บทเรียนจากการปฏิวัติโปรตุเกสปี 1974

ห้าสิบปีที่แล้วมีการพยายามปฏิวัติสังคมนิยมในยุโรปตะวันตก คือในประเทศโปรตุเกส ในปี 1974 โปรตุเกสเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรปตะวันตก บริษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อฉวยโอกาสใช้แรงงานราคาถูก มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมต่อเรือ และการสื่อสาร ซึ่งทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีการกระจุกอยู่ในส่วนกลางของประเทศในขณะที่ทางเหนือมีเกษตรกรยากจนจำนวนมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่สองประเทศเจ้าอาณานิคมในยุโรปตะวันตกอยู่ในสภาพวิกฤต เพราะอ่อนแอจากการทำสงคราม และเผชิญหน้ากับขบวนการชาตินิยมทั่วโลกที่เติบโตในขณะที่มหาอำนาจกำลังสู้รบกันเอง ในตอนแรกสันดานของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส อังกฤษ และโปรตุเกส นำไปสู่การพยายามปราบปรามขบวนการกู้ชาติเหล่านี้ด้วยความรุนแรงป่าเถื่อน แต่ในไม่ช้าฝรั่งเศสกับอังกฤษเข้าใจว่าคงปกครองประเทศอาณานิคมต่อไปไม่ได้

แองโกลา โมแซมบีก และ กีนีบิเซา เป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในแอฟริกา แต่โปรตุเกสมีอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย คือติมอร์เลสเตหรือติมอร์ตะวันออก โปรตุเกสซึ่งไม่ได้ร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง พยายามคุมอาณานิคมจนวินาทีสุดท้ายด้วยการปราบปรามขบวนการชาตินิยม โดยเฉพาะสามประเทศในแอฟริกา ตั้งแต่ปี 1961ขบวนการ MPLA ในแองโกลา เริ่มต่อสู้กับทหารโปรตุเกส และในปีต่อมา FRELIMO ในโมแซมบีก ก็ประกาศศึกกับโปรตุเกส ส่วนในติมอร์เลสเตขบวนการชาตินิยม “เฟรตีลิน” พึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1974

ชาลาชาร์

ในช่วงนี้โปรตุเกสปกครองด้วยระบบฟาสซิสต์ที่เรียกว่า “รัฐใหม่” ภายใต้เผด็จการของซาลาซาร์ ต่อมาเมื่อ ซาลาซาร์ เสียชีวิต ไกตานู ก็ขึ้นมาเป็นผู้นำเผด็จการฟาสซิสต์คนใหม่ในปี 1968

ไกตานุ

ถ้าดูบริบททางสังคมและการเมืองในยุโรปยุค 1968 จะเข้าใจว่าเป็นยุคที่คนหนุ่มสาวและกรรมาชีพลุกขึ้นสู้อย่างดุเดือด โดยเฉพาะในฝรั่งเศสกับอิตาลี่ ซึ่งแน่นอนมีผลกับคนหนุ่มสาวและกรรมาชีพในโปรตุเกสที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบากภายใต้เผด็จการอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว เผด็จการนี้เน้นความรักชาติ ความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันครอบครัวแบบชายเป็นใหญ่ และความสำคัญในการเชื่อฟังผู้นำทางการเมืองกับพวกพระคาทอลิก

ประกายไฟจาก 1968 ได้ลุกเป็นเปลวในประเทศโปรตุเกส ในยุคนั้นการที่โปรตุเกสพยายามปกป้องอาณานิคมของตนเองด้วยกำลังทหาร เริ่มมีปัญหามากขึ้น รัฐบาลประกาศเกณฑ์ทหารไปรบในแอฟริกามากขึ้น ซึ่งในที่สุดทำให้ความไม่พอใจในหมู่ประชาชนธรรมดาระเบิดออกมา เพราะกรรมาชีพในโปรตุเกสไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลยจากการที่ประเทศมีอาณานิคมในแอฟริกา สภาพความยากจนและการถูกกดขี่ขูดรีดไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย และคนที่ได้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่คือพวกนายทุน นายพลระดับสูง กับนักการเมืองฟาสซิสต์ แถมตอนนั้นรัฐบาลกำลังบังคับคนหนุ่มสาวให้ไปตายฟรีๆ ในสงครามที่โปรตุเกสกำลังแพ้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจมากในกองทัพ จึงมีการสร้าง “ขบวนการทหาร” (MFA) และวางแผนทำรัฐประหารในเดือนเมษายน 1974 โดยหัวหอกหลักในรัฐประหารครั้งนั้นคือกองพลวิศวกรภายใต้ ออร์เทโล คาวาลโยรัฐประหารครั้งนั้นสามารถล้มรัฐบาลขวาจัดฟาสซิสต์ของ ไกตานู แต่ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากอิทธิพลของพวกอนุรักษ์นิยมได้ จึงนำไปสู่การแต่งตั้งนายพลฝ่ายขวาชื่อนายพลสปินโนลา เป็นประธานาธิบดีคนใหม่

ไม่กี่ชั่วโมงหลังรัฐประหาร ขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนก็ออกมาฉลองและสนับสนุน กำลังสำคัญมาจากขบวนการแรงงาน เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมและโรงต่อเรือ นอกจากนี้มีการยึดบ้านว่างโดยคนไร้บ้าน ต่อมาประชาชนออกมาเดินขบวนหนึ่งคนแสนในเมืองลิสบอนในวันแรงงานสากล ซึ่งในยุคนั้นโปรตุเกสมีประชากรแค่ 8.8 ล้านคน

อย่างไรก็ตามกลุ่มทหาร MFA พยายามตลอดเวลาที่จะยับยั้งการลุกฮือของนักสหภาพแรงงาน และมีการตั้งคณะทหารขึ้นมาเพื่อหนุนรัฐบาลใหม่ของนายพล สปินโนลา นอกจากนี้มีการปฏิรูปกองทัพให้หลุดพ้นจากพวกฟาสซิสต์เก่า โดยมีการสร้างกองกำลัง COPCON ภายใต้ นายพลจัดวาออร์เทโล คาวาลโย

ออร์เทโล คาวาลโย

ถึงแม้ว่า คาวาลโย เป็นทหารหนุ่มที่ก้าวหน้า แต่เขามีจุดยืนไม่ชัดเจน แกว่งไปแกว่งมาระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้าย ยิ่งกว่านั้นเขามีลักษณะชอบทำตัวเป็นพระเอกหรือวีรชนเอกชน และในอดีตเขายังเคยชื่นชมฟาสซิสต์ด้วย

ในสถานการณ์แบบนี้ เริ่มมีกลุ่มทหารระดับล่างและคนงานฝ่ายซ้ายที่อยากทำการปฏิวัติสังคมนิยม ซึ่งนำไปสู่การพยายามช่วงชิงการนำทางการเมืองระหว่างพวกฝ่ายขวาที่เป็นพรรคพวกของนายพล สปินโนลา ซึ่งต้องการปกป้องทุนนิยมภายใต้ประชาธิปไตยรัฐสภา กับฝ่ายซ้ายที่ประกอบไปด้วยนายทหารระดับล่าง กรรมาชีพ และนักปฏิวัติสังคมนิยม

ในเดือนพฤษภาคมคาดว่าสถานที่ทำงาน 158 แห่งมีการนัดหยุดงาน และใน 35 แห่งมีการยึดโรงงาน ยิ่งกว่านั้นมีการสร้าง “คณะกรรมการและสภาคนงาน” 4000 สภาในสถานที่ทำงานเกือบทุกแห่งในเมืองลิสบอน มีการผสมผสานข้อเรียกร้องการเมืองและเศรษฐกิจ คือมีข้อเรียกร้อง “ทำความสะอาดกวาดล้าง” ที่ขับไล่พวกสมุนฟาสซิสต์ออกจากที่ทำงาน และมีการเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงพร้อมๆ กัน

พรรคคอมมิวนิสต์ (สายสตาลิน) ของโปรตุเกสมีสมาชิกประมาณ 5000 คน และหลังรัฐประหารพรรคก็พยายามสร้างสหภาพแรงงานอิสระใหม่ภายใต้การควบคุมของพรรคที่เรียกว่า “เครือข่ายสหภาพ” โดยหันหลังให้กับการจัดตั้งของคนงานใน “คณะกรรมการและสภาคนงาน” ในระยะหลังมีการโจมตี “คณะกรรมการและสภาคนงาน” โดยพรรคคอมมิวนิสต์เพราะพรรคควบคุมองค์กรเหล่านี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตามนักเคลื่อนไหวหลายคนใน “คณะกรรมการและสภาคนงาน” เป็นสมาชิกพรรค พวกนี้ลาออกหรือโดนไล่ออกจากพรรค ซึ่งนำไปสู่การสร้างองค์กรฝ่ายซ้ายอื่นๆ ภายใต้ความคิดหลวมๆ ของลัทธิเหมา เช่นองค์กร MRPP, PRP/BR และ MES คนหนุ่มสาวในโปรตุเกสในยุคนั้น หลงเชื่อว่าลัทธิเหมาก้าวหน้ากว่าพรรคคอมมิวนิสต์เดิม

เกิดการปะทะกันระหว่างแรงงานกับรัฐบาลครั้งแรกในเดือนมิถุนายน เมื่อคนงานไปรษณีย์หนึ่งพันคนนัดหยุดงาน รัฐบาลสั่งให้ทหารไปปราบ แต่ทหารธรรมดาบางคนไม่ยอมไปร่วมในการปราบปรามคนงาน ต่อมาในเดือนกันยายนมีการนัดหยุดงานใหญ่ในโรงต่อเรือและมีการเดินขบวนของคนงาน รัฐบาลสั่งให้ทหารติดอาวุธออกไปปราบ แต่ท่ามกลางการตะโกนของคนงานว่า “ทหารคือลูกหลานของคนงาน” และ “อาวุธของทหารต้องไม่ใช้กับคนงาน” มีการกบฏของทหารโดยที่ผู้บังคับบัญชาทำอะไรไม่ได้ ในเดือนเดียวกันพวกนายทุนและฝ่ายขวารวมถึงนายพล สปินโนลา พยายามทำรัฐประหารกระแส “เสียงเงียบ” เพื่อยับยั้งฝ่ายซ้าย แต่ถูกสกัดโดยขบวนการทหารกับขบวนการประชาชน

 ในเดือนกุมภาพันธ์ปีต่อไป “คณะกรรมการและสภาคนงานจากโรงงาน” 38 แห่งจัดให้มีการเดินขบวนต่อต้านการปิดโรงงาน และต่อต้านสหรัฐกับนาโต้เนื่องในโอกาสที่กองทัพเรือสหรัฐเข้ามาฝึกซ้อมสงคราม พรรคคอมมิวนิสต์และพรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรคไม่เห็นด้วยกับการเดินขบวนครั้งนี้ และรัฐบาลสั่งให้กองกำลัง COPCON ไปยับยั้ง ในวันประท้วงมีคนเข้าร่วม 80,000 คน และCOPCON ทำท่าจะปิดถนนที่นำไปสู่สถานทูตสหรัฐ แต่พอขบวนคนงานถึงด่านทหาร พวกทหารคอมมานโดก็ให้ผ่านและหันหลังกับคนงานพร้อมกับหันปืนเข้าสู่สถานทูตสหรัฐ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมานฉันท์ระหว่างทหารกับ “คณะกรรมการและสภาคนงาน”

ตั้งแต่ต้นปี 1975 มีการลุกฮือของคนระดับล่างมากขึ้น มีการยึดโรงงาน เกษตรกรยึดที่ดินทางใต้ นักเรียนนัดหยุดงานในโรงเรียน และทหารระดับล่างออกสู่ชนบทเพื่อให้การศึกษากับประชาชน ดังนั้นในเดือนมีนาคมฝ่ายขวาและนายทุนพยายามก่อรัฐประหารอีกครั้ง แต่ถูก COPCON และคนงานจัดการจนล้มเหลว ตามถนนหนทางคนงานปิดถนนโดยใช้รถบรรทุกและรถขนดิน และทหารธรรมดาก็จับมือคุยกับคนงานอย่างเปิดเผย นายพล สปินโนลา และพวกนายทุนจึงต้องหนีออกนอกประเทศไปสเปน

เหตุการณ์นี้เป็นจุดสุดยอดของการปฏิวัติโปรตุเกส หนังสือ “รัฐกับการปฏิวัติ” ของเลนินกลายเป็นหนังสือขายอันดับหนึ่ง และมีการแข่งแนวทางการเมืองในหมู่ฝ่ายซ้ายอย่างดุเดือด เพราะทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคซ้ายอื่นๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยอดขายหนังสือโป้ก็พุงสูง เพราะเคยเป็นหนังสือต้องห้ามภายใต้เผด็จการอนุรักษ์นิยม ส่วน ออร์เทโล คาวาลโย หัวหน้า COPCON ก็เริ่มใกล้ชิดกับฝ่ายซ้ายกลุ่ม PRP/BR มากขึ้น ที่สำคัญคือเกือบทุกฝ่ายยังไม่มีความชัดเจนว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมโปรตุเกสไปสู่อะไรอย่างไร ข้อยกเว้นคือพรรคสังคมนิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในเยอรมันและเงินจากซีไอเอและรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พรรคสังคมนิยมโปรตุเกสต้องการสร้างรัฐสภาประชาธิปไตยในระบบทุนนิยมกลไกตลาด และต้องการยับยั้งการปฏิวัติ

ในเดือนเมษายน1975 มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อเลือก “สภาที่ปรึกษา” ให้กับคณะทหาร MFA ปรากฏว่าพรรคสังคมนิยมได้ 38% และพรรคคอมมิวนิสต์ ได้แค่ 13% ส่วนกลุ่มฝ่ายซ้ายอื่นๆ มีเสียงสนับสนุนน้อย ประเด็นสำคัญตรงนี้ที่เราต้องเข้าใจคือ เวทีการเลือกตั้งในประชาธิปไตยทุนนิยม มักให้ประโยชน์กับพรรคการเมือง“กระแสหลัก” เพราะประชาชนไปลงคะแนนเสียงแบบปัจเจกในบริบทของการรักษาระบบที่มีอยู่ ต่างจากเวทีการต่อสู้ เช่นการประท้วง นัดหยุดงาน หรือยึดสถานที่ทำงาน ซึ่งในกรณีแบบนั้นพรรคหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายที่ต้านกระแสหลักจะได้ประโยชน์ เพราะมวลชนรู้สึกว่าตนเองมีพลังจากการต่อสู่รวมหมู่ คนจำนวนมากจึงมองว่าสังคมใหม่สร้างได้ นอกจากนี้ในเวทีสู้แบบนี้มีการถกเถียงการเมืองต่อหน้ามวลชนอย่างเปิดเผย โดยที่ใครๆ ก็แสดงความเห็นได้

หลังจากการเลือกตั้ง กระแสการปฏิวัติลดลงอย่างมาก สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศก็แย่ลง เพราะกลุ่มทุนข้ามชาติถอนทุนออกจากประเทศ และเมื่อโปรตุเกสยกอิสรภาพให้กับอาณานิคม ทหารผ่านศึกและข้าราชการในอาณานิคมจำนวนมากก็กลับบ้านท่ามกลางวิกฤตการตกงาน เกษตรกรรายย่อยทางเหนือที่ไม่ได้อะไรจากการล้มเผด็จการเพราะเป็นเจ้าของที่ดินอยู่แล้ว ก็เริ่มเบื่อหน่ายกับความวุ่นวาย และคนชั้นกลางเริ่มเบื่อหน่ายกับความวุ่นวายเช่นกันนอกจากนั้นประเทศรอบข้างในยุโรปกดดันให้โปรตุเกสสร้าง “เสถียรภาพ” ในสภาพเช่นนี้ถ้าไม่มีการเดินหน้าไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม ก็จะมีการถอยหลังสู่ทุนนิยมกระแสหลัก

