อียิปต์หลังการรัฐหาร (2)

อียิปต์หลังการรัฐหาร[i]
(2)
 
โดย Philip Marfleet
แปลและเรียบเรียงโดย นุ่มนวล  ยัพราช

วิกฤติของฝ่ายค้าน

ในอียิปต์นั้น มีความพยายามของฝ่ายซ้ายและกลุ่มฝ่ายค้านอื่นๆ ที่จะสร้างแนวร่วมขึ้นมาหลังจากเผด็จการมูบารัคถูกล้มไปแล้ว  แต่แนวร่วมดังกล่าวยังขาดประสิทธิภาพที่จะหาประเด็นร่วมที่สามารถเป็นข้อเรียกร้องยึดเหนี่ยวร่วมกันและมีปัญหาการแข่งการนำ แนวร่วมนี้ไม่สามารถตอบคำถามสำคัญๆ ที่เผชิญหน้าต่อการปฏิวัติได้  อย่างเช่น การขยายพื้นที่ประชาธิปไตย การรับมือกับทหาร หรือ การรับมือกับรัฐบาลมูซี่อย่างเป็นรูปธรรม  ประเด็นการเมืองระหว่างประเทศที่มีความสำคัญๆ เช่น กรณีประเทศปาเลสไตน์ แนวร่วมฝ่ายซ้ายยังขาดเวทีหารือระดับชาติและองค์กรศูนย์กลางที่ทำหน้าที่ประสานงานเพื่อรวมข้อเสนอของส่วนต่างๆ เข้ามาเป็นเนื้อเดียวกัน

ฮาดีม ซาบบาฮี (Hamdeen Sabbahi) เป็นนักการเมืองอิสระในยุคเผด็จการมูบารัค และ มีความใกล้ชิดกับผู้นำสหภาพแรงงานอิสระก้าวหน้า คามอล อะบูอิตา (Kamal Abu-Eita) ในปี 2012 ซาบบาฮี ลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเกือบชนะ มูซี่ ในรอบที่หนึ่งและได้รับคะแนนสูงกว่าคนของเผด็จการมูบารัค ซาบบาฮี ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามจากคนงานและมวลชนที่สนับสนุนการปฏิวัติ ซาบบาฮี กลายมาเป็นตัวหลักสำคัญในการเป็นฝ่ายค้านในช่วงรัฐบาลมูซี่ โดย ซาบบาฮี ได้สร้างแนวร่วมเพื่อแก้ปัญหาแห่งชาติ (National Salvation Front หรือ NSF) ในยุคที่มูซี่กำลังแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง ซาบบาฮี ได้เรียกร้องให้กลุ่มแนวร่วมฝ่ายค้านต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ NSF เพื่อผนึกกำลังต่อต้านพรรคมุสลิมฯ ซาบบาฮี มีบทบาทสำคัญในการดึงและชักชวนให้ฝ่ายค้านต่างๆหันไปจับมือกับทหาร

หลังจากล้มรัฐบาลพรรคมุสลิมฯไปแล้ว หลายส่วนของฝ่ายค้านหันไปพึ่งพาทหารมากขึ้น ภายใต้คำมั่นสัญญาจากนายพล อัลซีซี่ ที่ต้องการสร้างเสถียรภาพและทำลายพรรคมุสลิมฯในทุกรูปแบบ ซึ่งข้อเสนอนี้ถูกต้อนรับโห่ร้องอย่างชื่นชมโดย นักธุรกิจ เครือข่ายอำนาจเก่าจากยุคเผด็จการมูบารัค ชนชั้นกลางและนักปฏิวัติผู้โกรธแค้นชิงชังพรรคมุสลิมฯ

หลังจากช่วงกลางปี 2013 กระแสนัดหยุดงานตกลง 60% ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการประกาศสภาวะฉุกเฉิน การประกาศเคอร์ฟิวส์ และการดักจับไม่เลือกหน้า แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนความอ่อนแอทางการเมืองในหมู่นักสหภาพแรงงานและแรงงานพื้นฐานซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากความอ่อนแอทางการเมืองโดยรวมของฝ่ายค้าน ซึ่งสะท้อนออกมาโดยที่ผู้นำแรงงานก้าวหน้าและกลุ่มเสรีนิยมเข้าไปร่วมมือในรัฐบาลชั่วคราวของรัฐบาลทหาร ภายใต้ข้อเรียกร้อง “เสถียรภาพ เคารพกฎกติตา และ ความสงบสุขทางสังคม” กองทัพได้ฉกฉวยความชอบธรรมทางการเมืองและองค์กรของมวลชนบนท้องถนน สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง ให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ “ทำลายการปฏิวัติ” ได้  โดยอ้างว่าทหารมีบทบาทในการนำและปกป้องการปฏิวัติ

หลังจากรัฐบาลของพรรคมุสลิมฯ ถูกล้มลงไปกองทัพ และซาบบาฮี ได้เบี่ยงเบนประเด็นปัญหาหลักๆที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ โดยอธิบายว่าอุปสรรคหลักที่ขัดขวางไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์นั้นมีสาเหตุมาจาก “ภัยก่อการร้าย” จากพรรคมุสลิมฯ ฉะนั้นพรรคการเมืองต่างๆที่เหลืออยู่ควรจะสามัคคีกันเพื่อทำลายภัยร้ายแรงดังกล่าว

คามอล อะบูอิตา (Kamal Abu-Eita) ผู้นำแรงงานก้าวหน้าจากสหภาพแรงงานอิสระ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ ซาบบาฮี หลังจากรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานได้ออกแถลงการเรียกร้องให้คนงานเลิกนัดหยุดงาน เพื่อสนับสนุนช่วงรอยต่อของการสร้างชาติอียิปต์ขึ้นมาใหม่ มันเป็นที่ชัดเจนว่า อาบู-อิตา ผู้นำแรงงานอิสระซึ่งครั้งหนึ่งเคยก้าวหน้าได้ทรยศคนงานและหันไปปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุน นักลงทุน และ กองกำลังความมั่นคง

หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลของทหารได้ทำการปราบปรามฝ่ายพรรคมุสลิมฯ อย่างป่าเถื่อน มีการตรวจค้น และส่งคนเข้าคุกเป็นพัน บางส่วนของคณะรัฐมนตรีที่ครั้งหนึ่งเคยก้าวหน้าเลือกที่จะเงียบเฉย จากนั้นไม่นานนายพล อัลซีซี่ ได้เพิ่มยศให้ตัวเองเป็นจอมพล กองทัพสามารถฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาได้มาจากสองสาเหตุหลัก คือ การใช้โครงสร้างเดิมในยุคเผด็จการมูบารัคที่ยังไม่ถูกทำลายลงไปและพลังบางส่วนของนักปฏิวัติ

ทหารและประชาชน

กองทัพอียิตป์รุ่นแล้วรุ่นเล่ามักจะอ้างความชอบธรรมจาก ประชาชน ชาติ และ การปฏิวัติ ในยุคของ กามอล อับเดล นัสเซอร์ ซึ่งเป็นผู้นำคนแรกหลังจากที่อียิตป์ได้รับเอกราช มีความพยายามทำรัฐหารประหารถึง 18 ครั้ง จาก 1952-1966 นัสเซอร์และกลุ่มทหารยังเตริกเอง ก็ทำรัฐหารต่อรัฐบาลราชวงศ์ที่สนับสนุนจักรวรรดิ์นิยมอังกฤษ ซึ่งกองทัพขณะนั้นก็อ้างว่า “รับใช้ประชาชน” ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง กองทัพกลายเป็นหัวหอกนำการปฏิวัติภายใต้ข้อเสนอของการมีอำนาจในการปกครองตนเอง นโยบายการปฏิรูปต่างๆ เช่น การปฏิรูปที่ดินถูกนำเสนอว่าเป็นความต้องการของมวลชน ตลอดยุคของนัสเซอร์ กองทัพและรัฐเป็นเงาซึ่งกันและกัน นัสเซอร์เองก็แสดงบทบาทผู้ที่ดูแลผลประโยชน์ของประชนชน

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ที่มีการประท้วงต่อเนื่องและแหลมคม ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011 เผด็จการมูบารัคถูกล้ม สัปดาห์นั้นมีการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างมวลชนกับกองกำลังอันธพาล พร้อมๆกับเป็นช่วงที่สภาสูงสุดของกองทัพ (Supreme Council of the Armed Forces, SCAF) พยายามที่จะยึดอำนาจจาก เผด็จการมูบารัค โดยอ้างว่ากองทัพ กำลังปกป้อง ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน และ ปกป้องความมั่นคงของชาติ ดูเหมือนความต้องการของกองทัพและประชาชาดูสอดคล้องกัน พวกนายพลก็อ้างความชอบธรรมจากบทบาทในอดีตของกองทัพยุคนัซเซอร์และกลุ่มยังเตริก กลายมาเป็นคำขวัญ “กองทัพและประชนชนคือกำปั้นอันเดียวกัน”

อ่านต่อตอนสุดท้ายฉบับหน้า

แปล และเรียบเรียงจาก : Egypt: after the coup  by Philip Marfleet , 2014, International Socialism, Issues 142 (http://bit.ly/1icp7Fa)