Tag Archives: 30 บาทรักษาทุกโรค

ถ้าจะสร้างรัฐสวัสดิการในไทย ต้องสร้างพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในช่วงปลายปีที่แล้วมีการจัดสัมมนาวิชาการเรื่องรัฐสวัสดิการในไทย เรื่องการเรียกร้องรัฐสวัสดิการในไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการเสนอมาตั้งแต่สมัย อ.ปรีดี หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และในยุครัฐบาลทักษิณประมาณปี ๒๕๕๑ มีการเสนอว่าไทยควรจะเป็นรัฐสวัสดิการโดย “พรรคแนวร่วมภาคประชาชน” ที่มี “กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน” เป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้งขึ้นมา ในช่วงต่อจากนั้นองค์กร “เลี้ยวซ้าย” มีการรณรงค์เรื่องนี้ต่อไป [ดู http://bit.ly/2rOzlLy ]

การสร้างรัฐสวัสดิการในอังกฤษ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้รัฐบาลพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นมาโดยสหภาพแรงงานอังกฤษ พรรคนี้ได้เสียงข้างมากหลังสงคราม เพราะประชาชนจำนวนมากมองว่าการเสียสละในสงครามจะไม่มีความหมายเลย ถ้าสภาพความเป็นอยู่ของพลเมืองไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างจริงจัง พูดง่ายๆ มันมีกระแสเรียกร้องรัฐสวัสดิการในสังคมที่มาแรง โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน

ก่อนหน้านั้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซีย และกระแสการปฏิวัติแพร่กระจายไปสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรป มีการนัดหยุดงานทั่วไปในหลายประเทศ และมีการพยายามปฏิวัติสังคมนิยมในเยอรมันอีกด้วย ในช่วงนั้นมีทหารผ่านศึกที่ยังถืออาวุธอยู่ในมือจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ เวลาสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ชนชั้นปกครองอังกฤษเกรงกลัวพลังของกรรมาชีพจน รัฐมนตรีคนหนึ่งจากพรรคอนุรักษ์นิยมของนายทุนถึงกับพูดในรัฐสภาว่า “ถ้าเราไม่ยอมให้รัฐสวัสดิการพวกนั้นจะปฏิวัติโค่นล้มระบบ”

ในประเทศสวีเดนมีการสร้างรัฐสวัสดิการหลังสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน และรัฐบาลที่นำรัฐสวัสดิการมาใช้คือรัฐบาลพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน ไม่ต่างจากกรณีอังกฤษ

ในทั้งสองประเทศ สิ่งที่ทำให้รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นได้คือการมีสหภาพแรงงานและขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง และการที่พรรคของคนทำงานได้รับเลือกเป็นรัฐบาลท่ามกลางกระแสเรียกร้องรัฐสวัสดิการ รัฐสวัสดิการไม่ได้เกิดจากความเมตตาของนายทุนหรือรัฐแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่รัฐสวัสดิการมีส่วนช่วยให้นายทุนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ พูดง่ายๆ ถ้ากรรมาชีพและพรรคการเมืองของกรรมาชีพไม่ต่อสู้เพื่อให้เกิดรัฐสวัสดิการมันก็ไม่เกิด

คนที่ปฏิเสธการสร้างพรรคการเมืองในยุคนี้ จะไม่มีวันสร้างรัฐสวัสดิการได้ เพราะจะไม่มีองค์กรทางการเมืองที่มีมวลชนจำนวนมากที่พร้อมใจกันรณรงค์ผลักดันเรื่องนี้ จะมีแต่ปัจเจกชนที่พูดถึงเท่านั้น

คนที่ฝันว่าพรรคการเมืองของฝ่ายทุนจะนำรัฐสวัสดิการแบบอังกฤษหรือสวีเดนเข้ามา ก็จะไม่มีวันสร้างรัฐสวัสดิการเช่นกัน ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับไทยคือประสบการณ์ของการมีรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลนี้นำระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ามาใช้ก็จริง แต่ไม่มีการขยับไปสู่รัฐสวัสดิการแบบครบวงจร ถ้วนหน้า และที่อาศัยการเก็บภาษีในอัตราสูงหรือก้าวหน้าจากคนรวยกับกลุ่มทุน ทักษิณเองก็เคยปฏิเสธว่าจะสร้างรัฐสวัสดิการ และสาเหตุสำคัญคือไม่ต้องการเก็บภาษีในอัตราสูงจากคนรวยหรือนายทุน ทักษิณเองก็ใช้กลไกต่างๆ ในการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี

คนที่ฝันว่ารัฐบาลปฏิกิริยาของทหารเผด็จการ หรือของพรรคประชาธิปัตย์ จะสร้างรัฐสวัสดิการ เป็นคนที่หลอกตนเองอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะทั้งทหารและพรรคประชาธิปัตย์ต่อต้านการใช้งบประมาณรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำหรือการบริการคนส่วนใหญ่ กลุ่มโจรเหล่านี้คัดค้านแม้แต่การปฏิรูประบบสวัสดิการที่รัฐบาลทักษิณเคยทำ เขาเป็นพวกคลั่งกลไกตลาดเสรีและการกอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง

รัฐสวัสดิการจะไม่เกิดในไทย ถ้าทหารยังคุมอำนาจเผด็จการอยู่ หรือถ้ามีการสืบทอดอำนาจทหารผ่าน “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ของพวกเผด็จการ ดังนั้นคนที่ต้องการเห็นรัฐสวัสดิการต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วย

การที่นักวิชาการในไทยรื้อฟื้นเรื่องรัฐสวัสดิการจากการรณรงค์ที่ผมและพรรคพวกเคยทำก่อนรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นเรื่องดี แต่มันไม่พอ เพราะในรูปธรรมต้องมีการสร้างพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่มีฐานในขบวนการแรงงาน และสมาชิกของพรรคนี้ต้องลงไปรณรงค์กับสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวนมาก เพื่อให้เกิดกระแสเรียกร้องรัฐสวัสดิการในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพไทย มันต้องกลายเป็นประเด็นหลักในการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และมันเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สหภาพแรงงานไทยต้องยุ่งกับการเมืองของชนชั้นตนเองมากกว่าที่เคย

บัตรทองกับประชาธิปไตยและกลไกตลาด

ใจ อึ๊งภากรณ์

การที่เครือข่ายเพื่อปกป้องบัตรทองและหลักประกันสุขภาพ ออกมาคัดค้านวิธีการปรับแก้กฏหมายว่าด้วยบัตรทองนั้น เป็นเรื่องดี เพราะเราต้องช่วยกันปกป้องหลักประกันสุขภาพจากการที่จะถูกทำลายโดยเผด็จการทหาร แต่มันมีเรื่องที่เราควรเข้าใจมากกว่านั้น

ประเด็นใหญ่คือรัฐบาลและสภาโจรที่มาจากการทำรัฐประหาร ไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมที่จะแก้ไขกฏหมายอะไรเลย รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพของพลเมือง นอกจากนี้พลเมืองทุกคนควรจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ในการกำหนดอนาคตของหลักประกันสุขภาพ และในการร่วมบริหารระบบสาธารณสุขอีกด้วย

ส่วนการที่ไอ้ไก่อู ปากหมาของเผด็จการ ออกมาพูดว่า “มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง” นั้น ก็แน่นอนละ เรื่องสาธารณสุขมันเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ และในกรณีนี้เป็นเรื่องการเมืองทหารเผด็จการ ที่เผชิญหน้ากับการเมืองประชาธิปไตยของพลเมือง

แต่บางครั้งกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องหลักประกันสุขภาพ จะ “ลืม” ว่าเรามีรัฐบาลเผด็จการ ยิ่งกว่านั้นบางกลุ่มเคยสนับสนุนการทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกด้วย แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในยุคนี้ ไม่มีความชอบธรรมแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าการเลือกสนใจประเด็นการเมืองแบบแยกส่วน ทำให้การปกป้องหลักประกันสุขภาพทำได้ยากขึ้น พูดง่ายๆ ถ้าเราจะปกป้องระบบบัตรทอง และทำให้มันดีขึ้น เราต้องร่วมกันขับไล่เผด็จการทหารด้วย ซึ่งรวมไปถึงการวิจารณ์ระบบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ทหารออกแบบมาในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

การที่องค์กรเอ็นจีโอและองค์กรที่เรียกตัวเองว่า “ภาคประชาชน” มองปัญหาแยกส่วนมาตลอด ทำให้เขาไม่สนใจกระบวนการประชาธิปไตยเท่าที่ควร เพราะเขาอ้างตัวว่าเป็น “ภาคประชาชน” แต่ไม่มีการเลือกตั้งภายในองค์กรแต่อย่างใด และไม่มีการพยายามสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่จะเป็น “ตัวแทน” ของพลเมืองจำนวนมากอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ไม่มีคนอื่นเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ การที่เขาออกมาก็ดีกว่าไม่ทำอะไร

แต่การไม่สนใจระบบ “ประชาธิปไตยแบบผู้แทน” ของพวกนี้ แปลว่าเขาจะมองข้ามวิธีที่จะบริหารการบริการสังคมที่มีการมีส่วนร่วมจริงๆ เพราะถ้าระบบสาธารณสุข หรือระบบการศึกษาจะมีการบริหารแบบประชาธิปไตย นอกจากเราจะต้องมีรัฐบาลและรัฐมนตรีสาธารณสุขและการศึกษาที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีแล้ว ในระดับจังหวัดและชุมชน พลเมืองจะต้องมีสิทธิ์เลือกผู้แทนเข้าไปบริหารโรงพยาบาลและโรงเรียนอีกด้วย ที่สำคัญคือกระบวนการประชาธิปไตยแบบนี้ที่เน้นการเลือกตั้ง ต่างโดยสิ้นเชิงกับการที่องค์กร “ภาคประชาชน” จะเสนอตัวเองเข้าไปมีส่วนในการบริหารโดยไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

การที่องค์กรเอ็นจีโอและ “ภาคประชาชน” มองปัญหาแบบแยกส่วนและภูมิใจที่จะไม่สนใจทฤษฏีเศรษฐกิจหรือการเมืองแต่อย่างใด แปลว่ามีการรับแนวคิดการบริหารระบบสาธารณสุขของนายทุนมาเต็มๆ แนวคิดนี้ที่เรียกว่าแนวคิด “กลไกตลาดเสรี” จะพยายามนำระบบตลาดเข้ามาในการบริการสาธารณะ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการเสนอว่า “ต้อง” มีการแยกฝ่ายที่รับบริการออกจากฝ่ายที่ให้การบริการ ซึ่งในภาษาเศรษฐกิจเรียกว่าการแยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้ขายบริการ (Purchaser-Provider Separation) พูดง่ายๆ แนวคิดนี้มองว่ากระทรวงสาธารณสุขและสาขาย่อยในท้องถิ่นต่างๆ ของกระทรวง ไม่ควรคุมทั้งโรงพยาบาลและระบบบัตรทอง

ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือคำพูดของ ธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ป่วย ที่เสนอว่าเอกชนควรมีส่วนร่วมในการบริการสาธารณสุข [ดู http://bit.ly/2sE0FxA ] อันนี้เป็นความคิดแปรรูป Privatisation ซึ่งนักการเมืองและนักวิชาการฝ่ายขวาทั่วโลกนิยมกัน มันตรงข้ามกับผลประโยชน์คนจนหรือคนธรรมดา มันเข้ากับแนวคิดพวกสลิ่มที่เกลียดชังการบริการประชาชนโดยรัฐ มันสนับสนุนให้กลุ่มทุนเข้ามาได้ประโยชน์จากคนไข้ ผ่านเงินภาษีที่รัฐเก็บจากประชาชน โดยที่เอกชนจะเลือกให้บริการที่สร้างกำไรเท่านั้น และปล่อยให้รัฐแบกภาระกับการบริการอื่นๆ

ระบบสาธารณสุขไม่ควรจะเป็นเรื่องซื้อขาย ไม่ควรจะเป็นแหล่งกำไรให้กลุ่มทุน มันควรจะเป็นสิทธิถ้วนหน้าของพลเมือง

ตั้งแต่ระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคถูกนำมาใช้ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย มันเป็นระบบที่มี “ตลาดภายใน” มาตั้งแต่แรก คือกองทุนบัตรทองจะ “ซื้อ” บริการจากโรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาลเอกชนที่แสวงหากำไร แทนที่จะนำโรงพยาบาลทุกแห่งมาเป็นของรัฐ  แนวคิดนี้ลอกแบบมาจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองฝ่ายขวาในตะวันตก หรือที่เรียกกันว่าแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาด มันเอื้อกับการที่บริษัทเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในระบบสาธารณสุขเพื่อหวังกำไร มันเอื้อกับการนำเข้าระบบคิดค่ารักษาพยาบาล ที่เขาเรียกกันว่าระบบ “ร่วมจ่าย” เพื่อให้ดูดี แต่มันเป็นระบบที่หมุนนาฬิกากลับจากการบริการถ้วนหน้าอย่างเท่าเทียมที่อาศัยงบประมาณจากการเก็บภาษีเท่านั้น มันเอื้อกับการสร้างระบบสาธารณสุขที่มีความแตกต่างกันสำหรับคนจนและคนรวย

แต่ในไทยผู้ที่อ้างว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ” จะไม่กล้าบอกตรงๆว่าเขาสังกัดแนวคิดแบบกลไกตลาดเสรีนิยม หรือแนวคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย มันมีการสร้างภาพโกหกว่าแนวคิดเศรษฐศาสตร์มีแนวเดียว คือแนวของฝ่ายขวา

ระบบสาธารณสุขที่ไม่มีตลาดภายใน เป็นระบบตามแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย อย่างเช่นระบบสาธารณสุขของรัฐสวัสดิการอังกฤษตอนเริ่มแรก ก่อนที่รัฐบาลแทชเชอร์จะทำลายมัน ผู้บริหารโรงพยาบาล และหมอประจำครอบครัว จะคาดการว่าถ้าจะบริการประชาชนในพื้นที่ได้เต็มที่ จะต้องมีงบประมาณเท่าไร และจะมีการปรับตามความเป็นจริงเสมอ โรงพยาบาลต่างๆ และหมอประจำครอบครัว จะอยู่ภายใต้กรรมการสาธารณสุขท้องถิ่นที่มีผู้แทนจากการเลือกตั้ง และผู้แทนจากรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุขจะคำนวนงบประมาณที่ส่วนต่างๆ ควรจะได้ทั่วประเทศ มันไม่มีการซื้อขายบริการแต่อย่างใด มีแต่การเน้นความต้องการของประชาชนเท่านั้น

การนำกลไกตลาดเข้ามา มีผลในการจ้างนักบัญชีและผู้บริหารจำนวนมาก แทนที่จะใช้เงินตรงนั้นเพื่อจ้างหมอและพยาบาลหรือซื้อยาที่จำเป็น มันมีผลทำให้บริษัทเอกชนเข้ามาแสวงหากำไร และมันมีผลในการชู “เงิน” และ “ตลาด” เหนือความต้องการแท้จริงของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวย และพวกที่สนับสนุนแนวคิดฝ่ายขวาแบนี้มักจะดูถูกประชาชนว่าไปหาหมอหรือเข้าโรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น

มันเป็นเรื่องดีที่องค์กรภาคประชาชนคัดค้านระบบร่วมจ่าย แต่เขาควรจะไปไกลกว่านั้น เพื่อรณรงค์ให้มีประชาธิปไตยและการบริการที่ไม่อิงกลไกตลาด ในระบบสาธารณสุขไทย

อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2rOzlLy (โดยเฉพาะหน้า 18)

โปรดฟังอีกครั้ง… ช่วยกันลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญโจร

ใจ อึ๊งภากรณ์

 วันที่ 7 สิงหาคมนี้ทุกคนที่รักประชาธิปไตยควรตบหน้าแก๊งไอ้ยุทธ์และคณะโจร โดยไปลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการทหาร

ถ้าประชาชนจำนวนมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่งอกจากกระบอกปืนอันนี้ มันจะช่วยทำลายความชอบธรรมของเผด็จการอย่างชัดเจน

13728936_1145964815444913_3158334133934371265_n

แต่ในขณะเดียวกัน เราทราบดีว่า “ประชามติ” ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่ไร้เสรีภาพโดยสิ้นเชิง มันไม่ใช่ประชามติประชาธิปไตยแต่อย่างใด เพราะในรูปธรรมมีการสั่งห้ามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญในที่สาธารณะ และมีการจับคุมนักเคลื่อนไหวที่พยายามวิจารณ์ความไม่เป็นประชาธิปไตยของร่างรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง คณะทหารมีความหวังว่าถ้าขู่ประชาชนและพยายามปิดกั้นการแสดงออกหรือข้อถกเถียงต่างๆ ประชาชนจะขานรับการทำลายประชาธิปไตยที่บรรจุไว้ในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

นี่คือสาเหตุที่นักเคลื่อนไหวบางคนอยากให้เราบอยคอตหรืองดออกเสียง ผู้เขียนมีมุมมองต่างคือ เราต้องไปลงคะแนนเสียงไม่รับแทน และถ้าประชาชนส่วนใหญ่ลงคะแนนไม่รับ เราต้องชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารลาออก

แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง เราต้องมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญเถื่อน และเราจะต้องเคลื่อนไหวต่อต้านคณะทหารและอิทธิพลของเผด็จการต่อไปจนกว่าเราจะได้ประชาธิปไตยคืนมา ยิ่งกว่านั้นเราจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยออกไปให้กว้างกว่ายุคทักษิณหรือยุครัฐธรรมนูญปี ๔๐ โดยเฉพาะในเรื่องกฏหมาย 112 กฏหมายคอมพิวเตอร์ และแง่อื่นๆ ของความเป็นเผด็จการในไทยที่ตกข้างจากอดีต

ขอสรุปว่าทำไมเราไม่ความรับร่างรัฐธรรมนูญมีชัยมีดังนี้

(1) อารัมภบทของร่างมีชัย แสดงให้เห็นเจตนาในการโกหกบิดเบือนประวัติศาสตร์และคำจำกัดความของประชาธิปไตยแต่แรก มันถูกออกแบบเพื่อให้ความชอบธรรมแก่คณะทหารโจรที่ปล้นสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยของประชาชนผ่านการทำรัฐประหาร มันถูกออกแบบเพื่อลดอำนาจของผู้แทนและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเพิ่มอำนาจและสืบทอดอิทธิพลของฝ่ายเผด็จการอนุรักษ์นิยม และมันมีการดูถูกประชาชนชาวไทยว่าไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตยอีกด้วย

(2) มาตรา 5 เขียนถึงอำนาจพิเศษที่จะเข้ามาควบคุมรัฐบาลและรัฐสภาในยามที่ทหารมองว่า “ผิดปกติ”  ซึ่งเสียงข้างมากในกลุ่มคนที่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาลนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด

(3) มีการเปิดโอกาสให้คนนอกที่ไม่ใช่ สส. เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในบางสถานการณ์ ถ้าหลังการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดมีนายกรัฐมนตรีทหารหรือคนของทหาร มันก็เป็นโอกาสสำหรับการยืดเวลาปกครองของเผด็จการได้ อย่าลืมว่าคนไทยเสียเลือดเนื้อในอดีตเพื่อให้นายกรัฐมนตรีเป็น สส. และมาจากการเลือกตั้ง

(4) ในเรื่องศาสนามีการเอาใจคนเลวอย่าง “พุทธอิสระ” โดยตัดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก ตัดเรื่องห้ามลิดรอนสิทธิเพราะเหตุการนับถือศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดโอกาสให้กดขี่ศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธนิกายที่ทหารไม่เห็นด้วย

(5) ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ทำลายมาตรฐานการบริการพลเมืองโดยรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องสาธารณสุข พูดง่ายๆ มีการเสนอนโยบายที่ทำลายระบบบัตรทอง หรือที่เคยเรียกกันว่า “30 บาทรักษาทุกโรค”

(6) ในเรื่องการศึกษา มีการตัดสิทธิ์เรียนฟรีในระดับ ม.ปลาย

(7) โครงสร้างการคำนวณจำนวน สส. มีการออกแบบเพื่อให้ประโยชน์กับพรรคประชาธิปัตย์

(8) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งโดยทหารเผด็จการทั้ง 200 คน และมีอายุการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือนานกว่าสภาผู้แทนราษฏร 1 ปี ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้แทนของประชาชน

(9) การแก้รัฐธรรมนูญนี้ในรูปธรรมทำได้ยากมาก เพราะต้องอาศัยเสียงข้างมากของ สส. 500คน และ สว.แต่งตั้ง 200คน รวมกัน นอกจากนี้ต้องอาศัยคะแนนเสียง 20% ของพรรคฝ่ายค้าน และ1/3 ของสว. อีกด้วย ดังนั้นอย่าไปหลงคิดว่าถ้าเรา “รับไปก่อน” เราจะแก้ทีหลังได้ ฝ่ายเผด็จการมันหลอกเราในเรื่องนี้มารอบหนึ่งแล้วในปี ๕๐ ปีนี้เราไม่ความโง่ซ้ำรอบสอง

13417520_1769959999947170_3393365336073478790_n

รัฐ “อธรรมนูญ” ทหาร

ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าดูภาพรวมของความพยายามร่างรัฐอธรรมนูญเผด็จการของแก๊งไอ้ยุทธ์ มันบ่งบอกถึงความสามารถแบบมือ “สมัครเล่น” ของพวกสมุนขี้ข้าเผด็จการที่ถูกจ้างมาเพื่อเขียน และมันบ่งบอกถึงความไร้ปัญญาของทหาร เพราะสิ่งที่พวกนี้คายออกมาแล้วอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงเอกสารคุณภาพต่ำที่ย้ำอคติของตนเองต่อประชาธิปไตย มันไม่ใช่เอกสารสำคัญของผู้มีวุฒิภาวะสำหรับการกำหนดกติกาการบริหารสังคมแต่อย่างใด

ร่างแรกของพวกนี้อ่านเหมือนตำราอนุบาลที่พูดบ่อยๆ ถึง “คนดี” ร่างที่สองมีการเปลี่ยนท่าทีแต่ในหลายแง่แย่กว่าเดิม

ขอยืมการ์ตูนของคุณเซีย ซึ่งหมายความว่าเราไม่ควรเดาว่าคุณเซียเห็นด้วยกับบทความนี้แต่อย่างใด
ขอยืมการ์ตูนของคุณเซีย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณเซียเห็นด้วยกับบทความนี้แต่อย่างใด

อารัมภบทของร่างมีชัย ในสามหน้าแรก เต็มไปด้วยคำโกหกบิดเบือนหลอกลวงที่ออกแบบเพื่อให้ความชอบธรรมแก่คณะทหารโจรที่ปล้นสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยของประชาชนผ่านการทำรัฐประหาร ผู้ร่างหน้าด้านเขียนไว้ว่ารัฐอธรรมนูญนี้จะแก้ปัญหาการที่นักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง “เข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองแล้วใช้อำนาจตามอำเภอใจ” มันตลกร้าย เพราะพวกมันเองเป็นกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับประชาธิปไตยและใช้กำลังในการเข้ามาเพื่อใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งเราเห็นทุกวันในการที่ประยุทธ์มือเปื้อนเลือดใช้มาตรา44 ในเกือบทุกเรื่อง อารัมภบทนี้มีการพูดถึงประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” ซึ่งประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าเป็นคำพูดของเผด็จการและตรงข้ามกับประชาธิปไตย นอกจากนี้มีการโกหกว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความเห็น แต่ความจริงที่ทุกคนรับทราบคือทหารเข้าไปปิดกั้นการประชุมเสวนาพูดคุยถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องประวัติศาสตร์ก็มีการบิดเบือนว่ารัชกาลที่ 7 ยกประชาธิปไตยมาให้คนไทย ทั้งๆ ที่คณะราษฎร์ต้องปฏิวัติล้มการใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ในปี ๒๔๗๕ เพื่อเปิดโอกาสให้เรามีประชาธิปไตย

รัฐอธรรมนูญที่มีอารัมภบทแบบนี้ จะนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร?

ที่น่าสนใจคือในอารัมภบทนี้ เผด็จการทหารดูเหมือนเขียนบทสคริปให้กษัตริย์ประกาศยินดีชื่นชมผลงานระยำของประยุทธิ์ ซึ่งชวนให้สงใสว่าใครเป็นเจ้านายที่แท้จริง

หลังจากอารัมภบทแล้ว มาตรา 5 เขียนถึงอำนาจพิเศษที่จะเข้ามาควบคุมรัฐบาลและรัฐสภาในยามผิดปกติที่คนอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเสียงข้างมากในกลุ่มคนที่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาลนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด

ร่างฉบับนี้ไม่ต่างจากร่างก่อนในการเปิดโอกาสให้คนนอกที่ไม่ใช่ สส. เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในบางสถานการณ์ เช่นตามมาตรา 5 หรือหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามมาตรา 272 ซึ่งตรงนี้อ่านเพิ่มได้ที่ http://ilaw.or.th/node/4068

ถ้าหลังการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดมีนายกรัฐมนตรีทหารหรือคนของทหาร มันก็เป็นโอกาสสำหรับการยืดเวลาปกครองของเผด็จการได้

ในเรื่องศาสนา รัฐอธรรมนูญนี้ตัดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก ตัดเรื่องห้ามลิดรอนสิทธิเพราะเหตุการนับถือศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง “ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” ซึ่งเปิดโอกาสให้กดขี่ศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธนิกายที่ทหารไม่เห็นด้วย ….อ่านเพิ่มได้ที่ http://ilaw.or.th/node/4080

ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ทำลายมาตรฐานการบริการพลเมืองโดยรัฐในหลายแง่ ตามนโยบายคลั่งกลไกตลาดเสรีของพวกอำมาตย์

ในเรื่องสาธารณสุข ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ ในมาตรา 47 ระบุแค่ว่าบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการทำลายนโยบายประกันสุขภาพเดิมที่เคยพูดถึงสิทธิการรักษาพยาบาลถ้วนหน้าอย่างเท่าเทียมกัน มันเป็นการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคที่คนจนต้องขอความช่วยเหลือผ่านการพิสูจน์ความยากจน

ในเรื่องการศึกษา ซึ่งมีคนออกมาวิจารณ์กันมากมาย เช่น พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท

(ดู http://prachatai.com/journal/2016/04/65029)

เราจะเห็นว่ามาตรา 54 ระบุว่ารัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาฟรีเป็นเวลาเพียงสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์เรียนฟรีในระดับ ม.ปลาย

โครงสร้างการคำนวณจำนวน สส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ มีการออกแบบเพื่อให้ประโยชน์กับพรรคขนาดกลาง (พรรคประชาธิปัตย์นั้นเอง) ซึ่งไม่ต่างจากร่างรัฐอธรรมนูญก่อนหน้านี้

วุฒิสภาในร่างรัฐอธรรมนูญนี้มาจากการแต่งตั้งโดยทหารเผด็จการทั้ง 200 คน และมีอายุการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือนานกว่าสภาผู้แทนราษฏร 1 ปี ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้แทนของประชาชน ซึ่งแย่กว่าร่างฉบับก่อนที่เคยให้มีการเลือกตั้งบ้าง

การแก้รัฐอธรรมนูญนี้ในรูปธรรมทำได้ยากมาก เพราะต้องอาศัยเสียงข้างมากของ สส.500คน และ สว.แต่งตั้ง200คน รวมกัน นอกจากนี้ต้องอาศัยคะแนนเสียง 20% ของพรรคฝ่ายค้าน และ1/3 ของสว. อีกด้วย

ตอนท้าย หมวด16 ว่าด้วยการปฏิกูลการเมือง มีการดูถูกประชาชนว่าไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตย ในขณะที่ผู้จงใจไม่เข้าใจประชาธิปไตยที่แท้จริงคือทหาร อำมาตย์ คนที่ร่างรัฐอธรรมนูญนี้ และฝูงชนชั้นกลาง

บทเฉพาะกาลท้ายรัฐอธรรมนูญเป็นการไล่ยาว เพื่อให้ความชอบธรรมกับทหารเผด็จการที่ก่อรัฐประหาร และเพื่อวางรากฐานในการสืบทอดอำนาจต่อไปหลังการเลือกตั้ง

13012612_10153875391656622_3103444526393804048_n

เราควรรณรงค์คัดค้านและคว่ำร่างรัฐอธรรมนูญฉบับมีชัยอันนี้ นอกจากมันเป็นเอกสารที่ทำลายประชาธิปไตยและเสรีภาพแล้ว การลงคะแนน “ไม่รับ”ในประชามติ เป็นโอกาสที่จะตบหน้าทหารเผด็จการด้วย

อย่างไรก็ตามในกรณีที่มันผ่านประชามติที่จัดภายใต้การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก และภายใต้การใช้อำนาจข่มขู่ของเผด็จการ เราควรจะต่อสู้ต่อไปให้มันถูกล้มในที่สุด ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยครั้งนี้ ซึ่งคงใช้เวลา เราควรมีเป้าหมายที่จะทำลายอำนาจเผด็จการของอาชญากรทหารและแนวร่วมอำมาตย์ของมัน ในระยะสั้นการเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญปี ๔๐ กลับมาใช้ชั่วคราวอาจเป็นทางออกที่ดี

เราจะปกป้องและพัฒนาระบบบัตรทองได้อย่างไร?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในอดีตพวกคลั่งกลไกตลาดเสรีพยายามหลายครั้ง ที่จะทำลายอุดมการณ์ระบบสาธารณสุขถ้วนหน้า ที่หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นผู้บุกเบิกในยุครัฐบาลทักษิณ ซึ่งอุดมการณ์นี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ประชาชนชื่นชมรัฐบาลทักษิณในยุคนั้น ล่าสุดรัฐบาลเผด็จการของประยุทธ์ก็พยายามเช่นกัน โดยที่ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสนอเหมือนแผ่นเสียงตกร่องว่าประชาชน “ต้องร่วมจ่าย” ในระบบบัตรทอง โดยอ้างว่ารัฐ “แบกรับไม่ไหว”

ส่วน สุริยะใส กตะศิลา สุนักรับจ้างขององค์กรสลิ่มทุกยุค ก็ออกมาเห่าหอนสนับสนุนรัฐบาลในเรื่องนี้

ทุกคำที่ออกมาจากปากพวกนี้ล้วนแต่เป็นคำโกหกหลอกลวงทั้งสิ้น

ระบบ “๓๐ บาทรักษาทุกโรค” เป็นแนวคิดของคนก้าวหน้าในยุคหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง คนที่ได้ชื่อว่าผลักดันเรื่องนี้จนสำเร็จมากที่สุดคือ หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ซึ่งชื่นชมระบบสาธารณสุขอังกฤษ ในยุคนั้น “อุดมการณ์” ของระบบนี้ คือความพยายามที่จะให้พลเมืองทุกคนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมหรือระบบข้าราชการ สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า โดยอาศัยแค่สิทธิการเป็นพลเมืองเท่านั้น การเก็บเงิน ๓๐ บาท เป็นแค่การเก็บเงินในเชิงสัญลักษณ์ จึงไม่เรียกว่าเป็นการ “ร่วมจ่าย”

หลังจากการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ นสพ. บางกอกโพสธ์รายงานว่ารัฐบาลเผด็จการลงมือตัดงบระบบ ๓๐ บาทไป 23% แต่ในขณะเดียวกันมีการเพิ่มงบประมาณทหาร 30% ซึ่งก่อนหน้านี้ในยุคทักษิณมีการค่อยๆ ลดงบประมาณทหาร

เราไม่ควรลืมว่ารัฐบาลทหารหลัง ๑๙ กันยาเป็นรัฐบาลที่เต็มไปด้วยพวกคลั่งกลไกตลาดเสรี พวกนี้ไม่พอใจที่มีการใช้งบประมาณรัฐเพื่อประโยชน์ประชาชน แทนที่จะทุ่มเทงบประมาณเพื่อทหาร พระราชวัง และคนชั้นสูงอย่างเดียว ดังนั้นเขาและนักวิชาการอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนเขา มักจะวิจารณ์นโยบายรัฐบาลทักษิณว่าเป็น “ประชานิยม” และ “ขาดวินัยทางการคลัง” ตามนิยามของพวกกลไกตลาดเสรีที่เกลียดชังสวัสดิการรัฐ แต่ในขณะเดียวกันเวลาพวกนี้มีอำนาจก่อนและหลังรัฐบาลทักษิณ เขาไม่เคยมองว่าการขึ้นงบประมาณทหารเป็นการ “ขาดวินัยทางการคลัง” แต่อย่างใด

ภายใต้รัฐบาลเผด็จการยุคนั้นมีการยกเลิกเก็บค่าพยาบาล ๓๐ บาท ซึ่งในแง่การปฏิบัติเป็นเรื่องดี แต่ถ้าตรวจสอบเจตนาของการทำให้ระบบนี้ฟรี เราจะเห็นว่าหลายคนในแวดวงเผด็จการมีอคติและวาระแอบแฟง คือหลายคนเตรียมจะเสนอให้เก็บค่าพยาบาลเพิ่มขึ้นหลายเท่าภายใต้ระบบที่เขาเรียกว่า “การร่วมจ่าย” คนจนสุดอาจไม่ต้องจ่าย แต่ใครมีรายได้มากกว่านั้นนิดเดียวคงต้องจ่ายมากกว่า ๓๐ บาท หลายเท่า ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างระบบอนาถาสำหรับคนจนแล้ว ยังสร้างภาระมหาศาลให้กับคนที่ถูกจำแนกว่าไม่ได้อยู่ในระดับยากจนที่สุด

ในยุครัฐบาล “แต่งตั้งโดยทหาร” ของอภิสิทธิ์ มีการเปลี่ยนชื่อจากบัตร ๓๐ บาท เป็น “บัตรทอง” เพื่อตัดความหลังที่มาจากยุคทักษิณออกไป และแน่นอนอภิสิทธิ์และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นพวกคลั่งตลาดเสรีที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ที่เคยวิจารณ์ระบบ ๓๐ บาทมาตลอด

หลายคนเข้าใจผิดว่าแนวเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมไปกับระบบประชาธิปไตย ซึ่งไม่จริง ในกรณีไทยเราจะเห็นว่าทั้งประชาธิปัตย์และเผด็จการทหารยุค ๑๙ กันยา และยุคปัจจุบัน เป็นพวกที่เกลียดชังการใช้งบประมาณรัฐเพื่อประโยชน์ประชาชนตามแนวคลั่งกลไกตลาดเสรี ในขณะที่รัฐบาลทักษิณใช้แนวเศรษฐศาสตร์คู่ขนาน คือใช้รัฐและตลาดร่วมกันตามสูตรเศรษฐศาสตร์ “เคนส์”

จริงๆ แล้วคำว่า “ร่วมจ่าย” เป็นคำหลอกลวงของพวกคลั่งกลไกตลาดเสรี เพราะพลเมืองไทยทุกคนจ่ายภาษี ไม่ว่าจะจนหรือรวย ทั้งทางอ้อมเช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีน้ำมัน หรือผ่านการจ่ายภาษีรายได้ ดังนั้นระบบอะไรที่ใช้งบประมาณรัฐ เป็นระบบที่ประชาชนทุกคนร่วมจ่ายสมทบผ่านภาษีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าระบบภาษีไทยเป็นระบบที่ส่งเสริมความเหลื่อมล้ำเพราะคนจนมักจ่ายภาษีในสัดส่วนที่สูงกว่าคนรวยถ้าเปรียบเทียบกับรายได้

ดังนั้นเวลาพวกนี้พูดถึงการ “ร่วมจ่าย” เราควรรู้ทันทีว่ามันแปลว่า “คิดค่าพยาบาล” ซึ่งสำหรับบัตรทองแล้ว เป็นการหมุนนาฬิกากลับสู่ยุคก่อนไทยรักไทย และก่อนยุคความทันสมัย ตามความฝันของอำมาตย์ล้าหลัง

การพยายามทำลายอุดมการณ์ของ “๓๐ บาท” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะในเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๖ เราจะเห็นความเสื่อมของแนวคิดเดิม โดยที่ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสั่งให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำเสนอระบบ “ร่วมจ่าย” เพื่อเปิดประเด็นแนวคิดย้อนยุค แต่มันไม่ออกมาเป็นนโยบายรูปธรรม เหตุการณ์นี้พิสูจน์ว่าเราไม่สามารถหวังพึ่งพรรคเพื่อไทยให้ปกป้องระบบ ๓๐ บาทได้ และแน่นอนเราทราบดีว่าเขาจะไม่นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วย

หลังรัฐประหารปี ๒๕๕๗ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสาธารณสุข ในยุคแรกๆ ของเผด็จการประยุทธ์ ก็ออกมาเสนอแนว “ร่วมจ่าย” อีก โดยเสนอว่าประชาชนควรจ่ายถึงครึ่งหนึ่งของค่ารักษาพยาบาล นายแพทย์คนนี้เคยเข้าร่วมกับม็อบอันธพาลของสุเทพ รัฐบาลเผด็จการหลังรัฐประหารประยุทธ์ก็จำกัดงบประมาณบัตรทองในขณะที่เพิ่มงบประมาณทหารมหาศาลตามสูตรเดิม ล่าสุด นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ออกมาเสนอเรื่อง “ร่วมจ่าย” อีก

นิมิตร์ เทียนอุดม นักเคลื่อนไหวด้านสุขภาพ เตือนว่าตั้งแต่มีรัฐบาลเผด็จการทหารชุดปัจจุบัน มีการแอบกัดและค่อยๆ ทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและผลงานดีๆ ในเรื่องนี้หลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านระเบียบออกใหม่ที่จำกัดการใช้งบประมาเหมาจ่ายรายหัวของโรงพยาบาลสำหรับหลายสิ่งหลายอย่าง และการลดบทบาทรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมในการหายาสำหรับโรงพยาบาลต่างๆ อีกด้วย เราสามารถคาดเดาได้ว่ามาตรการใหม่ๆ ที่เกิดภายใต้เผด็จการประยุทธ์ จะนำไปสู่การอ้างว่ารัฐ “แบกรับ” ไม่ไหว หรือต้อง “ปฏิรูป” ระบบ ซึ่งจริงๆ แล้วแปลว่าพวกนี้อยากทำลายมันมากกว่า แต่ทางออกที่เป็นประโยชน์กับประชาชนคือต้องมีการเพิ่มงบประมาณโดยรัฐ

ปัญหาคือหลายคนที่อยากปกป้องระบบบัตรทอง แค่ชี้ถึงความไม่เสมอภาคระหว่างระบบข้าราชการ ระบบประกันสังคม กับระบบบัตรทอง โดยไม่มองภาพกว้างและไม่เข้าใจพิษภัยของแนวคิดคลั่งตลาดเสรีที่เผด็จการชื่นชม

การที่จะไปขโมยทรัพยากรจากระบบข้าราชการ หรือระบบประกันสังคม เพื่อไปอุดบัตรทอง มันไม่ใช่คำตอบ มันเป็นแค่การกระจายการบริการระหว่างคนทำงานธรรมดา ซึ่งจะกดมาตรฐานสำหรับบางคนเพื่อไปเพิ่มให้คนจนคนอื่น โดยไม่ไปแตะกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่ โดยเฉพาะทหาร นายทุนใหญ่และคนรวยชั้นสูงแต่อย่างใด

คนที่ไม่กล้าพูดถึงปัญหางบประมาณทหาร และระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม ควบคู่กับการพยายามปกป้องบัตรทอง จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และถ้าเราไม่ร่วมกันล้มเผด็จการทหารเราก็จะเดินหน้าไม่ได้เช่นกัน

เราต้องเข้าใจเสมอว่าเรื่องนี้มีพื้นฐานจากการถกเถียงในประเด็นผลประโยชน์ทางชนชั้น เพราะถ้ารัฐบาลอ้างว่ามีงบไม่พอที่จะบริการสาธารณสุข ก็ต้องไปเก็บภาษีจากคนรวยและกลุ่มทุนเพิ่ม และต้องตัดงบทหารและงบคนชั้นสูงอื่นๆ เพื่อเป็นทางออก

การยึดโรงพยาบาลเอกชนมาเป็นของรัฐจะช่วยประหยัดเงินด้วย เพราะตัดค่านายหน้าของกลุ่มทุน และการผลิตยารักษาโรคแพงๆ เอง โดยการฝืนลิขสิทธิ์กลุ่มทุนข้ามชาติ ก็สำคัญเช่นกัน

ประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีการวิจารณ์ข้อเสนอเพื่อทำลายระบบ ๓๐ บาทของรัฐบาล ไม่ว่าจะโดยรัฐบาลชุดไหน คนของรัฐบาลมักจะรีบออกมาแก้ตัวโกหกว่าจะ “ไม่แตะ”หรือ “ไม่ทำลาย” ซึ่งมันบ่งบอกว่าพวกนี้กลัวกระแสความโกรธของประชาชน ดังนั้นเราต้องออกมาวิจารณ์กันมากๆ

เราควรรณรงค์เพื่อเดินหน้าสู่การสร้างระบบรัฐสวัสดิการ ขั้นตอนแรกคือการรวมทั้งสามกองทุนสาธารณสุขเป็นกองทุนเดียวกัน โดยรักษามาตรฐานที่ดีที่สุดแล้วนำมาใช้กับทุกส่วน ต้องมีการตัดงบประมาณทหารและงบสิ้นเปลืองอื่นๆ และเราต้องยืนยันว่างบประมาณหลักของระบบสาธารณสุขต้องมาจากภาษีรัฐที่เก็บในอัตราก้าวหน้า คือในอัตราสูงจากคนรวย

สังคมไทยขาดการถกเถียงเรื่องกลไกตลาด

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวออกมาว่านักวิชาการ “สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” (ทีดีอาร์ไอ) วิจารณ์กระทรวงสาธารณสุขว่าการเป็นทั้ง ‘ผู้ซื้อ’ และ ‘ผู้ให้บริการ’ จะสร้างผลเสียให้ประชาชน และทุกครั้งที่นักวิชาการจากสถาบันนี้พูดอะไรออกมา สื่อในไทยก็พากันคารวะ เหมือนกับว่าพวกนี้เป็นปรมาจารย์ที่ผลิตมหาคัมภีร์เศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ทุกครั้งที่ อัมมาร สยามวาลา ออกมาพูดอะไร สื่อก็พากันกราบไหว้ว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือนักวิชาการเกียรติคุณ

แต่ ทีดีอาร์ไอ เป็นแค่ตัวแทนของสำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองสำนักหนึ่งเท่านั้น และ อัมมาร สยามวาลา เป็นแค่นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายขวาคนหนึ่งของสำนักเสรีนิยมใหม่ ที่คลั่งกลไกตลาด เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ เขาเชี่ยวชาญเหลือเกิน จนเคยเอ่ยปากมาว่าไม่รู้ว่าจะสร้างรัฐสวัสดิการในไทยได้อย่างไร!! คือพูดง่ายๆ อัมมาร สยามวาลา ไม่กล้าและไม่ต้องไปการศึกษารัฐสวัสดิการในตะวันตกนั้นเอง

ในฐานะที่ผมทำงานในระบบสาธารณสุขของรัฐสวัสดิการอังกฤษ และในฐานะที่ผมเป็นนักสังคมนิยม ผมสามารถรายงานว่า การแยกระบบสาธารณสุขอังกฤษออกเป็นฝ่าย ‘ผู้ซื้อ’ กับ ‘ผู้ให้บริการ’ เป็นมาตรการของนายกรัฐมนตรีแทชเชอร์ เพื่อค่อยๆ ทำลายระบบรัฐสวัสดิการและเปิดโอกาสให้มีการตัดงบประมาณรัฐพร้อมกับดึงบริษัท “หากิน” เอกชนเข้ามา ผลคือมีการจ้างนักบัญชีและนักบริหารตัวเลขมากขึ้นอย่างมหาศาล ผมเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้เพราะจำเป็นต้องเลี้ยงชีพ แต่เงินที่เคยทุ่มเทไปในการดูแลรักษาคนไข้กลับลดลง เงินซื้อยาถูกจำกัด และจำนวนพยาบาลก็ขาดแคลนเรื่อยมา พร้อมกันนั้นมีการกดค่าแรงให้ต่ำสุด และเปิดให้บริษัทเอกชนอย่าง G4S เข้ามากอบโกยกำไรจากภาษีประชาชน

ในระบบนี้ทุกรายละเอียดของการดูแลคนไข้จะถูกตีราคา ไม่ว่าจะเป็นการใส่สายในเส้นโลหิต การตรวจไขสันหลัง หรือการให้ยา มันเป็นระบบที่สิ้นเปลืองทรัพยากรและขาดประสิทธิภาพในการดูแลคนป่วย เพราะการทำบัญชีกลายเป็นสิ่งที่กำหนดทุกอย่าง แทนที่จะเอาความต้องการของคนไข้มาเป็นหลัก

สาเหตุที่การแยก ‘ผู้ซื้อ’ กับ ‘ผู้ให้บริการ’ เปิดโอกาสให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ก็เพราะมีการโยน “งบประมาณก้อน” ให้โรงพยาบาลหรือคลินนิคเพื่อบริหารเอง มีการตัดงบประมาณก้อนอันนั้น และมีการกดดันให้ฝ่าย “ขายบริการ” แข่งกันในตลาด คือแข่งกันตัดคุณภาพการรักษาและมาตรฐานการจ้างงาน เพื่อลดราคา

ในสังคมไทย เกือบจะไม่มีการถกเถียงกันเลยเรื่องสำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่แตกต่างกัน ในประวัติศาสตร์สิบปีที่ผ่านมา มีแค่สองตัวอย่างของกลุ่มคนที่คัดค้านการคลั่งกลไกตลาดเสรี อันนี้ไม่นับกลุ่มสังคมนิยมเล็กๆ ที่ผมเคยร่วมทำงานด้วย ตัวอย่างแรกคือรัฐบาลไทยรักไทยที่ใช้นโยบาย “คู่ขนาน” คือนโยบาบทุ่มเทงบประมาณรัฐตามแนวเคนส์รากหญ้าบวกกับกลไกตลาดเสรีในระดับชาติ และตัวอย่างที่สองคือกลุ่มเอ็นจีโอที่ทำงานด้านเอดส์และต่อต้านลิขสิทธิ์ของบริษัทข้ามชาติที่ผลิตยา แต่ในกรณีไทยรักไทย การใช้แนวคู่ขนานไม่ได้เป็นการคัดค้านกลไกตลาดทั้งหมด มีการซื้อขายบริการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค และเราคงจำได้ว่ามีการพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในกรณีกลุ่มเอ็นจีโอที่ทำงานด้านเอดส์ ถึงแม้ว่าจะต้านกลไกตลาดเสรีในเรื่องเอดส์ แต่ไม่ได้เชื่อมและขยายเรื่องนี้ไปสู่การคัดค้านกลไกตลาดทั่วไป เพราะติดอยู่ในกับดักการเคลื่อนไหวแยกส่วนประเด็นเดียว มีแต่พวกเราชาวสังคมนิยมเท่านั้นที่พยายามเชื่อมเรื่องนี้ในภาพกว้างไปสู่การคัดค้านกลไกตลาดเสรีโดยทั่วไป ดูได้จากหนังสือเล่มเล็กที่เราเคยผลิตสำหรับงานเอดส์โลกชื่อ “ทำไมทุนนิยมทำให้เอดส์เป็นโรคร้ายแรง” และดูได้จากความพยายามของเราในงานสมัชชาสังคมไทย ที่จะชวนกลุ่มคนที่สนใจหลากหลายปัญหามานั่งคุยร่วมกันถึงปัญหากลไกตลาด

20130218181838_3400

จริงๆ แล้วมีคนอีกลุ่มหนึ่งที่คัดค้านกลไกตลาดเสรีของกลุ่มทุนใหญ่ แต่พวกนี้เป็นพวกแนวเศรษฐกิจชุมชนที่อยากฝันว่าเราสามารถหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคนิยายอะไรก็ไม่รู้ในอดีต พร้อมกันนั้นการที่พวกนี้รับแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาด้วย ทำให้ไม่สามารถค้านกลไกตลาดเสรีได้จริง เพราะแนวเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวที่ไปได้ดีกับกลไกตลาดเสรี ไม่เชื่อก็ลองอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี ๕๐ หรือร่างรัฐธรรมนูญโจรล่าสุดดูก็ได้

ปัญหาความอ่อนแอในเรื่องการค้านกลไกตลาด เป็นมรดกร้ายจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพราะแนวคิดเหมาเจ๋อตุงของพรรคไม่สนใจศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์ สนใจแต่การ “กู้ชาติ” ดังนั้นหลังป่าแตก คนที่ออกมาจากพรรค ไม่ว่าจะเป็นเอ็นจีโอ หรือนักวิชาการชาตินิยม ก็ไม่เข้าใจปัญหากลไกตลาดเลย เอ็นจีโอส่วนใหญ่สนับสนุนตลาดเสรีด้วยซ้ำ

ในไทยเวลาใครจัดเสวนาหรือชวนนักวิชาการมาร่วมกันเขียนบทความ จะไม่มีการเปรียบเทียบสำนักคิด เพราะความคิดของคนส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่อง “เทคนิค” หรือ “ความเชี่ยวชาญ” เท่านั้น ดังนั้นจะมีการพูดถึงปัญหาหนึ่งจากมุมมองนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ หรือนักกฏหมาย มันเป็นวิธีพิจารณาประเด็นแบบปัญญาอ่อนที่ปลอดการเมืองของฝ่ายที่ตั้งคำถามต่อระบบกระแสหลัก

เมื่อผมเข้ามาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ ที่จุฬาฯ ผมจำได้ว่าผมเคยถามเพื่อนอาจารย์คนหนึ่งที่สอน “การบริหารโรงพยาบาล” ว่าเขาสอนสำนักคิดไหนบ้าง เขามองผมด้วยความสงสัยและถามว่า “มีหลายสำนักคิดด้วยหรือ?”

แม้แต่ในเรื่องการบริหารโรงพยาบาลมีมากกว่าหนึ่งสำนักคิด ในอดีตก่อนที่แทชเชอร์จะนำกลไกตลาดเข้ามาในระบบสาธารณสุขของรัฐสวัสดิการอังกฤษ ระบบนี้อาศัยการให้บริการตามความต้องการของประชาชนเป็นหลัก และมีการตั้งงบประมาณตามนั้น ระบบสาธารณสุขจะบริหารโดยผู้แทนฝ่ายรัฐ ฝ่ายนักการเมืองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายผู้แทนสหภาพแรงงาน นั้นคือรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลตามแนวรัฐสวัสดิการที่เอียงไปทางสังคมนิยม มันไม่มีการซื้อขายบริการ และไม่มีการคิดเลขทำบัญชีและตีราคาของทุกอย่างแบบที่มีทุกวันนี้

อ่าน “ทำไมทุนนิยมทำให้เอดส์เป็นโรคร้ายแรง” ได้ที่นี่  data5.blog.de/media/961/3348961_223eae8460_d.doc

การถกเถียงในวง เอ็นจีโอ เป็นเรื่องดี แต่การด่า “ประชานิยม” เป็นแค่การสนับสนุน “รัฐประหารเพื่อคนรวย”

ใจ อึ๊งภากรณ์

การถกเถียงในวง เอ็นจีโอ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเรื่องดี เพราะควรจะมีการทบทวนบทบาท เอ็นจีโอ ในเรื่องการร่วมทำลายประชาธิปไตยรัฐสภา และในเรื่องท่าทีต่อรัฐบาลทหาร รวมถึงการปฏิรูปจอมปลอมอีกด้วย บ่อยครั้งในอดีต รุ่นพี่ เอ็นจีโอ มักจะปิดกั้นการถกเถียงแลกเปลี่ยนทางการเมืองด้วยระบบอาวุโส และบ่อยครั้งการถกเถียงมักจะออกมาในรูปแบบความขัดแย้งส่วนตัว แทนที่จะเป็นเรื่องหลักการ

แต่การถกเถียงที่เกิดขึ้นจะไร้ประโยชน์ถ้าไม่ก้าวพ้นการสร้างภาพว่า เอ็นจีโอ ปฏิเสธทฤษฏีการเมืองหรือเศรษฐศาสตร์ในขณะที่รับทฤษฏีเสรีนิยมของนายทุนมาใช้โดยไม่มีการวิจารณ์แต่อย่างใด

