Tag Archives: นปช.

ขยะการเมือง

ใจ อึ๊งภากรณ์

การเสนอชื่ออุบลรัตน์เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ เป็นจุดต่ำสุดของพรรคการเมืองสายทักษิณ เป็นจุดต่ำสุดของนักการเมือง นปช. เป็นจุดต่ำสุดของนักการเมืองที่น่าจะรู้ดีกว่านี้เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง แต่ที่แย่ที่สุดคือมันเป็นจุดตดต่ำสุดของระบบการเลือกตั้งไทย และเป็นผลพวงของการแทรกแซงการเมืองผ่านรัฐประหารของทหาร

ทูลกระหม่อมหญิง

คนมีปัญญาไม่จำเป็นต้องถามตัวเองว่านางอุบลรัตน์มีคุณสมบัติอะไรที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรอก แต่สำหรับคนที่ตื่นเต้นกับการโหนเจ้าผมขอถามว่า…. เขาเคยสัมผัสวิถีชีวิตของพลเมืองไทยธรรมดาที่ยากจนไหม? เขามีความคิดทางการเมืองก้าวหน้าไหม? ในช่วงชีวิตของเขา เขาสนับสนุนประชาธิปไตยบ้างไหม? เคยสนับสนุนความยุติธรรมไหม? เขาคัดค้านระบบสืบทอดตำแหน่งผ่านสายเลือดไหม? เคยเปิดศึกกับความเหลื่อมล้ำในสังคมไหม? คำตอบคือไม่เคย เขามีประสบการณ์แค่ในการโปรโหมดตนเองในรายการโทรทัศน์ แค่นี้ และเขาไม่มีวันเป็นสามัญชนตราบใดที่ยังมีการใช้ราชาศัพท์และตำแหน่งต่างๆ ในสื่อกระแสหลักอีกด้วย

สำหรับนักการเมืองพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งต้องเริ่มที่ทักษิณและรวมนักการเมืองพรรคอื่นๆ ของเครือข่ายนี้ เพราะอย่ามาพูดเลยว่าไม่ได้คุยกัน การเสนอชื่ออุบลรัตน์เป็นการถุยน้ำลายใส่ประชาชนไทยที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยมานาน รวมถึงการสละชีพด้วย มันถุยน้ำลายใส่ประวัติศาสตร์ ๒๔๗๕, ๑๔ตุลา, ๖ตุลา, พฤษภา๓๕, และการต่อสู้ของเสื้อแดง มันเป็นการถุยน้ำลายใส่อุดมการณ์ประชาธิปไตยอีกด้วย เพราะอะไร?

24879_385730269924_537184924_3652887_7350322_n

แนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังการเสนอชื่ออุบลรัตน์ คือแนวความคิดว่าพลเมืองไทยธรรมดาไม่มีปัญญาที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มันตัดบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไป มันตัดบทบาทของพลเมืองธรรมดาในการมีส่วนร่วม และมันจบลงด้วยการเสนอว่ามีสิ่งเดียวที่จะต้านเผด็จการประยุทธ์ได้นั้นคือคนที่มีเชื้อสายเจ้า มันเป็นการสะท้อนแนวความคิดล้าหลังของพวกพันธ์มิตรเสื้อเหลืองในยุคทักษิณ ที่เชื่อว่าต้องโหนเจ้าถึงจะล้มคนอย่างทักษิณได้ เพราะคนธรรมดาทำอะไรเองไม่ได้

อย่าลืมว่าแนวคิดแบบนี้มีที่มาที่ไป เพราะตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทักษิณกับพรรคพวกจงใจแช่แข็งขบวนการเสื้อแดง ซึ่งเป็นขบวนการประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย คือแช่แข็งจนหมดพลังไปเลย แต่สิ่งนี้ทำไม่ได้ถ้าแกนนำ นปช. ไม่ประกอบไปด้วยคนปัญญาอ่อนที่เห็นด้วยกับทักษิณและไม่ยอมนำการต่อสู้ในช่วงหลัง สิ่งที่น่าผิดหวังคือคนก้าวหน้าในขบวนการเสื้อแดงไม่ยอมหรือไม่สามารถที่จะสร้างแกนนำที่อิสระจากพวกนี้ได้

ในประวัติศาสตร์ไทยและที่อื่นทั่วโลก การพยายามสร้างภาพ “ความฉลาดในการต่อสู้” โดยการหันหลังให้มวลชน ไม่เคยจบดีเลย คิดหรือว่าการอวยคนเชื้อเจ้าแบบนี้จะนำไปสู่การเพิ่มสิทธิเสรีภาพ หรือการลดความเหลื่อมล้ำ หรือการลดบทบาทของทหารในการเมืองไทย? ไม่เลย! ตรงข้าม เพราะการนำแนวความคิดของฝ่ายเผด็จการปฏิกิริยามาใช้เอง เท่ากับการยอมจำนนต่ออุดมการณ์เผด็จการและยุทธศาสตร์สืบทอดเผด็จการ20ปี และที่น่ากังวลอีกคือมันจะนำไปสู่การจับมือระหว่างทักษิณกับเผด็จการทหารในรัฐบาลแห่งชาติ(หมา)อีกด้วย

แต่ในที่สุดเราก็ทราบว่าวชิราลงกรณ์ได้ออกมาพูดว่าพี่สาวไม่เหมาะที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ ไม่ว่าจะเคยลาออกหรือพยายามเป็นสามัญชนหรือไม่ ท่าทีของวชิราลงกรณ์ทำให้คนจำนวนมากหงายท้องสับสน เพราะเสื้อแดงหลายคนเคยมองว่าอยู่ข้างทักษิณ ส่วนคนที่เคยพูดเรื่องอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของวชิราลงกรณ์ที่จะถูกเสริมจากการเสนอชื่ออุบลรัตน์ก็ต้องรีบแก้ทฤษฏีกันใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคำถามอีกว่าวชิราลงกรณ์ถูกสั่งให้ออกมาโดยทีมประยุทธ์หรือไม่

พลเมืองไทยที่ไม่ยอมและไม่เห็นด้วยกับการเมืองขยะแบบนี้มีมากมาย เราต้องปฏิเสธพรรคการเมืองของฝ่ายทหารและฝ่ายทักษิณ และต้องให้ความสำคัญกับการจัดตั้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความเท่าเทียมในการต่อสู้ต่อไป

Dxcc29yW0AQEpBn

 

