สัมมนาองค์กรเลี้ยวซ้าย Marxism 2013

มาร์คซิสม 2013
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2556 เวลา 8.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมอนุสรสถาน 14 ตุลา (ตึกหลัง) สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนและเปิดการเสวนา

09.00 – 10.30 น.
1. ทำไมวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นซ้ำซาก
ประเด็น
1.1 สาเหตุของการเกิดวิกฤต
1.2 ใครได้รับผลกระทบ
1.3 แนวทางการแก้ไขวิกฤต
นำเสนอโดย อินทุอร วันดี องค์กรเลี้ยวซ้าย และ วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิชาการสายแรงงาน

10.30 – 10.40 น. เบรกดื่มชากาแฟ

10.40 – 12.20 น.  
2. ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง: รัฐสวัสดิการ
2.1 วิจารณ์นโยบายประชานิยมภายใต้กรอบเสรีนิยมใหม่
2.2 ข้อเสนอของการปรับปรุงระบบสวัสดิการถ้วนหน้าและการบริหารรัฐรูปแบบใหม่
นำเสนอโดย
พัชณีย์ คำหนัก องค์กรเลี้ยวซ้าย และ อ.สุดา รังกุพันธุ์ นักวิชาการ จุฬาลงกรณ์

12.20-13.30 น. พักทานอาหาร

13.30 – 15.00 น.
3. เสรีภาพกับเสรีนิยมต่างกันอย่างไร
3.1 นิยามและความเข้าใจเสรีนิยม
3.2 รูปธรรมของเสรีภาพในมุมมองทางชนชั้น
นำเสนอโดย วิภา ดาวมณี องค์กรเลี้ยวซ้าย และสมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มแกนนอน

15.00 – 15.10 น. เบรค

15.10 – 16.30 น.
4. เราจะสร้างพรรคซ้ายในไทยได้อย่างไร พรรคซ้ายจะมีหน้าตาแบบไหน
4.1 ทำไมต้องมีพรรคซ้ายในสังคมไทย
4.2 เราจะสร้างพรรคซ้ายในปัจจุบันได้อย่างไร
นำเสนอโดย วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย และ กรชนก แสนประเสริฐ พรรคสามัญชน

—————————————————
ค่าสัมมนาท่านละ 50 บาท
ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาล่วงหน้า
https://www.facebook.com/events/124867581042400/


สอบถาม โทร. 081-613 4792 
http://www.turnleftthai.blogspot.com

คอร์รัปชั่น คือเครื่องชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย

ผู้นำและรัฐมนตรีทุกคนในไทย ที่ได้ตำแหน่งจากการทำรัฐประหาร แล้วรับเงินเดือนสูงๆ ของการเป็นนายกหรือรัฐมนตรี พร้อมกับเงินเดือน “ถูกกฏหมาย” อื่นๆ จากตำแหน่งอื่นๆ ที่กินขนานไปด้วย ต้องถือว่าคอร์รัปชั่นถูกกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือ อานันท์ ปันยารชุน

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

การคอร์รัปชั่นน่าจะเป็นการที่บุคคลใช้ตำแหน่งของตนเอง และอำนาจที่มาจากตำแหน่งนั้น ในการแสวงหาผลประโยชน์หรือความร่ำรวยเกินมูลค่าที่ตัวเองผลิตให้สังคมผ่านการทำงานถ้าตำแหน่งที่บุคคลคนนั้นดำรงอยู่ ได้มาอย่างไม่ชอบธรรม หรือมาจากการที่ตนไม่ได้ทำงานเลย ก็ต้องสรุปว่ายิ่งโกงยิ่งผิดศีลธรรมมากขึ้น

การที่สังคมมีหรือไม่มีการคอร์รัปชั่น เป็นเรื่องของระดับประชาธิปไตยและระดับอำนาจของประชาชนที่จะปกครองตนเอง แต่การคอร์รัปชั่นมีหลายรูปแบบ ทั้งที่ผิดกฏหมายบ้านเมืองและไม่ผิดกฏหมาย เพราะในสังคมชนชั้นปัจจุบัน ผู้ที่ออกกฏหมายมักเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมคอร์รัปชั่นเสมอ
   
ดังนั้นเวลา อานันท์ ปันยารชุน กล่าวถึงการคอร์รัปชั่นว่า “เป็นเรื่องที่ทุกประเทศประสบปัญหาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือเศษหนึ่งส่วนสิบของใบ” เขากำลังโกหกเต็มปาก และคำโกหกก็มีหลายชนิดอีกด้วย เพราะการละเลยไม่พูดถึงความจริงบางประเด็นนั้น ก็เป็นการโกหกชนิดหนึ่ง
   
อานันท์ ปันยารชุนพูดไม่หมดเวลาเขาพูดเกี่ยวกับการคอรับปชั่นในไทยว่า “ตอนนี้เป็นเครือข่ายหมด ครอบคลุมถึงนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ สื่อ องค์กรต่างๆ ทั้งรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่องค์กรอิสระที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นอย่างสวย ให้เป็นองค์กรตรวจสอบ” เพราะกลุ่มคนกลุ่มสำคัญที่ อานันท์ ไม่พูดถึงคือทหาร
   
ทหารไทยเป็นผู้นำร่องในการกินบ้านกินเมือง ตั้งแต่สมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม จอมพลผิน ชุณหะวัณ และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และมาพัฒนาเต็มรูปแบบภายใต้ “จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก” สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ “จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ” ถนอม กิตติขจร กับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร แค่ดูยศตำแหน่งของสฤษดิ์กับถนอมก็เริ่มเห็นว่าสองคนนี้พยายามคุมเก้าอี้และเงินทองมากมาย กิจกรรมของนายทหารโกงกินเหล่านี้ครอบคลุมถึงการลักลอบขายสินค้าผิดกฏหมายข้ามพรมแดน การขายของเถื่อน การเป็นมาเฟียรับเงินเพื่อ “คุ้มครอง” ธุรกิจเอกชน และการสูบเลือดจากรัฐวิสาหกิจ และที่สำคัญคือเขาสามารถทำได้เพราะเคยใช้ความรุนแรงในการยึดอำนาจผ่านรัฐประหาร เผด็จการทหารไทยคือมหาโจรนั้นเอง
   
พอประชาชนลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตย พวกนายพลจอมพลเหล่านี้ก็พร้อมจะฆ่าทิ้ง กรณีใหญ่สุดสมัยถนอมกับประภาส คือการกราดยิงประชาชนในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
   
นายทหารมือเปื้อนเลือดอีกคนชื่อ สุจินดา คราประยูร เป็นทหารรุ่นน้องที่ทำรัฐประหารในปี ๒๕๓๔ แล้วร่ำรวยเกินเงินเดือนธรรมดาของนายทหาร ซึ่งมันจบลงด้วยการสั่งให้ลูกน้องฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้ง สนธิ สนธิ บุญยรัตกลิน และประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นลูกศิษย์ที่ดีของพวกนี้
   

ที่น่าสนใจคือ อานันท์ ปันยารชุน ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดย สุจินดา คราประยูร และหลังจากที่ สุจินดา ฆ่าประชาชน อานันท์ ก็ระลึกถึงบุญคุณโดยการออกกฏหมายฟอกตัวสุจินดา 

เหตุการณ์เหล่านี้คงอธิบายว่าทำไม อานันท์ ปันยารชุน ไม่กล่าวถึงการคอร์รัปชั่นของทหารแต่อย่างใด
   
ประเทศสิงคโปร์มีระบบการเลือกตั้ง แต่ไม่มีประชาธิปไตย เพราะในการเลือกตั้งทุกครั้งเราจะรู้ว่าพรรคไหนจะชนะ คะแนนเสียงอาจขึ้นลงบ้างเพื่อให้ดูเหมือนว่ามีประชาธิปไตย แต่ฝ่ายค้านโดนปราบปรามด้วยสารพัดวิธี เช่นฟ้องหมิ่นประมาท แล้วให้ศาลที่เป็นพวกของรัฐบาล ตัดสินว่า “ผิด” เสร็จแล้วมีกฏหมายห้ามคนที่โดนตัดสินลงโทษในคดีเป็น สส. เป็นต้น หรือการที่รัฐบาลประกาศว่าเขตไหนไม่เลือกพรรครัฐบาล เขตนั้นจะถูกตัดงบอย่างแรง ฯลฯ
   
ในสิงคโปร์ พวกนักการเมืองและนักข่าวชอบเห่าหอนประโคมว่าสังคมสิงคโปร์ไม่มีการคอร์รัปชั่นเพราะมีการใช้กฏหมายปราบคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด แต่การใช้กฏหมายเผด็จการอย่างเคร่งครัดเพียงแต่นำไปสู่การคอร์รับชั่นถูกกฏหมายเท่านั้น เพราะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้ตำแหน่งอย่างไม่ชอบธรรมผ่านระบบเผด็จการ เสร็จแล้วในการประชุม ครม. มีการยกมือขึ้นเงินเดือนให้ตนเอง จนพวกนี้มีเงินเดือนสูงกว่าผู้นำในสหรัฐหรือยุโรป นั้นคือการคอร์รัปชั่นแบบ “ถูกกฏหมาย”
   
ผู้นำและรัฐมนตรีทุกคนในไทย ที่ได้ตำแหน่งจากการทำรัฐประหาร แล้วรับเงินเดือนสูงๆ ของการเป็นนายกหรือรัฐมนตรี พร้อมกับเงินเดือน “ถูกกฏหมาย” อื่นๆ จากตำแหน่งอื่นๆ ที่กินขนานไปด้วย ต้องถือว่าคอร์รัปชั่นถูกกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือ อานันท์ ปันยารชุน และทุกวันนี้ในสังคมชนชั้นปกครองไทย มีประเพณีอันเลวทรามของทหารที่นั่งตำแหน่งคุมสื่อ และรัฐวิสาหกิจอย่างถูกกฏหมาย เพื่อมีอำนาจในการกอบโกยเต็มที่
   
ยิ่งกว่านั้นเวลาประชาชนพยายามเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งต้องถือว่าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการ “ตรวจสอบผู้มีอำนาจ” ฝ่ายที่ยึดอำนาจมาอย่างไม่ชอบธรรมในไทยก็ไม่ลังเลใจในการฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็น พอฆ่าแล้ว “เครือข่ายคอรัปชั่น” ของชนชั้นปกครองไทยก็มาฮั้วกันเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างฟอกตัวนิรโทษกรรมซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ
   

เวลา อานันท์ พูดว่า “ปัจจุบันคอรัปชั่นมีความลึกลับมากมาย….. ตอนนี้เป็นเครือข่ายหมด” เขาไม่ได้ตั้งใจพูดถึงเครือข่ายลึกลับที่ไม่มีใครในไทยกล่าวถึงได้

   
การที่สังคมไทยมีหลายส่วนที่ปกปิดไว้ด้วยกฏหมายเผด็จการชนิดต่างๆ ย่อมขัดกับหลักพื้นฐานในการตรวจสอบเพื่อสร้างความโปร่งใส

อย่าลืมว่าในไทยคนที่วิจารณ์รัฐประหาร ๑๙ กันยา ต้องติดคุกหรือถูกฆ่า นั้นคือวิธีปิดปากประชาชนเพื่อปกป้องเครือข่ายคอร์รัปชั่น
   
ประเพณีการถือหลายตำแหน่ง และการรับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงจากทุกตำแหน่ง เป็นเรื่องที่ชนชั้นปกครองผูกขาดไว้ผ่านอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าไปห้ามได้ บ่อยครั้งมันเป็นการแต่งตั้งกันเองในหมู่เพื่อนฝูงผู้มีอำนาจ และบ่อยครั้งเกิดในภาคเอกชนที่นายทุนผูกขาดอำนาจเผด็จการ ลองคิดดูซิ สำหรับคนทำงานธรรมดาอย่างเรา มีโอกาสที่ไหนที่จะนั่งหลายตำแหน่งและกินเงินฟรีๆ มีแต่พวกเราที่อาจต้องทำเงินที่อื่นเพิ่มเพื่อเสริมรายได้อันน้อยนิดของเราเท่านั้น
   
