ทำไมคนจำนวนมากถึงเศร้าเมื่อกษัตริย์ภูมิพลตาย?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ภาพของคนไทยจำนวนมากที่โศกเศร้าเมื่อกษัตริย์ภูมิพลตาย ที่ทำให้คนที่มีสติปัญญานึกถึงสังคมเกาหลีเหนือ มันเป็นสัญลักษณ์ของ “ไทยเป็นทาส” หรือสัญลักษณ์ของด้านอนุรักษ์นิยมของสังคมไทย

มีคนถามพวกเราที่วิจารณ์คนไทยที่ตกเป็นทาสทางความคิด ว่าทำไมไม่เคารพความรู้สึกหรืออารมณ์ของคนที่ไว้อาลัยนายภูมิพล? คำตอบง่ายๆ คือ มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเช่นการตายของญาติพี่น้องของใคร และในเรื่องการเมืองเราไม่ควร “เคารพ” ความคิดล้าหลังปฏิกิริยา โดยเฉพาะจากหลายคนที่ไม่เคยเคารพผลการเลือกตั้งหรือเคารพประชาธิปไตย การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงอย่างเปิดเผย

397307c500000578-3847564-image-a-5_1476794560956

ในอดีตเวลาคนเยอรมันจำนวนหนึ่งไปคลั่งรักฮิตเลอร์ เราต้องเคารพความรู้สึกนึกคิดของพวกนั้นหรือ? ในอดีตเวลาคนร้องไห้เมื่อสตาลินตาย เราต้องเคารพความรู้สึกของเขาหรือ? เวลาประชาชนเกาหลีเหนือร้องไห้เพราะผู้นำเผด็จการตาย เราต้องเคารพความรู้สึกเขาหรือ? คนที่ห้ามเราไม่ให้วิจารณ์ความเหลวไหลของคนไทยจำนวนหนึ่งที่คลั่งเจ้า กำลังพูดว่าเรา “ไม่มีสิทธิ์” ในการแสดงความคิดที่ต่างจากกระแสหลัก สังคมไทยเต็มไปด้วยการปิดกั้นเสรีภาพในทุกด้านอยู่แล้ว

แต่สำหรับคนไทยที่ไม่ยอมเป็นทาส เราต้องมีคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์ว่าทำไมคนจำนวนมากออกมาร้องไห้และโศกเศร้า เมื่อคนที่เขาเชื่อว่าเป็น “พ่อ” เสียชีวิต ทั้งๆ ที่บุคคลคนนี้ไม่ใช่พ่อจริง และทั้งๆ ที่คนเหล่านี้ไม่รู้จักนายภูมิพลเป็นส่วนตัวแม้แต่นิดเดียว

แน่นอนมันมีประเด็นของอำนาจเผด็จการและกฏหมาย 112 และการประชาทัณฑ์ที่ข่มขู่คนที่คิดต่าง แต่นั้นไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมหลายคนร้องไห้จริง ทำไมมีคนอาสาที่จะแต่งชุดดำเอง และถึงกับสักร่างกายด้วยประโยคคลั่งเจ้า ไม่ว่าเขาจะสะกดตัวหนังสือถูกหรือผิด

14671279_1108537339231968_3253529123943464133_n

ถ้าเราแค่บอกว่าพวกนี้โง่เขลา ถึงแม้ว่าเขาอาจ “โง่” ทางการเมืองก็จริง แต่นั้นไม่ใช่คำอธิบาย การพูดว่าพวกนี้โดนล้างสมองก็ไม่สามารถอธิบายได้เช่นกัน แต่แน่นอนในสังคมไทยมีการกล่อมเกลาทางสังคมให้รักเจ้า อย่างไรก็ตามการกล่อมเกลาทางสังคมผ่านโรงเรียน โทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการล้างสมอง เพราะกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมต้องอาศัยการชักชวนให้คนสมัครใจที่จะคล้อยตามกระแสหลัก

ทำไมชนชั้นปกครองสามารถชักชวนให้คนไทยสมัครใจที่จะมีความเชื่อที่เหลวไหลแบบการคลั่งเจ้า? ผมฟันธงว่ามันเป็นความคิดเหลวไหลสำหรับประชาชนคนธรรมดาที่เป็นกรรมาชีพผู้ทำงาน เพราะลัทธิกษัตริย์ขัดกับผลประโยชน์ระยะยาวของคนส่วนใหญ่ในสังคม เนื่องจากลัทธินี้ย้ำและให้ความชอบธรรมกับความเหลื่อมล้ำทุกชนิดและการกดขี่ขูดรีดทางชนชั้น มันเป็นลัทธิที่มาจากผลประโยชน์ของชนชั้นบนล้วนๆ

ทฤษฏีมาร์คซิสต์อธิบายว่า การที่มนุษย์สร้างคนหรือสิ่งสามัญประจำวันขึ้นมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราต้องรักเหมือนพ่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำในสังคมชนชั้น     ที่สำคัญคือความเชื่อใน “อำนาจ” ของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องมือในการบริหารสังคม ในการกดขี่ขูดรีด หรือในการสร้างความหวังให้มนุษย์ที่สิ้นหวัง กระบวนการนี้ชาวมาร์คซิสต์เรียกว่า “การสร้างสภาวะแปลกแยก” (Alienation)

การสร้างสภาวะแปลกแยก เกิดจากการที่ชนชั้นปกครองใช้อำนาจในการทำลายความเป็นมนุษย์พื้นฐานของเรา การทำลายความเป็นมนุษย์พื้นฐานของเรานี้ กระทำผ่านการสร้างระบบที่บังคับให้เราทำงานให้คนอื่น แทนที่จะเป็นมนุษย์อิสระที่กำหนดอนาคตตนเองได้ในทุกแง่

การที่ประชาชนจะถูกกล่อมเกลาให้สมัครใจเชื่อในสิ่งที่ไม่จริงได้ เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครอง อาศัยเงื่อนไขสำคัญคือ ความรู้สึกขาดความมั่นใจ ขาดความมั่นคง และไร้อำนาจ ของประชาชนส่วนใหญ่ ในสังคมไทยและสังคมทั่วโลก ประชาชนธรรมดาถูกสอนมาตั้งแต่เล็ก ว่าตัวเองไร้ความสามารถ ไม่เหมือนคนใหญ่คนโต เราเห็นได้จากการที่คนจำนวนมากมองว่าตนไม่สามารถเป็นผู้นำได้ หรือไม่สามารถเปลี่ยนสังคมได้ ดังนั้น “ต้องพึ่งผู้ใหญ่ที่เก่งกว่าตัวเองเสมอ” ในสภาพที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าตนเองอ่อนแอขาดอำนาจ และในสภาพที่คนกลัวเผด็จการ เขาจะเชื่อนิยายของชนชั้นปกครองง่ายขึ้น ยิ่งเราอยู่ในสังคมที่ขาดความมั่นคงในชีวิตเพราะเราไม่มีรัฐสวัสดิการ หรือขบวนการแรงงานไม่เข้มแข็งพอที่จะสร้างกระแส “สิทธิมนุษยชน” หรือประเพณีของการเป็น “พลเมือง” มันยิ่งง่ายมากขึ้น

ในเมื่อคนธรรมดามองไม่ออกว่าตนเองจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้เอง ก็ต้องหันไปพึ่งอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์แทน คนไทยไม่น้อยจึงหลงเชื่อว่าตนพึ่งพา “ในหลวง” เพื่อความสงบสุข ทั้งๆ ที่มันไม่จริงแม้แต่นิดเดียว

แต่นักมาร์คซิสต์ ชื่อ George Lukács อธิบายในหนังสือ “ประวัติศาสตร์และจิตสำนึกทางชนชั้น” ว่า เมื่อคนธรรมดาลุกขึ้นสู้ร่วมกัน และเห็นพลังของมวลชน อย่างที่คนเสื้อแดงเคยทำ หรืออย่างที่นักศึกษาช่วง ๑๔ ตุลาเคยทำ ประชาชนจะเริ่มมั่นใจในตนเองมากขึ้นและเริ่มตั้งคำถามในใจเกี่ยวกับนิยายต่างๆ ที่เคยเชื่อ เขาจะมองออกว่าเขาและคนรอบข้าง เมื่อรวมตัวกันเป็นขบวนการ สามารถเปลี่ยนสังคมและสร้างความมั่นคงและความสงบสุขเองได้