ปรองดองของทหารคือการบังคับให้ยอมจำนน

ใจ อึ๊งภากรณ์

กระบวนการที่ทหารเผด็จการเลือกที่จะเรียกว่า “การปรองดอง” ไม่ใช่การสร้างสันติภาพ ความสงบ หรือประชาธิปไตยแต่อย่างใด มันเป็นการบังคับให้ฝ่ายประชาธิปไตยยอมจำนนต่อโจรผู้ปล้นประชาธิปไตยต่างหาก ปรองดองของประยุทธ์มือเปื้อนเลือด คือการ “ดองเผด็จการ” ให้อยู่ต่ออีกยี่สิบปี

นายพลเผด็จการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนายพล “หน้าหมู” หรือ ไอ้ยุทธ์ หรือทาสรับใช้ของมัน อ้างว่าทหารเป็นกลางระหว่างสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน นั้นคือคำหลอกลวงของพวกที่โกหกเป็นสันดานเท่านั้นเอง

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อทหารเป็นผู้ก่อรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งในปี ๒๕๔๙

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อมันนั่งอมยิ้มปล่อยให้ “พันธมิตรต้านประชาธิปไตย” ยึดทำเนียบและยึดสนามบิน โดยไม่สลายม็อบแต่อย่างใด

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อทหารก่อตั้งรัฐบาลอภิสิทธ์ในค่ายทหาร ทั้งๆที่ประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะการเลือกตั้งเลย

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อทหารเป็นผู้เข่นฆ่าเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในปี ๒๕๕๓

24879_385522464924_537184924_3646967_92917_n

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อคนอย่างไอ้ยุทธ์ประกาศว่าประชาชนไม่ควรเลือกพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี ๒๕๕๔

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อทหารนั่งอมยิ้มไม่ทำอะไร เมื่อพวกสลิ่มและพระสงฆ์ฟาสซิสต์อย่าง “ไอ้โจรอิสระ” ใช้ความรุนแรงในการล้มกระบวนการเลือกตั้งในปี ๒๕๕๗ แถมไอ้ยุทธ์กับ “ไอ้โจรอิสระ” เป็นเพื่อนซี้กันด้วย

1328008185

ทหารจะเป็นอิสระได้อย่างไร ในเมื่อไอ้ยุทธ์ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มาจากการเลือกตั้ง

154917704__705502c

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไร ในเมื่อเผด็จการชุดนี้ใช้กฏหมายเถื่อน 112 ในการขังคุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำลายประชาธิปไตยของทหาร มันจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อทหารขยัน “ปรับทัศนคติ” ของฝ่ายประชาธิปไตย เพื่อให้คล้อยตามความคิดเผด็จการ และการไล่ล่านักประชาธิปไตยยังเกิดขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่อง

ทหารจะเป็นกลางได้อย่างไรในเมื่อสถาบันกาฝากอันนี้ มีประวัติอันยาวนานในการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย และการกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตนเองผ่านการคอร์รับชั่น

วิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นวิกฤตระหว่างพวกที่อยากทำลายประชาธิปไตย และพวกที่ชื่นชมประชาธิปไตย และทหารเป็นส่วนสำคัญของฝ่ายที่ต้องการทำลายประชาธิปไตย ยิ่งกว่านั้นวิกฤตการเมืองนี้มีรากฐานมาจากการที่คนบางส่วน เช่นพวกชนชั้นกลาง ทหาร ข้าราชการอนุรักษนิยม และเอ็นจีโอ ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เพราะมองว่าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของผู้ที่ไม่มีวุฒิภาวะในการลงคะแนนในวันเลือกตั้ง

ชัยชนะของพรรคการเมืองฝ่ายทักษิณ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบพรรคเหล่านี้ เป็นชัยชนะจริง เพราะถูกพิสูจน์มาหลายรอบจนฝ่ายเผด็จการต้องใช้วิธีรัฐประหารของทหารหรือของศาลเตี้ยในการล้มรัฐบาล นี่คือสาเหตุที่พวกปฏิกูลการเมืองทั้งหลาย ตั้งหน้าตั้งตาเปลี่ยนระบบการเมือง ผ่าน ”สภาลากลิ้นเลียทหาร” และองค์กรไม่เป็นกลางทั้งหลาย เพื่อลดความสำคัญของเสียงประชาชนลง และเพิ่มอำนาจของทหารและพวกอนุรักษ์นิยมภายใต้ “ยุทธ์ศาสตร์แช่แข็งประเทศไทย20ปี”

วิกฤตการเมืองไทยปัจจุบันไม่ได้มาจากนักการเมืองเลว มันมาจากการที่ทหารเสือกในระบบการเมือง และพวกสลิ่มทั้งหลายไม่มองว่าตัวเองต้องเคารพกติกาประชาธิปไตยแต่อย่างใด

สรุปแล้วไอ้ที่พวกมันเรียกว่า “ปรองดอง” เป็นแค่การบังคับให้ฝ่ายประชาธิปไตยยอมจำนนต่อแผนทำลายประชาธิปไตย 20 ปีของมัน มันเป็นการบังคับให้ปรองดองด้วยกระบอกปืน โดยทหารหวังจะสร้างภาพลวงตาว่าจัดการเลือกตั้งได้ แต่เราก็รู้อยู่ว่ามันจะเป็นการเลือกตั้งที่เสียงประชาชนมีค่าน้อยกว่าความเห็นของทหาร มันจะไม่ใช่การเลือกตั้งเสรี

แล้วถ้าเราต้องการความสงบสุขและการปรองดองจริง ซึ่งประชาชนจำนวนมากคงต้องการ มันจะมีหน้าตาแบบไหน?

ถ้าจะมีการปรองดองเพื่อสร้างประชาธิปไตย และความสงบ มันมีเงื่อนไขสำคัญดังนี้คือ

  1. ทหารต้องประกาศถอนตัวออกจากการเมืองและกลับเข้ากรมกอง นายพลที่มีส่วนในการก่อรัฐประหารจะต้องลาออกจากการเป็นทหารและสัญญาต่อประชาชนว่าจะไม่เล่นการเมือง ต้องมีการลดงบประมาณทหาร และนำวิธีการบริหารกองทัพโดยพลเรือนที่เป็นผู้แทนประชาชนเข้ามาใช้
  2. ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ม็อบสุเทพ และสลิ่มชนชั้นกลาง จะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าประชาชนว่าจะและความสงบ ยอมรับการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้ง แน่นอนประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ค้าน ประท้วง หรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ แต่จะต้องไม่เรียกร้องให้มีการทำรัฐประหารเมื่อไม่ชอบผลการเลือกตั้ง
  3. จะต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญทหาร และกลับมาใช้รัฐธรรมนูญปี ๔๐ เป็นการชั่วคราวก่อนที่จะปรับแก้ไขให้ดีขึ้นโดยประชาชน ควรจัดการเลือกตั้งเสรีที่โปร่งใสภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ โดยที่กรรมการเลือกตั้งมาจากกลุ่มการเมืองทุกฝ่าย อาจต้องให้มีผู้สังเกตการณ์จากประเทศอื่นที่เป็นประชาธิปไตยมาให้หลักประกันว่ามันเป็นการเลือกตั้งที่สะอาด
  4. จะต้องมีการปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน รวมถึงคนที่โดน 112 และหยุดดำเนินคดีการเมืองทุกประเภท พร้อมกับการยกเลิกกฏหมาย112 และกฏหมายที่เผด็จการร่างออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