การที่ประเทศประชาธิปไตยในตะวันตกเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น ทั้งผิดและถูกกฏหมาย ก็แสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยทุนนิยมเป็นเพียงประชาธิปไตยครึ่งใบเท่านั้น ในสังคมทุนนิยมตะวันตก เวลาพรรคพวกคนรวยหรือคนมีเส้นทำผิดกฏหมาย มันมีเครือข่ายตำรวจ เจ้าของสื่อ ผู้พิพากษา และนักการเมืองที่ขยันปกปิดไว้ แต่บางครั้งข่าวก็รั่วออกมาเพราะนักข่าวหรือเจ้าหน้าที่ระดับล่างๆ ไม่พอใจ แต่ในกรณีการโกงกินถูกกฏหมายที่เกิดขึ้น เช่นการหลีกเลี่ยงภาษีในขณะที่มีวิกฤตเศรษฐกิจและประชาชนถูกตัดสวัสดิการและเงินเดือน การถือหลายตำแหน่ง การขึ้นเงินเดือนให้ตนเอง ฯลฯ ประชาชนธรรมดาไม่มีอำนาจจะกำจัดเลย เพราะทุนนิยมเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล่ำทางอำนาจสูงมาก
   
ในเมื่อการคอร์รัปชั่นเป็นการที่บุคคลใช้ตำแหน่งของตนเอง และอำนาจที่มาจากตำแหน่งนั้น ในการแสวงหาความร่ำรวยเกินมูลค่าที่ตัวเองผลิตให้สังคมผ่านการทำงานมันต้องนำไปสู่ข้อสรุปว่าทุนนิยมทั้งระบบ เป็นกระบวนการคอรรัปชั่นอันยิ่งใหญ่ เพราะคนที่เคยเป็นโจร คนที่เกิดมาในตระกูลร่ำรวย คนที่เอาเปรียบคนอื่นจนร่ำรวย สามารถเป็นนายทุนและผูกขาดปัจจัยการผลิตของสังคมไว้ในมือตนเอง และด้วยอำนาจการผูกขาดนี้เขาสามารถปล้นผลงานของประชาชนธรรมดาทั้งหมดในรูปแบบกำไร ทั้งๆ ที่นายทุนไม่เคยทำงานเอง การบริหารทรัพย์ของตนเองเพื่อขูดรีดผู้อื่นไม่ใช่การทำงาน
   
ถ้าเราจะกำจัดคอรัปชั่น เราต้องกำจัดระบบทุนนิยมและนำทรัพยากรกับปัจจัยการผลิตทั้งหมดของสังคมมาเป็นของประชาชนทุกคน แต่ไม่ใช่ผ่านเผด็จการที่โบกธงแดงแล้วอ้างว่า “ทำในนามของประชาชน” อย่างที่เคยเกิดในระบบสตาลินหรือเหมาเจ๋อตุง มันต้องเป็นสังคมนิยมในรูปแบบที่คนทำงานร่วมกันบริหารสถานที่ทำงาน และประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการวางแผนเศรษฐกิจ มันต้องเป็นสังคมเสรีภาพเต็มที่ ไม่ใช่สังคมเหลื่อมล้ำ
   
แต่ก่อนที่เราจะถึงสังคมนิยม มันมีหลายก้าวสำคัญที่เราสามารถเดินไปข้างหน้าได้ โดยเฉพาะในไทย เราต้องนำคนที่เคยทำรัฐประหาร คนที่ได้ดิบได้ดีจากรัฐประหาร และคนที่ฆ่าประชาชนมือเปล่ามาลงโทษ เราต้องยกเลิกกฏหมายเผด็จการเช่น 112 หรือกฏหมายคอมพิวเตอร์ และกฏหมายที่คุ้มครองไม่ให้เราวิจารณ์ศาล แต่ถ้าจะทำสิ่งเหล่านี้คนธรรมดาต้องมีอำนาจมากขึ้น เพราะการเพิ่มอำนาจของประชาชนคือวิธีเดียวที่จะเริ่มกำจัดการคอร์รัปชั่น
   
เราเพิ่มอำนาจคนธรรมดาในรูปธรรมได้ ในสถานที่ทำงานทุกแห่งเราควรพยายามสร้างสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อต่อรองกับอำนาจเผด็จการของนายทุนหรือฝ่ายบริหาร ตรงนี้เราควรทราบด้วยว่าในเครือข่ายบริษัทที่ อานันท์ ปันยารชุน เกี่ยวข้องด้วย มีความพยายามที่จะสกัดกั้นและปราบปรามการตั้งสหภาพแรงงาน
   
การเพิ่มอำนาจคนธรรมดาต้องผ่านการรวมตัวกันด้วย ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และในพรรคการเมืองที่อิสระจากผู้มีอำนาจฝ่ายต่างๆ แต่อย่าไปหลงเชื่อว่าชนชั้นกลางควรมีบทบาทสูงในการปราบคอร์รับชั่น เพราะเวลาคนชั้นกลางคัดค้านการคอร์รัปชั่น เขาแค่ไม่พอใจที่ตนเองและพรรคพวกไม่มีโอกาสไปร่วมกินด้วยกับคนที่มีอำนาจ และเขาเลือกปฏิบัติในการวิจารณ์การโกงกิน อย่างที่เราเห็นในกรณีสลิ่มที่ด่าการคอร์รัปชั่นของทักษิณ แต่เชิดชูรัฐประหารและไม่กล่าวถึงการโกงกินของทหาร
   
พูดง่ายๆ เส้นทางที่จะนำไปสู่การกำจัดการคอร์รัปชั่นในสังคมคือ การเพิ่มอำนาจ ความมั่นใจ และการจัดตั้งในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน แต่ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่เพราะหลงเชื่อว่ากรรมาชีพหรือนักสหภาพแรงงานซื่อสัตย์กว่าผู้อื่น ไม่ใช่เลย และไม่ใช่เรื่องปัจจเจกด้วย มันเป็นเรื่องการเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจทางชนชั้นในสังคมต่างหาก และเป็นเรื่องการเปิดให้เราทุกคนสามารถตรวจสอบควบคุมกันเองด้วย

