การปฏิวัติเยอรมัน 1918

ใจ อึ๊งภากรณ์

การปฏิวัติเดือนพฤศจิกายนปี 1918 ในเยอรมัน เป็นการปฏิวัติที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์โลกไม่น้อย เพราะมีผลทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง และในระยะยาวความไม่สำเร็จของการปฏิวัติ ทำให้การปฏิวัติรัสเซียที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้านั้นต้องล้มเหลว ความล้มเหลวนี้เปิดโอกาสให้เผด็จการสตาลินขึ้นมาทำการปฏิวัติซ้อน และเปลี่ยนรัสเซียจากสังคมนิยมไปเป็นทุนนิยมโดยรัฐ เพราะรัสเซียเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สร้างสังคมนิยมในประเทศเดียวไม่ได้ จึงมีการตั้งความหวังว่าถ้ามีการปฏิวัติสังคมนิยมในเยอรมัน ซึ่งเจริญกว่า มันจะทำให้ระบบสังคมนิยมในยุโรปมีความเข้มแข็งมากขึ้น

bs-20-08-DW-Kultur-Deankfurt-Main-Archiv-jpg

การปฏิวัติเยอรมันระเบิดขึ้นในกองทัพเรือภาคทะเลเหนือของเยอรมันที่ประจำอยู่ที่เมือง Kiel เพราะทหารเรือไม่พอใจกับคำสั่งที่จะต้องออกไปเผชิญหน้ากับกองทัพเรืออังกฤษที่มีพลังเหนือกว่า มันเป็นคำสั่งให้ทหารเรือฆ่าตัวตาย ทหารเรือบนเรือลำต่างๆ ไม่ยอมเดินเรือออกไป ฝ่ายผู้บัญชาการทหารเรือจึงจับเข้าคุก 1 พันคน แต่สตรีในเมือง Kiel พร้อมกับกรรมาชีพ และทหารที่ถูกส่งไปปราบทหารเรือ ลุกขึ้นก่อกบฏ มีการชักธงแดงขึ้นบนเรือรบทุกลำ และกรรมาชีพกับทหารในเมืองตัดสินใจก่อตั้งสภาโซเวียด

revolution1

การปฏิวัติลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ของเยอรมันอย่างรวดเร็ว ในเมืองเบอร์ลิน คาร์ล ลีบนิค แกนนำองค์กรณ์ปฏิวัติสังคมนิยม “สปาร์ตาซิสต์” พบกับผู้แทนขบวนการสหภาพแรงงานปฏิวัติ และเรียกให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป

นายกรัฐมนตรีฝ่ายขวาของเยอรมันกลัวการปฏิวัติ จึงปลดกษัตริย์ไคเซอร์ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง เอเบอร์ด หัวหน้าพรรคสังคมนิยมปฏิรูป (SPD) เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีความหวังว่าพรรคสังคมนิยมปฏิรูปจะขัดขวางการปฏิวัติและปกป้องระบบทุนนิยม ในวันต่อมา เอเบอร์ด จึงรีบประกาศชักชวนให้มวลชนกลับบ้านและเลิกประท้วง

bild-44326-resimage_v-variantSmall16x9_w-320
คาร์ล ลีบนิค

ส่วนในวันเดียวกัน คาร์ล ลีบนิค ปีนขึ้นบนระเบียงวังของกษัตริย์และปราศรัยกับมวลชนว่า วันแห่งการปฏิวัติมาถึงแล้ว กรรมาชีพและทหารควรเดินหน้าต่อไปและสร้างสภาโซเวียดกับรัฐบาลของคนงานและพลทหารธรรมดา มวลชนมีการตะโกนต้อนรับสาธารณรัฐใหม่ และชักธงแดงขึ้นบนยอดเสาธงของวังกษัตริย์

เลนิน ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ได้ออกมาแสดงความยินดีกับการยึดอำนาจของคนงานและพลทหารเยอรมัน แต่เตือนไม่ให้มวลชนปล่อยให้รัฐบาลของนายทุนและพวกสังคมนิยมจอมปลอมอยู่ต่อไป มีการส่งเสริมให้นักปฏิวัติสังคมนิยมยึดอำนาจและก่อตั้งรัฐบาลของคนงานและพลทหารภายใต้การนำของ คาร์ล ลีบนิค

Geschichte04-9111918
นสพ. ธงแดง

โรซา ลัคแซมเบอร์ค นักปฏิวัติเยอรมันที่เป็นแกนนำองค์กรณ์ปฏิวัติสังคมนิยม “สปาร์ตาซิสต์” ร่วมกับ คาร์ล ลีบนิค ได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ “ธงแดง” ของพวกสปาร์ตาซิสต์ว่า การปฏิวัติเริ่มต้นแล้ว แต่อย่างพึ่งเสียเวลากับการเฉลิมฉลอง เพราะมีภารกิจอีกมากมายที่ต้องเร่งทำ จริงอยู่มีการล้มกษัตริย์ไคเซอร์ แต่ โรซา ลัคแซมเบอร์ค เตือนว่ากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจจริง เป็นเพียงประมุข ผู้ที่มีอำนาจจริงที่อยู่เบื้องหลังคือพวกนายทุน และรัฐบาลของ เอเบอร์ด กับพรรคสังคมนิยมปฏิรูป ไม่ได้ไปแตะอำนาจนี้แต่อย่างใด สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นคือการยึดอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพกับพลทหาร การล้มทุนนิยม และการสถาปนาระบบสังคมนิยม

rosaluxemburg-lasallemarx
โรซา ลัคแซมเบอร์ค

อย่างไรก็ตามอิทธิพลขององค์กรณ์ สปาร์ตาซิสต์ มีแค่ในบางส่วนของกรรมาชีพและทหารที่ก้าวหน้าที่สุดเท่านั้น ที่เหลือยังหลงไว้ใจพรรคสังคมนิยมปฏิรูป SPD

Spartacus_fight

นายกรัฐมนตรี เอเบอร์ด จับมือทันทีกับพวกนายพลเก่า เพื่อสร้าง “ความสงบเรียบร้อย” สำหรับระบบทุนนิยม มันแปลว่าต้องจัดการกับนักปฏิวัติ อย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ซึ่งมีฐานสนับสนุนในมวลชนทหารระดับล่างและกรรมาชีพของเมือง เบอร์ลิน ดังนั้นในปลายเดือนธันวาคม 1918 รัฐมนตรีมหาดไทย นอสก์ จากพรรคสังคมนิยมปฏิรูป SPD ตัดสินใจสร้างกองกำลังทหารรับจ้าง “ไฟรคอพส์” ที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมคลั่งชาติ เพื่อตระเวนไปทั่วเยอรมันและปราบปรามทำลายขบวนการแรงงานและนักสังคมนิยม บางหน่วยของกองกำลังนี้เริ่มใช้ธงสวัสติกะ ซึ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์ของพวกนาซี

ต่อมาในเดือนมกราคม 1919 ฝ่ายนายพลและรัฐบาลได้สร้างเรื่องให้มีการลุกฮือเพื่อที่จะมีข้ออ้างในการปราบปรามขบวนการปฏิวัติ ผลคือทั้ง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค ถูกทหารไฟรคอพส์จับคุมและพาไปฆ่าพร้อมโยนศพลงคลอง หลังจากนั้นรัฐบาลก็โกหกว่า โรซา ลัคแซมเบอร์ค ถูกม็อบฆ่าทิ้ง และ คาร์ล ลีบนิค ถูกยิงในขณะที่กำลังหลบหนี และพวกคนชั้นกลางก็เฉลิมฉลองด้วยความดีใจและความป่าเถื่อนตามเคย

P1140983
อนุสาวรีย์ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ริมคลองที่เมืองเบอร์ลิน

ปัญหาใหญ่ของ โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค คือลงมือสร้างองค์กรปฏิวัติช้าเกินไปตอนที่กระแสการต่อสู้เริ่มสูงขึ้น แทนที่จะสร้างองค์กรณ์ไว้ล่วงหน้าเพื่อฝึกฝนความเข้าใจทางการเมืองจากประสบการณ์การต่อสู้อย่างที่ เลนิน เคยทำ เพราะทั้ง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค เคยอยู่ในพรรค SPD จนถึงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และไม่ยอมแยกตัวออก

UFSsFZmh
โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ลีบนิค

อ่านเพิ่มเรื่อง โรซา ลัคแซมเบอร์ค ที่นี่ https://bit.ly/2ARmhde 

และ ที่นี่

เหตุการณ์นองเลือด Peterloo 1819 บทเรียนจากประชาธิปไตยอังกฤษ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ขบวนการแรงงานอังกฤษกำลังจะรำลึกเหตุการณ์นองเลือดเมื่อสองร้อยปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นที่ “Peterloo” เมืองแมนเชสเตอร์ และมีการนำเรื่องนี้มาทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วย บทเรียนจากเหตุการณ์นี้มีความสำคัญกับคนชั้นล่างที่กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั่วโลกในยุคนี้ รวมถึงในไทยด้วย

นักวิเคราะห์กระแสหลักในไทยมักจะพูดถึงประชาธิปไตยอังกฤษว่าเป็น “แม่แบบระบบประชาธิปไตย” เหมือนกับว่าชนชั้นปกครองอังกฤษรักประชาธิปไตยและ “มอบให้” ประชาชน และอดีตนายกรัฐมนตรีทรราช มาร์กาเรต แทตเชอร์ ก็เคยชอบพูดถึง “แมกนา คาร์ตา” ว่าเป็นกำเนิดของสิทธิพลเมืองอังกฤษ ซึ่งคำพูดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์ เพื่อลบประวัติแห่งการต่อสู้ของกรรมาชีพอังกฤษ

ข้อตกลง “แมกนา คาร์ตา” ในปี 1215 เป็นแค่ข้อตกลงระหว่างกษัตริย์และขุนนางเพื่อแบ่งอำนาจกัน มันไม่มีผลอะไรเลยกับพลเมืองส่วนใหญ่

ในปี 1819 อังกฤษมีวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชนผู้ทำงานอยู่ในสภาพย่ำแย่ ทั้งยากจน ทั้งทำงานในสภาพที่อันตรายและขาดเวลาพักผ่อน และทั้งไม่มีที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานพื้นฐาน นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลย สิทธิทางการเมืองถูกจำกัดไว้สำหรับคนชั้นสูงซึ่งเป็น 2% ของประชากรในระบบที่เต็มไปด้วยการซื้อขายที่นั่งในรัฐสภา

เมืองแมนเชสเตอร์เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยคนงานทอผ้าและปั่นด้าย และในเดือนสิงหาคม 1819 มีการนัดชุมนุมใหญ่ของกรรมาชีพ 6 หมื่นคน ทั้งชาย หญิง และเด็ก ซึ่งมีการประเมินว่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของประชากรแมนเชสเตอร์ ข้อเรียกร้องหลักของการชุมนุมคือเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนและสิทธิในการเลือกตั้ง คนงานในขบวนการดังกล่าวได้เรียนบทเรียนมาว่าแค่ลงชื่อในบัญชีหางว่าวหรือการพึ่งรัฐสภาน้ำเน่าจะไม่นำไปสู่การปฏิรูปอย่างแท้จริง จึงต้องมีการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชนขนาดใหญ่

ในการชุมนุมครั้งนี้ ชนชั้นปกครองอังกฤษเกรงกลัวว่าจะเกิดการปฏิวัติ เพราะในยุคนั้นพึ่งมีการปฏิวัติไปที่ฝรั่งเศสและมีการลุกฮืออื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จึงมีการส่งกองกำลังติดอาวุธเข้าไปปราบปรามอย่างโหดร้าย ปรากฏว่ามีคนตาย 18 คน และบาดเจ็บ 600 ในจำนวนผู้ตายมีเด็กเล็กและสตรีที่ตั้งครรภ์ด้วย และพวกอันธพาลของรัฐจงใจเล็งไปที่สตรีที่กล้าออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อสอนสตรีให้รู้จักเจียมตัว

เหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้นมีผลในการปลุกการตื่นตัวของขบวนการแรงงานที่มีการเมืองก้าวหน้ามากขึ้น เขาเข้าใจดีว่าฝ่ายรัฐจะไม่ยอมอะไรง่ายๆ และพร้อมจะใช้ความรุนแรงเสมอ มันนำไปสู่ขบวนการ “ชาทิสต์” (Chartist) ซึ่งต่อสู้อย่างดุเดือดจนในที่สุดชายทุกคนได้สิทธิเลือกตั้ง และมันมีสายเชื่อมโยงกับขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งสำหรับสตรีอีกด้วย ในที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 100กว่าปีหลัง Peterloo ประชาชนอังกฤษทุกคนก็ได้สิทธิในการเลือกตั้ง แต่นั้นไม่ได้แปลว่าพลเมืองไม่ต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตย

ในอนาคตอันใกล้ ถ้าพรรคแรงงานของ เจเรมี คอร์บิน ชนะการเลือกตั้งและลงมือใช้นโยบายฝ่ายซ้ายก้าวหน้า รัฐอังกฤษและชนชั้นปกครองจะหาทุกวิธีทางที่จะสร้างอุปสรรค์ในการดำเนินการของรัฐบาล ดังนั้นจะต้องมีขบวนการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาที่จะมาปกป้องนโยบายและรัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีวันจบภายใต้ระบบทุนนิยม

99569

ในลักษณะเดียวกัน ถ้าพรรคที่ต้านเผด็จการในไทยชนะการเลือกตั้ง ฝ่ายพรรคพวกของเผด็จการจะใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เพื่อสกัดกั้นเสียงประชาชน และเราก็ทราบดีเช่นกันว่าฝ่ายตรงข้ามมีประวัติในการใช้ความป่าเถื่อนรุนแรงด้วย ดังนั้นในไทยก็ต้องมีการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ที่มีรากฐานสำคัญในขบวนการสหภาพแรงงานอีกด้วย

 

การจัดการกับอาชญกรรมรัฐไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในวันที่ ๑๔ ตุลาคมปีนี้ พรรคสามัญชน แถลงว่า “ต้องมีการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ผ่านมาทั้งหมด” โดยมีการเสนอว่า

  1. สนับสนุนกระบวนการค้นหาความจริงอย่างรอบด้าน
  2. จัดทำโครงการรำลึกและการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐอย่างเป็นระบบ
  3. ชดเชยผู้เสียหายจากความรุนแรง
  4. ต้องไม่มีการลอยนวลพ้นผิด จะต้องมีการสอบสวน ลงโทษ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยรัฐ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

43950273_1942694965809987_568145699913334784_n

ทั้งๆ ที่ผมสนับสนุนทั้งสี่ข้อนี้ มันมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ ในเกือบทุกเรื่องตอนนี้ มันมีการค้นหาความจริงโดยขบวนการประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว เช่นกรณีเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เป็นต้น [ดู https://bit.ly/2cSml2g ] และผู้ก่อความรุนแรงรายใหญ่ตายไปหมดแล้ว ส่วนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖, พฤษภาคม ๒๕๓๕, การเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ, การฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด และการเข่นฆ่าเสื้อแดง เราล้วนแต่ทราบข้อมูลว่าใครสั่งการและใครควรรับผิดชอบ มันไม่มีอะไรลึกลับ มันไม่มีประวัติศาสตร์ที่ต้องชำระ

col01210959p1

สำหรับ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ผู้นำเผด็จการที่สั่งฆ่าประชาชนตายไปแล้วสองคน แต่ ณรงค์ กิตติขจร ทรราชคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบกับการฆ่าประชาชน ยังมีชีวิตอยู่ เขาควรจะถูกนำมาขึ้นศาล

200px-ณรงค์_กิตติขจร

ณรงค์-กิตติขจร-1
ณรงค์ กิตติขจร

นอกจาก ณรงค์ กิตติขจร แล้ว สุจินดา คราประยูร ผู้สั่งการในการฆ่าประชาชนในพฤษภา ๓๕ ก็ควรจะกลายเป็นผู้ต้องหาด้วย ในกรณีการเข่นฆ่าประชาชนมาเลย์มุสลิมที่ตากใบ และการฆ่าวิสามัญในสงครามยาเสพติด ทักษิณ ชินวัตร จะต้องถูกนำมาขึ้นศาล

hqdefault
สุจินดา คราประยูร
A-0208
ทักษิณ ชินวัตร

และล่าสุดในคดีเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดง อนุพงษ์ เผ่าจินดา, ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ควรจะถูกนำมาขึ้นศาลเช่นกัน

ฆาตกร

แล้วทำไมไม่กล้าพูดกันตรงๆ ? แน่นอนมันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่อย่างน้อยต้องมีการเปิดประเด็นเรื่องนี้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นเป้าหมาย

ปัญหาคือการพูดถึงการ “ชำระประวัติศาสตร์” สามารถถูกใช้เป็นคำพูดที่ดูดี อยู่เคียงข้างความยุติธรรมและประชาธิปไตย แต่ในรูปธรรมกลายเป็นข้ออ้างในการชะลอการลงมือจัดการกับอาชญากร

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพรรรคสามัญชน มันเกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ด้วย เพราะถ้าจะลบผลพวงของรัฐประหารและเผด็จการทหาร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการนำผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาล ซึ่งคงต้องรวมไปถึงคนที่ก่อรัฐประหารด้วย ดังนั้นคงต้องเพิ่มชื่อ สนธิ บุญยรัตกลิน เข้าไปอีกหนึ่งคน

และประเด็นที่ตามมาคือจะนำอำนาจอะไรมาทำ? จะใช้อำนาจอะไรยกเลิกรัฐธรรมนูญทหารและยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี? มันมีอำนาจเดียวที่ชี้ขาดในเรื่องนี้ คืออำนาจของขบวนการมวลชนนอกรัฐสภา

เรื่องแบบนี้พรรคการเมืองที่พูดในลักษณะก้าวหน้าควรจะอธิบายให้ชัดเจนในเรื่อง “อำนาจ” และควรจะพูดว่าพร้อมจะสร้างขบวนการมวลชนหรือไม่ และถ้าไม่พร้อมจะสร้างขบวนการมวลชน คิดว่ายังทำในสิ่งที่ต้องการทำได้หรือไม่ ไม่ใช่พูดว่าจะใช้รัฐสภาจัดการกับผลพวงของเผด็จการโดยไม่คุยเรื่องอุปสรรค์ เพราะถ้าไม่พูดให้ชัดเจน หรือถ้าแอบอยู่หลังคำประกาศว่าจะชำระประวัติศาสตร์ นโยบายต่างๆ ที่ฟังดูดี ก็แค่เป็นคำพูดที่ดูสวยงามแต่ไร้รูปธรรมโดยสิ้นเชิง

 

คลังบทความแนวสังคมนิยมว่าด้วยการเมืองยุคปัจจุบัน

ใจ อึ๊งภากรณ์

เชิญอ่านและใช้คลังบทความของผม ที่ใช้แนวสังคมนิยมมาร์คซิสต์วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในโลกสมัยใหม่

200 ปีหลังยุคของคาร์ล มาร์คซ์ แนวคิดมาร์คซิสต์เป็นสิ่งที่ไม่เคยตาย และไม่ใช่เรื่องของการท่องหนังสือของมาร์คซ์จากอดีต

นักมาร์คซิสต์สมัยใหม่จะต้องสนใจปัญหาภาพรวมทั่วโลกในลักษณะหลากหลาย และยิ่งกว่านั้นนักมาร์คซิสต์เป็นผู้ผสมทฤษฏีกับการปฏิบัติเสมอ ทั้งนี้เพื่อเข้าใจและเปลี่ยนแปลงโลกอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักมาร์คซิสต์จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยมและการต่อสู้ประจำวันอย่างต่อเนื่อง

ลาตินอเมริกา https://bit.ly/2DlwMsp

 

สิ่งแวดล้อม โลกร้อน และ Anthropocene https://bit.ly/2QMpL6F

 

ความคิดมาร์คซิสต์ในโลกสมัยใหม่

200ปี คาร์ล มาร์คซ์ https://bit.ly/2xJqMnn      

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย https://bit.ly/2BYxAyd

ว่าด้วยทุน https://bit.ly/2iWRQtY

วิกฤตเศรษฐกิจ https://bit.ly/2v6ndWf

ทฤษฏีมูลค่าแรงงาน https://bit.ly/2zozGbS

การเมืองไทย https://bit.ly/2t6CapR

สังคมนิยมในทัศนะของมาร์คซ์ https://bit.ly/2zoAiy5

 

การกดขี่ทางเพศ https://bit.ly/2QQr5VX

รัฐสวัสดิการ https://bit.ly/2rOzlLy

การศึกษา https://bit.ly/2I9u7ki

ปาตานี https://bit.ly/2b5aCYI

 

เพิ่มเติม

Trotsky https://bit.ly/2zCPB5h

Rosa https://bit.ly/2DtwQWo

 

marx-virsam