มองแล้ว ในสภาพปัจจุบัน 4 ข้อข้างบนก็คงเป็นแค่ความฝัน เพราะถ้าจะมีการปรองดองที่นำไปสู่ประชาธิปไตยและความสงบ ฝ่ายขบวนการประชาธิปไตยจะต้องเข้มแข็งพอที่จะบังคับให้มีการปรองดองที่ไม่ใช่การยอมจำนนต่อเผด็จการ นั้นคือบทเรียนจากอดีตในไทยและจากทั่วโลกด้วย

ทำไมไม่มีการสร้างกระแสมวลชนเพื่อสนับสนุนวัฒนา?

ใจ อึ๊งภากรณ์

ขบวนการประชาธิปไตยไทยควรศึกษาและสรุปบทเรียนจากการคุมขัง วัฒนา เมืองสุข เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะการที่ไม่มีการสร้างกระแสมวลชนเพื่อสนับสนุนวัฒนา เป็นจุดอ่อนมหาศาล การปล่อยให้กลุ่ม “พลเมืองโต้กลับ” แค่สี่ห้าคนพร้อมกับผู้สนับสนุนอีกสิบถึงยี่สิบคน เป็นผู้ออกมาประท้วง ถือว่าเป็นความผิดพลาดทางการเมืองของพวกเรา

ลองคิดดูสิ สมมุติว่าอดีต สส. พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. รวมถึงนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย แกนนำขบวนการประชาธิปไตยรากหญ้า และแกนนำขบวนการแรงงานซีกก้าวหน้า ออกมาพร้อมเพรียงกัน ในจุดเดียวกันที่กรุงเทพฯ แล้วรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง “รัฐอธรรมนูญ” เผด็จการ เพื่อเป็นการแสดงความสมานฉันท์กับ วัฒนา และเพื่อช่วยสร้างกระแสคัดค้านเผด็จการ มันจะเกิดอะไรขึ้น?

ในประการแรกมันจะให้กำลังใจกับมวลชนเป็นแสนๆ ที่จะออกมาคัดค้านเผด็จการ

ผมไม่เชื่อเลยว่าทหารจะกล้านำปืนมากราดยิงประชาชนในกรณีแบบนี้ โดยเฉพาะถ้าประกาศว่าจะโยกย้ายกลับบ้านในไม่กี่ชั่วโมง

ถ้าทหารมาจับแกนนำดังกล่าวหมดเลย จับไปขังปรับทัศนะคติเป็นอาทิตย์ ฝ่ายเผด็จการจะเสียการเมืองไปมากมายแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่ใครๆ จับตาดูผู้นำประเทศไทยและการจัดประชามติ แต่ถ้าเขาไม่จับ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายเถื่อนของไอ้ยุทธ์มือเปื้อนเลือดที่ประสบความสำเร็จ มันจะเป็นการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยอีกนิด และปูทางไปสู่สิทธิในการรณรงค์ต่อต้าน “รัฐอธรรมนูญ” ผ่านประชามติที่จะจัดขึ้น และแน่นอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบนี้จะมีความชอบธรรมสูง

26525867005_abdb936c4b

แล้วใครควรจะรับผิดชอบในเรื่องความผิดพลาดทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการไม่ออกมาสนับสนุน วัฒนา ในครั้งนี้?

แกนนำพรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. และทักษิณ คงต้องมีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบตรงนี้ แต่ใครที่หูตาสว่างและผ่านเหตุการณ์วิกฤตการเมืองไทยในรอบสิบปี คงไม่แปลกใจแต่อย่างใดที่ ทักษิณ พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. ตั้งใจนอนหลับ ไม่ยอมเคลื่อนไหว ตั้งใจแช่แข็งขบวนการ เพื่อรอวันกอบโกยผลประโยชน์เมื่อทหารอนุญาตให้มีการเลือกตั้งจอมปลอมภายใต้ประชาธิปไตยครึ่งใบ

ดังนั้นเราไม่ควรไปหวังหรือผิดหวังอะไรกับพวกนั้น

แล้วใครควรทบทวนตนเองในเรื่องนี้? คำตอบง่ายๆ คือพวกเราเอง

ผมอ่านคำพูดของนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการหลายคนที่พยายามแก้ตัวว่าทำไมไม่ควรสนับสนุนวัฒนา และทั้งหมดนั้นฟังไม่ขึ้น

บางคนบ่นว่าวัฒนามีเส้นสาย บางคนบอกว่าใกล้ชิดทักษิณเกินไป บางคนบ่นว่าเวลาคนอย่างวัฒนาโดนทหารจับสื่อมักจะสนใจ แต่เวลาผู้น้อยโดนจับไม่มีใครรู้ มันล้วนแต่เป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น และเป็นการเล่นพรรคเล่นพวก ไม่รู้จักวิธีสร้างแนวร่วมแต่อย่างใด

ก่อนหน้าที่วัฒนาจะโดนทหารคุมขังเพื่อไปปรับทัศนะคติครั้งแรก ผมไม่เคยรู้จักเขาเลย ไม่รู้จักจุดยืนทางการเมือง ไม่รู้จักผลงานในอดีต และไม่รู้ว่าเขาเป็นคนแบบนั้น แน่นอนเขาคงไม่ใช่นักสังคมนิยมเหมือนผม แต่นั้นไม่มีความสำคัญแต่อย่างใดเลย เพราะไม่ว่า วัฒนา จะมาจากไหนอย่างไร การที่เขาในฐานะอดีต สส. ออกมาวิจารณ์เผด็จการและ “รัฐอธรรมนูญเผด็จการ” โดยดูเหมือนไม่ยอมจำนนต่อทหาร เป็นการแสดงวุฒิภาวะในการนำในครั้งนี้ และเป็นการเปิดโอกาสให้เราร่วมประท้วง ในอนาคตเขาจะยังแสดงวุฒิภาวะในการนำแบบนี้อีกหรือไม่ เราไม่รู้ และมันไม่สำคัญ การต่อสู้มันต้องข้ามพ้นเรื่องตัวบุคคลเสมอ

