากไอเอ็มเอฟหรือองค์กรสากลอื่นๆ นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ของจักรวรรดินิยม และความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการลงทุนจากกลุ่มทุนใหญ่ภายใต้เงื่อนไขของตลาดเสรี ทำให้มีการตัดงบสาธารณะสุขอีกด้วย
  3. ปริมาณประชากรที่น้ำหนักตัวสูงหรือมีความอ้วนจนเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การตายจากโควิด19 และปัจจัยนี้อาจช่วยอธิบายว่าทำไมอัตราการตายต่อประชากรหนึ่งล้านคนในญี่ปุ่นค่อนข้างต่ำคืออยู่ที่ 6.3 ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีสัดส่วนคนชราสูงและมีความเชื่อมโยงกับระบบโลกาภิวัตน์พอๆ กับยุโรปตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกา ปริมาณคนอ้วนในญี่ปุ่นเกือบจะต่ำที่สุดในโลกคืออยู่ที่ 4.3 % เทียบกับ 36 % สำหรับสหรัฐ 28 % สำหรับอังกฤษ 24 % สำหรับสเปน 22 % สำหรับฝรั่งเศส และ 20 % สำหรับอิตาลี่ ในประเทศที่ยากจนกว่าปริมาณคนอ้วนมีน้อยมาก เช่น 2% ในเวียดนาม 4 % สำหรับอินเดีย และ 3.6% สำหรับบังกลาเทศ ส่วนไทยอยู่ที่ 10% (ตัวเลขจากCIAปี2020)

ความอ้วนเป็นปัญหาที่มักพบในหมู่คนจนในประเทศตะวันตก ซึ่งความยากจนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพิ่มอัตราการตายในสังคมตะวันตกทุกแห่งทีเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ แต่ความอ้วนมักจะเป็นปัญหาสำหรับคนชั้นกลางในประเทศยากจน

  1. นโยบายโง่ๆ ของรัฐบาลฝ่ายขวา ที่ไม่สนใจในการปกป้องประชาชน และเน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนที่ต้องการให้คนไปทำงานทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเสี่ยง เป็นอีกปัจจัยสำคัญ และได้นำไปสู่ตัวเลขการตายที่สูงกว่าปกติในสหรัฐ อังกฤษ สวีเดน และบราซิล ในกรณีสวีเดนทั้งๆ ที่พรรคการเมืองหลักในรัฐบาลเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตย แต่นโยบายที่ใช้เป็นนโยบายฝ่ายขวาที่ปฏิเสธการปิดประเทศ

ประเทศที่มีนโยบายเพื่อปกป้องประชาชนที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบสาธารณะสุขที่ไม่ขาดแคลน จะมีอัตราการตายต่ำกว่าประเทศที่ยกตัวอย่างมาข้างบน ตัวอย่างเช่นเยอรมันและเกาหลีใต้เป็นต้น

ในเม็กซิโกกรรมาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดชายแดนสหรัฐต้องนัดหยุดงานประท้วงเพราะถูกกลุ่มทุนสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐ และรัฐบาลเม็กซิโก กดดันให้กลับไปทำงานในสภาพที่ไม่มีความปลอดภัย ในโรงพยาบาลหลายแห่งของยุโรปตะวันตกมีการประท้วงของแพทย์พยาบาลเพราะรัฐบาลไม่แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันตัวจากโควิดอย่างทั่วถึง

การยกเลิกมาตรการกักตัวที่บ้านหรือยกเลิกการปิดเมืองในประเทศต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการ “เอาชนะ” โควิดแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเพื่อให้กรรมาชีพกลับไปทำงานเพื่อสร้างกำไรให้นายทุนต่างหาก โควิดจะอยู่กับสังคมมนุษย์ในทุกประเทศอีกนาน

 

วิกฤตทางสังคมหรือวิกฤตชีวิตสำหรับคนจนทั่วโลกร้ายแรงกว่าพิษของโควิดโดยตรง

ในระบบทุนนิยมที่ดำรงอยู่ในโลก (รวมถึงจีนและคิวบาด้วย) สภาพโครงสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล่ำทำให้เกิดวิกฤตร้ายแรงสำหรับคนจน ในประเทศตะวันตกคนจนและคนที่มีสีผิวดำๆ จะเป็นคนที่ตายมากที่สุด และกรรมาชีพจำนวนมากจะตกงาน ในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการคนเหล่านี้จะได้รับความช่วยเหลือระดับหนึ่งจากรัฐ แต่ย่อมไม่เพียงพอ ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรัฐสวัสดิการกรรมาชีพที่ตกงานจะถูกปลดออกจากระบบประกันสุขภาพจึงไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้โดยไม่ติดหนี้มหาศาล

ในประเทศต่างๆ ของ เอเชีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา คนจนจะประสบกับวิกฤตหนักทางสังคมและเศรษฐกิจอันมาจากนโยบายรัฐบาลในการปิดเมืองและปิดงานในขณะที่ไม่มีรัฐสวัสดิการอะไรเลย ในอินเดียคนงาน 40 ล้านคนจากหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศถูกปลดออกจากงานในเมืองใหญ่และต้องเดินเท้ากลับหมู่บ้านของตนท่ามกลางความอดอยากอย่างถึงที่สุด ส่วนใหญ่ต้องเดินเท้าในระยะทางหลายร้อยกิโล เพราะไม่มีระบบขนส่งมวลชน ถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐบาลอินเดียต่อประชาชน ในไทยเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์อ้างว่าจะช่วยคนจนที่ตกงาน แต่ระบบของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้คนอดอยากเป็นจำนวนมาก

Screen-Shot-2020-04-17-at-7.22.58-AM

ในประเทศเคนยา ในอัฟริกาตะวันออก มีการก่อจลาจลโดยคนจนในสลัมที่รัฐบาลกำลังสั่งให้รื้อ “เพื่อป้องกันสังคมจากโควิด” และในหลายประเทศของอัฟริกาความพยายามที่จะสั่งให้คนจนที่หาเช้ากินค่ำกักตัวอยู่บ้าน โดยไม่มีความช่วยเหลืออะไรเลยจากรัฐ นำไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งรัฐบาล ซึ่งเราเห็นบ้างในไทยด้วย แต่ที่อัฟริกามีการส่งทหารติดอาวุธไปยิงประชาชน ในไทยประยุทธ์ที่มือเปื้อนเลือดจากการฆ่าเสื่อแดงยังไม่กล้าทำแบบนี้

ขณะนี้โลกกำลังเดินเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรง ในสภาพเช่นนี้รัฐบาลและนายทุนต่างๆ จะพยายามให้กรรมาชีพและคนจนแบกรับภาระด้วยการตกงาน ถูกตัดค่าจ้าง และการรัดเข็มขัดลดงบประมาณที่เป็นการบริการประชาชน ในขณะเดียวกันพวกคนรวย นายทุน และพวกเผด็จการจะเสพสุขต่อไป บางคนอาจเพิ่มกำไรจากโควิดด้วยซ้ำ ถ้ากรรมาชีพและคนจนไม่รวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับศึกทางชนชั้นที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เรามีสิทธิ์ที่จะโดนเหยียบหัวฝังดินจนอดตาย

แต่ในหลายส่วนของโลก เช่นที่อัลจีเรีย ซุดาน ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ขบวนการประท้วงที่ต้องหยุดพักเพราะโควิด สามารถฟื้นตัวขึ้นมาอีกได้ และในประเทศอื่นการต่อสู้ใหม่ๆ อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องเข้าใจตอนนี้คือ การต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดที่รัฐบาลแจกให้เรา เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่อื่น

คนไทยอาจเสี่ยงภัยจากความยากจนมากกว่าจากโควิด19?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ผมไม่อยากจะรีบสรุปอะไรเร็วเกินไปเรื่องการระบาดของไวรัสโควิดในขณะที่วิกฤตมันยังไม่จบ แต่ถ้าดูตัวเลขจากไทยจะเห็นว่าค่อนข้างจะต่ำถ้าเทียบกัยยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา

total-covid-deaths-per-million

สาเหตุที่ตัวเลขโควิดไทยค่อนข้างจะต่ำในขณะนี้ (และหวังว่าคงไม่พุ่งสูงในอนาคต ซึ่งเป็นไปได้) ไม่ใช่เพราะประสิทธิภาพของรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์แต่อย่างใด ไม่ใช่เพราะอะไรที่ดีเลิศเกี่ยวกับสังคมไทย และไม่ใช่เพราะไทยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรอยู่เบื้องสูงเลย เพราะตัวเลขโควิดไทยไม่ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านเท่าไร และตัวเลขของเวียดนามดีกว่าไทยอีก

total-deaths-covid-19

ถ้าเราดูตัวเลขการเสียชีวิตจากโควิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปรเป็นสัดส่วนต่อประชากรหนึ่งล้านคน จะเห็นว่าฟิลิปปินส์สูงสุดคือ 6 รองลงมาก็คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ 3 และไทยอยู่ที่ 0.8 ซึ่งพอๆกับบังคลาเทศในเอเชียใต้ แต่ต่ำสุดคือเวียดนาม ถ้าเทียบกับตัวเลขอังกฤษที่สูงถึง 598 ดูเหมือนอยู่คนละโลกกัน [ดู https://bit.ly/2KWTPdV ]

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคุณภาพในสหรัฐกับอังกฤษได้รายงานว่าการระบาดของโควิดไม่ได้ลดลงเมื่อมีอากาศร้อนเหมือนไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ในออสเตรเลียมีการระบาดมากพอสมควรทั้งๆ ที่อากาศร้อนแห้ง แต่ตัวเลขจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เราต้องสงสัยว่าอากาศร้อนกับชื้น บวกกับชีวิตที่ใช้นอกบ้าน และการที่แสงแดดแรงและมีรังสี UV มันช่วยลดการระบาดของโควิดหรือไม่? ตัวเลขการระบาดหรือตายในอัฟริกาอาจเหมือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือมาตรการเด็ดขาดในการปิดเมือง การตรวจโรค และการติดตามดูว่าผู้ป่วยสัมผัสกับใคร อย่างที่เวียดนามทำ มีผลสำคัญในการลดอัตราการตาย ดังนั้นการยกเลิกมาตรการแบบนี้ไม่ใช่คำตอบในการปกป้องพลเมือง

อีกสิ่งหนึ่งที่อาจเป็นประเด็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือสัดส่วนคนชราในประชากร ซึ่งต่ำกว่ายุโรปหรือสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกันสัดส่วนคนจนที่มีสุขภาพไม่ดีน่าจะสูงกว่าประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตามในอีกแง่หนึ่งการที่คนในเอเชียอยู่กับเชื้อโรคมากกว่าคนในตะวันตกมีผลทำให้มีภูมิต้านทานหรือวิถีชีวิตที่เน้นการล้างมือหรือไม่?

นอกจากนี้เราต้องระวังตัวเลขจากรัฐบาลต่างๆ ที่อยากจะปกปิดความจริงและไม่ย่อมตรวจเชื้อในหมู่ประชากรทั่วไปด้วย

ไม่ว่าการระบาดของโควิดจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เห็นชัดในกรณีไทยคือ มาตรการในการเยียวยาคนจนหรือกรรมาชีพที่ตกงานที่เดือดร้อนอันเนื่องมาจากการสั่งปิดสถานที่ทำงานต่างๆ ของรัฐบาลประยุทธ์ ไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง เพราะไม่เพียงพอและไม่แก้ปัญหา ดูได้จากภาพคนจนที่เสี่ยงติดเชื้อจากการเข้าคิวรับอาหารหรือเงินจากเอกชนและมูลนิธิต่างๆ

Screen-Shot-2020-04-17-at-7.22.58-AM

UPDATE_TEMPLATE-20202-3-1

ในขณะนี้มันดูเหมือนภัยหลักสำหรับคนธรรมดาในไทยคือความยากจนและการตกงาน ซึ่งอาจเป็นภัยร้ายแรงกว่าโควิดเสียอีก

วิกฤตโควิดเหมือนแสงไฟที่ส่องให้เห็นลักษณะสังคมและปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ความเหลื่อมล้ำในไทยมาจากการที่เราไม่มีรัฐสวัสดิการ และสหภาพแรงงานของเราอ่อนแอเกินไปที่จะพัฒนาผลประโยชน์ของคนทำงาน และปัญหานี้ร้ายแรงมากขึ้นเพราะเราขาดประชาธิปไตย

ในสภาพเช่นนี้เราเห็นคนรวยและอภิสิทธิ์ชนเสพสุขในขณะที่คนส่วนใหญ่เดือดร้อน ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน ทหารเผด็จการยังหน้าด้านคิดจะซื้ออาวุธ และบางคนสั่งอาหารทางอากาศมากินที่ยุโรปหรือบินไปบินมาอย่างสบาย

อย่าลืมว่าตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา 14 ปีที่แล้ว ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ชนชั้นกลางและทหาร ได้ร่วมกันทำลายประชาธิปไตยในประเทศเรา เพราะไม่พอใจกับรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทักษิณมีข้อเสียหลายอย่างและได้ก่ออาชญากรรมในปาตานีและสงครามยาเสพติด แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลนี้กำลังเดินหน้าเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของคนธรรมดา ผ่านนโยบายระบบสุขภาพถ้วนหน้า นโยบายสร้างงาน นโยบายลดหนี้ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ และนโยบายพัฒนาระบบการศึกษา ซึ่งแนวร่วมระหว่างรัฐบาลทักษิณกับกรรมาชีพและชาวนานี้สร้างความไม่พอใจกับพวกปฏิกิริยาเป็นอย่างมาก นี่คือสาเหตุที่เราจมอยู่ภายใต้เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ในปัจจุบัน

ในอนาคตอันใกล้ ทั่วโลกจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงพอๆ กับวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และไทยจะหลีกเลี่ยงผลไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราไม่รวมตัวกันสู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อโค่นเผด็จการ คนไทยธรรมดาจะเดือดร้อนมากขึ้นอีกหลายเท่า

โรคระบาด ทุนนิยม กับกลไกตลาด ทำไมสังคมนิยมแก้ปัญหาได้

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในขณะที่ประชาชนทั่วโลกล้มตายเป็นหมื่นและป่วยเป็นแสนจากไข้หวัดโคโรนา มีนายทุนบางคนที่หน้าด้านคว้าประโยชน์จากโรคระบาดนี้ ตัวอย่างเช่น Bill Ackman นายทุนเฮดจ์ฟันด์ที่พนันในตลาดหุ้นและรวยขึ้น $2.6 พันล้าน ส่วน Jeff Bezos เจ้าของบริษัทอเมซอน สามารถกอบโกย $5.3 พันล้านจากการขายหุ้นในบริษัทของตนเอง

ท่ามกลางวิกฤตโควิดในออสเตรเลียมีการเลิกจ้างพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน 600 คนเพราะมีการยกเลิกผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวกับโควิด

ท่ามกลางวิกฤตโควิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คนทำงานธรรมดาเป็นล้านกำลังจะถูกยกเลิกประกันสุขภาพเพราะตกงานจากโควิด อันนี้ไม่รวมประชาชนเป็นล้านที่ไม่มีประกันแต่แรก นอกจากนี้บริษัทประกันเอกชนมีความเชื่องช้าในการอนุญาตทุกขั้นตอนของการรักษาคนไข้โควิดแย่ยิ่งกว่าระบบราชการเสียอีก

นี่คือใบหน้าแท้ของระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่เป็นภัยต่อประชาชนทั่วโลก

ในรอบสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักทั่วโลก ชอบสอนเราอย่างต่อเนื่องว่า “กลไกตลาดเป็นสิ่งที่สร้างประสิทธิภาพในสังคม และตอบสนองมนุษย์ได้ดีกว่าการวางแผนแบบสังคมนิยม” แต่วิกฤตโควิดเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เปิดโปงว่ากลไกตลาดเสรีของทุนนิยมไร้ประสิทธิภาพสำหรับประชาชนส่วนใหญ่โดยสิ้นเชิง (ดู เสรีนิยม กลไกตลาด และรัฐ https://bit.ly/2tWNJ3V )

ในเรื่องวัคซีน กลไกตลาดเสรีและการที่บริษัทยาขนาดใหญ่เป็นของเอกชนที่แสวงหากำไรอย่างเดียว แปลว่าไม่มีการพยายามพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสชนิดต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะลดเวลาที่จะผลิตวัคซีนต้านโคโรนาอย่างมาก สาเหตุคือตราบใดที่ไม่มีการระบาดทั่วโลกมันไม่มีกำไรในการพัฒนาวัคซีนไว้ล่วงหน้า และยิ่งกว่านั้นเมื่อมีการผลิตวัคซีนได้ คนที่ยากจนที่สุดในประเทศที่จนที่สุดของโลกจะไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ แม้แต่ในสหรัฐนักการเมืองบางคนออกมาพูดโดยไร้ความละอายว่าคนจนในสหรัฐอาจเข้าไม่ถึงวัคซีนเมื่อมีการผลิตเสร็จแล้ว

เราต้องบอกนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักว่าทฤษฏี “อุปสงค์คานอุปทาน พ่อมึงสิ!!!”

ในประเทศพัฒนาอย่างอิตาลี่และสเปน ที่มียอดคนเสียชีวิตสูงมากในเดือนมีนาคม นโยบายรัดเข็มขัดของนักการเมืองที่ชื่นชมตลาดเสรี นำไปสู่การทำลายระบบสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ในอังกฤษก็เช่นกัน สาเหตุหลักมาจากการที่นักการเมืองโยนภาระหนี้เอกชนและรัฐ ที่มาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี2008 ลงบนสันหลังกรรมาชีพ ทั้งในแง่ของการตัดค่าจ้างและการตัดการบริการทางสังคม และวิกฤษเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นแต่แรกจากระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยม (ดูบทความเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf )

Covid crash

หลังจากที่เกิดการระบาดของโควิด และมีการปิดประเทศและสถานที่ทำงาน คาดว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ร้ายแรงกว่าปี 2008 อีก

ในประเทศยากจนของโลก ประชาชนยากจนเพราะองค์กรอย่างเช่นไอเอ็มเอฟ บังคับให้รัฐบาลรัดเข็มขัดและรีดไถประชาชน เพื่อจ่ายหนี้ให้ธนาคารต่างๆ ในตะวันตก คาดว่ามีการโอนเงินและทรัพยากรไปสู่ประเทศพัฒนาอย่างมาก และทุกอย่างที่ทำไป ทำโดยอ้างความชอบธรรมจากแนวกลไกตลาดเสรี ยิ่งกว่านั้นประเทศยากจนที่สุดมักจะถูกละเลยจากการลงทุนในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้ยิ่งยากจนลง และถ้าแค่นี้ไม่พอ ระบบชนชั้นที่ดำรงอยู่ทั่วโลกแปลว่าพวกนักการเมือง คนใหญ่คนโต และนายทุนพื้นเมืองในประเทศเหล่านั้น ใช้อำนาจกอบโกยทรัพยากรมาเป็นของตนเองในขณะที่คนจนกำลังจะตาย

PRI_147654490
บางคนเสพสุข

1402467731-pic0-o
บางคนติดคุก

 

33-10-728x410
ภาพจากบทความในมติชน

แม้แต่ในไทย คนใหญ่คนโตเสพสุขกับเมียน้อยและคนใช้ในโรงแรมห้าดาวราคาแพง และพวกทหารก็พยายามกอบโกยเงินทองต่อไปและพยายามซื้ออาวุธ ในขณะที่คนธรรมดามีวิกฤต มันพิสูจน์ว่าประชาชนต้องลุกขึ้นโค่นล้มพวกปรสิตเหล่านี้ให้หมดไป

เราเรียกพวกข้างบนว่าเป็น “ปรสิต” ได้ เพราะเมื่อเกิดวิกฤตโควิด เราเห็นชัดว่าพวกนี้ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับสังคมเลย คนที่ทำประโยชน์จริงในสังคมคือ พยาบาล หมอ พนักงานขนส่ง คนทำความสะอาด พนักงานในร้านค้าที่ขายของจำเป็น และชาวไร่ชาวนาที่ผลิตอาหารให้เรากิน ฯลฯ กรรมาชีพกับเกษตรกรนั้นเอง

6004723_031120-kgo-health-care-workers-coronavirus-img_Image_00-00-47,17

house-keeper1

ในสมัยก่อนเวลาเราชาวมาร์คซิสต์เสนอว่ากรรมาชีพสร้างทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ (ดู ทฤษฏีมูลค่าแรงงาน https://bit.ly/2zozGbS ) พวกกระแสหลักจะชอบสอนเราว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องไปกราบไหว้นายทุนและเครื่องจักรแทน แต่ตอนนี้เราเห็นว่านายทุนและเครื่องจักร และชนชั้นปกครองไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับเราเลย กรรมาชีพต่างหากที่สร้างโลก

ตัวอย่างของความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลทหารที่เป็นเผด็จการรัฐสภาไทยปัจจุบัน เห็นได้จากการที่มาตรการต่างๆ เช่นการแจกเงินให้คนจน หรือการปิดสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น รัฐบาลประยุทธ์กระทำไปด้วยความโง่เขลาอย่างถึงที่สุด เพราะนอกจากเงินที่แจกไป ไม่พอและไม่ทั่วถึงทุกคนแล้ว มาตรการแบบนี้นำไปสู่การแย่งกันเข้าคิวแบบแออัด เพื่อลงทะเบียนหรือขึ้นรถกลับต่างจังหวัด ซึ่งจะนำไปสู่การระบาดของโควิดมากขึ้น ทั้งนี้เพราะไม่มีการวางแผนอะไรเลยเพื่อปกป้องประชาชน

QATYrz-1

dFQROr7oWzulq5FZUErgPS6GRV0vjJAaHUkkRyA2rDXFtleUJhUHEseCQzOZAAqjNZQ

และอย่าลืมว่าเมื่อวิกฤตโควิดจบลง ชนชั้นปกครองทั่วโลกจะพยายามไถเงินจากเราเพื่ออุดหนี้รัฐบาล แทนที่จะเก็บภาษีจากกลุ่มทุนและคนรวย

บทเรียนสำคัญคือ ในเมื่อพวกนั้นไม่สนใจปกป้องเรา เราต้องรวมตัวกันเพื่อปกป้องเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง โดยใช้ขบวนการเคลื่อนไหวในสังคมกับชุมชน และสหภาพแรงงาน

ที่มาของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด

ไวรัสโคโรน่าที่ระบาดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้มีชื่อทางการว่า “severe acute respiratory syndrome coronavirus 2” (SARS-CoV-2) และไข้หวัดที่ติดจากไวรัสนี้เรียกว่า โควิด19 หรือ coronavirus disease (COVID-19)

ไวรัสโคโรน่ามีตามธรรมชาติในสัตว์อย่างเช่นค้างคาว แต่สามารถกระโดดไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้นเมื่อระบบเกษตรอุตสาหกรรมของทุนนิยมตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก ในจีนเริ่มมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเลี้ยงและจับสัตว์ป่า เพื่อนำมาขายในตลาดสดมากขึ้น ถ้าตลาดสดขายค้างคาวตัวเป็นๆ ขี้ข้างคาวที่เต็มไปด้วยไวรัสจะสัมผัสกับอาหารอื่นและมนุษย์ได้ แต่มันไม่ใช่แค่ปัญหาของจีน

ก่อนหน้านี้ไข้หวัดนก และไข้หวัดหมู ซึ่งเกิดจากไวรัสอีกประเภท ได้ระบาดบ่อยขึ้นในประเทศตะวันตก เพราะมีการเลี้ยงไก่และหมูในลักษณะอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเชื้อชั้นดี

ในกรณีไข้หวัดซาร์ ( SARS – severe acute respiratory syndrome) และ ไข้หวัดเมอร์ส (MERS – Middle East respiratory syndrome ) ซึ่งเคยระบาดจนเป็นข่าว มันเป็นไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรน่าเช่นเดียวกับโควิด ไข้หวัดซาร์ แพร่สู่มนุษย์ผ่านแมวป่าในตลาดที่ติดเชื้อจากค้างคาว และไวรัสเมอร์ส ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาวแล้วติดอูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ตอนนี้ในตะวันออกกลางมีการเลี้ยงอูฐแบบอุตสาหกรรมเช่นกัน

การที่ระบบเกษตรอุตสาหกรรมขยายเข้าไปสู่แหล่งธรรมชาติ ยิ่งทำให้สัตว์ป่าเข้ามาสัมผัสมนุษย์มากขึ้น เช่นในกรณีโรคอีโบลา การขยายสวนสวนปาล์มในอัฟริกา ทำให้ค้างคาวเข้ามาอาศัยในต้นปาล์มจนมนุษย์ได้รับเชื้อไวรัสอีโบลา

เราจะเห็นได้ว่าระบบทุนนิยมตลาดเสรีที่ทำให้มีการขยายของระบบเกษตรอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนโลกเสี่ยงกับโรคระบาดร้ายแรงมากขึ้น

ปัจจัยอื่นของทุนนิยมที่ทำให้โรคระบาดร้ายแรงเกิดขึ้น

แต่ไหนแต่ไร การขยายตัวของระบบทุนนิยมไปทั่วโลก ภายใต้กลไกตลาดเสรีและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ทำให้เกิดสภาพเมืองขนาดยักษ์ที่เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองกรรมาชีพจำนวนมาก สภาพแออัดของเมืองต่างๆ เช่นในจีน อินเดีย ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ทำให้เชื้อไวรัสสามารถกระโดดระหว่างคนจำนวนมาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสภาพที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำที่ดำรงอยู่ทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญของการแพร่ระบาดของโรค

495E72401F6942B59E755B13168BCD1E

นอกจากที่อยู่อาศัยแล้ว ภายใต้ระบบทุนนิยม นักการเมืองกระแสหลักและเผด็จการต่างๆ ทั่วโลก มองว่าการใช้เงินรัฐเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ สำคัญน้อยกว่าการอุ้มกำไรกลุ่มทุน ค่าใช้จ่ายทางทหาร หรือค่าใช้จ่ายสำหรับอภิสิทธิ์ชน ดังนั้นระบบสาธารณสุขทั่วโลกไม่พร้อมที่จะรับมือกับวิกฤตโควิด

อีกปัจจัยหนึ่งของทุนนิยมที่ทำให้โรคระบาดแรงขึ้นคือลัทธิทางการเมืองแบบล้าหลังอนุรักษ์นิยม ที่มองว่าชีวิตคนธรรมดาไร้ค่าเมื่อเทียบกับชีวิตของชนชั้นปกครอง ในแง่หนึ่งเราเห็นจากความรุนแรงที่รัฐบาลต่างๆ ใช้เพื่อควบคุมคนจน เช่นการฉีกน้ำผสมคลอรีนใส่คนงานจากต่างจังหวัดในอินเดีย เหมือนกับเป็นผักเป็นปลา หรือการใช้ความรุนแรงเพื่อควบคุมประชาชนในอัฟริกาทางใต้

safe_image

ในอังกฤษนักการเมืองล้าหลังบางคนมองว่าถ้าคนแก่ตายจากโควิดก็จะเป็นประโยชน์เพราะลดภาระต่อสังคม

ในอดีตลัทธิการเมืองแบบอนุรัษ์นิยมที่ชวนให้คนเกลียดชังเกย์ นำไปสู่การเพิกเฉยของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกต่อการระบดของเอดส์ ซึ่งทำให้โรคนี้ร้ายแรงขึ้นสำหรับทั้งชายและหญิง

แนวความคิดลัทธิอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นความคิดทางการเมืองที่ออกแบบเพื่อให้ปกป้องระบบทุนนิยมด้วยการสร้างค่านิยมต่างๆ (ดูการกดขี่ทางเพศ https://bit.ly/2QQr5VX )

สังคมนิยมคือทางออก

เราจะเห็นว่าระบบทุนนิยมพาเราไปสู่วิกฤตร้ายแรงเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตโลกร้อน และระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดแก้วิกฤตเหล่านี้ไม่ได้เลย ตรงกันข้าม ระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดสร้างปัญหาแต่แรก

คาร์ล มาร์คซ์ เคยเขียนไว้ในหนังสือว่าด้วยทุนเล่ม3 ว่า “อุปสรรค์หลักของระบบทุนนิยมคือทุน” พูดง่ายๆ กลไกภายในของระบบทุนนิยมขัดแย้งกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของมนุษย์ในระยะยาว (ดู ว่าด้วยทุน https://bit.ly/2iWRQtY )

การรื้อถอนปฏิวัติระบบทุนนิยมเพื่อสร้างสังคมนิยมเท่านั้นที่จะสร้างความอยู่ดีกินดีให้พลเมืองทั่วโลกและยับยั้งภัยจากการระบาดของโรคร้ายแรง ภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยจากสงครามจักรวรรดินิยม และภัยจากวิกฤตโลกร้อน

สังคมนิยมที่พูดถึงนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกับระบบเผด็จการในเกาหลีเหนือ หรือระบบเผด็จการ “ทุนนิยมโดยรัฐ”ที่เคยมีในจีน รัสเซีย หรือคิวบา ก่อนที่ประเทศเหล่านี้เปลี่ยนไปใช้แนวกลไกตลาด (ดู ปัญหาของลัทธิสตาลินในขบวนการคอมมิวนิสต์สากลและผลกระทบต่อพรรคไทย https://bit.ly/2Mj3bSy  และ  สังคมนิยมในทัศนะของมาร์คซ์ https://bit.ly/2zoAiy5 )

สังคมนิยมคือระบบที่พลเมืองทั่วไปร่วมกันบริหารสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่

ก่อนที่จะถึงจุดนั้นเราต้องมีข้อเรียกร้องระยะสั้นให้รัฐหันมาใช้ทรัพยากรและมาตรการต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับคนชั้นล่างเพื่อปกป้องประชาชนจากโควิด (ดู https://bit.ly/2UA37Cx ) และเราต้องต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ เพราะรัฐบาลนี้ไร้ความสามารถในการปกป้องประชาชน

ข้อเรียกร้องระยะกลางควรจะเป็นเรื่องการสร้างรัฐสวัสดิการที่ครบวงจรผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าและการตัดงบประมาณทหาร

แต่ในระยะยาวต้องมีการวางแผนสังคม เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ สร้างงานภายใต้มาตรฐานที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคนและลดชั่วโมงการทำงาน ยึดบริษัทเอกชนทุกแห่งมาเป็นของส่วนรวมภายใต้การบริหารของกรรมาชีพเอง ยกเลิกระบบเกษตรอุตสาหกรรม ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน ฯลฯ ซึ่งถ้าจะเป็นจริงได้ต้องมีขบวนการปฏิวัติที่เชื่อมโยงพรรคปฏิวัติกับมวลชนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

Against Dictatorship

เราจะเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ถ้าเรามัวแต่หมอบคลาน

หลังวิกฤตโควิด เราจะยอมเดินกลับไปสู่สังคมเก่าเดิมๆ เหมือนถูกจูงแบบวัวกับควายจริงหรือ?