สรุปแล้วการเชื่อหรือคลั่งในลัทธิของชนชั้นปกครองเป็นเรื่องที่ไม่คงที่ ในบางยุคคนส่วนใหญ่อาจเชื่อง ในยุคอื่นอาจคิดกบฏ หรืออย่างน้อยมีความคิดที่เป็นอิสระ

ถ้าเราจะปลดแอกสังคมไทยจากความคิดที่ครอบงำสังคม และอำนาจจริงของเผด็จการที่กดทับเรา เราต้องรวมตัวกันต่อสู้

ลัทธิ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” เป็นบ่อเกิดแห่งความรุนแรง

ใจ อึ๊งภากรณ์

ภาพความรุนแรงของพวกคลั่งเจ้าหลังการตายของนายภูมิพล เป็นสิ่งที่เปิดโปงความป่าเถื่อนของสังคมไทยภายใต้เผด็จการ และคงจะทำให้พลเมืองไทยจำนวนไม่น้อยตกใจ ทั้งคนที่อยากเห็นประชาธิปไตยที่ไม่มีกษัตริย์ และคนที่ชื่นชมกษัตริย์แต่เกลียดชังความรุนแรง

แต่การเรียกร้องให้คน “ตั้งสติ” หรือเรียกร้องให้รัฐบาลห้ามปรามความรุนแรง คงไม่มีผลแต่อย่างใด เพราะลัทธิ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” มีความเป็นอยู่ควบคู่กับความรุนแรงตลอด มันมีทั้งสาเหตุทางประวัติศาสตร์ และสาเหตุทางการเมือง

ในทางประวัติศาสตร์ ระบอบกษัตริย์ยุคศักดินา และยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่รัชกาลที่ห้าถึงการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรุนแรง เพราะการที่คนจะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ เป็นกระบวนการของการขึ้นมาเป็นหัวหน้าโจร คือใครเป็นใหญ่ด้วยกำลังทหารก็จะประกาศว่าตนเป็นกษัตริย์ ผมคิดว่าในยุคนี้ไม่มีใครโง่เขลาพอที่จะหลงคิดว่าเทวดาหรือพระเจ้าแต่งตั้งกษัตริย์

การช่วงชิงอำนาจกัน เช่นระหว่าง “วังหน้า” กับ “วังหลัง” เพื่อเป็นกษัตริย์ ก็กระทำกันโดยการสู้รบ และอำนาจของกษัตริย์ที่จะบังคับใช้แรงงานทาสหรือไพร่ หรือแม้แต่การปิดปากประชาชนธรรมดาที่เห็นต่างและอยากกบฏ ก็อาศัยกองกำลังและความรุนแรงในการปราบปรามลงโทษ สรุปแล้วในประวัติศาสตร์ระบอบกษัตริย์คือระบอบของความรุนแรง มีแต่พวกปัญญาอ่อนทางปัญญาที่คิดว่าหัวหน้าโจรอย่าง “พ่อขุนรามคำแหง” เป็นเสมือน “พ่อใจดี” สำหรับประชาชน

หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ สถาบันกษัตริย์เปลี่ยนไป กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองใหม่ที่มีรูปแบบหมู่คณะ การขึ้นมาสู่อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ เปิดทางให้มีการสร้างลัทธิ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” ในรูปแบบสมัยใหม่ ซึ่งเป็นลัทธิของฝ่ายขวาไทยโดยเฉพาะในยุคสงครามเย็น สฤษดิ์ เองได้อำนาจทางการเมืองผ่านความรุนแรงของรัฐประหาร บางคนที่ตอแหลอาจเคยอ้างว่าการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา “เป็นสันติวิธี” แต่รถถังและปืนกลที่ใช้ในรัฐประหาร ไม่ได้มีไว้เลี้ยงเด็กหรือไถนาปลูกข้าว มันมีไว้ฆ่าคน หรืออย่างน้อยสุดเพื่อขู่จะฆ่าคน

เผด็จการของ สฤษดิ์ ใช้ความรุนแรงตลอด มีการจับฆ่าผู้คิดต่างที่เป็นฝ่ายซ้าย ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกจับกุมในข้อหา “กบฏต่อความมั่นคงและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” มีการจับกุมคนอื่นๆ รวม 108 คน และครูครองถูกตัดสินให้ต้องโทษประหารชีวิตโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อปกป้อง “ชาติ ศาสนา กษัตริย์”

9vsc

000006

ในเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการฆ่าฝ่ายซ้ายที่เป็นประชาชนและนักศึกษา “เพื่อปกป้อง ชาติ ศาสนา กษัตริย์” อีก โดยใช้ข้อแก้ตัวว่าการฆ่าประชาชนในธรรมศาสตร์ไม่ผิดเพราะพวกนั้นหมิ่นกษัตริย์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การกลับมาของระบบเผด็จการที่คลั่งลัทธิกษัตริย์ หลังจากที่เคยถูกล้มไปเมื่อสามปีก่อนหน้านั้น ทั้งทหาร ตำรวจ นักการเมืองฝ่ายขวา และราชวงศ์ คลุกคลีกับอันธพาลที่ก่อความรุนแรงในเหตุการณ์ ๖ ตุลา เพื่อปกป้อง “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” จากประชาธิปไตย

ในยุคนี้ชนชั้นปกครองได้จำใจเติมอีกคำหนึ่งทิ้งท้ายไว้ จนมันกลายเป็น “ชาติ ศาสนา กษัตริย์ และประชาชน” แต่คำว่า “ประชาชน” ไม่เคยมีความสำคัญ

th05_03b

ถ้าสำรวจภาพของพวกราชวงศ์ในอดีต เรามักจะเห็นภาพแต่งชุดทหารและถือปืน และแม้แต่สมาชิกราชวงศ์ที่เป็นเพศหญิง อย่างราชินี ก็ชอบลั่นว่าอยากจับปืนฆ่าคนที่เห็นต่าง เช่นในกรณีปาตานีเป็นต้น

bhumibol4

ตอนนี้หลังการสิ้นชีวิตของนายภูมิพล เราจะเห็นได้ว่าความรุนแรงมาควบคู่กับลัทธิคลั่งเจ้าของทหารเสมอ ฝูงคนป่าเถื่อนคลั่งเจ้าก่อตัวเป็นม็อบอันธพาลและประชาทัณฑ์คนเห็นต่าง หรือแม้แต่คนที่พวกนั้นมองว่าอาจเห็นต่างแต่ไม่มีหลักฐาน และการประชาทัณฑ์ทุกครั้งก็ได้คำสนับสนุนจากทหารที่ปกครองประเทศ โดยเฉพาะนายพลรัฐมนตรีกระทรวง “ยุติธรรม” ไพบูลย์ คุ้มฉายา ที่พูดถึง “มาตรการลงโทษทางสังคม” เพื่อให้การประชาทัณฑ์ดูน่ารักขึ้น

26-8

นอกจากการก่อม็อบของอันธพาลแล้ว ฝ่ายทหารและตำรวจก็ตามไปล่าจับคนที่เป็นเหยื่อของม็อบ และซ้ำเติมด้วยข้อหา 112

กฏหมาย 112 เป็นความรุนแรงทางความคิดและความรุนแรงทางกายพร้อมกัน คือเป็นมาตรการที่ใช้ความรุนแรงในการคุมขังความคิดอิสระและคุมขังร่างกายของนักโทษทางการเมืองพร้อมกัน มันเป็นกฏหมายที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทุกครั้งที่ทหารครองเมือง ไม่ว่าจะตอนนี้หรือภายใต้รัฐบาลทหารที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกหุ่น

ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่เราควรจะค่อยๆ สร้างกระแสใหม่ในสังคมที่ต้านการรักชาติ ต้านการคลั่งศาสนาพุทธ และต้านการคลั่งกษัตริย์ แต่การสร้างกระแสแบบนี้ในสังคมย่อมต้องทำพร้อมกับการเคลื่อนไหวเพื่อลดอำนาจทหาร และความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ด้วย

ประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ

ใจ อึ๊งภากรณ์

จริงๆ แล้ว ในรายละเอียดของชีวิตประจำวันปัจจุบันของคนไทยส่วนใหญ่ สถาบันกษัตริย์ไม่เคยมีความสำคัญเลย เช่นเรื่องการไปประกอบอาชีพ เลี้ยงดูครอบครัว การเรียนหนังสือ หรือการผ่อนคลายพักผ่อน สถาบันกษัตริย์ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย และยิ่งกว่านั้น ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการเลี้ยงลูก การมีครอบครัว หรือการสอนลูกชายให้เคารพสตรี ฯลฯ

กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยสร้างความสงบ และความมั่นคง ให้กับสังคมไทย

กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้รักประชาชนและสร้างความสงบอยู่เย็นเป็นสุขแต่อย่างใด เมื่ออำมาตย์ฆ่าคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยในปี ๒๕๕๓ นายภูมิพลเงียบเฉย ทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตและสามารถพูดได้ ไม่ว่าจะอายุสูงแค่ไหน

กษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทย คัดค้านสวัสดิการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายรายได้ สนับสนุนความรุนแรงในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และชมคนที่ทำรัฐประหาร ๑๙ กันยาและคนที่ทำลายประชาธิปไตยมาตลอด

ถ้านายภูมิพลเคยเป็นคนก้าวหน้าหรือเป็นคนดีที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหยุดวิ่งรถตามถนนหนทาง เพื่อให้ตัวเขาและญาติๆ เดินทางด้วยความสะดวกในขณะที่รถพยาบาลฉุกเฉินไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกแบบนี้เลย เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหมอบคลานต่อตัวเองเหมือนกับว่าประชาชนเป็นสัตว์หรือฝุ่นใต้ตีน และเขาจะออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องประชาธิปไตยและการคัดค้านกฎหมายเผด็จการต่างๆ รวมถึงกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ด้วย สรุปแล้วนายภูมิพลเป็นคนล้าหลัง ขวางความเจริญ และไม่มีความกล้าหาญพอที่จะทำอะไรยากๆดีๆ ไม่กล้าวิจารณ์ความไม่ถูกต้องในสังคมทั้งๆ ที่เป็นประมุข และไม่มีอุดมการณ์และมนุษยธรรมเพียงพอที่จะเห็นใจประชาชนเลย มีแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และคล้อยตามผู้มีอำนาจโดยเฉพาะทหารเท่านั้น

ในความเป็นจริง “ความสงบหรือความมั่นคง” ที่พวกคลั่งกษัตริย์อ้างว่านายภูมิพลช่วยสร้างในสังคมไทย คือความมั่นคงของการปกครองของอำมาตย์ ซึ่งเป็นความมั่นคงของชนชั้นที่ปกครองสังคมโดยสร้างความเหลื่อมล้ำสูงไปทั่ว ไม่ใช่ความมั่นคงอยู่เย็นเป็นสุขของพลเมืองส่วนใหญ่แต่อย่างใด

ตลอดเวลาที่สังคมเราตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหาร สฤษดิ์ ถนอม และประภาส กษัตริย์ภูมิพลยินดีทำงานร่วมกับเผด็จการโดยไม่วิจารณ์อะไร คือภูมิพลไม่ได้ช่วยสร้างประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่พอนักศึกษาและประชาชนออกมาล้มเผด็จการทหารสำเร็จในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีการแนะนำจากอำมาตย์ส่วนอื่นให้นายภูมิพลรีบออกมาฉวยโอกาส กอบกู้สถานการณ์สำหรับอำมาตย์ โดยการออกโทรทัศน์ และตั้ง “สภาสนามม้า” กับรัฐบาลแห่งชาติ เปิดทางให้มีการออกแบบประชาธิปไตยรัฐสภาที่รักษาอำนาจอำมาตย์ต่อไป ไม่ต่างจากระบบการเมืองที่ประยุทธ์กำลังสร้าง

หลัง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ นายภูมิพลและราชวงศ์ ได้สนับสนุนฝ่ายขวาสุดขั้ว เช่น ลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มอื่นๆ ที่ใช้ความรุนแรงในสังคม และนำไปสู่รัฐประหาร ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ต่อจากนั้นสังคมไทยก็เข้าสู่ยุคสงครามกลางเมืองเต็มที่ เพราะ รัฐไทยรบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในเหตุการณ์เหล่านี้ภูมิพลสนับสนุนพวกฝ่ายขวาและรัฐประหารเพราะมองว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” นายกรัฐมนตรีรัฐบาลหอย ขวาตกขอบ ที่ภูมิพลชื่นชมในสมัยนั้นคือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่รัฐบาลของ ธานินทร์ ซึ่งมี สมัคร สุนทราเวช เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ได้สร้างความแตกแยกในสังคมไทยจนฝ่ายทหารส่วนใหญ่ต้องปลดรัฐบาลนี้ออกเพียงหนึ่งปีหลัง ๖ ตุลา นี่หรือคือการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของนายภูมิพลหรือ?

ในกรณีพฤษภาคม ๒๕๓๕ ในช่วงแรก นายภูมิพล แนะนำให้ประชาชนไว้ใจและสนับสนุน เผด็จการสุจินดา แต่หลังจากมีการลุกฮือขับไล่สุจินดาสำเร็จไปแล้ว ท่ามกลางการล้มตายของประชาชน นายภูมิพลก็ต้องออกมาสร้างภาพว่า ตนไกล่เกลี่ยระหว่างสุจินดากับจำลอง ภายใต้การประสานงานขององค์มนตรีเปรม ที่สำคัญคือนายภูมพลไม่เคยห้ามปรามการนองเลือด

วิกฤตการเมืองปัจจุบันที่เริ่มต้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ และมีรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นวิกฤตที่นายภูมิพลไม่ได้พยายามแก้ไขแต่อย่างใด นายภูมิพลนั่งเฉยและปล่อยให้ผู้มีอำนาจแท้ในกองทัพ ทำลายความมั่นคงและความสงบของสังคมด้วยการอ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์ และนายภูมิพลนิ่งเฉยเวลานายอภิสิทธิ์และทหารอย่างประยุทธ์ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า วิกฤตนี้เรื้อรังไปเรื่อยจนเรามีรัฐประหารรอบสองของประยุทธ์

จะเห็นได้ว่านายภูมิพลไม่เคยปกป้องประชาชนจากการถูกฆ่าโดยทหาร ไม่เคยรักษาความสงบ แต่มีหน้าที่หลักในการกอบกู้สถานการณ์ให้ชนชั้นปกครอง เมื่อประชาชนลุกฮือ เพื่อไม่ให้หลุดไปจากอิทธิพลของอำมาตย์เท่านั้น และการกระทำดังกล่าว ทำไปภายใต้คำแนะนำขององค์มนตรีและกองทัพ ซึ่งเป็นเครือข่าย “ประสานงาน” ระหว่างส่วนต่างๆ ของชนชั้นปกครองไทย เช่น ทหาร นักการเมือง ข้าราชการผู้ใหญ่ นายทุน และนักการเมือง

แล้วท่านคิดว่ากษัตริย์คนต่อไปจะดีกว่านายภูมิพลหรือ?

4w596qhighc0-bild

 ฝันไปเถิด นายวชิราลงกรณ์เป็นคนที่ค่อนข้างจะขาดความฉลาด ก้าวร้าว และไม่รู้จักความประพฤติที่สมกับการเป็นบุคคลสาธารณะ ทั้งๆ ที่อายุหกสิบกว่าแล้ว เขาสนใจแต่การเสพสุขของตนเอง และการกดขี่สตรี นายวชิราลงกรณ์จะเป็น “ลูกน้อง” ของทหารที่เชื่องกว่านายภูมิพลเสียอีก

กองทัพกับระบบกษัตริย์พันกันเหมือนงูที่แยกออกจากกันไม่ได้

%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9d%e0%b9%89%e0%b8%b2

 ทหารเผด็จการโกงกินของไทยใช้ระบบกษัตริย์เพื่อผลประโยชน์ของพวกนายพลมานาน กษัตริย์เป็นข้ออ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกที่จะทำรัฐประหาร ฆ่าประชาชน และปกครองประเทศอย่างป่าเถื่อน ดังนั้นถ้าเราจะมีประชาธิปไตยได้ เราต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์และกองทัพพร้อมกัน

ถ้าไม่มีกษัตริย์ เราจะอยู่กันอย่างไร?

ถ้าประเทศไทยไม่มีกษัตริย์ สังคมจะดีขึ้นเพราะ

  1. เราจะประหยัดงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาพัฒนาชีวิตประชาชนทุกคน เพราะเรายกเลิกสถาบันที่ราคาแพงแต่ไม่มีประโยชน์สำหรับประชาชน
  2. ทหารจะไม่สามารถนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นหน้ากากบังหน้าเพื่อทำลายประชาธิปไตย
  3. เราจะเริ่มสร้างมาตรฐานในระบบประชาธิปไตย และในระบบยุติธรรมได้ เพราะเราสามารถสร้างวัฒนาธรรมการเป็นพลเมืองที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีการหมอบคลานให้ใคร
  4. เราจะมีเสรีภาพในการใช้ปัญญา แสดงออก และร่วมกันคิดเพื่อสร้างสังคมใหม่
  5. ประชาชนจะไม่ยากลำบากเมื่อรถติดอันเนื่องมาจากขบวนเสด็จ
  6. เราสามารถนำวังต่างๆ มาเป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์สำหรับคนจน เช่นเป็นบ้านพักคนชราเป็นต้น

แต่แค่การพูดหรือเขียนว่า “ประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ” จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่เกิดโดยอัตโนมัติเหมือนดินฟ้าอากาศ มันต้องอาศัยการจัดตั้งทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองเสมอ ยิ่งกว่านั้นการเป็นสาธารณรัฐไม่เพียงพอที่จะสร้างประชาธิปไตยแท้ได้ เพราะสาธารณรัฐที่เป็นเผด็จการก็มี เราจึงควรตั้งเป้าระยะยาวที่จะสร้างสาธารณรัฐที่เป็นทั้งประชาธิปไตยและใช้ระบบการเมืองสังคมนิยม

protest_icon-2_ci

คนที่มัวแต่หมอบคลานต่อผู้ใหญ่ จะคิดว่าผู้ใหญ่ในสังคมสูงส่งใหญ่โตเหลือเกิน แต่พอเราลุกขึ้นยืนเราจะมั่นใจว่าไม่มีใครดีกว่าหรือสูงเรา และประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน!

ภูมิพล คนรวยที่ไร้ความกล้าหาญในการทำความดี

ใจ อึ๊งภากรณ์

นายภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ ไร้ความกล้าหาญ และไม่มีอุดมการณ์ดีๆ ของตนเองเลย แต่ในขณะเดียวกันเป็นคนโลภทรัพย์และหลงตัวเอง เขาใช้ชีวิตของอภิสิทธิ์ชนอันไร้ประโยชน์ ขณะที่ล้อมรอบไปด้วยขี้ข้าที่คอยเลีย หมอบคลาน และชมว่านายภูมิพลเป็น “เทวดา”  แท้จริงแล้วนายภูมิพลเป็นคนน่าสมเพชที่ไม่น่าสงสาร เป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมไทย และพร้อมจะปล่อยให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยถูกเข่นฆ่าเหมือนผักเหมือนปลา

ตลอดชีวิตของเขา เขามีส่วนสำคัญในการให้ความชอบธรรมกับเผด็จการที่ทำให้สังคมไทยล้าหลังและขาดประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้

ในช่วงท้ายของชีวิต นายภูมิพลปล่อยให้ประชาชนเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยถูกทหารฆ่าตาย และปล่อยให้ทหารใช้คดี 112 เพื่อจำคุกผู้บริสุทธิ์ที่คัดค้านเผด็จการ โดยที่ทหารอ้างตลอดว่ากำลัง “ปกป้อง” นายภูมิพลและครอบครัว

นายภูมิพลอาสาด้วยความเต็มใจ ที่จะเป็นเครื่องมือของทหาร ที่คอยทำรัฐประหาร กีดกันประชาธิปไตยและความเจริญทางเศรษฐกิจของประชาชน สำหรับนายภูมิพลการทำหน้าที่ดังกล่าวสร้างผลประโยชน์ให้ตัวเขาเองมากมาย นายภูมิพลสามารถสะสมทรัพย์สินมหาศาลจากการทำงานของประชาชน จนกลายเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศไทยและกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก ในขณะเดียวกันนายภูมิพลบังอาจที่จะเสนอว่า “ราษฎร” ควรพึงพอใจในความยากจนของตนเอง ผ่านลัทธิ “เศรษฐกิจพอเพียง” นี่คือนิสัยของคนที่ “ทำนาบนหลังคนอื่น” ไม่ต่างจากกษัตริย์ทั่วโลก

ข้าทาสบริวารต่างๆ ของภูมิพล ต้องคอยส่งเสริมรูปภาพหยดเหงื่อที่ปลายจมูกของนายภูมิพล เพื่อสร้างภาพหลอกลวงว่าเขาทำงานหนักได้ อย่างไรก็ตามรูปถ่ายแบบนี้ดูเหมือนจะมีรูปเดียว เพราะนายภูมิพลไม่เคยออกแรงให้เหงื่อออกจริงๆ ไม่เหมือนชาวไร่ชาวนาหรือกรรมกร และนายภูมิพลไม่เคยละอายใจที่จะมีคนมาคลานต่อหน้าตนเองเหมือนสัตว์ หรือใช้ภาษาโบราณราชาศัพท์ เหมือนกับว่าเขาเป็นเทพเจ้า

นายภูมิพลเกิดที่สหรัฐและใช้ชีวิตวัยรุ่นอันแสนสบายในสวิสแลนด์ การที่เขาชอบขับรถสปอร์ดเร็วๆ ทำให้เขาต้องสูญเสียลูกตาข้างหนึ่งในอุบัติเหตุ ก่อนหน้านั้นในปี ๒๔๘๙ นายภูมิพลได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์เมื่อพี่ชายถูกยิงตาย เหตุการณ์นี้อธิบายได้สองทางคือ เป็นการฆ่าตัวตายของพี่ชายเอง หรือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการเล่นปืนกับนายภูมิพล ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เราแน่ใจได้คือนายภูมิพลทราบข้อมูลทุกอย่างและอยู่ในสถานที่เมื่อเกิดเหตุ แต่นายภูมิพลไม่มีความซื่อสัตย์หรือคุณธรรมพอที่จะพูดความจริง ปล่อยให้คนบริสุทธิ์สามคนถูกประหารชีวิต และปล่อยให้ท่านอาจารย์ปรีดีถูกป้ายร้ายจากคู่แข่งทางการเมือง หลังจากนั้นนายภูมิพลก็หากินกับการเป็นกษัตริย์ในรูปแบบที่เห็นแก่ตัว ขาดความซื่อสัตย์ ขาดคุณธรรม และขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนมาตลอด

ในช่วงเผด็จการทหารที่ป่าเถื่อนและคอร์รับชั่น หลังรัฐประหารของ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายสฤษดิ์ได้ขยันสร้างแนวร่วมกับพวกรักเจ้าเพื่อเชิดชูกษัตริย์และแสวงหาความชอบธรรมกับตนเองและอำมาตย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่ยุครัชกาลที่๗ ผ่านการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาในสถาบันกษัตริย์จนกระแสสาธารณรัฐมาแรง ในยุคนั้นแม้แต่ผู้นำทางทหารหลายคนอย่างเช่นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ไม่ต้องการกษัตริย์ นายสฤษดิ์กับพวกที่คลั่งเจ้าอาศัยบรรยากาศสงครามเย็น เพื่อส่งเสริมและเชิดชูนายภูมิพลในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และรัฐบาลสหรัฐก็ช่วยโดยการแจกรูปภาพนายภูมิพลให้ประชาชน ใครไม่นำไปแขวนไว้ในบ้านต้องถูกกล่าวหาว่าเป็น “แดง”

เมื่อนายสฤษดิ์ตายไปด้วยโรคตับแข็ง นายภูมิพลเสียใจมากเพราะผู้อุปถัมภ์ของตนดับไป แต่ก็สามารถทำงานร่วมกับนายถนอมและนายประภาส ลูกน้องสฤษดิ์ที่ขึ้นมาเป็นเผด็จการโกงกินรุ่นใหม่ได้ดี ในช่วงนี้และช่วงสฤษดิ์ นายภูมิพลไม่เคยมีจิตสำนึกพอที่จะวิจารณ์การคอร์รับชั่นของทหารและการที่สังคมไม่มีสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเลย เขาไม่เคยเปลี่ยน ยุคนั้นเป็นยุคที่เผด็จการทหารเริ่มเชิดชูโครงการหลวงทั้งหลาย แต่โครงการดังกล่าวของนายภูมิพล ไม่ได้พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเท่าไร โดยเฉพาะถ้าเทียบกับนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลไทยรักไทย

ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษาและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นไล่เผด็จการทหารจนสำเร็จ ฝ่ายอำมาตย์จึงเรียกร้องให้นายภูมิพลออกโรงเพื่อปกป้องระบบอภิสิทธิ์ชน นายภูมิพลจึงออกมาพูดทางโทรทัศน์และฉวยโอกาสสร้างภาพว่าตนเป็น “กษัตริย์ประชาธิปไตย” อย่างไรก็ตามเมฆดำแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นก็มาท้าทายอำมาตย์ ยุคนั้นเป็นยุคสงครามสหรัฐในเวียดนาม

นักศึกษาและประชาชนต่างต้องการให้สังคมไทยพัฒนาและมีความเป็นธรรม คนจำนวนมากเริ่มสนใจความคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ นายภูมิพลจึงร่วมมือกับอำมาตย์อื่นๆ ในการพยายามปกป้องทรัพย์สินและตำแหน่งด้วยการก่อตั้งกลุ่มอันธพาลฝ่ายขวาเช่นลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มอันธพาลเหล่านี้ พร้อมกับตำรวจ ตชด. ได้ก่อเหตุนองเลือดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในวันเดียวกันมีการทำรัฐประหาร และตั้งรัฐบาลเผด็จการป่าเถื่อนที่ปราบปรามผู้รักประชาธิปไตยและเซ็นเซอร์สื่อทุกชนิด หลังจากนั้นเพียงสองเดือน ในวันเกิดของเขาปีนั้น นายภูมิพลได้แสดงความพึงพอใจกับเหตุการณ์นี้ และอ้างว่ารัฐประหารเป็น “สิ่งจำเป็น” เพราะประเทศไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป”

ท้ายยุครัฐบาลนายเปรม พื้นที่ประชาธิปไตยเริ่มเปิดกว้างขึ้นและมีการเลือกตั้งนายชาติชายเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือน แต่ในไม่ช้าฝ่ายทหารภายใต้การนำของนายสุจินดาก็ทำรัฐประหารและทำลายประชาธิปไตยอีกครั้ง นายภูมิพลก็ออกมาชมนายสุจินดาตามหน้าที่กษัตริย์เด็กดีที่ร่วมหากินกับทหาร แต่โชคดีที่ประชาชนไม่ฟัง จึงมีการลุกฮือล้มเผด็จการในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ พอสถานการณ์ชัดเจนว่าประชาชนชนะ นายภูมิพลก็ออกมาฉวยโอกาสสร้างภาพอีกครั้งเพื่ออ้างว่าตนรักประชาธิปไตย

หลังจากนั้นมีการเลือกตั้งเสรี และนักการเมืองทั้งหลายก็แข่งกันหมอบคลานและเชิดชูนายภูมิพลว่าเป็น “มหาราช” หรือ “สุเปอร์แมน” ที่เก่งในทุกเรื่อง ทั้งนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่นักการเมืองและนักธุรกิจทั้งหลายเอง นายภูมิพลดูเหมือนว่าจะหลงตัวเองไปด้วย นักการเมืองคนหนึ่งที่เชิดชูนายภูมิพลคือ นายทักษิณ ซึ่งนายกคนนี้สามารถครองใจประชาชนและชนะการเลือกตั้งได้หลายรอบ

ใน “สงครามยาเสพติด” ที่มีการวิสามัญเข่นฆ่าประชาชนบริสุทธิ์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ นายภูมิพลไม่มีความกล้าหาญที่จะออกมาตำหนิการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยรักไทยเลย แต่กลับชมนายกทักษิณว่าทำในสิ่งที่จำเป็น มันพิสูจน์ว่านายภูมิพลไหลลื้นไปตามกระแสเสมอ

ในรอบห้าปีแรกของรัฐบาลไทยรักไทย นโยบายสุขภาพถ้วนหน้าและนโยบายกองทุนหมู่บ้าน สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในลักษณะที่ไม่เคยเกิดในอดีตและไม่เคยเกิดจากโครงการหลวงในรอบหกสิบปี การครองใจประชาชนในระบบประชาธิปไตยแบบนี้ทำให้คู่แข่งของนายกทักษิณ โดยเฉพาะพวกอำมาตย์หัวเก่าและนายทหาร อึดอัดใจเป็นอย่างยิ่ง พวกนี้จึงก่อสถานการณ์และทำรัฐประหารเพื่อทำลายประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในการทำลายประชาธิปไตยรอบนี้ นายภูมิพลก็ให้ความชอบธรรมกับทหารและอำมาตย์ตามเคย และยอมให้ทหาร เสื้อเหลือง และม็อบสุเทพ ใช้ชื่อของเขาในการประพฤติตัวแบบโจร

ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี ๒๕๕๓ ท่ามกลางการเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าของทรราชอภิสิทธิ์และกองทัพไทย นายภูมิพลนิ่งเฉย ไม่มีความกล้าหาญ อุดมการณ์ หรือศีลธรรม พอที่จะออกมาห้าม ปล่อยให้พลเมืองล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก แค่เหตุการณ์นี้เหตุการณ์เดียวก็พิสูจน์ว่าการมีกษัตริย์เป็นประมุขไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับประชาชน ถ้ากษัตริย์ไม่พร้อมจะปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็สิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ และร้ายกว่านั้น การปกป้องกษัตริย์กลายเป็นข้ออ้างของทหารโจรที่จะฆ่าประชาชนด้วย เหตุการณ์นี้และทุกอย่างที่เกิดจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้พลเมืองไทยจำนวนมากเริ่มตั้งคำถามกับระบบกษัตริย์ ทุกวันนี้คนจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยต้องการให้ระบบกษัตริย์สิ้นไปจากแผ่นดิน

หลายคนในสังคมไทยเข้าใจผิดว่านายภูมิพลวางแผนและสั่งการให้เกิดรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ แท้จริงแล้วนายภูมิพลไม่เคยมีอำนาจแบบนี้และไม่มีปัญญาหรือความกล้าที่จะเป็นผู้นำด้วย หน้าที่ของกษัตริย์ภูมิพลคือการให้ความชอบธรรมกับพฤติกรรมเลวๆ ของทหารและอำมาตย์ นี่คือสาเหตุที่ทหารและอำมาตย์สร้างภาพว่านายภูมิพลเป็น “เทวดาศักดิ์สิทธิ์” การคลั่งกษัตริย์ของฝ่ายทหารและนายทุนเพิ่มทวีขึ้นหลังการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตย ยุคหลังป่าแตก เพราะชนชั้นปกครองหัวเก่าต้องแข่งกับความชอบธรรมชุดใหม่ที่มาจากประชาธิปไตย เขาเลยเลือกสร้างความชอบธรรมที่มาจากการสร้างนิยายเรื่องภูมิพล ที่สำคัญคือพวกนั้นต้องการให้เราหลงเชื่อว่านายภูมิพลมีอำนาจล้นฟ้า เพื่อให้กษัตริย์เป็นหน้ากากปิดปังหน้าของเขาเอง

นอกจากการให้ความชอบธรรมกับการทำลายประชาธิปไตยซ้ำแล้วซ้ำอีก นายภูมิพลมีหน้าที่เสนอลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคัดค้านการกระจายรายได้และแช่แข็งความยากจน โดยมีการเสนอว่าคนจนต้องมีความพึงพอใจในสถานภาพของตนเองท่ามกลางความร่ำรวยของคนใหญ่คนโต ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงไปได้สวยกับลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดของพวกประชาธิปัตย์ ทีดีอาร์ไอ นายทุนใหญ่ และทหาร เพราะเป็นระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา มือใครสั้นต้องอดทนกับความจน” ทั้งสองแนวคิดนี้คัดค้านการใช้รัฐในการพัฒนาชีวิตประชาชน

ในช่วงท้ายของชีวิต ตั้งแต่นายประยุทธ์ทำรัฐประหารรอบใหม่ นายภูมิพลหมดสภาพ เกือบจะพูดไม่ออกและเดินไม่ได้ แต่สำหรับคนอย่างประยุทธ์ คนแก่นั่งรถเข็นน้ำลายยืด ยังใช้เป็นเครื่องมือได้เสมอ

นายภูมิพลใช้ชีวิตอันสุขสบายท่ามกลางนิยายโกหก มีการสร้างให้เขาเป็น “พ่อของชาติที่ทุกคนรัก” ทั้งๆ ที่ลูกหลานของเขาเองล้วนแต่ผิดปกติ โดยเฉพาะเจ้าฟ้าชายที่กดขี่สตรีและสนใจแต่ความสุขของตนเอง

มีการเสนอว่าภูมิพลเป็น “อัจฉริยะ” และมีการพูดว่านายภูมิพลมีชีวิต “เรียบง่าย” ผูกเชือกรองเท้าตัวเองได้ แต่ถ้าใครจะตั้งคำถาม เปิดโปงความจริง หรือวิจารณ์อะไรก็จะต้องโดนลงโทษอย่างหนักด้วยกฎหมายหมิ่นฯ 112

นายภูมิพลเป็นคนพิการในด้านความสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่น ชอบสังคมหมามากกว่าสังคมคน เมื่อเขาตายประชาชนไทยนับล้านคงหวังว่าสังคมและการเมืองเราจะพัฒนาและคืบหน้าสักที แต่คนที่คิดแบบนี้จะผิดหวัง เราจะไม่พบฟ้าสว่างหลังภูมิพลตาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดโดยอัตโนมัติ เรายังมีทหารเผด็จการและอำมาตย์อยู่ เราต้องทำลายอำนาจทหาร เราต้องสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ในระบบสาธารณรัฐที่ไม่มีกษัตริย์ และเราต้องนำทรัพย์สินมหาศาลและวังต่างๆ ของราชวงศ์มาเป็นของประชาชน เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการอย่างถ้วนหน้า

จงเดินหน้าสู่สาธารณรัฐ  จัดตั้งขบวนการก้าวหน้าของมวลชน! ประชาชนจงเจริญ!

อ่านเพิ่ม: http://bit.ly/2cAODfC , http://bit.ly/24tv63k

ความแตกแยกของขบวนการแรงงานเป็นเรื่องปกติ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในงานเสวนา “แรงงานไม่มีประวัติศาสตร” เมื่อไม่นานมานี้ (ดู http://bit.ly/2cGUopg ) นภาพร อติวานิชยพงศ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่าขบวนแรงงานยังขาดพลังเพราะไม่สามารถหาจุดร่วม มีความแตกแยกทางการเมือง และขาดเอกภาพ

ส่วน ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการประวัติศาสตร์แรงงาน เล่าประวัติศาสตร์การขึ้นๆ ลงๆ ของการต่อสู้ของแรงงาน และเสนอว่าขบวนจะเข้มแข็งในช่วงที่มีประชาธิปไตย เพราะมีเสรีภาพ ข้อสรุปของ อ.ศักดินาคือ ขบวนการแรงงานต้องเลือกว่าจะมุ่งเฉพาะเรื่องปากท้องหรือประเด็นสังคมการเมือง

ที่แย่สุดคือมีการชวนนักวิชาการที่หากินกับเผด็จการ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ มาพูดด้วย และเนื้อหาสาระที่เขาเสนอแทบจะไม่มีอะไรเลย

สิ่งที่ขาดไปจากการวิเคราะห์ของวิทยากรเหล่านี้มีสองเรื่องใหญ่คือ ในประการแรก ขบวนการแรงงานหรือสมาชิกของสหภาพแรงงาน ในทุกสังคมย่อมแตกแยกกันทางการเมืองเป็นสภาพปกติไม่ว่าจะพูดถึงสังคมไหนในโลก ในขบวนการแรงงานยุโรป หรือในเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น มีการแบ่งแยกกันระหว่างซ้ายกับขวา ทั้งในหมู่แกนนำและสมาชิกรากหญ้า นักเคลื่อนไหวแรงงานในซีกก้าวหน้าของไทยเข้าใจประเด็นนี้ดีและไม่เคยเพ้อฝันว่าทุกฝ่ายจะสามัคคีกัน มีแต่การพยายามที่จะช่วงชิงการนำจากฝ่ายล้าหลังเท่านั้น ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง

13769336_1563901320583949_524328318666672353_n

สาเหตุหลักของการแบ่งแยกทางการเมืองในขบวนการแรงงานนี้ มาจากสภาพสังคมทุนนิยม นักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ กรัมชี่ อธิบายว่ากรรมาชีพจะได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากสองขั้วคือ ขั้วชนชั้นนายทุน ที่อาศัยสื่อกระแสหลักและอำนาจของนายจ้างกับรัฐเพื่อกล่อมเกล่าให้แรงงานคล้อยตามการเมืองล้าหลังของชนชั้นปกครอง และขั้วของกรรมาชีพก้าวหน้า ที่มีบทสรุปร่วมจากการต่อสู้ทางชนชั้นจนเกิดจิตสำนึกของกรรมาชีพเองที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดนายทุนหรือชนชั้นปกครอง

ระหว่างกลางสองขั้วนั้นจะมีแรงงานกลุ่มใหญ่ที่รับความคิดจากทั้งสองฝ่ายและยังไม่พร้อมจะเลือกข้าง แต่กลุ่มต่างๆ และจุดยืนของเขาไม่ใช่เรื่องคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอกเวลาตามการขึ้นลงของการต่อสู้ทางชนชั้น

13239284_1088207564568951_6630476242817492022_n

นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัยเลนินเข้าใจดีว่าต้องมีการสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยม เพื่อรวบรวมขั้วก้าวหน้าของกรรมาชีพมาเข้าด้วยกัน และพรรคนี้ต้องเสนอความคิดทางการเมืองกับกลุ่มแรงงานที่ยังไม่เลือกข้าง เพื่อช่วงชิงการนำโดยหวังว่าในอนาคตจะร่วมกันล้มระบบทุนนิยมและระบบการขูดรีดแรงงาน และในที่สุดจะสร้างสังคมใหม่ที่มีความเท่าเทียมและความเป็นธรรม ในช่วงเฉพาะหน้าก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทาง การที่มีพรรคสังคมนิยมและขั้วก้าวหน้าแบบนี้จจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในการต่อสู้ทางการเมืองของแรงงาน โดยที่ไม่มีการแยกเรื่องปากท้องออกจากการเมืองภาพกว้าง เพราะมันเชื่อมกันเสมอ ดังนั้นพรรคต้องมีการพยายามเสนอการเมืองภาพกว้างตลอด เพื่อทำให้การต่อสู้เพื่อค่าจ้างหรือสวัสดิการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

28897952564_b8d80d98e4

ที่นี้เวลาเราพิจารณาสิ่งที่วิทยากรในงานเสวนาเสนอ เราควรจะจำว่าศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา เป็นนักวิชาการที่จริงใจเข้าข้างแรงงานก็จริง แต่ในขณะเดียวกันเขามีจุดยืนในการปฏิเสธการตั้งพรรคของแรงงานในไทย นอกจากนี้เขาชื่นชมพรรคสังคมประชาธิปไตยของเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรค “ปฏิรูป” ที่พยายามผสมผสานแนวคิดทางการเมืองของฝ่ายทุนและแรงงานเข้าด้วยกัน ซึ่งในรูปธรรมแปลว่าแรงงานต้องประนีประนอมเสมอ

ทุกวันนี้การที่เราไม่มีการสร้างพรรคสังคมนิยมปฏิวัติของแรงงานในไทย ทำให้แรงงานขาดพลังในการต่อสู้ทางชนชั้นเพราะไม่มีการจัดตั้งขั้วก้าวหน้าอย่างจริงจังและไม่มีการช่วงชิงการนำเท่าที่ควร ในอดีตตอนที่เรามีพรรคคอมมิวนิสต์แรงงานมีพลังมากกว่านี้ ทั้งๆ ที่การเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์มีปัญหาหลายอย่าง

ngow

อีกสิ่งหนึ่งที่นักเคลื่อนไหวแรงงานก้าวหน้าในไทยเข้าใจดีคือ การเข้ามาแทรกแซงแรงงานโดยองค์กรเอ็นจีโอ ทั้งจากต่างประเทศและของไทย ทำให้แรงงานถูกแช่แข็งกดทับให้อยู่ในสภาพ “เหยื่อ” ที่ต้องมี “พี่เลี้ยง” เอ็นจีโอคอยดูแลและให้ทุน เพราะองค์กรเหล่านี้ไม่ต้องการให้แรงงานมีจิตสำนึกแบบสังคมนิยมปฏิวัติ ที่เน้นการต่อสู้ในรูปแบบที่พึ่งตนเองและนำตนเอง ทุกวันนี้เวลามีปัญหาแรงงาน เราจะเห็นคนที่หากินกับแรงงานเป็นอาชีพลงไปในม็อบ ส่วนใหญ่เป็นนักเคลื่อนไหวหากินที่ไม่เคยเป็นแรงงานเอง คนเหล่านี้เคยเข้ากับพวกเสื้อเหลืองด้วยซ้ำ คือหากินไปเรื่อยๆ และใช้เป็นโอกาสหาทุน ตราบใดที่ไม่มีการกำจัดพวกเหลือบดูดเลือดเหล่านี้ออกไปจากขบวนการแรงงาน กรรมาชีพจะไม่มีวันเข้มแข็ง

คำถามสำหรับ ๖ ตุลา: ทำไม สมศักดิ์ จรัล และใจ ต้องหลี้ภัยนอกประเทศ?

ใจ อึ๊งภากรณ์

เวลาคนพูดว่า “มันมีอะไรที่พูดไม่ได้เกี่ยวกับ ๖ ตุลา” ผมขอเสนอว่าคำถามที่หลายคนไม่กล้าถามหรือตอบคือ “ทำไม สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย และ ใจ อึ๊งภากรณ์ ต้องหลี้ภัยทางการเมืองในยุโรป?” เพราะสามคนนี้เกี่ยวข้องทางตรงและทางอ้อมกับเหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้น

เวลามีการจัดงานรำลึก ๖ ตุลา ในปีนี้ ผมคาดว่าอาจไม่มีใครกล้าถามหรือตอบคำถามนี้

ถ้าจะตอบคำถามนี้ และเรียนบทเรียนจาก ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เราต้องมาคุยกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับกษัตริย์ เราต้องคุยกันในเรื่องว่าทำไมทหารและฝ่ายขวาสามารถใช้ข้ออ้างหมิ่นหรือล้มล้างกษัตริย์เพื่อก่ออาชญากรรมต่อประชาชนเสมอ ทั้งในปี ๒๕๑๙ และในยุคหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา เราต้องคุยกันว่าจะยกเลิกกฏหมาย 112 อย่างไร เราต้องคุยกันว่าทำไมเราไม่มีสิทธิ์ถกเถียงทางปัญญาว่าประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐหรือไม่ เราต้องคุยกันว่าเราจะกำจัดเผด็จการทหารออกจากระบบการเมืองไทยอย่างถาวรได้อย่างไร

ในเช้าตรู่ของวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ กองกำลังของรัฐไทย ซึ่งนำโดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการยิงปืนสกัดรถถังและปืนกลกราดใส่นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมภายในรั้วมหาวิทยาลัย เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐไทย แต่เป็นเพียงหนึ่งในหลายเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐไทยก่อกับประชาชน เพื่อปกป้องอภิสิทธ์และอำนาจของชนชั้นปกครอง

เวลาเราพูดถึง ๖ ตุลา เราต้องพูดในภาพกว้าง คือพูดถึงการเข่นฆ่าเสื้อแดงโดยประยุทธ์และพรรคพวก  พูดถึงการเข่นฆ่าชาวปาตานีในยุคทักษิณ พูดถึงนักโทษ112กับนักโทษการเมืองอื่นๆ พูดถึงผู้หลี้ภัยทางการเมืองที่ต้องไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านทุกวันนี้ และพูดถึงรัฐประหารที่ทำลายประชาธิปไตยซ้ำแล้วซ้ำอีก แน่นอนต้องพูดถึงการกักตัวส่งกลับ โจชัว หว่อง ด้วย ในที่สุดเราอาจจะเข้าใจธาตุแท้ของชนชั้นปกครองไทยได้

ภาพกว้างนี้จะทำให้เราเข้าใจว่าชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้นมีพฤติกรรมป่าเถื่อน โกงกิน และไม่เคารพประชาชนหรือระบบประชาธิปไตยแต่อย่างใด เขาทนอยู่กับประชาธิปไตยได้บ้างเพื่อลดความขัดแย้งทางชนชั้น แต่พอถึงจุดที่มีการท้าทายอภิสิทธิ์ของเขา เขาจะกลับสู่ระบบเผด็จการ

ดังนั้นผมขอตั้งคำถามกับคนที่จะร่วมในงาน ๖ ตุลาปีนี้ว่า “ท่านไปงานนี้เพื่อเป้าหมายอะไร?” แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ ผมปลื้มมากๆ ที่คนรุ่นใหม่ดูเหมือนมีส่วนสำคัญในการจัดงานปีนี้ ดังนั้นกรุณาอย่าพลาดโอกาสที่จะคุยในเรื่องสำคัญๆ อย่างเป็นรูปธรรม อย่าให้ใครพาไปคุยในเชิงปรัชญาลอยๆ หรือในเชิงศิลปินๆ ที่เต็มไปด้วย “น้ำ”

ในความเห็นผมการพูดคุยถึง ๖ ตุลาควรกระทำภายใต้เป้าหมายที่จะเรียนรู้จุดเด่นจุดอ่อนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรทางการเมืองของคนชั้นล่างในยุคต่างๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างขบวนการมวลชนและพรรคการเมืองที่จะล้มชนชั้นปกครองไทยในอนาคต เป้าหมายเพื่อสร้างสังคมใหม่

จริงๆ แล้วมันไม่มี “ปริศนา” ทางการเมืองเกี่ยวกับ ๖ ตุลา เลย เรารู้ว่าใครก่อเหตุ และเรารู้ว่าพวกนี้ หรือลูกหลานทางการเมืองของเขา ยังมีอำนาจอยู่ในสังคมไทย แน่นอนรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สูญหายล้มตายหรือบาดเจ็บยังไม่ครบ เช่นประเด็นเรื่องผู้ที่ถูกแขวนคอเป็นต้น

ในเช้าวันที่ ๖ ตุลา ภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย กองกำลังอันธพาล ที่มีหน้าตาคล้ายๆ พวกเสื้อเหลืองพันธมิตรฯ และม็อบสุเทพในยุคนี้ ได้ลากนักศึกษาออกมาทุบตี แขวนคอ และเผาทั้งเป็น พวกนี้คือ “ลูกเสื้อชาวบ้าน” “กระทิงแดง” และ “นวพล”  เขาเคลื่อนไหวภายใต้การคลั่ง ลัทธิล้าหลัง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ลูกเสือชาวบ้านมีผ้าพันคอที่ราชวงศ์ประทานให้ และเป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นโดยตำรวจตระเวนชายแดน “นวพล” หมายถึงกองกำลังของ “เบอร์๙” และกระทิงแดงเป็นนักศึกษาอาชีวะที่ถูกจัดตั้งโดยทหารและฝ่ายขวา หลังเหตุการณ์นองเลือดที่ป่าเถื่อนที่สุดนี้ ในวันเดียวกัน เจ้าฟ้าชายซึ่งเป็น “เตรียมกษัตริย์” ในยุคนี้ ได้ออกมาให้กำลังใจกับลูกเสือชาวบ้านที่ลานพระรูปทรงม้า เมื่อไม่นานมานี้ราชินี ยังมองย้อนหลังด้วยความภูมิใจ และหวังว่าลูกเสือชาวบ้านจะถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกเพื่อปกป้องราชวงศ์ เช่นในกรณีปาตานีเป็นต้น

มีคนไม่น้อยในสังคมไทยที่มองว่าการเข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน เป็นผลงานกษัตริย์ภูมิพล การมองแบบนี้เป็นการล้างฟอกความชั่วร้ายของทหารและชนชั้นปกครองไทยโดยทั่วไปออกจากประวัติศาสตร์

จริงอยู่ นายภูมิพลเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมไทย และพร้อมจะปล่อยให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยถูกเข่นฆ่าเหมือนผักเหมือนปลา จริงอยู่เขามีส่วนสำคัญในการร่วมมือกับเผด็จการที่ทำให้สังคมไทยล้าหลังและขาดประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้ จริงอยู่เขามีทัศนะทางการเมืองที่ล้าหลังต่อต้านการลดความเหลื่อมล้ำและเขาเกลียดสังคมนิยม แต่ทั้งหมดนี้ไม่ต่างจากกษัตริย์ทั่วโลก รวมถึงในยุโรปตะวันตกด้วย

เราควรเข้าใจว่านายภูมิพลเป็นคนน่าสมเพช เขาอาสาด้วยความเต็มใจที่จะเป็นเครื่องมือของทหาร เขาพร้อมจะให้ทหารแสวงหาความชอบธรรมในการทำชั่วโดยอ้างชื่อเขา แต่เขาสั่งทหารไม่ได้ เพราะเขาไม่มีอำนาจหรือความกล้าหาญพอที่จะเป็นผู้นำ

เวลาพล.ท.อภิรัชต์  คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 คนใหม่ พูดว่า “ขอตั้งปณิธานเทิดทูนสถาบันฯ ด้วยชีวิต” เขากำลังอ้างถึงลัทธิสุดขั้วที่ให้ความชอบธรรมกับเผด็จการ เขากำลังพูดว่าเขาพร้อมจะใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือของกองทัพต่อไป

คนส่วนใหญ่ในแวดวงชนชั้นปกครองไทยในยุค ๖ ตุลา ซึ่งรวมถึงทหาร ข้าราชการชั้นสูง นักการเมืองฝ่ายขวา และนักธุรกิจ เห็นว่า “จำเป็น” ที่จะต้องใช้ความรุนแรงและการปฏิบัตินอกกรอบของระบบประชาธิปไตยในการสกัดกั้นขบวนการ “สังคมนิยม” ดังนั้นเกือบทุกส่วนของชนชั้นนำเห็นชอบกับการใช้ความรุนแรงในวันนั้น

การนำ ถนอม กลับมาบวชที่วัดบวรนิเวศน์ เป็นแผนของฝ่ายอำมาตย์เพื่อก่อเรื่องทำรัฐประหาร และเพื่อใช้ความรุนแรงปราบปรามนักศึกษาและฝ่ายสังคมนิยมในไทย เราต้องเข้าใจว่านักศึกษาหรือประชาชนที่สนใจการเมืองและต้องการประชาธิปไตยในยุคนั้น เป็นฝ่ายซ้ายสังคมนิยมกันส่วนใหญ่ ในสายตาของพวกเราสมัยนั้นเผด็จการอำมาตย์ผูกกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนจนกับคนรวย จึงมีความพยายามที่จะสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยมพร้อมๆ กัน

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในยุคนี้ ก็แยกออกไม่ได้จากการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจเช่นกัน สังคมนิยมกับประชาธิปไตยคือสิ่งเดียวกัน

สังคมนิยมที่ผมพูดถึงนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกับเผด็จการ “ทุนนิยมโดยรัฐ” ของพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลิน-เหมาที่เราเคยเห็นในรัสเซีย จีน หรือประเทศอื่นๆ แต่สังคมนิยมเป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างจริงจัง เรามั่นใจได้ว่าระบบนี้คือทางออกสำหรับสังคมโลก เพราะระบบทุนนิยมปัจจุบันตกอยู่ในสภาพวิกฤตเรื้อรังที่เต็มไปด้วยการก่อสงคราม และการเพิ่มความยากจนสำหรับส่วนคนใหญ่นับเป็นล้านๆ ท่ามกลางความเจริญของระบบการผลิตที่ระบายสินค้าออกไปไม่ได้

ภาพของอาชญากรรมรัฐไทย ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นภาพที่สะท้อนว่าชนชั้นปกครองไทยพร้อมจะเข่นฆ่าประชาชนเพื่อปกป้องผลประโยชน์และอภิสิทธิ์ของตนเสมอ เวลามีกลุ่มคนเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือพัฒนาสวัสดิการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะช่วง ก่อน ๖ ตุลา หรือช่วงก่อน ๑๙ กันยา ๒๕๓๙ อำมาตย์ก็จะก่อรัฐประหารเพื่อยับยั้งความก้าวหน้าของสังคม จะมีสื่อคอยบิดเบือนความจริง และจะมีความพยายามที่จะปิดปากผู้รักประชาธิปไตยและผู้ที่เป็นนักสังคมนิยม และถึงแม้ว่าอำมาตย์จะสามัคคีกันในการปราบประชาชน แต่ภายหลังเขาก็หันมาแย่งกระดูกผลประโยชน์กันเหมือนหมาป่า

แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อแก้สภาพแบบนี้ในสังคมเรา?

๔๐ ปี ๖ตุลาคม

ใจ อึ๊งภากรณ์

000006

ในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐไทยได้ก่ออาชญากรรมทางการเมือง โดยลงมือปราบปรามขบวนการนักศึกษาด้วยอาวุธสงครามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การปราบปรามครั้งนั้นไม่มีเหตุผลที่มีความชอบธรรมแต่อย่างใดทั้งสิ้น นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมมือกับอันธพาลฝ่ายขวาที่มาชุมนุมต่อต้านนักศึกษาที่หน้ามหาวิทยาลัย โดยปล่อยให้ผู้บริสุทธิ์ถูกเข่นฆ่าอย่างทารุณที่ท้องสนามหลวงหน้าวัดพระแก้วและวัดมหาธาตุ

การแสวงหาผู้นำของสังคมไทยที่ต้องออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องยากในด้านข้อมูลหลักฐาน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สังคมไทยมีอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ หนังสือวิชาการ หรือคำให้การของพยาน มีหลักฐานเพียงพอที่จะเจาะจงว่าใครมีส่วนร่วมในการก่อเหตุ

000039

สิ่งที่ คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ อยากจะเน้นคือ การปิดหูปิดตา การฝัง การลืม หรือการหลีกเลี่ยงการพิจารณาปัญหาของเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา อย่างที่เคยทำกันมาตลอดในอดีตไม่ใช่ทางออกสำหรับสังคมไทยถ้าเราต้องการสร้างสังคมไทยให้มีความสงบสุข คุณธรรม และความยุติธรรม

เหตุการณ์ ๖ ตุลา เป็นเพียงหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่ถือได้ว่าเป็น “อาชญากรรมของรัฐไทย” เช่นการปราบปรามผู้รักประชาธิปไตยโดยทหารในยุคต่างๆ รวมถึงการเข่นฆ่าเสื้อแดง การปราบปรามชาวปาตานีที่ตากใบ หรือการใช้ความรุนแรงในการปราบยาเสพติด ทุกครั้งตัวอาชญากรมักลอยนวลเสมอ นี่คือสภาพสังคมไทยที่เป็นอุปสรรคในการสร้างสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยในประเทศของเรา

อ่านรายละเอียดที่นี่ http://bit.ly/2cSml2g