ใจ อึ๊งภากรณ์ ส่งสารถึงฝ่ายซ้ายไทย เสนอแนวทางสร้างพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ศตวรรษที่ 21

ปัญหาของฝ่ายซ้ายสังคมนิยม จะทำยังให้มวลชนรวมเดินไปในเส้นทางการปฏิวัติ เราจะทำให้เขาเปลี่ยนเป็นนักปฏิวัติได้อย่างไร ในขณะเดียวกันต้องทำงานร่วมกับคนที่ยังไม่พร้อมปฏิวัติ เราจะรักษาจุดยืนทางการเมืองเราอย่างไร ไม่คล้อยตามจุดยืนของคนส่วนใหญ่ที่กำลังต่อสู้ บางแนวที่พยายามรักษาความบริสุทธิ์ปฏิเสธการทำงานแนวร่วมกับมวลชนที่กำลังต่อสู้ ปฏิเสธการทำงานกับเสื้อแดง เพราะเสื้อแดงไม่ใช่แนวปฏิวัติ

ตัวอย่างของพรรคปฏิวัติ องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ เป็นหัวหอกในการผลักดันการต่อสู้กับรอบแรกกับมูบารัค พอบูบารัคถูกปลดโดยทหาร องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ ก็มีจุดยืนชักชวนให้คนปฏิเสธทหาร เมื่อถุงยุคมูรซี่ องค์กรปฏิวัติสังคมก็เป็นฝ่ายค้านวิจารณ์มูรซี่ เพราะประนีประนอมกับแนวเสรีนิยม ประนีประนอมกับทหาร กับอิลาเอล

เมื่อทหารล้มมูรซี่ ในขณะที่มวลชนใหม่ปลื้มทหาร องค์กรสังคนนิยมปฏิวัติก็ปฏิเสธทหาร วิจารณ์ทหาร ทหารไม่ใช่คำตอบ

พรรคปฏิวัติเหมือนสะพานเชื่อมสามสิ่งเข้าด้วยกัน ระหว่างแนวทางปฏิวัติ มวลชนปฏิรูป และการต่อสู้ของกรรมาชีพสหภาพแรงงาน การเน้นกรรมาชีพเพราะพลังของการปฏิวัติคือผู้ผลิต

ด้านหนึ่งต้องศึกษาบทเรียนจากการปฏิวัติรัสเซีย แต่อีกด้านก็ต้องศึกษากระแสการปฏิวัติปัจจุบันประกอบกันไปด้วย

ด้านหนึ่งบางคนมองว่าการปฏิวัติเป็นเรื่องล้าสมัย ซึ่งเป็นความคิดที่มีมาตลอดตั้งกำเนิดปฏิวัติศาสตร์ของทุนนิยม

ตัวอย่างในเยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย SPD ก็เสนอว่าไม่ต้องปฏิวัติแล้ว พวกนี้เป็นอดีตมาร์คซิส เช่น เคาสกี้ เป็นคนที่มีอิทธิพลในพรรคนี้ สิ่งที่พรรคนี้ทำให้เยอรมัน พาเข้าสู้วิกฤตเศรษฐกิจ พยายามปกป้องระบบทุนนิยม จบลงด้วยการขึ้นมาของฟาสซิสต์ เป็นบทเรียนว่าคนที่บอกว่าไม่ต้องปฏิวัติก็ไม่สามารถทำให้สังคมดีขึ้นได้

อีกตัวอย่างในชิลี ช่วงเดียวกับ 14 ตุลา ในไทย ค.ศ 1973 จะมีคนเสนอว่าไม่ต้องปฏิวัติแล้วแค่เลือกตั้งพรรคสังคมนิยม ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี อะเยนเด้ จนในที่สุดก็ถูกทหารทำรัฐประหารและฆ่าตาย

หลังป่าแตกจะมีคนบอกว่าแนวทางของ พคท ล้มเหลวไม่มีอนาคต กำแพงเบอร์ลินล้ม ระบบทุนนิยมโดยรัฐ เผด็จการสตาลินล้ม คนก็บอกว่าแนวทางปฏิวัติล้าสมัย

ในอียิปต์ ถ้าไม่มีการล้มระบบมูบาลัค ไม่มีการเสนอให้มีการล้มระบบทั้งหมด ชนชั้นปกครองเก่าก็จะกลับมาแน่นอน ถ้าไม่มีองค์กรปฏิวัติที่ไปไกลกว่านี้ อำนาจเก่าก็จะกลับมาได้ง่าย ตอนนี้ยังไม่ถึงขนาดนั้นในอียิปต์

ในไทยกลุ่มอำนาจเก่าสถาปนาเรียบร้อย ผ่านการจับมือกันของนายกยิ่งลักษ์ เพื่อไทย และกับทหาร

การต่อสู้ของเสื้อแดงมีพลังมาก มีกระแสที่จะไปไกลกว่านั้น สังคมไม่ธรรม เราเป็นไพร่ ต้องล้มอำนาจ ต้องการปฏิรูปศาล แต่ นปช ไม่อยากให้ไปไกลกว่านั้น ขณะที่เลี้ยวซ้ายเล็กเกินไป อำนาจเก่าเริ่มสถาปนาตนเองได้มั่นคง

ในยุโรป พรรคที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยม เช่น ในฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน พรรคเหล่านี้แยกไม่ออกจากพรรคฝ่ายขวา พูดเหยียดเชื้อชาติ ตัดการจ้างงาน คนงานต้องเสียสละ ตัดเงินเดือน ถ้าไม่สร้างพรรคฝ่ายค้านที่ไปไกลกว่านั้น ก็ไม่มีอนาคตที่จะทำให้สังคมดีขึ้นได้เลย

บางคนก็อธิบายเพิ่มว่ายังมีการต่อสู้แบบอื่น ถ้าไม่พอใจพวกพรรคซ้ายปฏิรูป ก็ต้องเข้าไปข้างใน ทำให้มันเป็นเป็นซ้ายขึ้น แต่เมื่อเข้าไปแล้วกลับถูกพรรคปฏิรูปเปลี่ยน

อีกกระแสหนึ่ง มีการพูดกันในกรีซ ออสเตรเลีย เยอรมัน ฝรั่งเศส พูดว่าต้องตั้งเป้าให้มีรัฐบาลซ้าย หมายความว่า เส้นแบ่งระหว่างพรรคปฏิวัติล้มทุน กับพรรคปฏิรูปทำให้ทุนน่ารักขึ้น เส้นแบ่งมันเริ่มคลุมเครือ เขาไม่อยากจะคุยว่าเส้นแบ่งมันอยู่ตรง ขอเพียงให้รัฐบาลซ้ายที่เป็นแนวร่วมระหว่าแนวปฏิรูปกับแนวปฏิวัติอย่างเดียวก็พอ ตัวอย่างที่ชัดคือพรรค ซารีซ่า ในกรีซ

ในแง่หนึ่งนักปฏิวัติร่วมมือกับนักปฏิรูป ทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันนโยบายที่ดี ดีกว่าพวกฝ่ายขวา กว่าพวกพรรคสังคมนิยมที่เปลี่ยนไปเป็นฝ่ายขวา แต่มันเป็นเรื่องที่อันตรายมากถ้าเราไม่ชัดเจน ระหว่างแนวปฏิวัติกับปฏิรูป ตัวอย่างพรรคซารีซ่า กรีซ เป็นพรรคที่มีหลายกลุ่ม มีภาพว่าเป็นพรรคซ้าย มีพวกมาร์คซิสอยู่ในนั้น แต่กลุ่มที่มีอำนาจเป็นซีกขวา ตอนแรกบอกว่าไม่อยากให้ตัดงบประมาณ คัดการตกงาน การจ่ายหนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ตอนนี้พรรคซารีซ่า เป็นพรรคฝ่ายค้านแล้ว เป็นพรรคอยู่ในกระแสหลัก ผู้นำพรรคก็วิ่งเต้นไปคุยกับกลุ่มทุน นายธนาคาร เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองไม่น่ากลัว รับผิดชอบต่อระบบทุน จะไม่ออกจากสกุลเงินยูโร แต่ถ้าจะแก้ปัญหาใน กรีซ สเปน อิตาลี โดยที่คนงานไม่ต้องเสียสละ ก็ต้องออกจากสกุลเงินยูโร ไม่มีทางเลือกอื่น แต่ซารีซ่าจะอยู่ต่อ ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกตั้งขึ้นโดยธนาคารกลางยุโรป ฝ่ายอำนาจในยุโรป

ซารีซ่า เริ่มสองจิตสองใจ เรื่องการสนับสนุนการนัดหยุดงาน ก็เท่ากับไปเน้นเรื่องการชนะการเลือกตั้ง ในที่สุดที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาลฝ่ายซ้ายในกรีซ และก็จะทำหน้าที่เป็นตำรวจให้กับระบบทุนนิยม

ในเยอรมัน พรรคซ้าย ไดลิงเกอร์ เป็นพรรคที่ประกอบไปด้วยหลายส่วนเหมือนกัน ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา สหายเราสามคนจากกลุ่ม มาร์คซ 21 ก็เข้ามาเป็น สส. มันมีทั้งซีกที่เป็นอดีตจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย แล้วไม่พอใจก็ออกมา อดีตพรรคคอมมิวนิสต์จากเยอรมันตะวันออกรวมอยู่ในนั้น ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคฝ่ายขวา ของอังเกล่า แมร์เคิล ไม่ได้คะแนนเสียงเพียงพอในการตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ต้องมีการจับมือกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่คงจะเกิดขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ หรือแกนนำของพรรคไดลิงเกอร์ ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น แต่อยากให้เป็นแนวร่วมระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยกับ พรรคกรีน และพรรคไดลิงเกอร์ ขึ้นมาเป็นรัฐบาล

ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นเมื่อไร ก็จะเป็นอันตรายสำหรับฝ่ายซ้ายทันที เพราะเขาจะเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารระบบทุนนิยมท่ามกลางวิกฤต จะโจมตีภาคการจ้างงาน ฐานะทางเศรษฐกิจของคนงาน เพราะยอมรับระบบทุนนิยม และสหายของเราสามคนที่เป็น สส. ก็ไม่มีอิทธิพลพอที่จะทำไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิด ทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องลาออกจากพรรค แต่แนวโน้ม พรรคฝ่ายขวาของ อังเกล่า แมร์เคิล จะทำแนวร่วมกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยต่างหาก

ถ้าเรามาพูดถึงข้อถกเถียงที่เราเห็นอยู่ทั่วโลกตอนนี้ในระดับสากลในเรื่องของพรรคปฏิวัติ มันมีสองข้อที่คุยกัน ข้อแรก เสนอว่าการปฏิวัติหมดยุค มาร์คซิสต์เป็นไดโนเสาร์ สู้ในรูปแบบอื่นได้ ซึ่งอธิบายไประดับหนึ่งแล้ว

อีกข้อที่เป็นข้อกล่าวหา ว่าทำไมไม่ควรมีพรรคปฏิวัติ มีคนพูดว่าถ้ามีพรรคปฏิวัติจะนำไปสู่เผด็จการภายในพรรค นี่ก็เป็นข้อถกเถียงระดับหนึ่งในอังกฤษด้วย พรรค SWP ก็มีซีกหนึ่งไม่พอใจแกนนำภายในพรรค จะอธิบายการเมืองที่อยู่เบื้องหลังคืออะไร อีกเรื่องหนึ่งพูดกันควบคู่กันในพวกที่ไม่อยากสร้างพรรค พูดกันว่ากรรมาชีพไม่ใช่พลังหลักในสังคมแล้ว ระบบทุนนิยมเปลี่ยนไป คนงานคอปกขาวกลายเป็นพวกคนชั้นกลาง เราจะได้ยินในแวดวงพวกออคคิวพาย ที่เต็มไปด้วยพวกอนาธิปไตย ที่ต้องการรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่อยากสร้างพรรคใหญ่ ต้องการอยู่เป็นย่อมๆ เป็นเครือข่าย

แนวอนาธิปไตยแบบนี้ ห่วงแหนความเป็นอิสระของตนเองในกลุ่มเล็ก มันเป็นปัญหาใหญ่มากในขบวนการของไทย ในหมู่คนเสื้อแดงก้าวหน้า เสื้อแดงก้าวหน้ามีหลายกลุ่ม แต่ไม่ยอมคิดกันจะตั้งพรรคการเมืองอย่างไร พรรคการเมืองแบบที่ไม่เล่นการเมืองเลือกตั้ง แต่จะตั้งองค์กรที่มันแน่นแฟ้นทำงานร่วมกัน เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนงานกับมวลชน เป็นคลังความจำของทฤษฎีการปฏิวัติอย่างไร คนก้าวหน้าในขบวนการเสื้อแดง เกือบจะไม่มีใครที่คิดแบบนั้น นอกจากในองค์กรเลี้ยวซ้าย

นักวิชาคนหนึ่ง สมัยนี้ฮิตกันมาก สวอน ซิกเซ็ก มาจากอดีตยูโกสลาเวีย เขามองว่าคนงานรัฐวิสาหกกิจไม่ใช่กรรมาชีพเป็นคนชั้นกลาง พวกนี้กับพวกอนาธิปไตยจะพูดถึงมวลชนแบบหลวมๆ ไม่มีคำกำจัดความ แทนที่จะพูดถึงเรื่องกรรมาชีพ เขาจะลืมหรือไม่สนใจพลังกรรมาชีพในฐานะของผู้ผลิต เขาจะมองว่าออคคิวพายก็จะเป็นรูปแบบหนึ่ง ก็พูดกันเยอะ แต่จริงๆแล้ว ออคคิวพายมันขึ้นสูงเมื่อปีที่แล้ว แต่ตอนนี้มันหายไปแล้ว ถ้าไม่มีองค์กรที่จัดตั้ง ไม่มีวินัยของกิจกรรมต่างๆ ในทีสุดมันขึ้นเร็วแล้วก็ลงเร็ว มันเกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะเคลื่อนไหวต่อไป อันนี้เป็นปัญหาของแนวอนาธิปไตย ในอนาคตมันก็อาจจะขึ้นอีกแล้วก็ลงอีก ในระหว่างการขึ้นลง มันไม่มีการรักษาองค์กรมันไม่มีการพยายามเพิ่มมวลชนในการเปลี่ยนสังคม

ตอนนี้ก็จะมีหลายๆ กลุ่ม มองว่าพรรคปฏิวัติไม่จำเป็น พรรคปฏิวัติไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ อาจจะเป็นฝ่ายที่เป็นอนาธิปไตย อาจจะเป็นฝ่ายที่เน้นแต่การเลือกตั้ง เช่นพรรคซารีซ่า พรรคสังคมนิยม หรือพรรคฝ่ายซ้ายไดลิงเกอร์ ในเยอรมันก็เน้นที่การเลือกตั้งมากเกินไป ทั้งๆที่สหายเราพยายามจะผลักไปในเรื่องของกิจกรรม เรื่องการนัดหยุดงาน เรื่องอื่น หรือกลุ่มฝ่ายในฝรั่งเศสที่เคยท้าท้ายรัฐบาลเมื่อไม่นาน ก็เช่นกัน เน้นเรื่องการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มองการจัดตั้งกรรมาชีพ คนหนุ่มสาวระยะยาวเป็นเรื่องสำคัญ

อีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างพรรคปฏิวัติ หรือไม่มีความมั่นใจในการสร้างพรรคปฏิวัติ จะมีอาการออกมาแบบเพี้ยนๆ มองว่ากรรมาชีพไม่มีพลัง เราต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ เราต้องพยายามหาคนที่มีอำนาจมากกว่าเรา เราจะเห็นตัวอย่างพวกเอ็นจีโอที่ไปจับมือกับทหาร ในอียิปต์ก็จะเป็นพวกที่ไปโบกมือเชียร์ทหาร โดยไม่มีวิพากษ์วิจารณ์การกลับมาของทหารเลย

ปัญหาสำคัญของพวกอนาธิปไตย นอกจากจะไม่มีการจัดตั้งแล้ว มันขึ้นแล้วมันก็ลง ปัญหาอีกข้อ เวลามีการต่อสู้เช่นของคนเสื้อแดงหรือในอียิปต์ ถ้าคุณไม่สนใจมีองค์กร ไม่สนใจขยายจำนวนสมาชิก ไม่สนใจเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมวลชนกับกรรมาชีพคุณช่วงชิงการนำไม่ได้ คุณก็ออกมาทำกิจกรรมของคุณ คุณถือป้ายของคุณเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วคุณก็พึ่งพอใจรวมกับมวลชน แสดงจุดยืนเฉพาะของตนเองที่บริสุทธิ์ แต่ไม่สามารถช่วงชิงการนำได้ถ้าไม่มีการสร้างพรรคขึ้นมา เราเห็นชัดว่าคนเสื้อแดงที่ก้าวหน้าล้มเหลาวในการช่วงชิงการนำจาก นปช.

ตัวอย่างช่วงที่มีการชุมนุมของเสื้อแดงบางทีจะมีกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า แยกกลุ่มไปชุมนุมที่อื่นหรือจัดเวทีย่อย พึงพอใจที่จะเป็นเวทีย่อย ไม่ได้มองว่าต้องเข้าแทรกแซงการต่อสู้ของกลุ่มใหญ่เพื่อช่วงชิงการนำ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาไม่ใช่เข้าไปแล้วจะช่วงชิงการนำได้ แต่ถ้าไม่ทำแบบนั้นคุณก็จะเป็นเวทีเล็กตลอดไป หรือจะมีกิจกรรมของคุณหน้าศาลทำนองนั้น ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่ดีที่ไปเยี่ยมนักโทษ แต่ที่เป็นสิ่งสำคัญคุณจะขยายความคิดเรื่องการปล่อยนักโทษ การค้าน 112 ในมวลชนเสื้อแดงธรรมดาจำนวนมากได้อย่างไร ก็ทำไม่ได้

ถ้าพูดถึงเรื่องความเป็นเผด็จการที่คนกังวล ถ้ามีพรรคการเมืองที่เป็นพรรคปฏิวัติในรูปแบบพรรคเลนิน มีประชาธิปไตยรวมศูนย์ หลายคนกังวลว่ามันเป็นพรรคเผด็จการ แน่นอนพรรคแบบสตาลิน เหมาเจอตุ๋ง ในอดีต เวลาเขาพูดถึงประชาธิปไตยรวมศูนย์ จริงๆ แล้วเขาไม่ได้หมายถึงประชาธิปไตยรวมศูนย์ในความเข้าใจของทรอทกี้ เลนิน แต่จะเป็นการอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตยแต่เน้นการรวมศูนย์ คือคณะกรรมการกลางตัดสินใจและสั่งลงมา หลายคนมองว่านี่ก็เป็นปัญหาในพรรคที่อังกฤษ แต่ผมมองว่าไม่ใช่ปัญหา คือว่าเขาไม่พอใจกับแนวทางของพรรค อย่างเช่นมีส่วนหนึ่งที่ออกแนวเฟมมินิส เชื่อทฤษฎีชายเป็นใหญ่ แทนที่จะมองว่าการกดขี่สตรีเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยม หรือจะมีคนที่มองว่าไม่ต้องไปสนใจสร้างทฤษฎีขององค์กรที่ชัดเจน แค่เคลื่อนไหวๆ ตลอดเวลาก็จะพอ แต่ปัญหาก็คือพอการเคลื่อนไหวมันลดลงจะทำอย่างไร หรือว่าเวลาคนอื่นเขาพามวลชนไปในทิศทางประนีประนอม จะไปช่วงชิงการนำจากพวกนี้ได้อย่างไร

คนที่กลัวว่าพรรคปฏิวัติจะเป็นเผด็จการ มีข้อเสนออันหนึ่งเขามองว่า เราควรจะมีพรรคปฏิวัติที่ไม่มีประชาธิปไตยรวมศูนย์แล้วเราควรจะมีหลายก๊กหลายกลุ่มภายในพรรค เราจะเห็นในกรณีพรรค NPA ในฝรั่งเศส พรรคใหม่ต้านทุนนิยม ในทีสุดมันพัง ก๊กต่างๆ ใช้เวลาถกเถียงกันตลอดเวลาแทนที่จะออกไปทำกิจกรรมหรือต่อสู้กับฝ่ายทุนนิยมฝ่ายนายทุน ที่กำลังตัดสวัสดิการของเรา มันไม่มีเอกภาพภาพในพรรค มันไม่มีความสามัคคี มันตัดสินอะไรไมได้เลย อันนี้เป็นปัญหาในซารีซ่าของกรีซ ก็มีหลายก๊กเช่นเดียวกันที่เคยเล่า แต่มันไม่ได้ทำให้มีประชาธิปไตยดีขึ้นเลยภายในพรรค ตอนนี้แกนนำของซารีซ่า ชื่อ สตีฟ รัช เขากลายเป็นคนที่มีอิทธิพล คล้ายกับมีบารมีพิเศษ เขาเป็นแกนนำของกลุ่มฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายในซารีซ่าก็ต้องเงียบไป มันไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีประชาธิปไตยมากขึ้น

ในเมื่อเราจำเป็นต้องมีพรรคปฏิวัติในศตวรรษที่ 21 จะมีหน้าตาอย่างไร ในรูปธรรม

หนึ่ง ต้องมีทฤษฎีการปฏิวัติ เลนิน เคยบอกว่า ถ้าไม่มีทฤษฎีการปฏิวัติก็ไม่มีพรรคปฏิวัติ พรรคเป็นการรวมตัวของคนที่มีจุดยืนทางการเมืองมีความเข้าใจเกี่ยวกับโลกคล้ายๆกัน ภารกิจในการต่อสู้กับทุนนิยมมีเป้าหมายตรงกันตรงนี้ ทำไมต้องมีทฤษฎีของฝ่ายปฏิวัติเอง เพราะว่าฝ่ายทุนฝ่ายชนชั้นปกครองเขามีทฤษฎีของเขาหมดเลย เขาพยายามยัดเหยียดให้เราเชื่อหมด ผ่านสื่อ ผ่านโรงเรียน ฯลฯ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนสังคมเราต้องต่อต้านทฤษฎีเหล่านี้ ฉะนั้นฝ่ายที่ล้มระบบต้องมีทฤษฎีของตนเอง แล้วต้องเป็นทฤษฎีที่ไม่ใช่แบบเปิดตำราออกมาแล้วท่องสูตรพูดถึงเลนินตลอดเวลา คือควรพูดถึงเลนินถ้ามันเหมาะสม

ทฤษฎีปฏิวัติของฝ่ายมาร์คซิสตในศตวรรษที่ 21 จะต้องทำความเข้าเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะต้องทำความเข้าใจวิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศของตนเอง เกิดอะไรขึ้น ใครมีอำนาจจริง อำนาจแท้อยู่ที่ใครในสังคม ผมเสนออำนาจแท้อยู่ที่ทหาร ทหารจับมือกับเพื่อไทย อย่าไปเชื่อเลยว่าจะมีการทำรัฐประหาร มันเป็นนิยายเพื่อทำให้คนเสื้อแดงเชื่องต่อพรรคเพื่อไทย เราต้องสามารถวิเคราะห์ว่าการเหยียดเชื้อชาติเป็นยังไง เราควรจะมีจุดยืนอย่างไรต่อการต่อต้านเขื่อน ต่อคนกรีดยาง เราต้องสามารถใช้ทฤษฎีมาร์คซิสต์เพื่ออธิบายโลกจริง ในภาษาที่คนธรรมดาเข้าใจได้ มันต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ประจำวันของมวลชน

ถ้าเราจะทำสิ่งเหล่านี้ในพรรคปฏิวัติสมาชิกทุกคนที่เป็นนักกิจกรรมของพรรคต้องเป็นปัญญาชน ไม่ไช่ปล่อยให้คนหนึ่งสองสามคนเท่านั้น เป็นคนอ่านหนังสือพูดเขียนบทความ ทุกคนต้องพัฒนาตนเอง เรื่องที่เราต้องวิเคราะห์มันใหญ่โตเกินกว่าที่คนคนเดียวทำได้ และคนคนเดียวก็มีสิทธิ์ผิดพลาดได้ ถ้าเรามีปัญหาเรื่องเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เพราะหลายคนอาจจะไม่เขียน หรือมีปัญหาที่คนไม่อ่านหนังสือ มันสะท้อนว่าสมาชิกของเราอาจจะไม่เข้าใจว่าตัวเองต้องเป็นปัญญาชนเต็มรูปแบบของพรรค

นอกจากทฤษฎีแล้ว สอง เราต้องโฆษณาจุดยืน เราจะทำได้ต้องผ่านหนังสือพิมพ์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ทั้งสองสิ่งสำคัญพอๆ กัน เพราะว่าเราต้องรู้จักใช้สื่อมวลชนที่ทันสมัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวปบล็อก เป็นเฟซบุ๊ค หรือเป็นอย่างอื่น แต่การอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค หรือว่าบล็อกต่างๆ เท่านั้นไม่พอ เพราะเราไม่ทราบว่าใครเข้ามาอ่าน เราไม่เจอเขาต่อหน้าต่อตา นี่คือความสำคัญที่เราต้องมีหนังสือพิมพ์ ที่เรายื่นให้คนเป็นตัวตนต่อหน้าเรา ให้เขาควักเงิน ให้เขาแสดงความรับผิดชอบว่าเขาจะสนับสนุนแนวทางด้วยการจ่ายเงิน เป็นโอกาสที่เราจะคุยกันและทำความรู้จัก

สาม นอกจากจะมีทฤษฏี มีสื่อ ของตัวเองที่โฆษณาจุดยืน เราต้องมีกิจกรรม ต้องร่วมสู้กับแนวร่วม การร่วมสู้กับแนวร่วมเวลาเราเข้าไปในแนวร่วมต่างๆ ในขบวนการต่อสู้ต่างๆ เราต้องแยกแยะได้ว่า พรรคการเมืองคือองค์กรเลี้ยวซ้ายกับแนวร่วมมันต่างกันอย่างไร เราต้องไมลืมสิ่งเหล่านี้ ไม่สลายตัวเข้าไปในแนวร่วม ในยุคนี้เราเห็นตัวอย่างทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงที่เตอร์กี หรือที่บราซิล ที่มีการรณรงค์อะไรหลายอย่าง บางทีฝ่ายขวาอาจจะเข้าร่วมด้วย และเราต้องตัดสินใจว่าเราจะเข้าไปมีจุดยืนอย่างไร เช่นเราบอกว่าเราไม่สนใจคนที่ประท้วงเรื่องราคายาง เพราะประชาธิปัตย์ไปจับมือกับพวกนั้น เราก็จะผิดพลาด

ในขณะเดียวกัน เราต้องไม่ทำตัวเป็นมิตรกับประชาธิปัตย์ หรือว่าเราไปร่วมประท้วงเขื่อนเราก็จะร่วมด้วย ไม่ว่าเอ็นจีโอเหลืองเข้ามาตรงนั้นหรือไม่ ในขณะเดียวกันเราก็จะไม่เข้าไปประนีประนอมกับเอ็นจีโอเหลือง เราต้องเข้าไปสู่มวลชน มันเป็นการทำงานที่ต้องใช้ศิลปะ ต้องใช้การวิเคราะห์ ต้องใช้การถกเถียงภายในกลุ่มด้วย เพราะคนคนเดียวตัดสินใจเองยาก ต้องมีทฤษฎีช่วยให้เราวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ เราต้องเข้าใจเวลาเราเข้าไปทำงานกับแนวร่วม เราต้องเข้าไปช่วงชิงการนำทางการเมืองด้วย

สี่ พลัง เราต้องใช้พลังของผู้ผลิต เราต้องเข้าไปทำงาน เราต้องดึงสมาชิกออกมาจากขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะขบวนแรงงานที่จัดตั้งอยู่แล้วในรูปสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานกับพรรคปฏิวัติไม่เหมือนกัน บางคนปฏิเสธพรรคปฏิวัติ อย่างเช่นพวกอนาธิปไตย อาจจะมีพวกอนาธิปไตยปฏิวัติที่เน้นการเคลื่อนไหวในสหภาพแรงงานอย่างเดียว อาจจะพูดถึงเลนิน แต่ไม่สร้างพรรค เราจะต้องเข้าไปเพื่อที่จะสร้างพรรคชองชนชั้นกรรมาชีพที่มีจุดยืนที่ก้าวหน้าที่สุด สหภาพแรงงานจะมีพวกที่จุดยืนล้าหลัง จุดเป็นกลาง จุดยืนก้าวหน้า เราจะต้องดึงคนที่มีจุดยืนที่ก้าวหน้าที่สุดเข้ามาพรรคเรา

ห้า เราต้องยืนอยู่เคียงข้างผู้ถูกกดขี่ ไม่ว่าจะเป็นชาวปัตตานี โรฮิงยา หรือคนที่ออกมาประท้วงต้านเรื่องเขื่อนหรือว่าเรืองยาง

ประเด็นสุดท้าย เวลาเราพูดถึงพรรค เราต้องอธิบายตลอดเวลาว่าพรรคมันมีหลายรูปแบบ ไม่ใช่ว่าต้องมาจดทะเบียนลงสมัครรับเลือกตั้ง บางทีเราอาจจะชี้ไปถึงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคนั้นก็ไม่ได้เน้นเลือกตั้ง แต่เราต่างจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทั้งทางทฤษฎีและการจับอาวุธ

Leave a comment