บางคนเสนอว่าเราไม่ควรไปร่วมลงคะแนนเสียงในประชามติภายใต้ตีนทหารครั้งนี้ ถ้ารณรงค์ให้คนจำนวนมาก เป็นล้านๆ คน งดออกเสียงไม่ไปลงคะแนนมันก็คงดี แต่ถ้าไม่สามารถมั่นใจ 100% ว่าทำได้ เราก็ควรไปลงคะแนนคัดค้าน แต่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับว่าเราควรสนับสนุบ วัฒนา หรือไม่

จุดอ่อนของฝ่ายเรา ท่ามกลางการแช่แข็งของการต่อสู้โดยทักษิณ เพื่อไทย และ นปช. คือเราไม่สนใจการจัดตั้งขบวนการมวลชนของเราเองเลย ชื่นชมแต่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนหยิบมือเดียว  ในช่วง ๑๔ ตุลา แนวความคิดของพวกเราไม่ได้ชำรุดแบบนี้

การสร้างแนวร่วมที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะแนวร่วมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต้องอาศัยการมีจุดร่วมในประเด็นเดียวคือสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย มันต้องมีการยอมทำงานเคลื่อนไหวกับคนที่เราไม่เห็นด้วยในหลายๆ เรื่อง แต่ที่สำคัญคือมันควรเป็นแนวร่วมสมัครใจ คือไม่มีเงื่อนไขว่าต้องทำตามใคร ถกเถียงกันได้เสมอ มีเงื่อนไขเดียวที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อถึงเวลาก็ต้องเคลื่อนร่วมกัน แค่นั้นเอง

ถ้าพวกเราในขบวนการประชาธิปไตยไทยไม่สามารถเข้าใจหลักการต่อสู้พื้นฐานแบบนี้ได้ เราจะไปล้มเผด็จการได้อย่างไร?

อย่ามาพูดว่า นปช. สู้ไม่ได้ ข้ออ้างนี้ฟังไม่ขึ้น

ใจ อึ๊งภากรณ์

มีหลายคนพูดว่า แกนนำ นปช. ไม่สามารถนำการต่อสู้กับเผด็จการในช่วงนี้ได้ ดังนั้นเราจึงต้องไปฝากความหวังกับ “เสรีไทย” ภายนอกประเทศ เพื่อให้ไปล็อบบี้องค์กรหรือรัฐบาลต่างประเทศ

แต่ถ้าเราจะล้มเผด็จการ การเคลื่อนไหวภายในประเทศเป็นเรื่องชี้ขาด

นี่คือบทเรียนจากประเทศไทย และนานาประเทศในเอเชีย และลาตินอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ หรือ อาเจนทีนา และการล้มเผด็จการในไทยยุค ๑๔ ตุลา หรือพฤษภา๓๕ ล้วนแต่มาจากการเคลื่อนไหวต่อสู้ภายในประเทศ การกดดันอำมาตย์ไทยให้เริ่มเปิดเสรีหลัง ๖ ตุลา ก็มาจากการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทั้งๆ ที่การต่อสู้นี้จบลงด้วยการล่มสลายของพรรค

สหรัฐอเมริกา หรือ อียู อาจแสดงจุดยืนต้านเผด็จการไทย แต่ในรูปธรรมเขาจะไม่ทำอะไรมาก และเรื่องที่สำคัญสำหรับรัฐบาลเหล่านั้นคือผลประโยชน์ระหว่างประเทศ เวลาเขาคิดถึงไทย การคานอำนาจจีนเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นรัฐบาลตะวันตกคงจะไม่ไล่รัฐบาลไทยไปกอดคอกับจีนฝ่ายเดียว คงพยายามรักษาความสัมพันธ์กับไทยทั้งๆ ที่เป็นเผด็จการ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลเหล่านี้ก็มีประวัติในการผูกมิตรกับเผด็จการทั่วโลกอยู่แล้ว เช่นเผด็จการซุฮาร์โต้ในอินโดนีเซีย หรือซาอุ ส่วนสหประชาชาตินั้น ก็เป็นแค่เครื่องมือของมหาอำนาจ แถมเป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพอีกด้วย

การล็อบบี้ต้านเผด็จการภายนอกประเทศไทยมีประโยชน์ในการชูประเด็น แต่เรื่องหลักคือเราจะสู้ภายในประเทศไทยอย่างไร

ในอดีตนักประชาธิปไตยไทยก็สู้กับเผด็จการโหดร้ายป่าเถื่อนกว่าเผด็จการยุคนี้ เขาใช้วิธีใต้ดิน มีการจัดตั้งลับ มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เมื่อมีโอกาส และมีการจับอาวุธ แต่การจับอาวุธไม่มีประโยชน์กับเราในวันนี้ เพราะฝ่ายตรงข้ามมีอาวุธเหนือเรา และจะทำให้เราเสียการเมือง เสียความชอบธรรม มันเป็นอุปสรรค์ต่อการหามวลชนคนธรรมดามาร่วมกับเรา ดังนั้นเราต้องเน้นการเมืองมวลชน

ในอดีตนักศึกษาและกรรมกรก็มีการประท้วง มีการติดโปสเตอร์ มีการประชุมทางการเมืองใต้ดิน มีการแจกจ่ายสื่อ ถ้าฝ่ายเผด็จการคุมหนัก อาจเคลื่อนไหวในประเด็นที่ไม่พุ่งตรงไปที่เผด็จการ เช่นเรื่องค่าจ้างแรงงาน สิทธิสตรี การต่อต้านระบบรับน้อง หรือแม้แต่เรื่องสิ่งแวดล้อม

และในปัจจุบันเราก็เห็นนักศึกษาที่เคลื่อนไหวแบบนี้ เพื่อต่อต้านเผด็จการ คสช. และสมุนรับใช้ทหารที่คุมมหาวิทยาลัยอยู่

ถ้านักศึกษาแอบทำการเคลื่อนไหวติดโปสเตอร์และเรื่องอื่นๆ ได้ ลองคิดดูสิว่าถ้าเสื้อแดงทั่วประเทศแอบทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง มันจะมีผลอย่างไร

การเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ ในพื้นที่ต่างๆ เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราสร้างองค์กรและเครือข่ายต้านเผด็จการ มันเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนทางการเมืองด้วย ขบวนการไหนหยุดนิ่ง ขบวนการนั้นจะตาย

การต่อสู้กับเผด็จการไทย ไม่ง่าย เสี่ยงแน่นอน และต้องใช้ปัญญาวิเคราะห์ยุทธวิธีเสมอ  แต่อย่ามาพูดเลยว่าทำไม่ได้ นั้นคือข้ออ้างของคนที่อยากยอมจำนน

แล้วแกนนำ นปช. ละ? นปช. มีหน้าที่ ที่จะนำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การทิ้งการต่อสู้กลางคัน และนิ่งเฉย เป็นการละทิ้งหน้าที่ที่มีต่อประชาชน มันเป็นการไม่รับผิดชอบทางการเมือง เพราะสร้างองค์กร แล้วนำการต่อสู้ที่มีการเสียเลือดเนื้อเพราะฝ่ายตรงข้ามป่าเถื่อน แล้วอยู่ดีๆ ก็ยอมแพ้เงียบไป

แน่นอนแกนนำบางคนเคลื่อนไหวไม่ได้ ทหารติดตามตลอด และเขาอาจมีภาระทางครอบครัว ไม่มีใครว่าตรงนี้ บางคนคงจะต้องถอนตัวออกจากการต่อสู้เป็นธรรมดา แต่มันต้องมีบางส่วนของแกนนำที่ควรจะอาสาออกจากประเทศไทย เพื่อนำการต่อสู้จากภายนอก และประสานการจัดตั้งเคลื่อนไหวภายในไทย โดยติดต่อกับคนภายในประเทศอย่างเป็นระบบ พคท. เคยทำในอดีต และคนอย่างหมอเหวงและอ.ธิดาคงทราบดี เพราะเคยอยู่กับ พคท. ดังนั้นไม่มีข้ออ้างในการไม่ทำอะไร ไม่มีข้ออ้างในการไม่สอนคนรุ่นใหม่

แต่แกนนำ นปช. ไม่ยอมนำ เพราะทักษิณและยิ่งลักษณ์บอกให้รอ ให้นิ่ง สาเหตุหลักคือทักษิณกลัวการปลุกระดมมวลชน ว่าจะนำไปสู่การโค่นอำมาตย์แบบถอนรากถอนโคน ซึ่งในที่สุดนักการเมืองนายทุนแบบทักษิณจะไม่มีที่ยืน ทักษิณอยากประนีประนอมกับทหารมากกว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเอง

มันไม่ใช่ว่าแกนนำ นปช. นิ่งเฉยเพราะไม่อยากให้คนตายเพิ่ม หรือกลัวถูกวิจารณ์ว่าจะ “พาคนไปตาย” ซึ่งเป็นคำวิจารณ์แย่ๆ อยู่แล้ว สาเหตุจริงที่ นปช. หยุดการเคลื่อนไหว ก็เพราะไปฟังทักษิณ

ในความเป็นจริงการเคลื่อนไหวต้านเผด็จการ สามารถทำแบบ “ฉลาดๆ” ได้ มันมีหลายรูปแบบที่จะใช้ในการต่อสู้ ทั้งใต้ดินและเปิดเผย และการจัดตั้งเครือข่ายพร้อมกับการพัฒนากลุ่มศึกษาทางการเมืองก็มีความสำคัญ

สำหรับองค์กร “เสรีไทย” ถ้าองค์กรนี้ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งและเคลื่อนไหวลับภายในประเทศไทย และเน้นแต่การล็อบบี้รัฐบาลต่างประเทศ เสรีไทยจะหมดความสำคัญภายในไม่นาน

ถ้าเราสรุปว่า นปช. จะไม่นำการต่อสู้ คนที่อยากต่อสู้ภายในประเทศไทยต้องจัดตั้งกันเอง นำกันเอง และขยายกิจกรรมต่างๆ แทน นปช. และเสรีไทย แต่ถ้าจะมีประสิทธิภาพต้องรวมเป็นกลุ่มเป็นก้อนอย่างที่ พคท. เคยทำ ในขณะเดียวกันต้องมีประชาธิปไตยภายในองค์กร และเน้นมวลชนแทนการจับอาวุธ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดของ พคท.

อย่าหลอกกันเองเลยว่าเผด็จการประยุทธ์จะถอนตัวเองจากการเมืองในไม่ช้า แล้วเปิดให้มีประชาธิปไตย เพราะมันกำลังออกแบบระบบเผด็จการที่จะอยู่นาน

ตกลงเราจะอยู่อย่างเป็นทาส หรือจะยืนขึ้นต่อสู้?

การทำงาน “แนวร่วม” ในยุคเผด็จการ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ตั้งแต่สมัย พคท. ถึง นปช. นักเคลื่อนไหวไทยจำนวนมากไม่เข้าใจธาตุแท้ของการทำงาน “แนวร่วม” เพราะแนวร่วมกับองค์กร ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

องค์กรต้องมีการจัดตั้งที่เป็นระบบ ต้องมีชุดความคิดที่เหมือนกัน และต้องมีแกนนำที่คอยเสนอแนวทางในการนำ มันมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันพอสมควร

“แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” หรือ นปช. มีแกนนำที่กำหนดนโยบายและแนวทางต่อสู้ในหลายมิติ และมีการกีดกันคนที่คิดต่างออกไป เช่นคนที่ต้องการยกเลิก 112 หรือคนที่ปฏิเสธการนำของทักษิณ ดังนั้น จริงๆ แล้ว นปช. เป็น องค์กรมากกว่าแนวร่วม หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขนาดใหญ่ได้อีกด้วย แต่มันไม่ใช่ “แนวร่วม”

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ค.ท.) เคยสร้างสิ่งที่พรรคเรียกว่า “แนวร่วม” แต่ก็ไม่ใช่แนวร่วมอีก เพราะเป็นวิธีจัดตั้งมวลชนตามแนวของ พคท. ในขณะที่มวลชนดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค จริงๆ แล้วการเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคเป็นเรื่องยากมาก ต้องผ่านหลายขั้นตอน ดังนั้น “แนวร่วม” ที่ พคท.พูดถึงคือ “ผู้ตาม” นั้นเอง ไม่ใช่แนวร่วมจริง

ในอดีต บางครั้ง พคท. จะสร้างแนวร่วมกับนายทุนคนที่พรรคมองว่า “รักชาติ” และในการสร้างแนวร่วมนี้ พคท. ก็จะไม่พูดถึงการต่อสู้เพื่อสังคมนิยมเลย คือเอาจุดยืนนายทุนมาเป็นจุดยืนของตนเอง นั้นก็ไม่ใช่การสร้างแนวร่วม

ทุกวันนี้เวลาคนที่รักประชาธิปไตยคนไหนวิจารณ์ทักษิณ หรือยิ่งลักษณ์ หรือ นปช. ก็จะมีคนเสื้อแดงสาย นปช. เตือนว่าเราต้องรู้จักสามัคคี แต่ความหมายของเขาแปลว่าให้หยุดวิจารณ์ คือสามัคคีภายใต้แนวของ นปช. เพื่อไทย หรือทักษิณเท่านั้น คนที่มีมุมมองแบบนี้สร้างแนวร่วมไม่ได้

ทำไมเราต้องสร้างแนวร่วมในขณะนี้?

