Tag Archives: โลกร้อน

ทำไมเราต้องสร้างพรรคปฏิวัติ

ทุกวันนี้ในไทยภายใต้สังคมทุนนิยม เราเผชิญหน้ากับวิกฤตร้ายแรงห้าวิกฤตที่ท้าทายชีวิตของพวกเรา คือวิกฤตสิทธิเสรีภาพ วิกฤตค่าครองชีพ วิกฤตจากภัยสงคราม วิกฤตโควิด และวิกฤตโลกร้อน

ที่สำคัญคือวิกฤตเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกัน เพราะต้นกำเนิดคือระบบทุนนิยม

วิกฤตสิทธิเสรีภาพ

ใน 16 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา ทหารและพรรคพวกที่ต้านประชาธิปไตย ได้ทำลายสิทธิเสรีภาพของเราอย่างถ้วนหน้าภายใต้ข้ออ้างเท็จ เช่นการอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักจะฉ้อโกง การอ้างว่าพลเมืองส่วนใหญ่โง่และขาดการศึกษา หรือข้ออ้างเรื่องความมั่นคงหรือเรื่องการปกป้องสถาบันฯ เป็นต้น

คนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยมีจุดยืนหลากหลายเป็นธรรมดา บ้างเชียร์ทักษิณกับเพื่อไทย บ้างไม่ชอบทักษิณแต่เชียร์พรรคก้าวไกล คนทั้งสองกลุ่มนี้มองก้าวพ้นระบบรัฐสภาที่ถูกควบคุมโดยทหารไม่ได้ บางคนออกมาประท้วงเผด็จการ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว แต่ไม่ค่อยมีการประสานกับขบวนการแรงงานหรือคนกลุ่มอื่น และในที่สุดก็จบด้วยการฝากความหวังไว้ที่พรรคฝ่ายค้านกระแสหลักในสภา

ในขณะเดียวกันรัฐบาลเผด็จการกับนายทุนก็ใช้อำนาจรุกรานพื้นที่ของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวก็ออกมาแสดงความไม่พอใจร่วมกับองค์กรเอ็นจีโอ แต่บ่อยครั้งกลุ่มเหล่านี้ไปฝากปัญหาไว้กับรัฐบาล โดยหวังว่ารัฐบาลทหารจะแก้ปัญหาให้ นี่คือการมองโลกแบบแยกส่วน

หลายครั้งมีการวิเคราะห์ต้นเหตุของการทำลายประชาธิปไตยแบบผิดๆ เช่นพวกที่มองว่าไทยอยู่ภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้น บ่อยครั้งมีการฝากความหวังไว้กับสหประชาชาติหรือมหาอำนาจตะวันตก โดยไม่วิเคราะห์ปัญหาของจักรวรรดินิยมและผลประโยชน์ของรัฐทุนนิยมทั่วโลก หลายคนฝันว่าถ้าใช้แนวคิด “เสรีนิยม” เราจะสร้างประชาธิปไตยได้ แต่แนวเสรีนิยมเป็นลัทธิของชนชั้นนายทุนที่ต้องการให้นายทุนมีอำนาจเหนือสังคมผ่านการอ้างกลไกตลาด พร้อมกับกดทับสิทธิเสรีภาพของกรรมาชีพและคนจน หลายคนมองไม่ออกว่าเผด็จการทหารใช้นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม หลายคนมองไม่ออกว่าลัทธิเสรีนิยมในแง่การเมืองเป็นแค่การฝากความหวังไว้กับระบบรัฐสภา

แต่สำหรับพวกเราที่เป็นนักสังคมนิยม เรามองว่าทุนนิยมจะเป็นเผด็จการไม่มากก็น้อย เผด็จการทหารหรือประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทั้งสองดำรงอยู่กับระบบทุนนิยมได้เสมอ ประชาธิปไตยรัฐสภาเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบเท่านั้น เพราะในสถานประกอบการทุกแห่งและในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจไม่มีประชาธิปไตยเลย ยิ่งกว่านั้นกฎหมาย ศาล ตำรวจ และทหาร ไม่ได้อยู่ในมือประชาชน ข้อสรุปคือถ้าจะเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยต้องอาศัยการต่อสู้จากล่างสู่บนเสมอ ไม่ใช่ไปพึ่งพาการเลือกตั้ง พรรคกระแสหลัก หรือรัฐธรรมนูญ แต่ชาวสังคมนิยมจะร่วมสู้กับคนที่ต้องการล้มเผด็จการ หรือเพื่อสิทธิเลือกตั้ง โดยมองว่าการล้มเผด็จการทหารเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อล้มทุนนิยมและสร้างสังคมนิยมในระยะยาว

ถ้าเราจะพยายามเสนอแนวคิดแบบนี้กับมวลชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราต้องมีการจัดตั้งเป็นองค์กร และต้องมีสื่อและระบบที่จะพัฒนาการศึกษาทางการเมืองของสมาชิกของเรา ปัจเจกชนไม่สามารถทำได้

การที่จะวิเคราะห์ลักษณะแท้ของสังคมกับต้นเหตุของปัญหาปัจจุบัน กับการที่จะเสนอแนวทางในการต่อสู้ ต้องอาศัยการคิด อ่าน และการกระทำร่วมกัน ปัจเจกที่โดดเดี่ยวมักจะถูกโน้มน้าวจะฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ยิ่งกว่านั้น ไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่คิดอะไรเองได้คนเดียว ไม่มีศาสดาวิเศษ เพราะการพัฒนาความเข้าใจในโลกมาจากการต่อยอดจากความคิดในอดีต และการถกเถียงทางการเมืองในปัจจุบัน พรรคปฏิวัติแนวสังคมนิยมเป็นองค์กรที่สามารถเป็น “คลังแห่งความรู้จากการต่อสู้ในอดีต” และเป็นพื้นที่ที่นักสังคมนิยมสามารถถกเถียงและร่วมกันหาแนวทางในการต่อสู้ปัจจุบัน และที่สำคัญคือการถกเถียงเรื่องแนวทางสามารถทำในหมู่คนที่มีเป้าหมายเหมือนกันคือการสร้างสังคมนิยมแทนความป่าเถื่อนของทุนนิยม

วิกฤตค่าครองชีพ

ทุกวันนี้ เนื่องจากวิกฤตโควิด การก่อสงคราม และการเน้นแสวงหากำไรอย่างเดียวในระบบทุนนิยม ปัญหาการขนส่ง ปัญหาการผลิต และความขาดแคลนสิ่งของจำเป็น กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผลให้ราคาน้ำมันกับก๊าซ และอาหารพุ่งขึ้น อุตสาหกรรมก็ขาดชิ้นส่วนบางประเภท ในขณะเดียวกันนายทุนที่เลิกจ้างคนในยุคที่มีวิกฤตโควิด ยังไม่สามารถหรือยังไม่ต้องการที่จะเพิ่มการจ้างงาน

ในทุกกรณีนายทุนและรัฐบาลต่างๆ ไม่เคยมองปัญหาดังกล่าวจากจุดยืนประชาชนคนธรรมดาที่เป็นกรรมาชีพหรือเกษตรกร เขาจะมองปัญหานี้จากจุดยืนนายทุนเสมอ ซึ่งมักเน้นความสำคัญของกำไร บ่อยครั้งเมื่อมีความขาดแคลน นายทุนจะฉวยโอกาสขึ้นราคา ซึ่งนำไปสู่เงินเฟ้อและยิ่งมีผลกระทบกับคนจนมากขึ้น ระบบทุนนิยมไม่เคยมีการวางแผนสำหรับสังคม เพื่อให้มีการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่เลย ถ้ามีแผนในบริษัทต่างๆ ก็เพื่อปกป้องกำไรเท่านั้น

ถ้าเราจะเริ่มปกป้องชีวิตของคนธรรมดา เราต้องทำสองอย่างคือ 1. สามารถวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องจากจุดยืนกรรมาชีพ และ 2. ปลุกระดมการต่อสู้ของกรรมาชีพ เช่นการนัดหยุดงาน การประท้วง และการพยายามล้มรัฐบาลเป็นต้น ซึ่งเราก็เห็นการต่อสู้แบบนี้เกิดขึ้นในบางประเทศเช่นศรีลังกา แต่ท่ามกลางการต่อสู้เราต้องสามารถเสนอเป้าหมายที่ชัดเจน คือไม่ใช่แค่เปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้น ไม่ใช่เสนอว่ารัฐบาลใหม่ของนักการเมืองนายทุนคนหน้าใหม่จะแก้ปัญหา เป้าหมายต้องเป็นเรื่องของการเพิ่มอำนาจกรรมาชีพในสังคมเพื่อล้มทุนนิยมในระยะยาว มันเป็นเรื่อง “การเมือง” ทางชนชั้นซึ่งแปลว่าต้องผสมทั้งการต่อสู้ในประเด็นปากท้องกับเรื่องการเมืองเข้าด้วยกัน เราจะเห็นว่าสหภาพแรงงานสู้เรื่องปากท้องได้แต่มักจะไม่ผสมการต่อสู้เรื่องปากท้องกับเรื่องการเมืองเข้าด้วยกัน ดังนั้นต้องมีพรรคสังคมนิยมที่มีสมาชิกที่เข้าไปทำงานการเมืองในสหภาพแรงงาน ซึ่ง“สหภาพคนทำงาน” ที่เป็นองค์กรแนวอนาธิปไตยที่ปฏิเสธการสร้างพรรค ไม่สามารถทำตรงนี้ได้เพราะทำงานการเมืองในสหภาพแรงงานที่ดำรงอยู่แล้วไม่ได้ และสมาชิกมักเคลื่อนไหวแบบปัจเจก

นักมาร์คซิสต์สังคมนิยมไม่ได้มองว่าชนชั้นกรรมาชีพเป็นแค่เหยื่อของทุนนิยม เรามองว่ากรรมาชีพมีพลังที่สามารถล้มทุนนิยมหรือเผด็จการปัจจุบันได้ถ้ามีการจัดตั้งทางการเมือง ดังนั้นการสู้กับระบบเผด็จการทหารและการสู้กับปัญหาค่าครองชีพเป็นเรื่องเดียวกันและต้องทำพร้อมๆ กัน

วิกฤตภัยสงคราม

ในรอบ100ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีปีไหนที่โลกไม่มีสงคราม และสาเหตุไม่ใช่เพราะมันเป็น “ธรรมชาติของมนุษย์” เหมือนที่หลายคนอ้าง สงครามเกิดจากการแย่งชิงผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่มทุนต่างๆ และระหว่างรัฐต่างๆ ที่ร่วมมือกับกลุ่มทุนอย่างใกล้ชิด นี่คือปรากฏการณ์ที่มาร์คซิสต์เรียกว่า “ระบบจักรวรรดินิยม”

ในโลกปัจจุบันระบบจักรวรรดินิยมประกอบไปด้วยมหาอำนาจใหญ่ สหรัฐ สหภาพยุโรป อังกฤษ รัสเซีย และจีน แต่มีอำนาจย่อยด้วย เช่นอินเดีย ออสเตรเลีย ตุรกี ญี่ปุ่น บราซิล ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และแม้แต่ไทย

จักรวรรดินิยมเป็น “ระบบความขัดแย้ง” ระหว่างรัฐต่างๆ ในเศรษฐกิจทุนนิยมโลก โดยที่มีมหาอำนาจที่พยายามข่มขู่ประเทศที่อ่อนแอและเล็กว่า บ่อยครั้งการแข่งขันทางเศรษฐกิจนำไปสู่การแข่งขันทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการสะสมอาวุธ หรือการทำสงคราม ดังนั้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจแยกไม่ออกจากการแข่งขันทางทหารเสมอ

ที่สำคัญคือชนชั้นกรรมาชีพ หรือคนธรรมดา ไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากการแข่งขันดังกล่าว เพราะเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ที่ขูดรีดกดขี่เราทั่วโลก แถมกรรมาชีพจะถูกเกณฑ์ไปฆ่ากรรมาชีพจากประเทศอื่นเพื่อกำไรของนายทุน และกรรมาชีพที่เป็นพลเรือนจะล้มตายจากการทิ้งระเบิดเมืองต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นชนชั้นปกครองจะพยายามหลอกลวงกรรมาชีพให้สนับสนุนรัฐด้วยลัทธิชาตินิยมเสมอ

ในภูมิภาคของเรา จะเห็นการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจตะวันตกกับจีน ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งข่มขู่กันและการสะสมอาวุธ สภาพเช่นนี้กำลังสร้างภัยสงคราม ซึ่งเราต้องเข้าใจอย่างชัดเจนว่าทั้งมหาอำนาจตะวันตกและจีนเป็นประเทศจักรวรรดินิยม กรรมาชีพไม่ควรสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างที่บางคนเสนอ

ในยุโรป การรุกรานยูเครนโดยจักรวรรดินิยมรัสเซีย เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดินิยมสองฝ่ายคือตะวันตกภายใต้นาโต้และสหรัฐ กับรัสเซีย ดังนั้นเราไม่สามารถสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเช่นกัน แต่สื่อกระแสหลักและกระแสรองเช่น“ประชาไท”จะนำเสนอข่าวจากมุมมองจักรวรรดินิยมตะวันตก และชวนให้เราสนับสนุนนาโต้ ผ่านการจงใจมองข้ามการสร้างสถานการณ์ความขัดแย้งโดยนาโต้ อย่างไรก็ตามเราไม่ควรคล้อยตามบางคนที่ปิดหูปิดตาถึงความโหดร้ายของรัสเซียในฐานะจักรวรรดินิยมอีกฝ่าย

การที่มหาอำนาจตะวันตกต้านรัสเซียในยูเครน เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแข่งขันระหว่างตะวันตกกับจีน เพราะระบบจักรวรรดินิยมเป็นระบบที่ครอบคลุมโลก โดยแต่ละอำนาจพยายามสร้างความยิ่งใหญ่ของตนเองเพื่อข่มคู่แข่ง

สถานการณ์สงครามในยูเครนและกระแสความคิดหลักในสังคมไทย ทำให้ปัจเจกชนที่รักความเป็นธรรมค้านกระแสที่ชวนให้เราสนับสนุนนาโต้ค่อนข้างยาก แต่คนที่เป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมปฏิวัติสามารถร่วมกันศึกษาเรื่องจักรวรรดินิยมและกล้ามีจุดยืนที่ตรงข้ามกับกระแสหลักได้ การคัดค้านกระแสชาตินิยมไทยที่มาจากชนชั้นปกครองก็เป็นเรื่องคล้ายๆ กัน

สรุปแล้วการเรียนรู้ร่วมกัน การถกเถียงกัน และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรทางการเมือง ทำให้เราสามารถมีความมั่นใจที่จะต้านแนวคิดกระแสหลักได้

วิกฤตโควิด

การที่มีเครือข่ายพรรคสังคมนิยมทั่วโลกทำให้เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาโควิดได้ดีกว่าคนอื่น เพราะรัฐบาลและกลุ่มทุนบ่อยครั้งจะปกปิดความจริงเกี่ยวกับโรคระบาดเพื่อจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบในการดูแลประชาชน

นักชีววิทยาฝ่ายซ้ายและนักเคลื่อนไหวเรื่องรัฐสวัสดิการได้อธิบายปัญหาไว้ดังนี้ วิกฤตโควิดเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะระบบเกษตรแบบทุนนิยม และการพัฒนาของชนบทที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับเมือง แปลว่ามนุษย์รุกเข้าไปในธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สัมผัสกับสัตว์ป่ามากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งไวรัสที่สำคัญเพราะค้างคาวมีภูมิต้านทานไวรัสสูงและสามารถอยู่กับไวรัสหลายสิบชนิดได้ นอกจากนี้ ระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเลี้ยงหมูหรือไก่ที่มีลักษณะเหมือนกันหลายพันตัว ในคอกขนาดใหญ่ เปิดโอกาสให้ไวรัสกระโดดจากสัตว์ป่าไปสู่สัตว์เลี้ยง และต่อไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น

การเดินทางระหว่างชนบทกับเมือง และที่อยู่อาศัยแออัดในเมือง สำหรับคนที่ต้องไปหางานทำในเมืองก็เพิ่มการระบาดได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสใหม่ๆ มากขึ้น และองค์กรอนามัยโลกก็มองว่าโควิด 19 คงจะไม่ใช่ไวรัสร้ายแรงชนิดสุดท้ายที่จะระบาดไปทั่วโลก

วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด กระทบคนทั้งโลก แต่ในขณะเดียวกันมันเปิดโปงความเหลื่อมล้ำในสังคมทุนนิยมของทุกประเทศ เพราะคนจน คนที่มีสีผิว คนที่มีเชื้อชาติเป็นคนส่วนน้อยของสังคม และแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มคนที่ล้มตายและยากลำบากจากโควิดมากที่สุด สาเหตุสำคัญก็เพราะเป็นคนที่ไม่สามารถกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานจากบ้านได้ ต้องออกไปเลี้ยงชีพทุกวันในงานสกปรกหรืองานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส นอกจากนี้สภาพที่อยู่อาศัยมักจะแออัด และในประเทศที่ไม่มีรัฐสวัสดิการจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขและวัคซีนไม่ได้เพราะยากจนเกินไปหรือตกงาน

สถานการณ์แบบนี้นำไปสู่ข่าวปลอมมากมายในโลกออนไลน์ เช่นเรื่องวัคซีนหรือเรื่องที่มาของโรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อโควิดระบาด รัฐบาลอาจปิดเมือง ปิดงาน หรือปิดโรงเรียน แต่การที่ไม่มีสวัสดิการที่เพียงพอสำหรับคนที่ต้องพักงานทำให้มาตรการนี้ไม่ประสพความสำเร็จ และความหิวโหยกำไรจากการทำงานของกรรมาชีพบังคับให้รัฐบาลเปิดเสรีก่อนที่ภัยโควิดจะหมดไป

จะเห็นได้ว่าวิกฤตโควิดมาจากระบบทุนนิยม และเกี่ยวโยงกับเรื่องเกษตรอุตสาหกรรม ความเหลื่อมล้ำ รัฐสวัสดิการ และการกดขี่คนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เราไม่สามารถสร้างโลกใหม่ที่ไม่มีภัยแบบโควิดได้ถ้าเราไม่เข้าใจปัญหาองค์รวมของทุนนิยมและสู้ในหลายประเด็นพร้อมกัน ซึ่งพรรคปฏิวัติสังคมนิยมเป็นองค์กรที่สู้ในหลายประเด็นพร้อมกันเสมอ

วิกฤตโลกร้อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหาเช่นมีเทน

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย มีพายุมากขึ้นและมีภัยจากไฟไหม้ป่า ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูด CO2  ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือ จะ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิต CO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น แต่ในไทยกระแสต้านโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวที่ประท้วงเผด็จการ หรือในขบวนการสหภาพแรงงาน ในไทยการที่ทหารครองอำนาจรัฐ และคุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่ารัฐบาลจะไม่มีทางเสนอนโยบายก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้เลย

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้น และการต่อสู้กับเผด็จการทหารได้ และชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ เป็นชนชั้นเดียวที่มีพลังทางเศรษฐกิจพอที่จะสามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน แต่แค่การกดดันให้แก้ปัญหาภายในโครงสร้างทุนนิยมมันจะไม่พอ ต้องมีการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อล้มทุนนิยมและเปลี่ยนระบบในที่สุด ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นถ้าไม่มีพรรคปฏิวัติที่มีอิทธิพลในสังคม

พรรค

จากสิ่งที่นำเสนอไปแล้ว จะเห็นเป็นรูปธรรมว่าวิกฤตร้ายแรงห้าวิกฤตที่ท้าทายชีวิตของเราเชื่อมโยงกันเพราะเกิดจากระบบทุนนิยม เราต้องสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและถกเถียงกันเรื่องแนวทางการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนระบบ เราต้องเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มไม่ใช่ปัจเจก พรรคเป็นสะพานที่ดึงประเด็นปัญหาต่างๆ ของทุนนิยมเข้าด้วยกัน และพรรคมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ร่วมกันสู้กับทุกปัญหา แต่ถ้าพรรคจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ เราต้องสร้างและขยายพรรคอย่างต่อเนื่อง เราต้องร่วมกันพัฒนาการศึกษาทางการเมืองเพื่อให้เรามั่นใจมากขึ้น และเราต้องร่วมกันสร้างและพัฒนาสื่อของเราอีกด้วย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ประชุม COP 26 ล้มเหลวในการแก้ปัญหาโลกร้อน

ชื่อของการประชุมสหประชาชาติ COP26 บ่งบอกถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของการประชุมดังกล่าว เพราะประชุมกันมา 26 ครั้งแต่ไม่แก้ปัญหาโลกร้อนเลย ซึ่งเราเห็นชัดในรูปแบบไฟไหม้ป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุร้ายแรง และวิกฤตอากาศเสียจากฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีสองปีที่ผ่านมา

องค์กร IPCC ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศระดับโลก ได้ประกาศว่าปีนี้วิกฤตโลกร้อนถึงขั้นสูงสุด “ไฟแดง” เพราะในปี 2020 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2)ในบรรยากาศโลกสูงถึง 417 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) ซึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งสุดท้ายที่สูงถึงขนาดนี้คือก็เมื่อ 3 ล้านปีมาก่อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหาเช่นมีเทน ก๊าซ CO2 มาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย คาดว่าถ้าไม่มีการแก้ปัญหาจะมีผู้ลี้ภัยภูมิอากาศหลายล้านคน

ปัญหาโลกร้อนเชื่อมโยงกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองในเมืองใหญ่ๆ เพราะมาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนในระบบขนส่ง และไฟไหม้ป่าที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

ทั้งๆ ที่มีการประชุม COP มาเรื่อยๆ และทั้งๆ ที่รัฐบาลต่างๆ สัญญาแบบลมๆ แล้งๆ ว่าจะลดการผลิตก๊าซ CO2 ทุกปี แต่ทุกปีการผลิตก๊าซนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกพวกรัฐบาลและกลุ่มทุนพยายามปฏิเสธปัญหาโลกร้อนทั้งๆ ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเป็นความจริง ต่อมาก็มีการแย่งกันโทษประเทศอื่นๆ เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตน และล่าสุดก็มีการโกหกกันว่าจะใช้กลไกตลาดเสรีกับเทคโนโลจีใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งทำไม่ได้

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูด CO2  ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือเป้าหมาย “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิต CO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง การโกหกทุกคำ พูดไปเพื่อชะลอการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนอันเป็นที่มาของกำไรมหาศาลของกลุ่มทุน

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันนานแล้วว่าถ้าเราจะหลีกเลี่ยงวิกฤตภูมิอากาศร้ายแรง เราจะต้องจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 1.5 OC แต่ในปัจจุบันอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.1 OC และถ้าเราคำนวณผลของคำมั่นสัญญาของผู้นำโลกเรื่องเป้าหมายในการผลิตก๊าซเรือนกระจกในอนาคต อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 2.4 OC

ในเรื่องการเผาถ่านหิน การประชุมCOPแค่สรุปว่าจะลดการใช้ในอนาคต ไม่ใช่ว่าจะเลิกเผาถ่านหินแต่อย่างใด มีแค่สิบประเทศเท่านั้นที่จะเลิกเผาถ่านหิน และหลายประเทศกำลังขยายเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหิน สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มการใช้ถ่านหินจากปีที่แล้วถึง 22% ประเทศจีนก็จะเพิ่มการใช้ถ่านหินเช่นกัน นอกจากนี้การประชุมCOPไม่เอ่ยถึงปัญหาการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเลย

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่ผู้นำต่างๆ สัญญา ไม่เคยแปรไปเป็นความจริงในรูปธรรมเลย และทุกวันนี้ทั่วโลก บริษัทเชื้อเพลิงคาร์บอนได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลต่างๆ ถึง $11ล้านต่อนาที

ผลของการประชุม COP ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะคณะตัวแทนที่ใหญ่ที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือคณะของตัวแทนบริษัทน้ำมัน ก๊าซ กับถ่านหิน ซึ่งมีผู้แทนทั้งหมด 500 คน ในขณะที่ตัวแทนของคนจนในโลกที่สาม หรือตัวแทนของประชาชนที่จะเดือดร้อนที่สุด ไม่สามารถเข้าประชุมได้ สรุปแล้วมันเป็นการประชุมของนายทุนและรัฐบาลพรรคนายทุนเท่านั้น

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น แต่ในไทยกระแสต้านโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวที่ประท้วงเผด็จการ หรือในขบวนการสหภาพแรงงาน

เราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ เป็นชนชั้นเดียวที่มีพลังทางเศรษฐกิจพอที่จะสามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน แต่แค่การกดดันให้แก้ปัญหาภายในโครงสร้างทุนนิยมมันจะไม่พอ ต้องมีการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อล้มทุนนิยมและเปลี่ยนระบบ

แต่ท่ามกลางความล้มเหลวของการประชุมCOP พวกนักการเมืองกระแสหลักอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดีโอบามา หรือพวกเอ็นจีโอ มักจะเสนอว่าเราต้องรณรงค์แก้ปัญหาโลกร้อนภายในระบบทุนนิยมปัจจุบัน

เราไม่สามารถเชื่อมันได้ว่าระบบทุนนิยมปัจจุบัน จะหาทางออกแท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตร้ายแรงที่เผชิญหน้าเราทุกคนในโลก เรานิ่งนอนใจไม่ได้ แค่ดูวิกฤตโควิดที่นำไปสู่การล้มตายของประชาชนโลกประมาณ 5-15 ล้านคน หรือดูสงครามร้ายแรงที่เกิดจากระบบทุนนิยมซ้ำแล้วซ้ำอีกในร้อยปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นภาพ พวกนายทุนและนักการเมืองนายทุนไม่สนใจที่จะปกป้องอะไรนอกจากกำไรและผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าพลเมืองโลกเป็นล้านๆ จะล้มตายหรือเดือดร้อนแค่ไหน

ในไทยการที่ทหารครองอำนาจรัฐ และคุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่ารัฐบาลจะไม่มีทางเสนอนโยบายก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้เลย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็เพิ่งอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก 2 แห่งที่แม่เมาะ

สำนักข่าวBloombergรายงานว่ารัฐบาลไทยสัญญาว่าจะนำประเทศสู่การ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ภายในปี 2050 หรือ 2065 แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตพลังงานสูงถึง 67% และเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนเพื่อผลิตพลังงานอีก23% ในขณะที่แสงแดด ลม และพลังน้ำผลิตแค่ 10% ของพลังงานทั้งหมด

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำอันใหม่ที่เขื่อนสิรินธรที่พึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้า และอีก 16 โครงการคล้ายๆ กัน จะสามารถผลิตไฟฟ้าแค่ 2.7 gigawatts ดังนั้นต้องมีการขยายโครงการแบบนี้ทั่วประเทศในขณะที่เลิกเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนและปิดโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ก๊าซ ถ่านหิน หรือฟืน Biomass

เราสามารถลดการผลิต CO2 และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจัง ด้วยมาตรการรูปธรรม คือ

  1. หยุดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน คือ ก๊าซ ฟืน กับ ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าและหันมาใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับลมแทน และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนในครัวเรือน
  2. พัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟกับรถเมล์ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดกับลม ยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนตัว และลดการใช้เครื่องบิน
  3. ยกเลิกระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่ผลิตก๊าซเรือนกระจก
  4. สร้างงานจำนวนมากมาทดแทนงานเก่าในโรงงานไฟฟ้าและโรงงานประกอบรถยนต์ งานใหม่นี้ต้องช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก เช่นการสร้างและคุมโรงไฟฟ้าแบบใหม่ การลดความร้อนของตึกต่างๆ และการสร้างรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงกับรถเมล์ไฟฟ้า แต่เราไว้ใจบริษัทเอกชนไม่ได้ ต้องเป็นกิจกรรมของภาครัฐภายใต้การควบคุมของประชาชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ชนชั้นปกครองทั่วโลกที่ไม่ยอมแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน

ในไม่กี่วันข้างหน้าจะมีการประชุมนานาชาติ COP26 ที่เมือง Glasgow ประเทศสก็อตแลนด์ แต่เราจะไปคาดหวังอะไรไม่ได้เลยจากการประชุมของผู้แทนชนชั้นปกครองโลกในระบบทุนนิยม เพราะผู้ที่มีอำนาจทั้งหลาย รวมถึงรัฐบาลเผด็จการไทย เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่และชนชั้นตนเองเหนือความอยู่ดีกินดีของพลเมืองโลก นี่คือสาเหตุที่มวลชนในประเทศอังกฤษจะออกมาประท้วงเป็นจำนวนมาก รอบๆ ห้องประชุมCOP26 และที่ลอนดอน

ชื่อของการประชุมสหประชาชาติ COP26 บ่งบอกถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของการประชุมดังกล่าว เพราะประชุมกันมา 26 ครั้งแต่ไม่แก้ปัญหาโลกร้อนเลย ซึ่งเราเห็นชัดในรูปแบบไฟไหม้ป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก

องค์กร IPCC ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศระดับโลก ได้ประกาศว่าปีนี้วิกฤตโลกร้อนถึงขั้นสูงสุด “ไฟแดง” เพราะในปี 2020 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2)ในบรรยากาศโลกสูงถึง 417 ppm (ppm CO2 คือหน่วย ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) ซึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งสุดท้ายที่สูงถึงขนาดนี้คือเมื่อ 3 ล้านปีมาก่อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm

ทั้งๆ ที่มีการประชุม COP มาเรื่อยๆ และทั้งๆ ที่รัฐบาลต่างๆ สัญญาแบบลมๆ แล้งๆ ว่าจะลดการผลิตก๊าซCO2 ทุกปี แต่ทุกปีการผลิตก๊าซนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกพวกรัฐบาลและกลุ่มทุนพยายามปฏิเสธปัญหาทั้งๆ ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเป็นความจริง ต่อมาก็มีการแย่งกันโทษประเทศอื่นๆ เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตน และล่าสุดก็มีการโกหกกันว่าจะใช้กลไกตลาดเสรีกับเทคโนโลจีใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งทำไม่ได้

