Tag Archives: ๖ ตุลา

ความจริงเรื่องการปราบปราม ๖ ตุลา และคำโกหกของไชยันต์ ไชยพร

ในเมื่อไชยันต์ไชยพร กล่าวหาเท็จว่านักศึกษาสมัย ๖ ตุลา ๒๕๑๙ จงใจชุมนุมในธรรมศาสตร์เพื่อให้โดนปราบ (โดยที่เขาอ้างถึง ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์) และยังมีการโกหกอีกว่าขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบันจงใจสร้างสถานการณ์ให้โดนปราบในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งไชยยันต์เสนอว่าทำไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมือง และเพื่อป้ายร้ายสถาบันกษัตริย์ เราควรกลับมาดูว่าอาชญากรรมรัฐ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เกิดขึ้นอย่างไร

การปราบปรามในวันที่ ๖ ตุลา กระทำเพื่ออะไร?

นักวิชาการคนแรกที่เสนอคำตอบเรื่องนี้คือ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยมีการอธิบายว่า “เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อมีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่าถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ” ใครมีเจตนาแบบนี้? ป๋วย อธิบายว่าเป็น “ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมือง ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยตนจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม”

ถึงแม้ว่าการปราบปรามในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย “ฝ่ายซ้าย” ในประเทศไทยดังที่ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” และเบเนดิก แอนเดอร์สัน อธิบายว่าสิ่งหนึ่งที่ฝ่ายขวา โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ต้องการคือการหยุดยั้งการประท้วงต่างๆ ของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ที่เขามองว่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฏีที่เสนอว่าพวกฝ่ายซ้ายทำเกินเหตุว่า “การปรับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมให้ดีขึ้น (เช่นการปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ) เกิดขึ้นท่ามกลางความวุ่นวาย แต่การกดดันให้นายจ้างหัวแข็งลงมาเจรจากับลูกจ้างทำได้อย่างไรถ้าไม่นัดหยุดงาน? การกดดันให้รัฐบาลออกมาแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่มีกับบริษัทเหมืองแร่ทำได้อย่างไรถ้าไม่ประท้วง? … ถ้ามองย้อนกลับไป รู้สึกว่าพวกเราทุกคนในยุคนั้นสายตาสั้นเวลาบ่นเรื่องความวุ่นวายเหล่านี้” (คำพูดของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มหาวิทยาลัย Georgetown, Washington 15/2/1977)

นอกจากความต้องการที่จะทำลายฝ่ายซ้ายโดยตรงแล้ว John Girling มองว่าผู้นำกองทัพส่วนใหญ่คิดว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามา ดังนั้นต้องลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยด้วยทุกวิธีทาง ในทำนองเดียวกัน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ เสน่ห์ จามริก มองว่าการปราบปรามครั้งนี้เป็นการหวังทำลายแนว “เสรีนิยม” และ “สังคมนิยม” ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ลงมือกระทำคือกลุ่ม “อนุรักษ์นิยม” ที่ยังคุมอำนาจรัฐอยู่และไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง

ในช่วง ๕ ธันวาคมปี ๒๕๑๙ กษัตริย์ภูมิพลได้แสดงความพึงพอใจกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา และอ้างว่ารัฐประหารเป็น “สิ่งจำเป็น” เพราะประเทศไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งตรงกับความเห็นของทหาร

กษัคริย์ภูมิพลเยี่ยมถนอมที่วัดบวรนิเวศน์

นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์นี้ นักวิชาการต่างประเทศส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของพระราชวังมีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น

This image has an empty alt attribute; its file name is 9vsc.jpg
กษัตริย์ภูมิพลมีบทบาทในการช่วยตำรวจ ตชด สร้างขบวนการลูกเสือชาวบ้าน

วชิราลงกรณ์ให้กำลังใจลูกเสือชาวบ้านในวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ที่ลานพระรูปทรงม้า

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตที่เกิดขึ้น เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย เราจึงต้องสรุปว่า ๖ ตุลา เป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไปเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้ายไทย ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่ามีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียวโดยชนชั้นปกครองไทย เราควรเข้าใจว่าส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีการสร้างกลุ่มพลังฝ่ายขวามาคานนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และฝ่ายซ้าย และมีการฉวยโอกาสตามสถานการณ์

สรุปแล้ว ไชยันต์ ไชยพร ยกเมฆโกหกเรื่อง ๖ ตุลา และป้ายสีขบวนการคนหนุ่มสาวปัจจุบัน และที่น่าเกลียดที่สุดคือการพูดแบบนั้นของ ไชยันต์ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์เท็จเพื่อฟอกตัวเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เป็นอาชญากรรัฐ ซึ่งผลในรูปธรรมคือเชิดชูเผด็จการ และทำให้การสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยทำได้ยากขึ้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

“อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (๒๕๔๔) ISBN 9748858626  https://bit.ly/2dC7Fk2  และ  https://bit.ly/2cSml2g

๖ ตุลา ถึง เผด็จการรัฐสภาของประยุทธ์ ภาพความป่าเถื่อนของชนชั้นปกครองไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

จาก กรณี “ถังแดง” ในสมัยสงครามเย็น ผ่านเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ถึงการกราดยิงเสื้อแดง การจงใจฆ่าชาวมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ และการอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร  สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ สหายภูชนะ สหายกาสะลอง และบิลลี่ ชนชั้นปกครองไทยมือเปื้อนเลือดจาก “อาชญากรรมรัฐ” ซ้ำแล้วซ้ำอีกและเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะสังคมไทยมีวัฒนธรรมลอยนวลของอาชญากรระดับสูงมานาน

ยิ่งกว่านั้นทุกวันนี้เราถูกปกครองโดยรัฐบาลที่มีอาชญากรประยุทธ์เป็นหัวหน้าอีกด้วย

bloody prayut

การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้ายที่ธรรมศาสตร์ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นผลพวงของการลุกฮือล้มเผด็จการในวันที่ ๑๔ ตุลา สามปีก่อนหน้านั้น และรากฐานการลุกฮือของนักศึกษา กรรมาชีพ และเกษตรกรสมัยนั้น มาจากความเหลื่อมล้ำทางอำนาจการเมืองกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็งไว้ภายใต้เผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส คือไม่มีการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย ไม่มีการปรับค่าจ้าง ไม่มีการพัฒนาสภาพการจ้างงาน และไม่มีการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็ขยายตัว นั้นคือสาเหตุที่มวลชนในสมัย ๖ ตุลา ชื่นชมแนวสังคมนิยมในหลากหลายรูปแบบ เพราะสังคมนิยมคือแนวคิดที่ต้องการล้มเผด็จการขุนศึกและนายทุน และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำพร้อมๆ กัน

120126_155008_01

ทุกครั้งที่ประชาชนไทยต้องการเดินหน้าเพื่อพัฒนาสังคมไทย ชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมก็พร้อมจะใช้ความรุนแรงในการปิดกั้นสร้างอุปสรรค์ และชนชั้นกลางที่ได้อภิสิทธิ์ในสังคม ก็พร้อมที่จะสนับสนุนเผด็จการเสมอ ในกรณี ๖ตุลา พวกนี้ก่อม็อบเพื่อฆ่านักศึกษาและฝ่ายซ้าย และในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาก็มีการก่อม็อบสลิ่มเพื่อทำลายประชาธิปไตยเช่นกัน

วิกฤตการเมืองและสภาพไร้ประชาธิปไตยภายใต้ “เผด็จการรัฐสภา” ของประยุทธ์ในปัจจุบัน มาจากการที่ชนชั้นปกครองซีกอนุรักษ์นิยมพร้อมจะใช้ความรุนแรงเพื่อขัดขวางความเจริญของสังคมและการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงานและเกษตรกรรายย่อย

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องชนชั้น และใครที่ปฏิเสธความสำคัญของชนชั้นในสังคมปัจจุบัน ไม่มีวันเสนอทางออกจากปัญหานี้ได้

ประเด็นคือเราจะกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลของอาชญากรรัฐอย่างไร?

จะพึ่งศาลและระบบยุติธรรมหรือ? ระบบตุลาการไทยถูกออกแบบเพื่อมีหน้าที่รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐฝ่ายเดียว ไม่มีบทบาทในการสร้างความยุติธรรมหรือสิทธิเสรีภาพของพลเมืองแต่อย่างใด เราเห็นตัวอย่างมากมายในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมาของการใช้ศาลเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองของทหารเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือการเลือกยุบพรรคการเมืองบางพรรค

จะอาศัยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือ? เราทราบดีว่าพวกเผด็จการพร้อมจะละเมิดรัฐธรรมนูญเสมอ และพร้อมจะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเมื่อทำรัฐประหาร นอกจากนี้การแก้รัฐธรรมนูญในยุคนี้เป็นไปไม่ได้ถ้าเราเล่นตามกติกาทหาร เพราะวุฒิสภาและศาลคอยปกป้องผลประโยชน์ของทหารตลอด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง รากฐานปัญหาอยู่ที่การมองว่าคนไทย ไม่ใช่ “พลเมือง” ที่เท่าเทียมกัน แนวความคิดว่าบางคน “สูง” บางคน “ต่ำ” ถูกผลิตซ้ำโดยพฤติกรรมของทหาร นักการเมือง และนายทุน ทหารระดับนายพลจึงมองว่าตนเองสามารถเข่นฆ่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยได้ตามอำเภอใจ นอกจากนี้การเรียกทหารระดับสูงในสื่อว่า “บิ๊ก” และการใช้คำว่า “ท่าน” นำหน้าพวกอาชญากรรัฐ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมหมอบคลาน

สภาพเช่นนี้แก้ไขได้ด้วยวิธีเดียว นั้นคือการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกรัฐสภา ที่ประกอบไปด้วยคนหนุ่มสาว นักสหภาพแรงงาน และกลุ่มเกษตรกร มันต้องเป็นขบวนการของคนชั้นล่างที่นำกันเอง เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนมันเป็นการละเมิดสิทธิของคนทำงานและคนจนเสมอ พวก “ผู้ใหญ่” หรือชนชั้นกลางที่มีเส้น ไม่ได้มีประสบการณ์ของการถูกลิเมิดสิทธิและการถูกเอารัดเอาเปรียบแบบนี้

ในประเทศต่างๆ ของยุโรป ในเกาหลีใต้ ในญี่ปุ่น และในหลายประเทศของลาตินอเมริกา การกำจัดวัฒนธรรมการลอยนวลหลังอาชญากรรมรัฐ และการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน มาจากการต่อสู้เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยโดยขบวนการเคลื่อนไหวแบบนี้ที่อาศัยพลังทางเศรษฐกิจของสหภาพแรงงาน ดังนั้นตราบใดที่เราไม่เน้นการต่อสู้ทางชนชั้นของมวลชนแบบนี้ เราจะไม่สามารถกำจัดวัฒนธรรมลอยนวล และเราจะไม่สามารถขยายพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนได้

อ่านเพิ่ม

มาร์คซิสต์วิเคราะห์ปัญหาสังคมไทย https://bit.ly/3112djA

เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙  https://bit.ly/2cSml2g

 

เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ไม่ได้เกิดจากคำสั่งของคนเดียว

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๙ จะเห็นว่ายุคนั้นเป็นยุคตงามขัดแย้งอย่างหนักในสงครามเย็น มีการปะทะกันทางอุดมการณ์ระหว่างฝ่ายซ้ายที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม และฝ่ายขวาที่เป็นทั้งสมาชิกของชนชั้นปกครองและผู้ที่สนับสนุนชนชั้นนี้

ถ้าเราพิจารณาบรรยากาศการปะทะกันระหว่างซ้ายกับขวา เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย เราจึงต้องสรุปว่า ๖ ตุลา เป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เกือบทุกคนในชนชั้นปกครองไทยได้มีส่วนในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดในเวลาหลายเดือนก่อนที่จะเกิดเหตุ ไม่ว่าจะผ่านการปลุกระดม ตั้งกองกำลังนอกระบบ หรือการวางแผนทำรัฐประหาร

อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไปเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้ายไทย ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่ามีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียว และมีการพยายามก่อเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อฉวยโอกาสในการปราบปรามฝ่ายซ้าย

นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์นี้ นักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์มีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น

คนส่วนใหญ่ในแวดวงชนชั้นปกครองในยุคนั้นเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ความรุนแรงและการปฏิบัตินอกกรอบของระบบประชาธิปไตยในการสกัดกั้นขบวนการ “สังคมนิยม” ซึ่งในสายตาของเขารวมถึงคนที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยด้วย ดังนั้นเกือบทุกส่วนของชนชั้นนำเห็นชอบกับการตั้งองค์กรลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล และกลุ่มนอกระบบอื่นๆ ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และบางส่วนอาจคาดไม่ถึงว่าจะเกิดอะไรขึ้นในที่สุด

เมื่อระยะเวลาผ่านไป “กลุ่มนอกระบบ” บางกลุ่มกลายเป็นเครื่องมือเฉพาะของซีกหนึ่งของชนชั้นนำเท่านั้น และสิ่งนี้ก่อให้เกิดความแตกแยกแย่งชิงผลประโยชน์กันในหมู่ชนชั้นปกครองเอง ผู้ที่วางแผนก่อรัฐประหารในวันที่ ๖ ตุลา แต่ถูก“คณะปฏิรูปการปกครอง” ตัดหน้าชิงทำรัฐประหารก่อน คือฝ่ายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับกลุ่มนอกระบบทั้งหลาย

พรรคชาติไทย (เช่น ประมาณ อดิเรกสาร และชาติชาย ชุณหะวัณ) ซีกขวาของพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นธรรมนูญ เทียนเงิน กับ สมัคร สุนทรเวช) และนายทหารที่ใกล้ชิดกับอดีตเผด็จการจอมพลถนอม-จอมพลประภาส ได้วางแผนก่อเรื่องเพื่อเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารมาตั้งแต่กลางปี ๒๕๑๙ และการนำจอมพลประภาส และจอมพลถนอมกลับเข้ามาในเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผนนี้ แต่กลุ่มที่ยึดอำนาจจริงๆ ในบ่ายวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ภายใต้ชื่อของ “คณะปฏิรูปการปกครอง” ไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน เป็นกลุ่มของนายทหารที่ไม่เห็นด้วยกับเครือข่าย ถนอม-ประภาส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งสองกลุ่มมัส่วนในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด

ถึงแม้ว่าการปราบปรามในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย “ฝ่ายซ้าย” ในประเทศไทยดังที่ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายขวา โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ต้องการคือการหยุดยั้งการประท้วงต่างๆ ของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ที่เขามองว่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

นอกจากความต้องการที่จะทำลายฝ่ายซ้ายโดยตรงแล้ว ผู้นำกองทัพส่วนใหญ่คิดว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามา ดังนั้นต้องลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยด้วยทุกวิธีทาง

เป็นเรื่องดีที่มีการศึกษาเรื่อง ๖ ตุลา แต่ประเด็นหลักสำหรับยุคปัจจุบันคือ เราจะทำอย่างไรเพื่อยุติอาชญากรรมของรัฐไทยที่กระทำอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคนี้

6 Oct

อ่านเพิ่ม “อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (๒๕๔๔) ISBN 9748858626  https://bit.ly/2dC7Fk2 และ  https://bit.ly/2cSml2g

การจัดการกับอาชญกรรมรัฐไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในวันที่ ๑๔ ตุลาคมปีนี้ พรรคสามัญชน แถลงว่า “ต้องมีการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ผ่านมาทั้งหมด” โดยมีการเสนอว่า

  1. สนับสนุนกระบวนการค้นหาความจริงอย่างรอบด้าน
  2. จัดทำโครงการรำลึกและการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐอย่างเป็นระบบ
  3. ชดเชยผู้เสียหายจากความรุนแรง
  4. ต้องไม่มีการลอยนวลพ้นผิด จะต้องมีการสอบสวน ลงโทษ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยรัฐ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

43950273_1942694965809987_568145699913334784_n

ทั้งๆ ที่ผมสนับสนุนทั้งสี่ข้อนี้ มันมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ ในเกือบทุกเรื่องตอนนี้ มันมีการค้นหาความจริงโดยขบวนการประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว เช่นกรณีเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เป็นต้น [ดู https://bit.ly/2cSml2g ] และผู้ก่อความรุนแรงรายใหญ่ตายไปหมดแล้ว ส่วนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖, พฤษภาคม ๒๕๓๕, การเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ, การฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด และการเข่นฆ่าเสื้อแดง เราล้วนแต่ทราบข้อมูลว่าใครสั่งการและใครควรรับผิดชอบ มันไม่มีอะไรลึกลับ มันไม่มีประวัติศาสตร์ที่ต้องชำระ

col01210959p1

สำหรับ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ผู้นำเผด็จการที่สั่งฆ่าประชาชนตายไปแล้วสองคน แต่ ณรงค์ กิตติขจร ทรราชคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบกับการฆ่าประชาชน ยังมีชีวิตอยู่ เขาควรจะถูกนำมาขึ้นศาล

200px-ณรงค์_กิตติขจร

ณรงค์-กิตติขจร-1
ณรงค์ กิตติขจร

นอกจาก ณรงค์ กิตติขจร แล้ว สุจินดา คราประยูร ผู้สั่งการในการฆ่าประชาชนในพฤษภา ๓๕ ก็ควรจะกลายเป็นผู้ต้องหาด้วย ในกรณีการเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ และการฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด ทักษิณ ชินวัตร จะต้องถูกนำมาขึ้นศาล

hqdefault
สุจินดา คราประยูร

A-0208
ทักษิณ ชินวัตร

และล่าสุดในคดีเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดง อนุพงษ์ เผ่าจินดา, ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ควรจะถูกนำมาขึ้นศาลเช่นกัน