ความล้มเหลวของการปฏิวัติสังคมนิยมในโปรตุเกสไม่ใช่เพราะการปฏิวัติสังคมนิยมหมดยุคแต่อย่างใด แต่มาจากสี่สาเหตุหลักคือ

  1. ฝ่ายที่ต้องการปฏิวัติพึ่งพาทหารระดับล่างและไว้ใจคนอย่างนายพลจัตวา ออร์เทโล คาวาลโยมากเกินไปแทนที่จะเน้นพลังกรรมาชีพ ตัวอย่างที่ดีของความคิดผิดๆ แบบนี้จากที่อื่นคือการที่องค์กร “ละบังอังมาซา” ในฟิลิปปินส์ เคยเพ้อฝันว่านายทหารระดับล่างจะทำรัฐประหารและจุดประกายการปฏิวัติ หรือกรณีเวนเนสเวลา ที่บูชา ชาเวส และกองทัพมากเกินไป
  2. พรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลิน ซึ่งมีอิทธิพลสูงในหมู่กรรมาชีพ ไม่ต้องการปฏิวัติสังคมนิยมจริงๆ ตามนโยบายปฏิรูปซึ่งกลายเป็นแนวการเมืองหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกในยุคนั้น เช่นที่อิตาลี่พรรคคอมมิวนิสต์ไปจับมือกับพรรคนายทุน แสดงว่าทั่วโลกเมื่อชนชั้นปกครองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เอง จำต้องพึ่งพรรคแรงงาน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย พรรคคอมมิวนิสต์ หรือผู้นำสหภาพแรงงาน เพื่อทำลายกระแสปฏิวัติ
  3. กลุ่มฝ่ายซ้ายที่ปฏิเสธแนวปฏิรูปของพรรคคอมมิวนิสต์แตกแยกและไม่สนใจที่จะจัดตั้งพรรคปฏิวัติอย่างแท้จริงและยังหลงอยู่กับการทำงานลับ แนวเหมา หรือการพึ่งพาทหาร
  4. ฝ่ายปฏิวัติประเมินปัญหาของการเน้นรัฐสภาทุนนิยมต่ำเกินไป และไม่พยายามสร้างประชาธิปไตยแบบสภาคนงานแทน คล้ายกับการที่นักเคลื่อนไหวคนหนุ่มสาวในไทยจำนวนมากหลงตั้งความหวังกับรัฐสภาและพรรคก้าวไกล

เรื่องตลกร้ายที่ปิดท้ายเรื่องนี้คือ เคยมีนักวิชาการเสื้อเหลืองในไทยชื่อ สุรพงษ์ ชัยนาม ที่โกหกว่ารัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ ที่ล้มรัฐบาลทักษิณ เหมือนกับการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลฟาสซิสต์ในการปฏิวัติโปรตุเกส!!!

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปฏิวัติถาวร แนวทางเดียวสู่เสรีภาพของชาวปาเลสไตน์

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ในปาเลสไตน์ เราจะเข้าใจว่าข้อเสนอเรื่อง “สองรัฐ” (ปาเลสไตน์ กับ อิสราเอล) ที่มาจากผู้นำสหรัฐ อังกฤษ และอียู เป็นการหลอกลวงชาวโลก เพื่อสร้างภาพปลอมว่าชนชั้นปกครองตะวันตกแคร์เรื่องชาวปาเลสไตน์ท่ามกลางการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ประชาชนในฉนวนกาซาโดยรัฐไซออนิสต์อิสราเอล การออกมาพูดแบบนี้ของมหาอำนาจตะวันตกเกิดจากความกลัวว่าการประท้วงต่อต้านการกระทำของอิสราเอลและความไม่พอใจกับรัฐบาลตะวันตก จะนำไปสู่การกบฏครั้งยิ่งใหญ่ในตะวันออกกลาง

คนธรรมดาหลายคน ที่ไม่มั่นใจว่าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะเกิดได้จริง ก็อาจหวังว่าแนวทาง “สองรัฐ” อาจเป็นคำตอบ ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์และความเป็นจริงพิสูจน์ว่ามันไม่ใช่

ส่วนรัฐบาลไซออนิสต์ของอิสราเอลเลิกสนับสนุนแนว “สองรัฐ” นานแล้ว เพราะต้องการไล่และฆ่าล้างชาวปาเลสไตน์ออกไปจากดินแดนให้หมด

ที่มาของแนว “สองรัฐ”

ข้อเสนอเรื่อง”สองรัฐ” มาจาก “ข้อตกลงเมืองออสโล” ในปี 1993 ซึ่ง ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล, บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ และยัสเซอร์ อาราฟัต ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ร่วมกันลงนาม

แต่ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงหลอกลวง เพราะไม่มีการระบุอย่างแน่ชัดว่ารัฐปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นอย่างไร และอิสราเอลจะถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่เมื่อไร มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการของจักรวรรดินิยมสหรัฐที่จะกดดันให้แกนนำชาวปาเลสไตน์และผู้นำประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง ยอมรับประเทศอิสราเอลและทำข้อตกลงกับจักรวรรดินิยมสหรัฐ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษที่70

ปัจจุบันนี้รัฐบาลอียิปต์และจอร์แดนยอมรับอิสราเอลอย่างเป็นทางการและก้มหัวให้สหรัฐ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้นำประเทศเหล่านี้ เพราะอียิปต์ได้รับเงินสนับสนุนทางทหารจากสหรัฐเป็นอันดับสองรองลงมาจากอิสราเอล

“สองรัฐ”เป็นไปไม่ได้

ลองคิดดู ถ้าจะสร้างรัฐปาเลสไตน์อิสระในพื้นที่ จะต้องถอนชาวยิวออกจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ชาวยิวเหล่านี้บุกเข้ามายึดที่ดินของชาวปาเลสไตน์ในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนมากขึ้นตามลำดับหลังข้อตกลงออสโล โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอิสราเอลและการปิดหูปิดตาของสหรัฐและอังกฤษ ทุกวันนี้ชาวยิวเหล่านี้ฆ่าประชาชนปาเลสไตน์ในพื้นที่ และทำลายการเกษตรของเขาตามอำเภอใจ

ปัจจุบันนี้ ในพื้นที่ที่อิสราเอลคุมที่เดิมเป็นดินแดนปาเลสไตน์ มีชาวปาเลสไตน์ 7.5 ล้านคน อาศัยอยู่ในกาซา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน และในเมืองเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งในจำนวนนี้ไม่รวมผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์จำนวนมากในประเทศรอบข้าง

ในอิสราเอลมีชาวยิว 7 ล้านคน

แต่ปัญหาคือชาวยิว 7 ล้านคนครองที่ดิน 80% ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ครองที่ดินแค่ 20% เอง ถ้าเขตแดนของรัฐปาเลสไตน์จะกำหนดจากความจริงปัจจุบันมันจะเป็นการแบ่งพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรมแบบสุดขั้ว

ประธานาธิบดีไบเดนและผู้นำอังกฤษกับอียู ตั้งเงื่อนไขว่าจะสนับสนุนรัฐอิสระของปาเลสไตน์ถ้าไม่มีฮามาส แต่ฮามาสมาจากการเลือกตั้งของชาวปาเลสไตน์และได้รับการสนับสนุนในหมู่ชาวปาเลสไตน์ทั่วพื้นที่ เพราะประชาชนหมดศรัทธาใน กลุ่มฟาตาห์ที่คุมรัฐบาลปาเลสไตน์ในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน สรุปแล้วผู้นำตะวันตกจะกำหนดว่าใครสามารถปกครองชาวปาเลสไตน์ได้โดยไม่ฟังเสียงประชาชน

อิสราเอลมีเป้าหมายในการปกครองพื้นที่ทั้งหมดของปาเลสไตน์และไม่สนใจที่จะให้มีรัฐอิสระของชาวปาเลสไตน์เลย

รัฐบาลหุ่นของปาเลสไตน์ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ไม่มีความอิสระแต่อย่างใด แต่ถูกควบคุมโดยอิสราเอล อิสราเอลเพียงแต่ยกให้รัฐบาลปาเลสไตน์บริหารควบคุมประชาชนและให้บริการบางอย่าง โดยที่อิสราเอลไม่ต้องเสียเวลา นอกจากนี้กองกำลังตำรวจของรัฐบาลปาเลสไตน์ก็ทำงานแทนทหารอิสราเอลในการควบคุมประชาชน และงบประมาณของรัฐบาลปาเลสไตน์ถูกควบคุมโดยอิสราเอล เพราะภาษีส่วนใหญ่ที่ใช้ในงบประมาณเก็บโดยอิสราเอล และเมื่อใดที่อิสราเอลไม่พอใจก็จะงดส่งเงินให้

แม้แต่ในกาซาที่ปกครองโดยฮามาส กาซาไม่ได้มีอิสรภาพ เพราะอิสราเอลสามารถปิดกั้นไม่ให้เชื้อเพลิงกับอาหารเข้ามาได้ และรัฐบาลอียิปต์ก็ช่วยอิสราเอลโดยปิดทางเข้าสู่กาซาที่ติดกับอียิปต์

ถึงทางตัน

ประสบการณ์ของการนำโดยองค์กรณ์ฟาตาห์และฮามาส มีจุดจบเดียวกัน คือโศกนาฏกรรม ทั้งๆ ที่ฮามาสเกิดขึ้นจากความไม่พอใจในการประนีประนอมของฟาตาห์ จุดจบที่ว่านี้คือสงครามที่ไม่มีที่สิ้นสุดกับอิสราเอล และการพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลอาหรับที่พร้อมจะหักหลังชาวปาเลสไตน์เสมอ ปัญหานี้มาจากแนวทางต่อสู้ของทั้งฟาตาห์และฮามาส ที่เน้น “การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย” แทนที่จะเน้น “การปฏิวัติถาวร”

การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย

การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยคือแนวทางกู้ชาติที่มีเป้าหมายในการสร้างชาติในระบบทุนนิยมในรูปแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในเวียดนาม แอฟริกาใต้ อินเดีย หรือในอดีตเมืองขึ้นของตะวันตกทั่วโลก มันเป็นเป้าหมายของกลุ่มคนที่ต้องการขึ้นมาเป็นชนชั้นนายทุนในประเทศอิสระ

คนที่ศึกษาแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะทราบดีว่าการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย หมายถึงการทำแนวร่วมกับชนชั้นนายทุนและการลดความขัดแย้งระหว่างชนชั้น “เพื่อชาติ”

ในกรณีปาเลสไตน์มันนำไปสู่การทำแนวร่วมกับชนชั้นปกครองอาหรับในประเทศรอบข้าง และบางทีการประนีประนอมกับจักรวรรดินิยมตะวันตกอีกด้วย โดยมีความหวังว่าชนชั้นปกครองอาหรับและจักรวรรดินิยมจะอนุญาตให้รัฐปาเลสไตน์มีที่ยืน แต่ประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตกและชนชั้นปกครองอาหรับต้องการกีดกันการเกิดขึ้นของรัฐปาเลสไตน์เสมอ ในกรณีสหรัฐกับอังกฤษก็เพราะอิสราเอลเป็นเครื่องมือที่ดีในการคุมตะวันออกกลางไม่ให้ตะวันตกเสียผลประโยชน์ และในกรณีชนชั้นปกครองอาหรับ ก็เพราะมีการตัดสินใจนานแล้วว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการเข้ามาผูกมิตรกับตะวันตกและอิสราเอลสำคัญกว่าการช่วยเหลือปาเลสไตน์ นอกจากนี้มีความกลัวว่าการปลุกระดมการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์จะเขย่าอำนาจตนเอง

การปฏิวัติถาวร

การปฏิวัติถาวรคือการปฏิวัติ “จากล่างสู่บน” โดยกรรมาชีพและคนจน เพื่อปลดแอกประชาชนและสร้างสังคมใหม่ที่ต่างจากระบบที่ดำรงอยู่ ตัวอย่างที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์คือการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 ที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพและมีผลในการล้มระบบทุนิยมเป็นเวลาประมาณสิบปี ในที่สุดมันไม่สำเร็จเพราะนักปฏิวัติสังคมนิยมในยุโรปไม่สามารถขยายการปฏิวัติไปสู่เยอรมันและประเทศพัฒนาอื่นๆ มันต่างจากการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในยุคสตาลินหลังจากที่การปฏิวัติรัสเซียล้มเหลว เช่นการปฏิวัติจีน เวียดนาม แอฟริกาใต้ ฯลฯ ที่ไม่ได้ยกเลิกระบบกดขี่ขูดรีดของทุนนิยมหรือนำไปสู่อำนาจการปกครองของกรรมาชีพแต่อย่างใด

กรรมาชีพปาเลสไตน์มีอำนาจจำกัด

ในการต่อสู้ล้มเผด็จการหรือการพยายามล้มรัฐบาล เช่นในแอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ อินเดีย อียิปต์ หรือซูดาน พลังของชนชั้นกรรมาชีพมีความสำคัญมากในการพยายามปลดแอกประชาชน เพราะกรรมาชีพอยู่ในใจกลางระบบการผลิต แต่ในกรณีกรรมาชีพปาเลสไตน์เขาถูดกีดกันออกจากศูนย์กลางระบบการผลิตของอิสราเอล โดยเฉพาะภาคไฮเทค แปลว่ากรรมาชีพและคนจนในปาเลสไตน์จะต้องหาแนวร่วมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนในประเทศอาหรับรอบข้าง ส่วนกรรมาชีพในอิสราเอลถูกซื้อตัวไปสนับสนุนระบบไซออนิสต์นานแล้ว

ชนชั้นปกครองอาหรับไม่ใช่มิตรแท้ของชาวปาเลสไตน์

ในหลายๆ ประเทศรอบข้างปาเลสไตน์ ชนชั้นปกครองอาหรับ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นปกครองของประเทศที่ชอบหรือไม่ชอบสหรัฐ มีการกดขี่ชาวปาเลสไตน์ที่ไปอาศัยในประเทศเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นในซีเรีย เลบานอน หรือในจอร์แดนที่มีเผด็จการกษัตริย์เป็นต้น ในกรณีจอร์แดนประชาชนจำนวนมากเป็นคนปาเลสไตน์ที่ถูกทำให้เป็นพลเมืองชั้นสอง

ในขณะเดียวกันรัฐบาลอาหรับต่างๆ ล้วนแต่เป็นเผด็จการที่กดขี่พลเมืองของตนเองที่ไม่ใช่ชาวปาเลสไตน์ด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจไม่น้อย นี่คือพื้นฐานที่เป็นไปได้ของการทำแนวร่วมระหว่างชาวปาเลสไตน์กับกรรมาชีพหรือคนจนในประเทศรอบข้าง

ในเลบานอน ระบบการปกครองเน้นการแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนาเพื่อปกครอง และเพื่อการผูกขาดอำนาจของขุนศึกต่างๆ แต่ในปี2019 ประชาชนธรรมดาลุกฮือเป็นแสนในหลายเมือง หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงิน มีการรวมตัวกันข้ามเชื้อชาติภายใต้คำขวัญว่า “เราคือการปฏิวัติเดือนตุลา” เป้าหมายคือพวกอภิสิทธิ์ชนและธนาคารต่างๆ และมีการแสดงความไม่พอใจในระบบแบ่งแยกเพื่อปกครองอีกด้วย ก่อนหน้านั้นในขณะที่อิสราเอลกำลังโจมตีเลบานอนในปี 2006 ประชาชนจากเชื่อชาติต่างๆ ก็รวมตัวกันเพื่อแจกจ่ายสวัสดิการกับประชาชนที่เป็นเหยื่อสงครามของอิสราเอล

ในอียิปต์เกือบทุครั้งที่รัฐบาลเผด็จการยอมให้มีการประท้วงเรื่องปาเลสไตน์ เพื่อลดความตึงเครียดในสังคม การประท้วงเหล่านั้นจะขยายไปสู่การแสดงความไม่พอใจในชนชั้นปกครองอียิปต์ และในการลุกฮืออาหรับสปริง มีการเดินขบวนไปที่กาซาเพื่อเปิดด่านที่พรมแดน

แต่ตั้งแต่ผู้นำอียิปต์ทำข้อตกลงกับจักรวรรดินิยมตะวันตกและอิสราเอล พรรคการเมืองกระแสหลัก แม้แต่พรรคมุสลิม ก็สนับสนุนการผูกมิตรกับอิราเอล

ทุกวันนี้อียิปต์มีวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งร้ายแรงขึ้นหลังจากสงครามล่าสุดของอิสราเอล ซึ่งทำให้กรรมาชีพและคนจนในอียิปต์เดือดร้อนมาก และแน่นอนองค์กรไอเอ็มเอฟก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลตัดสวัสดิการรัฐที่เป็นประโยชน์กับคนจน

ความไม่พอใจของกรรมาชีพและคนจนในประเทศต่างๆ สามารถรวมเข้ากับความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์จนกลายเป็นกระแสเดียวกันได้ คือกระแสการปฏิวัติจากล่างสู่บนที่ล้มชนชั้นปกครองอาหรับ และท้าทายอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกกับอำนาจรัฐบาลอิสราเอลพร้อมกันได้ นี่คือการปฏิวัติถาวรในตะวันออกกลางและเป็นแนวที่นักมาร์คซิสต์สังคมนิยมจะต้องผลักดัน

แต่เราเห็นชัดว่าฮามาสไม่เคยเรียกร้องให้มีการล้มชนชั้นปกครองอาหรับเลย เส้นทางสู่การปลดแอกชาวปาเลสไตน์ เป็นเส้นทางเดียวกับการปลดแอกกรรมาชีพและคนจนในตะวันออกกลาง และขบวนการปลดแอกดังกล่าวจะต้องไม่แบ่งแยกเรื่องเศรษฐกิจออกจากเรื่องการเมือง จะต้องต่อต้านการกดขี่ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศหรือเชื้อชาติ และจะต้องมีการรวมตัวกันและจัดตั้งที่อิสระจากนักการเมืองหรือผู้นำกระแสหลักเสมอ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ปฏิวัติถาวร แนวทางเดียวสู่เสรีภาพของชาวปาเลสไตน์

ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ในปาเลสไตน์ เราจะเข้าใจว่าข้อเสนอเรื่อง “สองรัฐ” (ปาเลสไตน์ กับ อิสราเอล) ที่มาจากผู้นำสหรัฐ อังกฤษ และอียู เป็นการหลอกลวงชาวโลก เพื่อสร้างภาพปลอมว่าชนชั้นปกครองตะวันตกแคร์เรื่องชาวปาเลสไตน์ท่ามกลางการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ประชาชนในฉนวนกาซาโดยรัฐไซออนิสต์อิสราเอล การออกมาพูดแบบนี้ของมหาอำนาจตะวันตกเกิดจากความกลัวว่าการประท้วงต่อต้านการกระทำของอิสราเอลและความไม่พอใจกับรัฐบาลตะวันตก จะนำไปสู่การกบฏครั้งยิ่งใหญ่ในตะวันออกกลาง

คนธรรมดาหลายคน ที่ไม่มั่นใจว่าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะเกิดได้จริง ก็อาจหวังว่าแนวทาง “สองรัฐ” อาจเป็นคำตอบ ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์และความเป็นจริงพิสูจน์ว่ามันไม่ใช่

ส่วนรัฐบาลไซออนิสต์ของอิสราเอลเลิกสนับสนุนแนว “สองรัฐ” นานแล้ว เพราะต้องการไล่และฆ่าล้างชาวปาเลสไตน์ออกไปจากดินแดนให้หมด

ที่มาของแนว “สองรัฐ”

ข้อเสนอเรื่อง”สองรัฐ” มาจาก “ข้อตกลงเมืองออสโล” ในปี 1993 ซึ่ง ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล, บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ และยัสเซอร์ อาราฟัต ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ร่วมกันลงนาม

แต่ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงหลอกลวง เพราะไม่มีการระบุอย่างแน่ชัดว่ารัฐปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นอย่างไร และอิสราเอลจะถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่เมื่อไร มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการของจักรวรรดินิยมสหรัฐที่จะกดดันให้แกนนำชาวปาเลสไตน์และผู้นำประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง ยอมรับประเทศอิสราเอลและทำข้อตกลงกับจักรวรรดินิยมสหรัฐ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษที่70

ปัจจุบันนี้รัฐบาลอียิปต์และจอร์แดนยอมรับอิสราเอลอย่างเป็นทางการและก้มหัวให้สหรัฐ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้นำประเทศเหล่านี้ เพราะอียิปต์ได้รับเงินสนับสนุนทางทหารจากสหรัฐเป็นอันดับสองรองลงมาจากอิสราเอล

“สองรัฐ”เป็นไปไม่ได้

ลองคิดดู ถ้าจะสร้างรัฐปาเลสไตน์อิสระในพื้นที่ จะต้องถอนชาวยิวออกจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ชาวยิวเหล่านี้บุกเข้ามายึดที่ดินของชาวปาเลสไตน์ในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนมากขึ้นตามลำดับหลังข้อตกลงออสโล โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอิสราเอลและการปิดหูปิดตาของสหรัฐและอังกฤษ ทุกวันนี้ชาวยิวเหล่านี้ฆ่าประชาชนปาเลสไตน์ในพื้นที่ และทำลายการเกษตรของเขาตามอำเภอใจ

ปัจจุบันนี้ ในพื้นที่ที่อิสราเอลคุมที่เดิมเป็นดินแดนปาเลสไตน์ มีชาวปาเลสไตน์ 7.5 ล้านคน อาศัยอยู่ในกาซา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน และในเมืองเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งในจำนวนนี้ไม่รวมผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์จำนวนมากในประเทศรอบข้าง

ในอิสราเอลมีชาวยิว 7 ล้านคน

แต่ปัญหาคือชาวยิว 7 ล้านคนครองที่ดิน 80% ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ครองที่ดินแค่ 20% เอง ถ้าเขตแดนของรัฐปาเลสไตน์จะกำหนดจากความจริงปัจจุบันมันจะเป็นการแบ่งพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรมแบบสุดขั้ว

ประธานาธิบดีไบเดนและผู้นำอังกฤษกับอียู ตั้งเงื่อนไขว่าจะสนับสนุนรัฐอิสระของปาเลสไตน์ถ้าไม่มีฮามาส แต่ฮามาสมาจากการเลือกตั้งของชาวปาเลสไตน์และได้รับการสนับสนุนในหมู่ชาวปาเลสไตน์ทั่วพื้นที่ เพราะประชาชนหมดศรัทธาใน กลุ่มฟาตาห์ที่คุมรัฐบาลปาเลสไตน์ในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน สรุปแล้วผู้นำตะวันตกจะกำหนดว่าใครสามารถปกครองชาวปาเลสไตน์ได้โดยไม่ฟังเสียงประชาชน

อิสราเอลมีเป้าหมายในการปกครองพื้นที่ทั้งหมดของปาเลสไตน์และไม่สนใจที่จะให้มีรัฐอิสระของชาวปาเลสไตน์เลย

รัฐบาลหุ่นของปาเลสไตน์ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ไม่มีความอิสระแต่อย่างใด แต่ถูกควบคุมโดยอิสราเอล อิสราเอลเพียงแต่ยกให้รัฐบาลปาเลสไตน์บริหารควบคุมประชาชนและให้บริการบางอย่าง โดยที่อิสราเอลไม่ต้องเสียเวลา นอกจากนี้กองกำลังตำรวจของรัฐบาลปาเลสไตน์ก็ทำงานแทนทหารอิสราเอลในการควบคุมประชาชน และงบประมาณของรัฐบาลปาเลสไตน์ถูกควบคุมโดยอิสราเอล เพราะภาษีส่วนใหญ่ที่ใช้ในงบประมาณเก็บโดยอิสราเอล และเมื่อใดที่อิสราเอลไม่พอใจก็จะงดส่งเงินให้

แม้แต่ในกาซาที่ปกครองโดยฮามาส กาซาไม่ได้มีอิสรภาพ เพราะอิสราเอลสามารถปิดกั้นไม่ให้เชื้อเพลิงกับอาหารเข้ามาได้ และรัฐบาลอียิปต์ก็ช่วยอิสราเอลโดยปิดทางเข้าสู่กาซาที่ติดกับอียิปต์

ถึงทางตัน

ประสบการณ์ของการนำโดยองค์กรณ์ฟาตาห์และฮามาส มีจุดจบเดียวกัน คือโศกนาฏกรรม ทั้งๆ ที่ฮามาสเกิดขึ้นจากความไม่พอใจในการประนีประนอมของฟาตาห์ จุดจบที่ว่านี้คือสงครามที่ไม่มีที่สิ้นสุดกับอิสราเอล และการพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลอาหรับที่พร้อมจะหักหลังชาวปาเลสไตน์เสมอ ปัญหานี้มาจากแนวทางต่อสู้ของทั้งฟาตาห์และฮามาส ที่เน้น “การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย” แทนที่จะเน้น “การปฏิวัติถาวร”

การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย

การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยคือแนวทางกู้ชาติที่มีเป้าหมายในการสร้างชาติในระบบทุนนิยมในรูปแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในเวียดนาม แอฟริกาใต้ อินเดีย หรือในอดีตเมืองขึ้นของตะวันตกทั่วโลก มันเป็นเป้าหมายของกลุ่มคนที่ต้องการขึ้นมาเป็นชนชั้นนายทุนในประเทศอิสระ

คนที่ศึกษาแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะทราบดีว่าการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย หมายถึงการทำแนวร่วมกับชนชั้นนายทุนและการลดความขัดแย้งระหว่างชนชั้น “เพื่อชาติ”

ในกรณีปาเลสไตน์มันนำไปสู่การทำแนวร่วมกับชนชั้นปกครองอาหรับในประเทศรอบข้าง และบางทีการประนีประนอมกับจักรวรรดินิยมตะวันตกอีกด้วย โดยมีความหวังว่าชนชั้นปกครองอาหรับและจักรวรรดินิยมจะอนุญาตให้รัฐปาเลสไตน์มีที่ยืน แต่ประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตกและชนชั้นปกครองอาหรับต้องการกีดกันการเกิดขึ้นของรัฐปาเลสไตน์เสมอ ในกรณีสหรัฐกับอังกฤษก็เพราะอิสราเอลเป็นเครื่องมือที่ดีในการคุมตะวันออกกลางไม่ให้ตะวันตกเสียผลประโยชน์ และในกรณีชนชั้นปกครองอาหรับ ก็เพราะมีการตัดสินใจนานแล้วว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการเข้ามาผูกมิตรกับตะวันตกและอิสราเอลสำคัญกว่าการช่วยเหลือปาเลสไตน์ นอกจากนี้มีความกลัวว่าการปลุกระดมการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์จะเขย่าอำนาจตนเอง

การปฏิวัติถาวร

การปฏิวัติถาวรคือการปฏิวัติ “จากล่างสู่บน” โดยกรรมาชีพและคนจน เพื่อปลดแอกประชาชนและสร้างสังคมใหม่ที่ต่างจากระบบที่ดำรงอยู่ ตัวอย่างที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์คือการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 ที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพและมีผลในการล้มระบบทุนิยมเป็นเวลาประมาณสิบปี ในที่สุดมันไม่สำเร็จเพราะนักปฏิวัติสังคมนิยมในยุโรปไม่สามารถขยายการปฏิวัติไปสู่เยอรมันและประเทศพัฒนาอื่นๆ มันต่างจากการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในยุคสตาลินหลังจากที่การปฏิวัติรัสเซียล้มเหลว เช่นการปฏิวัติจีน เวียดนาม แอฟริกาใต้ ฯลฯ ที่ไม่ได้ยกเลิกระบบกดขี่ขูดรีดของทุนนิยมหรือนำไปสู่อำนาจการปกครองของกรรมาชีพแต่อย่างใด

กรรมาชีพปาเลสไตน์มีอำนาจจำกัด

ในการต่อสู้ล้มเผด็จการหรือการพยายามล้มรัฐบาล เช่นในแอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ อินเดีย อียิปต์ หรือซูดาน พลังของชนชั้นกรรมาชีพมีความสำคัญมากในการพยายามปลดแอกประชาชน เพราะกรรมาชีพอยู่ในใจกลางระบบการผลิต แต่ในกรณีกรรมาชีพปาเลสไตน์เขาถูดกีดกันออกจากศูนย์กลางระบบการผลิตของอิสราเอล โดยเฉพาะภาคไฮเทค แปลว่ากรรมาชีพและคนจนในปาเลสไตน์จะต้องหาแนวร่วมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนในประเทศอาหรับรอบข้าง ส่วนกรรมาชีพในอิสราเอลถูกซื้อตัวไปสนับสนุนระบบไซออนิสต์นานแล้ว

ประท้วงที่ซูดาน

ชนชั้นปกครองอาหรับไม่ใช่มิตรแท้ของชาวปาเลสไตน์

ในหลายๆ ประเทศรอบข้างปาเลสไตน์ ชนชั้นปกครองอาหรับ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นปกครองของประเทศที่ชอบหรือไม่ชอบสหรัฐ มีการกดขี่ชาวปาเลสไตน์ที่ไปอาศัยในประเทศเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นในซีเรีย เลบานอน หรือในจอร์แดนที่มีเผด็จการกษัตริย์เป็นต้น ในกรณีจอร์แดนประชาชนจำนวนมากเป็นคนปาเลสไตน์ที่ถูกทำให้เป็นพลเมืองชั้นสอง

ในขณะเดียวกันรัฐบาลอาหรับต่างๆ ล้วนแต่เป็นเผด็จการที่กดขี่พลเมืองของตนเองที่ไม่ใช่ชาวปาเลสไตน์ด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจไม่น้อย นี่คือพื้นฐานที่เป็นไปได้ของการทำแนวร่วมระหว่างชาวปาเลสไตน์กับกรรมาชีพหรือคนจนในประเทศรอบข้าง

ในเลบานอน ระบบการปกครองเน้นการแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนาเพื่อปกครอง และเพื่อการผูกขาดอำนาจของขุนศึกต่างๆ แต่ในปี2019 ประชาชนธรรมดาลุกฮือเป็นแสนในหลายเมือง หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงิน มีการรวมตัวกันข้ามเชื้อชาติภายใต้คำขวัญว่า “เราคือการปฏิวัติเดือนตุลา” เป้าหมายคือพวกอภิสิทธิ์ชนและธนาคารต่างๆ และมีการแสดงความไม่พอใจในระบบแบ่งแยกเพื่อปกครองอีกด้วย ก่อนหน้านั้นในขณะที่อิสราเอลกำลังโจมตีเลบานอนในปี 2006 ประชาชนจากเชื่อชาติต่างๆ ก็รวมตัวกันเพื่อแจกจ่ายสวัสดิการกับประชาชนที่เป็นเหยื่อสงครามของอิสราเอล