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย คาดว่าถ้าไม่มีการแก้ปัญหาจะมีผู้ลี้ภัยภูมิอากาศหลายล้านคน

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูดCO2 ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือ จะ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิตCO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง การโกหกทุกคำ พูดไปเพื่อชะลอการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนอันเป็นที่มาของกำไรมหาศาลของกลุ่มทุน

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น เพราะต้นสาเหตุของปัญหามาจากการกอบโกยกำไรโดยกลุ่มทุน และการที่รัฐบาลต่างๆ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเหล่านี้ การแก้ปัญหาโลกร้อนคงจะมีผลกระทบกับกำไรกลุ่มทุนแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ถ่านหิน หรือการประกอบรถยนต์

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ มีพลังทางเศรษฐกิจที่สามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

ในไทยการที่ทหารหัวโบราณหน้าโง่มีอำนาจในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่าประเทศไทยกำลังสวนทางกับประเทศอื่นๆ หลายประเทศทั่วโลก ที่มีนโยบายพลังงานที่ก้าวหน้ากว่า เพราะใครๆ ที่มีสติปัญญายอมรับมานานแล้วว่า การเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้า เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

ในเรื่องโลกร้อน ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) และรัฐบาล ไม่เคยออกมาพูดอะไรที่มีสาระเลย ดังนั้นมันเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่รักประชาธิปไตยที่จะต้องพูดให้ดังที่สุด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแสงแดด รัฐบาลไหนที่ก้าวหน้าและต้องการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลจีของสังคม น่าจะเร่งรีบจัดโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดทั่วประเทศ และเริ่มทยอยปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ประเทศจีนและสเปนตอนนี้กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลจีเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างน่าทึ่ง และค่าผลิตไฟจากแสงแดดในไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องถ้ามีโครงการขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ไฟฟ้าจากแสงแดดสามารถใช้แทนก๊าซในบ้านเรือนได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นค่าผลิตไฟฟ้าในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ไม่เคยคำนึงถึง “ราคา” ที่ต้องจ่ายเมื่อมนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำให้โลกร้อนขึ้น ประเด็นนี้นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์ เข้าใจดี

อย่างไรก็ตามพวกหัวทึบถือปืนที่กำลังคุมกะลาแลนด์ในยุคนี้ เลือกจะไม่สนใจการพัฒนาเทคโนโลจีในสังคม แถมยังแอบรักพลังงานนิวเคลียร์อีกด้วย พลังงานนิวเคลียร์นอกจากจะแพง ทำลายสิ่งแวดล้อม และอันตรายอย่างถึงที่สุดแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย นี่คือสาเหตุที่พวกทหารชอบมัน

กองทัพของประเทศต่างๆ มีส่วนสำคัญในการผลิตก๊าซ คาร์บอนไดออคไซท์ จากการใช้รถถัง เครื่องบิน และเรือรบ องค์กรที่ผลิต CO2 มากที่สุดในโลกคือกองทัพสหรัฐ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราต้องกำจัดทหารออกจากสังคมไทย และลดงบประมาณทหารอย่างถอนรากถอนโคน

ในความเป็นจริงเราสามารถลดการผลิต CO2 และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจัง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม คือ

  1. หยุดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน คือ ก๊าซ ฟืน กับ ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าและหันมาใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับลมแทน
  2. พัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟกับรถเมล์ ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดกับลม และยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนตัว และลดการใช้เครื่องบิน
  3. ยกเลิกระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม
  4. สร้างงานจำนวนมาก ที่ช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก ด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าแบบใหม่ ด้วยการลดความร้อนหรือความเย็นของตึกต่างๆ และด้วยการสร้างรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงกับรถเมล์ไฟฟ้า แต่เราไว้ใจบริษัทเอกชนไม่ได้ ต้องเป็นกิจกรรมของภาครัฐภายใต้การควบคุมของประชาชน
  5. ใช้งบประมาณรัฐในการเปลี่ยนระบบพลังงานในครัวเรือนและในการส่งเสริมการขนส่งมวลชน โดยตัดงบประมาณทหารและคนชั้นสูง และเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย

แต่ทั้งหมดนี้ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและรัฐบาลต่างๆ ในระบบทุนนิยม ซึ่งแสดงให้เห็นเหตุผลว่าทำไมการประชุม COP ล้มเหลวทุกครั้งโดยสิ้นเชิง

ข้อสรุปสำคัญคือการแก้ปัญหาโลกร้อนแก้ไม่ได้ภายใต้ระบบทุนนิยม และแก้ไม่ได้ภายใต้เผด็จการทหาร ดังนั้นต้องมีการล้มระบบเพื่อปกป้องโลกและคนรุ่นต่อไป

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องรณรงค์ ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและพรรคการเมืองก้าวหน้า เพื่อให้มีการเลิกผลิต CO2 และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนทุกชนิด ต้องมีการใช้พลังงานทางเลือก และส่งเสริมการขนส่งมวลชน และต้องมีการประหยัดพลังงาน แต่อย่าไปหวังว่าตามลำพังผู้นำไทยหรือผู้นำโลกจะทำในสิ่งเหล่านี้เลย

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

ทำไมต้องมีการปฏิวัติสังคมนิยม -สามวิกฤตของทุนนิยมปัจจุบัน

ยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งสามวิกฤตที่มาจากลักษณะของระบบทุนนิยม ซึ่งทั้งสามวิกฤตมีผลซึ่งกันและกัน และท้าทายความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งโลก

1. วิกฤตที่หนึ่ง  วิกฤตโควิด

วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด กระทบคนทั้งโลก แต่ในขณะเดียวกันมันเปิดโปงความเหลื่อมล้ำในสังคมทุนนิยมของทุกประเทศ เพราะคนจน คนที่มีสีผิว คนที่มีเชื้อชาติเป็นคนส่วนน้อยของสังคม และแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มคนที่ล้มตายและยากลำบากจากโควิดมากที่สุด สาเหตุสำคัญก็เพราะเป็นคนที่ไม่สามารถกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานจากบ้านได้ ต้องออกไปเลี้ยงชีพทุกวันในงานสกปรกหรืองานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส นอกจากนี้สภาพที่อยู่อาศัยมักจะแออัด และในประเทศที่ไม่มีรัฐสวัสดิการจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขและวัคซีนไม่ได้เพราะยากจนเกินไปหรือตกงาน

คนที่ตกงาน เด็กๆ หรือวัยรุ่นที่ต้องขาดเรียน และคนที่ทำงานในระบบสาธารณสุข จะเสี่ยงต่อปัญหาจิตใจมากขึ้นเนื่องจากชีวิตที่เปลี่ยนไป

ในขณะเดียวกันพวกนายทุนเศรษฐีที่รวยที่สุดมีการเพิ่มทรัพย์สินมหาศาล และบริษัทยาขนาดใหญ่ก็คุมการผลิตวัคซีนภายใต้ความต้องการที่จะเพิ่มกำไรอย่างเดียว

เมื่อโควิดระบาด รัฐบาลอาจปิดเมือง ปิดงาน หรือปิดโรงเรียน แต่ในไม่ช้าแรงกดดันจากกลุ่มทุนจะบังคับให้รัฐบาลเปิดเสรีก่อนที่ภัยโควิดจะหมดไป ซึ่งทำให้โควิดระบาดรอบสองหรือสาม

แต่ที่สำคัญคือวิกฤตโควิดเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะระบบเกษตรแบบทุนนิยม และการพัฒนาของชนบทที่เชื่อมโยงโดยตรงกับเมือง แปลว่ามนุษย์รุกเข้าไปในธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สัมผัสกับสัตว์ป่ามากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งไวรัสที่สำคัญเพราะค้างคาวมีภูมิต้านทานไวรัสสูงและสามารถอยู่กับไวรัสหลายสิบชนิดได้

นอกจากนี้ ระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเลี้ยงหมูหรือไก่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ในคอกขนาดใหญ่ เปิดโอกาสให้ไวรัสกระโดดจากสัตว์ป่าไปสู่สัตว์เกษตร และต่อไปสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น

การเดินทางระหว่างชนบทกับเมือง และที่อยู่อาศัยแออัดในเมือง สำหรับคนที่ต้องไปหางานทำในเมืองก็เพิ่มการระบาดได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสใหม่ๆ มากขึ้น และองค์กรอนามัยโลกก็มองว่าโควิด 19 คงจะไม่ใช่ไวรัสร้ายแรงชนิดสุดท้ายที่ระบาดไปทั่วโลก

ถ้าไม่มีการปรับรูปแบบการเกษตร พัฒนาสภาพชีวิตมนุษย์ และการปกป้องธรรมชาติอย่างจริงจังปัญหานี้จะแก้ไม่ได้ แต่ภายใต้ทุนนิยม การแสวงหากำไรของกลุ่มทุนใหญ่กลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลต่างๆ และกลุ่มทุน

อ่านเพิ่ม: โควิด https://bit.ly/2UA37Cx  

ทุนนิยม กลไกตลาด กับปัญหาโควิด https://bit.ly/3aA9hrF

2. วิกฤตที่สอง วิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร

ก่อนที่โควิดจะระบาด ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกเข้าสู่สภาพถดถอยมาหลายสิบปีแล้ว สาเหตุคือแนวโน้มของระบบที่จะทำให้อัตรากำไรลดลง สืบเนื่องจากการลงทุนมากขึ้นในเครื่องจักรในอัตราที่เร็วกว่าและสูงกว่าการลงทุนในการจ้างกรรมาชีพ กลุ่มทุนต่างๆ โดนกดดันให้ทำเช่นนี้ เพราะการแข่งขันในระบบกลไกตลาดของทุนนิยม กลุ่มทุนไหนไม่ลงทุนแบบนี้ก็จะแข่งกับคู่แข่งไม่ได้ แต่ผลในภาพรวมคือทำให้เศรษฐกิจเสื่อมในระยะยาว และทุกวันนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะอ่อนแอตามด้วยวิกฤตเป็นระยะๆ และรัฐต่างๆ มักจะต้องอุ้มกลุ่มทุนและบริษัทต่างๆ เพื่อไม่ให้ล้มละลาย ซึ่งทำให้เราเห็น “บริษัทซอมบี้” มากมาย คือกึ่งเป็นกึ่งตาย และมีหนี้สินท่วมหัว รัฐเองก็มีหนี้สินเพิ่มจากการอุ้มบริษัทด้วย

พอโควิดระบาด สถานการณ์นี้ร้ายแรงขึ้นหลายเท่า คาดว่าตอนนี้ระบบทุนนิยมโลกเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่แย่กว่าช่วง 1930 เสียอีก คนเริ่มตกงานกันทั่วโลก และรัฐต่างๆ เข้ามาอุ้มกลุ่มทุนต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ช่วยพลเมืองอย่างเพียงพอ แถมมีการวางแผนที่จะตัดค่าแรงเงินเดือน และรัดเข็มขัดตัดระบบสาธารณสุขและสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีก

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ หรือประเทศในยุโรป แต่ลักษณะการเมืองฝ่ายขวายิ่งทำให้สภาพแย่ลงถ้ารัฐบาลปฏิเสธเรื่องโควิด หรือปฏิเสธที่จะใช้งบประมาณช่วยประชาชนในอัตราเพียงพอ ซึ่งต้องทำผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย และการตัดงบทหารหรืองบพวกอภิสิทธิ์ชน

อ่านเพิ่ม: วิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf

3. วิกฤตที่สาม วิกฤตโลกร้อน

วิกฤตโลกร้อนมีผลทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เกิดอากาศร้อนสุดขั้ว อากาศเย็นสุดขั้ว ไฟป่า พายุ น้ำท่วม ฝนแล้ง ฯลฯ อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ และมีส่วนในการผลิตฝุ่นละอองในอากาศด้วย มันจะทำให้การเกษตรล้มเหลวในบางพื้นที่ การประมงมีปัญหา ธรรมชาติและระบบนิเวศน์เสียหายมหาศาล ส่งผลให้ท้าทายสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก เพิ่มความยากจน เพิ่มความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเพิ่มจำนวนผู้ลี้ภัย

วิกฤตโลกร้อนเป็นวิกฤตที่มาจากระบบทุนนิยมโดยตรง เพราะมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทุนนิยม และทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ นายทุน และนักการเมืองส่วนใหญ่ทราบว่ามีปัญหานี้จริง แต่ระบบการแข่งขันในกลไกตลาดแปลว่ากลุ่มทุนใหญ่คิดแต่เรื่องการแสวงหากำไรเฉพาะหน้าโดยไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้เลย และถึงแม้ว่ามีการพูดกันว่าจะลดการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน แต่ในทางรูปธรรมยังไม่มีประเทศไหนที่ทำได้รวดเร็วพอที่จะห้ามวิกฤตนี้ได้

วิธีสำคัญในการลดปัญหาโลกร้อน คือการที่รัฐที่ควบคุมโดยคนธรรมดาตามหลักประชาธิปไตย จะต้องออกมาควบคุมหรือยึดกลุ่มทุนและระบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มทุนเกษตร เพื่อเปลี่ยนเป้าหมายในการผลิตจากการแสวงหากำไร ไปเป็นการตอบสนองทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันในลักษณะที่ปกป้องโลกธรรมชาติ ต้องมีการใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนรถส่วนตัว ต้องใช้รถไฟไฟฟ้าแทนเครื่องบิน ต้องมีการผลิตพลังงานจากแสงแดดและลมพร้อมกับยกเลิกการผลิตพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซ ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่เราไม่มีการเปลี่ยนระบบจากทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยม

อ่านเพิ่ม: สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

นักเคลื่อนไหวไทยควรร่วมต้านปัญหาโลกร้อน https://bit.ly/2ZWipnF

วิกฤตโลกร้อนทับถมซ้อนลงไปกับสภาพวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ และทั้งสามวิกฤตมาจากเนื้อแท้ของระบบทุนนิยม ถ้าเราไม่ร่วมกันเปลี่ยนระบบและโครงสร้างของสังคม มนุษย์ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในสภาพสังคมที่โหดร้ายป่าเถื่อนในอนาคตข้างหน้า

คำพูดของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ว่าเราเผชิญหน้ากับสองทางเลือกคือ “สังคมนิยมหรือความป่าเถื่อน” ดูเหมือนจะตรงกับความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม สภาพย่ำแย่ของโลกปัจจุบันเป็นประกายไฟในการลุกขึ้นสู้ของคนทั่วโลก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ซึ่งเราเห็นใน ไทย ฮ่องกง อัฟริกา ยุโรป สหรัฐ และลาตินอเมริกา การต่อสู้ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือความหวังของเรา

อ่านเพิ่ม: การลุกฮือของมวลชนทั่วโลกในปี 2019 https://bit.ly/2OxpmVr

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักเคลื่อนไหวไทยควรร่วมต้านปัญหาโลกร้อน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในวันที่ 20 กันยายนปีนี้ นักสหภาพแรงงานในประเทศต่างๆ จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต้านปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ

greta_finland_twitter

การประท้วงระดับโลกครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาและคนหนุ่มสาวในรอบปีที่ผ่านมา คนที่มีชื่อเสียงในการจุดประกายเรื่องนี้คือสาวสวีเดนชื่อ เกรตา ธันเบิร์ก​ (Greta Thunberg) นักศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศต่างๆ ได้เดินออกจากห้องเรียนในวันศุกร์ทุกเดือนเพื่อกดดันให้รัฐบาลต่างๆ ให้ความสำคัญกับวิกฤตโลกร้อนที่กำลังก่อตัวขึ้น ต่อมาก็เกิดการประท้วงใหญ่ที่ใช้วิธีสันติ เช่นการปิดถนน ขององค์กร Extinction Rebellion ในหลายประเทศ

exr2

เกรตาและพรรคพวกได้ประกาศเรียกร้องให้คนทำงานและผู้ใหญ่อื่นๆ “นัดหยุดงานทั่วไป” ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน เพื่อเป็นพลังสำคัญในการกดดันรัฐบาลและกลุ่มทุน ดังนั้นนักเคลื่อนไหว นักสหภาพแรงงาน และคนอื่นๆ กำลังเตรียมตัวประท้วงในวันนั้น สหภาพแรงงานบางกลุ่มในเยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ กำลังวางแผนเพื่อเดินออกจากสถานที่ทำงาน บางคนจะนัดหยุดงาน บางคนจะลาพักร้อน และบางคนอาจออกมาตอนพักเที่ยง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในที่ทำงานต่างๆ และการออกมาประท้วงในวันที่ 20 กันยายน คงจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการต่อสู้ที่จะใช้เวลา

D8Kz5kCXYAEjyZz

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น เพราะต้นสาเหตุของปัญหามาจากการกอบโกยกำไรโดยกลุ่มทุน และการที่รัฐบาลต่างๆ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเหล่านี้ ตัวอย่างที่ดีคือรัฐบาลของ ดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ ที่ปฏิเสธข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องเชื้อเพลิงคาร์บอนกับปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ผลร้ายของโลกร้อนในด้านภูมิอากาศ เช่นพายุ น้ำท่วม อุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือฝนแล้ง ล้วนแต่มีผลกระทบกับคนจนมากกว่าคนรวย

FlatMapStillFinal_nasa-e1549853874827

การแก้ปัญหาโลกร้อนคงจะมีผลกระทบกับกำไรกลุ่มทุนแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ถ่านหิน หรือการประกอบรถยนต์ แต่มันสามารถสร้างงานให้คนทำงานได้ เช่นในเรื่องการผลิตวิธีปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแสงแดด การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มการขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัวหรือเครื่องบิน หรือผ่านการปรับบ้านเรือนและตึกทำงานให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเป็นต้น

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ มีพลังทางเศรษฐกิจที่สามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ผ่านการนัดหยุดงาน นี่คือความสำคัญของการที่เกรตาและพรรคพวกประกาศเรียกร้องให้มีการ “นัดหยุดงานทั่วไป” ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วย ที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 385 ppm ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่ม 0.2 องศาทุกสิบปี

ผลคือน้ำแข็งในขั้วโลกเริ่มละลาย เกิดภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก ไฟไม้ป่าเพิ่มขึ้น ผลผลิตทางเกษตรลดลง และมีการสูญพันธ์ของสัตว์จำนวนมาก รวมถึงแมลงที่มีความสำคัญสำหรับการผสมเกสรดอกไม้ เพื่อให้มีการออกผล

3.1.1-Temperature-rise_1280x720

ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก เช่นจากองค์กรสากล IPCC ของสหประชาชาติ แนะนำว่าต้องมีการลดอัตราการผลิตก๊าซ CO2 อย่างเร่งด่วน ในปลายปี ๒๕๖๑ IPCC เสนอว่าเรามีเวลาแค่ 12 ปี ที่จะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิดวิกฤตร้ายแรงที่สุด และ IPCC เตือนว่าต้องมีการเปลี่ยน “ระบบเศรษฐกิจ” อย่างถอนรากถอนโคน

ก๊าซ CO2 นี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ และแหล่งผลิต CO2 หลักๆ คือโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน/น้ำมัน/ก๊าซ และระบบขนส่งที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัวและเครื่องบิน

tnews_1558141107_1624

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

พวกเสรีนิยมกลไกตลาดมีหลายข้อเสนอที่เขาอ้างว่าจะแก้ปัญหาได้ แต่ในโลกจริงจะไม่มีผลเลย เช่นการซื้อขาย “สิทธิที่จะผลิตCO2” ซึ่งเป็นแค่การให้สิทธิกับบริษัทใหญ่ในการผลิตต่อไปแบบเดิม เพราะเขาจะสามารถซื้อ “สิทธิ์ที่จะผลิต CO2”จากประเทศหรือบริษัทที่ยังไม่พัฒนา หรือข้อเสนอว่าต้องใช้ “กลไกราคา” ในการชักชวนให้ทุกฝ่ายลด CO2 แต่กลไกราคาที่เขาเสนอ จะไม่มีวันมีผล เพราะต้องแข่งกับผลประโยชน์กำไรของบริษัทน้ำมัน ซึ่งทำไม่ได้ และการขึ้นราคาน้ำมันหรือเชื้อเพลิงคาร์บอนอื่นๆ ก็แค่ทำให้คนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ มีปัญหาเดือดร้อน

youth-climate-strike-may-24-2019-007-May-25-2019-011
ประท้วงโลกร้อนที่ฟิลิปปินส์ ถ้าเขาทำได้ เราก็ทำได้ในไทย

นักสังคมนิยมเข้าใจว่าต้นตอปัญหาไม่ได้อยู่ที่อุตสาหกรรมหรือความโลภของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ยังยากจน ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศพัฒนาหรือในประเทศยากจน ปัญหาไม่ได้มาจากการที่เราไม่มีเทคโนโลจีที่จะผลิตพลังงานโดยไม่ทำลายโลก เทคโนโลจีเหล่านี้เรามีอยู่แล้ว เช่นการปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแรงคลื่นในทะเล และการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด ปัญหามาจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดที่ตาบอดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และตาบอดถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ส่วนใหญ่ เพราะมุ่งแต่แข่งขันกันเพื่อเพิ่มกำไรอย่างเดียว

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องรณรงค์ ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและพรรคการเมืองก้าวหน้าให้มีการเลิกผลิต CO2 และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนทุกชนิด ต้องมีการใช้พลังงานทางเลือก และส่งเสริมการขนส่งมวลชนอย่างเช่นรถไฟไฟฟ้า และต้องมีการประหยัดพลังงาน แต่อย่าไปหวังว่าตามลำพังผู้นำโลกจะทำในสิ่งเหล่านี้เลย และในไทยการที่เรายังมีเผด็จการทหารที่อาศัยกลไกรัฐสภา ก็เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาโลกร้อนเช่นกัน

นี่คือสาเหตุที่นักเคลื่อนไหวในไทยจะต้องสร้างขบวนการต้านโลกร้อน และร่วมประท้วงในวันที่ 20 กันยายน

 

อ่านเพิ่ม สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

 

 

จุดอ่อนพรรคสามัญชนคือแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเอ็นจีโอ – การแก้ปัญหาโลกร้อนจะไม่ทำให้คนตกงาน

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อไม่นานมานี้ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ แกนนำพรรคสามัญชน เขียนบทความที่เสนอว่าการพัฒนาที่พยายามปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อต้านปัญหาโลกร้อน จะทำให้แรงงานจำนวนมากว่างงานหรือมีรายได้น้อยลง [ดู https://bit.ly/2BUMtUj ] แต่ข้อเสนอนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จะขออธิบายรายละเอียดต่อข้างล่าง

นอกจากนี้มีการเขียนว่าขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองในฝรั่งเศส ออกมาต้าน “นโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน” ของรัฐบาลฝรั่งเศส แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลฝ่ายขวาของฝรั่งเศสพยายามขึ้นภาษีน้ำมัน เพื่อรีดไถเงินจากคนธรรมดาในขณะที่ไม่มีมาตรการการแก้ปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง และรัฐบาลยังลดภาษีให้คนรวยและบริษัทใหญ่อีกด้วย [ดูบทความของผมเกี่ยวกับเสื้อกั๊กเหลือง https://bit.ly/2XyuNab]

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ยังเสนอต่อไปว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและตัวเลข GDP หรือ “ผลิตผลมวลรวม” เพราะการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายมักหนุนเสริม GDP และพร้อมกันนั้นเขาวิจารณ์สหภาพแรงงานไทยที่ไม่ค่อยแสดงความเห็นในเรื่องแบบนี้อีกด้วย นี่คือแนวเอ็นจีโอชัดๆ และมาจากกลุ่มคนที่ไม่ลงไปปลุกระดมให้การศึกษาทางการเมืองกับขบวนการแรงงานอีกด้วย

Small-Is-Beautiful-Cover
จิ๋วแต่แจ๋ว

ความเห็นของ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ สะท้อนแนวคิดของพรรคสามัญชนที่ยังจมอยู่ในแนวคิด “เศรษฐกิจชุมชน” และ “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ตามวิธีคิดเอ็นจีโอ มันเป็นแนวคิดที่มีมุมมองคับแคบ ไม่ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายซ้ายหรือมาร์คซิสต์ที่วิจารณ์ทุนนิยมจากจุดยืนกรรมาชีพคนทำงาน และไม่สนใจพลเมืองส่วนใหญ่ที่ทำงานในเมืองอีกด้วย แนวคิดพรรคสามัญชนสอดคล้องกับแนวเศรษฐศาสตร์จิ๋วแต่แจ๋ว ที่เป็นแนวกรีนฝ่ายขวาที่เกลียดคนธรรมดาเพราะมองว่ามนุษย์ทุกคนทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะอยู่ชนชั้นใด

GreenJobs2

ในเรื่องมาตรการที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน โดยการลดการเผาเชื้อเพลิงคอร์บอนนั้น แทนที่มันจะทำลายงานและทำให้กรรมาชีพมีรายได้น้อยลง มันสามารถที่จะสร้างงานคุณภาพให้ประชาชนเป็นล้านๆ ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารสังคมยึดถื่อผลประโยชน์ของกรรมาชีพและคนจนหรือไม่ ประเด็นใหญ่คืออำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจจะอยู่ในมือชนชั้นใด ถ้าอยู่ในมือของนายทุนใหญ่และคนอย่าง ดอนัลด์ ทรัมป์ โลกเราคงฉิบหายแน่

GettyImages-613835366-1280x720
ทรัมป์ไม่เชื่อเรื่องปัญหาโลกร้อน

มาตรการสำคัญในการแก้ปัญหาโลกร้อนมีหลายอย่าง เช่น การสร้างวิธีผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดและลม โดยผลิตอุปกรณ์เองภายในประเทศ การสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ไฟฟ้าจากลมและแสงแดด แทนการใช้เครื่องบินระหว่างเมืองต่างๆ การสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่ใช้ไฟฟ้าและไม่เก็บค่าบริการจากประชาชน การสร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลชั้นดีเพื่อบริการประชาชนในทุกชุมชน เพื่อลดระยะทางที่ต้องผู้คนต้องเดินทาง การสร้างตึกที่ไม่อมความร้อนมากเกินไปโดยมีโครงสร้างที่กันแสงแดดและเปิดให้อากาศถ่ายเท เพื่อประหยัดพลังงานที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ และการพัฒนาบ้านเรือนและตึกสถานที่ทำงานที่มีอยู่แล้วให้มีสภาพแบบนี้อีกด้วย ฯลฯ

climatejobscover

โครงการแบบนี้ล้วนแต่จะสร้างงานที่มีคุณภาพและความหมายให้กับประชาชนจำนวนมาก และมีการเสนอนโยบายอย่างละเอียดและเป็นรูปธรรมโดยสหภาพแรงงานในอังกฤษและที่อื่น [ดู https://bit.ly/2DMkGrq ] ซึ่งดูเหมือนคนของพรรคสามัญชนไม่ติดตามข่าวหรือข้อมูลสากลจากสื่อก้าวหน้าเลย อันนี้ก็เป็นนิสัยของนักกิจกรรมเอ็นจีโอมานาน

52461564_327215004590008_7594824578283601920_n

ในเรื่องความสำคัญของ GDP หรือ “ผลิตผลมวลรวม” มันสำคัญเพราะมันเป็นเครื่องชี้วัดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจหดตัวคนธรรมดาจะตกงานและเดือดร้อน แต่แน่นอนเราไม่สามารถดูแค่เรื่อง GDP อย่างเดียวโดยไม่ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้หรือความเหลื่อมล้ำ เรื่องนี้ก็กลับมาสู่เรื่องอำนาจในการควบคุมระบบทุนนิยมอีก เพราะถ้าปล่อยให้เศรษฐกิจอยู่ในมือนายทุนมันต้องมีความเหลื่อมล้ำเป็นธรรมดา ดังนั้นเราต้องเพิ่มพลังของกรรมาชีพคนทำงานเพื่อต่อรองกับนายทุน และในที่สุดยึดอำนาจการควบคุมเศรษฐกิจมาอยู่ในมือประชาชนธรรมดา เราต้องเดินหน้าสร้างระบบสังคมนิยมแทนทุนนิยม แต่พรรคสามัญชนไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้เลย

jobsjusticeclimate

แทนที่จะพูดถึงเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจจิ๋วแต่แจ๋ว หรือเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งล้วนแต่มีจุดร่วม เราต้องเข้าใจว่าประชาชนไทยจำนวนมากมีความยากจนและมีความไม่เพียงพอ ประเด็นคือเราจะใช้อำนาจอะไรเพื่อกำกับการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ลดความเหลื่อมล้ำและปกป้องสิ่งแวดล้อม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การวิจารณ์พรรคสามัญชนในบทความนี้ ไม่ควรถูกตีความว่าเราควรสนับสนุนพรรคทหารหรือพรรคที่อวยทหารแต่อย่างใด ผู้เขียนเสนอว่าในวันเลือกตั้งประชาชนที่รักประชาธิปไตยควรเลือกพรรคในเครือข่ายพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคสามัญชน

 

วิกฤตขยะพลาสติกรกโลก

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทุกๆ ปีมีการผลิตพลาสติกเท่ากับน้ำหนักมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ และคาดว่าในปี 2050 จะมีพลาสติกในทะเลมากกว่าปลา นักวิจัยบางคนเสนออีกว่าคนที่กินอาหารทะเลเป็นประจำจะกลืนเศษพลาสติกเล็กๆ จากปลาหมื่นกว่าชิ้น ซึ่งเรายังไม่ทราบว่าจะมีผลอะไรต่อสุขภาพ

Plastic-Pollution-kills-another-Whale-1
ปลาวาฬกลืนพลาสติกจนตาย

ปัญหาขยะพลาสติกได้กลายเป็นวิกฤตสำหรับสิ่งแวดล้อมและความอยู่ดีกินดีของมนุษย์และสัตว์โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะผลผลิตพลาสติกใช้เวลาเป็นศตวรรษก่อนที่มันจะเน่าเปื่อย และเพราะการผลิตพลาสติกในรอบ 50 ปี เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก น้ำอัดลมมักจะขายในขวดแก้วที่ดื่มแล้วส่งกลับไปที่โรงงานเพื่อใช้ต่อไปอีกหลายครั้ง แต่ในยุคนี้ทุกวินาทีโรงงานอุตสาหกรรมของโลกผลิตขวดพลาสติก 16,000 ขวด และบริษัทโคคาโคลาบริษัทเดียวผลิตขวดพลาสติกหนึ่งแสนล้านขวดต่อปี เพราะการผลิตขวดพลาสติกเพื่อใช้ครั้งเดียวถูกกว่าการใช้ขวดแก้วที่ต้องนำไปล้าง

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก เวลาเราจะซื้ออาหารที่ขายกันหน้าปากซอยไปกินที่บ้าน เราจะใช้ปิ่นโตที่ยกไปที่ร้านแล้วให้เขาเติมอาหารลงไป แต่ในยุคนี้เราจะซื้ออาหารในถุงพลาสติกแทน และถุงพลาสติกเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาขยะเช่นกัน

4238772540_49e76baa05_b-640x427

การค้นพบวิธีผลิตพลาสติกผูกพันกับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพราะพลาสติกเป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมัน การขยายตัวของการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และมีทั้งคุณและโทษต่อสังคม ในด้านประโยชน์การผลิตพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลจีทางการแพทย์ได้ และเป็นวัตถุที่มีประโยชน์ในเครื่องมือไฟฟ้า ฯลฯ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของการผลิตขวด หลอด และถุงพลาสติกชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง กลายเป็นวิกฤตสำหรับเราในยุคนี้

กระแสต่อต้านขยะพลาสติกทำให้บริษัทใหญ่และรัฐบาลในบางประเทศปรับตัว เช่นในหลายประเทศของยุโรปมีการพยายามยกเลิกการให้ถุงพลาสติกในร้านค้า หรือลดปริมาณการขายกาแฟในถ้วยพลาสติกเป็นต้น บางแห่งมีการเก็บขยะพลาสติกไปรีไซเคิลหรือไปแปรรูปผ่านการหลอมและใช้ใหม่ แต่ในความเป็นจริง บริษัทใหญ่ใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลแค่ 6.6% ของการผลิตเท่านั้น เพราะการผลิตขวดพลาสติกใหม่ราคาถูกกว่าการรีไชเคิล ยิ่งกว่านั้นราคาขยะพลาสติกตกต่ำลงจนไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะขนไปรีไซเคิล ดังนั้นมีการนำไปฝังดินหรือทิ้งในทะเลแทน

038e996cbd633e061281082d28da26cd

เรื่องเงินเรื่องทองเป็นหัวใจของเรื่อง เพราะในระบบทุนนิยม รูปแบบการผลิตทุกอย่างถูกกำหนดจากปริมาณกำไรที่กลุ่มทุนจะได้ ถ้าการผลิตถุงหรือขวดพลาสติกสร้างกำไรมากกว่าการลดพลาสติก กลุ่มทุนจะทำต่อไปไม่ว่าจะสร้างปัญหาอะไรให้กับชาวโลก

นี่คือสาเหตุที่วิธีการแก้ปัญหาพลาสติกไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมของปัจเจก เพราะไม่ว่าเราจะหาทางลดการใช้พลาสติกและเพิ่มการรีไซเคิลในชีวิตประจำวันของเราแค่ไหน บริษัทใหญ่จะผลิตพลาสติกมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาอยู่ที่เรื่องของการยึดอำนาจการผลิตมาเป็นของประชาชนในรูปแบบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพราะการยึดอำนาจดังกล่าวจากกลุ่มทุนใหญ่เอกชน จะนำไปสู่การผลิตสิ่งของในรูปแบบที่ไม่สร้างปัญหา เช่นการหาทางผลิตพลาสติกที่รีไซเคิลได้จริงๆ หรือที่เปื่อยภายในเวลาอันสั้น ถ้าเราจำเป็นต้องใช้พลาสติกจริงๆ มันจะนำไปสู่การรีไชเคิลหรือกระบวนการผลิตที่คำนึงถึง “ราคา” ของการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การคำนึงถึงกำไรเฉพาะหน้า และนอกจากนี้มันจะนำไปสู่การกลับมาใช้ขวดแก้วหรือปิ่นโตได้

แต่การยึดอำนาจการผลิตมาเป็นของประชาชน กระทำไม่ได้ภายใต้ระบบทุนนิยม เพราะทุนนิยมกดดันให้บริษัทต่างๆ แข่งขันกันในตลาดเพื่อเพิ่มกำไรเฉพาะหน้าเสมอ ดังนั้นเราต้องปฏิวัติล้มทุนนิยมและระบบกลไกตลาดถึงจะสำเร็จ ซึ่งแปลว่าเราต้องรณรงค์สร้างพรรคการเมืองสังคมนิยม โดยเฉพาะในแวดวงชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน เพราะกรรมาชีพมีอำนาจเศรษฐกิจซ่อนเร้น

นอกจากนี้การแก้ปัญหาพลาสติกกระทำไปโดยการเน้นประเด็นปัญหาเดียวแบบแยกส่วนไม่ได้ เพราะการผลิตพลาสติกเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงคาร์บอนเช่นน้ำมัน ซึ่งการเผาเชื้อเพลิงดังกล่าวกำลังสร้างปัญหาโลกร้อนที่ต้องแก้ไขโดยการผลิตพลังงานจากแหล่งอื่นเช่นแสงแดดหรือลม

Medium_plastic-pollution_03

ปัญหาพลาสติกเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำยากจนอีกด้วย และไม่ใช่แค่ในเรื่องการเก็บขยะหรือการที่คนจนต้องอาศัยใกล้ๆ แหล่งขยะพลาสติก เพราะถ้าเราจะลดการใช้ถุง แก้ว หรือขวดพลาสติก เราต้องต่อสู้เพื่อลดชั่วโมงการทำงานของคนส่วนใหญ่ และเพิ่มค่าจ้างอีกด้วย เราทุกคนจะได้มีโอกาสนั่งดื่มหรือกินอาหารในร้านที่ใช้จานหรือแก้วที่ล้างได้ หรืออย่างน้อยไม่เหนื่อยเกินไปจากการทำงานจนขี้เกียจใช้ปิ่นโต

อย่างไรก็ตามทั้งๆ ที่การแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของโลก เช่นเรื่องพลาสติกหรือโลกร้อน ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบถอนรากถอนโคน นั้นไม่ได้แปลว่าเราควรนิ่งเฉยเพื่อรอวันปฏิวัติ แต่เราต้องรณรงค์ในเรื่องแบบนี้และต้อสู้เพื่อการปฏิรูปเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นเราจะไม่มีวันปฏิวัติสังคมได้

ประเทศไทยควรมีโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาพลังงานจากแสงแดด

ใจ อึ๊งภากรณ์

ภายใต้กะลาของเผด็จการทหารไทย จอมเผด็จการประยุทธ์มือเปื้อนเลือด กำลังใช้อำนาจจากกระบอกปืนในการหมุนนาฬิกากลับ เพื่อให้ไทยล้าหลังในเรื่องการผลิตพลังงาน

การที่ทหารหัวโบราณหน้าโง่มีอำนาจในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่าประเทศไทยกำลังสวนทางกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่มีนโยบายพลังงานที่ก้าวหน้า เพราะใครๆ ที่มีสติปัญญายอมรับมานานแล้วว่า การเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้า เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99

ดังนั้นประเด็นเรื่องรัฐบาลทหารสั่งการให้เดินหน้าในโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ และเทพา ไม่ใช่แค่เรื่องผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องปัญหาของเราทั้งประเทศ และปัญหาของชาวโลกด้วย

ในเรื่องนี้ ทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) และรัฐบาล ไม่เคยออกมาพูดเลย ดังนั้นมันเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่รักประชาธิปไตยที่จะต้องพูดให้ดังที่สุดว่า การที่จะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น เป็นผลเสียต่อสังคมไทยทั้งหมด และโลกทั้งโลกอีกด้วย

นอกจากนี้ฝั่งทะเลในภาคใต้ มักจะได้รับผลกระทบจากพายุเป็นประจำ ภาคตะวันออกเฉียงใต้มักจะมีปัญหาฝนแล้ง แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น ภัย “ธรรมชาติ” ดังกล่าวจะร้ายแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

17671733_303

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแสงแดด รัฐบาลไหนที่ก้าวหน้าและต้องการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลจีของสังคม น่าจะเร่งรีบจัดโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดทั่วประเทศ และเริ่มทยอยลดและปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ประเทศจีนและสเปนตอนนี้กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลจีเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างน่าทึ่ง และค่าผลิตไฟจากแสงแดดในไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องถ้ามีโครงการขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยิ่งกว่านั้นค่าผลิตไฟฟ้าในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ไม่เคยคำนึงถึง “ราคา” ที่ต้องจ่ายเมื่อมนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำให้โลกร้อนขึ้น ประเด็นนี้นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์ซ์ เข้าใจดี

p0101170855p1

อย่างไรก็ตามพวกหัวทึบถือปืนที่กำลังคุมกะลาแลนด์ในยุคนี้ เลือกจะไม่สนใจการพัฒนาเทคโนโลจีในสังคม แถมยังแอบรักพลังงานนิวเคลียร์อีกด้วย พลังงานนิวเคลียร์นอกจากจะแพง ทำลายสิ่งแวดล้อม และอันตรายอย่างถึงที่สุดแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย นี่คือสาเหตุที่พวกทหารชอบมัน

กองทัพของประเทศต่างๆ มีส่วนสำคัญในการผลิตก๊าซ คาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) จากการใช้รถถัง เครื่องบิน และเรือรบ องค์กรที่ผลิต CO2 มากที่สุดในโลกคือกองทัพสหรัฐ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราต้องกำจัดทหารออกจากสังคมไทย และลดงบประมาณทหารอย่างถอนรากถอนโคน เพื่อใช้ทรัพยากรในทางที่จะมีประโยชน์ต่อพลเมืองในสังคม เช่นการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด และลม หรือการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงที่พวกอำมาตย์คัดค้านมาตลอด รถไฟความเร็วสูงสามารถช่วยในการลดปัญหาโลกร้อน เพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องนั่งเครื่องบินภายในประเทศ

การที่เรามีรัฐบาลเผด็จการหน้าโง่ที่อวดเก่งและคอยปราบผู้เห็นต่าง แปลว่าเสียงของประชาชนที่มีสติปัญญาและอุดมการณ์ก้าวหน้า มักถูกกลบเสมอ แต่เราไม่ควรยอมแพ้

23923731484_6a62272f7a_o

ทุกคนที่รักประชาธิปไตย เสรีภาพ และความก้าวหน้า ควรสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในขณะนี้

อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2lh31w9 , http://bit.ly/2lY4GXz

สนับสนุนการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปัญหาโลกร้อนเป็นวิกฤติที่จะมีผลกระทบกับมนุษย์ทุกคนในโลกและกับลูกหลานเราอีกด้วย คนในประเทศไทยหนีจากวิกฤตินี้ไม่ได้ การที่โลกเราร้อนขึ้นสองหรือสามองศาในอนาคต จะมีผลมหาศาลกับภูมิอากาศ จะทำให้ฝนแล้งในหลายที่ จนระบบเกษตรหายนะ จะทำให้น้ำท่วมพื้นที่ต่ำๆ เพราะน้ำแข็งในขั้วโลกละลาย และจะทำให้มีพายุร้ายแรงทั่วโลก เพราะมีผลกระทบต่อกระแสน้ำในทะเลและทิศทางลม เราอาจคิดว่าแค่การเพิ่มอุณหภูมิสองหรือสามองศาจะไม่มีผลอะไร แต่ในความเป็นจริงมันจะทำลายความสมดุลของระบบนิเวศน์โลก และก่อให้เกิดวงจรร้ายที่เพิ่มปริมาณความร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ

4400

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลก ได้ ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆด้วยที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 385 ppm (เพิ่มขึ้น 2.1 ppm ต่อปี) ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่ม 0.8 องศา หรือ 0.2 องศาทุกสิบปี

ก๊าซ CO2 นี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ และแหล่งผลิต CO2 หลักๆ คือโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน/น้ำมัน/ก๊าซ และระบบขนส่งที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัวและเครื่องบิน

ถ้าเราจะแก้ปัญหาโลกร้อน จะต้องมีการเปลี่ยนระบบสังคมในเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้คือ

  1. ต้องเปลี่ยนการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมันและก๊าซ มาเป็นการผลิตพลังงานจากลม คลื่น และแสงแดด การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่คำตอบ เพราะอันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าถ่านหินเสียอีก เราต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ประหยัดพลังงานด้วย เช่นรถไฟ แต่ใครจะมีอำนาจในการผลัดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง?
  2. เราต้องนำการวางแผนการผลิตโดยประชาชนส่วนใหญ่ มาใช้แทนกลไกตลาด เพราะการเชิดชูกำไรดุจพระเจ้าจะทำให้เปลี่ยนวิธีการผลิตไม่ได้ ซึ่งแปลว่าเราต้องใช้อำนาจมวลชนมนุษย์เพื่อระงับกลไกตลาด และเพื่อยึดอำนาจรัฐและบริษัทใหญ่จากนายทุน แต่ถ้าสังคมเราอยู่ภายใต้เผด็จการทหาร ประชาชนจะร่วมวางแผนเพื่ออนาคตไม่ได้

tgaevrhxydfrdwa-800x450-nopad

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2lh31w9

การเคลื่อนไหวต้าน “โลกร้อน”

ใจ อึ๊งภารณ์

ปลายเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ที่เมืองปารีส จะมีการประชุมรอบล่าสุดของสหประชาชาติเรื่องปัญหาโลกร้อน ในอดีตที่ผ่านมาการประชุมแบบนี้ไม่เคยมีผลออกมาในรูปธรรมที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมก็ได้แต่ปกป้องกลุ่มทุนใหญ่และผลประโยชน์ของชาติต่างๆ แทนที่จะลงมือแก้ปัญหา

ในขณะเดียวกันปัญหาโลกร้อนก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย และเราอาจใกล้ถึงจุดที่ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนไปอย่างถาวร

ดังนั้นนักเคลื่อนไหวต้านโลกร้อนในยุคปัจจุบันมีแนวโน้มจะกล้าสู้มากขึ้น และเริ่มเลิกตั้งความหวังไว้กับรัฐบาลต่างๆ หรือสหประชาชาติ หลายคนมองย้อนกลับไปที่ในการประชุมสหประชาชาติที่เด็นมาร์คเมื่อปี 2009  ซึ่งไม่มีผลอะไรเลย เขาสรุปว่าการประท้วงประกอลการประชุมคราวนั้น เพียงแต่มีวัตถุประสงค์ที่จะหนุนการล็อบบี้ผู้มีอำนาจโดยเอ็นจีโอใหญ่ ซึ่งเป็นการเสียเวลา

นักเคลื่อนไหวรุ่นปัจจุบันมองว่าไม่ว่าการประชุมที่ปารีสจะตกลงอะไร มันไม่มีวันเพียงพอที่จะแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง ดังนั้นเขาเสนอว่าการประชุมปลายปีนี้เป็นโอกาสที่จะประท้วงและสร้างขบวนการที่เข้มแข็งมากขึ้น ไม่ใช่เพื่อลอบบี้รัฐบาลต่างๆ มีการนัดกันว่าควรมีการประท้วงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกในช่วง 28/29 พฤศจิกายน และหลังจากนั้นนักเคลื่อนไหวในยุโรปจะไปประท้วงที่ปารีสในวันที่ 12 ธันวาคม

ในรอบปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน เช่น 4 แสนคนที่ออกมาในเมืองนิวยอร์ค หรือการเคลื่อนไหวต่อต้านการสกัดก๊าซโดยวิธีที่เรียกว่า “fracking” คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น เพราะต้นสาเหตุของปัญหามาจากการกอบโกยกำไรโดยกลุ่มทุน และการที่รัฐบาลต่างๆ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเหล่านี้ นอกจากนี้ผลร้ายของโลกร้อนในด้านภูมิอากาศ เช่นพายุ น้ำท่วม หรือฝนแล้ง ล้วนแต่มีผลกระทบกับคนจนมากกว่าคนรวย

ในยุคนี้ที่มีวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก และรัฐบาลนายทุนพยายามโยนภาระในการแก้วิกฤตให้กับกรรมาชีพและคนจนโดยทั่วไป คนจำนวนมากเริ่มเห็นว่า ทั้งในเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ และในเรื่องปัญหาโลกร้อน รัฐบาลต่างๆ เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเป็นหลัก การแก้ปัญหาโลกร้อนคงจะมีผลกระทบกับกำไรกลุ่มทุน แต่มันสามารถสร้างงานให้คนทำงานได้ เช่นในเรื่องการผลิตวิธีปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแสงแดด การสร้างทางรถไฟเพื่อเพิ่มการขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัว หรือผ่านการปรับบ้านเรือนและตึกทำงานให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเป็นต้น

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ มีพลังทางเศรษฐกิจที่สามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ผ่านการนัดหยุดงาน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วย ที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 385 ppm (เพิ่มขึ้น 2.1 ppm ต่อปี) ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่ม 0.8 องศา หรือ 0.2 องศาทุกสิบปี

ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก เช่นจากองค์กรสากล IPCC แนะนำว่าต้องมีการลดอัตราการผลิตก๊าซ CO2 ในระดับ 25-40% ภายในสิบปีข้างหน้า

ก๊าซ CO2 นี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อมีการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ และแหล่งผลิต CO2 หลักๆ คือโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน/น้ำมัน/ก๊าซ และระบบขนส่งที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัวและเครื่องบิน

นัก เอ็นจีโอ  “กรีน” บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

พวกเสรีนิยมกลไกตลาดมีหลายข้อเสนอที่เขาอ้างว่าจะแก้ปัญหาได้ แต่ในโลกจริงจะไม่มีผลเลย เช่นการซื้อขาย “สิทธิที่จะผลิตCO2” ซึ่งเป็นแค่การให้สิทธิกับบริษัทใหญ่ในการผลิตต่อไปแบบเดิม เพราะเขาจะสามารถซื้อ “สิทธิ์ที่จะผลิต CO2”จากประเทศหรือบริษัทที่ยังไม่พัฒนา หรือข้อเสนอว่าต้องใช้ “กลไกราคา” ในการชักชวนให้ทุกฝ่ายลด CO2 แต่กลไกราคาที่เขาเสนอ จะไม่มีวันมีผล เพราะต้องแข่งกับผลประโยชน์กำไรของบริษัทน้ำมัน ซึ่งทำไม่ได้ และการขึ้นราคาน้ำมันหรือเชื้อเพลิงคาร์บอนอื่นๆ ก็แค่ทำให้คนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ มีปัญหาเดือดร้อน นอกจากนี้มีการฝันว่าเมื่อน้ำมันเริ่มขาดแคลนเพราะแหล่งน้ำมันเริ่มหมด จะมีการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนโดยอัตโนมัติ แต่ในช่วงหลายสิบปีข้างหน้าจะไม่เกิด และกว่าจะมีผลอย่างจริงจังก็คงสายไปนานแล้ว

นักสังคมนิยมเข้าใจว่าต้นตอปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบอุตสาหกรรมหรือความโลภของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ยังยากจน ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศพัฒนาหรือในประเทศยากจน ปัญหาไม่ได้มาจากการที่เราไม่มีเทคโนโลจีที่จะผลิตพลังงานโดยไม่ทำลายโลก เทคโนโลจีเหล่านี้เรามีอยู่แล้ว เช่นการปั่นไฟฟ้าจากลมหรือแรงคลื่นในทะเล และการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด ปัญหามาจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดที่ตาบอดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และตาบอดถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ส่วนใหญ่ เพราะมุ่งแต่แข่งขันกันเพื่อเพิ่มกำไรอย่างเดียว

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องรณรงค์ ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและพรรคการเมืองก้าวหน้าให้มีการลดการผลิต CO2 ด้วยการใช้พลังงานทางเลือก ด้วยการส่งเสริมการขนส่งมวลชนอย่างเช่นรถไฟ และด้วยการประหยัดพลังงาน แต่อย่าไปหวังว่าตามลำพังผู้นำโลกจะทำในสิ่งเหล่านี้เลย