อียิปต์ในวันที่มืดมน

อียิปต์ในวันที่มืดมน
แปลและเรียบเรียงโดย นุ่มนวล  ยัพราช

โดยทั่วไปเรามีความคุ้นเคยกับการปฏิวัติผ่านการอ่านเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงประวัติศาสตร์
มีจุดเริ่มต้นและมีจุดจบ เราอ่านประวัติศาสตร์เพราะเราต้องการเรียนบทเรียน
เพื่อรู้ว่าแต่ละลัทธิทางการเมืองมันแสดงตนอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งๆ  เหตุการณ์ในอียิปต์มันเป็นโอกาสทองสำหรับพวกเราที่จะเรียนรู้การปฏิวัติในยุคของเรา
การต่อสู้ทางการเมืองที่มีการเดินหน้าและถอยหลัง ซึ่งมันมีผลต่อการยกระดับการต่อสู้ทั้งในรูปธรรมและจิตสำนึกทางการเมือง
พัฒนาการดังกล่าวเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
เราจะรับมือกับความขัดแย้งเหล่านี้อย่างไรภายใต้ผลประโยชน์ทางชนชั้นและการปกป้องการปฏิวัติไม่ให้ถูกอำนาจเก่าทำการปฏิวัติซ้อน
วัสสิม แวกดี้ ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์
ได้อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอิยิตป์ยุคปัจจุบัน
ซึ่งผู้แปลคิดว่ามีความน่าสนใจ และ
เราสามารถนำมาประยุกต์มองสถานการณ์ในประเทศไทยได้เช่นกัน



     การปฏิวัติอียิปต์เพิ่งครบรอบ 3 ปีในเดือนมกราคม
ซึ่งมวลชนหลายล้านคนได้ตั้งความหวังไว้สูงกับการปฏิวัติเมื่อพวกเขาเหยียบย่างเข้าสู่ถนนของการปฏิวัติ
การปฏิวัติยังไม่สามารถออกลูกออกผลเป็นรูปธรรมที่มีศักยภาพยกและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมวลชนธรรมดาได้
อย่างไรก็ดีอียิปต์นั้นยังอยู่ในกระบวนการของการปฏิวัติ ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์ทางการเมืองนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา
     มีการพาดหัวข่าวอย่างใหญ่โตว่า
รัฐธรรมนูญของกองทัพได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลาม 98
% ซึ่งฟังดูแล้วมันชวนให้น่าตกใจ
แต่ถ้ามองภาพรวมของชัยชนะดังกล่าวมันจะให้ภาพอีกภาพๆหนึ่งซึ่งสะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์มากกว่า
ปริมาณชัยชนะดังกล่าวมาจากจำนวนอันน้อยนิดของคนที่ออกมาใช้สิทธิเพียงแค่ 37
% ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมด
ซึ่งนั่นหมายความว่าชัยชนะดังกล่าวได้เสียงสนับสนุนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประชากรอียิปต์ทั้งประเทศ
     ตอนนี้กองทัพตั้งหน้าตั้งตาทั้งผลักทั้งดัน “การปฏิวัติซ้อน”
เพื่อทำลายการปฏิวัติที่แท้จริง มีการปราบปรามอย่างหนักหน่วง
มีการคุมขังและฆ่าสมาชิกพรรคมุสลิมบราเธอฮูด, ฝ่ายซ้าย และ นักกิจกรรมทางการเมืองในมหาวิทยาลัย
เป้าหมายต่อไปในการปราบปรามของกองทัพคือ ขบวนการแรงงาน
     คำถามที่เกิดขึ้น คือ ทำไมประชาชนชาวอียิปต์ถึงตกหลุมรักกับรัฐบาลของเผด็จการนายพลอัลซีซี่
ขนาดนี้? ชนชั้นปกครองของอียิปต์หลังการปฏิวัตินั้น
อยู่ในสภาพที่อ่อนแอมากหลังจากเผด็จการมูบารัค ถูกมวลชนล้มลงใน เดือนมกราคม 2011
ตำรวจถูกต้อนและไล่ออกไปให้หมดจากท้องถนน เสถียรภาพการปกครองของชนชั้นปกครองอียิตป์อยู่สภาวะวิกฤตติขีดสุด
ชนนั้นปกครองอียิปต์การคนที่จะมากู้ภัยให้ชนชั้นตัวเองอย่างเร่งด่วน 
กองทัพได้พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะคุมสถานการณ์ภายหลังการปฏิวัติ 6 เดือนแรกนั้นแต่ไม่สามารถทำได้
ดังนั้นกองทัพจึงต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์โดยหาคนอื่นมาเป็นตัวหลักในการทำลายการปฏิวัติแทนตัวเอง
     ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2012
มีตัวแทนจากซากเดนของมูบารัค คือ อาร์เหมด ซาร์ฟิก ลงแข่งขันกับพรรคมุสลิมฯ
กองทัพนั้นต้องการสนับสนุนคนของมูบารัค แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย กองทัพจึงเลือกพรรคมุสลิมฯ
แทน พรรคมุสลิมฯ เป็นพรรคเดียวที่มีการจัดตั้งมวลชนและเหลือรอดมาจากยุคของมูบารัค
มวลชนตั้งความหวังว่าพรรคนี้น่าจะทำการปฏิรูปได้ อย่างไรก็ตามพรรคมุสลิมฯ
เลือกที่จะเดินตามและปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและทหารมากกว่าผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
พฤติกรรมดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจและมีการต่อต้านจากข้างล่าง การประท้วงเริ่มจากท้องถนนจากนั้นได้เดินเข้าสู่รั้วโรงงาน
จากรั้วโรงงานได้สู่รั้วมหาวิทยาลัย ในช่วง2 เดือนก่อนที่จะ มูรซี่ ถูกล้ม
การประท้วงระเบิดขึ้นในอัตราความเร็ว 2 ครั้งต่อชั่วโมง ระดับการต่อสู้ขนาดนั้นมันทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะล้มรัฐเดิมได้
     เราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ในอิยิปต์นั้นมันมากกว่าวิกฤติของการปกครอง
มากกว่า 50
% ของการประท้วงมาจากประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่เหลือเป็นวิกฤติทางการเมือง
การต่อสู้ที่ส่วนผสมระหว่างปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมือง มันได้ดึงทั้งสังคมอียิปต์เข้าสู่ความโกลาหลวุ่นวาย
ซึ่งชนปกครองปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้เดินต่อไปไม่ได้ การประท้วงขนาดใหญ่ต่อต้านอดีตประธานาธิบดีมูรซี่
ที่พวกเราเห็นในวันที่ 30 มิถุนายนปีที่แล้ว คือ มวลชนประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา

จะไปทางไหน?
ทั้งกองทัพและมูซี่ ไม่ใช่ตัวแทนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสังคม
เพราะแค่การปฏิรูปในกรอบประชาธิปไตยชนชั้นปกครองทั้งสองซีกก็เลือกไม่ทำ
ประเด็นสำคัญตามมาที่เราต้องถาม คือ ใครคือตัวแทนที่จะทำการปฏิวัติ?
พรรคสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์เล็กเกินไปที่จะเป็นกลไกหลักในตอนนี้ ถึงแม้ว่าพรรคเราฯ
จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทเข้าร่วมในการปฏิวัติตั้งแต่ต้น พวกเราเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป
เน้นการจัดตั้ง และ การปกป้องการปฏิวัติ 
ซึ่งถ้ามีคนออกมาบนทั้งถนนสัก 7 ล้านคน การรักษากระแสและอุดมการณ์ของการปฏิวัติก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป
     มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ฝ่ายซ้ายส่วนอื่นๆ
นั้นสายตาสั้นเพราะเน้นการเคลื่อนไหวเพียงแค่การกำจัดพรรคมุสลิมฯ เท่านั้น
โดยไม่สนใจประเด็นอื่นๆ พอมูรซี่ไปแล้ว แนวร่วมฝ่ายซ้ายเหล่านั้นก็ตกลงไปในหลุมของกองทัพ
ฝ่ายซ้ายและพวกเสรีนิยมกลายเป็นหน่วยกู้ภัยให้กับกองทัพ ทั้งๆที่
การต่อสู้นั้นขึ้นไปสู่กระแสสูงสุดสามารถสั่นเขย่าจนชนชั้นปกครองทั้งหมดเกือบพังเพราะแรงดันจากล่าง
เท่านั้นยังไม่พอ พวกนี้ยังเดินต่อไปในเส้นทางสายมรณะ โดยการทำงานแทนกองทัพ เรียกร้องให้มวลชนหยุดการเคลื่อนไหวบนท้องถนน
สิ่งที่เกิดขึ้นจากก้าวที่พลาดพลั้งครั้งนี้คือ ชนชั้นปกครองและซากเด็นของเผด็จการมูบารัครวมตัวกันได้อีกครั้ง
ภายใต้การนำของนายพล อัลซีซี่  การรวมตัวครั้งนี้รวมไปถึงชนชั้นกลางผู้เกลียดกลัวการปฏิวัติ
เพราะรับไม่ได้กับความไร้เสถียรภาพและไม่มีข้อเสนอรูปธรรมจากการปฏิวัติให้ยึดเหนี่ยว
แต่กองทัพนั้นรับประกันเสถียรภาพแต่เป็นเสถียรภาพให้กับชนชั้นนายทุนเท่านั้น
     อย่างไรก็ตามขณะนี้การปฏิวัติยังไม่ทำให้คำมั่นสัญญาอันเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ในใจมวลชน
อย่าง ขนมปัง สันติภาพ และ ความยุติธรรมเป็นจริง มวลชนเป็นล้านๆ
ยังไม่เห็นว่าการปฏิวัติช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้นอย่างไร เลนิน
เคยมีบทเรียนกับสถานการณ์แบบนี้ เขาเคยพูดว่า
“เรื่องที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิวัติ คือ มวลชนเกิดความหดหู่”  นี่คือสิ่งที่อียิปต์กำลังเผชิญ
     การปฏิวัติได้พุ่งชนอำนาจรัฐ แต่ทหารได้ออกมาเพื่อ
“หยุด” การปฏิวัติ โดยการใช้ข้ออ้างที่ว่ากองทัพอยู่เหนือการเมือง บทบาทของกองทัพคือบทบาทของผู้กอบกู้สังคมที่กำลังแตกสลาย
นิยายดังกล่าวทำให้ทหารได้เสียงสนับสนุนรวมถึงมวลชนปฏิวัติผู้หดหู่ด้วย
     พวกเราไม่ควรหลงเชื่อข้อโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า
“คนส่วนใหญ่เฉลิมฉลองกับการขึ้นมาของนายพลอัลซีซี่
ไม่ว่าจะเป็นผู้นำและนักสหภาพแรงงาน”
อย่างไรก็ตามมันไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่สนับสนุนพฤติกรรมของคนเหล่านี้ ตอนนี้เรากำลังเห็นการเปลี่ยนข้างของผู้นำแรงงาน
พวกนี้ไม่ยอมใช้อาวุธที่มีพลังที่สุดของคนงาน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง
พวกนี้ออกมาประกาศว่าจะไม่มีการนัดหยุดงาน เพราะมันจะทำให้อำนาจของทหารอ่อนแอลงซึ่งอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวที่จะสู้กับพรรคมุสลิมฯ
พวกสหแรงงานอิสระกลายเป็นผู้นำที่ยึดติดกับระบบแบบราชการมุ่งเน้นการเจรจากับนายจ้าง
เริ่มห่างเหินจากมวลชน
ตอนนี้ในขบวนการแรงงานนั้นมีความแตกแยกที่น่าเป็นห่วง
เช่น ถ้าใครลุกขึ้นมาวิจารณ์ทหารจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศ แม้กระทั่งคนงานที่เป็นนคริสเตียน
จะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกของพรรคมุสลิมฯ
อย่างไรก็ตามตอนนี้เราเริ่มเห็นขบวนการแรงงานเริ่มลุกสู้อีกครั้งหนึ่ง  โดยเฉพาะจากภาคที่มีความสำคัญเช่น เหล็ก และ
คนคนงานถลุงเหล็ก โรงงาน ในรามาดาล อเล็กซานเดรีย และ คลองซูเอส
มันเป็นไปได้ว่าการต่อสู้จากข้างล่างครั้งนี้
อาจจะดึงบรรดาผู้นำสหภาพแรงงานอิสระกลับมาร่วมทำการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนงานได้อีกครั้ง
แต่ถ้าพวกนั้นไม่กลับมา คนงานรุ่นใหม่ก็ต้องสร้างองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ที่แท้จริงของกรรมาชีพ
นักสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์ได้ตั้งความหวังที่จะเห็นการต่อสู้ขึ้นสู่กระแสสูงอีกครั้ง
เพราะขณะนี้รัฐบาลไม่มีความสามารถที่จะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้   
     ความหดหู่และการขาดความมั่นใจของมวลชน เป็นกระจกสะท้อนว่าพวกเขาไม่ได้จัดตั้งและขาดอุดมการณ์ทางการเมืองที่ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา
สื่อกระแสหลักไม่เพียงแต่ทำให้เสียงของพวกเขาหายไปเท่านั้น แต่สื่อกำลังลบบทบาทของมวลชนออกไปจากการปฏิวัติอีกด้วย
ประเด็นนี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อเราต้องทำความเข้าใจกับอำนาจความขัดแย้งทางชนชั้น
กระบวนการในการสร้างเสถียรภาพของทหารคือ
การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับบรรดาแนวร่วมของระเบียบเก่า อย่างไรก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวมันได้ขยายบาดแผลเดิมของสังคมให้ใหญ่และลึกมากขึ้น
ซึ่งมันจะทำให้ระดับการต่อการต่อสู้รอบใหม่นั้นมีความแหลมคมและรุนแรงมากกว่าเดิม
     กองทัพตั้งความหวังไว้สูงมากกับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับทหาร
มีการคาดการว่าคนที่ออกมาใช้สิทธิน่าจะประมาณ 80
% แต่ในความเป็นจริงคนออกมาใช้สิทธิน้อยมาก
ซึ่งแสดงว่ากองทัพไม่ได้ชนะใจคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะมวลชนรุ่นใหม่
ผู้ที่เคยสนับสนุนกองทัพให้ความเห็นว่า “เขาไม่สบายใจกับพฤติกรรมของกองทัพ
เพราะมันดูเหมือนมันไปคนละทางกับการฟื้นฟูประเทศ” พฤติกรรมและกระบวนการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น
มันทำให้อดคิดไม่ได้นี่อาจจะเป็นชนวนที่จะนำไปสู่การปฏิวัติคลื่นต่อไป
ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายเก่า
ทุกคนที่มาจากพรรคการเมืองเก่าที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของมวลชน
ล้วนแต่ถูกพิสูจน์ในสถานการณ์ปฏิวัติว่า “ล้มเหลว” ความล้มเหลวของพรรคมุสลิมฯ
มันได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายซ้ายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะมวลชนกำลังมองหาอุดมการณ์ทางการเมืองที่ไปไกลกว่าพรรคมุสลิมฯ
     มวลชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วมกับทหารเพราะยังติดภาพในประวัติศาสตร์
เพราะครั้งหนึ่งกลุ่มนายทหารหนุ่มชาตินิยมก้าวหน้าภายใต้การนำของประธานาธิบดี
กามอล แอบเดล นัสเซอร์ ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชน เพราะมีนโยบายก้าวหน้าที่สำคัญอย่าง
การปฏิรูปที่ดิน การสร้างรัฐสวัสิการ และ มีจุดยืนคัดค้านอิสราเอล
พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทนำในการต่อต้านจักรวรรดินิยม
แต่พรรคคอมมิวนิสต์เดินตามแนวสตาลินที่เน้นการประนีประนอมกับนายทุนซีกก้าวหน้า
พรรคนี้ยุบตัวลงไปในปี 1965/ 2508 ภายใต้ความคิดที่ว่าทหารปกป้องผลประโยชน์ของคนทุกกลุ่ม
ส่วนที่เหลือของพรรคคอมมิวนิสต์ได้กลายมาเป็นแนวร่วมที่สำคัญของ
อดีตเผด็จการมูบารัค ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2012
มวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์ก็สนับสนุนคนของเผด็จการมูบารัค
     อีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี
คือ ฮัมดีน แซบบาฮิ (
Hamdeen Sabbni) อ้างว่าเป็นตัวแทนของการปฏิวัติ
เขาชนะโหวตอย่างล้นหลามในหลายเมืองใหญ่ แต่พอทหารมา ฮัมดีน ก็ประนีประนอมโบกมือต้อนรับนายพล
อัลซีซี่ เผด็จการคนใหม่อย่างรวดเร็ว
     ฝ่ายซ้ายเก่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการปฏิวัติครั้งนี้
ฝ่ายซ้ายใหม่จะต้องไม่ยอมแพ้ต่อภาระกิจที่จะปกป้องผลประโยชน์ของมวลชน

บทความนี้แปลและเรียบเรียง จาก Dark Days in Egypt  (http://bit.ly/1dOlgvS

ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปล่อยให้ม็อบอันธพาลป่วนบ้านเมือง?

ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปล่อยให้ม็อบอันธพาลป่วนบ้านเมือง?

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปล่อยให้ม็อบอันธพาลป่วนบ้านเมือง
ทำผิดกฏหมาย ก่ออาชญากรรม และละเมิดสิทธิของพลเมืองส่วนใหญ่



    
บางคนอาจมองว่ารัฐบาลใช้วิธี “นิ่ม”
เพื่อให้ม็อบสุเทพและประชาธิปัตย์ทำลายความชอบธรรมของตนเอง
แต่เราต้องเข้าใจว่าฝ่ายปฏิกิริยาอนุรักษ์ไม่ได้นิ่งเฉย
ม็อบสุเทพก่อความรุนแรงในวันที่ผู้สมัครลงทะเบียน แล้ว “ส่งลูก” ให้ กกต. เพื่อหาข้ออ้างกดดันให้เลื่อนวันเลือกตั้ง
ศาลรัฐธรรมนูญส่งลูกให้ กกต. กลับไป โดยบอกว่าเลื่อนเลือกตั้งได้
ม็อบสุเทพก่อความรุนแรงต่อในวันเลือกตั้งล่วงหน้า เพื่อช่วยให้ กกต.
อ้างว่าจัดเลือกตั้งไม่ได้ ทหารนั่งเฉยอมยิ้มปล่อยให้สถานการณ์แย่ลง
เพราะไม่สนใจจะปกป้องประชาธิปไตย ฝูงอธิการบดี เอ็นจีโอ หมอเหยียดเพศ
และคนชั้นกลางล้าหลังก็เชียร์สุเทพ
แล้วกดดันให้รัฐบาลยกเลิกการเลือกตั้งและประณีประนอมกับอันธพาลเผด็จการ
    
นักมาร์คซิสต์เข้าใจว่าการเมืองหรือสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง
ดังนั้นถ้าฝ่ายประชาธิปไตยไม่รุกสู้ การเมืองไทยก็จะค่อยๆ ถอยหลังลงคลอง
การอยู่เฉยๆ จึงเป็นการ “ตายนิ่ม” ของประชาธิปไตย
การกลัวว่าถ้าทำอะไรมากเกินไปทหารจะก่อรัฐประหาร ก็เท่ากับยอมให้ประชาธิปไตยตายเช่นกัน
    
เราเข้าใจอีกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และทักษิณ
เป็นพวกนักการเมืองนายทุน เขาคงทราบดีว่าถ้าจะรุกสู้ทำลายพวกอันธพาลประชาธิปัตย์
เขาต้องตัดขาดแยกทางกับซีกตรงข้ามของชนชั้นปกครองอย่างสิ้นเชิง คือต้องปลดพวก ผบ.
ทหาร และนำทหารที่จงรักภักดีกับประชาธิปไตยเข้ามาแทน ต้องปลดตุลาการ ต้องปลด กกต.
ชุดนี้ และต้องส่งกองกำลังทหารและตำรวจไปจับแกนนำพวกที่ทำผิดกฏหมายมาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องคุมสื่อของรัฐไม่ให้เข้าข้างพวกอันธพาล
ถ้าจะทำสำเร็จก็ต้องเชิญมวลชนที่รักประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวด้วย และในที่สุดต้องจัดการเลือกตั้งและปฏิรูปการเมืองบนซากศพโครงสร้างอำมาตย์
    
ยิ่งลักษณ์ ทักษิณ เพื่อไทย และ แกนนำ นปช. คงไม่ทำแน่
เพราะถ้าให้เขาเลือกระหว่างการประนีประนอมกับอภิสิทธิ์ชนฝ่ายตรงข้าม
หรือการปลุกให้ประชาชนดึงโครงสร้างเก่าลงมาเพื่อสร้างประชาธิปไตย
เขาจะเลือกเส้นทางแรก

    
แต่ในกระบวนการของการเมือง มวลชนมีบทบาทสำคัญ
ถ้าคนที่อยากเห็นการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยรวมตัวกันเคลื่อนไหว อย่างที่เสื้อแดง
คนเสื้อขาว หรือประชาชนที่อยากไปใช้สิทธิ์ทำอยู่ และจัดตั้งรวมเป็นกลุ่มก้อน
เหมือนฝ่ายตรงข้าม พร้อมกับเคลื่อนไหวอิสระจากคนข้างบน
เราอาจผลักดันการเมืองประชาธิปไตยไปข้างหน้าได้ แต่ภารกิจอันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น
ต้องทำจริงและต่อเนื่อง และต้องอาศัยพลังกรรมาชีพ เกษตรกร และนักศึกษาอีกด้วย



ดูวิดีโอ
http://youtu.be/f74d7GycAM0

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (5) สร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน

มาคุย “ปฏิรูป”
กันเถิด
(5) สร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง
รากฐานปัญหาอยู่ที่การมองว่าคนไทย ไม่ใช่ “พลเมือง” ที่เท่าเทียมกัน
บ่อยครั้งมีการเรียกผู้คนด้วยคำล้าสมัยว่า “ราษฎร” ซึ่งราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าหมายถึงประชาชนผู้อาศัยอยู่ในแว่นแคว้นของพระราชา
มันเป็นคำจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่เหมาะสมกับประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน



    
แนวความคิดว่าบางคน “สูง” บางคน “ต่ำ” ถูกผลิตซ้ำโดยพฤติกรรมของทหาร
นักการเมือง และนายทุน
ทหารระดับนายพลจึงมองว่าตนเองสามารถเข่นฆ่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยได้ตามอำเภอใจ
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา, ๖ตุลา, พฤษภา ๓๕, ยุคทักษิณที่ตากใบและสงครามยาเสพติด
และในปี ๒๕๕๓ เวลารัฐบาลอภิสิทธ์กับทหารเข่นฆ่าคนเสื้อแดง ไม่เคยมีใครเคยถูกลงโทษ
     ในสถานที่ทำงาน
นายจ้างมักมองว่าตนเองมีสิทธิ์เผด็จการเหนือลูกจ้าง และกฏหมายแรงงานบวกกับอคติของผู้พิพากษาศาลแรงงาน
มักสนับสนุนความคิดเผด็จการอันนี้
    
ในระบบยุติธรรมทั่วไป พวกที่นั่งบัลลังก์มักมองพลเมืองธรรมดาด้วยความดูถูกดูหมิ่น
และเหมือนไม่ใช่คนที่ควรได้รับความเคารพ นักโทษในคุกถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสัตว์
แทนที่จะใช้ความคิดสากลสมัยใหม่ที่มองว่านักโทษก็มีสิทธิ์เช่นกัน
    
ในสังคมทั่วไป คนงานจากประเทศเพื่อนบ้านหรือผู้ลี้ภัยถูกกระทำอย่างโหดร้ายทารุณ
มีการรีดไถเงิน มีการตบตี ฆ่าแล้วเผาศพ
และบางครั้งมีการนำคนที่เป็นผู้ลี้ภัยไปขายให้พวกค้ามนุษย์ มีกรณีของ
“ลูกคนมีเส้น” ที่สามารถหลบหนีคดีฆาตกรรมได้สบาย
    
ทำเนียมหมอบคลานต่อคนที่อ้างตัวเป็น “ผู้ใหญ่” เป็นวิธีทำให้ผู้หมอบคลานมีฐานะเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ไม่ใช่คนที่ยืนสองขา ทำเนียมแย่ๆ นี้ถูกกระจายลงไปสู่โรงเรียนและครัวเรือน
คนรวยมักชอบให้คนรับใช้ก้มหัวคลาน และทำงานทั้งวันทั้งคืน
แม้แต่ในภาษาพูดก็มีการเน้น “สูงต่ำ” เช่นคำว่า “หนู”
ที่สตรีถูกกล่มเกลาให้เรียกตัวเอง ซึ่งเป็นการเสริมว่าผู้หญิงเป็นคนชั้นสอง
    
ถ้าเราจะสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชน
สิ่งแรกที่เราต้องทำคือยุบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เพราะองค์กรนี้เต็มไปด้วยตำรวจ ทหาร และนักวิชาการที่มีอคติต่อประชาธิปไตย
    
ต่อจากนั้นเราต้องรณรงค์ให้ไทยยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อให้มีการลงโทษคนที่ก่ออาชญากรรมกับประชาชน
ภายในประเทศเราต้องรณรงค์ให้นำผู้บัญชาการทหาร และนักการเมืองอย่าง อภิสิทธ์ สุเทพ
และทักษิณ มาขึ้นศาลในฐานะที่ก่ออาชญากรรมรัฐ เราควรตามตัวอย่างการพยายามสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในเกาหลีใต้
อาเจนทีนา หรือชิลี
    
ในระยะยาวเราต้องเพิ่มสิทธิของลูกจ้างในการเคลื่อนไหวในองค์กรสหภาพแรงงาน
เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับสิทธินักโทษในคุก สิทธินักเรียนในโรงเรียน
และต้องรณรงค์ให้ความคิดเรื่อง “พลเมืองที่เท่าเทียม” กลายเป็นความคิดกระแสหลัก

    
แต่ก็อย่างที่เราเคยพูดมาเกี่ยวกับการปฏิรูป 1-4 ที่เคยเสนอมา
พวกที่เรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่มีวันเสนอเรื่องแบบนี้

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (4) ลดบทบาททหารในสังคม

มาคุย “ปฏิรูป”
กันเถิด
(4) ลดบทบาททหารในสังคม
เวลาพวกที่อ้างว่าจะปฏิรูปการเมือง
เออๆ ออๆ เรื่อง “ประชาธิปไตย” และ “อธิปไตยของปวงชนชาวไทย” เขามักจะแกล้งมองข้ามบทบาทแย่ๆ
ของทหารในการทำลายประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เรื่อยมา มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นประจำ
และมีการเข่นฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยมาหลายรอบ



    
ในปัจจุบันมีการฝ่าฝืนคำสั่งรัฐบาลและไม่ยอมร่วมมือในการปกป้องระบบการเลือกตั้งจากอันธพาล
ทั้งนี้เพราะกองทัพไทยมองว่าตนเองมีอำนาจอธิปไตย และไม่ขึ้นต่อใครนอกจากตนเอง….
แต่เขาพร้อมจะกอบโกยภาษีของพวกเราเสมอ
    
ดังนั้นถ้าเราจะปฏิรูปการเมือง
เพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อตรวจสอบแก้ไขการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม
ต้องมีมาตรการเด็ดขาดในการลดบทบาททางสังคมของทหาร
    
นอกจากบทบาทสำคัญในการสร้างอุปสรรคกับการพัฒนาประชาธิปไตย และการก่ออาชญากรรมรัฐต่อประชาชนแล้ว
ทหารยังเข้ามาก้าวก่ายในสื่อมวลชน เพื่อแสวงหากำไรมหาศาลและควบคุมกระแสข่าวในสังคม
    
ในเวลาเดียวกันพวกกาฝากในรูปแบบนายพลบางคน มองว่าตนเองมีอภิสิทธิ์พิเศษที่จะขูดรีดทรัพย์สินประเทศชาติเพิ่มผ่านการเป็นกรรมการบอร์ดรัฐวิสาหกิจอีกด้วย
แต่สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนธรรมดา และแม้แต่พลทหารธรรมดา หรือทหารระดับล่าง
ก็ยังย่ำแย่
    
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เราต้องลดบทบาทของทหารในสังคม ก้าวสำคัญน่าจะเป็นการตัดงบประมาณทหารลงให้เหลือน้อยที่สุด
ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ปลดและเกษียณนายพลระดับบนให้หมด
ห้ามไม่ให้ทหารเข้ามาบริหารรัฐวิสาหกิจ และนำทหารที่ก่อความผิด
เช่นการฆ่าประชาชนและการทำรัฐประหาร มาขึ้นศาล
และแน่นอนเราต้องมีสื่อสาธารณะที่ปลอดอิทธิพลทหารโดยสิ้นเชิง
    
พร้อมกันนั้นเราอาจพิจารณาเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพ เช่นยุบตำแหน่ง ผบทบ. และ
ผบ.เหล่าทัพอื่นๆ รวมถึงผบ.ทหารสูงสุดด้วย คือกระจายทหารเป็นหน่วยย่อยๆ
ให้ขึ้นกับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
    
อย่างไรก็ตาม อย่าไปหวังว่าพรรคเพื่อไทย อันธพาลสุเทพ ฝูงอธิการบดี ม็อบข้าราชการชั้นสูง
หรือเอ็นจีโอ จะเสนอเรื่องการลดอำนาจทหารเมื่อเขาแหกปากพูดถึงการ “ปฏิรูป”

    
กระแสปฏิรูปทหาร ต้องมาจากนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย เสื้อแดงก้าวหน้า
และทหารระดับล่างที่เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตยเท่านั้น

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (3) ยกเลิกองค์กรอิสระ

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด
(3) ยกเลิกองค์กรอิสระ

องค์กรอิสระในปัจจุบัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล้วนแต่เป็นองค์กรเผด็จการ
เพื่อลดพื้นที่ประชาธิปไตย



     หลายคนคงแปลกใจที่เราฟันธงแบบนี้
เพราะในกระแสการปฏิรูปการเมืองที่นำไปสู่รัฐธรรมนูญปี 40 นักวิชาการและขบวนการ
NGO พยายามสร้างภาพว่าองค์กรอิสระ
มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและคานอำนาจทางการเมืองเพื่อทำให้ประชาธิปไตยดีขึ้น
อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ และ แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร
ตุลาการ ล้วนแต่เป็นลัทธิทางการเมืองของพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา และ แนวเสรีนิยมนี้
เป็นแนวคิดของชนชั้นนายทุน
     แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังผู้ที่ผลักดันเรื่ององค์กรอิสระ  เป็นแนวคิดที่ดูถูกประชาชนส่วนใหญ่
มองว่าเขาไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะเลือกผู้แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อเขา นอกจากนี้มันเป็นแนวคิดที่มีอคติต่อกระบวนการประชาธิปไตย
เพราะไม่ไว้ใจระบบการเลือกตั้ง
     ตุลาการรัฐธรรมนูญ กกต. และ สว. ลากตั้ง
ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากชนชั้นปกครองหรือทหาร
พลเมืองธรรรมดาไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบ ถอดถอน หรือ
ปลดพวกเผด็จการเหล่านี้ได้เลย 
แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ บังอาจมองว่าตนเองมีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้รัฐบาลหรือรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งออกนโยบายเศรษฐกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ
ของสังคม พวกนี้บังอาจคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูง และ
บังอาจบอกว่าเราไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สว. ทุกคนมาจากการเลือกตั้งได้
     ผู้ที่ถูกแต่งตั้งโดยชนชั้นปกครองเพื่อให้ดำรงตำแหน่งใน กกต.
แทนที่จะมองว่าหน้าที่ของตนเอง คือ การจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ ท่ามกลางความวุ่นวายที่มาจากการกระทำของอันธพาลที่ต่อต้านประชาธิปไตย
กลับมองว่าหน้าที่ของตนเองคือการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้พวกที่ต้องการลดพื้นที่ประชาธิปไตยได้ประโยชน์
     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ถูกแต่งตั้งมาโดยชนชั้นปกครอง
พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคณะกรรมการสิทธิของอภิสิทธิชนเท่านั้น เข้าข้างม๊อบสุเทพ
สนับสนุนการใช้กฎหมายเผด็จการ 112 และ
เพิกเฉยต่อการเข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตย
     พวกนักเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยมขวาจัด ที่คลั่งระบบกลไกตลาดของนายทุน เช่น
ในสถาบันวิจัย
TDRI มองว่า นักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ควรมีสิทธิที่จะจำกัดนโยบายของรัฐบาลในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป
พวกนี้มองว่าตัวเองควรมีอำนาจเหนือผู้แทนที่มาจาการเลือกตั้งโดยประชาชน
เขาขยันด่าสิ่งที่เขาเรียกผิดๆ ว่า “ประชานิยม”
แต่เงียบเฉยต่อการใช้งบประมาณรัฐมหาศาลเพื่อทหาร หรือ เพื่อพิธีกรรมฟุ่มเฟือย
เขาอ้างประโยชน์ชาติเพราะเขาคิดว่าเขาเป็นตัวแทนของชาติและชาติของเขาไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่
ยิ่งกว่านั้นพวกนี้โกหกว่าเศรษฐศาสตร์มีแค่แนวเดียว แนวของเขา อ้างว่าเป็นแค่ “เทคนิค”
เหมือนการซ่อมเครื่องจักร แทนที่จะเป็นเรื่องถกเถียงทางการเมือง
     สังคมไทยมีพื้นที่ประชาธิปไตยน้อยเกินไป และ
พื้นที่ประชาธิปไตยอันมีค่าที่เรามีอยู่ ถูกจำกัดโดยองค์กรอิสระที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 
ถ้าเราจะปฏิรูปการเมืองไทยให้มีประชาธิปไตยมากขึ้นเราต้องยกเลิกองค์กรอิสระทั้งหมดและเคารพวุฒิภาวะของประชาชนส่วนใหญ่
     การตรวจสอบหรือคานอำนาจของรัฐบาลและรัฐสภา ถ้าจำเป็น
ต้องมาจากการกระทำขององค์กรที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น  เช่น สภาที่เลือกมาจากท้องถิ่นพื้นที่ 4 ภาค
หรือ ตุลาการที่ได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนั้นควรมีการใช้ประชามติเพื่อให้
“มวลมหาประชาชน” ที่แท้จริง ตัดสินกรณีที่มีความขัดแย้งหรือเห็นต่าง

พวกที่สนับสนุนอำนาจขององค์กรที่อิสระจากกระบวนการประชาธิปไตย และพวกที่ต้องการให้ฝ่ายประชาธิปไตยประนีประนอมกับอันธพาลเผด็จการของสุเทพ
เป็นเพียงคนที่ต้องการถ่มน้ำลายใส่พลเมืองส่วนใหญ่
และสร้างระบบกึ่งเผด็จการนั่นเอง เขาไม่ใช่นักปฏิรูปแต่อย่างใด

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (2) ยกเลิกกฏหมาย 112

มาคุย “ปฏิรูป”
กันเถิด
(2) ยกเลิกกฏหมาย 112
การปฏิรูปการเมือง
ถ้าเข้าใจกันว่าเป็นการขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
ก็ต้องเน้นประเด็นสำคัญเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
และสิทธิเสรีภาพในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะทุกคน
   
ตราบใดที่ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษการเมืองอื่นๆ
ยังไม่ถูกปล่อยทันทีเมื่อมีการปฏิรูป
ก็ต้องสรุปว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีความหมายแต่อย่างใด



    
การปฏิรูปการเมือง เพื่อให้ “มวลมหาประชาชน” มีเสรีภาพในการแสดงออก ตรวจสอบ
และคานอำนาจของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสาธารณะ ต้องหมายถึงการยกเลิกกฏหมาย 112
กฏหมายคอมพิวเตอร์ และกฏหมายหมิ่นศาล
    
นั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะเปิดโอกาสให้ใครด่าใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นอย่างเสรี
เพราะมีกฏหมายหมิ่นประมาทธรรมดาที่ปกป้องไม่ให้มีการให้ข้อมูลเท็จอยู่แล้ว
ส่วนสามกฏหมายที่กล่าวถึงข้างบน ไม่ใช่การปกป้องไม่ให้คนกล่าวเท็จ แต่เป็นกฏหมาย
“การเมือง” ที่มีวัตถุประสงค์ในการปิดปากพลเมือง ในกรณี 112
มีการใช้โดยทั่วไปเพื่อปิดปากฝ่ายประชาธิปไตยที่ต่อต้านหรือวิจารณ์รัฐประหารและอำนาจนอกระบบ
ในกรณีกฏหมายหมิ่นศาล มีการใช้เพื่อให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการมีอำนาจเบ็ดเสร็จโดยไม่มีใครสามารถวิจารณ์หรือตรวจสอบได้
ในประเทศประชาธิปไตย กฏหมายหมิ่นศาลใช้ได้เฉพาะกับคนที่ฝ่าฝืนคำสั่งศาลเท่านั้น
แต่สังคมสามารถวิจารณ์และตรวจสอบระบบยุติธรรมได้เสมอ
    
การขัง สมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษอื่นๆ ในสภาพป่าเถื่อน ไม่เหมาะกับสังคมอารยะ
เช่นการบังคับใส่โซ่ตรวน การบังคับนอนในห้องขังพร้อมนักโทษหลายสิบคน
หรือการให้ผู้ที่ยังไม่ถูกตัดสินคดี (ซึ่งต้องมองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน)
ต้องขึ้นศาลพร้อมโซ่ตรวนและเครื่องแบบเรือนจำ
เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของมนุษย์
    
ดังนั้นต้องมีการปฏิรูประบบคุก ลดจำนวนนักโทษลงอย่างเร่งด่วน
และพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษที่เหลืออยู่
    
พร้อมกันนั้นต้องนำระบบลูกขุนเข้ามาใช้ในการตัดสินคดี
เพื่อกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน

    
แต่อย่าหวังว่าคนชั้นสูงจะผลักดันเรื่องแบบนี้ มันต้องมาจากพวกเราที่ต้องการขยายพื้นที่ประชาธิปไตย…
ก็อย่างที่  สมยศ พฤกษาเกษมสุข
พึ่งกล่าวในจดหมายจากคุก “งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด
การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ
นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้” เราขอเติมว่าการปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากกรรมการปฏิรูปการเมืองที่ประกอบไปด้วยพรรคเพื่อไทย
ทหาร ข้าราชการชั้นสูง หรือเอ็นจีโอ

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (1) แก้ความเหลื่อมล้ำ

มาคุย “ปฏิรูป”
กันเถิด
(1) แก้ความเหลื่อมล้ำ
รายงานขององค์กรอ็อกซ์แฟมระบุว่า
กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 85 คน สามารถรวบรวมความมั่งคั่งได้อย่างมหาศาล
เทียบกับประชากรยากจนของโลกรวมกัน 3
,500
ล้านคน โดยกลุ่มคนร่ำรวยร้อยละ 1 ของโลกมีทรัพย์สินอยู่มากถึง 110 ล้านล้านดอลลาร์
(ราว 3
,600
ล้านล้านบาท) ซึ่งมากกว่าประชากรยากจนที่สุดครึ่งหนึ่งของโลก 65 เท่า

เศรษฐีจำนวนมากมาจากสหรัฐและประเทศพัฒนา
     สหรัฐอเมริกามีผลิตภัณฑ์มวลรวม
GDP = 16.2 ล้านล้าน$
     ไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม
GDP= 0.4 ล้านล้าน$

ทั้งๆ ที่ประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าหลายประเทศในตะวันตก
แต่เศรษฐีไทย 3 คนติดอันดับ 85 ของโลกตามข้อมูลของ
Forbes
1. คนแรก อันดับ 8  ทรัพย์สิน  44.24 พันล้าน$
2. คนที่สอง นายธนินท์ เจียรวนนท์ อันดับ 58 ทรัพย์สิน 14.3
พันล้าน
$   เกษตร/อาหาร
3. คนที่สาม เจริญ สิริวัฒนภักดี  อันดับ 82 ทรัพย์สิน
11.7 พันล้าน
 เครื่องดื่ม
4. คนที่สี่ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ อันดับ 736    ทรัพย์สิน 2 พันล้าน$  อสังหาริมทรัพย์
5. คนที่ห้า กฤตย์ รัตนรักษ์ 
อันดับ 
785  ทรัพย์สิน  1.95 พันล้าน
$    สื่อและอสังหาริมทรัพย์
6. คนที่หก ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ    825   
ทรัพย์สิน 1.85 พันล้าน
$ โรงพยาบาล
7. คนที่เจ็ด ทักษิณ ชินวัตร  อันดับ 882 ทรัพย์สิน 1.7 พันล้าน$ โทรคมนาคมและอสังหาริมทรัพย์

ประเด็นสำคัญที่เราควรผลักดันในการปฏิรูป
คือการเก็บภาษีในอัตราสูงพิเศษจากเศรษฐีไทยและบริษัทใหญ่ ตามที่อาจารย์ปรีดีเคยเสนอ
เพื่อสร้างระบบรัฐสวัสดิการ และใครที่ไม่ยอมพูดถึงเรื่องนี้เวลาเสนอ “การปฏิรูป”
ในปัจจุบัน ก็คงไม่อยากทำอะไรอย่างจริงจัง

ผู้หญิง : พลเมืองชั้นสองของสังคมชนชั้น

Normal
0

false
false
false

EN-US
X-NONE
TH

MicrosoftInternetExplorer4

/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-qformat:yes;
mso-style-parent:””;
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin:0cm;
mso-para-margin-bottom:.0001pt;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:10.0pt;
font-family:”Calibri”,”sans-serif”;}

โดย  พจนา วลัย
จากกรณีที่เป็นข่าวใหญ่
2 ข่าวคือ การข่มขืนแล้วฆ่าเด็กอายุ 6 ขวบ
และกรณีมารดาหมอนิ่มจ้างวานฆ่าลูกเขยที่ตบตีลูกสาวของตัวเองมาเป็นเวลานาน
ทำให้เห็นถึงความเรื้อรังของปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อภรรยาและเด็กในสังคมไทย ที่สร้างความสะเทือนใจอย่างมาก
มีหลายเรื่องที่กดขี่ผู้หญิงให้ต่ำต้อยกว่าผู้ชายและเป็นพลเมืองชั้นสองของสังคม
เช่น การข่มขืน กระทำชำเรา ทำอนาจาร ค้าประเวณี การทำให้ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศด้วยภาพลามก
สินค้าโฆษณาดึงดูดด้วยเรื่องเพศและกามารมณ์ พรหมจรรย์และความซื่อสัตย์ของผู้หญิงถูกกำหนดว่าเป็นเรื่องสำคัญในครอบครัว
ในขณะที่สังคมไม่ตำหนิประณามผู้ชายที่มีชู้หรือภรรยามากกว่า
1 คน
การที่หญิงมีชู้กลายเป็นเหตุหย่า แต่ผู้ชายกลับไม่ เด็กหญิงที่แต่งงานขาดโอกาสการศึกษา
ผู้หญิงได้รับการศึกษาต่ำกว่าและทำให้ได้รับค่าจ้างต่ำ การร่วมเพศกับเด็กอายุไม่ถึงสิบห้าถือเป็นความผิดที่สามารถพ้นผิดได้หากมีการแต่งงาน
  (ใน กฎหมายอาญาหมวดที่ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเพศ
มาตรา
277 วรรคท้ายระบุว่า
“ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำ
ต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม
และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป”
)
  ผู้หญิงถูกกำหนดให้ต้องดูแลบ้านเลี้ยงลูก
โดยไม่ได้เรียนต่อ ขาดโอกาสได้งานดีๆ ทำ
ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
ดังเช่นปัญหาการข่มขืนพบว่า
60% เป็นเด็กที่ถูกกระทำมากกว่าผู้หญิง  (40%)  สำหรับผู้หญิงมักถูกกระทำโดยคู่สมรสมากที่สุด (49.25%)  รองลงมาคือแฟน เพื่อน ผู้ดูแล
พ่อ พ่อเลี้ยง ญาติ เพื่อนบ้าน นายจ้าง ครู ตามลำดับ  ซึ่งส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ชิด และสาเหตุมาจากสุรา
ยาเสพติด หึงหวง สุขภาพจิต ตกงาน ฐานะทางเศรษกิจ  (จิตราภา สุนทรพิพิธ.
การกระทำความรุนแรงต่อสตรี. อนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิเด็ก
สตรีและความเสมอภาคของบุคคล)
หลายประเทศมองปัญหาความรุนแรงในครอบครัวว่า
เป็นปัญหาระดับโครงสร้างและวิธีคิดของคนในสังคม และไม่มีวันจะแก้ปัญหานี้ได้ ตราบใดที่ยังเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมไม่ได้
ล่าสุดรัฐบาลประเทศอังกฤษถึงกับประกาศนโยบายใหม่ ตั้งใจจะขุดรากถอนโคนปัญหานี้ ด้วยการเริ่มสอนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
(
gender
equality) กันแบบจริงๆ จังๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล เด็กๆ จะถูกสอนว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องเลวร้าย
ไม่ปกติ และไม่ควรต้องทนอยู่กับความรุนแรง (ธัญญา ใจดี.
คลี่กฎหมายข่มขืน :
คุ้มครองเด็กได้จริงหรือ
?.
เว็บไซด์ของมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง, http://www.whaf.or.th/?p=587
)
คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิเด็ก
สตรีและความเสมอภาคของบุคคล สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สรุปว่าความรุนแรงมาจากระบบชายเป็นใหญ่
ในงานสัมมนาเรื่องผู้หญิงถูกทำร้ายที่ชื่อภรรยา เมื่อวันที่
24
ธ.ค.ที่ผ่านมา  แม้จะมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แต่ก็ยังมีผู้เสียหายจากกรณีความรุนแรงเป็นจำนวนมากทุกปี เช่นในปี
54 มีจำนวน  27,000 กว่ากรณี ที่ชี้วัดได้ว่ากลไกของรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาและคุ้มครองสิทธิเด็กและผู้หญิงได้  วิทยากรบางท่านมองว่า เป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม
ที่ปกครองกันด้วยวัฒนธรรมจารีต และการทำให้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ  ทั้งยอมรับว่าสามีที่เป็นแรงงานคอปกขาวมักถูกกระทำโดยนายจ้างและมาระบายอารมณ์กับภรรยาที่บ้าน
นอกจากทำร้ายร่างกาย
ยังมีการทำร้ายจิตใจด้วยอคติทางเพศ ในหมู่คนที่ถูกทำร้าย
ครึ่งหนึ่งเคยคิดฆ่าตัวตาย และพบว่าผู้หญิงมักทนสามีเพราะถูกสั่งสอนมาว่าต้องอดทน
มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องสังคม ทำให้การปกป้องตัวเองต่ำ
ถูกครอบงำความคิด  บางรายพยายามแยกทาง
แต่ถูกสามีรบกวน ถูกทำร้ายร่างกายซ้ำๆ หลายปี มีความแค้นสะสมและนำไปสู่การแก้แค้นของภรรยา
แต่ยังมีบางรายแยกทางกับสามีได้ และชีวิตดีขึ้น 
จากข้างต้น หากมองในมุมมองชนชั้น จะเห็นว่า  ผู้หญิงถูกกระทำในครอบครัว สถานที่ทำงาน
สื่อโฆษณาและชุมชนโดยรวมที่เป็นระบบสังคมชนชั้น กำหนดหน้าที่และบทบาทผู้หญิงและผู้ชาย  ดังนี้
1.              
ในครอบครัว
ผู้หญิงถูกกำหนดให้เลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ดูแลสามี ในพิธีแต่งงานผู้หญิงต้องกราบสามี
การมอบสินสอดที่สะท้อนการเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของ ส่วนผู้ชายถูกกำหนดให้มีหน้าที่หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว
2.              
ในสถานที่ทำงาน
ผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชาย เนื่องด้วยการศึกษาต่ำกว่า ได้รับสวัสดิการต่ำ ไม่ได้รับการส่งเสริมเลื่อนขั้น
เป็นผู้นำ  ถูกนายจ้าง
ผู้บังคับบัญชาละเมิดทางเพศ
3.              
สื่อโฆษณา
ถูกทำให้เป็นสินค้า ดึงดูดผู้บริโภค ลูกค้าด้วยเรื่องเพศและกามารมณ์
4.              
สถานศึกษา
มีการปลูกฝังวัฒนธรรมจารีต อนุรักษ์นิยม ไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ ใช้ระบบอาวุโส
เดินตามผู้ใหญ่ (ผู้นำ) หมาไม่กัด ทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าทำสิ่งที่แตกต่าง
5.              
ชุมชน สังคมผลิตซ้ำวัฒนธรรม
วิธีคิดข้างต้น ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซาก คนยอมรับความไม่เท่าเทียม
ไม่อนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเต็มที่ มีการครอบงำความคิดสูง ทำให้สังคมมีลักษณะใช้กำลังในการตัดสินปัญหาความขัดแย้ง
อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้ ไม่ใช่สังคมที่อุดมไปด้วยปัญญา บรรยากาศการถกเถียง
วิพากษ์วิจารณ์ เสริมสร้างความรู้ และเคารพคนที่คิดต่างจากกรอบอนุรักษ์
ไม่เคารพความเป็นมนุษย์ ทำให้การกดขี่เป็นเรื่องที่พบเห็นเป็นประจำ
ดังนั้น วัฒนธรรมอำนาจนิยมจึงมาพร้อมกับการใช้กำลัง
เงิน ตำแหน่งหน้าที่ และบทบาทในสังคม ส่วนความรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ในการใช้ความรุนแรงและการยับยั้งชั่งใจ  สัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างข้าราชการกับประชาชน ผู้ใหญ่กับเด็ก
นายจ้างกับลูกจ้าง ครูกับนักเรียน สามีกับภรรยา มาจากตำแหน่งในโครงสร้างชนชั้นมากกว่าระบบชายเป็นใหญ่
ยิ่งหากเป็นสังคมเผด็จการ มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงก็ยิ่งปรากฎให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมของการใช้อำนาจปกครอง
ในทางกลับกัน ในมุมผู้ชาย ถามว่าผู้ชายซึ่งก็มีฐานะไม่ต่างจากผู้หญิงจะได้ประโยชน์อะไรจากระบบชายเป็นใหญ่
เมื่อฐานะและความเป็นอยู่ในครอบครัวไม่ดีขึ้น ไม่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดี
ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน อำนาจต่อรองในที่ทำงานน้อย ถูกลิดรอนเสรีภาพ ที่นำไปสู่ปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
 ดังนั้น ผู้ชายซึ่งถูกเรียกร้องให้มีหน้าที่หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว
มีบทบาทเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ก็ถูกกระทำด้วยเช่นกัน
วิธีการแก้ไขความรุนแรงทางเพศ การกดขี่สตรี คือ
ขจัดทัศนคติเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของผู้หญิงและผู้ชายในครอบครัวและสังคม
รวมถึงประเพณีดั้งเดิมที่เปิดโอกาสใช้ความรุนแรงต่อสตรี ในภาษาการเมืองคือวัฒนธรรมอำมาตย์
 ที่ยอมรับอำนาจเผด็จการจากคนตำแหน่งสูง
กดทับและกีดกันคนธรรมดาไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ การดูแลจากรัฐเต็มที่
เราจึงต้องสร้างความสามัคคีของคนชนชั้นล่างไม่ว่าเพศหญิงหรือชาย
ให้เข้าใจปัญหานี้ร่วมกัน เพื่อปลดแอกจากระบบชนชั้น สร้างอิสรภาพทางความคิด
และร่วมผลักดันสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี 
ข้อเรียกร้องจากขบวนการสิทธิสตรี
และขบวนการแรงงานในปัจจุบันที่มาจากการต่อสู้ทางชนชั้น ช่วยปลดแอกความไม่เสมอภาคทางเพศ
ได้แก่  สิทธิในการเลือกตั้ง
1
คน 1 เสียง สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม
(ทำแท้ง) สิทธิลาเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่งเกิดของสามีเท่ากับผู้หญิง
สวัสดิการตัวเงินดูแลบุตรธิดา ศูนย์เลี้ยงดูเด็กเล็กในสถานประกอบการ โควต้าการดำรงตำแหน่งของผู้หญิงในโครงสร้างการบริหารงานองค์กร
และการนำในเวทีต่างๆ การยอมรับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น
ไม่ให้ถูกไล่ออกจากโรงเรียน สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานที่ไม่กระทบต่อการตั้งครรภ์
การเรียนฟรีถึงขั้นสูง การรักษาพยาบาลฟรี หรือราคาถูก   กล่าวคือ การเรียกร้องให้มีรัฐสวัสดิการครบวงจร
มาตรฐานเดียว กระจายรายได้ กระจายอำนาจ และสร้างประชาธิปไตยในเรื่องของการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ความเสมอภาคของคน และเพิ่มอำนาจการตรวจสอบหน่วยงานรัฐ ทุน สื่อมวลชนไม่ให้ควบคุม
กดขี่ประชาชน

————————————————————————–

“ธงชาติ”

“ธงชาติ”
โดยลั่นทมขาว



บางคนอาจคิดว่าธงไตรรงค์ของรัฐไทย แดง ขาว น้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของ “ความเป็นไทย”  และเขาอาจถูกในระดับหนึ่ง
แต่สิ่งที่เราต้องชี้แจงแต่แรกคือ
ชนชั้นปกครองไทยในยุคที่กำลังสร้างชาติเป็นครั้งแรก หรือยุคการเข้ามาของทุนนิยมและการล่าอาณานิคม
มักจะลอกแบบทุกอย่างจากมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ
ดังนั้นเราคงไม่แปลกใจที่สีธงไตรรงค์นั้นลอกแบบมาจากอังกฤษ “เหมือนสำเนาถูกต้อง”
แม้แต่เพลงชาติในยุคนั้นของไทยก็ไม่มี เลยเล่นเพลงชาติอังกฤษไปก่อนที่จะหาเพลงของชาติไทย
ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่อังกฤษจำนวนมากงงไปหมด
     ถ้ามองจากมุมมองนี้ เมื่อร้อยสี่สิบกว่าปีมาก่อน
ธงชาติไทย แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของการที่ไทยเป็นชาติอิสระภายใต้กษัตริย์กรุงเทพฯ กลับเป็นสัญลักษณ์ของการที่รัฐไทยก้มหัวให้มหาอำนาจตะวันตกแทน
และลอกแบบทั้งธงชาติ การแต่งกาย ระบบกฏหมาย และการจัดการกองทัพจากประเทศต่างๆ
ในยุโรปอีกด้วย
    
ในการสร้างชาติทุนนิยมของไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผ่านการสร้างรัฐรวมศูนย์
เราทราบจากงานเขียนและงานวิจัยของ อ. กุลลดา เกษบุญชู-มีด ว่ารัชกาลที่๕ ต้องเอาชนะคู่แข่งอย่างน้อยสองกลุ่ม
เพื่อขึ้นมาเป็นกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัชกาลที่ ๕
อาศัยอำนาจของอังกฤษเพื่อช่วยให้เอาชนะคู่แข่งดังกล่าวด้วย พูดได้ว่าอังกฤษเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญของกษัตริย์กรุงเทพฯ
ในยุคนั้น
     นอกจากนี้รัฐบาลกษัตริย์ในอดีตได้ยอมจำนนเซ็นสัญญากับตะวันตกที่ไม่เป็นธรรมต่อรัฐไทยอีกด้วย
     ข้อมูลนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมหลังการปฏิวัติ
๒๔๗๕ เมื่อ อ.ปรีดี พนมยงค์ ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ระหว่างพ.ศ.
๒๔๘๐-๒๔๘๑ ประเทศไทยได้ดำเนินการเจรจากับประเทศมหาอำนาจตะวันตก
เพื่อแก้ไขให้ประเทศหลุดพ้นจากการถูกบีบบังคับข้อพันธะที่ไม่เป็นธรรม ที่ทำให้ไทยอยู่ใต้อิทธิพลของประเทศเหล่านั้น
     พูดง่ายๆ การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ล้มอำนาจกษัตริย์
ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ “กู้ชาติ” รัฐทุนนิยมไทยจากอิทธิพลจักรวรรดินิยม
     อย่างไรก็ตามเวลาเราเอ่ยถึง “รัฐ” หรือ
“ชาติ” เราชาวมาร์คซิสต์จะต้องเน้นว่ามันเป็นเครื่องมือและสถาบันทางชนชั้น มาร์คซ์
เองเกิลส์ และเลนิน เคยอธิบายว่ารัฐไม่เคยเป็นกลาง
ไม่เคยเป็นเครื่องมือที่คนชั้นล่างหรือกรรมาชีพใช้เองได้ เพราะเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองในการกดขี่คนส่วนใหญ่
และ “ชาติ” ก็ไม่ได้ออกแบบมาโดยประชาชนหรือเพื่อประชาชน
ชาติไทยถูกสร้างขึ้นผ่านการนำปาตานี ลานา และบางส่วนของลาวมาเป็น “อาณานิคม”
ของกรุงเทพฯ การสามัคคีชาติรวมถึงภาษาด้วย
จึงเป็นการสามัคคีภายใต้เงื่อนไขของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ในทุกยุคทุกสมัย
“อำนาจอธิปไตย” ไม่ได้อยู่ที่คนไทยทั้งปวง
ในสมัยที่มีการเลือกตั้งยังมีความเหลื่อมล้ำทางอำนาจสูง
ในสมัยเผด็จการทหารไม่ต้องพูดเลย ยิ่งกว่านั้นประชาชนไม่ได้เป็น “เจ้าของ”
ทรัพยากร ที่ดิน และมูลค่าที่คนไทยผลิตขึ้นอีกด้วย
เพราะการเป็นเจ้าของในสิ่งเหล่านั้นกระจุกอยู่ที่นายทุน
     ดังนั้น “รัฐไทย” และ “ชาติไทย”
ไม่ใช่ของเราผู้เป็นประชาชนส่วนใหญ่ มันเป็นของ “เขา” ชนชั้นปกครองนั้นเอง
เวลาเขาให้เรา “รักชาติ” เขาไม่ต้องการให้เรารักประชาชน และชนชั้นปกครองไทยเองเขาไม่เคยรักประชาชน
เพราะพร้อมจะลงมือเข่นฆ่าเสมอ ไม่ว่าจะ ๑๔ ตุลา, ๖ ตุลา, พฤษภา ๓๕, ตากใบ,
หรือราชประสงค์ ไอ้นิยายว่า “คนไทยจะไม่ฆ่าคนไทยด้วยกัน”
เป็นแค่นิยายหลอกเด็กของชนชั้นปกครองไทยเท่านั้น
    
แม้แต่พรรคการเมืองกระแสหลักก็ล้วนแต่เป็นพรรคของนายทุน
ไม่ว่าจะมีอดีตนายทหารร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ และถ้าชื่อพรรคยิ่งมีคำว่า “ประชา” หรืออะไร
“ไทยๆ” มากเท่าไร เรารู้ทันทีว่าไม่ใช่พรรคของประชาชนส่วนใหญ่แน่นอน
     เวลาเราจะ “รักชาติ” ชาติของเราคือประชาชน
การรักชาติจึงควรแปลว่าเราต้องร่วมกันสร้างรัฐสวัสดิการและฐานะความเป็นอยู่ที่เท่าเทียมและเจริญสำหรับประชาชนทุกคน
แต่ชนชั้นปกครองไทยไม่มองแบบนั้น เวลาเขาให้เราร้องเพลงชาติ ที่มีเนื้อหาว่า
“เราพร้อมจะตายเพื่อชาติ” มันหมายความว่าเราต้องพร้อมจะตายเพื่อชนชั้นปกครอง
เวลาเขาบังคับให้ยืนเคารพธงชาติ มันหมายความว่าเราต้องยืนเคารพระบบของเขา
สถาบันของเขา
     เลิกร้องเพลงชาติ และเลิกยืนเคารพธงชาติเถิด
หันมารักและเคารพประชาชนและประชาธิปไตยแทนดีกว่า

     ส่วนธงนั้น ในอนาคตคงไม่ต้องใช้
เพราะเราจะเชิดชูและฉลองความหลากหลายของประชาชนที่อาศัยในชุมชนต่างๆ
ท่ามกลางวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ต้องเสียดายหรอก มันแค่เศษผ้าเท่านั้น

การศึกษาภายใต้ทุนนิยม

การศึกษาภายใต้ทุนนิยม
โดย ใจ
อึ๊งภากรณ์
ระบบการศึกษาสาธารณะสำหรับประชาชน
เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังกำเนิดของทุนนิยม เพราะก่อนหน้านี้ ภายใต้ระบบฟิวเดิล
ระบบศักดินา หรือระบบทาส คนส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรด้วยเทคโนโลจีพื้นฐาน
ดังนั้นคนที่อ่านออกเขียนได้ และคนที่ศึกษาวิทยาศาสตร์ ปรัชญา หรือวรรณคดี
มีแค่พวกพระ หรือครูศาสนา หรือในกรณีจีน
จะเป็นพวกข้าราชการที่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกไม่กี่คนเท่านั้น



     เมื่อระบบทุนนิยมเข้ามา
มีการพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลจีอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ถูกดึงหรือผลักเข้ามาในระบบการผลิตสมัยใหม่และหลุดจากชีวิตชนบท
แม้แต่ในชนบทก็เริ่มมีการนำระบบเกษตรทุนนิยมเข้ามาแทนที่การผลิตของเกษตรกรรายย่อย
ในระยะแรกๆ ของกำเนิดทุนนิยม หรือที่เขาเรียกกันว่ายุค “การปฏิวัติอุตสาหกรรม”
ชนชั้นปกครองยังไม่ต้องการแรงงานฝีมือที่อ่านออกเขียนได้ แค่ต้องการ “ผู้ใช้แรง”
ดังนั้นไม่มีระบบโรงเรียนสำหรับเด็กส่วนใหญ่ และผู้ใหญ่ทั้งชายหญิง
และเด็กเล็กจนโต ก็ต้องไปทำงานกับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ร้านค้า
หรือในเหมืองแร่ แรงงานเด็กแบบนี้มีประโยชน์สำหรับนายทุนที่สามารถจ่ายค่าจ้างน้อยๆ
และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวกรรมาชีพ
เพราะค่าแรงของผู้ใหญ่ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จริงๆ
แล้วมันก็ไม่ต่างจากสังคมเกษตรก่อนทุนนิยมด้วย
เพราะทุกคนในครอบครัวต้องช่วยทำงานในยุคนั้น เพียงแต่ว่าระบบอุตสาหกรรมมันโหดร้าย
สกปรก อันตราย และเต็มไปด้วยวินัยบังคับ ที่มาจากหัวหน้างานหน้าเลือด สภาพชีวิตของคนงานทุกอายุก็แย่
เพราะขาดอาหารที่มีคุณภาพ และขาดแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ ในประเทศยากจนสมัยนี้
เรายังพบแรงงานเด็กและสภาพการทำงานที่ย่ำแย่สุดจะทนได้
แต่มันเป็นกรณีส่วนน้อยถ้าดูภาพรวมของโลก
     เมื่อทุนนิยมพัฒนาขึ้น
และมีเทคโนโลจีที่สลับซับซ้อนมากขึ้น นายทุนเริ่มเห็นประโยชน์ของคนงานที่มีทักษะ
การศึกษา และฝีมือมากขึ้น
ยิ่งกว่านี้แรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างกำไรให้นายจ้าง
ย่อมเป็นแรงงานที่มีสุขภาพดีแข็งแรง
ดังนั้นมีการนำระบบการศึกษาสำหรับเด็กทุกคนมาบังคับใช้ผ่านนโยบายและค่าใช้จ่ายของรัฐ
แต่เนื่องจากทุนนิยมเป็นสังคมชนชั้น การศึกษาที่รัฐจัดให้คนธรรมดา
ย่อมแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากการศึกษาในโรงเรียนเอกชนหรือมหาวิทยาลัยของอภิสิทธิ์ชนที่จัดไว้สำหรับลูกหลานคนรวยและผู้มีอำนาจ
    
สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะรัฐต้องเก็บภาษีจากนายทุน บริษัทต่างๆ และประชาชนทั่วไปสำหรับระบบการศึกษา
และแน่นอนนายทุนใหญ่และคนรวยไม่ต้องการจ่ายภาษีสูงๆ เพื่อให้มีการศึกษาระดับเลิศๆ
ให้กับเด็กทั่วไปที่พอโตขึ้นแล้วจะมาเป็นคนงาน
ส่วนลูกหลานคนมีอำนาจหรือคนรวยเป็นพวกที่จะเตรียมตัวเข้าสู่ชนชั้นปกครอง
เขาจึงต้องได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด
     ในระยะแรกเส้นแบ่งระหว่างโรงเรียนหรือสถานที่ศึกษาที่เก็บค่าเรียนสูง
กับสถานที่ศึกษาของรัฐที่ให้เรียนฟรี มันเพียงพอที่จะแยกพวกเด็กส่วนใหญ่ที่จะเป็นผู้ถูกปกครองออกจากเด็กที่จะเป็นชนชั้นปกครองในอนาคต
แต่พอทุนนิยมพัฒนาถึงระดับสูงขึ้น นายทุนจำเป็นที่จะต้องมีลูกจ้างประเภทที่เป็นช่างฝีมือที่เข้าใจ
ใช้ และออกแบบเทคโนโลจีได้ ดังนั้นในโรงเรียนรัฐจึงมีการสอบคัดเลือกเด็กบางส่วน
ที่จะเป็นแรงงานฝีมือระดับกลาง
และผู้ที่ผ่านการสอบนี้จะมีสิทธิพิเศษเข้าโรงเรียนรัฐที่มีคุณภาพมากขึ้น
บางคนอาจได้รับทุนพิเศษเพื่อเรียนในโรงเรียนเอกชนชั้นดีด้วย
     ตลอดเวลาที่ระบบทุนนิยมดำรงอยู่
ผลประโยชน์ของนายทุนในการกอบโกยกำไรสูงสุด
บวกกับการที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐและลดการเก็บภาษีกับกลุ่มทุนหรือคนรวย
หมายความว่าระบบการศึกษาและการสอบ ถูกออกแบบให้คนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ “ล้มเหลว”
คือสอบไม่ผ่านและได้รับการศึกษาพื้นฐานที่เหมาะกับหน้าที่ของตนในอนาคตเท่านั้น
ส่วนคนจำนวนหนึ่งที่สอบผ่านจะถูกยกระดับไปสู่คนที่ได้การศึกษาระดับกลางเพื่อให้เป็นช่างฝีมือ
และคนอีกส่วนหนึ่งจะได้รับการศึกษาสุดยอดที่เหมาะกับการเป็นผู้ปกครองประชาชนในวันข้างหน้า
แต่การสอบตกหรือผ่าน ไม่ได้วัดความฉลาดแต่อย่างใด
มันวัดโอกาสของเด็กในแต่ละชั้นชนที่จะได้รับสิ่งอุตหนุนในการสอบผ่านมากน้อยแค่ไหนต่างหาก
     ในระบบทุนนิยมสภาพสังคมชนชั้นที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ
ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดยชนชั้นปกครอง แต่ถูกชนชั้นปกครองเหล่านั้นสร้างภาพว่ามันเป็น
“ธรรมชาติ” คือเขาจะเป่าหูเราให้เชื่อว่าคนส่วนน้อยฉลาดเป็นพิเศษ คนอีกส่วนหนึ่งฉลาดปานกลาง
และคนส่วนใหญ่โง่เขลา แทนที่เราจะมองว่าระบบการศึกษาและการสอบถูกออกแบบให้เป็นแบบนี้แต่แรก
    
การศึกษาสาธารณะมีความสำคัญสำหรับชนชั้นปกครองในอีกด้านหนึ่งนอกจากการทำให้คนงานมีทักษะมากขึ้น
คือในระบบทุนนิยมคนส่วนใหญ่ต้องถูกสอนให้เชื่อง จงรักภักดี
และเชื่อฟังชนชั้นปกครอง เพราะในระบบทุนนิยมการรวมตัวกันของคนหมู่มากในเมือง
และการที่มีระบบการผลิตสมัยใหม่ ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพมีอำนาจซ่อนเร้น คือถ้ารวมตัวกันและนัดหยุดงาน
กบฏ หรือปฏิวัติ ก็จะล้มสังคมชนชั้นได้ การศึกษาเป็นดาบสองคมเสมอ
มันเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและกำไรให้นายทุน แต่ในมุมกลับใครที่ได้การศึกษาดีๆ
อ่านออกเขียนได้ ย่อมมีความมั่นใจในการคิดเองเป็น
และสามารถหาแหล่งความคิดที่ทวนกระแสได้ และสามารถสื่อสารกับคนที่ต้องการเปลี่ยนสังคมด้วยความสะดวกสบาย
ด้วยเหตุนี้ชนชั้นปกครองไม่ต้องการที่จะให้เด็กทุกคน หรือผู้ใหญ่ส่วนมาก
มีการศึกษา “ดีเกินไป” เขาต้องมีการกดให้ระดับการศึกษาอยู่ในขั้นพื้นฐานด้วยการสอบคัดเลือกให้คนส่วนใหญ่ล้มเหลว
เพราะนอกจากการศึกษาจะทำให้คนมั่นใจที่จะเปลี่ยนสังคมและคิดเองมากขึ้นแล้ว
ยังทำให้นักเรียนที่จบออกมาตั้งความหวังว่าตนเองจะมีชีวิตที่ดีด้วย
และสำหรับคนส่วนใหญ่ความหวังนั้นจะจบด้วยความผิดหวัง ความไม่พอใจ และความโกรธแค้น
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ชนชั้นปกครองต้องการหลีกเลี่ยง
     การเข้าใจธาตุแท้ของระบบการสอบ
ทำให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย เบอร์คเล ในสหรัฐอเมริกาในยุคประท้วงใหญ่ 45
ปีก่อนหน้านี้ กดดันให้มหาวิทยาลัยออกแบบหลักสูตรที่ไม่มีการสอบ
แต่เมื่อกระแสกบฏลดลงหลักสูตรนี้ก็หายไป
    
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับระบบทุนนิยมอีกประเด็นหนึ่งที่เราควรเข้าใจคือ
ทุนนิยมเป็นระบบที่อาศัยการแข่งขันในตลาด
ซึ่งนำไปสู่แนวโน้มของการลดลงของอัตรากำไรและการผลิตล้นเกิน
วิกฤตเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นในระบบทุนนิยมเป็นประจำ และท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจเรามักจะได้ยินเสียงของนายทุนที่เรียกร้องให้รัฐบาลตัดงบประมาณ
และประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการลดภาษีด้วย
สภาพเช่นนี้เป็นแรงผลักดันให้มีการศึกษาราคาถูก
ที่เน้นการท่องจำและยัดวิชาใส่หัวนักเรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่
โดยที่สามารถตัดเครื่องมือการสอน จำนวนครู และคุณภาพการศึกษาได้
     ถ้าจะเข้าใจการศึกษาในระบบทุนนิยม
เราต้องมองความขัดแย้งที่ดำรงอยู่เสมอระหว่างความต้องการที่จะมีแรงงานฝีมือที่มีทักษะสูง
กับความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐ มันไม่เคยเป็นอันใดอันหนึ่งเท่านั้น
มันเป็นสองสิ่งที่ขัดแย้งกันที่ดำรงอยู่ด้วยกันท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลจีและการขึ้นลงของเศรษฐกิจเสมอ
วิธีมองสังคมที่มีความขัดแย้งแบบนี้เรียกว่า “วิภาษวิธี” และการเชื่อมระบบการศึกษากับแต่ละยุคสมัยและผลประโยชน์นายทุนเราเรียกว่า
“วัตถุนิยมประวัติศาสตร์” ซึ่งสองวิธีการวิเคราะห์นี้เป็นหัวใจของแนวคิดมาร์คซิสต์
    
จะเห็นได้ว่าการศึกษาในระบบทุนนิยม
ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ของพลเมืองทุกคน
แต่ถูกออกแบบเพื่อประโยชน์ของนายทุนเป็นหลัก
แต่แน่นอนนายทุนไม่สามารถควบคุมผลที่เกิดขึ้นตลอดไป สาเหตุสำคัญที่ชนชั้นนายทุนไม่ได้ควบคุมสถานการณ์อย่างเบ็ดเสร็จ
นอกจากเรื่องพลวัตความขัดแย้ง
ระหว่างความต้องการที่จะมีแรงงานฝีมือที่มีทักษะสูง
กับความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐแล้ว ยังมีอีกปะเด็นที่สำคัญมากคือ
ระบบการศึกษาและทุกระบบในสังคมประกอบไปด้วย “คน” และคนสามารถคิดเองเป็น ดังนั้นบ่อยครั้งจะเกิดครูที่ต้องการสอนนักเรียนในลักษณะก้าวหน้าปลดแอก
ไม่ใช่สอนไปเพื่อให้เด็กรับใช้เจ้านายในอนาคต และบ่อยครั้งจะเกิดนักเรียนที่กบฏ ชอบตั้งคำถาม
และท้าทายกระแสหลัก นี่คือความหวังสำหรับเราในทุกยุคทุกสมัย
แต่เราไม่ควรลืมคำของมาร์คซ์ว่า “มนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนและสร้างโลก
แต่ไม่ได้กระทำในบริบทที่ตนเองเลือก”
นั้นคือสาเหตุที่เราต้องทั้งสนับสนุนการกบฏของปัจเจก
และการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาและโครงสร้างสังคมพร้อมกัน
     ในระบบทุนนิยมเราอาจพูดได้ว่ามันเป็นการศึกษาเพื่อกดขี่ขูดรีดคนส่วนใหญ่
มันเป็นการศึกษาเพื่อผู้กดขี่ แต่ในสังคมนิยมที่เราจะสร้างในอนาคต
การศึกษาต้องถูกออกแบบโดยคนส่วนใหญ่ ที่ขึ้นมามีอำนาจในแผ่นดินร่วมกันในสังคม
เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์พิเศษของพลเมืองแต่ละคน
และในช่วงทางผ่านหรือช่วงที่เราต้องสู้กับทุนนิยมและชนชั้นปกครอง เราต้องผลักดันการศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ให้มากที่สุด
เพื่อสร้างทักษะในการกำหนดอนาคตของตนเองและการต่อสู้ทางชนชั้น
     เมื่อเราเสนอ “การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่”
หรือการศึกษาก้าวหน้าเพื่อประชาชนส่วนใหญ่
เราต้องการเห็นมันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสวัสดิการ และเราจะรณรงค์เรียกร้องและกดดันให้โรงเรียนรัฐปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางนี้สำหรับคนส่วนใหญ่
เราจะไม่ใช้แนวคิด เอ็นจีโอ ที่เคยตั้งโรงเรียน “ตัวอย่าง” สำหรับคนกลุ่มน้อย และหันหลังให้รัฐ
เพราะมันไม่นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนส่วนใหญ่เลย และในกรณีไทยนักเคลื่อนไหว
เอ็นจีโอ ที่เคยตั้งโรงเรียนตัวอย่างดังกล่าว ได้แสดงธาตุแท้ของแนวคิด
โดยเข้าไปเป็นแกนนำของพันธมิตรฯ เสื้อเหลือง ที่เรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหาร
และที่ดูถูกคนส่วนใหญ่ที่เป็นเสื้อแดงว่า “โง่” นั้นคือสิ่งตรงข้ามกับปรัชญาการศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ที่จะทำให้ผู้ถูกกดขี่ปลดแอกตนเองได้
     เพาโล แฟรรี (Paulo Freire) เป็นนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายและนักคิดสาย ศึกษาธิการชาวบราซิลที่เสนอทฤษฏีก้าวหน้าเรื่องระบบการศึกษาในหนังสือ การเรียนรู้ของผู้ถูกกดขี่
     แฟรรี เสนอว่า “การเรียนรู้ของผู้ถูกกดขี่จะต้องถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้ถูกกดขี่เอง
ไม่ใช่เพื่อคนที่ถูกกดขี่ 
และหัวใจของการเรียนรู้แบบนี้คือการวิเคราะห์และสะท้อนในเรื่องสภาพการกดขี่และสาเหตุของมัน
แต่ผู้ถูกกดขี่จะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบนี้ได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการทำความเข้าใจว่าตัวเองกลืนแนวความคิดของผู้มีอำนาจเบื้องบนเข้าไปในร่างของตัวเอง
การต่อสู้กับความขัดแย้งในตัวแบบนี้จะเกิดขึ้นจากการสอนในนามธรรมไม่ได้มันต้องเกิดขึ้นท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้
การเรียนรู้ของผู้ถูกกดขี่ไม่ใช่เรื่องของการอธิบายปัญหาต่างๆให้คนอื่นฟัง
แต่เป็นเรื่องของการถกเถียงแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคล 
การเรียนรู้แบบนี้จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงถ้ามองว่าผู้ถูกกดขี่เป็นคนที่น่าสงสารอ่อนแอหรือเสียเปรียบ
เพราะนั่นเป็นการลอกแบบความคิดของผู้มีอำนาจหรือผู้กดขี่ การปฏิบัติในเรื่องการเรียนรู้ในรูปแบบนี้
ต้องกระทำบนพื้นฐานการไว้ใจคนที่ถูกกดขี่ว่ามีความสามารถในการใช้เหตุผล 
และจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งไม่ให้ผู้ถูกกดขี่พึ่งพาผู้ที่เขามองว่าเป็นผู้รู้
โดยไม่มีการเปิดโปงว่าการพึ่งพาแบบนี้คือจุดอ่อน อย่างไรก็ตามการเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นมอบให้ได้มันต้องทำเอง”
     แฟรรี เน้นความสำคัญของกลุ่มศึกษา
โดยเสนอว่า “การเรียนรู้เพื่อปลดแอกมนุษย์ต้องเป็นกิจกรรมรวมหมู่ ทำคนเดียวไม่ได้
คนในกลุ่มศึกษาต้องคิด ถกเถียง สะท้อน และพัฒนาความคิดด้วยกันเสมอ บทบาทของ ครู
หรือ แกนนำ ในขบวนการปฏิวัติ
คือเป็นผู้นำเสนอประเด็นปัญหา
เพื่อให้สมาชิกกลุ่มศึกษาค้นหาความหมายและทางออกให้ลึกลงไป
หลังจากนั้นผู้ที่เป็นครูควรฉายภาพการนึกคิดของ นักเรียน
กลับไปสู่เขา เพื่อตั้งประเด็นปัญหาเพิ่ม ครูมีหน้าที่ประสานการเรียนรู้
และบางครั้งอาจเสนอทิศทางได้ แต่ไม่ควรสอนแบบยัดความรู้จากมุมมองตนเองใส่ผู้ร่วมเรียน”
     แฟรรี่ โจมตีวิธีสอนกระแสหลักที่เขาเรียกว่า
ระบบการศึกษา
ฝากธนาคาร แนวกระแสสหลักแบบนี้มองว่านักศึกษาเป็นเพียงภาชนะที่จะถูกเติมเต็มโดยครู
ยิ่งเติมเต็มได้แค่ไหน นักเรียนก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น แต่ แฟรรี
เสนอว่าในระบบนี้ นักศึกษายิ่งขยันทำงานรับความรู้เข้าหัวตัวเองมากแค่ไหน
เขาจะยิ่งหมดสภาพในการใช้สมองเพื่อตั้งคำถามและวิเคราะห์โลกเท่านั้น
และเขาจะยิ่งอ่อนแอที่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงโลกมากขึ้น
เขาจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่ดำรงอยู่ ระบบการศึกษาแบบ
ฝากธนาคารสร้างประโยชน์ให้กับนายทุนผู้กดขี่มหาศาลเพราะทำลายความสามารถในการคิดเองและการออกมาเปลี่ยนแปลงโลกเองของนักศึกษา
ซึ่งนำไปสู่การปกครองคนที่เชื่องและจงรักภัคดีและที่แย่ที่สุดคือนำไปสู่การทำลายความเป็นมนุษย์ของนักศึกษา
     การศึกษาแบบสังคมนิยมมีเป้าหมายในการเพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
และเพิ่มความสามารถของทุกคนที่จะร่วมกันกำหนดรูปแบบสังคมและทิศทางการพัฒนา
มันเป็นการศึกษาที่ไม่จำกัดแค่ช่วงหนึ่งในชีวิต เช่นแค่ในวัยเด็ก
แต่เป็นการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีพเพื่อประโยชน์ของมนุษย์
ตรงข้ามกับการศึกษาภายใต้ทุนนิยม ซึ่งออกแบบมาเพื่อรับใช้ผลประโยชน์นายทุน 

อ่านเพิ่ม: ประเด็นเหล่านี้ในแง่มุมของการศึกษาไทย อ่านได้ในวารสาร “การศึกษาปริทัศน์” ฉบับธันวาคม ๒๕๕๖