นอกจากนี้ควรมีการทบทวนท่าทีต่อชาวบ้านจำนวนมากที่เป็นคนเสื้อแดง แทนที่จะดูถูกประชาชนว่าเลือกพรรคการเมืองของทักษิณ เพราะ “เข้าไม่ถึงข้อมูล”

นโยบายที่เป็นประโยชน์สำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ที่เป็นคนจน เช่นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนสร้างงาน การพักหนี้ชาวบ้าน บ้านเอื้ออาทร หรือโครงการจำนำข้าว ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทยนานแล้ว และคนที่ด่านโยบายดังกล่าวว่าเป็นเพียง “ประชานิยม” ที่เลวร้าย เป็นแค่คนที่ท่องสูตรแนวเศรษฐกิจกลไกตลาดเสรี หรือ “เสรีนิยมใหม่” ที่คัดค้านการใช้เงินรัฐเพื่อพัฒนาสภาพชีวิตพลเมืองส่วนใหญ่

พวกเสรีนิยมใหม่ทั่วโลก มักจะเงียบเฉยต่อการใช้เงินรัฐมหาศาลในทางทหาร หรือพิธีกรรมสำหรับอภิสิทธิ์ชน หรือสำหรับการลดภาษีให้คนรวยและกลุ่มทุน เพราะทฤษฏีกลไกตลาดเสรีเข้าข้างกลุ่มทุนและคนรวยเสมอ อีกด้านหนึ่งของแนวคิดแบบนี้คือการเสนอให้ขายรัฐวิสาหกิจให้กับทุนเอกชน การเสนอให้กดค่าแรง การเสนอให้ตัดอำนาจสหภาพแรงงานด้วยกฏหมายหลายชนิด และการเสนอให้คนจนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง หรือแม้แต่การทำลายรัฐสวัสดิการในยุโรป

ดังนั้นการที่แกนนำ เอ็นจีโอ อย่าง กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา เขียนจดหมายถึงเพื่อน เอ็นจีโอ เพื่อวิจารณ์การร่วมมือในโครงการ “ปฏิรูป” ของทหารนั้น ถึงแม้ว่าการวิจารณ์ดังกล่าวถูกต้อง 100% แต่การพ่วงคำวิจารณ์นี้กับการด่า “ประชานิยม” ของรัฐบาลทักษิณ แสดงว่าคนอย่าง กิ่งกร ยังยึดถือแนวคิดของฝ่ายขวาที่ปูทางไปให้ความชอบธรรมกับการทำลายประชาธิปไตยโดยเสื้อเหลืองและการทำรัฐประหารของทหาร

มันยิ่งชัดเจนมากขึ้นเมื่อ คุณกิ่งกร เอ่ยถึง “เผด็จการรัฐสภา” ซึ่งเป็นคำศัพท์ไร้สาระของฝ่ายต้านประชาธิปไตย และเป็นการปูทางไปสู่ความคิดที่ถือว่าเผด็จการทหารไม่แย่ไปกว่า “เผด็จการรัฐสภา”

แนวคิด “เผด็จการรัฐสภา” เป็นแนวคิดที่ดูถูกวุฒิภาวะของพลเมืองธรรมดาที่ไปเลือกรัฐบาลทักษิณ และไม่ต่างจากการดูถูกนโยบายช่วยคนจน โดยการมองว่าคนจนเรียกร้องอะไรที่ทำให้ประเทศชาติ “เสียหาย” หรือการมองว่านโยบายดังกล่าวสร้างวัฒนธรรม “พึ่งพา” ในหมู่ชาวบ้าน

แนวคิด “เผด็จการรัฐสภา” เป็นข้ออ้างในการสร้างเผด็จการของอภิสิทธิ์ชน เหนือคนส่วนใหญ่ และในประเทศที่มีระบบประชาธิปไตยรัฐสภาทั่วโลก คนส่วนใหญ่มักยอมรับมติของคนส่วนใหญ่ ยิ่งกว่านั้นการมีผู้แทนเสียงข้างมากในสภาของพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

ในขณะเดียวกับที่มีการเผยแพร่จดหมายของ คุณกิ่งกร องค์กร “กป อพช.” ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทหารหยุดคุกคาม เอ็นจีโอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ไม่ยอมเข้ากับกระบวนการ “ปฏิรูป” ของเผด็จการ ซึ่งก็ดีระดับหนึ่ง แต่แถลงการณ์นี้หมดความหมายเมื่อ กป อพช. ยังแสดงความหวังว่าทหารจะฟังเสียงประชาชนในกระบวนการปฏิรูปปลอมอันนี้ และทหารต้องการปรองดอง

เราโชคดีที่ กป อพช. ภาคอีสานออกมาเตือน กป อพช.ส่วนกลาง และล่าสุด วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ กรรมการ กป อพช. ก็ได้เขียนจดหมายลาออก เพราะไม่พอใจความไร้จุดยืนของ กป อพช. ในเรื่อง “ประชาธิปไตย” “ความเป็นธรรม” ” การมีส่วนร่วม”

คำถามคาใจเกี่ยวกับพฤติกรรม เอ็นจีโอ ส่วนใหญ่คือ มันยากที่จะเข้าใจหรือ ว่าเผด็จการทหารมันเกี่ยวกับการทำลายประชาธิปไตย และตรงข้ามกับการฟังเสียงประชาชน? มันอยากที่จะเข้าใจแค่ไหน ว่าทหารไม่สนใจปรองดอง แต่ต้องการปราบปรามผู้ที่รักประชาธิปไตยและคิดต่างมากกว่า?

สำหรับแกนนำ เอ็นจีโอ หลายคน มันอาจยากที่จะเข้าใจหลายประเด็นทางการเมือง เพราะพวกนี้หันหลังให้กับการศึกษาทฤษฏีการเมืองตั้งแต่หลังป่าแตก ดังนั้นเขาจึงไปกอดแนวเสรีนิยมกลไกตลาดแบบง่ายๆ โดยไม่รู้เรื่อง หรือไม่สนใจ ว่ามันเข้าข้างคนรวยและกลุ่มทุน และการที่พวกนี้ปฏิเสธ “การเมือง” กับการสร้างพรรคการเมืองของคนจนและกรรมาชีพ พร้อมกับปฏิเสธ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” ทำให้เขาไร้พลังมวลชนที่จะเคลื่อนไหวได้ และในที่สุดก็ไปเข้ากับชนชั้นกลางสลิ่ม และหลายส่วนก็ไปเชียร์รัฐประหารอีกด้วย

แล้วเสรีภาพกับการมีส่วนร่วมของประชาชนจะมีได้อย่างไร ถ้าประเทศไทยยังใช้กฏหมาย 112 ในการปราบคนที่ไม่เห็นด้วยกับเผด็จการ เมื่อไร เอ็นจีโอ จะออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอันนี้สักที?

ปัญหาที่แท้จริงของนโยบายรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือเป็นการช่วยคนจนในราคาถูก คือไม่ยอมเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยและกลุ่มทุน เพื่อนำเงินนั้นมาบริการประชาชนที่สร้างมูลค่าทั้งหมดในสังคมแต่แรก พร้อมกันนั้นไม่ยอมลดงบประมาณพิธีกรรมและทหาร และมีการปฏิเสธการสร้างรัฐสวัสดิการครอบวงจรอีกด้วย แต่การไปด่านโยบายดังกล่าว ด้วยแนวคิดและวาจาของฝ่ายเผด็จการหรือฝ่ายสลิ่ม ไม่ใช่คำตอบ เราต้องสร้างสังคมที่ดีกว่าสังคมสมัยไทยรักไทย ไม่ใช่ถอยหลังไปสู่ยุคมืด

ถ้า เอ็นจีโอ ควรทบทวนตนเอง ฝ่ายเสื้อแดงก็ควรทบทวนตนเองด้วย เพราะการไม่สร้างพลังที่อิสระจาก นปช. และทักษิณ ในหมู่คนเสื้อแดงส่วนใหญ่ ทำให้เราล้มเผด็จการและลบผลพวงทั้งหมดของการปฏิรูปจอมปลอมยากขึ้น

นี่คือสาเหตุที่กรรมาชีพคนทำงาน และเกษตรกรรายย่อย ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของตนเอง และต้องมีขบวนการเคลื่อนไหวที่อิสระจากนายทุนหรือคนใหญ่คนโตอีกด้วย

อีโบลา เป็นภัยต่อมนุษย์เพราะความยากจน

ใจ อึ๊งภากรณ์

โรคระบาด อีโบลา เป็นภัยต่อมนุษย์ในขณะนี้เพราะความยากจนที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยมตลาดเสรีในอัฟริกาตะวันตก ในประเทศไลบีเรียคาดว่ามีคนป่วยเกินพัน องค์กรอนามัยโลกคาดว่าในภูมิภาคอัฟริกาตะวันตกมีคนป่วยเกินสองพันและล้มตายกว่า 1300 คน แต่องค์กรแพทย์ไร้พรมแดนมองว่าน่าจะเป็นตัวเลขที่ต่ำเกินไป เพราะประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงระบบสาธารณะสุข

อีโบลา เป็น “โรคความยากจน” เพราะในหลายประเทศของอัฟริกาตะวันตก มีสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงทรัพยากร แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือรัฐบาลต่างๆ ไม่สนใจลงทุนในระบบสาธารณะสุขเลย

นางเอเลน จอห์นสัน เซอร์ลิฟ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธบดีไลบีเรียสองรอบ เขาเป็นอดีตนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก และนิยมชื่นชมนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักชมรัฐบาลของ เอเลน จอห์นสัน ว่าทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พวกนี้ไม่สนใจรายละเอียดว่าประชาชนธรรมดาอยู่กันอย่างไร

ในเมืองมอนโรเวีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไลบีเรีย ไม่มีโรงพยาบาลสาธารณะของรัฐแม้แต่แห่งเดียว สำหรับประชาชน 1.3 ล้านคน ซึ่งแปลว่าพลเมืองส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงแพทย์หรือพยาบาล ในสลัมต่างๆ ของเมืองไม่มีห้องส้วม พยาบาลที่ต้องมารักษาคนไข้ อีโบลา ไม่มีเครื่องมือทันสมัยเพื่อป้องกันตนเอง จนต้องนัดหยุดงาน

มีแต่องค์กรแพทย์ไร้พรมแดนจากต่างประเทศเท่านั้นที่เข้ามาดูแลประชาชน

ในขณะที่รัฐบาลไลบีเรียหันหลังกับการดูแลประชาชน มีการสั่งให้ทหารเข้าไปห้ามไม่ให้ประชาชนเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปทำงานหรือซื้ออาหาร และทหารก็ยิงคนตายในการ “คุมสถานการณ์”

นอกจากปัญหาความยากจนที่มาจากนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดแล้ว ปัญหาหลักที่สองคือบริษัทยาข้ามชาติไม่สนใจลงทุนผลิตยาต้านโรคนี้ เพราะเท่าที่ผ่านมาคนไข้ส่วนใหญ่เป็นคนจนที่ไม่มีปัญญาจะซื้อยา บริษัทยาจึงแสวงหากำไรไม่ได้ นี่คืออีกตัวอย่างของความระยำของระบบทุนนิยม

โรคอีโบลาจะไม่ร้ายแรงเท่าที่เป็น ถ้าสังคมมนุษย์มีระบบสาธารณะสุขถ้วนหน้าที่มีคุณภาพและพลเมืองทุกคนเข้าถึงได้ และโรคนี้จะรักษาได้ถ้ามีการลงทุนโดยรัฐในการผลิตยา แทนที่จะพึ่งบริษัทเอกชนที่สนใจแต่กำไร

วิกฤตอีโบลาพิสูจน์ว่าเราต้องต่อสู้เพื่อปกป้องระบบสาธารณะสุขถ้วนหน้าที่รัฐบาลไทยรักไทยนำเข้ามาใช้ เพราะตอนนี้เผด็จการทหารประยุทธ์และพวกประจบสอพลอที่สนับสนุนการทำลายประชาธิปไตยต้องการทำลายระบบสาธารณะสุขไทยด้วย นอกจากนี้วิกฤตอีโบลาพิสูจน์ว่าเราต้องต่อสู้เพื่อสร้างสังคมนิยมแทนระบบทุนนิยมกลไกตลาด

เราต้องสู้กับเผด็จการทหาร คสช. ผ่านเรื่องปากท้อง

ในเมื่อกระแสการออกมาคัดค้านรัฐประหาร และคณะเผด็จการ คสช. ลดลง ผ่านการข่มขู่และปราบปรามนักเคลื่อนไหวจำนวนมาก ขั้นตอนการต่อสู้รอบปัจจุบันต้องขยับไปเป็นเรื่องการรณรงค์คัดค้านนโยบายเลวๆ ของ คสช. เพื่อสร้างกระแสความไม่พอใจและเพิ่มความมั่นใจให้กับนักประชาธิปไตย

ในหนังสือ “การนัดหยุดงานทั่วไปของมวลชน” โรซา ลัคแซมเบอร์ นักมาร์คซิสต์เยอรมัน-โปแลนด์ เขียนถึงการเชื่อมโยงระหว่างประเด็นปากท้องและการเมืองภาพใหญ่ เขาเสนอว่าทั้งสองเรื่องนี้สลับไปสลับมาและหนุนการสร้างกระแสซึ่งกันและกันเสมอ ที่สำคัญคือหน้าที่หลักของนักเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งเป็นพรรคหรือองค์กร คือการปลุกระดมเรื่องปากท้อง และการเชื่อมทุกประเด็นให้เข้ากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยม

ในไทยตอนนี้ คนก้าวหน้าควรจัดตั้งกันเป็นองค์กร และเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายแย่ๆ ของ คสช. และแนวร่วมของมันที่ต้านประชาธิปไตย ซึ่งแต่ละนโยบายให้ประโยชน์กับชนชั้นปกครองและคนรวยอย่างเห็นชัดๆ การเคลื่อนไหวแบบนี้จะทำให้เราทุกคนเห็นภาพชัดเจนว่า “ประชาธิปไตยเป็นเรื่องปากท้อง” มันเป็นการต่อสู้เพื่อ “ประชาธิปไตยที่กินได้”

ในรูปธรรม มันหมายความว่าชาวประชาธิปไตยต้องคัดค้านนโยบายที่พึ่งออกมา เช่น

1. ข้อเสนอให้ประชาชนต้อง “ร่วมจ่าย” ถึง 50% ของค่ารักษาพยาบาล และการที่คณะทหารกำลังเตรียมตัวทำลายนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค”

2. ข้อเสนอให้งดขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนทำงาน ซึ่งจะทำลายความหวังว่าคนจนจะมีรายได้เพียงพอ

3. ข้อเสนอให้ กกต. สามารถตัดทิ้งเซ็นเซอร์นโยบายของพรรคการเมืองในอนาคต ถ้ามีการเลือกตั้งอีกรอบ โดยเฉพาะนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนจน

4. ข้อเสนอถอยหลังลงคลองให้งดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ผ่านการงดการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น

5. นโยบายที่จะนำ “ความคิดประยุทธ์” มาบรรจุในหลักสูตรการศึกษาตามโรงเรียนต่างๆ

นอกจากนี้เราต้องจับตาดูว่าคณะทหารเถื่อนจะเสนอ “การปฏิรูปแบบปฏิกูล” อะไรบ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การลดพื้นที่ประชาธิปไตยในทุกแง่อย่างแน่นอน

พวกฝ่ายขวาประจบสอพลอเลียทหาร เผยธาตุแท้ที่เกลียดคนจน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ตอนนี้เราเริ่มเห็นสลิ่มประจบสอพลอเลียทหาร คลานออกมาเสนอนโยบายหมุนนาฬิกากลับ ให้สังคมถอยหลังลงคลอง

(1) แพทย์สลิ่ม ปลัดสาธารณสุข เดินหน้าทำลาย “30 บาทรักษาทุกโรค” เสนอให้ประชาชนจ่ายค่าพยาบาลถึงครึ่งหนึ่งเอง และไม่ยอมอนุมัติเบิกจ่ายยาสำคัญสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ และมะเร็ง

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขคนนี้ เคยออกแถลงการณ์ในนามประชาคมสาธารณสุข เรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลาออกและเร่งปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ตามแนวม็อบสุเทพ

(2) เลขาธิการ ป.ป.ช. เตรียมขอหารือ กกต. เสนอออกระเบียบหรือกฎหมายให้ทุกพรรคส่งแผนการดำเนินโครงการที่ชัดเจนให้ กกต. ตรวจสอบก่อนหาเสียง พูดง่ายๆ ทุกพรรคต้องนำนโยบายมาให้คณะกรรมการสลิ่มตรวจสอบก่อนการเลือกตั้ง พวกต้านประชาธิปไตยเกลียดชังนโยบายของไทยรักไทยที่ใช้งบประมาณรัฐเพื่อให้ประโยชน์กับประชาชนคนจนมานาน

(3) นักเศรษฐศาสตร์ TDRI เสนอว่าไม่ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก เหมือนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยทำ (ดูโพสธ์ของผมก่อนหน้านี้)

พวกคลั่งกลไกตลาดเสรีนิยม “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” เหล่านี้ มองว่าการใช้งบประมาณรัฐ ที่มาจากการเก็บภาษี เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่อง “ผิด” แต่การที่ทหารจะเพิ่มงบประมาณให้ตัวเอง เป็นเรื่องดี มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ

เรื่องแบบนี้เข้าใจได้ง่าย ถ้าเราศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองพื้นฐาน และสิ่งที่น่าสังเกตคือ แนวเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกลไกตลาด (neo-liberal) ไปได้ดีกับระบบเผด็จการ