บริโภคนิยมช่วยปลดแอกกรรมาชีพได้

การกดขี่แรงงานภายใต้เงื่อนไขการผลิตและการลดความสำคัญของการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ เป็นเพื่อเป้าหมายในการผลิตเพื่อการสะสมทุนในระบบทุนนิยม การบริโภคของมวลชนจึงเป็นเรื่องรอง และการผลิตเพื่อสะสมทุนเป็นเรื่องหลัก

โดย ยังดี โดมพระจันทร์

พวกลัทธิเหมา และอดีตฝ่ายซ้ายที่แปรตัวมาเป็น NGO หลายคนเชื่อว่า มวลชนที่จะเข้าร่วมการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถึงที่สุดได้ต้องเป็นคนที่จนที่สุด ความคิดนี้ทำให้พวกเขามุ่งหน้าทำงานกับคนจนที่สุด ลงไปฝังตัวในชนบทที่กันดาร โดยไม่คำนึงว่าคนจนเหล่านี้จะมีแรงลุกขึ้นมาสู้หรือไม่??? หรือคนจนเหล่านี้อ่อนแอเกินกว่าจะฝันถึงสังคมใหม่ซะแล้ว

ความพยายามกลมกลืนในหมู่คนจนด้วยการแต่งกาย การใช้ชีวิตและรสนิยมแบบเรียบง่ายกลายเป็นความภาคภูมิใจที่หนุ่มสาวในยุคสมัยหนึ่งยอมรับกัน เพื่อสะท้อนความเป็นขบถ และความต้องการการเปลี่ยนแปลง การลดการบริโภคและโจมตีการบริโภคกลายเป็นมรดกทางความคิดชนิดหนึ่ง เพราะถือว่าการบริโภคยืนอยู่ตรงข้ามกับความจน ความอด ความหิว  การบริโภคเป็นศัตรูตัวร้าย

• ศาสนามอมเมาเราว่า “ภาวะชีวิตใหม่” ที่น่าปรารถนาเป็นเรื่องผิด

ขณะที่นักบวชอย่างพระไพศาล วิสาโล อดีตนักกิจกรรมคนเดือนตุลา นำแนวคิดทางศาสนามาผสมโรงว่า

“….วัตถุนิยม หมายถึงการกินอาหารเพราะติดในรสอร่อย ต้องการเครื่องปรับอากาศ เพราะมันให้ความเย็น หรือต้องการรถเบนซ์ เพราะไปไหนมาไหนสบาย ไม่เหนื่อย นี่เป็นความสุขอันเนื่องจากประสาททั้งห้า แต่บริโภคนิยมลึกกว่านั้น ความสุขจากการกินโค้กหรือสตาร์บั๊คส์ มิได้อยู่ที่รสอร่อยหรือกลิ่นหอมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะมันให้ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนทันสมัย มีรสนิยม มันสนองสิ่งที่ลึกซึ้ง คือสนองความต้องการมี “ภาวะชีวิตใหม่” ที่น่าปรารถนา ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ภวตัณหา”  คือ ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณได้เป็นอะไรบางอย่างที่พึงปรารถนา คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณค่า อันนี้เป็นการตอบสนองทางจิตใจซึ่งเป็นอายตนะที่หก เห็นได้ว่าบริโภคนิยมไม่ใช่เรื่องของวัตถุล้วน ๆ แต่มีมิติทางจิตใจซึ่งทำให้มัน มีแรงดึงดูดต่อผู้คนมาก……”

แปลให้ง่ายๆว่า การมีความสุข สะดวกสบาย มีความภาคภูมิใจ ต้องการมี “ภาวะชีวิตใหม่” ที่น่าปรารถนาเป็นเรื่องผิด มนุษย์ต้องจัดการกับความคิดตนเองให้ ลด ละ เลิกการบริโภค และการมีความสุขทั้งปวง

• การต้านลัทธิบริโภคนิยมหลอกลวงคนจนให้จนซ้ำซาก

เมื่อเอาสองแนวคิดนี้มารวมกัน ทั้งทางโลกทางธรรม ยำใหญ่ออกมาเป็นสูตรต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม และแนวประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยผู้เสนอนโยบายซึ่งมวลชนกว่าค่อนประเทศตอบรับ นายวิทยากร เชียงกูล ผู้เคยจุดประกายแห่งยุคฉันจึงมาหาความหมาย ให้นิยามลัทธิบริโภคนิยมว่า

“…การนิยมบริโภคฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิตและเกินกว่าฐานะรายได้หรือความสามารถในการผลิตของคนหรือของประเทศ เป็นลัทธิที่แพร่หลายในประเทศไทยมาก ไม่ใช่เฉพาะนิสิต นักศึกษา เยาวชนวัยรุ่นหนุ่มสาวเท่านั้นที่นิยมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คนทั่วไปต่างก็นิยมใช้จ่ายฟุ่มเฟือยกันเป็นส่วนใหญ่ การค้าอย่างเสรี กระตุ้นการค้าขาย กระตุ้นการใช้จ่ายมาก ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาหวังประโยชน์ในการหาเสียงและเพื่อธุรกิจของตน

รัฐบาลทักษิณยิ่งส่งเสริมทุนนิยมบริโภคแบบสุดโต่งทั้งกระตุ้นการใช้จ่าย การปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการหาเสียงและเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนมีเงินกลับมาซื้อสินค้าและบริการของพวกตน ลัทธิบริโภคนิยมจึงงอกงามในไทยมากกว่าหลายประเทศ  นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจควรใช้แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธที่เน้นการกินอยู่แบบพอดี ประหยัดเรียบง่าย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ไปกับระบบสหกรณ์

การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เกษตรทางเลือก สาธารณสุขทางเลือก พลังงานทางเลือก ที่เน้นการใช้ทรัพยากรในประเทศและเน้นสุขภาพความปลอดภัย และการให้ประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว….”

การเน้นว่าเกินกว่าฐานะรายได้ คือการจงใจจะบอกกับคนจน คนทำงาน คนธรรมดาที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว แทนที่จะไปพูดกับเจ้าของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ชนชั้นสูงและพวกเศรษฐี เปิดโอกาสให้พวกฐานะดี มีรายได้สูงเหล่านี้ใช้จ่ายอย่างไม่ต้องพอเพียงต่อไปอย่างสบายใจ นักวิชาการเหล่านี้ก็ล้วนใช้ชีวิตสุขสบายไม่ได้ต่างอะไรกับผู้มีอันจะกินอื่นๆ แต่คอยสั่งสอนประชาชนที่ถูกดกดขี่ด้วยทฤษฎีลวงโลกต่างๆนานา

• การบริโภคสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้แรงงาน

ที่เพ้อเจ้อมากไปกว่านั้นคือการประนามนโยบายบริโภคนิยม หรือลัทธิบริโภคนิยมว่าเป็นตัวการสร้างหนี้ภาคครัวเรือน ตัวอย่างเช่น รถคันแรก ทำให้การจราจรติดขัด  กองทุนหมู่บ้านมอมเมาชาวบ้านกู้ไปล้างหนี้นอกระบบและใช้จ่ายบริโภคมากเกินไป  พอถึงเวลาคืนไม่ทันก็กู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยแพงมาคืน หนี้สินก็เลยพอกพูน  ธนาคารประชาชนก็เหมือนกันชาวบ้านก็กู้ไปใช้จ่ายบริโภค หวยบนดินก็มอมเมาขายฝัน กระตุ้นกิเลสประชาชนให้มัวเมาในอบายมุข ฯลฯ

ทุกเรื่องที่กล่าวมาเป็นเรื่องกล่าวหาลอยๆ รถคันแรกกระจายทั่วประเทศ ขณะที่รถเศรษฐีวิ่งในเมือง บางครอบครัวอยู่กันสามคนมีรถ 5-6 คัน ธนาคารเพื่อการเกษตรประกาศอัตราหนี้สูญไม่ถึงร้อยละสาม น้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป พร้อมตอกย้ำความมีวินัยของผู้มีรายได้น้อยว่าวงเงินกู้ต่ำกว่าแสนบาทเหล่านี้มีการจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นอย่างสม่ำเสมอ

หวยบนดินช่วยแก้ปัญหาการขายเกินราคา และล้างเจ้ามือหวยเถื่อนต่างๆ  การโทษนโยบายบริโภคนิยม ว่าเป็นส่วนสำคัญของประชานิยมแทนที่จะกล่าวถึงความโหดร้ายของระบบทุนนิยมทั้งระบบซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำและความยากจนให้ดำรงอยู่ ล้วนเป็นเรื่องบิดเบือน

จริงอยู่ที่นายทุนต้องการให้มีการบริโภคมากๆ สั่งสมกำไรมากๆ ขณะที่มวลชนคนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานทำการผลิต ที่แลกมาจากสมองและสองมือ ค่าแรงน้อยนิดของพวกเขาถูกขูดรีดไป  ในเวลาเดียวกันเขาก็มีฐานะเป็นผู้บริโภคด้วย เขาจะต้องอดออมพอเพียงไปเพื่อใครอีกเล่า เพื่อนายทุน เศรษฐี คนมีสตางค์ที่อาศัยในบ้านโอ่อ่า กินอาหารรสเลิศ หรูหราในเสื้อผ้าราคาแพงระยับเช่นนั้นหรือ??

• ศัตรูที่แท้จริงของเราหมายถึงระบบทุนนิยมทั้งระบบ
           
เราไม่ได้ต่อสู้กับลัทธิบริโภคนิยม ที่เฝ้าสั่งสอนให้คนจน คนธรรมดา ผู้ใช้แรงงานที่เป็นมวลชนคนส่วนใหญ่ของสังคมต้องเจียมเนื้อเจียมตัว ศัตรูที่แท้จริงของเราหมายถึงระบบทุนนิยมทั้งระบบ เรากำลังต่อสู้กับระบบอำมาตยาธิปไตยที่สูบกินทรัพยากรอย่างไม่พอเพียงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ใช่นายทุนคนใดคนหนึ่ง

ถ้าจะเข้าใจทุนนิยม หรือกระบวนการทางสังคมอื่นๆ เราต้องพิจารณาจากภาพรวมในรายละเอียด และเข้าใจคู่ความขัดแย้งในสังคม คาร์ล มาร์คซ์ นักปฏิวัติสังคมนิยม เสนอว่า

“นายทุนคือร่างมนุษย์ของทุน ดังนั้นการแข่งขันเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดคือสิ่งที่ขับเคลื่อนนายทุนมากกว่าความโลภส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันนายทุนคือคน ซึ่งมีความโลภหรือความโหดร้ายได้ และความรู้สึกดังกล่าวมาจากความจำเป็นที่จะต้องแข่งขัน” 

สำหรับมาร์คซ์ ชนชั้นกรรมาชีพไม่ใช่แค่เหยื่อ เขาเชื่อมั่นว่ามวลชนเหล่านี้รวมตัวกันปลดแอกสังคมได้ กรรมกรหญิงที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองกระทั่งครอบครัว และซื้อหาบริโภคได้มีความมั่นใจในตนเองสูงกว่าสาวชาวไร่หลายเท่า เช่นเดียวกับกรรมกรที่รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานสามารถต่อรองเรียกร้องค่าแรงงานที่ยุติธรรมจากนายจ้างได้  ในท่ามกลางการต่อสู้เหล่านี้ การต่อสู้ในชีวิตประจำวัน และการสะสมชัยชนะเล็กๆน้อยๆ จะสร้างความมั่นใจอันเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาเชื่อมั่นในพลังของตนเอง เช่นเดียวกับการต่อสู้ของคนเสื้อแดงที่รวมตัวกัน

• การบริโภคที่มวลชนกำหนดได้เองคือเป้าหมายของเรา

วันนี้เรามาบริโภคกันเถอะเพื่อความมั่นใจในตนเอง เงินรายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตนเองควรค่าแก่การใช้จ่ายเพื่อความสุขสบาย และความภูมิใจในตนเอง  แม้การบริโภคในระบบทุนนิยมจะไม่ได้ตอบสนองความต้องการของมวลชนอย่างแท้จริง มวลชนไม่มีส่วนในการกำหนด วางแผนว่าจะผลิตอะไรอย่างไร นักปฏิวัติผู้นำ Socialist Worker ในอังกฤษ โทนี่ คลิฟ เจ้าของทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐ ชี้ว่า

“…..การกดขี่แรงงานภายใต้เงื่อนไขการผลิตและการลดความสำคัญของการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ เป็นเพื่อเป้าหมายในการผลิตเพื่อการสะสมทุนในระบบทุนนิยม การบริโภคของมวลชนจึงเป็นเรื่องรอง และการผลิตเพื่อสะสมทุนเป็นเรื่องหลัก บางครั้งระดับการบริโภคและการผลิตเพื่อสะสม จะขยายตัวพร้อมๆกัน แต่ในเวลาอื่นระดับการบริโภคจะลดลงในขณะที่การสะสมทุนเพิ่มขึ้น สิ่งที่สำคัญคือในระบบทุนนิยมการสะสมทุนเพื่อการผลิตมีฐานะสำคัญกว่าการบริโภค……”
           
สิ่งสำคัญที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานจะกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ ไม่ถูกกดขี่ขูดรีดไม่ถูกมอมเมาต่อไป มีเสรีภาพที่จะบริโภค และวางแผนการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างแท้จริงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาประชานิยมและเศษอาหารเศษเสี้ยวทรัพยากรที่อำมาตย์แบ่งมาให้ ก็คือ การปลดแอกสู่สังคมนิยม สังคมที่ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินอย่างแท้จริง

การขายบริการทางเพศ คือ งานบริการชนิดหนึ่ง?

กลุ่มทุนเหล่านี้ทำกำไรมหาศาลจากการทำให้เรื่องเพศกลายเป็นสินค้า และตัวผลิตภันฑ์ดังกล่าวสร้างขึ้นมาจากการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นวัถตุทางเพศ ดังนั้นเราในฐานะนักสังคมนิยมเราจะต้องต่อต้านคลับเปลือยเหล่านี้

โดย สมุดบันทึกสีแดง

ในระดับสากล การต่อสู้ของหญิงบริการนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 คลื่น ยุคแรกเกิดขึ้นใน 1970 คลื่นลูกที่สองเกิดขึ้นปี 1990 (2533) คลื่นลูกที่สามโผล่ขึ้นมาอย่างมีนัยยะสำคัญที่ประเทศอินเดียและอาเจนตินาซึ่งครั้งนั้นมีการพัฒนาไปอีกขั้นตอนหนึ่งคือการจัดตั้งของหญิงบริการทางเพศ อันเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคเอสด์ ทั้งสองประเทศมีสหภาพแรงงานเป็นของตัวเอง ที่ประเทศอาเจนตินาก่อตั้งของในปี 2001 (AMMAR ) และในประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 (2549) (The Karnataka Sex Workers Union) ซึ่งเน้นการจัดตั้ง แก้ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศและรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงในเวลาเดียวกัน

ในบทความนี้ผู้เขียนจะลงรายละเอียดคร่าวๆ เกี่ยวกับข้อถกเถียงของปัญหาหญิงบริการทางเพศ ซึ่งจะเน้นเฉพาะในประเทศอังกฤษ

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการขายบริการทางเพศในประเทศอังกฤษ 

ขบวนการสิทธิสตรีแสดงความกังวลเกี่ยวกับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพศ เพราะอุตสหกรรมนี้ได้ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา และหลังจากนั้นจะพัฒนากลายมาเป็นเรื่องที่สังคม “รับได้” อุตสาหกรรมทางเพศได้ขยายตัวออกไปสู่ปริมณฑลของการซื้อขายในพื้นที่สีเทา อุตสาหกรรมเพศที่เติบโตเร็วมากที่สุดในอังกฤษ คือ คลับเปลือย บ่อยครั้งจะมีการเรียกผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ว่า “นักเต้น” เพื่อที่จะจัดประเภทแรงงานให้เข้าไปอยู่ในแรงงานสาย “อีโรติก” สภาพแรงงาน GMB  ได้พยายามที่ขยายจำนวนสมาชิกแรงงานที่นี่ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างหนัก

มีข้อเสนอว่าการทำงานเปลือย หรือเป็นนักเต้นนั้น ผู้หญิงสามารถทำเงินได้เร็ว มีอำนาจการต่อรอง และมีความเป็นอิสระ ซึ่งถ้าสำรวจกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำอาชีพนี้จะพบว่าเป็นคนทำ “อาชีพอิสระ” (Self-employed)  ซึ่งจะมีรายได้หลักจาก “ค่าทิป” และจากค่าเต้น ซึ่งนักเต้นเหล่านี้จะต้องจ่ายค่าเช่าอุปกรณ์ให้กับผู้จัดการร้านต่างหาก ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่าผู้หญิงเหล่านี้อยู่ห่างใกลจากคำว่าเป็นอิสระ ในทางกลับกันพวกเธอถูกสอดแนมและควบคุมมากกว่า

GMB หลังจากได้เข้าไปจัดตั้งผู้หญิงในคลับเปลือย สามารถต่อรองเรื่องคุณภาพการจ้างงานในคลับได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีเราต้องสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตามเราต้องตั้งคำถามต่อไปว่า กลุ่มทุนเหล่านี้ทำกำไรมหาศาลจากการทำให้เรื่องเพศกลายเป็นสินค้า และตัวผลิตภันฑ์ดังกล่าวสร้างขึ้นมาจากการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นวัถตุทางเพศ ดังนั้นเราในฐานะนักสังคมนิยมเราจะต้องต่อต้านคลับเปลือยเหล่านี้

แค่การดำรงอยู่ของสถานประกอบการแบบนี้หนุนเสริมให้การกดขี่ผู้หญิงดำรงอยู่ต่อไป คลับเปลือยไม่ใช่สถานที่ทำงานปกติ เราไม่ควรจะประณีประนอมกับแนวความคิดที่พยายามจะทำให้สถานที่แบบนี้เป็นสถานประกอบการปกติ  การมีอยู่ของคลับเปลือยหรือสถานบริการเพศต่างๆ มันทำให้การต่อสู้เพื่อให้คุณค่ากับผู้หญิงในแบบที่เป็นเธอเป็น ไม่ว่าจะเป็นขนาดของรูปร่าง อายุ ชาติพันธ์ กลายเป็นภาระกิจที่เต็มไปด้วยความยากลำบากเกินความจำเป็น

ควรจะแบนสถานการประกอบการแบบนี้ไหม? 

ข้อเสนอโดยการใช้กฎหมายบังคับ ถูกตอบในทางบวกจากหลายส่วน นักสิทธิสตรีเช่น จูลี่ บิลเดล (Julie Bindel)ถึงกับเตรียมตัวพร้อมที่จะร่วมมือกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมเรียกร้องให้มีการแบนสถานที่ประกอบการ ซึ่งพวกเราควรจะหลีกเลี่ยง เราไม่เห็นด้วยกับกรอบข้อถกเถียงในเชิงศีลธรรมที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมชื่นชอบ การเพิ่มอำนาจให้กับรัฐเพื่อเข้ามาจัดการกับเรื่องนี้ก็มีปัญหา เพราะตัวของรัฐเองคือเครื่องของการกดขี่ไม่ใช่เครื่องของการ  (จะกล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดในย่อหน้าข้างหน้า)

เราควรจะแบนผู้ชายไหม?

ข้อเสนอนี้ได้หันไปเน้นที่ผู้บริโภค เพราะเชื่อว่าถ้าแบนตรงนี้ได้ก็จะสามารถลดปริมาณหญิงบริการทางเพศได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการต่อต้านจากหลายองค์กรรวมถึงองค์กรของหญิงบริการทางเพศเอง เพราะในรูปธรรม เป็นทำให้เรื่องการซื้อขายบริการเพศเป็นเรื่องใต้ดิน หญิงขายบริการจะถูกดันให้ไปอยู่ชายขอบมากยิ่งขึ้น ไร้อำนาจในการดูแลตนเอง

ในกรณีของสวีเดน ได้ออกกฎหมายเอาผิดผู้ชายที่มาซื้อบริการเพศ ในปี 1998 ซึ่นเป็นข้อเสนอของกลุ่มนักสิทธิสตรี จำนวนหญิงบริการทางเพศบนท้องถนนในสวีเดนได้ลดลง แต่การซื้อขายเพศในอินเตอร์เนตได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งองค์กรของหญิงบริการทางเพศ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าการแบนลูกค้าของพวกเธอได้ผลักให้กลุ่มลูกค้าเดินเข้าไปสู่พื้นที่ๆดำมืดมากกว่าเดิมเป็นผลเสียทั้งต่อหญิงขายบริการและลูกค้า

โอคอลแนล เดวิสัน   (O’Connell Davidson) อธิบายเพิ่มเติมว่า การลงโทษผู้ซื้อ ส่งเสริมให้กลุ่มสิทธิสตรีทำแนวร่วมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งในรูปธรรมหมายถึง ตำรวจจะเรียกร้องให้ออกนโยบายเอาผิดที่รุนแรง นักการเมืองจะฉวยโอกาสต่อต้านแรงงานข้ามชาติ  เรียกร้องให้เพิ่มมาตรการควบคุมคนเข้าเมือง และฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็จะเรียกร้องให้หันกลับไปส่งเสริม “คุณค่าของครอบครัว”

มีความพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าทำไมผู้ชายจึงหันไปซื้อบริการทางเพศเพิ่มขึ้น คำอธิบายหนึ่งคือ การทำงานที่ยาวนานและการขาดโอกาศที่จะสร้างความสัมพันธ์ และภายใต้เงื่อนไขสังคมปัจจุบันผู้ชายถูกส่งเสริมให้คิดว่าเขาควรจะมีเพศสัมพันธ์และร่างของผู้หญิงนั้นก็เพียงแค่สินค้าชนิดหนึ่งที่เขาสามารถซื้อได้ ผู้หญิงก็เหมือนกับรถหรือทีวีซื้อมาแล้วก็ขี่และดู ซึ่งในประเด็นนี้ เดวิสัน ได้แย้งว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะซื้อเซ็กส์ แต่มนุษย์ถูกสอนให้คิดว่าการบริโภคสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก สถานภาพความเป็นผู้ชายของเขาจะได้รับการยอมรับในสังคม

รัฐ สถานที่พักพิง หรือ เครื่องมือในการกดขี่?

รัฐตอบสนองต่อประเด็นปัญหานี้ด้วยภายใต้สองกรอบความคิดหลักคือ มองว่าหญิงบริการทางเพศ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เป็นตัวอันตรายต่อศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งจะต้องถูกกำจัดให้หมดไป และ มองว่าหญิงบริการทางเพศ เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ที่จะต้องหาทางควบคุม อย่างไรก็ตามภายใต้สองกรอบคิด ไม่ได้ช่วยให้ให้การกดขี่ทางเพศในอุตสาหกรรมเพศลดลงแต่อย่างใด ในประเทศอังกฤษ รัฐบาลภายใต้พรรคแรงงานใหม่ได้ปฏิบัติต่อหญิงขายบริการ โดยเสนอว่าหญิงขายบริกาทางเพศ เป็นพฤติกรรมต่อต้านสังคม และ ประกาศว่าเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้

ความพยายามทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือการฟื้นฟูพฤติกรรมถูกกำหนดขึ้นมาจากกรอบที่ต้องการลงโทษหญิงขายบริการ ตำรวจถูกส่งเสริมให้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์สงคมสงเคราะห์ ในประเด็นบ้านพักผู้ประสบภัย การลงพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพทางเพศ โปรแกรมที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ติดยาและเหล้าเพื่อดึงให้ผู้หญิงออกจากวงจรการค้าเพศ ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว ผู้หญิงเหล่านี้อาจจะถูกสั่งขังจำคุกได้ถึง 5 ปี ถ้าทำผิดกฎ ซึ่งการมีบันทึกว่าเคยเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมแบบนี้ เป็นอุปสรรคมากในการสมัครงาน มันทำให้ผู้หญิงหลายคนไม่กล้าเข้าสู่โปรแกรมการจัดการกับการค้ามนุษย์นั้น บ่อยครั้งวกกลับไปอยู่ในกรอบของการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อของเจ้าหน้าที่

ข้อเสนอเชิงปฏิรูปที่หญิงบริการทางเพศได้รับประโยชน์เราควรสนับสนุน แต่เราตระหนักว่าข้อเสนอเชิงปฏิรูปเหล่านี้จะไม่นำไปสู่การปลดปล่อยผู้หญิงแต่อย่างใด ข้อเสนอระยาวนั้นควรจะเน้นทำลายเงื่อนไขต่างๆที่ผู้ต้องตัดสินใจเดินเข้าสู่เส้นทางนี้ ความอิสระและความมั่นคงในชีวิตคือประตูบานแรกที่จะทำลายวงจรอุบาทว์

บันทึกแรงงานจากเกาหลีใต้ 2 ปีที่แล้ว

ที่มา เฟซบุ๊ค Woradul Maimeesakulrunchart

-1980-1986 เกาหลีใต้อยู่ภายใต้การปกครองที่มาการรัฐประหารโดยเผด็จการทหาร ชุน ดู ฮวาน
– พฤษภาคม 1980 เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ เหตุการณ์สำคัญคือกวางจู
– รัฐบาลมีนโยบายจำกัดบทบาทสหภาพแรงงาน
– สหภาพแรงงานที่เป็นประชาธิปไตยถูกทำลาย

– แก้กฎหมายแรงงาน ห้ามมีสหภาพแรงงานหลายแห่งในบริษัทเดียวกัน (multi unionism)
– บังคับให้สหภาพแรงงานเป็นสหภาพที่อยู่ในแต่ละบริษัท (company unionism)
– เกิดข้อพิพาทแรงงานมากขึ้น คนงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน
– สมาชิกสหภาพแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 850,000 คนในปี 1981 เป็น 1 ล้าน 3 แสนคนในปี 1987
– การนัดหยุดงานเพิ่มจำนวนขึ้น 186 ครั้งในปี 1981 เป็น 259 ครั้งในปี 1986

– การประท้วงนัดหยุดงานที่ไม่ถูกกฎหมายในระบอบเผด็จการเกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่น นขับรถแท๊กซี่นัดหยุดงานปี 1984 คนงานแดวูนัดหยุดงานในปี 1984
– การเคลื่อนไหวของคนงานและการเคลื่อนไหวของปัญญาชนไปด้วยกัน
– เกิดภราดรภาพในการต่อสู้ของคนงานต่างบริษัทกัน
– ในปี 1987 มีการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาธิปไตยตรั้งใหญ่ที่มีแกนการเคลื่อนไหวคือคนงาน นักศึกษา ประชาชน ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

– การเคลื่อนไหวเรียกกร้องประชาธิปไตยใน 1987 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของขบวนการแรงงงานเกาหลีใต้
– ในปี 1987 มีการประท้วงนัดหยุดงานของคนงาน 3,749 ครั้ง ในปี 1988 1,873 ครั้ง ปี 1988 1,319 ครั้ง การนัดหยุดงานส่วนใหญ่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายที่รัฐบาลกำหนด
– สมาชิกสหภาพเองเป็นคนนำการนัดหยุดงาน ครึ่งหนึ่งของการนัดหยุดงานเป็นโรงงานที่ไม่มีสหภาพ
– เป็นการเคลื่อนไหวของคนงานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

– เป็นการลุกฮือของคนงานมากกว่าเป็นข้อพิพาทแรงงานตามนิยามของกฎหมาย
– เป็นการเริ่มต้นของชนั้นกรรมาชีพในฐานะกลุ่มพลังทางการเมือง
– ผลผลิตของเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักศึกษา ประชาชน คนงาน นำมาู่การปรับโครงสร้างขบวนการแรงงานเกาหลีใต้เกิดสภาแรงงานฝ่ายประชาธิปไตย KCTU มีสมาชิก 588,394 คนจาก 553 สหภาพ
– โครงสร้างสหภาพราว 80 % ไม่ได้เป็นสภาพสถานประกอบการ แต่เป็นสหภาพที่มีอุตสาหกรรมเดียวกันคือมีสมาชิกอยู่คนละบริษัท เช่น KHMU สหภาพโรงพยาบาลเป็นสหภาพแห่งเดียวแต่มีสมาชิกอยู่ในโรงพยาบาล 100 กว่าแห่งทั่วประเทศเป็นต้น

สรุป ความเข้มแข็งของสหภาพเกาหลีใต้เป็นผลผลิตมาจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของปัญญาชนกับคนงาน มีการทำงานร่วมกัน วางแผน ปรับโครงสร้างสหภาพ ตั้งสภาแรงงานขึ้นมาใหม่ เกิดพรรคแรงงานขึ้น (แต่เพิ่งแตกกันไป) ทั้งนี้ปัจจุบันยังคงมีนักศึกษาที่ร่วมกับคนงานเรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนั้น ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานโดยสหภาพจ่ายเงินเดือนให้

“ในประเทศไทย ก็มีขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในอีก 5 ปีต่อมาปีคือพฤษภา 35 หรือปี 1992” ผมบอกกับที่ประชุม

“แล้วผลผลิตจากการต่อสู้ของคุณในแง่ขบวนการแรงงาน หรือขบวนการประชาชนล่ะ” เขาถาม
“สมัชชาคนจนครับ” ผมตอบ

“น่าสนใจ” บราเดอร์ Kim Keumsoo ปัญญาชนผู้อาวุโสของขบวนการแรงงานเกาหลีใต้ ผู้บรรยายถามผมก่อนจบการประชุม