ฆาตกร

แล้วทำไมไม่กล้าพูดกันตรงๆ ? แน่นอนมันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่อย่างน้อยต้องมีการเปิดประเด็นเรื่องนี้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นเป้าหมาย

ปัญหาคือการพูดถึงการ “ชำระประวัติศาสตร์” สามารถถูกใช้เป็นคำพูดที่ดูดี อยู่เคียงข้างความยุติธรรมและประชาธิปไตย แต่ในรูปธรรมกลายเป็นข้ออ้างในการชะลอการลงมือจัดการกับอาชญากร

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพรรรคสามัญชน มันเกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ด้วย เพราะถ้าจะลบผลพวงของรัฐประหารและเผด็จการทหาร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการนำผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาล ซึ่งคงต้องรวมไปถึงคนที่ก่อรัฐประหารด้วย ดังนั้นคงต้องเพิ่มชื่อ สนธิ บุญยรัตกลิน เข้าไปอีกหนึ่งคน

และประเด็นที่ตามมาคือจะนำอำนาจอะไรมาทำ? จะใช้อำนาจอะไรยกเลิกรัฐธรรมนูญทหารและยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี? มันมีอำนาจเดียวที่ชี้ขาดในเรื่องนี้ คืออำนาจของขบวนการมวลชนนอกรัฐสภา

เรื่องแบบนี้พรรคการเมืองที่พูดในลักษณะก้าวหน้าควรจะอธิบายให้ชัดเจนในเรื่อง “อำนาจ” และควรจะพูดว่าพร้อมจะสร้างขบวนการมวลชนหรือไม่ และถ้าไม่พร้อมจะสร้างขบวนการมวลชน คิดว่ายังทำในสิ่งที่ต้องการทำได้หรือไม่ ไม่ใช่พูดว่าจะใช้รัฐสภาจัดการกับผลพวงของเผด็จการโดยไม่คุยเรื่องอุปสรรค์ เพราะถ้าไม่พูดให้ชัดเจน หรือถ้าแอบอยู่หลังคำประกาศว่าจะชำระประวัติศาสตร์ นโยบายต่างๆ ที่ฟังดูดี ก็แค่เป็นคำพูดที่ดูสวยงามแต่ไร้รูปธรรมโดยสิ้นเชิง

 

การมองว่า ๖ ตุลา เป็นฝีมือกษัตริย์ภูมิพล เป็นการมองข้ามบทบาททหารและชนชั้นปกครองไทยโดยทั่วไป

 

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในช่วงนี้มีคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งที่มองว่าการเข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน เป็นผลงานกษัตริย์ภูมิพล การมองแบบนี้เป็นการล้างฟอกความชั่วร้ายของทหารและชนชั้นปกครองไทยโดยทั่วไป ออกจากประวัติศาสตร์

12140816_10153679823789696_7251153885849564790_n

จริงอยู่ นายภูมิพลเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมไทย และพร้อมจะปล่อยให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยถูกเข่นฆ่าเหมือนผักเหมือนปลา เขามีส่วนสำคัญในการร่วมมือกับเผด็จการที่ทำให้สังคมไทยล้าหลังและขาดประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้

แต่เราควรเข้าใจว่านายภูมิพลเป็นคนน่าสมเพช นายภูมิพลอาสาด้วยความเต็มใจที่จะเป็นเครื่องมือของทหาร และสำหรับนายภูมิพลการทำหน้าที่ดังกล่าวสร้างผลประโยชน์ให้ตัวเขาเองมากมาย จนเขาสามารถสะสมทรัพย์สินมหาศาล

สิ่งที่สำคัญคือนายภุมิพลไม่ใช่เจ้านายทหาร ทหารเป็นเจ้านายกษัตริย์ภูมิพลต่างหาก และสิ่งที่ทหารต้องการจากนายภูมิพล คือเขาต้องเล่นละครเทวดา

ในเรื่องเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๔๑๙ นักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณ์ นักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่ากิจกรรมของวังมีส่วนเสริมให้เกิดวิกฤตกาลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรนิเวศน์ในปลายเดือนกันยายนอย่างเปิดเผยเป็นต้น แต่นั้นไม่ต่างจากพฤติกรรมธรรมดาของพวกชนชั้นปกครองฝ่ายขวาคนอื่นๆ ของไทยในยุคสงครามเย็น

th05_03b

คนส่วนใหญ่ในแวดวงชนชั้นปกครองไทยในยุคนั้น ซึ่งรวมถึงทหาร ข้าราชการชั้นสูง นักการเมืองฝ่ายขวา และนักธุรกิจ เห็นว่า “จำเป็น” ที่จะต้องใช้ความรุนแรงและการปฏิบัตินอกกรอบของระบบประชาธิปไตยในการสกัดกั้นขบวนการ “สังคมนิยม” ซึ่งในสายตาของเขารวมถึงคนที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยด้วย ดังนั้นเกือบทุกส่วนของชนชั้นนำเห็นชอบกับการตั้งองค์กรลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล และกลุ่มนอกระบบอื่นๆ ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และบางส่วนอาจคาดไม่ถึงว่าจะเกิดอะไรขึ้นในที่สุด

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกสังคมไทย และวิกฤตที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามเย็นหรือปลายสงครามเวียดนาม เราจะเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทย ทั้งชนชั้น มีความต้องการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาและฝ่ายซ้าย ดังนั้น ๖ ตุลา จึงเป็นการพยายามทำลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ใช่การกระทำขององค์กร สถาบัน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยมีมุมมองที่อาจแตกต่างกันไป เช่นในเรื่องวิธีการที่ควรจะใช้ในการสกัดขบวนการฝ่ายซ้าย มันไม่มีการวาง “แผนใหญ่” เพียงแผนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยเป็นคู่แข่งกันด้วย แต่ละฝ่ายก็พยายามสร้างกลุ่มพลังฝ่ายขวามาคานนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และฝ่ายซ้าย และมีการวางแผนทำรัฐประหาร แต่ละฝ่ายแข่งกันเพื่อคอยฉวยโอกาสตามสถานการณ์ โดยหวังว่ากลุ่มตนเองจะเป็นใหญ่

หนังสือเล่มหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเข้าใจเหตุการณ์ ๖ ตุลา คือหนังสือของ Katherine Bowie เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือชาวบ้าน เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมหลักฐานมหาศาลเกี่ยวกับวิธีการก่อตั้ง ลักษณะ และชะตากรรมของขบวนการลูกเสือชาวบ้านจากงานวิจัยของ Bowie เองในประเทศไทย นับว่าไม่มีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับลูกเสือชาวบ้านที่มีรายละเอียดเท่าเล่มนี้

9VSc

Bowie อธิบายว่าขบวนการลูกเสือชาวบ้านถูกจัดตั้งขึ้นโดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อต่อสู้ทางความคิดกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในชนบท และในปี ๒๕๑๙ คาดว่า 20% ของคนไทยในวัยทำงานเป็นลูกเสือชาวบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการใช้อาวุธสงครามที่ธรรมศาสตร์ กับขบวนการลูกเสือชาวบ้าน และการสนับสนุนขบวนการนี้จากพระราชวังทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ ๖ ตุลา ได้ดีขึ้น

ในปี ๒๕๑๙ ลักษณะของลูกเสือชาวบ้านเปลี่ยนไปจากขบวนการของชาวชนบทเนื่องจากมีการนำชาวเมืองมาเป็นลูกเสือมากขึ้น และในไม่ช้าขบวนการนี้กลายเป็นม็อบคนชั้นกลางซึ่งเป็นเครื่องมือของนักการเมืองฝ่ายขวาบางคน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่รัฐไทยภายหลังการยึดอำนาจในวันที่ ๖ ตุลา เริ่มพยายามสลายขบวนการ และปล่อยให้ตายเอง

ผู้ที่วางแผนก่อรัฐประหารในวันที่ ๖ ตุลา มีอย่างน้อยสามกลุ่ม แต่ “คณะปฏิรูปการปกครอง” ตัดหน้าชิงทำรัฐประหารก่อน เพื่อสกัดกั้นกลุ่มจากพรรคชาติไทยและประชาธิปัตย์ซีกขวาที่ใกล้ชิดกับถนอมและประภาส และสกัดกั้นพวกฝ่ายขวาสุดขั้ว อย่างไรก็ตามพวกนี้อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีรัฐประหารซ้ำตามมาภายในหนึ่งปี

พูดง่ายๆ ส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทยแข่งกันชิงอำนาจตลอดเวลาตามนิสัยเดิม แต่ทุกซีกมีจุดร่วมตรงที่ต้องการปราบฝ่ายซ้ายและคนจน นายภูมิพลก็คอยฉวยโอกาสเอาตัวรอดท่ามกลางสถานการณ์นี้

ดังนั้นเวลาพูดว่า “เหี้ยสั่งฆ่า” จงเข้าใจว่าเหี้ยตัวจริงคือทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากข้าราชการและนักการเมืองชั้นนำ และกษัตริย์เป็นเพียงกิ้งก่าตัวเล็กนั่งอยู่บนหัวเหี้ย แต่กิ่งกาตัวนี้พองตัวให้คอโตสีเข้มและอวดใหญ่ว่าเป็นเทวดา เพื่อรับใช้เจ้านายตัวจริง

จาก ๖ ตุลา ถึงเผด็จการยุคนี้

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราเปรียบเทียบเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ กับ วิกฤตประชาธิปไตยภายใต้เผด็จการทหารยุคนี้ เราจะเห็นชัดว่า “เรื่องประชาธิปไตย” กับเรื่องความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น เป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้

การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้ายที่ธรรมศาสตร์ ในปี ๒๕๑๙ เป็นผลพวงของการลุกฮือล้มเผด็จการในวันที่ ๑๔ ตุลา สามปีก่อนหน้านั้น และรากฐานการลุกฮือของนักศึกษา กรรมาชีพ และเกษตรกรสมัยนั้น มาจากความเหลื่อมล้ำทางอำนาจการเมืองกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็งไว้ภายใต้เผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส คือไม่มีการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย ไม่มีการปรับค่าจ้าง ไม่มีการพัฒนาสภาพการจ้างงาน และไม่มีการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็ขยายตัว แต่ในขณะเดียวกันมีคนรุ่นใหม่ที่ตื่นตัว และไม่ยอมรับสภาพเช่นนี้อีกต่อไป มีคลื่นการนัดหยุดงานของกรรมาชีพเกิดขึ้น นักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น และเกษตรกรเริ่มออกมาประท้วง  นั้นคือสาเหตุที่มวลชนเหล่านี้ชื่นชมแนวสังคมนิยมในหลากหลายรูปแบบ เพราะสังคมนิยมคือแนวคิดที่ต้องการล้มเผด็จการขุนศึกและนายทุน และแก้ไขปัหญาความเหลื่อมล้ำพร้อมๆ กัน

ที่สำคัญคือมีการจัดตั้งคนชั้นล่างในรูปแบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมและยึดอำนาจรัฐ นี่คือสิ่งที่ชนชั้นปกครองไทยรับไม่ได้ และเป็นสาเหตุที่เขาเข่นฆ่าประชาชนและก่อรัฐประหาร

วิกฤตปัจจุบันมีจุดร่วมตรงที่ ข้อเสนอของทักษิณและพรรคไทยรักไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาสังคมให้ทันสมัย พร้อมกับมีการดึงประชาชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนา และประชาชนก็อาศัยระบบการเลือกตั้งเพื่อแสดงความชื่นชมกับนโยบายรูปธรรมของไทยรักไทย การที่ไทยรักไทยครองใจประชาชนผ่านนโยบาย มีผลทำให้ชนชั้นปกครองไทยซีกอนุรักษ์นิยม รับไม่ได้กับประชาธิปไตยและการพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อม เขาหวงสภาพเดิมที่เขาเป็นอภิสิทธิ์ชน

แต่ไทยรักไทยไม่ใช่พรรคฝ่ายซ้ายและไม่ใช่พรรคของคนชั้นล่างแบบ พคท. นี่คือความแตกต่างที่สำคัญ ในยุคไทยรักไทยคนรุ่นตุลาหมดความศรัทธาในแนวสังคมนิยมและพคท.ไปนานแล้ว เพราะ พคท.เป็นฝ่ายแพ้ และมีจุดอ่อนเพราะมีแนวโน้มเป็นเผด็จการ การใช้แนวจับอาวุธแทนการจัดตั้งกรรมาชีพในเมือง ก็เป็นจุดอ่อนที่สำคัญอีกอันหนึ่ง แต่พวกคนเดือนตุลาที่หมดศรัทธา ทิ้งจุดเด่นสำคัญของ พคท. ไป คือความสำคัญในการจัดตั้งมวลชนทางการเมือง ให้เป็นพรรคการเมืองของคนชั้นล่าง หลายคนก็เลยไปหลงรักทักษิณและพรรคนายทุนของเขาแทน แต่ที่แย่กว่านั้นก็คืออดีตคนเดือนตุลาที่กลายเป็นสลิ่มและรับใช้ทหารทุกวันนี้

คนรุ่นตุลาที่หมดความศรัทธาในแนวสังคมนิยม ไม่เคยเข้าใจสังคมนิยมแบบ มาร์คซ์ เองเกิลส์ เลนิน หรือตรอทสกี้ เขารับมาแต่แนวเผด็จการชาตินิยมของสตาลินกับเหมา เกือบทุกคนจึงก้มหัวให้นายทุนและระบบทุนนิยม ทั้งๆ ที่มันเป็นระบบที่สร้างความเหลื่อมล้ำมหาศาล มันเป็นเรื่องตลกที่คนอย่างทักษิณเข้าใจทุนนิยมมากกว่าอดีต พคท. เกือบทุกคน และทักษิณพร้อมจะใช้ทุนนิยมแบบที่ใช้งบประมาณรัฐในการพัฒนาชีวิตคนจน แทนทุนนิยมตลาดเสรี 100% แต่ทักษิณก็ไปไม่ไกล เพราะต่อต้านระบบรัฐสวัสดิการ

ถ้าเราพูดถึงความรุนแรงของชนชั้นปกครองไทย ความโหดร้ายทารุณของตำรวจ ตชด. ในวันที่ ๖ ตุลาที่ธรรมศาสตร์ และของทหารภายใต้ประยุทธ์ที่ราชประสงค์ ก็พอๆ กัน คือใช้อาวุธสงครามฆ่าประชาชนมือเปล่า เป้าหมายคือการทำลายขบวนการประชาชน

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเมื่อเราเปรียบเทียบ ๖ ตุลา กับตอนนี้คือ บทบาทของชนชั้นกลาง เพราะที่สนามหลวงในวันที่ ๖ ตุลา มีม็อบอันธพาลชนชั้นกลางฉลองการเข่นฆ่านักศึกษาอย่างป่าเถื่อนที่สุด ม็อบดังกล่าวมีสองกลุ่มหลักคือ ลูกเสือชาวบ้าน กับพวกนวพล นอกจากนี้มีม็อบคนตกงานหรือนักศึกษาอาชีวะ ที่เป็นกระทิงแดง

และเราก็ทราบดีว่าในวิกฤตปัจจุบัน พวกพันธมิตรปิดสนามบิน และพวกสลิ่มประชาธิปัตย์ที่ทำลายการเลือกตั้ง ก็เป็นคนชั้นกลาง

สรุปแล้วคนชั้นกลางไม่ใช่พลังก้าวหน้า และไม่ใช่ที่พึ่งของนักประชาธิปไตยแต่อย่างใด

ผลพวงของ ๖ ตุลา และการเอาชนะ พคท. ทำให้ไทยมีประชาธิปไตยครึ่งใบที่เน้นระบบอุปถัมภ์ แทนนโยบายทางการเมือง สถานการณ์นี้เริ่มถูกแก้ไขเมื่อมีการรณรงค์ให้ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และการเสนอนโยบายของไทยรักไทย หลังวิกฤตเศรษฐกิจ และหลังการล้มเผด็จการในปี ๒๕๓๕ แต่ในไม่ช้าสังคมไทยก็ถูกหมุนกลับไปสู่ยุคมืดอีก

สาเหตุสำคัญที่ฝ่ายประชาธิปไตยในยุคนี้อ่อนแอเกินไป คือคนที่เรียกตัวเองว่า “ภาคประชาชน” ในขบวนการเอ็นจีโอ ซึ่งหลายคนเป็นอดีตคนเดือนตุลา หันหลังให้กับการจัดตั้งทางการเมือง หันหลังให้กับความคิดทางการเมืองภาพกว้าง ปฏิเสธทฤษฏี ปฏิเสธการยึดอำนาจรัฐ และหันไปตั้งความหวังกับทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตย ในที่สุดก็ถูกลากไปกับกระแสสลิ่ม

นอกจากนี้คนเสื้อแดง ที่เป็นนักประชาธิปไตยรุ่นใหม่ ก็ “ลืม” บทเรียนในการจัดตั้งพรรคของ พคท. และไม่ได้ศึกษาแนวชนชั้น หรือแนวสังคมนิยม จึงอ่อนแอในการนำตนเองอย่างอิสระจาก ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ หรือนักการเมืองพรรคเพื่อไทย

ด้วยเหตุนี้เราไม่ควรแปลกใจที่ปีนี้ พวกปฏิกิริยาที่บริหารธรรมศาสตร์ และพวกทหารมือเปื้อนเลือดที่ปกครองประเทศ ต้องการห้ามไม่ให้เราจัดงาน ๖ ตุลา

เขาต้องการฝังประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน