Tag Archives: โรซา ลัคแซมเบอร์ค

โรซา ลัคแซมเบอร์ค นักปฏิวัติสังคมนิยม

ในวันที่ 15 มกราคม 1919 ท่ามกลางการปราบปรามการลุกฮือของกรรมาชีพ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ถูกฆ่าทิ้งโดยทหารฝ่ายขวาภายใต้คำสั่งของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคปฏิรูปที่ต้องการปกป้องระบบทุนนิยม หลังจากนั้นมีการโยนศพของทั้งสองคนลงคลอง และพวกชนชั้นกลางก็เฉลิมฉลองด้วยความดีใจและความป่าเถื่อนตามเคย

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงท่ามกลางการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 กระแสปฏิวัติในประเทศต่างๆ ของยุโรปพุ่งสูง มีการเดินขบวนของทหารเรือติดอาวุธร่วมกับคนงานท่าเรือที่เมือง เคียล์ ประเทศเยอรมันหลังจากนั้นมีการตั้งกรรมการทหาร ในเมือง บเรเมน, แฮนโนเวอร์, โคโลน, ไลป์ซิก, ดเรสเดน และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย ทหารชั้นล่างกับคนงานยึดเมือง มิวนิค และมีการประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียดของแคว้น บาวาเรีย ซึ่งอยู่ได้หลายเดือน ส่วนในเมืองหลวง เบอร์ลิน ทหารชั้นล่างติดอาวุธร่วมกับกรรมาชีพถือธงแดงในการเดินขบวน และนักสังคมนิยมอย่าง คาร์ล ลีบนิค ปรากฏตัวที่ระเบียงพระราชวังเพื่อประกาศว่ามีการก่อตั้ง “สาธารณรัฐสังคมนิยม” และเริ่มกระบวนการ “ปฏิวัติโลก” ซึ่งทำให้พระเจ้าไคเซอร์ต้องหนีออกนอกประเทศทันที

พวกสังคมนิยมเยอรมันส่วนใหญ่สองจิตสองใจเรื่องการปฏิวัติ คือแกว่งไปแกว่งมาระหว่างการปฏิวัติกับการปฏิรูประบบเดิม มีแค่ “กลุ่มสันนิบาตสบาร์ตาคัส” ของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค เท่านั้นที่ชัดเจนว่าต้องปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้พึ่งแยกตัวออกจากพวกพรรคสังคมนิยมปฏิรูปก่อนหน้านี้ไม่นาน จึงไม่ได้มีการจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ ในที่สุดไม่เข้มแข็งพอที่จะนำการปฏิวัติได้

ในปลายเดือนธันวาคม 1918 รัฐมนตรีมหาดไทย นอสก์ จากพรรคสังคมนิยม ตัดสินใจสร้างกองกำลังทหารรับจ้าง “ไฟรคอพส์” ที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมคลั่งชาติ เพื่อตระเวนไปทั่วเยอรมันและปราบปรามทำลายขบวนการแรงงานและนักสังคมนิยมปฏิวัติ บางหน่วยของกองกำลังนี้เริ่มใช้ธงสวัสติกะ ซึ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์นาซีภายใต้ฮิตเลอร์

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมันชื่อ เอเบอร์ด จากพรรคสังคมนิยมปฏิรูป วิ่งไปจับมือทันทีกับพวกนายพลเก่า เพื่อ “สร้างความสงบเรียบร้อย” และการสร้างความสงบเรียบร้อยสำหรับระบบทุนนิยมแปลว่าต้องจัดการกับนักปฏิวัติ อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ซึ่งมีฐานสนับสนุนในมวลชนทหารระดับล่างและกรรมาชีพของเมือง เบอร์ลิน

ผลงานสำคัญของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ที่เราควรศึกษาคือเรื่อง “ปฏิรูปหรือปฏิวัติ” ที่อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมต้องอาศัยการปฏิวัติแทนที่จะตั้งความหวังกับการปฏิรูป และเรื่อง “การนัดหยุดงานทั่วไป” ที่เสนอความสำคัญของการนัดหยุดงาน พร้อมกับอธิบายว่า “การเมืองภาพกว้าง” กับเรื่อง “ปากท้อง” เชื่อมโยงกันอย่างไร บทความเรื่องการนัดหยุดงานทั่วไปสำคัญสำหรับนักเคลื่อนไหวกรรมาชีพไทย เพราะมีการเน้นเรื่องปากท้องเหนือการเมืองภาพกว้างมานานเกินไป

โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค

ทุกวันนี้ท่ามกลางวิกฤตทุนนิยมสามวิกฤต คือวิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการลดลงของอัตรากำไร และวิกฤตโลกร้อน คำพูดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ว่าเราเผชิญหน้ากับสองทางเลือกคือ “สังคมนิยมหรือความป่าเถื่อน” ดูเหมือนมีพลังอย่างยิ่ง และอย่าลืมด้วยว่าเผด็จการทหารที่เรามีอยู่ในไทยตอนนี้ มีรากฐานมาจากสภาพการเมืองหลังวิกฤตต้มยำกุ้งและความพยายามที่จะปฏิรูประบบโดยทักษิณและไทยรักไทย

อ่านเพิ่ม: แนวความคิดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค https://bit.ly/2DtwQWo

ต้นกำเนิดเผด็จการประยุทธ์ https://bit.ly/3stTEeQ

ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐกับการปฏิวัติ ทำไมเราต้องปฏิวัติ

รัฐ คืออะไร? ใครคุมอำนาจรัฐในระบบเผด็จการ? ใครคุมอำนาจรัฐในระบบประชาธิปไตย? นี่คือประเด็นที่นักมาร์คซิสต์ต้องเข้าใจ

ถ้าเราศึกษาหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติ” ของ เลนิน และ “สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส” ของ มาร์คซ์ เราจะเข้าใจว่า ในทุกสังคมภายใต้ทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรปตะวันตก หรือไทย มีพวกชนชั้นปกครองดำรงอยู่ ซึ่งดูเหมือนขัดกับรัฐธรรมนูญหรือหลักประชาธิปไตย และการกำจัดพวกนี้จะอาศัยแค่การเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้นไม่พอ เพราะ “รัฐ” มันมากกว่าแค่รัฐบาล

ในหนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติเลนิน กล่าวถึงงานของ มาร์คซ์ และ เองเกิลส์ ซึ่งเป็นนักมาร์คซิสต์ “รุ่นครู”    เลนิน ชี้ให้เห็นว่า “รัฐ” มันมากกว่าแค่ “รัฐบาล” และรัฐทุนนิยมมีไว้เพื่อกดขี่ชนชั้นกรรมาชีพและเกษตรกร โดยยึดผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนเป็นหลัก ตรงนี้เราไม่ควรสับสนว่า “ชนชั้นนายทุน” คือคนอย่างทักษิณหรือหัวหน้า CPเท่านั้น เพราะในไทยชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นชนชั้นปกครองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ ประกอบไปด้วยนายทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง กษัตริย์ นักการเมืองผู้ใหญ่ และนายทุนเอกชน

สำหรับนักมาร์คซิสต์ เราเชื่อกันว่า “รัฐ” เป็นสิ่งที่เกิดมากับสังคมชนชั้น มันไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่ตกจากฟ้า รัฐเป็นเครื่องมือที่คนกลุ่มน้อยในสังคมปัจจุบันใช้เพื่อควบคุมคนส่วนมากที่ถูกปกครอง ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร

สังคมทุนนิยมในปัจจุบัน และสังคมศักดินาในอดีต ล้วนแต่เป็นสังคมชนชั้น คือคนส่วนน้อยปกครองและขูดรีดคนส่วนใหญ่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ที่อาจเปิดเผยหรือซ่อนเร้นก็ได้ ในการสร้างสังคมนิยมอันเป็นประชาธิปไตยแท้ เราจึงต้องปฏิวัติล้มรัฐเก่าและสร้างรัฐใหม่ชั่วคราวขึ้นมา เพื่อเป็นอำนาจในการเปลี่ยนสังคม แต่เป้าหมายระยะยาวคือการยกเลิกรัฐ หรือที่ เลนิน เรียกว่าเป็นการ “สิ้นสุดของการปกครอง” เพื่อให้มนุษย์กำหนดอนาคตตนเองในชุมชนต่างๆ อย่างเสรี

“อำนาจพิเศษสาธารณะ” ของรัฐ อาศัยวิธีควบคุมสังคมสองวิธีคือ (๑) อาศัยกองกำลังและการปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่ง เองเกิลส์ และ เลนิน เรียกว่า “องค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ” นั้นคือ ทหาร ตำรวจ ศาล และคุก กับ(๒) อาศัยการสร้างระเบียบและความชอบธรรมกับการปกครองของรัฐ เพื่อให้ผู้ถูกปกครองยอมรับอำนาจรัฐ และวิธีที่สำคัญคือการวางตัวของรัฐให้ห่างเหินแปลกแยกจากสังคม เพื่อให้ดูเหมือน “ลอยอยู่เหนือสังคมและเป็นกลาง” ในขณะที่คุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ เพราะถ้ารัฐไม่สร้างภาพแบบนี้มาปิดบังความจริงที่รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองฝ่ายเดียว ประชาชนจะไม่ให้ความจงรักภัคดี การควบคุมสถาบันต่างๆ ด้วยอำนาจเงียบ กระทำผ่านการพยายามผูกขาดแนวคิดในโรงเรียน ศาสนา และสื่อ จนเราอาจไม่รู้ตัวว่าเราถูกควบคุมกล่อมเกลาทางความคิด

เองเกิลส์ อธิบายว่ารัฐไหนสร้างภาพหลอกลวงว่าเป็นกลางได้ดีที่สุด รัฐนั้นสามารถควบคุมประชาชนได้อย่างแนบเนียนที่สุด นี่คือสาเหตุที่นักวิชาการที่รับใช้ชนชั้นปกครองมักเสนอตลอดว่า “รัฐเป็นกลาง” ไม่เข้าข้างใคร และด่าแนวมาร์คซิสต์ว่า “ตกยุค”

ในยุคนี้รัฐไทยเผยธาตุแท้ว่าเป็นรัฐเผด็จการและเป็นศัตรูของประชาชน จึงครองใจพลเมืองยากขึ้น แต่ในอนาคตเขาจะพยายามสร้างภาพว่าเป็นกลางอีกครั้ง

ทุกวันนี้เราต้องสู้ทางความคิดเพื่อทำลายความชอบธรรมของชนชั้นปกครอง ตรงนี้เราจะได้เปรียบในแง่หนึ่ง เพราะการหาความชอบธรรมของชนชั้นปกครองย่อมอยู่บนพื้นฐานการโกหกหลอกลวงเสมอ เข้าใจได้ง่าย เพราะชนชั้นปกครองมีผลประโยชน์ตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ที่ถูกปกครอง ดังนั้นข้อสรุปสำคัญคือ เราต้องทำสงครามความคิดอย่างถึงที่สุด ไม่ใช่ไปประนีประนอมกับความคิดชนชั้นปกครองโดยกลัวว่าคนส่วนใหญ่ “ยังไม่พร้อม” จะรับความคิดใหม่ นี่คือ “สงครามจุดยืน” ที่ อันโตนิโอ กรัมชี่ นักมาร์คซิสต์อิตาลี่เคยพูดถึง สำหรับกรัมชี่มันมีสงครามสองชนิดที่เราต้องทำคือ “สงครามจุดยืน” และ “สงครามขับเคลื่อน” –การเผชิญหน้า ปฏิวัติ และล้มรัฐเก่านั้นเอง

ถ้าเราจะทำสงครามจุดยืน มันแปลว่า เราทุกคนที่อยากร่วมในการต่อสู้ ต้องสร้างตัวขึ้นมาเป็น “อาจารย์” หรือสิ่งที่ กรัมชี่ เรียกว่า “ปัญญาชนอินทรีย์” คือนักคิดติดดินที่เลือกข้างประชาชนคนจน และกรรมาชีพนั้นเอง ถ้าใครคิดว่าจะพัฒนาตนเองเป็นอาจารย์ไม่ได้ ก็ลองดูพวกอาจารย์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน พวกนี้มีอคติกับคนจนที่รักประชาธิปไตย และเขาพร้อมจะโกหกบิดเบือนทฤษฏีต่างๆ เพื่อปกป้องคนรวยและอภิสิทธิ์ชน  การกระทำของเขาไม่ใช่การใช้ปัญญาอะไรหรอก มันเป็นการเอาผลประโยชน์ชนชั้นตนเองมานำทุกอย่าง

ถ้าเราเข้าใจ “รัฐกับการปฏิวัติ” เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองในทุกสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ รวมถึงไทยและที่อื่น เป็นส่วนหนึ่งของ “อำนาจพิเศษสาธารณะ” นี่คือสาเหตุที่ในประเทศตะวันตกที่มีประชาธิปไตย บ่อยครั้งรัฐบาลพรรคแรงงานหรือพรรคสังคมนิยม ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจต้องยอมอ่อนน้อมต่อนายทุนใหญ่หรือข้าราชการในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ

การทำลายอำนาจชนชั้นปกครองจึงไม่ใช่แค่การผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการยอมรับผลของการเลือกตั้งเท่านั้น การกำจัดชนชั้นปกครองต้องอาศัยการปฏิวัติล้มรัฐเก่าในทุกแง่ เพื่อสร้างรัฐใหม่ของประชาชนผู้ทำงาน หรือที่เรียกว่า “รัฐกรรมาชีพ” ซึ่ง มาร์คซ์ เคยอธิบายว่าองค์ประกอบของรัฐเก่านั้นมันไม่หายไปง่ายๆ เพราะมันเป็น “งูเหลือมที่รัดสังคมไว้อย่างแน่นแฟ้น” ต้องใช้ “ไม้กวาดแห่งการปฏิวัติ” ถึงจะแกะมันออกได้ และต้องสร้างรัฐใหม่ที่มีองค์ประกอบใหม่ขึ้นมาแทน เช่นรัฐสภาคนทำงาน กองกำลังของประชาชน หรือผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นต้น ต้องรื้อกฎหมายเก่าๆ ทิ้งให้หมด และสร้างระเบียบใหม่ของสังคม โดยที่คนส่วนใหญ่ คนจน คนทำงาน… เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เพราะประชาธิปไตยแท้ต้องไม่มีอภิสิทธิ์ชน และต้องไม่มีนายทุนที่เป็นเผด็จการทางเศรษฐกิจในสถานที่ทำงานและระบบการผลิตอีกด้วย

ในระยะยาวการที่เราต้องปฏิวัติ ไม่ได้แปลว่าเราไม่สนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวันในสังคม หรือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยรัฐสภาในระบบทุนนิยม การต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในสังคมทุนนิยม เป็นสิ่งที่นักมาร์คซิสต์เช่น โรซา ลัคแซมเบอร์ค มองว่าสำคัญและจำเป็น มันเป็นการต่อสู้ประจำวันที่ให้สิทธิเสรีภาพมากขึ้น มันช่วยให้เรามีสหภาพแรงงานที่มีอำนาจต่อรอง มันช่วยให้เราประท้วงหรือเดินขบวนได้ มันช่วยให้เรามีสื่อและสิทธิในการแสดงออก และที่สำคัญ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยภายในระบบทุนนิยม จะผลักดันชนชั้นปกครองจนเขาไม่กล้ามาก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพมากเกินไป มันทำให้ชนชั้นปกครองลำบากมากขึ้นในการใช้อำนาจเพราะต้องหลบไปในมุมมืดและแอบใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจของเครือข่ายอภิสิทธิ์ชนลับหลัง ซึ่งเป็นสภาพสังคมที่เห็นในยุโรปตะวันตกหรือสหรัฐ

โรซา ลัคแซมเบอร์ค เคยอธิบาย…ในหนังสือ “ปฏิรูปหรือปฏิวัติ” ว่าการต่อสู้ประจำวันเป็นการฝึกฝนมวลชนให้พร้อมเพื่อการปฏิวัติที่จะล้มและทำลายรัฐเก่าลงอย่างสิ้นเชิงในอนาคต แต่สำหรับคนที่เสนอให้ “ค่อยเป็นค่อยไป” นั้น เธออธิบายว่าพวกนี้จะเป็นคนที่ต้องการประนีประนอมกับรัฐเก่าเสมอ

รัฐทุนนิยมปกป้องการขูดรีด

รัฐทุนนิยมจะปกป้องกฎหมายและระบบศาลที่ให้ประโยชน์กับนายทุนในการขูดรีด การ “ขูดรีด” หมายถึงการที่นายทุนไม่กี่คน สามารถยึดมูลค่าทั้งหมดที่คนงานทั้งหลายสร้างขึ้นมาจากการทำงาน มันเป็นระบบการขูดรีดแบบแอบแฝง ไม่เหมือนสมัยก่อนทุนนิยมที่ขุนนางส่งทหารมาบังคับให้เราทำงาน หรือบังคับให้เราส่งภาษี มันดูเหมือนว่าไม่มีใครบังคับเรา แต่ในความเป็นจริง คนที่ทำงานในระบบทุนนิยมไม่มีทางเลือกอะไร เพราะถ้าไม่ทำงานก็อดตาย ที่สำคัญคือ…..

การเปลี่ยนรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่สามารถกำจัดระบบขูดรีดของนายทุนได้

ความมั่นใจในตนเอง

การต่อสู้ของมวลชนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยสร้างความมั่นใจกับทุกคนว่าเราสามารถเปลี่ยนสังคมได้ มาร์คซ์ เคยอธิบายว่าในระบบทุนนิยม เราจะถูกสอนให้คิดว่าเราด้อยกว่าชนชั้นปกครอง “เราไม่มีความสามารถ และเราต้องจงรักภักดีต่อเขาเสมอ” ชนชั้นปกครองใช้สื่อ โรงเรียน และศาสนาในการกล่อมเกลาเราเรื่องนี้ แต่ มาร์คซ์ และนักมาร์คซิสต์ชาวฮังการี่ชื่อ จอร์ช ลูคักส์ อธิบายว่าถ้าจะแก้ไขสภาพเช่นนี้ เราต้องเคลื่อนไหวต่อสู้ ต้องเสริมความมั่นใจซึ่งกันและกัน และท่ามกลางการต่อสู้เราจะตาสว่างถึงคำหลอกลวงของชนชั้นปกครอง อย่างไรก็ตามถ้าจะให้การต่อสู้มีพลัง นอกจากจะต้องมีมวลชนแล้ว ยังต้องจัดระบบความคิดและจัดตั้งมวลชนผ่านการสร้างพรรคปฏิวัติ

การปฏิวัติเยอรมัน 1918

ใจ อึ๊งภากรณ์

การปฏิวัติเดือนพฤศจิกายนปี 1918 ในเยอรมัน เป็นการปฏิวัติที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์โลกไม่น้อย เพราะมีผลทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง และในระยะยาวความไม่สำเร็จของการปฏิวัติ ทำให้การปฏิวัติรัสเซียที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้านั้นต้องล้มเหลว ความล้มเหลวนี้เปิดโอกาสให้เผด็จการสตาลินขึ้นมาทำการปฏิวัติซ้อน และเปลี่ยนรัสเซียจากสังคมนิยมไปเป็นทุนนิยมโดยรัฐ เพราะรัสเซียเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สร้างสังคมนิยมในประเทศเดียวไม่ได้ จึงมีการตั้งความหวังว่าถ้ามีการปฏิวัติสังคมนิยมในเยอรมัน ซึ่งเจริญกว่า มันจะทำให้ระบบสังคมนิยมในยุโรปมีความเข้มแข็งมากขึ้น

bs-20-08-DW-Kultur-Deankfurt-Main-Archiv-jpg

การปฏิวัติเยอรมันระเบิดขึ้นในกองทัพเรือภาคทะเลเหนือของเยอรมันที่ประจำอยู่ที่เมือง Kiel เพราะทหารเรือไม่พอใจกับคำสั่งที่จะต้องออกไปเผชิญหน้ากับกองทัพเรืออังกฤษที่มีพลังเหนือกว่า มันเป็นคำสั่งให้ทหารเรือฆ่าตัวตาย ทหารเรือบนเรือลำต่างๆ ไม่ยอมเดินเรือออกไป ฝ่ายผู้บัญชาการทหารเรือจึงจับเข้าคุก 1 พันคน แต่สตรีในเมือง Kiel พร้อมกับกรรมาชีพ และทหารที่ถูกส่งไปปราบทหารเรือ ลุกขึ้นก่อกบฏ มีการชักธงแดงขึ้นบนเรือรบทุกลำ และกรรมาชีพกับทหารในเมืองตัดสินใจก่อตั้งสภาโซเวียด

revolution1

การปฏิวัติลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ของเยอรมันอย่างรวดเร็ว ในเมืองเบอร์ลิน คาร์ล ลีบนิค แกนนำองค์กรณ์ปฏิวัติสังคมนิยม “สปาร์ตาซิสต์” พบกับผู้แทนขบวนการสหภาพแรงงานปฏิวัติ และเรียกให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป

นายกรัฐมนตรีฝ่ายขวาของเยอรมันกลัวการปฏิวัติ จึงปลดกษัตริย์ไคเซอร์ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง เอเบอร์ด หัวหน้าพรรคสังคมนิยมปฏิรูป (SPD) เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีความหวังว่าพรรคสังคมนิยมปฏิรูปจะขัดขวางการปฏิวัติและปกป้องระบบทุนนิยม ในวันต่อมา เอเบอร์ด จึงรีบประกาศชักชวนให้มวลชนกลับบ้านและเลิกประท้วง

bild-44326-resimage_v-variantSmall16x9_w-320
คาร์ล ลีบนิค

ส่วนในวันเดียวกัน คาร์ล ลีบนิค ปีนขึ้นบนระเบียงวังของกษัตริย์และปราศรัยกับมวลชนว่า วันแห่งการปฏิวัติมาถึงแล้ว กรรมาชีพและทหารควรเดินหน้าต่อไปและสร้างสภาโซเวียดกับรัฐบาลของคนงานและพลทหารธรรมดา มวลชนมีการตะโกนต้อนรับสาธารณรัฐใหม่ และชักธงแดงขึ้นบนยอดเสาธงของวังกษัตริย์

เลนิน ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ได้ออกมาแสดงความยินดีกับการยึดอำนาจของคนงานและพลทหารเยอรมัน แต่เตือนไม่ให้มวลชนปล่อยให้รัฐบาลของนายทุนและพวกสังคมนิยมจอมปลอมอยู่ต่อไป มีการส่งเสริมให้นักปฏิวัติสังคมนิยมยึดอำนาจและก่อตั้งรัฐบาลของคนงานและพลทหารภายใต้การนำของ คาร์ล ลีบนิค

Geschichte04-9111918
นสพ. ธงแดง

โรซา ลัคแซมเบอร์ค นักปฏิวัติเยอรมันที่เป็นแกนนำองค์กรณ์ปฏิวัติสังคมนิยม “สปาร์ตาซิสต์” ร่วมกับ คาร์ล ลีบนิค ได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ “ธงแดง” ของพวกสปาร์ตาซิสต์ว่า การปฏิวัติเริ่มต้นแล้ว แต่อย่างพึ่งเสียเวลากับการเฉลิมฉลอง เพราะมีภารกิจอีกมากมายที่ต้องเร่งทำ จริงอยู่มีการล้มกษัตริย์ไคเซอร์ แต่ โรซา ลัคแซมเบอร์ค เตือนว่ากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจจริง เป็นเพียงประมุข ผู้ที่มีอำนาจจริงที่อยู่เบื้องหลังคือพวกนายทุน และรัฐบาลของ เอเบอร์ด กับพรรคสังคมนิยมปฏิรูป ไม่ได้ไปแตะอำนาจนี้แต่อย่างใด สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นคือการยึดอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพกับพลทหาร การล้มทุนนิยม และการสถาปนาระบบสังคมนิยม

rosaluxemburg-lasallemarx
โรซา ลัคแซมเบอร์ค

อย่างไรก็ตามอิทธิพลขององค์กรณ์ สปาร์ตาซิสต์ มีแค่ในบางส่วนของกรรมาชีพและทหารที่ก้าวหน้าที่สุดเท่านั้น ที่เหลือยังหลงไว้ใจพรรคสังคมนิยมปฏิรูป SPD

Spartacus_fight

นายกรัฐมนตรี เอเบอร์ด จับมือทันทีกับพวกนายพลเก่า เพื่อสร้าง “ความสงบเรียบร้อย” สำหรับระบบทุนนิยม มันแปลว่าต้องจัดการกับนักปฏิวัติ อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ซึ่งมีฐานสนับสนุนในมวลชนทหารระดับล่างและกรรมาชีพของเมือง เบอร์ลิน ดังนั้นในปลายเดือนธันวาคม 1918 รัฐมนตรีมหาดไทย นอสก์ จากพรรคสังคมนิยมปฏิรูป SPD ตัดสินใจสร้างกองกำลังทหารรับจ้าง “ไฟรคอพส์” ที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมคลั่งชาติ เพื่อตระเวนไปทั่วเยอรมันและปราบปรามทำลายขบวนการแรงงานและนักสังคมนิยม บางหน่วยของกองกำลังนี้เริ่มใช้ธงสวัสติกะ ซึ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์ของพวกนาซี

ต่อมาในเดือนมกราคม 1919 ฝ่ายนายพลและรัฐบาลได้สร้างเรื่องให้มีการลุกฮือเพื่อที่จะมีข้ออ้างในการปราบปรามขบวนการปฏิวัติ ผลคือทั้ง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ถูกทหารไฟรคอพส์จับคุมและพาไปฆ่าพร้อมโยนศพลงคลอง หลังจากนั้นรัฐบาลก็โกหกว่า โรซา ลัคแซมเบอร์ค ถูกม็อบฆ่าทิ้ง และ คาร์ล ลีบนิค ถูกยิงในขณะที่กำลังหลบหนี และพวกคนชั้นกลางก็เฉลิมฉลองด้วยความดีใจและความป่าเถื่อนตามเคย

P1140983
อนุสาวรีย์ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ริมคลองที่เมืองเบอร์ลิน

ปัญหาใหญ่ของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค คือลงมือสร้างองค์กรปฏิวัติช้าเกินไปตอนที่กระแสการต่อสู้เริ่มสูงขึ้น แทนที่จะสร้างองค์กรณ์ไว้ล่วงหน้าเพื่อฝึกฝนความเข้าใจทางการเมืองจากประสบการณ์การต่อสู้อย่างที่ เลนิน เคยทำ เพราะทั้ง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค เคยอยู่ในพรรค SPD จนถึงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และไม่ยอมแยกตัวออก

UFSsFZmh
โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค

อ่านเพิ่มเรื่อง โรซา ลัคแซมเบอร์ค ที่นี่ https://bit.ly/2ARmhde 

และ ที่นี่

ความคิดมาร์คซิสต์ กับแนวทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

เผด็จการและมรดกของเผด็จการจะไม่หายไปเอง นักเคลื่อนไหวปัจจุบันจะต้องทบทวนแนวคิดที่มองว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ทำได้โดยห้าหกคนที่ “ยอมเสียสละ” หรือแนวคิดที่ตั้งความหวังไว้กับพรรคการเมืองกระแสหลัก ถ้าเราจะสร้างพลังในการต่อรองกับเผด็จการ เราต้องมีการ “จัดตั้ง” มวลชน และถ้าจะให้ความสำคัญกับการจัดตั้ง เราต้องกระตือรือร้นในการลงพื้นที่เพื่อคุยกับและปลุกระดมคน ต้องไว้ใจว่ามวลชนกลุ่มต่างๆ จะนำตนเองได้ และต้องมีทัศนะที่เปิดกว้างยอมทำงานกับคนที่มีความคิดหลากหลายที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนที่ต่อต้านเผด็จการ การจัดตั้งองค์กรทางการเมืองแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันจะช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวต้านเผด็จการเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และมันจะเป็นเครือข่ายโครงสร้างองค์กรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ เมื่อเกิดการลุกฮืออย่างจริงจัง

การสร้างประชาธิปไตยแท้ในไทย ย่อมอาศัยทั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีมวลชนจำนวนมาก และพรรคการเมืองแบบสังคมนิยมของคนชั้นล่าง ถ้าขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เราคงจะไม่สำเร็จ

ในหมู่ทฤษฏีทางการเมืองทั้งหลาย ความคิดมาร์คซิสม์ เป็นแนวคิดที่มีประโยชน์มากที่สุดในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในโลกสมัยนี้ รวมถึงกรณีประเทศไทยด้วย สาเหตุเพราะไม่มีการพึ่งพาและสร้างความหวังจอมปลอมในบทบาทชนชั้นกลางหรือคนชั้นสูง มีการเน้นพลังมวลชนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเฉพาะชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน และมีการอธิบายความสำคัญของการสร้างพรรคอิสระในการต่อสู้เพื่อประโยชน์ของคนธรรมดา ทั้งหมดนี้แตกต่างจากแนวคิดเสรีนิยม แนวความคิดหลังสมัยใหม่ แนวคิดอภิสิทธิ์ชน และแนวความคิดประชาสังคมโดยสิ้นเชิง

เลนิน มักจะเน้นเสมอว่าพรรคจะต้องผสมผสานสองยุทธศาสตร์เข้าด้วยกันคือ ต้องร่วมต่อสู้เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องปากท้อง เข้ากับเรื่องการเมืองภาพกว้าง

ในบริบทสังคมไทย การที่จะสร้างพรรคแบบนี้ควรเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของเครือข่ายต่างๆ ในขบวนการแรงงาน และนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์คล้ายๆ กัน การสร้างพรรคสังคมนิยมจะต้องไม่เริ่มต้นจากการคุยกันว่าใครจะเป็นหัวหน้าพรรค หรือการเชิญผู้หลักผู้ใหญ่มาร่วม หรือการถกกันเรื่องการลงทะเบียน

เราต้องสร้างพรรคที่สนับสนุนและร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเพื่อสิทธิเสรีภาพของชาวปาตานี ของสตรี ของเกย์เลสเบี้ยนหรือกะเทย ของคนพิการ ของคนยากจนในชนบท ของกรรมาชีพในสหภาพแรงงาน และของชนกลุ่มน้อย ฯลฯ

ในเรื่องการเปลี่ยนความคิดหรือจิตสำนึกของมวลชน อันโตนิโอ กรัมชี่ สอนให้ชาวมาร์คซิสต์เข้าใจว่ากลุ่มคนที่อาจเปิดกว้างในการรับความคิดใหม่ๆ ที่ทวนกระแสหลัก เช่นคนที่มีแนวโน้มที่จะรับความคิดสังคมนิยม น่าจะเป็นคนที่กำลังต่อสู้ ไม่ใช่คนที่นิ่งเฉยรับสถานการณ์ ภาระของพรรคสังคมนิยมจึงเป็นการนำการเมืองแบบมาร์คซิสต์ไปสู่กรรมาชีพหรือกลุ่มคนที่ออกมาต่อสู้ในประเด็นปากท้องประจำวัน ในขณะเดียวกันพรรคจะต้องสนับสนุนและช่วยผลักดันให้เกิดการต่อสู้ทุกรูปแบบด้วย และต้องพยายามพัฒนาจิตสำนึกจากแค่เรื่องปากท้องไปเป็นการเมืองภาพกว้างในทุกประเด็น

ในไทยเราเคยเห็นปรากฏการณ์ “ตาสว่าง” ของคนเสื้อแดงจำนวนมาก หลังจากที่ออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แล้วต้องเผชิญหน้ากับการปราบปราม

การเคลื่อนไหวของมวลชนในสังคมมีความสำคัญยิ่ง เราหรือพรรคไม่สามารถเปลี่ยนสังคมได้ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของมวลชน และการนัดหยุดงานเป็นส่วนสำคัญของการเคลื่อนไหวนี้ เราควรลองคิดดูว่า ในสมัยที่มีการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย ถ้ามีการปลุกระดมให้นัดหยุดงานทั่วไป ในโรงงานต่างๆ ในสำนักงานต่างๆ หรือการหยุดเรียนหยุดสอนในสถาบันการศึกษาพร้อมๆ กัน ทหารจะสามารถปราบปรามเสื้อแดงด้วยกองกำลังได้หรือไม่

สำหรับนักเคลื่อนไหวในไทยในยุคปัจจุบัน มันมีบทเรียนสำคัญจากชีวิต โรซา ลัคแซมเบอร์ค คือ (1) การปฏิรูปที่ทำให้สังคมเดินหน้า ต้องอาศัยพลังการต่อสู้ระดับการปฏิวัติเสมอ ไม่ใช่การประนีประนอมหรือการปรองดอง ความก้าวหน้าหลังการลุกฮือล้มเผด็จการทหารในยุค 14 ตุลา หรือพฤษภา 35 เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความจริงอันนี้ (2) ต้องจัดตั้งองค์กรสังคมนิยมปฏิวัติให้เข้มแข็งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าไม่มีองค์กรณ์แบบนั้นการลุกฮือจะโดนลากเพื่อไปรับใช้อำนาจเดิม (3) นักปฏิวัติทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้องกล้าท้าทาย “ผู้ใหญ่” ทั้งหลายที่เริ่มแปรตัวเป็นคนอนุรักษ์นิยม (4) ถ้าไม่มีการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมสังคมจะวนเวียนอยู่ในความป่าเถื่อนตลอดไป แต่ในขณะเดียวกันนักปฏิวัติต้องสนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวัน และการต่อสู้เพื่อประธิปไตยเสมอ

เชิญอ่านบทความยาวเรื่องนี้ได้ที่นี่ http://bit.ly/2BYxAyd

โรซา ลัคแซมเบอร์ค สตรีนักปฏิวัติ

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักวิชาการในปัจจุบันที่กล่าวถึง โรซา ลัคแซมเบอร์ค มักจะบิดเบือนประวัติและผลงานของสตรีนักปฏิวัติคนนี้ โดยพยายามสร้างภาพว่าเขาเป็นคนที่ปฏิเสธการต่อสู้แบบสุดขั้วตามแนวมาร์คซิสต์ ในปัจจุบันมีความพยายามจะแยกเขาออกจากนักต่อสู้มาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี้ โดยคนที่ชอบพูดว่าสังคมนิยมมันหมดยุคไปแล้ว

rosa-luxemburg

อย่างไรก็ตาม โรซา ลัคแซมเบอร์ค เป็นนักปฏิวัติที่กล้าท้าทายกระแสหลักตลอดเวลา ตอนเป็นสาววัย 27 ปี เขากล้าเขียนบทความท้าทายพวก “ผู้ใหญ่” ในพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมัน เช่น คาร์ล เคาท์สกี และเอดวาร์ด เบิรน์สไตน์ เพราะมองว่าพวกนั้นเป็นพวกนักปฏิรูปที่ยอมจำนนต่อทุนนิยม

แนวคิดของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันในยุคนั้นมีความขัดแย้งในตัว คือทั้งๆ ที่เสนอว่า “ต้องปฏิวัติล้มระบบทุนนิยม” ในรูปธรรมกิจกรรมประจำวันของพรรคจะเป็นรูปแบบการค่อยๆ กดดันให้มีการปฏิรูปทุนนิยมผ่านรัฐสภา ไม่ใช่ล้มระบบ ในที่สุดคนอย่าง เอดวาร์ด เบิรน์สไตน์ ก็เสนอว่าทฤษฏีของมาร์คซ์ และเองเกิลส์ “ผิดพลาด” ตรงที่มองว่าต้องปฏิวัติทุนนิยม เพราะ เบิรน์สไตน์ มองว่าตอนนั้นในเยอรมันสามารถค่อยๆ เปลี่ยนแปลงระบบผ่านการเลือกตั้งในรัฐสภาได้

โรซา ลัคแซมเบอร์ค เขียนไว้ในบทความ  “ปฏิรูป หรือ ปฏิวัติ?” เพื่อเถียงกับพวกสังคมนิยมอนุรักษ์นิยมที่ชอบกล่าวหานักปฏิวัติมาร์คซิสต์ว่ารอแต่วันปฏิวัติในขณะที่ไม่สนใจการต่อสู้ประจำวัน….

“สังคมนิยมมาร์คซิสต์ต่อต้านการปฏิรูปที่ค่อยเป็นค่อยไปจริงหรือ?  เราสามารถนำการปฏิวัติสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมปัจจุบันโดยสิ้นเชิงและเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเรา มาเปรียบเทียบและหาข้อแตกต่างกับการปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปได้หรือไม่? เราทำไม่ได้โดยเด็ดขาด!! การต่อสู้ประจำวันเพื่อการปฏิรูป เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ประจำวันของชนชั้นกรรมาชีพภายในกรอบของสังคมปัจจุบัน หรือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นโอกาสเดียวของชาวสังคมนิยมที่จะลงมือร่วมสู้ในสงครามชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อบรรลุจุดเป้าหมายสุดท้าย คือการยึดอำนาจทางการเมืองและการทำลายระบบการจ้างงาน สำหรับชาวสังคมนิยม การปฏิรูปทางสังคมและการปฏิวัติมีสายใยผูกพันเชื่อมโยงที่ไม่สามารถตัดขาดได้  วิธีการต่อสู้คือ ผลักดันการปฏิรูปเล็กๆน้อยๆ แต่เป้าหมายคือการปฏิวัติ”

แต่ในขณะเดียวกัน โรซา ลัคแซมเบอร์ค วิจารณ์พวกสังคมนิยมอนุรักษ์นิยมที่มองว่าการปฏิรูปค่อยเป็นค่อยไปเป็นทางเลือกใหม่ ที่ทำให้การปฏิวัติไม่จำเป็นแล้ว เขาอธิบายว่าถ้าไม่มีพลังที่จะผลักดันการปฏิวัติ การปฏิรูปจะไม่เกิดเลย…

“ชะตากรรมของประชาธิปไตย  ผูกพันกับชะตากรรมของชนชั้นกรรมาชีพ  แต่การพัฒนาประชาธิปไตยทำให้การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพหรือการยึดอำนาจทางการเมืองโดยกรรมกรไม่จำเป็น หรือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้จริงหรือ?…การปฏิรูปกฎหมายและการปฏิวัติไม่ใช่วิธีการที่แตกต่างกันในกระบวนการทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป้าหมายเดียวกันแต่อย่างใด มันไม่เหมือนการเลือกไส้กรอกร้อนหรือไส้กรอกเย็นในร้านค้า การปฏิรูปทางกฎหมายและการปฏิวัติเป็นปัจจัยที่แตกต่างกันในการพัฒนาสังคมชนชั้นจริง  แต่ทั้งสองจะมีผลกระทบซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นควบคู่กันไป และในขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน เหมือนขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้ หรือชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ การปฏิรูปกฎหมายทุกชนิดเป็นผลจากการปฏิวัติ ในประวัติของชนชั้น การปฏิวัติเป็นการสร้างสรรค์ทางการเมือง การปฏิรูปจึงไม่มีพลังของมันเองที่สามารถแยกออกจากการปฏิวัติได้”

rluxemburgcpwz

นอกจากนี้ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ย้ำเสมอว่าประชาธิปไตยภายใต้ทุนนิยมเป็นสิ่งที่เราควรต่อสู้เพื่อได้มาหรือปกป้องไว้ ทั้งๆที่มันไม่ใช่สังคมนิยม…

“ถ้ามองจากมุมมองของนายทุน บางครั้งเขาจะไม่ให้ความสำคัญกับระบบประชาธิปไตย หรือเขาอาจรำคาญกับระบบนี้ด้วยซ้ำ แต่สำหรับชนชั้นกรรมาชีพ ระบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำคัญเพราะรูปแบบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบนี้ เช่นการบริหารตนเองและสิทธิในการลงคะแนนเสียง ชนชั้นกรรมาชีพสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการแปรรูปทุนนิยมได้ ฉะนั้นระบบประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นกรรมาชีพ เนื่องจากการใช้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตยในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นทางเดียวที่จะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเกิดจิตสำนึกในผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง และภาระทางประวัติศาสตร์ของชนชั้นตนเอง ถ้าจะสรุปสั้นๆ ประชาธิปไตยไม่ได้มีความสำคัญเพราะจะทำให้การยึดอำนาจโดยชนชั้นกรรมาชีพไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่เพราะมันทำให้การปฏิวัติยึดอำนาจดังกล่าวมีความจำเป็นและความเป็นไปได้ต่างหาก”

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้นในปี 1914 พวกนักสังคมนิยมที่เคยพูดในนามธรรมว่าต้านสงคราม กลับหันไปรับแนวชาตินิยมของชนชั้นนายทุนท่ามกลางกระแสปลุกสงคราม มีแต่ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ สหายใกล้ชิดของเขาชื่อ คาร์ล ลีบนิค ที่กล้าค้านสงครามจนต้องติดคุก

karlandrosa

หลังสงครามสิ้นสุดลงท่ามกลางการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 กระแสปฏิวัติในประเทศต่างๆ ของยุโรปพุ่งสูง มีการเดินขบวนของทหารเรือติดอาวุธร่วมกับคนงานท่าเรือที่เมือง เคียล์ หลังจากนั้นมีการตั้งกรรมการทหาร ในเมือง บเรเมน, แฮนโนเวอร์, โคโลน, ไลป์ซิก, ดเรสเดน และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย ทหารชั้นล่างกับคนงานยึดเมือง มิวนิค และมีการประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียดของแคว้น บาวาเรีย ซึ่งอยู่ได้หลายเดือน ส่วนในเมืองหลวง เบอร์ลิน ทหารชั้นล่างติดอาวุธร่วมกับกรรมาชีพถือธงแดงในการเดินขบวน และนักสังคมนิยมอย่าง คาร์ล ลีบนิค ปรากฏตัวที่ระเบียงพระราชวังเพื่อประกาศว่ามีการก่อตั้ง “สาธารณรัฐสังคมนิยม” และเริ่มกระบวนการ “ปฏิวัติโลก” ซึ่งทำให้พระเจ้าไคเซอร์ต้องหนีออกนอกประเทศทันที

Retuschiertes OriginalAufnahmedatum: 1919Aufnahmeort: BerlinMaterial/Technik: FotografieSystematik: Geschichte / Deutschland / 20. Jh. / Weimarer Republik / Januar-Februar 1919 / Spartakus / Liebknecht
Retuschiertes Original
Aufnahmedatum: 1919
Aufnahmeort: Berlin
Material/Technik: Fotografie
Systematik:
Geschichte / Deutschland / 20. Jh. / Weimarer Republik / Januar-Februar 1919 / Spartakus / Liebknecht

พวกสังคมนิยมเยอรมันส่วนใหญ่สองจิตสองใจเรื่องการปฏิวัติ คือแกว่งไปแกว่งมาระหว่างการปฏิวัติกับการปฏิรูประบบเดิม มีแค่ “กลุ่มสันนิบาตสบาร์ตาคัส” ของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค เท่านั้นที่ชัดเจนว่าต้องปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้พึ่งแยกตัวออกจากพวกพรรคสังคมนิยมปฏิรูปก่อนหน้านี้ไม่นาน จึงไม่ได้มีการจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ ในที่สุดไม่เข้มแข็งพอที่จะนำการปฏิวัติได้

ในปลายเดือนธันวาคม 1918 รัฐมนตรีมหาดไทย นอสก์ จากพรรคสังคมนิยม ตัดสินใจสร้างกองกำลังทหารรับจ้าง “ไฟรคอพส์” ที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมคลั่งชาติ เพื่อตระเวนไปทั่วเยอรมันและปราบปรามทำลายขบวนการแรงงานและนักสังคมนิยมปฏิวัติ บางหน่วยของกองกำลังนี้เริ่มใช้ธงสวัสติกะ ซึ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์นาซีภายใต้ฮิตเลอร์

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมันชื่อ เอเบอร์ด จากพรรคสังคมนิยมปฏิรูป วิ่งไปจับมือทันทีกับพวกนายพลเก่า เพื่อ “สร้างความสงบเรียบร้อย” และการสร้างความสงบเรียบร้อยสำหรับระบบทุนนิยมแปลว่าต้องจัดการกับนักปฏิวัติ อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ซึ่งมีฐานสนับสนุนในมวลชนทหารระดับล่างและกรรมาชีพของเมือง เบอร์ลิน

ฝ่ายนายพลและรัฐบาลสร้างเรื่องให้มีการลุกฮือ เพื่อปราบปรามขบวนการปฏิวัติ จน โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ถูกฆ่าทิ้ง มีการโยนศพลงคลองในวันที่ 15 มกราคม 1919 หลังจากนั้นพวกคนชั้นกลางก็เฉลิมฉลองด้วยความดีใจและความป่าเถื่อนตามเคย

01-15b

สำหรับนักเคลื่อนไหวในไทยในยุคปัจจุบัน มันมีบทเรียนสำคัญจากชีวิต โรซา ลัคแซมเบอร์ค คือ (1) การปฏิรูปที่ทำให้สังคมเดินหน้า ต้องอาศัยพลังการต่อสู้ระดับการปฏิวัติเสมอ ไม่ใช่การประนีประนอมหรือการปรองดอง ความก้าวหน้าหลังการลุกฮือล้มเผด็จการทหารในยุค 14 ตุลา หรือพฤษภา 35 เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความจริงอันนี้ (2) ต้องจัดตั้งองค์กรสังคมนิยมปฏิวัติให้เข้มแข็งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าไม่มีองค์กรณ์แบบนั้นการลุกฮือจะโดนลากเพื่อไปรับใช้อำนาจเดิม (3) นักปฏิวัติทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้องกล้าท้าทาย “ผู้ใหญ่” ทั้งหลายที่เริ่มแปรตัวเป็นคนอนุรักษ์นิยม (4) ถ้าไม่มีการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมสังคมจะวนเวียนอยู่ในความป่าเถื่อนตลอดไป แต่ในขณะเดียวกันนักปฏิวัติต้องสนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวัน และการต่อสู้เพื่อปราธิปไตยเสมอ