ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ

ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ
มาติน เอมพ์ซอน
เรียบเรียงโดย นุ่มนวล  ยัพราช



โศกนาฎกรรมจากไต้ฝุ่นไฮ่เยี่ยนในฟิลิบปินส์
สะเทือนใจคนเป็นล้านทั่วโลก ประชาชนหลายพันเสียชีวิต อีกมากมายสูญเสียที่อยู่อาศัย
ที่ทำงาน ฟาร์ม และธุรกิจ
     ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรามักจะดำรงอยู่ใต้อำนาจของสภาพภูมิอากาศ  แต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการขยายตัวของพลังการผลิตภายใต้ทุนนิยมได้แปลเปลี่ยนสภาพเช่นนี้ไป
อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมนั้นสร้างความยากจนและความหิวโหยสำหรับคนเป็นล้านล้าน
และมันทำลายสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่วิกฤติธรรมชาติ
     พายุไฮเยี่ยนโหมพัดเข้ามาในฟิลิปปินส์
ในขณะที่สหประชาชาติกำลังจัดการประชุมระดับโลกเรื่องปัญหาโลกร้อนที่เมือง วอร์ซอร์
ประเทศโปรแลนท์  นาเดเรฟ ซาโน
สมาชิกคณะกรรมการโลกร้อนของฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ 
ได้ปราศรัยด้วยอารมณ์จากใจจริงเพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ
ลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม
หลังจากนั้นเขาประกาศว่าจะงดอาหารจนกว่าการประชุมจะจบลง
     แต่
ซาโน และคนอื่นๆในประเทศฟิลิปปินส์จะผิดหวังในผลการประชุมครั้งนี้  ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 แต่การประชุมระดับโลกครั้งนี้
คงไม่ต่างจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา 18 ครั้ง เพราะมันจะไม่มีการตกลงอะไรเป็นรูปธรรม
การลงมือในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง
ถูกทำให้มีอุปสรรคโดยนักการเมืองที่เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่เหนือการแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อม
      นี่คือสภาพปกติของทุนนิยมชนชั้นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น 
พวกนายทุนเชื่อว่าการแข่งขันอย่างหน้าเลือดในตลาดเสรีเป็นระบบที่ดีที่สุด  แต่ เฟรเดอริค เองเกิลส์ ได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี
1876 ว่า “ในเรื่องธรรมชาติ และ ในเรื่องสังคม ระบบการผลิตในปัจจุบันเน้นหนักแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น
และแล้วพวกนั้นก็แปลกใจเมื่อผลของการกระทำต่างๆ
ในระบบนี้ตรงกันข้ามกับความหวังของคนส่วนใหญ่”
      ผลของระบบทุนนิยมทำให้คนเป็นล้านเผชิญหน้ากับวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ คนจนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะพยายามกอบกู้วิกฤติชีวิตจากโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
การขยายตัวของเมือง ความยากจน และการขาดแคลนที่ดิน  มันหมายความว่าคนจำนวนมากถูกบังคับให้ต้องอาศัยในพื้นที่เสี่ยง
แม้แต่ในกรณีที่คนอาจจะย้ายถิ่นได้เขาก็ไม่ไปเพราะในถิ่นใหม่ไม่มีงานทำ
     ชนชั้นปกครองในประเทศอย่างฟิลิปปิสต์โกงกินพอๆกับชนชั้นปกครองในตะวันตก
แต่เราไม่ควรจะลืมอำนาจระดับโลกของจักรวรรดินิยม 
จักรวรรดินิยมเป็นผลพวงของการแข่งขันของรัฐต่างๆในระบบทุนนิยม
ซึ่งอาศัยการใช้อำนาจทุกชนิดเพื่อจะควบคุมผลประโยชน์ การแข่งขันทางทหารระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นตัวอย่างที่ดี
ฟิลิปปินส์ ถูกแย่งชิงระหว่างสเปน อังกฤษ และ สหรัฐ
ประเทศนี้ถูกทำให้เป็นตลาดเพื่อรองรับการส่งออกจากประเทศมหาอำนาจและแหล่งทรัยพากรและสินค้าเกษตรราคาถูก 
ทุกวันนี้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศนำเข้าที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่ง
สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรจากสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่ฟิลิปปินส์ผลิตอาหารฟื้นฐานอย่างข้าวไม่เพียงพอแต่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกชนิดอื่นๆ
เช่น มะพร้าว เป็นต้น
     ในโลกแห่งทุนนิยมการแบ่งลำดับชนชั้นต่างๆ
ซึ่งเป็นหัวใจของระบบหมายความว่าคนจนที่สุดในประเทศยากจนจะเดือดร้อนมากที่สุดจากภัยธรรมชาติอันเป็นมีเหตุมาจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม 
     ชาวฟิลิปปินส์มีประสบการณ์อันยาวนานจากภูมิอากาศที่รุนแรง
ปีที่แล้วมีคนตาย 2,000 คนจากพายุโบฟา ไฮเยี่ยน เป็นพายุที่สาม
ที่เข้ามาในประเทศในปีนี้และในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีพายุย่อยๆถึง 7 ครั้ง หมู่เกาะฟิลิปปินส์
เป็นพื้นดินแรกที่ต้องปะทะกับพายุซึ่งเกิดขึ้นกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
     เราไม่สามารถเจาะจงลงไปได้ว่าพายุอันหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อน 
แต่เราสามารถฟันธงได้ว่าแนวโน้มของการเกิดพายุร้ายแรงที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุมาจากปัญหานี้แน่นอน
ตัวเลขล่าสุดชี้ให้เห็นว่ามหาสมุทรแปซิฟิกได้เพิ่มอุณภูมิรวดเร็วที่สุดในรอบ
10,000 ปีที่ผ่านมา พายุไฮเยี่ยน จะได้รับพลังงานจากทะเลซึ่งเกิดจากเมื่อมีเมื่อปริมาณน้ำอุ่น
เมื่อน้ำในทะเลอุ่นมากขึ้นพลังงานนี้ก็จะทวีอานุภาพเพิ่มขึ้นเป็นคู่ขนาน พายุจะเกิดขึ้นมากกว่าเดิม
คณะกรรมการระหว่างประเทศที่ศึกษาปัญหาโลกร้อนรายงานเมื่อปีนี้ว่าพายุในมหาสมุทรแอตแลนติกทางเหนือมีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน 
     ข้อมูลจากที่อื่นอาจจะนำมาสรุปแบบง่ายๆไม่ได้แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาโลกร้อนมีผลต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ปัญหาไม่ได้จำกัดเฉพาะที่พายุอย่างไฮเยี่ยนเท่านั้น ข้อมูลจากมหาสมุทรที่ขั้วโลกเหนือเสนอว่าก๊าซมีเทรนผุดขึ้นมาจากท้องทะเลในปริมาณสูง
กระบวนการนี้เร็วขึ้นเมือทะเลขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น  ก๊าซมีเทรนและก๊าซคาบอนไดส์ออกไซส์
เป็นก๊าซสำคัญที่เร่งให้อุณหภูมิโลกสูง 
นักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอว่าทะเลรอบขั้วโลกเหนือจะปลอดน้ำแข็งในเดือนกันยายนปีหน้า
น้ำแข็งของขั้วโลกมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ออกไปจากโลกดังนั้นถ้าน้ำแข็งลดลงโลกจะร้อนขึ้น
     ภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงในทุกที่
ในรัฐอาลาสก้าของสหรัฐซึ่งเป็นบ้านเกิดของนักการเมืองฝ่ายขาว ซาร่า เพลิน
ที่ประกาศตัวว่าไม่เชื่อปัญหาโลกร้อน
อุณภูมิในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยสูงกว่าปกติ 8 องศา
     องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานว่าระดับน้ำทะเลปีนี้สูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์
ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาและเมื่อมีการละลายของน้ำแข็ง
ระดับน้ำทะเลก็เพิ่มขึ้น 
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นผลของพายุก็ทวีร้ายแรงตามลำดับและน้ำจะท่วมพื้นดินในระดับต่ำ
     วารสารเดอะอีโคโนมิสต์
รายงานว่าพายุไฮเยี่ยนคงจะสร้างความเสียหายถึง 9,000 ล้านปอนท์ หรือ 463,800 ล้านบาท
ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพราะฟิลิปปินส์เป็นประเทศยากจน 
ถ้าพายุทำลายประเทศที่พัฒนามากกว่าฟิลิปปินส์ค่าเสียหายจะมีมูลค่าสูงกว่า ในปี
2011 สหรัฐอเมริกามีเหตุการณ์วิกฤติจากภูมิอากาศร้ายแรง 25 ครั้ง
แต่ละเหตุการณ์สร้างความเสียหายในแต่ละเหตุการณ์ประมาณ 30 พันล้านบาท
     อย่างไรก็ตามความเสียหายจากพายุต่างๆ
นับเป็นเม็ดเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ พายุไฮเยี่ยนมีผลกระทบกับประชาชนถึง 11
ล้านคน คาดว่า 600,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย ในปี 2010
น้ำท่วมในปากีสถานทำลายพื้นที่เกษตรถึง 5700
,000,000 ตารางเมตร
ฝนแล้งในอาฟริกาตะวันออกในปี 2011 มีผลกระทบต่อประชาชน 13 ล้านคน
ฝนแล้งในรัสเซียในปี 2012 ทำให้ผลผลิตเกษตรลดลง 25
%  
     แต่รัฐบาลของประเทศต่างๆ
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน 2
ปีก่อนในการประชุมโลกร้อนของสหประชาชาติที่อาฟริกาใต้ มีการสัญญาว่าภายในปี 2015
จะมีข้อตกลงระหว่างทุกประเทศ ว่าจะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2
องศาจากยุคก่อนอุตสาหกรรม
     ข้อตกลงง่ายๆ
อันนี้ ซึ่งไม่พอที่จะทำให้อุณภูมิโลกลดลง 
ควรจะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป
แต่การผลิตก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปีที่แล้วปริมาณก๊าซโลกร้อนในบรรยากาศโลกสูงเป็นประวัติศาสตร์
ด้วยเหตุนี้แค่หนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมที่วอร์ซอร์
สหประชาชาติเตือนว่าการทำตามคำมั่นสัญญา “2 องศา” จะทำได้ยากมาก
     ผู้แทนจากรัฐบาลต่างๆที่มาประชุมที่โปรแลนท์เข้าใจดีว่า
ถ้าจะแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องจัดการกับผลประโยชน์ของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่และจะต้องมีการทุ่มเทงบประมาณรัฐบาลจำนวนมาก  ผลการวิจัยจำนวนมากมายชี้ให้เห็นว่าเราสามารถหันไปใช้พลังงานทางเลือกพลังงานสะอาดที่ไม่ผลิตก๊าซคาบอนไดซ์ออกไซด์
แต่การใช้พลังงานทางเลือกจะต้องอาศัยการลงทุนมหาศาล 
ดังนั้นรัฐบาลต่างๆและบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ไม่ยอมทำ  รัฐบาลอังกฤษเป็นตัวอย่างที่ดี มีการตัดงบประมาณที่หนุนพลังงานทางเลือกเพื่อสนับสนุนการลงทุนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
     บริษัทข้ามซาติที่ใหญ่ที่สุด
200 บริษัททั่วโลก ได้ลงทุนไป 22,000 ล้านบ้านบาทในปี 2012  เพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินจำนวนนี้ถูกนำมาลงทุนเพื่อผลิตพลังงานทางเลือก  เราจะเริ่มแก้ปัญหาโลกร้อนได้ แต่ตรรกะของทุนนิยมทำให้สิ่งตรงข้ามเกิดขึ้น
     แง่หนึ่งของระบบจักรวรรดินิยมคือการค้าขายที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศมหาอำนาจและประเทศอื่นๆ
ความยากจนในประเทศด้อยพัฒนามีผลส่วนหนึ่งมาจาก 
การกระทำของรัฐบาลในประเทศตะวันตก รัฐบาลมหาอำนาจต่างๆ ในโลก
ยังตั้งหน้าตั้งตาที่จะสร้างอุปสรรคในการแก้ปัญหาโลกร้อนในการประชุมโลกร้อนที่วอร์ซอร์
     การพัฒนาระบบอุตสาหกรรรมในประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องเดินตามเส้นทางเก่าของประเทศตะวันตกในยุโรปหรืออเมริกา
แต่การแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้นในระบบทุนนิยมผลักดันประเทศเหล่านี้ให้ทำลายสิ่งแวดล้อมเหมือนกับที่เกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
พายุไฮเยี่ยน
เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่เน้นว่าการท้าท้ายและเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อสร้างสังคมนิยมเป็นภาระกิจเร่งด่วน
เพราะสังคมนิยมเป็นระบบที่มีการพัฒนาภายใต้เหตุผลและการวางแผนด้วยระบบประชาธิปไตย
เพื่อประโยชน์ของมนุษย์และโลกของเรา

ที่มา  (After typhoon Haiyan – capitalism and the
climate
จาก http://socialistworker.co.uk/art/36865/After+typhoon+Haiyan+-+capitalism+and+the+climate) 23/11/2013

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s