Tag Archives: COP26

ประชุม COP 26 ล้มเหลวในการแก้ปัญหาโลกร้อน

ชื่อของการประชุมสหประชาชาติ COP26 บ่งบอกถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของการประชุมดังกล่าว เพราะประชุมกันมา 26 ครั้งแต่ไม่แก้ปัญหาโลกร้อนเลย ซึ่งเราเห็นชัดในรูปแบบไฟไหม้ป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุร้ายแรง และวิกฤตอากาศเสียจากฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีสองปีที่ผ่านมา

องค์กร IPCC ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศระดับโลก ได้ประกาศว่าปีนี้วิกฤตโลกร้อนถึงขั้นสูงสุด “ไฟแดง” เพราะในปี 2020 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2)ในบรรยากาศโลกสูงถึง 417 ppm (ppm CO2 คือหน่วย CO2 ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) ซึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งสุดท้ายที่สูงถึงขนาดนี้คือก็เมื่อ 3 ล้านปีมาก่อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหาเช่นมีเทน ก๊าซ CO2 มาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอน เช่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย คาดว่าถ้าไม่มีการแก้ปัญหาจะมีผู้ลี้ภัยภูมิอากาศหลายล้านคน

ปัญหาโลกร้อนเชื่อมโยงกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองในเมืองใหญ่ๆ เพราะมาจากการเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนในระบบขนส่ง และไฟไหม้ป่าที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

ทั้งๆ ที่มีการประชุม COP มาเรื่อยๆ และทั้งๆ ที่รัฐบาลต่างๆ สัญญาแบบลมๆ แล้งๆ ว่าจะลดการผลิตก๊าซ CO2 ทุกปี แต่ทุกปีการผลิตก๊าซนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกพวกรัฐบาลและกลุ่มทุนพยายามปฏิเสธปัญหาโลกร้อนทั้งๆ ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเป็นความจริง ต่อมาก็มีการแย่งกันโทษประเทศอื่นๆ เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตน และล่าสุดก็มีการโกหกกันว่าจะใช้กลไกตลาดเสรีกับเทคโนโลจีใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งทำไม่ได้

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูด CO2  ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือเป้าหมาย “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิต CO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง การโกหกทุกคำ พูดไปเพื่อชะลอการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนอันเป็นที่มาของกำไรมหาศาลของกลุ่มทุน

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันนานแล้วว่าถ้าเราจะหลีกเลี่ยงวิกฤตภูมิอากาศร้ายแรง เราจะต้องจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 1.5 OC แต่ในปัจจุบันอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.1 OC และถ้าเราคำนวณผลของคำมั่นสัญญาของผู้นำโลกเรื่องเป้าหมายในการผลิตก๊าซเรือนกระจกในอนาคต อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 2.4 OC

ในเรื่องการเผาถ่านหิน การประชุมCOPแค่สรุปว่าจะลดการใช้ในอนาคต ไม่ใช่ว่าจะเลิกเผาถ่านหินแต่อย่างใด มีแค่สิบประเทศเท่านั้นที่จะเลิกเผาถ่านหิน และหลายประเทศกำลังขยายเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหิน สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มการใช้ถ่านหินจากปีที่แล้วถึง 22% ประเทศจีนก็จะเพิ่มการใช้ถ่านหินเช่นกัน นอกจากนี้การประชุมCOPไม่เอ่ยถึงปัญหาการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเลย

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่ผู้นำต่างๆ สัญญา ไม่เคยแปรไปเป็นความจริงในรูปธรรมเลย และทุกวันนี้ทั่วโลก บริษัทเชื้อเพลิงคาร์บอนได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลต่างๆ ถึง $11ล้านต่อนาที

ผลของการประชุม COP ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะคณะตัวแทนที่ใหญ่ที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือคณะของตัวแทนบริษัทน้ำมัน ก๊าซ กับถ่านหิน ซึ่งมีผู้แทนทั้งหมด 500 คน ในขณะที่ตัวแทนของคนจนในโลกที่สาม หรือตัวแทนของประชาชนที่จะเดือดร้อนที่สุด ไม่สามารถเข้าประชุมได้ สรุปแล้วมันเป็นการประชุมของนายทุนและรัฐบาลพรรคนายทุนเท่านั้น

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น แต่ในไทยกระแสต้านโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวที่ประท้วงเผด็จการ หรือในขบวนการสหภาพแรงงาน

เราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ เป็นชนชั้นเดียวที่มีพลังทางเศรษฐกิจพอที่จะสามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน แต่แค่การกดดันให้แก้ปัญหาภายในโครงสร้างทุนนิยมมันจะไม่พอ ต้องมีการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อล้มทุนนิยมและเปลี่ยนระบบ

แต่ท่ามกลางความล้มเหลวของการประชุมCOP พวกนักการเมืองกระแสหลักอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดีโอบามา หรือพวกเอ็นจีโอ มักจะเสนอว่าเราต้องรณรงค์แก้ปัญหาโลกร้อนภายในระบบทุนนิยมปัจจุบัน

เราไม่สามารถเชื่อมันได้ว่าระบบทุนนิยมปัจจุบัน จะหาทางออกแท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตร้ายแรงที่เผชิญหน้าเราทุกคนในโลก เรานิ่งนอนใจไม่ได้ แค่ดูวิกฤตโควิดที่นำไปสู่การล้มตายของประชาชนโลกประมาณ 5-15 ล้านคน หรือดูสงครามร้ายแรงที่เกิดจากระบบทุนนิยมซ้ำแล้วซ้ำอีกในร้อยปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นภาพ พวกนายทุนและนักการเมืองนายทุนไม่สนใจที่จะปกป้องอะไรนอกจากกำไรและผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าพลเมืองโลกเป็นล้านๆ จะล้มตายหรือเดือดร้อนแค่ไหน

ในไทยการที่ทหารครองอำนาจรัฐ และคุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่ารัฐบาลจะไม่มีทางเสนอนโยบายก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้เลย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็เพิ่งอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก 2 แห่งที่แม่เมาะ

สำนักข่าวBloombergรายงานว่ารัฐบาลไทยสัญญาว่าจะนำประเทศสู่การ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ภายในปี 2050 หรือ 2065 แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตพลังงานสูงถึง 67% และเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนเพื่อผลิตพลังงานอีก23% ในขณะที่แสงแดด ลม และพลังน้ำผลิตแค่ 10% ของพลังงานทั้งหมด

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำอันใหม่ที่เขื่อนสิรินธรที่พึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้า และอีก 16 โครงการคล้ายๆ กัน จะสามารถผลิตไฟฟ้าแค่ 2.7 gigawatts ดังนั้นต้องมีการขยายโครงการแบบนี้ทั่วประเทศในขณะที่เลิกเผาเชื้อเพลิงคาร์บอนและปิดโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ก๊าซ ถ่านหิน หรือฟืน Biomass

เราสามารถลดการผลิต CO2 และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจัง ด้วยมาตรการรูปธรรม คือ

  1. หยุดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน คือ ก๊าซ ฟืน กับ ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าและหันมาใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับลมแทน และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนในครัวเรือน
  2. พัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟกับรถเมล์ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดกับลม ยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนตัว และลดการใช้เครื่องบิน
  3. ยกเลิกระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่ผลิตก๊าซเรือนกระจก
  4. สร้างงานจำนวนมากมาทดแทนงานเก่าในโรงงานไฟฟ้าและโรงงานประกอบรถยนต์ งานใหม่นี้ต้องช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก เช่นการสร้างและคุมโรงไฟฟ้าแบบใหม่ การลดความร้อนของตึกต่างๆ และการสร้างรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงกับรถเมล์ไฟฟ้า แต่เราไว้ใจบริษัทเอกชนไม่ได้ ต้องเป็นกิจกรรมของภาครัฐภายใต้การควบคุมของประชาชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ชนชั้นปกครองทั่วโลกที่ไม่ยอมแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน

ในไม่กี่วันข้างหน้าจะมีการประชุมนานาชาติ COP26 ที่เมือง Glasgow ประเทศสก็อตแลนด์ แต่เราจะไปคาดหวังอะไรไม่ได้เลยจากการประชุมของผู้แทนชนชั้นปกครองโลกในระบบทุนนิยม เพราะผู้ที่มีอำนาจทั้งหลาย รวมถึงรัฐบาลเผด็จการไทย เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่และชนชั้นตนเองเหนือความอยู่ดีกินดีของพลเมืองโลก นี่คือสาเหตุที่มวลชนในประเทศอังกฤษจะออกมาประท้วงเป็นจำนวนมาก รอบๆ ห้องประชุมCOP26 และที่ลอนดอน

ชื่อของการประชุมสหประชาชาติ COP26 บ่งบอกถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของการประชุมดังกล่าว เพราะประชุมกันมา 26 ครั้งแต่ไม่แก้ปัญหาโลกร้อนเลย ซึ่งเราเห็นชัดในรูปแบบไฟไหม้ป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก

องค์กร IPCC ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศระดับโลก ได้ประกาศว่าปีนี้วิกฤตโลกร้อนถึงขั้นสูงสุด “ไฟแดง” เพราะในปี 2020 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2)ในบรรยากาศโลกสูงถึง 417 ppm (ppm CO2 คือหน่วย ต่อหนึ่งล้านหน่วยของบรรยากาศ) ซึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งสุดท้ายที่สูงถึงขนาดนี้คือเมื่อ 3 ล้านปีมาก่อน

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการสะสมก๊าซในบรรยากาศโลกประเภทที่ปิดบังไม่ให้แสงอาทิตย์ถูกสะท้อนกลับออกจากโลกได้ (ก๊าซเรือนกระจก) ความร้อนจึงสะสมมากขึ้น ก๊าซหลักที่เป็นปัญหาคือคาร์บอนไดออคไซท์ (CO2) แต่มีก๊าซอื่นๆ ด้วยที่สร้างปัญหา นักวิทยาศาสตร์คาดว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลก ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมีประมาณ 280 ppm

ทั้งๆ ที่มีการประชุม COP มาเรื่อยๆ และทั้งๆ ที่รัฐบาลต่างๆ สัญญาแบบลมๆ แล้งๆ ว่าจะลดการผลิตก๊าซCO2 ทุกปี แต่ทุกปีการผลิตก๊าซนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกพวกรัฐบาลและกลุ่มทุนพยายามปฏิเสธปัญหาทั้งๆ ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเป็นความจริง ต่อมาก็มีการแย่งกันโทษประเทศอื่นๆ เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตน และล่าสุดก็มีการโกหกกันว่าจะใช้กลไกตลาดเสรีกับเทคโนโลจีใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งทำไม่ได้

การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จนท่วมเกาะและพื้นที่ที่อยู่ต่ำ ทำให้ระบบภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ซึ่งจะมีผลกระทบกับระบบเกษตรและวิถีชีวิตของคนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมถึงไทยด้วย คาดว่าถ้าไม่มีการแก้ปัญหาจะมีผู้ลี้ภัยภูมิอากาศหลายล้านคน

พวกกลุ่มทุนและรัฐบาลในโลกทุนนิยมโกหกว่าสามารถแก้ปัญหาด้วยการซื้อขาย “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2 หรือ “แลก” การปลูกต้นไม้กับ “สิทธิ์” ที่จะผลิต CO2  บางกลุ่มก็โกหกว่าจะใช้เทคโนโลจีเพื่อดูดCO2 ออกจากบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลจีแบบนั้นที่จะมีผลจริงในระดับโลกยังไม่มี นอกจากนี้มีการพูดว่าจะประกาศเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือ จะ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นสูญ” ซึ่งเป็นการโกหกเพื่อให้สามารถผลิตCO2 ต่อไป โดยอ้างว่าไปคานกับมาตรการอื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง การโกหกทุกคำ พูดไปเพื่อชะลอการลดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนอันเป็นที่มาของกำไรมหาศาลของกลุ่มทุน

ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ในประเทศต่างๆ ในเรื่องปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว คนจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มหูตาสว่างมากขึ้น และเข้าใจว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์ชนชั้น เพราะต้นสาเหตุของปัญหามาจากการกอบโกยกำไรโดยกลุ่มทุน และการที่รัฐบาลต่างๆ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเหล่านี้ การแก้ปัญหาโลกร้อนคงจะมีผลกระทบกับกำไรกลุ่มทุนแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ถ่านหิน หรือการประกอบรถยนต์

ดังนั้นเราไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวเรื่องโลกร้อนออกจากการต่อสู้ทางชนชั้นได้ และยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ มีพลังทางเศรษฐกิจที่สามารถกดดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ผ่านการนัดหยุดงานและยึดสถานที่ทำงาน

บางคนมักพูดว่า “เราทุกคน” ทำให้โลกร้อน ยังกับว่า “เรา” มีอำนาจในระบบทุนนิยมที่จะกำหนดทิศทางการลงทุน การพูดแบบนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น โยนให้พลเมืองยากจนรับผิดชอบแทนนายทุน เขาเสนอว่า “เรา” จึงต้องลดการใช้พลังงานในลักษณะส่วนตัว ในขณะที่นายทุนกอบโกยกำไรต่อไปได้ มันเป็นแนวคิดล้าหลังที่ใช้แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ เพราะไม่แตะระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และโครงสร้างระบบคมนาคมเลย

ในไทยการที่ทหารหัวโบราณหน้าโง่มีอำนาจในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หมายความว่าประเทศไทยกำลังสวนทางกับประเทศอื่นๆ หลายประเทศทั่วโลก ที่มีนโยบายพลังงานที่ก้าวหน้ากว่า เพราะใครๆ ที่มีสติปัญญายอมรับมานานแล้วว่า การเผาเชื้อเพลิงคอร์บอน โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้า เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

ในเรื่องโลกร้อน ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) และรัฐบาล ไม่เคยออกมาพูดอะไรที่มีสาระเลย ดังนั้นมันเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่รักประชาธิปไตยที่จะต้องพูดให้ดังที่สุด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแสงแดด รัฐบาลไหนที่ก้าวหน้าและต้องการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลจีของสังคม น่าจะเร่งรีบจัดโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดทั่วประเทศ และเริ่มทยอยปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ประเทศจีนและสเปนตอนนี้กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลจีเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างน่าทึ่ง และค่าผลิตไฟจากแสงแดดในไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องถ้ามีโครงการขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ไฟฟ้าจากแสงแดดสามารถใช้แทนก๊าซในบ้านเรือนได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นค่าผลิตไฟฟ้าในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ไม่เคยคำนึงถึง “ราคา” ที่ต้องจ่ายเมื่อมนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำให้โลกร้อนขึ้น ประเด็นนี้นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์ เข้าใจดี

อย่างไรก็ตามพวกหัวทึบถือปืนที่กำลังคุมกะลาแลนด์ในยุคนี้ เลือกจะไม่สนใจการพัฒนาเทคโนโลจีในสังคม แถมยังแอบรักพลังงานนิวเคลียร์อีกด้วย พลังงานนิวเคลียร์นอกจากจะแพง ทำลายสิ่งแวดล้อม และอันตรายอย่างถึงที่สุดแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย นี่คือสาเหตุที่พวกทหารชอบมัน

กองทัพของประเทศต่างๆ มีส่วนสำคัญในการผลิตก๊าซ คาร์บอนไดออคไซท์ จากการใช้รถถัง เครื่องบิน และเรือรบ องค์กรที่ผลิต CO2 มากที่สุดในโลกคือกองทัพสหรัฐ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราต้องกำจัดทหารออกจากสังคมไทย และลดงบประมาณทหารอย่างถอนรากถอนโคน

ในความเป็นจริงเราสามารถลดการผลิต CO2 และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจัง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม คือ

  1. หยุดใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน คือ ก๊าซ ฟืน กับ ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าและหันมาใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับลมแทน
  2. พัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟกับรถเมล์ ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดกับลม และยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนตัว และลดการใช้เครื่องบิน
  3. ยกเลิกระบบเกษตรแบบอุตสาหกรรม
  4. สร้างงานจำนวนมาก ที่ช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก ด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าแบบใหม่ ด้วยการลดความร้อนหรือความเย็นของตึกต่างๆ และด้วยการสร้างรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงกับรถเมล์ไฟฟ้า แต่เราไว้ใจบริษัทเอกชนไม่ได้ ต้องเป็นกิจกรรมของภาครัฐภายใต้การควบคุมของประชาชน
  5. ใช้งบประมาณรัฐในการเปลี่ยนระบบพลังงานในครัวเรือนและในการส่งเสริมการขนส่งมวลชน โดยตัดงบประมาณทหารและคนชั้นสูง และเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย

แต่ทั้งหมดนี้ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและรัฐบาลต่างๆ ในระบบทุนนิยม ซึ่งแสดงให้เห็นเหตุผลว่าทำไมการประชุม COP ล้มเหลวทุกครั้งโดยสิ้นเชิง

ข้อสรุปสำคัญคือการแก้ปัญหาโลกร้อนแก้ไม่ได้ภายใต้ระบบทุนนิยม และแก้ไม่ได้ภายใต้เผด็จการทหาร ดังนั้นต้องมีการล้มระบบเพื่อปกป้องโลกและคนรุ่นต่อไป

จะเห็นว่าเราต้องปฏิวัติสังคมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องรอให้มีกระแสปฏิวัติก่อนที่จะทำอะไรได้ ในช่วงนี้เราต้องรณรงค์ ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและพรรคการเมืองก้าวหน้า เพื่อให้มีการเลิกผลิต CO2 และเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนทุกชนิด ต้องมีการใช้พลังงานทางเลือก และส่งเสริมการขนส่งมวลชน และต้องมีการประหยัดพลังงาน แต่อย่าไปหวังว่าตามลำพังผู้นำไทยหรือผู้นำโลกจะทำในสิ่งเหล่านี้เลย

ใจ อึ๊งภากรณ์

อ่านเพิ่ม

สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F