ในอียิปต์เกือบทุครั้งที่รัฐบาลเผด็จการยอมให้มีการประท้วงเรื่องปาเลสไตน์ เพื่อลดความตึงเครียดในสังคม การประท้วงเหล่านั้นจะขยายไปสู่การแสดงความไม่พอใจในชนชั้นปกครองอียิปต์ และในการลุกฮืออาหรับสปริง มีการเดินขบวนไปที่กาซาเพื่อเปิดด่านที่พรมแดน

แต่ตั้งแต่ผู้นำอียิปต์ทำข้อตกลงกับจักรวรรดินิยมตะวันตกและอิสราเอล พรรคการเมืองกระแสหลัก แม้แต่พรรคมุสลิม ก็สนับสนุนการผูกมิตรกับอิราเอล

ทุกวันนี้อียิปต์มีวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งร้ายแรงขึ้นหลังจากสงครามล่าสุดของอิสราเอล ซึ่งทำให้กรรมาชีพและคนจนในอียิปต์เดือดร้อนมาก และแน่นอนองค์กรไอเอ็มเอฟก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลตัดสวัสดิการรัฐที่เป็นประโยชน์กับคนจน

ความไม่พอใจของกรรมาชีพและคนจนในประเทศต่างๆ สามารถรวมเข้ากับความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์จนกลายเป็นกระแสเดียวกันได้ คือกระแสการปฏิวัติจากล่างสู่บนที่ล้มชนชั้นปกครองอาหรับ และท้าทายอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกกับอำนาจรัฐบาลอิสราเอลพร้อมกันได้ นี่คือการปฏิวัติถาวรในตะวันออกกลางและเป็นแนวที่นักมาร์คซิสต์สังคมนิยมจะต้องผลักดัน

แต่เราเห็นชัดว่าฮามาสไม่เคยเรียกร้องให้มีการล้มชนชั้นปกครองอาหรับเลย เส้นทางสู่การปลดแอกชาวปาเลสไตน์ เป็นเส้นทางเดียวกับการปลดแอกกรรมาชีพและคนจนในตะวันออกกลาง และขบวนการปลดแอกดังกล่าวจะต้องไม่แบ่งแยกเรื่องเศรษฐกิจออกจากเรื่องการเมือง จะต้องต่อต้านการกดขี่ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศหรือเชื้อชาติ และจะต้องมีการรวมตัวกันและจัดตั้งที่อิสระจากนักการเมืองหรือผู้นำกระแสหลักเสมอ

ใจ อึ๊งภากรณ์

รัฐบาลเพื่อไทยช่วยทหารทำให้สังคมไทยป่าเถื่อนด้วยการใช้ 112

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

การใช้กฎหมาย112 เพื่อปราบปรามคนหนุ่มสาวที่ต่อต้านระบบทุกวันนี้ สะท้อนความป่าเถื่อนของชนชั้นปกครองไทย

ระบบการปกครองในปัจจุบันเป็นระบบเผด็จการทหาร/นายทุน ที่ใช้กษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมอย่างต่อเนื่อง ชนชั้นปกครองจึงสร้างภาพเท็จว่ากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปฏิรูปไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันมันไม่ใช่ว่าไทยปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่อย่างใด สถาบันกษัตริย์มีไว้เพื่อค้ำจุนอำนาจทหารที่มาจากการทำลายประชาธิปไตยด้วยการทำรัฐประหาร หรือแม้แต่รัฐบาลนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ข้อจำกัดของประชาธิปไตยทุนนิยม

ประโยชน์ของกษัตริย์สำหรับชนชั้นปกครองในระบบทุนนิยมคือ กษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ที่แช่แข็งความเหลื่อมล้ำในสังคม มันสื่อว่ามีคน “เกิดสูง” และ “เกิดต่ำ” สื่อว่าความไม่เท่าเทียมนี้เป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” และสื่อว่าเราควรก้มหัวให้คน “เกิดสูง”

ปรสิตอังกฤษ

ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่ยังมีสถาบันปรสิตนี้ เช่นอังกฤษ เดนมาร์ก หรือญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ไม่มีการใช้กฎหมาย 112 และทหารไม่มีบทบาททางการเมือง ชนชั้นนายทุนใช้กษัตริย์เพื่อย้ำความคิดอภิสิทธิ์ชนแบบนี้ เขามองว่าประชาชนควรรับรู้ว่าการที่คนรวยกอบโกยผลประโยชน์ต่างๆ แซงคิวต่างๆ และหลีกเลี่ยงภาษี ท่ามกลางความเดือดร้อนของคนธรรมดาที่จ่ายค่าน้ำค่าไฟไม่ได้ เป็นสถานการณ์ปกติตามธรรมชาติ และเขาพยายามอธิบายว่าเราทำอะไรเพื่อเปลี่ยนสังคมไม่ได้

นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์ทั่วโลกมีบทบาทสำคัญในการโฆษณาชวนเชื่อให้รักชาติด้วยลัทธิชาตินิยม ลัทธินี้โกหกว่าประชาชนทุกคนในประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเราไม่ควรเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ควรเกลียดชังชนชั้นนายทุนที่กดขี่ขูดรีดเรา แนวคิดนี้โกหกด้วยว่ากษัตริย์ “เป็น กลาง” และ “อยู่เหนือความขัดแย้งต่างๆ”

ความเชื่อดังกล่าวเป็นเรื่องเท็จโดยสิ้นเชิง เพราะผลประโยชน์นายทุนหรือคนรวย ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์พลเมืองส่วนใหญ่เสมอ ตัวอย่างที่ดีคือนโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลมักอ้างว่าทำไป “เพื่อชาติ” แต่จริงๆ เป็นการรัดเข็มขัดคนส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มกำไรและผลประโยชน์ให้กับนายทุน นอกจากนี้การทำสงคราม “เพื่อชาติ” กลายเป็นการบังคับพลีชีพของคนจนเพื่อประโยชน์ของคนรวย

นักวิชาการส่วนใหญ่ในไทย มักมองข้ามบทบาทหน้าที่สำคัญอันนี้ของสถาบันกษัตริย์ในโลกทุนนิยมปัจจุบัน เพราะเชื่อนิยายว่า “สังคมไทยไม่เหมือนที่อื่น” หรือหลงเชื่อว่าเราอยู่ในระบบที่กษัตริย์มีอำนาจจริง ไม่ค่อยมีใครพยายามทำความเข้าใจกับบทบาทสถาบันกษัตริย์ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่เลย มีแต่การดูภาพผิวเผินเท่านั้น

ในไทยกษัตริย์รัชกาลที่ ๙ เคยร่ำรวย และเสพสุขบนหลังประชาชนก็จริง มีคนเชิดชูและหมอบคลานเข้าหาก็จริง แต่กษัตริย์คนนี้ไร้อำนาจโดยสิ้นเชิง และถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยทหารและชนชั้นนำอื่นๆ เช่นนักการเมืองนายทุน ดังนั้นการเชิดชูกษัตริย์แบบบ้าคลั่งที่เกิดขึ้น กระทำไปเพื่อให้สร้างภาพว่าเป็นเทวดา และ กฎหมาย 112 มีไว้เพื่อสร้างความกลัวที่จะวิจารณ์

ในวิดีโอสัมภาษณ์นายภูมิพลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน นายภูมิพลพูดแบบอ้อมๆ ว่ามี “คนอื่น” คอยควบคุมบทบาทตัวเองและกำหนดสภาพการเมือง จนตนเองทำอะไรไม่ได้

รัชกาลที่ ๑๐ ยิ่งอ่อนแอกว่าพ่อของเขา และไม่สนใจเรื่องการเมืองและสังคมไทยเลย วชิราลงกรณ์ ต้องการเสพสุขอย่างเดียว และพฤติกรรมแย่ของเขาที่เขาไม่พยายามปกปิดทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจ

หลัง การปฏิวัติ ๒๔๗๕ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทน้อยมากในสังคมไทย จนมาถึงการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังจากนั้นสฤษดิ์ ผู้นำทหารและพลเรือนที่ตามมา และพรรคพวกที่นิยมเจ้า ก็ค่อยๆ เชิดชูกษัตริย์มากขึ้นทุกวัน จนมีการสร้างภาพว่าเสมือนเทวดา บางคนถึงกับร้องไห้เมื่อเห็นภาพนายภูมิพลผูกเชือกรองเท้าตัวเอง

แต่การนำกษัตริย์กลับมาให้มีบทบาทสำคัญในไทยตั้งแต่ยุคสฤษดิ์ มีวัตถุประสงค์เดียวกับที่อื่น คือวัตถุประสงค์ในการรณรงค์แนวคิดอนุรักษ์นิยมอย่างที่ได้กล่าวถึงข้างบน มันไม่ใช่การ “ถวายอำนาจคืนให้กษัตริย์” ในช่วงแรกๆ กษัตริย์มีความสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์ที่ต่อต้านแนวคิดคอมมิวนิสต์ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ต่อมากษัตริย์มีความสำคัญในการให้ความชอบธรรมกับการปกครองของนายทุน เช่นในสมัยทักษิณ หรือการปกครองแบบเผด็จการทหาร ทหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอ้างว่าตนปกป้องกษัตริย์เวลายึดอำนาจ เพื่อปกปิดว่าจริงๆ แล้ว เขาทำรัฐประหารเพื่อผลประโยขน์ของตนเอง ซึ่งต่างจากรัฐบาลพลเรือน ที่สามารถอ้างความชอบธรรมจากนโยบายต่างๆ ที่เสนอกับประชาชนในการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ทหารไม่มีความชอบธรรมจากระบบประชาธิปไตยเลยจึงต้องอ้างกษัตริย์

จะเห็นได้ว่าการเชิดชูกษัตริย์ให้เหมือนเทวดา ไม่ได้แปลว่ากษัตริย์มีอำนาจจริง มันเป็นเพียงการเชิดชูลัทธิกษัตริย์เพื่อแช่แข็งความเหลื่อมล้ำในสังคม พูดง่ายๆ สถาบันกษัตริย์ไทยไม่เคยมีอำนาจหลัง ๒๔๗๕ แต่มีบทบาทหน้าที่ในทางลัทธิความคิด เพื่อประโยชน์ของนายทุนและทหาร การสร้างภาพลวงตาว่ากษัตริย์เป็นเทวดาที่มีอำนาจล้นฟ้า (และมันเป็นภาพลวงตาเพราะเราก็รู้กันว่าเทวดาไม่มีจริง) เป็นไปเพื่อทำให้พลเมืองเกรงกลัวและไม่กล้าท้าทายระบบชนชั้นที่ดำรงอยู่

ดังนั้นเวลาพวกผู้นำทหารปัจจุบันหรือนักการเมืองพลเรือนหมอบคลานต่อวชิราลงกรณ์ มันเป็นการเล่นละครเพื่อหลอกประชาชนว่าวชิราลงกรณ์สั่งการทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ผู้มีอำนาจจริงกำลังหมอบคลานต่อผู้ที่ไม่มีอำนาจเลย

ข้อเขียนนี้ ถ้าผู้เขียนเขียนในไทยก็จะโดนปิดปากด้วยกฎหมายเถื่อน112 ทั้งนี้เพราะชนชั้นปกครองไทยไม่กล้าให้ประชาชนถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่องกษัตริย์ด้วยการใช้สติปัญญา

แล้วทำไมประชาชนจำนวนมากถึงเชื่อนิยายของชนชั้นปกครอง? ทำไมเขาครองใจคนได้?

จริงๆ แล้วมันไม่ต่างจากคำถามว่าทำไมคนถึงเชื่อกันว่า “ตลาด” มีพลังหรือชีวิตของมันเองที่เราต้องจำนนต่อ ทั้งๆ ที่ตลาดเป็นแค่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือความเชื่อว่า “เงิน” มีค่าในตัวมันเองทั้งๆ ที่มันเป็นแค่ตัวแทนของมูลค่าจริงๆ ของสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากการทำงาน

มันเหมือนกับปัญหาว่าทำไมคนถึงลืมว่ามนุษย์สร้างพระพุทธรูปด้วยมือของตนเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาและคำสอน แต่คนกลับหันมาเชื่อว่าพระพุทธรูปมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์วิเศษ

ในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” มาร์คซ์เสนอว่าการขโมยผลงานของกรรมาชีพ โดยนายทุน ในระบบการผลิต ทำให้กรรมาชีพขาดความเป็นมนุษย์แท้ มีผลทำให้มนุษย์มองโลกในทางกลับหัวกลับหางคือ เงินกลายเป็นของจริง ในขณะที่การขูดรีดหายไปกับตา และมูลค่าหรือประโยชน์ในการใช้สอยกลายเป็นเพียงเรื่องข้างเคียง เพราะมูลค่าแลกเปลี่ยนถูกทำให้ดูสำคัญกว่า

นักมาร์คซิสต์ จอร์ช ลูคักส์ และ คาร์ล มาร์คซ์ อธิบายว่ามนุษย์เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง คือเชื่อแบบกลับหัวกลับหาง ในกรณีที่มนุษย์ขาดความมั่นใจ มันไม่ใช่เรื่องความโง่หรือการมีหรือไม่มีการศึกษาแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องผลของอำนาจต่อความมั่นใจของเราต่างหาก อำนาจการกดขี่ขูดรีดของนายทุน เช่นการที่ทุกวันเราต้องยอมจำนนไปทำงานให้นายทุน หรือต้องก้มหัวให้อำนาจรัฐ มีผลในการกล่อมเกลาให้เรามองว่าตัวเราเองไร้ค่ากว่าพวก “ผู้ใหญ่” หรือนายทุน และชวนให้เรามองว่าเราไร้ความสามารถ เราเลยเชื่อพวกนั้นง่ายขึ้น ดังนั้นชนชั้นปกครองสามารถสร้างภาพลวงตา กลับหัวกลับหาง เรื่องอำนาจแท้ในสังคมไทยได้ เพื่อไม่ให้คนเห็นว่าอำนาจจริงอยู่ที่ทหารและนักธุรกิจ และภาพลวงตานี้ผลิตซ้ำด้วยกฎหมายเผด็จการ 112 ที่ปิดปากเราด้วย ซึ่งเป็นการซ้ำเติมความกลัวเพื่อทำลายความมั่นใจของเราอีก

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) คือแปลกแยกจากความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของเราทุกคน และแปลกแยกจากความจริง

แต่ ลูคักส์ เสนอว่าต่อว่าเมื่อเรารวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อออกมาต่อสู้กับเผด็จการ ความกล้าในการคิดเองและวิเคราะห์โลกเองก็จะเกิดขึ้น และเราจะเลิกเชื่อนิยายงมงายของชนชั้นปกครอง เราเริ่มเห็นสิ่งนี้หลังจากที่มีการประท้วงต้านเผด็จการที่นำโดยคนหนุ่มสาว แต่พวกเราต้องเดินทางให้สุดทาง คือเปิดตาในเรื่องนิยายภาพลวงตาเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์ด้วย

การเดินให้สุดทางในแง่ความคิดเป็นเรื่องสำคัญในรูปธรรม เพราะมันจะทำให้เราชัดเจนว่าศัตรูหลักของเราตอนนี้คือทหารกับนายทุน กษัตริย์เพียงแต่เป็นศัตรูของเราในลักษณะความคิด ทหารกับนายทุนเป็นศัตรูหลักเพราะคุมอำนาจรัฐ