ถ้าเราจะล้มเผด็จการ และยกเลิกผลพวงทั้งหมดของรัฐประหารสองรอบที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ กฏหมาย หรือองค์กรปฏิกูลที่ทหารผลักดันเข้ามา เราต้องสร้างอะไรที่มีมวลชนผู้รักประชาธิปไตยจำนวนมาก แต่มวลชนผู้รักประชาธิปไตยไม่ได้มีมุมมองทางการเมืองที่เหมือนกัน บางคนยังรักทักษิณ บางคนกึ่งรักทักษิณแต่ยังเชื่อมั่นใน นปช. บางคนหมดศรัทธาใน นปช. แต่อาจรักทักษิณ บางคนไม่เอาทั้งทักษิณ ยิ่งลักษณ์ เพื่อไทยหรือ นปช. บางคนต้องการยกเลิก 112 บางคนมองว่าควรรอไปก่อน บางคนต้องการเปลี่ยนสังคมไทยแบบถอนรากถอนโคน บางคนต้องการแค่ประชาธิปไตยรัฐสภาอย่างที่เราเคยมีสมัยที่ไทยรักไทยเป็นรัฐบาล เราจะทำอย่างไรเพื่อสามัคคีคนที่มีแนวคิดที่หลากหลายแบบนี้?

มีวิธีเดียว นั้นคือสร้าง “แนวร่วม” ภายใต้จุดยืนที่พื้นฐานที่สุด คือจุดยืนต้านเผด็จการทหารของประยุทธ์ ในการสร้างแนวร่วมไม่ควรจะมีจุดยืนในหลายๆประเด็น ประเด็นเดียวจะดีที่สุด เพราะคนที่มีความคิดหลากหลายอย่างที่เอ่ยไปแล้ว สามารถสามัคคีกันบนพื้นฐานการต้านเผด็จการประยุทธ์ได้ เรื่องอื่นก็ให้แต่ละคน แต่ละกลุ่มคิดและเสนออย่างเสรี พูดง่ายๆ นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจะใส่หมวกสองใบเสมอ คือหมวกของแนวร่วม และหมวกขององค์กรหรือจุดยืนตนเอง และเราจะไม่ปกปิดเรื่องนี้ ต้องเคารพซึ่งกันและกัน แนวร่วมแบบนี้จะมีพลัง

การให้แต่ละกลุ่มแต่ละคนในแนวร่วม มีเสรีภาพที่จะมองต่างมุมในเรื่องอื่นๆ นอกจากประเด็นหลักคือการต้านเผด็จการประยุทธ์ เป็นวิธีเดียวที่จะสร้างแนวร่วมที่ครอบคลุมนักประชาธิปไตยทุกคน

การสร้างแนวร่วมต้องไม่กีดกันใคร ไม่ว่าเราจะไม่ชอบเขาเป็นส่วนตัว หรือไม่เห็นด้วยกับแนวเขาแค่ไหน เราต้องข้ามพ้นความคิดทารกแบบนั้น และไม่ควรมีกลุ่มคนกลุ่มใด ที่พยายามกดดันบังคับให้ทุกคนต้องคิดตามในเรื่องอื่นๆ

แน่นอน มันยังคงมีโอกาสที่จะขัดแย้งกันทางแนวคิดหรือแนวปฏิบัติเคลื่อนไหว ซึ่งเรื่องแบบนั้นต้องตัดสินกันในที่ประชุมผ่านการลงมติและการเคารพมติเสียงส่วนใหญ่

ประเด็นสำคัญคือ พวกเราพร้อมจะทำงานแนวร่วมเพื่อล้มเผด็จการหรือไม่?

ทำไมเงียบเหมือนป่าช้า?

ใจ อึ๊งภากรณ์

มิตรสหายหลายคนอาจสงสัยและกังวลว่าตอนนี้ทำไมทุกอย่างเงียบเหมือนป่าช้า บางคนอาจหดหู่ด้วย แต่เราไม่ต้องหดหู่ถ้าเราวิเคราะห์สาเหตุและประเมินสถานการณ์ได้

เราต้องตั้งคำถามว่าปรากฏการณ์ความเงียบนี้ เป็นแค่เรื่องชั่วคราว หรือเป็นชัยชนะของคณะทหารเถื่อน?

เราต้องตอบคำถามนี้ด้วยปัญญาและการไม่หลอกลวงตนเอง

ในประการแรก การที่ทหารเรียกนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยเข้าพบ เพื่อสอบสวน ข่มขู่ และกักขัง พร้อมกับการยัดข้อหา 112กับบางคน และกดดันไม่ให้ใครเคลื่อนไหวต่อไปด้วยคำขู่ว่าจะติดคุก ได้สร้างความหวาดระแวงในหมู่นักเคลื่อนไหวจำนวนมาก โดยเฉพาะเวลาคนที่เคยจุดประกายนำร่องอย่าง บก.ลายจุดถูกจับ ดังนั้นหลายคนหยุดเคลื่อนไหว ปิดเฟสบุ๊ก หรือหยุดสื่อสารทางอินเตอร์เน็ด และการประท้วงบนท้องถนนก็เงียบไป

ในประการที่สองเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนขบวนการเสื้อแดง กับแกนนำนปช. และทักษิณ เพราะเสื้อแดงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และทั้งๆ ที่คนจำนวนหนึ่งที่ประท้วงรัฐประหารเมื่อเดือนก่อนอาจไม่ใช่เสื้อแดง หรือเป็นเสื้อแดงก้าวหน้าอิสระ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคต ถ้าจะล้มเผด็จการทหารเถื่อนนี้ และจัดการกับประยุทธ์มือเปื้อนเลือด มวลชนเสื้อแดงยังมีความสำคัญถึงขนาดชี้ขาดว่าจะสำเร็จได้หรือไม่

เสื้อแดงส่วนใหญ่ยอมรับการนำของ นปช. และชื่นชมพรรคเพื่อไทยกับทักษิณ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเสื้อแดงเป็นแค่เครื่องมือของทักษิณหรือเพื่อไทยเลย เพราะเสื้อแดงในชุมชนต่างๆ มีการจัดตั้งกันเอง และเสื้อแดงทุกคนมีเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อขยายประชาธิปไตย ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงกับคนส่วนใหญ่ เสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้เพื่อเจ้านายทักษิณอย่างที่พวกสลิ่มหรือนักวิชาการนักเอ็นจีโออ้าง

ดังนั้นเรื่องการนำและการจัดตั้งสำคัญยิ่ง

ในเมื่อทักษิณกับเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ยกธงขาวยอมแพ้ และบางคนดูเหมือนจะร่วมมือกับคณะทหารเผด็จการ กระแสการนำในขบวนการเสื้อแดงไม่ได้ชักชวนให้มวลชนต่อสู้แต่อย่างใด

สาเหตุที่ทักษิณและเพื่อไทยไม่ยอมสู้ ก็เพราะเขาไม่ต้องการล้มระบบอำมาตย์แบบถอนรากถอนโคน ซึ่งอาจเกิดขึ้นถ้ามีการต่อสู้ของมวลชนจำนวนมากบนท้องถนน ในชุมชน และในสถานที่ทำงาน ทักษิณกับคนส่วนใหญ่ที่เป็นนักการเมืองเพื่อไทย หวังจะประนีประนอมกับทหารในอนาคต เขาพร้อมจะเล่นการเมืองต่อด้วย ไม่ว่าจะมีประชาธิปไตยระดับไหน แต่เราต้องไปไกลกว่านั้น

การที่เสื้อแดงจำนวนมากเงียบตอนนี้ ไม่ใช่เพราะถูกสั่งให้เงียบโดยทักษิณหรือแกนนำนปช. แต่เพราะไม่มีการนำในการต่อสู้ ยังขาดความมั่นใจอยู่ การนำดังกล่าวเกิดได้โดยที่ต้องทำงานจัดตั้งใต้ดิน และแกนนำสำคัญๆ ต้องประกาศจุดยืนจากต่างประเทศ แต่ทักษิณ เพื่อไทยกับ นปช.เลือกไม่ทำ

ในสถานการณ์แบบนี้การจัดตั้งอิสระ และการช่วงชิงการนำจากทักษิณ เพื่อไทย และ นปช. เป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามวลชนจะมีความมั่นใจพอที่จะสู้ต่อไป

การจัดตั้งอิสระดังกล่าว และการนำที่อิสระจาก นปช. หรือเพื่อไทย เป็นสิ่งที่พวกเราเสนอมานานแล้ว ก่อนการทำรัฐประหารรอบนี้หลายปี เราเสนอแบบนี้เพราะการ “ต่างคนต่างนำตนเอง” อย่างกระจัดกระจาย อย่างที่เสื้อแดงก้าวหน้าเคยทำ มันตอบรับกับสถานการณ์เผด็จการและภาระในการล้มเผด็จการไม่ได้

การจัดตั้งอิสระ และการเสนอการนำที่อิสระจาก นปช. หรือเพื่อไทย อาจกำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้ก็ได้ เนื่องจากเป็นการทำงานที่ต้องปิดลับ เราจะไม่เห็นภาพชัดเจน

หรือการจัดตั้งดังกล่าวอาจไม่เกิดตอนนี้เพราะคนกลัวหรือสับสน แต่มันอาจเกิดในอนาคตอันใกล้ก็ได้

ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร คำตอบจะถูกตอบในรูปธรรมจากการกระทำของท่าน เพราะจะไม่มีใครมาทำให้ และถ้าเราไม่ทำอะไรทหารก็จะชนะรอบนี้

อย่างไรก็ตามเราต้องเข้าใจว่าถ้าทหารชนะรอบนี้ และสามารถสร้างระบบประชาธิปไตยจอมปลอมแบบพม่า มันก็แค่สถานการณ์ชั่วคราวอีก เราสามารถมั่นใจตรงนี้ได้เพราะวิกฤตการเมืองไทย เกิดจากความขัดแย้งพื้นฐานในสังคม ระหว่างชนชั้นบนที่อนุรักษ์นิยม ที่เคยชินกับการปกครองที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมือง กับคนส่วนใหญ่ที่ตื่นตัวทางการเมืองและไม่พร้อมจะถูกมองข้ามอีกต่อไป คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยต้องการมีส่วนร่วมและส่วนแบ่งเต็มที่ ไม่พร้อมจะอยู่ต่อไปแบบไพร่

ดังนั้นการสร้างภาพว่าทหาร “ชนะรอบนี้” ก็คงเป็นแค่ใบบัวเล็กๆ ที่เอามาปิดช้างเน่าทั้งตัว มันปิดบังรอยร้าวในสังคมไม่ได้ และในที่สุดการต่อสู้จะระเบิดออกมาอีก แต่เมื่อไร และอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับเราอีก

ในเมื่อ นปช. หมด สภาพในการนำ เราต้องนำตนเอง ขอเสนอรูปธรรม

ในเมื่อ นปช. หมด สภาพในการนำ เราต้องนำตนเอง ขอเสนอรูปธรรม

ใจ อึ๊งภากรณ์

ภาพและคำพูดของแกนนำ นปช. หลังได้รับการปล่อยตัว น่าจะพิสูจน์อย่างเบ็ดเสร็จว่าแกนนำ นปช. ไม่เหลืออะไรที่จะเรียกได้ว่าเป็น “การนำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย”

10338328_304793299680036_7612601805905138898_n

     พวกเราหลายคนไม่แปลกใจ เพราะตั้งแต่การพูดเชิงรุกสู้ที่ราชประสงค์ในปี 2553 ซึ่งรวมถึงการโม้ถึง “ทหารแตงโม” แต่จบด้วยการยอมจำนน เราก็เห็นชัดว่าไม่มีความสามารถในการนำขบวนการ ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าเราอยากเห็นคนตายเพิ่ม ไม่ใช่ แต่สิ่งที่เราอยากเห็นคือการเปลี่ยนและขยายยุทธวิธีในการเคลื่อนไหว เช่นการสร้างสายสัมพันธ์กับขบวนการแรงงาน และการวางแผนไปสู่การนัดหยุดงาน การสร้างเครือข่ายเคลือ่นไหวในต่างจังหวัด เพื่อการยึดสถานที่สำคัญเป็นระยะๆ หรือการปิดร้านค้าไม่ไปทำงานในบางเมือง โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีคนเสื้อแดงจำนวนมากเป็นต้น แต่ในปี 2553 และจนถึงทุกวันนี้แกนนำ นปช. เขาไม่ทำ

ตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้รับการเลือกตั้งในปี2554 แกนนำ นปช. มองว่าเสื้อแดงต้องเป็นแค่กองเชียร์ให้รัฐบาลเพื่อไทยเท่านั้น และในขณะที่ยิ่งลักษณ์และทักษิณพยายามจูบปากกับประยุทธ์ และขยับไปสู่การนิรโทษกรรมทหารและนักการเมืองประชาธิปัตย์ที่ฆ่าเสื้อแดง ขยับไปสู่การทอดทิ้งเพื่อนที่ติด 112 ในคุก ขยับไปใช้ 112 เพิ่มขึ้น และไม่ทำอะไรเลยเพื่อปฏิรูปให้การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แกนนำ นปช. ก็คอยชักชวนให้คนเสื้อแดงนิ่ง ไม่มีการเรียนรู้สรุปบทเรียนจากอดีต ไม่มีการวางแผนสร้างเครือข่ายเพื่อปกป้องประชาธิปไตยแต่อย่างใดเลย มีแต่คำพูดวนซ้ำเหมือนแผ่นเสียงตกร่อง

เมื่อมีการข่มขู่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แกนนำ นปช. ก็โอ้อวดว่าถ้ามีรัฐประหาร เขาจะ “ยกระดับการต่อสู้ไปถึงที่สุด” พร้อมกันนั้นก็นิ่งเฉยต่อการคุกคามสังคมโดยม็อบสุเทพ โดยอ้างว่าถ้าออกมาคัดค้านจะทำให้ทหารสามารถทำรัฐประหารได้

แต่การจูบปากทหารในปี 2554 และการนิ่งเฉยตลอดมา ก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้รัฐประหารเกิดขึ้น และเมื่อมันเกิดก็เห็นชัดว่า นปช. ไม่มีแผนอะไรที่จะรับมือ ไม่มีการยกระดับการต่อสู้เลย จนตอนนี้ก็ไปยอมแพ้ แต่เสื้อแดงธรรมดาและพลเมืองรักประชาธิปไตยยังไม่แพ้

บางคนอาจเถียงว่า แกนนำ นปช. ไม่มีทางเลือกอื่น “นอกจากจะพาคนไปตาย” จึงต้องยอม เราต้องโต้กลับไปว่า มันมีทางเลือกอีกมากมาย และในรูปธรรมพลเมืองไทยผู้กล้าหาญจำนวนมากได้พิสูจน์ว่ามีทางเลือก

กลุ่มคนที่ประท้วงรัฐประหารอย่างต่อเนื่องในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และที่อื่น พิสูจน์ว่าเราไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่อทหาร และในกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวต้านรัฐประหาร มีนักสหภาพแรงงานร่วมอยู่ด้วย ซึ่งพิสูจน์ว่าการเชื่อมกับแรงงานไม่ใช่แค่ความเพ้อฝัน

จาตุรนต์ ฉายแสง ก็พิสูจน์เป็นรูปธรรมว่า ยิ่งลักษณ์ และคนอื่น ไม่จำเป็นต้องคลานเข้าไปรายงานตัว ซึ่งยิ่งลักษณ์คงได้รับคำแนะนำตรงนั้นจากทักษิณ จาตุรงค์ พิสูจน์ว่าแกนนำมีศักดิ์ศรีได้ และให้กำลังใจผู้รักประชาธิปไตยได้

หลายคนที่หลบหนีลงใต้ดิน เพราะไม่ยอมไปรายงานตัว และอาจหาทางข้ามพรมแดนออกไป ก็พิสูจน์ว่าแนกนำ นปช. บางคน มีทางเลือกอื่นเช่นกัน นอกจากจะยอมแพ้

ท่ามกลางกระบวนการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนสังคมทั่วโลก มันเป็นเรื่องธรรมดาที่แกนนำเก่าหมดสภาพ ถูกพิสูจน์ว่ามือไม่ถึง แล้วมีแกนนำใหม่เข้ามาแทนที่ผ่านการพิสูจน์ความสามารถในรูปธรรม

เสื้อแดงเป็นล้าน และพลเมืองอื่นๆ ที่รักและหวงประชาธิปไตย จะไม่ยอมแพ้ และจะโกรธแค้นกับการทำลายประชาธิปไตยมาอย่างเป็นระบบในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

ประเด็นคือ พวกเราที่ต้องนำตนเองจะสู้อย่างไร? เพราะทหารมันประกาศแล้วว่ามันจะคุมอำนาจต่อไปยาว และจะปฏิกูลการเมืองในเวลานั้นเพื่อลดเสียงประชาชน

การต่อสู้แบบนำตนเอง นัดเอง มาเอง มีความสำคัญยิ่งในสถานการณ์เฉพาะหน้าปัจจุบัน เพราะทหารปราบยาก แต่เราทุกคนต้องถามตนเองว่าทำต่อไปแบบนี้ได้นานเท่าไร ก่อนที่จะเหนื่อยและเบื่อ?

เราจึงมีความหวังว่าผู้ปฏิบัติการระดับรากหญ้าทั้งหลาย จะหันหน้าเข้าสู่กัน เพื่อสร้างเครือข่ายต้านรัฐประหารในรูปแบบองค์กร ประสานการเคลื่อนไหวและต่อสู้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ในขณะที่คงไว้แกนนำหลากหลาย หลายหัว อย่างที่เขาเคยทำในอียิปต์

ที่สำคัญคือควรมีการนัดคุยกันระหว่างตัวแทนกลุ่มต่างๆ แบบไม่เปิดเผย อย่างต่อเนื่อง เพื่อถกเถียงทำความเข้าใจกับภาพรวมทางการเมือง และเพื่อกำหนดแนวทางการต่อสู้ ซึ่งต้องเชิญกลุ่มอื่นๆ มาร่วมมากขึ้นตลอด ไม่มีการกีดกันใคร ต้องออกไปหาสหภาพแรงงานและกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ โดยมีกติกาการประชุมง่ายๆ เพื่อไม่ให้มีความเป็นอาวุโส ทุกคนเท่าเทียมกัน

สิ่งที่เราน่าจะเข้าใจได้แล้วคือ มันต้องสู้ระยะยาว ต้องมีแผน และต้องมีองค์กรเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับภาระทางสังคมอันนี้